ความเข้าใจมาจากไหน


    ผู้ฟัง ขอถามอีกครั้งหนึ่ง คือ ถ้าสมมติเราได้ยินเสียง แต่ดูเหมือนรับ แต่ก็คือปล่อย นั่นก็คือ

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน ในความรู้สึกของเรา ได้ยินเสียง รับแล้วปล่อย แต่ความเป็นจริง เราจะรับหรือไม่รับ เสียงปรากฏ เราจะปล่อยหรือไม่ปล่อย เสียงดับ

    ผู้ฟัง ความหมายก็คือ ชีวิตนี้ เราก็ไม่ใช่ มันไม่ใช่ คนแก่บอกว่า มันยังไม่ควรจบ จนกว่าเราตาย แต่เราเตรียมพร้อม เพื่อให้เราคนวันหน้าที่เราตาย ใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าเราเกิดมา เรายังไม่มีความรู้ความจริงของสภาพธรรม ถูกไหมคะ แล้วเราค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ ไตร่ตรองให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ แล้วเราไม่เคยรู้ แล้วเราเคยยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล จนกระทั่งรู้ความจริงว่า สิ่งนั้นๆ แม้มีจริงก็ไม่ใช่ใครเลย ไม่ใช่ของใครด้วย เป็นเพียงแต่สภาพธรรมแต่ละอย่างที่เกิดแล้วก็ดับ ไม่มีสภาพธรรมใดเลยซึ่งเกิดแล้วไม่ดับ แล้วสภาพธรรมที่เกิดก็ต้องมีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดด้วย ไม่ใช่อยู่ดีๆ ใครอยากให้เกิดก็เกิด ใครไม่อยากให้เกิดก็ไม่เกิด ไม่ใช่อย่างนั้น สภาพธรรมมีเหตุปัจจัยที่จะเกิดจึงเกิด ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยก็ไม่เกิด อย่างถ้าเราไม่มีเหตุปัจจัยที่จะโกรธ ความโกรธก็ไม่เกิด แต่ถ้ามีเหตุปัจจัยของโกรธ โกรธก็เกิด จะบังคับไม่ให้โกรธเกิดก็ไม่ได้ แล้วโกรธก็ดับ เราจะบอกว่าไม่ให้ดับได้ไหม

    ผู้ฟัง หนูเข้าใจความหมายก็คือ นี่จะไม่เกิดขึ้นที่ nutrious law ที่ ๓ ใช่ไหมคะ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น เหมือนเท่าเทียมกัน เพราะว่าอะไร คือไม่ใช่อนัตตา คือไม่มี law นี้แล้ว

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน ถ้าจะใช้ว่าทั้งหมดเท่าเทียมกัน สภาพธรรมก็ต้องไม่ต่างกัน แต่นี้สภาพธรรมต่างกัน เป็นกุศลกับอกุศล นี่เท่าเทียมกันไหม นี่คือเรื่องละเอียด สภาพธรรม ละเอียดมาก แต่เพราะเป็นสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้น ถ้าเราฟัง แล้วเราค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ พิจารณา ความรู้จะค่อยๆ เกิดขึ้น เป็นผู้ที่ตรงว่า ความรู้ คือความเข้าใจสิ่งที่มีอยู่ซึ่งไม่เคยเข้าใจ โดยอาศัยการฟังแล้วพิจารณา ถ้าไม่มีการฟังอย่างไรๆ เราก็คิดเองไม่ได้ ที่จะเห็นว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เกิดขึ้นแล้วดับไป จะคิดอย่างไร

    ผู้ฟัง ผมเข้าใจว่า เขาไม่เข้าใจเรื่อง อนัตตา เมื่อกี้ได้ยินเสียงอาจารย์พูดไหมครับ ได้ยินอาจารย์พูดไหม เมื่อกี้นี้ ใครได้ยิน

    ผู้ฟัง หนูตอบว่า หนูได้ยิน

    ผู้ฟัง ทีนี้จริงๆ แล้ว หนู คือเรา ใช่ไหม พูดคำว่าเรา ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่คะ

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วเราไม่มี ตามความเป็นจริง โดยสมมติ มีเราทุกคน โดยจริงๆ แล้วที่เป็นความจริงไม่มีเรา ที่เราได้ยิน เพราะมีเหตุมีปัจจัย เพราะหนูมีหู มีเสียงมาพูด แล้วมีช่องว่างในหู แล้วมีความตั้งใจ คือ จิตของหนูจะฟัง รวม ๔ อย่างนี้ หนูได้ยิน จริงๆ แล้วสภาพธรรมได้ยิน ไม่ใช่หนูได้ยิน

    ผู้ฟัง ฟังเหมือนฟังลม บางครั้งรู้สึกว่า เข้าใจหรือไม่เข้าใจ พัดไปพัดมาอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ แสดงว่าการพิจารณายังไม่พอ เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรม ฟังมาก สาวกติดตามพระผู้มีพระภาคไป สาวกในครั้งนั้น คิดถึงปัญญาของสาวกในครั้งนั้น เพื่อฟังพระธรรม ทั้งๆ ที่ฟังแล้ว บางครั้งสาวกฟังโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่ด้วยพระมหากรุณาแม้ ทรงทราบก็ทรงแสดงซ้ำ ไม่ใช่เราฟังวันนี้ แล้วเราเข้าใจทันที แต่เราต้องรู้ความเข้าใจ จากการไปนั่งดูพองยุบ หรือว่าจากการฟังพระธรรมที่ทรงแสดง แล้วค่อยๆ พิจารณาจนกว่าจะเข้าใจ เราต้องเป็นผู้ที่ตรงว่า ความเข้าใจของเรามาจากไหน แล้วเราก็จะได้เข้าใจขึ้น โดยวิธีนั้น ไม่ใช่โดยวิธีอื่น ถ้าโดยการฟังเข้าใจก็ฟังอีก ถ้าฟังยังไม่เข้าใจ แต่ว่าพูดเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ได้พูดเรื่องอื่น พูดเรื่องสิ่งนี้ วันนี้ เดี๋ยวนี้ ถ้าเราฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น หรืออาจจะยังไม่เข้าใจชัดเจน ถ้าฟังอีกก็ยังเป็นเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ที่จะให้เข้าค่อยๆ พิจารณาเข้าใจ ได้

    ผู้ฟัง หนูอยากถามว่า สมมติว่าเรารู้ว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา ทำไมเราต้องรู้ว่า จิตนี้ จิตนั้น ทั้งที่เรารู้ว่ามันอนัตตา เราก็ปล่อยไว้ ปล่อยวางๆ ทุกวัน ทุกวัน

    ท่านอาจารย์ นั่นคือไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นอนัตตาจริงๆ ก็ละความเป็นเรา ไม่ใช่จิต เจตสิก ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา แล้วเราจะทำอย่างอื่น ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ถ้ารู้จริงๆ ว่า ไม่ใช่เรา เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ความรู้อันนี้ก็ละความยึดถือซึ่งไม่เคยรู้ แล้วก็ยังมีเราอยู่

    ผู้ฟัง อย่างนั้นถ้าสมมติเราคิดผิด ก็ปล่อยเขาไป ใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ ปล่อยหรือไม่ปล่อย ความคิดก็ดับ เราอย่าไปคิดว่าเราปล่อย

    ผู้ฟัง ความหมายอาจารย์บอกว่า มันดับ แต่มันผิดแล้ว

    ท่านอาจารย์ ผิดแล้วมันก็เกิดอีกได้ ถ้าความรู้เราไม่พอ เพราะฉะนั้น คนเราที่จะให้หมดอกุศล ไม่มีเหลือเลย ต้องเป็นพระอรหันต์ แต่ว่ากว่าจะเป็นพระอรหันต์ ต้องเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นก่อน คือ พระโสดาบัน พระโสดาบันยังมีอกุศล แต่ไม่เห็นผิดในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะว่ารู้ลักษณะของธรรมเป็นธรรมแต่ละอย่าง มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ก็หมดความยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตน แต่รู้ว่า ธรรมเป็นธรรม เป็นธาตุแต่ละชนิด โลภะเป็นธาตุชนิดหนึ่ง โทสะเป็นธาตุชนิดหนึ่งปัญญาเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ธรรมทุกอย่างเป็นธาตุทั้งหมด

    เพราะฉะนั้น ก็รู้ความจริงของธาตุว่า เมื่อมีเหตุปัจจัยที่ธาตุชนิดนั้นยังจะต้องเกิดก็ต้องเกิด จนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง จึงจะละอกุศลต่อไปอีกได้ ต่อไปอีกได้ จนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์ แต่ต้องเป็นปัญญา ต้องเป็นความรู้ถูก ความเห็นถูก


    หมายเลข 9961
    15 ส.ค. 2567