หนทางเดียวที่จะดับความโกรธไม่ให้เกิดอีกเลยในสังสารวัฏฏ์
ผู้ฟัง สิ่งที่ผมประพฤติปฏิบัติอยู่ก็คือให้เป็นโยนิโสมนสิการ
ท่านอาจารย์ ให้เป็นโยนิโสมนสิการหมายความว่ายังไง
ผู้ฟัง คือให้คิดโดยแยบคาย
ท่านอาจารย์ คิดโดยแยบคายแล้วทำไมจะต้องใช้คำนี้ด้วย หรือว่าถ้าไม่ใช้โยนิโสมนสิการแล้วไม่แยบคาย
ผู้ฟัง คือมีศัพท์เฉพาะอยู่ คือเจอเหตุการณ์นี้แล้ว คิดว่าเป็นกรรมของเราที่ทำไว้แล้วในอดีต เช่นนี้เองก็ต้องมารับกรรม
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นบรรเทาความโกรธ ทำให้ความโกรธไม่เกิดแต่ต่อไปก็เกิดอีกในสังสารวัฏฏ์ ที่จะไม่เกิดอีกนั้นไม่มี มีหนทางเดียว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหนทางนี้ และเรามีโอกาสได้ยินได้ฟังไหม ถ้ามีโอกาสได้ยินได้ฟังก็จะเป็นปัจจัยให้สัมมาสติระลึกได้ แทนที่จะไปคิดว่าจะให้ความโกรธลดน้อยลงได้ยังไง แม้แต่ความคิดก็หลากหลาย เราจะไปบังคับความคิดของใครก็ไม่ได้ ถ้าเกิดคิดอยากจะไม่ให้โกรธ ก็มีพระธรรมข้ออื่น ระดับอื่นที่ทรงแสดงไว้ แต่ว่าหนทางเดียวที่จะดับความโกรธไม่ให้เกิดอีกเลยในสังสารวัฏฏ์ ก็ต่อเมื่อรู้ลักษณะของความโกรธขณะที่ความโกรธนั้นปรากฏ ไม่มีเยื่อใยความเป็นเราต้องการที่จะไม่โกรธ เห็นไหม แม้ขณะนั้นก็ไม่รู้ว่าสักกายทิฏฐินี้เมื่อไหร่จะหมดไป
ผู้ฟัง อันนี้เป็นเรื่องยาก
ท่านอาจารย์ ยากก็คือยาก อบรมได้ ไม่ได้หมายความว่ายากแล้วจะไม่มีใครรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้เลย ยาก แต่ว่ามีผู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญาทุกกาลสมัยของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ถ้ายังไม่อบรม มัวแต่มุ่งว่าทำยังไงจะไม่โกรธก็จะมีการเสพคุ้นกับการคิดว่าจะทำยังไงไม่ให้โกรธอยู่เรื่อยๆ และก็คิดได้เพียงแค่นั้น แต่ว่าห้ามไม่ได้ แล้วแต่ว่าเราสะสมอะไรมา เกิดปัจจัยที่จะคิดขณะนั้นก็รู้จนกว่าทั้งหมดก็เป็นธรรม
ผู้ฟัง ถ้าหากสะสมความไม่โกรธก็น่าจะดีเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ แต่ดับหมดเป็นสมุทเฉทหรือเปล่า หรือเพียงไม่โกรธตามกาลสมัย
ผู้ฟัง ค่อยๆ ลดลง
ท่านอาจารย์ ลดลงแล้วก็ยังเกิดอีก ไม่ใช่ลดลงแล้วหมด เพราะว่ายากที่จะมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ฟังอื่นฟังได้ คิดอื่นก็คิดได้ แต่ที่จะฟังจนกระทั่งเป็นสัญญาความจำที่มั่นคงเป็นสัจจญาณ ที่จะเป็นปัจจัยให้สติเกิด และก็ระลึกได้ในขณะนั้นที่จะรู้ ค่อยๆ เข้าใจลักษณะนั้น แทนที่มีความเป็นตัวเราที่ไม่อยากจะมีความโกรธ
ที่มา ...