ศัตรูที่เกิดขึ้นภายในตน


    ผู้ฟัง ความปรารถนาของผู้เป็นศัตรู ผู้ไม่หวังดี เช่น ขอให้อยู่เป็นทุกข์อย่าอยู่เป็นสุขเลย ขออย่าให้มีโภคทรัพย์เลย เป็นต้น อันผู้มักโกรธได้ทำแล้วแก่ตนเอง เท่ากับทำตนให้เป็นศัตรูของตน เป็นศัตรูที่เกิดขึ้นภายในตน แล้วทำลายตนเอง ขณะที่เกิดอารมณ์นี้ก็เกิดสะใจ เหตุใดจึงกล่าวว่าทำลายตนเอง

    อ.วิชัย ขณะนั้นก็อาจจะมีฉันทะ (ความพอใจ) ในความโกรธนั้นๆ แต่ว่าทุกข์โทษที่เกิดจากโทสะ อกุศลธรรม ทรงแสดงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ยกตัวอย่าง เช่นโทสะ ปาณาติบาตก็มีมูลคือมีโทสมูล และก็โมหมูล ฉะนั้นความเป็นมูลรากเพราะว่าเป็นเหตุให้กระทำปาณาติบาต หรือว่าโดยความเป็นอุปนิสสยปัจจัย ก็คือเมื่อโกรธแล้วย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงขณะนั้นเมื่อมีความโกรธ อาจจะพูดถึงความสะใจต่างๆ แต่ว่าทุกข์โทษที่เกิดจากโทสะมี ถ้าเกิดโทสะเจริญมากขึ้น แล้วก็ไปล่วงอกุศลกรรม เมื่ออกุศลกรรมให้ผลก็เป็นเหตุให้เกิดในอบายภูมิ แต่เมื่อพิจารณาจริงๆ ขณะที่โกรธเป็นสุขไหม ขณะนั้นก็มีความเดือดร้อนใจกระวนกระวายใจ และเวทนาก็เป็นโทมนัสเวทนาด้วยก็เป็นความทุกข์ใจ


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 174


    หมายเลข 9989
    3 ก.ย. 2567