โสภณเจตสิก
ผู้ฟัง อยากให้อาจารย์ช่วยอธิบาย โสภณเจตสิก
ท่านอาจารย์ โ สภณเจตสิก เชิญคุณสุภีร์
อ.สุภีร์ โสภณเจตสิก คำว่า โสภณ แปลว่าดีงาม คำว่าโสภณ ทุกท่านก็คงจะได้ยินกันมาพอสมควรแล้ว อย่างเช่นคำว่า โสภา อะไรอย่างนี้ ก็ความหมายเช่นเดียวกัน ครับ คือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นฝ่ายที่ดีงาม โสภณเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายที่ดีงาม คำว่าเจตสิก ทุกท่านคงทราบแล้วว่า เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งที่เกิดร่วมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกัน ซึ่งโสภณเจตสิกมีอยู่ ๒๕ ประเภท แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ๔ ประเภทด้วยกัน ก็คืออย่างที่ ๑ โสภณสาธารณเจตสิก นี้มี ๑๙ ประเภท ประเภทใหญ่ๆ ประเภทที่ ๒ คือ วีรตีเจตสิก เจตสิกที่ทำหน้าที่งดเว้นความประพฤติทางกายทางวาจาที่ไม่ดี ๓ ประเภท ความหมายของโสภณสาธารณเจตสิก ก็คือเจตสิกที่เป็นฝ่ายดีงาม แล้วก็เกิดกับกุศลจิต แล้วก็จิตที่ดีงามทุกประเภทเลย มี ๑๙ ประเภท ประเภทที่ ๒ ก็คือ วิรตีเจตสิก เจตสิกที่ทำหน้าที่งดเว้นการประพฤติทางกายทางวาจาที่ไม่ดีไม่งาม
ประเภทใหญ่ๆ ประเภทที่ ๓ ของโสภณเจตสิกก็คือ อัปปมัญญาเจตสิก เจตสิกที่ไม่มีประมาณในสัตว์ในบุคคล ก็คือว่า ไม่ว่าเขาจะเป็นคนดี คนไม่ดี อะไรต่างๆ ก็สามารถให้ความกรุณา มีความเป็นเพื่อนเป็นมิตรได้ ซึ่งอัปปมัญญาเจตสิกมี ๒ ประเภท ก็คือกรุณากับมุทิตา ซึ่งเราก็คงจะเคยได้ยินชื่อมาพอสมควร กรุณาเจตสิก ความกรุณา อย่าให้คนอื่นพ้นจากสิ่งที่ไม่ดีที่เขาได้รับอยู่ นี่เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง เป็นอัปปมัญญา กลุ่มของอัปปมัญญาเจตสิก แล้วอีกประเภทหนึ่ง ก็คือ มุทิตาเจตสิก มีอยู่ในกลุ่มของอัปปมัญญา มี ๒
แล้วประเภทสุดท้าย กลุ่มใหญ่ๆ ประเภทสุดท้ายก็คือ ปัญญาเจตสิก ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวหลายรอบแล้วว่า ปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง คำว่าปัญญาก็คือ สภาพธรรมหรือว่าเจตสิกประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป เกิดดับอย่างไร เป็นปัญญาเจตสิก
ฉะนั้นโสภณเจตสิก มี ๒๕ ประเภท แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ๔ ประเภท ก็คือโสภณสาธารณะ มี ๑๙ แล้ว วิรตี ทำหน้าที่งดเว้นความประพฤติไม่ดีทางกายทางวาจา ๓ อัปปมัญญาเจตสิก ที่ไม่มีประมาณในสัตว์ ในบุคคล ๒ แล้วก็ปัญญาเจตสิกอีก ๑ รวมเป็น ๒๕ ซึ่งโสภณสาธารณเจตสิกก็มีอยู่ ๑๙ ประเภท เกิดกับโสภณจิต ใน ๑๙ ประเภท นี้ ท่านอาจารย์จะให้กล่าวเลยไหมครับ ในโสภณ
ท่านอาจารย์ คือว่าตอนนี้เป็นชื่อ เป็นจำนวน เป็นตัวเลข คงไม่มีใครเอาเครื่องคิดเลขมานั่งบวก ไม่ต้องกังวลเรื่องของตัวเลข แต่ว่าความเข้าใจของเราจะทำให้เราจำ โดยที่ว่าจำพร้อมความเข้าใจ
เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวถึงโสภณสาธารณะเจตสิก ๑๙ โสภณ หมายความว่าที่เป็นสาธารณะ ต้องเกิดกับจิตที่ดีทั้งหมดเลย จะขาดเจตสิกสัก ๑ ไม่ได้เลย ๑๙ ต้องเกิดทุกครั้งที่จิตฝ่ายดีเกิด ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต หรือกุศลวิบากจิต ซึ่งมีเจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์ ที่มีเจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วย ก็จะต้องพร้อมทั้ง ๑๙ ก็น่าสนใจว่า ๑๙ อะไรตั้งมากมาย เยอะแยะเลย ขาดอันไหนก็ไม่ได้ ลองเริ่มอันที่ ๑ ซิคะ
อ.สุภีร์ ศรัทธาเจตสิก คงเคยได้ยิน ศรัทธาเจตสิก ก็ไม่ใช่ศรัทธาแบบที่เราว่าเป็นความเชื่อ อะไรที่เราใช้กันแบบสติ อะไรอย่างนี้ ศรัทธาเจตสิกเป็นเจตสิกที่ผ่องใสในกุศล เพราะเหตุว่านี่เป็น ๑ ในโสภณสาธารณเจตสิก จิตนี้ถ้าเป็นอกุศล ไม่ผ่องใส แต่เมื่อเป็นกุศล มีความผ่องใส เพราะว่ามีศรัทธาเจตสิก เป็นเจตสิกที่ผ่องใสในเมื่อเป็นกุศล นี่เป็นประเภทที่ ๑ เชิญท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ทีละอันให้หายสงสัยว่า ขณะที่กำลังฟัง มีศรัทธาเจตสิกด้วยหรือที่ฟัง ศรัทธาเจตสิกเป็นสภาพที่ผ่องใสจากอกุศล ถ้าเรายังคงอยากจะไปสนุก ไปเปิดทีวีดู ไปพักผ่อน ไปปืนเขา ไปอะไรก็ได้ ขณะนั้นไม่ใช่ศรัทธาแน่นอน แต่เป็นโลภะ
เพราะฉะนั้น ลักษณะที่ต่างกันของโลภะ ก็คือติดข้องต้องการ แต่สำหรับศรัทธา ไม่มีความติดข้องที่จะไปต้องการอย่างอื่น นอกจากขณะนั้นเป็นสภาพธรรมที่สะอาด หรือใสจากอกุศลใดๆ ที่จะมาฟังธรรม หรือจะหยิบหนังสือธรรมขึ้นมาอ่าน เมื่อวานนี้ได้ไปคนละหลายเล่ม ไม่ทราบมีใครมีศรัทธาหยิบขึ้นมาอ่านบ้างหรือยัง ขณะนั้นอาจจะไม่รู้ตัว โสภณสาธารณะ ๑๙ เกิด ขณะนั้นลักษณะของศรัทธานี่ มี ทำไมเราไม่ทำอย่างอื่น แต่มีใจที่ไม่มีโลภะ ต้องการอย่างอื่น ไม่มีโทสะ ไม่มีความที่จะไม่รู้ต่อไป
เพราะฉะนั้น จึงมีศรัทธา แม้แต่กิริยาอาการที่เอื้อมไปหยิบ ขณะนั้นจิตก็ต้องปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ จึงได้หยิบหนังสือธรรมขึ้นมา ระหว่างที่อ่านทั้งหมด ที่มีความสนใจที่จะพิจารณาข้อความนั้นๆ ก็เป็นกุศลจิต ซึ่งต้องมีศรัทธา
เพราะฉะนั้น กุศลไม่ว่าจะเป็นไปในทาน ในศีล ในสมถะ ความผ่องใส หรือว่าความสงบของจิต หรือว่าสติปัฏฐานที่จะเกิดต่อไปเมื่อมีปัจจัยเพียงพอที่จะเกิดก็เกิด ก็จะต้องมีศรัทธา ซึ่งลักษณะของศรัทธาจะไม่เหมือนกับที่เราเห็นความเชื่ออื่นๆ เขาก็มีศรัทธา อาจจะร้องเพลงสรรเสริญ หรืออาจจะทำอะไรๆ ก็ได้ มีกิริยาอาการกราบไหว้ ซึ่งเหมือนกับศรัทธา แต่ว่าเห็นผิด การเคลื่อนไหวทางกาย ทางวาจา ผิดหมด อย่างผู้ที่สรรเสริญด้วยการร้องเพลง บูชาอะไรต่างๆ ในความเห็นอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นไม่ใช่ศรัทธา แต่ดูเหมือนศรัทธา จนกระทั่งคนบอกว่าดูศรัทธาของเขา เขามีศรัทธามาก จนกระทั่งทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้ แต่ความจริงเป็นไปด้วยความเห็นผิด และมีความต้องการที่จะให้มีความเห็นผิดนั้นต่อไป จึงได้กระทำสิ่งนั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการศึกษาจริงๆ เราก็ใช้คำศรัทธาในทางที่ผิด เพราะคิดว่าความเห็นผิดก็มีศรัทธาได้ แต่ว่าถ้าโดยปรมัตถธรรมแล้ว ขณะใดที่เห็นผิด ขณะนั้นไม่มีศรัทธาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ก็เริ่มได้ยินชื่อสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ แต่ตัวจริงยังไม่เห็นเลยสักอย่าง ต้องสติปัฏฐานเท่านั้น แต่ว่าไม่ใช่เราจะไปทำสติปัฏฐาน ถ้าทำสติปัฏฐานนั้นคือผิด
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องละเอียดมากที่จะต้องสอดคล้อง และตรง ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด ถ้าอนัตตาก็คือมีความเข้าใจมั่นคงขึ้นในความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมที่จะรู้จิรงๆ ว่า อนัตตานั้นคือไม่สามารถบังคับบัญชาได้ แล้วก็ไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นธรรมจริงๆ แต่ละอย่าง ซึ่งความจริงในวันหนึ่งๆ มีแต่สภาพธรรมทั้งนั้นที่ปรากฏ ลักษณะของธรรมต่างกันไปแต่ละอย่าง เวลาโกรธ เวลาหิว เวลาดีใจ เวลาเจ็บ เป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างจริงๆ หรือเปล่าคะ จริง หรือไม่จริง จริง ไม่มีใครไปทำขึ้น แต่เกิด
เพราะฉะนั้น ความจริงก็คือว่า มีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏทุกวัน แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น เมื่อมีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ จึงฟัง ศึกษาให้เข้าใจว่าลักษณะนั้นๆ ว่า เป็นธรรมแต่ละอย่าง เป็นธรรมจริงๆ แต่เป็นธรรมที่มีลักษณะต่างกันเป็นแต่ละอย่าง
เพราะฉะนั้น เวลาที่กุศลจิตเกิด ยังไม่รู้เลยว่า มีธรรมอะไรบ้าง เพราะตั้ง ๑๙ อย่างแล้วยังไม่ปรากฏเลย แต่จากการฟัง เริ่มเข้าใจ เวลาที่สภาพธรรมใดมีลักษณะนั้นๆ ปรากฏ ให้รู้ ถ้าเป็นผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน ก็เพียงฟัง แต่ว่าไม่รู้ลักษณะจริงๆ ที่ปรากฏ แต่พอเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน เริ่มที่จะมีขณะที่เป็นสติปัฏฐานที่จะรู้ลักษณะนั้นๆ ว่า เป็นธรรม