พระพุทธศาสนามีองค์ ๙
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
พระพุทธพจน์ คือ พระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ประกอบด้วยองค์ ๙ คือ
๑. สุตตะ ได้แก่ พระสูตรทั้งหลาย มีมงคลสูตร เป็นต้น รวมถึงพระวินัยปิฎก และนิทเทส
๒. เคยยะ คือ พระสูตรทั้งหมดที่มีคาถา มีสคาถวรรค เป็นต้น
๓. เวยยากรณะ คือ พระอภิธรรมปิฎก พระสูตรที่ไม่มีคาถาปน และพระพุทธพจน์ที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘
๔. คาถา คือ พระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ไม่มีชื่อสูตรในสุตนิบาต
๕. อุทาน คือ พระสูตร ๘๒ สูตรพระผู้มีที่พระภาคทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ
๖. อิติวุตกะ คือ พระสูตร ๑๑๐ สูตรขึ้นที่ต้นด้วยคำว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา (ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว)
๗. ชาตกะ คือ เรื่องอดีตชาติของพระผู้มีพระภาคและพระสาวก มีอปัณณกชาดก เป็นต้น รวม ๕๕๐ ชาดก
๘. อัพภูตธรรม คือ พระสูตรที่ประกอบด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรม (ธรรมที่ยิ่งด้วยคุณพิเศษอันน่าอัศจรรย์)
๙. เวทัลละ คือ พระสูตรที่เมื่อถามแล้วๆ ได้ความรู้แจ้ง และความยินดียิ่งๆ ขึ้น มีจูฬเวทัลลสูตร เป็นต้น
พระพุทธพจน์ มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันท่านพระอานนท์เรียนจากพระผู้มีพระภาคมา ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียนจากพระภิกษุ มีท่านพระสารีบุตร เป็นต้น ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ พระธรรมขันธ์ คือ ธรรมแต่ละข้อซึ่งอาจจะเป็นพระสูตร ๑ พระสูตรก็ได้เป็น ๑ พระธรรมขันธ์ หรือปัญหา ๑ข้อ ก็เป็น น็น็็้๑ พระธรรมขันธ์ คำวิสัชนาข้อหนึ่งๆ ก็เป็นพระธรรมขันธ์หนึ่งๆ เป็นต้น
พระวินัยปิฎก มี ๕ คัมภีร์ คือ
มหาวิภังค์
ภิกขุนีวิภังค์
มหาวรรค
จุลวรรค
ปริวาร
คัมภีร์อรรถกถา ซึ่งอธิบายข้อความในพระวินัยปิฏก คือ สมันตปาสาทิกา
พระสุตันตปิฎก มี ๕ นิกาย คือ
ทีฆนิกาย รวมพระสูตรขนาดยาว มีพระสูตร ๓๔ สูตร แบ่ง เป็น ๓ วรรค คือ
สีลขันธวรรค
มหาวรรค
ปาฏิกวรรค
คัมภีร์อรรถกถาทีฆนิกาย คือ สุมังคลวิลาสินี
มัชฌิมนิกาย รวมพระสูตรขนาดกลาง มี พระสูตร ๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ คือ
มูลปัณณาสก์ มี ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร รวม ๕๐ สูตร
มัชฌิมปัณณาสก์ มี ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร รวม ๕๐ สูตร
อุปริปัณณาสก์ มี ๕ วรรค ๔ วรรคแรกมีวรรคละ ๑๐ สูตร วรรคที่ ๕ มี ๑๒ สูตร รวม ๕๒ สูตร
คัมภีร์อรรถกถามัชฌิมนิกาย คือ ปปัญจสูทนี
สังยุตนิกาย รวมพระสูตรเป็นพวกๆ แบ่งเป็นวรรคใหญ่ ๕ วรรค คือ
สคาถวรรค มี ๑๑ สังยุตต์
นิทานวรรค มี ๙ สังยุตต์
ขันธวารวรรค มี ๑๓ สังยุตต์
สฬายตนวรรค มี ๑๐ สังยุตต์
มหาวารวรรค มี ๑๒ สังยุตต์
คัมภีร์อรรถกถาสังยุตนิกาย คือ สารัตถปกาสินี
อังคุตตรนิกาย รวมพระสูตรตามจำนวนประเภทของธรรม แบ่งเป็น ๑๑ นิบาต คือ
เอกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๑
ทุกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๒
ติกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๓
จตุกกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๔
ปัญจกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๕
ฉักกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๖
สัตตกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๗
อัฏฐกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๘
นวกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๙
ทสกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๑๐
เอกาทสกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๑๑
คัมภีอรรถกถาอังคุตรนิกาย คือ มโนรถปูรณี
ขุททกนิกาย นอกจากนิกาย ๔ มีทีฆนิกาย เป็นต้น นั้นแล้ว พระพุทธพจน์อื่นนอกจากนั้นรวมเป็นขุททกนิกาย มี ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก มหานิทเทส จูฬนิทเทส ปฏิสัมภิทามัคค์ อปทาน พุทธวงศ์ และ จริยาปิฎก
คัมภีร์อรรถกถาขุททกนิกาย คือ
ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกายขุททกปาฐะและสุตตนิบาต
ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาคาถาธรรมบท
ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอุทาน อิตติวุตตกะ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา จริยาปิฎก
ปรมัตถทีปนี (วิมลัตถทีปนี) อรรถกถาวิมานวัตถุ
ชาตกัฏฐกถา อรรถกถาชาดก
สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส จูฬนิทเทส
สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาปฏิสัมภิทามัคค์
วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาอปทาน
มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์
พระอภิธรรมปิฎก มี ๗ คัมภีร์ คือ
ธัมมสังคณีปกรณ์ อรรถกถา คือ อัฏฐสาลินี
วิภังคปกรณ์ อรรถกถา คือ สัมโมหวิโนทนี
ธาตุกถาปกรณ์, ปุคคลปัญญัติปกรณ์, กถาวัตถุปกรณ์, ยมกปกรณ์, ปัฏฐานปกรณ์ อรรถกถา คือ ปรมัตถทีปนี ปัญจปกรณัฏฐกถา
อรรถกถาพระไตรปิฎกนั้น ส่วนใหญ่ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ แปลและเรียบเรียงจากอรรถกถาเดิมในภาษาสิงหล คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที ซึ่งสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยท่านพระมหินทเถระ พระโอรสพระเจ้าอโศกมหาราชไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศ ศรีลังกา
นอกจากคัมภีร์ฎีกา ซึ่งอธิบายข้อความในคัมภีร์อรรถกถา คือ สารัตถทีปนี (คัมภีร์ฎีกาพระวินัยปิฎก) สารัตถมัญชุสา (คัมภีร์ฎีกา พระสุตตันตปิฎก) ปรมัตถปกาสินี (คัมภีร์ฎีกาพระอภิธรรมปิฎก) อนุฎีกา ซึ่งอธิบายคำศัพท์ในฎีกา และอัตถโยชนา ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ของบทที่ใช้ในอรรถกถาแล้ว คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่ควรค่าแก่การศึกษาซึ่งท่านพระเถระผู้ทรงคุณในอดีตสมัยต่อๆ มา ได้รจนาไว้ เช่น
มิลินทปัญหา รจนาโดย ท่านปิฏกจุฬาภัย ประมาณ พ.ศ. ๕๐๐
วิสุทธิมัคค์ รจนาโดย ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ พ.ศ. เกือบ ๑๐๐๐
อภิธัมมัตถสังคหะ รจนาโดย ท่านพระอนุรุทธาจารย์ประมาณ พ.ศ. เกือบ ๑๐๐๐
สารัตถสังคหะ รจนาโดย ท่านพระนันทาจารย์ประมาณ พ.ศ. เกือบ ๑๐๐๐
ปรมัตถมัญชุสา (ฎีกาอธิบายวิสุทธิมัคค์) รจนาโดยท่านพระธัมมปาลาจารย์
สัจจสังเขป รจนาโดย ท่านพระธัมมปาลาจารย์
อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา (อธิบายคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ) รจนาโดย ท่านพระสุมังคลาจารย์
โมหวิจเฉทนี (อธิบายธัมมสังคณีปกรณ์ และวิภังคปกรณ์) รจนาโดย ท่านพระกัสสปะ ประมาณ พ.ศ.๑๗๐๓–๑๗๗๓
มังคลัตถทีปนี (อธิบายมงคลสูตร) รจนาโดยท่านสิริมังคลาจารย์ ชาวเชียงใหม่
- พระพุทธศาสนามีองค์ ๙
- ปรมัตถธรรมสังเขป
- จิตตสังเขป บทที่ ๑ ความสำคัญของจิต
- จิตตสังเขป บทที่ ๒ คำอธิบายจิต
- จิตตสังเขป บทที่ ๓ คำอธิบายจิต (ต่อ)
- จิตตสังเขป บทที่ ๔ วิถีจิต, ทวาร, วัตถุ
- จิตตสังเขป บทที่ ๕ ชาติของจิต
- จิตตสังเขป บทที่ ๖ จิต ๘๙ จำแนกเป็น ๔ ชาติ, กิจของจิต
- จิตตสังเขป บทที่ ๗ อรรถของจิต
- จิตตสังเขป บทที่ ๘ อรรถของจิต (ต่อ)
- จิตตสังเขป บทที่ ๙ ภูมิของจิต
- จิตตสังเขป บทที่ ๑๐ จิตต่างกันโดยสัมปยุตตธรรม
- จิตตสังเขป บทที่ ๑๑ สัมปยุตตธรรม
- จิตตสังเขป บทที่ ๑๒ คำอธิบาย อสังขาริก และ สสังขาริก
- จิตตสังเขป บทที่ ๑๓ จิตต่างกันโดยสัมปยุตตธรรมที่เป็นเหตุ
- จิตตสังเขป บทที่ ๑๔ จิตต่างกันโดยนัยของโสภณะและอโสภณะ
- จิตตสังเขป บทที่ ๑๕ จิตต่างกันโดยนัยของโลกิยจิตและโลกุตตรจิต
- จิตตสังเขป บทที่ ๑๖ อรรถของจิตประการที่ ๕ ชื่อว่า จิต เพราะกระทำให้วิจิตร
- บัญญัติ
- ภาคผนวก จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภท
- ภาคผนวก เจตสิก ๕๒ ประเภท
- ภาคผนวก รูป ๒๔ ประเภท
- สมถภาวนา
- วิปัสสนาภาวนา
- แนวทางเจริญวิปัสสนา