กิเลส-อุปกิเลส


    ผู้ฟัง คำว่ากิเลสคืออะไร อุปกิเลสเหมือนกับกิเลสหรือไม่ ตัวสภาพธรรมสองตัวนี้เหมือนกันหรือไม่

    อ.วิชัย กิเลสก็คือเครื่องเศร้าหมอง ก็มี “อุป” หมายถึงกิเลสที่มีกำลัง หรือกิเลสที่เกิดบ่อยๆ ภวังคจิตโดยสภาพเป็น ปภัสสร แต่ว่าเศร้าหมองเมื่ออุปกิเลสที่จรมา เพราะเหตุว่าโดยปกติแล้ว ตัวสภาพของภวังคจิตไม่เศร้าหมอง ภายหลังขณะที่เป็นชวนะเป็นอกุศล กล่าวว่าภวังคจิตนั้นเศร้าหมองด้วย เมื่อสภาพที่เป็นโทสะ เมื่อเกิดดับไปแล้วก็สั่งสมเป็นปฏิฆานุสัย เมื่อโลภะความติดข้องพอใจ เมื่อเกิดดับแล้วก็สั่งสมเป็นกามราคานุสัย ก็สั่งสมในจิตไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทใดก็ตาม

    อ.ธีรพันธ์ อุปกิเลส ๑๖ ข้อแรก อภิชชาวิสมโลภะ ก็คือ ความโลภ คือโลภเจตสิก อันนี้เป็นข้อแรก ข้อที่สอง พยาปาท ก็คือโทสเจตสิกแต่ในระดับที่เป็นความพยาบาท ไม่ใช่โกรธเล็กๆ น้อยๆ แต่ว่าเป็นขั้นที่มีพยาปาทเกิดขึ้น ที่สามเป็น โก ธะ ก็คือความโกรธ โทสเจตสิกเหมือนกัน ที่สี่ อุปนาหะ อันนี้เป็นความผูกโกรธ ข้อที่ห้า มัคคะ ความลบหลู่ หลบหลู่คุณท่าน " ปลาสะ" ตีเสมอ ไม่มีคุณธรรมที่เทียบเทียมท่านหรือไม่มีคุณธรรมเลย แต่ว่าไปตีเสมอท่าน “ อิสสา ” ในภาษาไทยก็ใช้คำว่าอิจฉา แต่ว่าอิจฉาในภาษาบาลีคือความอยากได้ ไม่ยินดีที่ผู้อื่นได้สิ่งที่ได้มาก็คืออิจฉา ต่างกับ" มัจฉริยะ" ก็คือไม่อยากให้สมบัติของตัวเองสาธารณแก่ผู้อื่น อันนี้เป็นมัจฉริยะ ความตระหนี่“ มายา ” คือ เสแสร้ง ไม่จริง “ สาเถยยะ ” โอ้อวด ไม่มีคุณธรรมแต่ว่าก็โอ้อวดให้ผู้อื่นเห็นว่ามี “ ถัมภะ ” หัวดื้อ ไม่รับคำสอนโดยเคารพ คนอื่นว่ากล่าว เพื่อนสหพรหมจรรย์ว่ากล่าวตักเตือนก็หัวดื้อไม่ยอมรับฟัง “ สารัมภะ ” แข่งดี ฟังดูเหมือนจะเป็นการดี แต่ว่าการแข่งดีนี้เป็นอกุศล แข่งดีเห็นคนอื่นเก่งกว่าในทางศีล หรือว่ามีคุณธรรม ก็คิดที่จะแข่งดี แต่ขณะที่จะคิดแข่งดี ขณะนั้นไม่ใช่กุศล เป็นความคิดที่จะแข่ง เป็นอกุศล “ มานะ ” ก็คือความสำคัญตน " อติมานะ" ก็คือยิ่งกว่านั้นอีก คือดูหมิ่นท่าน เพิ่มคำว่า”อติ”เข้ามาอีก “ มาทะ ” คือความมัวเหมา ประมาทก็คือความประมาท ที่เราได้ยินได้ฟังกันอันนี้ก็เป็นอุปกิเลส ๑๖ ข้อที่กล่าวไว้พอคร่าวๆ

    อ.อรรณนพ นั่นคืออุปกิเลสซึ่งมีโดยนัยที่เป็น ๑๖ ประการ จริงๆ แล้วอกุศลเจตสิกที่เป็นกิเลสมี ๑๐ แต่ว่าด้วยความหลากหลาย ท่านจึงแสดงมาเป็น๑๖ ท่านอาจารย์ได้ช่วยอธิบายความเข้าใจของกิเลสกับอุปกิเลส

    ท่านอาจารย์ ถ้าจำแนกอกุศลเจตสิก ๑๔ ก็มีหลายประการ เช่น บางประเภทก็เป็นโอฆะ บางประเภทก็เป็นอาสวะ และที่เป็นกิเลสประเภทที่เศร้าหมองก็มี ๑๐ แต่สำหรับอุปกิเลส ๑๖ ถ้าเป็นปกติธรรมดาอย่างโลภะที่เรากำลังเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วพอใจ จะรู้ไหมว่าเป็นโลภะ บางคนบอกไม่มี เขาไม่มีโลภะ เขาไม่ได้อยากได้ของใคร นั่นก็แสดงให้เห็นว่าไม่รู้จริงๆ ว่าโลภะก็มีหลายระดับ โลภะทั่วๆ ไป ธรรมดาเป็นปกติ ไม่ได้มีอาการที่จะทำให้เห็นความเป็นโลภะ จนกว่าจะถึงโลภะที่ผิดปกติวิสมโลภะ ก็จะมีความอยากได้ มีความต้องการ มีกิริยาต่างๆ ที่แสดงให้แม้ตนเองไม่รู้คนอื่นก็รู้ได้ว่าคนนี้โลภมาก หรือว่าเป็นคนโลภ แต่ว่าความจริงก็คือลักษณะของความติดข้องคือโลภะนั่นเอง แต่ว่าแสดงอาการให้เห็น ในขณะที่ถ้าเป็นแต่เพียงเล็กๆ น้อยๆ ธรรมดา ปกติทั่วๆ ไป จะมีใครรู้บ้างว่าเป็นโลภะแล้ว เวลารับประทานอาหาร อาหารยังไม่ได้เข้าปากเลย เดินไปเป็นโลภะประเภทไหน


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 164


    หมายเลข 9855
    3 ก.ย. 2567