โกรธแล้วไม่ลืม


    ผู้ฟัง อาจารย์กล่าวถึงโทสะกับพยาปาท ท่านจะอุปมาเหมือนกับเรากรีดของมีคมกับกระแสน้ำซึ่งครู่เดียวก็หายไปได้ แต่ว่าถ้าหากว่าเรากรีดของมีคมกับหินก็มีรอยอยู่บ้าง และก็รอยนั้นก็นานกว่าจะหาย ลักษณะนั้นน่าจะเป็นความผูกโกรธใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ ก็ชื่อ โกรธเมื่อไหร่ก็คือโทสะ ลักษณะนั้นเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ว่าจะมากจะน้อย สิ่งที่เคยผ่านไปแล้วเป็นอดีต คิดขึ้นมาอีก จิตขุ่นขณะใด ก็รู้ว่าขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แทนที่จะไปนึกถึงชื่อ

    ผู้ฟัง ทีนี้ความผูกโกรธคงจะต้องอาศัยเวลากว่าจะลบเลือนหายไป

    ท่านอาจารย์ เป็นพระอนาคามีบุคคล และที่ใช้คำว่า “ผูกโกรธ” ก็คือว่าโกรธแล้วไม่ลืมใช่ไหม ความที่ไม่ลืม คิดถึง ก็แสดงให้เห็นว่าขณะนั้นไม่ใช่โกรธใหม่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าที่ไม่ลืม ขณะนั้นก็ใช้คำว่าผูกโกรธ คือยังโกรธอยู่ แล้วแต่ว่าความผูกโกรธแต่ละคนจะหนาจะมากจะคั่งแค้นถึงระดับไหน แต่ว่าเพียงแค่คิดไม่ลืมก็คือผูกโกรธ ยังโกรธอยู่ ยังนึกถึงอยู่ และอีกระดับหนึ่งก็คือว่าแม้จะนึกถึง จิตที่คิดก็ไม่ได้โกรธ ใครจะรู้นอกจากผู้โกรธหรือว่าผู้ที่กำลังสภาวธรรมนั้นๆ เกิดเท่านั้น คนอื่นก็บอกไม่ได้ถึงความต่าง หรือว่าขณะทีคิด ความโกรธลักษณะนั้นยังจำได้ว่าโกรธระดับไหนแค่ไหน แทนที่จะคิดถึงเรื่องก็ไปคิดถึงลักษณะความโกรธ นี่ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นความหลากหลายของธรรมมีมากมายเหลือเกิน แม้ว่าจิตโดยประมวลไว้ก็คือ ๘๙ และเจตสิก ๕๒


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164


    หมายเลข 9851
    3 ก.ย. 2567