ความติดข้อง-ความหวงแหน


    ท่านอาจารย์ แล้วก็นึกไปถึงว่าหวงเพราะยังมีความเป็นเรา ด้วยเหตุนี้พระอริยบุคคล พระโสดาบันไม่มีมัจฉริยเจตสิก

    ผู้ฟัง เรียนถามว่าในขณะซึ่งเราหวง เราติดข้อง สักกายทิฏฐิก็ประกอบด้วยพร้อมกันไปหรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเหตุที่เราต้องเรียนลักษณะของจิตทีละหนึ่งประเภท ปะปนกันไม่ได้เลย อันนี้ก็ตอบได้แล้วใช่ไหม พอพูดถึงหนึ่งขณะจิต

    ธิ. ข้อความที่อธิบายมัจฉริยะจะมีอธิบายว่าเป็นผู้หวงแหนด้วยบุคคลชื่อว่า วิจิโฉ แปลว่าผู้หวงแหน ปรารถนาสมบัติทั้งหมดของตนไม่ให้เสื่อมสูญไปด้วยความคิดว่าสมบัติทั้งปวงจงมีแก่เราเท่านั้น อย่ามีแก่คนอื่นดังนี้ชื่อว่าภาวะของผู้หวงแหน และท่านก็แสดงว่าหวงแหนอย่างนี้เป็นความตระหนี่อย่างอ่อน ไม่ต้องการให้เป็นของคนอื่น และไม่ต้องการให้เสื่อมสูญไป เสียไป ก็อาจจะเหมือนกับแม้กระทั่งของๆ เราๆ ก็ไม่อยากใช้

    ท่านอาจารย์ ถ้าหวงโดยมาก เราก็จะใช้กับคนอื่น ที่นี่ก็มีคำว่าคนอื่น เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะอ่านพระไตรปิฎกอย่าติดที่พยัญชนะ แปลให้ชัดเจน ถ้าข้อความที่ปรากฏที่แปลแล้วยังไม่ชัดเจน ก็ขอให้ผู้ที่มีความรู้ภาษาบาลีแปลอีกให้เป็นความชัดเจน เพื่อที่จะได้รู้ว่าโลภะเป็นความติดข้องไม่ต้องการให้สูญไปเพราะใคร ลูกหลานให้ได้ไหม แต่บางคนก็อาจจะลูกหลานยังไม่ให้เลย ก็หวงมาก เพราะมีโลภะติดข้องในสิ่งนั้นมาก แต่ว่ามีโลภะติดข้องเราใช้ภาษาอะไร ภาษาไทยเราจะให้คำนี้ว่า “หวง” แต่ว่าความจริงเป็นลักษณะของโลภะหรือเปล่า เพราะเหตุว่า ของที่เรามี เราไม่ค่อยใช้เพราะว่าเราติดสิ่งนั้น เราไม่อยากให้สิ่งนั้นเสียไป เสื่อมไปได้ แต่เวลาที่เกี่ยวข้องกับคนอื่นจะมีเจตสิกหนึ่งเกิดขึ้นซึ่งต่างออกไป ไม่ต้องการให้สิ่งนั้นเป็นสาธารณะหรือร่วมเป็นของบุคคลอื่นด้วย เรามีสมบัติยังไม่ให้ใคร หวงหรือเปล่าหรือว่าเป็นโลภะที่ติดข้องในสมบัตินั้น


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 151


    หมายเลข 9697
    31 ส.ค. 2567