ศีลซึ่งสำเร็จด้วยปัญญา


    ท่านอาจารย์ ใครจะอยากให้มีความทุกข์เกิดขึ้น ก็แสดงว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่ไม่มีปัญญา ไม่รู้จักว่าการที่จะไม่ให้ทุกข์นั้นเกิดขึ้นคืออย่างไร เพราะว่าพระพุทธศานาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ทั้งหมด เพื่อประโยชน์ เพื่อความรู้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามความรู้ ถ้าไม่มีความรู้แม้แต่เราคิดว่าสิ่งนั้นดี แต่เราก็ยังไม่เข้าใจว่าดียังไง

    เช่น ศีล บางคนก็บอกว่าดี แต่ว่าดียังไง ก่อนที่จะได้ฟังธรรมหลายคนก็คงจะฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อย ตบยุง บางคนก็อาจจะทำหลายๆ อย่าง แต่ถ้าจะคิดว่าเราจะงดเว้นไม่ทำโดยความไม่รู้ จะมั่นคงไหม จะสำเร็จตลอดไปหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับระดับของความรู้ ถ้าเราไม่รู้อะไรเลย แต่เขาบอกให้รักษาศีล เราก็ไม่ฆ่าก็ดี ก็ยอมที่จะคิดอย่างนั้น หรือพูดอย่างนั้น ตามอย่างนั้น แต่ว่าสามารถที่จะระงับเวลาที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเผชิญหน้าหรือไม่

    นี่ก็แสดงว่าทั้งหมดต้องด้วยปัญญาหรือความเห็นที่ถูกต้อง แต่ว่าถ้าได้ฟังธรรมแล้ว คนที่เคยตบยุงฆ่าสัตว์ก็มีการละเว้นจากการฟัง และก็มีความเข้าใจถูกว่าทุกคน ทุกชีวิต ทุกสัตว์ ก็รักชีวิต แม้เพียงเจ็บ ไม่ต้องถึงตาย เพียงแค่เจ็บก็ไม่อยากจะเจ็บแล้ว แต่ถ้าจะถึงกับสิ้นชีวิต อันนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเป็นการกระทำใดๆ ที่จะทำให้บุคคลถึงกับสิ้นชีวิต ความรู้สึกของคนนั้นจะเป็นยังไง ของวงศาคณาญาติ เพื่องฝูงจะเป็นยังไง ก็จะทำให้เขามีความมั่นคง ถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติถือเอา ที่ภาษาบาลีใช้คำว่า “สมาทาน” เพื่อที่จะได้ประพฤติตามด้วยความเข้าใจ ด้วยศรัทธา ด้วยโสภณธรรมที่เกิดขึ้น เป็นไปด้วยการปรุงแต่งจากความเข้าใจขณะนั้นๆ ก็เป็นศีลมยญาณ คือ ศีลซึ่งสำเร็จเพราะปัญญา เพราะความเห็นถูก เพราะความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้น ทุกอย่างไม่ใช่เพียงแต่ฟังเรื่องราว ฟังชื่อ แต่ว่าไม่รู้ว่าเป็นยังไงมายังไง และมีความหมายว่ายังไง

    อ.ธิดารัตน์ อย่างที่ท่านยกตัวอย่างมา กิริยาอาการหรือว่าการกระทำภายนอกอาจจะเหมือนกัน แต่สภาพจิตต่างกัน

    ท่านอาจารย์ ค่ะ

    อ.ธิดารัตน์ เพราะฉะนั้น อย่างที่ว่าท่านอาจจะบอกว่า การที่ไม่ให้คนอื่นที่ไม่เหมาะสมเข้ามาร่วมตระกูลหรือว่าเข้ามาอยู่ในบ้านเราก็หมายถึงว่าไม่ใช่ลักษณะของโทสะ ซึ่งประกอบด้วยมัจฉริยะ ขณะนั้นพิจารณาว่าเป็นประโยชน์ เป็นโทษอย่างไร ก็คือเป็นสภาพจิตอีกประเภทหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ หรือแม้แต่ในธรรม ผู้ที่จะรักษาธรรมก็ต้องรู้บุคคลที่จะรักษาธรรมด้วยว่าคนนั้นเป็นพาลหรือว่าเป็นบัณฑิต เพื่ออะไร เพื่อประโยชน์ตนหรือว่าจะให้บุคคลอื่นได้เข้าใจความจริงของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง อย่างนั้นก็ไม่ใช่ตระหนี่ตามความหมายที่คุณธิดารัตน์พูดว่าเขาเป็นคนไม่ดี เราก็ไม่อยากจะให้มาอยู่ในตระกูลเรา มันด้วยเหตุด้วยผล

    อ.ธิดารัตน์ ถูกต้องค่ะ เพราะตัวอย่างนี้ท่านแสดงว่าคล้ายกันกับการตระหนี่ตระกูล แต่ถ้าพิจารณาอย่างถูกต้องอย่าง เช่นคนไม่ดี ถึงแม้จะมีอาการเหมือนกัน แต่ไม่ใช่กุลมัจฉริยะ

    ผู้ฟัง อันนั้นคือเป็นของสามัญธรรมดา อันนี้ ถ้าเรากับไปคุยเรื่องจะมาขอลูกสาว คนไม่ดี ใครจะให้ลูกสาว ก็ไม่ให้ลูกสาว เขาเป็นคนดี แต่ไม่ดีเท่าที่เขาวางเพดานไว้ อันนั้นตระหนี่ชัดเจน

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องของขณะจิต ถึงเป็นคนดีแต่ไม่ชอบก็มีอีก ก็เป็นเรื่องซับซ้อน แต่ก็เป็นความจริงที่ขณะนั้นเป็นจิตประเภทใด เป็นอกุศลจิต หรือเป็นกุศลจิต แล้วว่าเป็นอกุศลจิต ถ้าเป็นโทสะ ขณะนั้นก็สามารถที่จะมีเจตสิกอื่นเกิดร่วมด้วยคืออิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ

    ผู้ฟัง ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เมื่อสักครู่นี้ให้รู้ว่าความติดข้องกับหวง เพราะว่าเรามีโลภะ เราจึงมีโทสะ เมื่อมีความติดข้องจึงตระหนี่ ถ้าเราไม่ติดข้อง ไม่เป็นที่รัก เราก็ไม่หวง เราก็ไม่มีตระหนี่


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151


    หมายเลข 9696
    31 ส.ค. 2567