แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 984
ถ. ทำอย่างไรสติและปัญญาจึงจะเกิดมาก เกิดบ่อย
นีน่า ถ้ามีความคิดว่า สติและปัญญาต้องเกิดมาก ผิดแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าศึกษาธรรม ศึกษาพระอภิธรรมด้วย พระสูตรด้วย พระวินัยด้วย พระสูตร เรื่องลักษณะที่ปรากฏโดย ๖ ทวาร พระผู้มีพระภาคตรัสเสมอเรื่อง ๖ ทวาร แต่ละทวาร ฟังดีๆ และพิจารณา ต้องพิจารณาด้วยที่พระผู้มีพระภาคตรัส ถ้าฟังแล้วลืม ไม่มีประโยชน์ ต้องฟังบ่อยๆ อ่านและพิจารณาถูกต้องโดยแยบคาย นี่เป็นเหตุปัจจัยเดียวที่จะทำให้ปัญญาเจริญได้ ถ้าไม่ติดในสติปัญญา มีความคิดว่า ตัวเองอยากจะมีปัญญา
ถ. คุณนีน่ารู้จักอาจารย์สุจินต์เมื่อไร ตอนไหน
นีน่า ออกจากเมืองไทย ๑๐ กว่าปีแล้ว ได้พบคุณสุจินต์คิดว่า ๑๔ ปีมาแล้ว และถามอาจารย์สุจินต์เรื่องพระอภิธรรมตลอดเวลา บอกอาจารย์ว่าอาจจะอยู่เมืองไทยไม่นานเท่าไร อาจจะ ๒ ปี ๓ ปี ๔ ปี ๕ ปี มีโอกาสไปกับอาจารย์สุจินต์ ถามเสมอๆ เพราะว่าถ้ามีคำถาม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ต้องถามด้วย ต้องฟังด้วย เพราะธรรมไม่ง่ายเลย ต้องพิจารณาให้มีความเข้าใจ และปัญญาจะเจริญขึ้นได้
ถ. เมื่อฟังอาจารย์สุจินต์อธิบายแล้ว ประมาณนานเท่าไรจึงจะเข้าใจลักษณะของสติ
นีน่า อาจจะยังไม่เข้าใจถูกต้อง เริ่มเข้าใจเท่านั้นเอง เพราะว่าหลายครั้งอาจจะไม่แน่ใจ มีสติหรือเปล่า สงสัยมีลักษณะด้วย เป็นลักษณะความสงสัย หลายลักษณะที่ไม่ชอบ ไม่ชอบความสงสัย แต่มีลักษณะ เป็นความจริง เกิดขึ้นโดยมีเหตุปัจจัย รู้ได้ถ้าเข้าใจ เป็นการเริ่มเท่านั้นเอง ไม่แน่ใจ ไม่รู้ละเอียด อาจจะไม่ได้ในชีวิตนี้ แต่เริ่มเท่านั้นเอง
ถ. คุณนีน่าบอกว่า โลภะก็ควรรู้ ในเมื่อลักษณะของโลภะเราก็ยังไม่รู้จัก จะรู้ได้อย่างไรว่า รู้โลภะ
นีน่า โลภะกำลังปรากฏ เท่านั้นเอง มีความรู้สึกด้วย โลภะมีความรู้สึกดีใจด้วย ความรู้สึกไม่เหมือนกับโลภะที่ติดในอะไร แต่ความรู้สึก ดีใจ หรืออุเบกขาก็ได้ มีความรู้สึกตลอดเวลา มีลักษณะด้วย ถ้าเราคิดถึงเรื่องชื่อโลภะ บังคับให้รู้ลักษณะจริงๆ อาจจะเป็นลักษณะความรู้สึกดีใจที่ปรากฏ แล้วแต่สติ บังคับไม่ได้เลย แล้วแต่สิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นวิธีเดียว ถ้าโลภะกำลังปรากฏ ก็เป็นอารมณ์ของสติ ซึ่งปัญญารู้ได้ บางทีโลภะไม่ปรากฏ แต่เป็นความรู้สึกดีใจที่ปรากฏ กำลังปรากฏ รู้ลักษณะของความรู้สึกดีใจได้ แต่ถ้าเราคิดเรื่องชื่อ เป็นชื่อโลภะ สุขเวทนา อุเบกขาเวทนาก็ได้ เราคิดเรื่อง ไม่เหมือนกับรู้ลักษณะ
ถ. คุณนีน่ากล่าวว่า ขณะที่เขียนจดหมายสติก็เกิดขึ้นได้ ในขณะที่กำลังเขียนจดหมายและสติเกิดขึ้น ขณะนั้นมีอะไรที่จะพิจารณาได้หรือ พิจารณาได้ไหมขณะที่เขียนจดหมายและมีสติเกิดขึ้น
นีน่า แล้วแต่สติ และเวลาที่สติรู้สึกตัว ปัญญาเริ่มเข้าใจลักษณะที่ต่างกัน ลักษณะของความรู้สิ่งที่ปรากฏโดยทางตาเท่านั้นเอง หรือความคิดเรื่องสิ่งที่เขียน ทุกอย่างอย่างแล้วแต่สติ เราเลือกไม่ได้เลย ไม่เลือกว่าวันนี้จะรู้สึกตัวลักษณะอะไร เป็นไปไม่ได้ แล้วแต่อัธยาศัยด้วย
ถ. ผมเคยอ่านหนังสือของคุณนีน่า มีข้อความตอนหนึ่งที่กล่าวว่า การบูชาที่วัดพระแก้ว นำไข่ไปบูชา ขณะที่นำไข่ไปบูชานั้นไม่ได้กุศล แต่กุศลอยู่ที่กราบ พระแก้ว ขณะที่กราบพระแก้วนั้นจิตเป็นกุศล ขณะที่นำไข่ไปบูชาไม่เป็นกุศล
นีน่า เป็นไปได้ แล้วแต่จิต แม้แต่เวลาบูชามีกุศลจิต และทีหลังมีการติดก็ได้ เวลาถวายอาหารพระมีกุศลจิต ทีหลังอกุศลจิตก็เกิดได้ อาจจะติดในผลของกุศล เพราะว่าจิตเกิดดับรวดเร็ว มีอกุศลจิตมากๆ มีกุศลจิตด้วย แต่เป็นปัญญาที่แน่ใจว่าเวลาไหนมีกุศลหรือมีอกุศล เพราะว่าลักษณะไม่เหมือนกัน แต่สำหรับทุกคนยากทีเดียว เพราะเราคิดว่า ขณะที่เราอยู่ในวัดและถวายของพระ ตลอดเวลาเป็นกุศลหมด แต่ที่จริงไม่ใช่อย่างนั้น เพราะว่ามีการติดหลายครั้งที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะไม่รู้
ถ. คุณนีน่ากล่าวว่า สติจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ และคุณนีน่าก็กล่าวว่า ให้เพียรเจริญสติ ให้มีความเพียรในการระลึกรู้ จะไม่ขัดกันหรือ
นีน่า เวลาที่มีสติจริงๆ ปัญญาจริงๆ มีวิริยะด้วยในเวลาเดียวกัน เกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ต้องมีวิริยะ มรรคมีองค์ ๘ ในเวลาเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องวิริยะ เพราะถ้าเราคิดเรื่องวิริยะ ต้องมีวิริยะ มีความคิดเรื่อง ความคิดที่เป็นตัวตน ตั้งใจทำอะไร ไม่ใช่เป็นวิริยะในมรรคมีองค์ ๘ หมายความว่าปัญญาที่รู้ลักษณะของนามหรือรูปที่กำลังปรากฏ ในเวลานั้นมีวิริยะของมรรคมีองค์ ๘ แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องวิริยะซึ่งไม่ใช่มรรคมีองค์ ๘ อาจจะเป็นอกุศล อาจจะเป็นวิริยะที่เกิดกับโลภะก็ได้
ผู้ฟัง คำว่า สติ คือ ความระลึกได้ ความเพียรนี้เป็นวิริยะ คุณนีน่าก็ได้อธิบายแล้ว เหตุที่ดิฉันมาพูดย้ำ เพราะภิกษุรูปหนึ่งท่านสงสัยว่า การเจริญสติปัฏฐาน หรือเรียกว่าเจริญภาวนา ท่านบอกว่าเจริญภาวนาแล้ว เวลานี้อาตมาก็กำลังถือศีล ๒๒๗ เป็นพระภิกษุ อาตมายังไม่ได้เจริญสมาธิ แต่มาเจริญวิปัสสนา จะไม่ข้ามขั้นไปหรือ ถ้าหากพบท่านอาจารย์สุจินต์ขอให้ช่วยถามให้อาตมาด้วย พระท่านบอกอย่างนี้
ดิฉันเข้าใจพอที่จะตอบได้ ถ้าหากว่าคำตอบของดิฉันซึ่งตอบพระภิกษุไปนี้ผิด ก็ขอให้ท่านอาจารย์หรือคุณนีน่าช่วยกรุณาบอกว่า ผิด แต่ดิฉันก็ได้ตอบไปแล้ว และดิฉันบอกว่า วันหลังดิฉันจะเรียนถามอาจารย์อีก ซึ่งเรื่องนี้ดิฉันพยายามที่จะพูดให้มีการออกอากาศ เพราะมีคนสงสัยกันมากว่า การเจริญวิปัสสนา คือ การมีสติระลึกรู้รูปนามที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ ไม่มีองค์ของสมาธิ ดิฉันก็บอกว่า องค์ของขณิกสมาธิ คือ สัมมาสมาธิที่ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงนั้น เป็นสัมมาสมาธิที่ร่วมอยู่ในมรรคมีองค์ ๘ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา และการเจริญไตรสิกขา ๓ คือ การเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ก็คือ การเจริญสติ ระลึกรู้เดี๋ยวนี้นั่นเอง
ความระลึกได้ที่เป็นขณิกะ เป็นอนุขณะนิดเดียว และหมดไป ในสภาพเสียงที่เกิด กลิ่นที่โชยมา องค์ของสมาธิก็ร่วมด้วยแล้ว เพราะเป็นสหชาตธรรมที่เกิดร่วมกัน สมาธินี้เกิดร่วมกับจิตทุกขณะ แต่ถ้าหากว่าไม่ได้ระลึกรู้ในสภาพของรูปนาม ไม่มีสติระลึกได้ในสภาพของรูปนาม สมาธินั้นก็เรียกว่า มิจฉาสมาธิ ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ
ดิฉันตอบท่านไปอย่างนี้ ผิดถูกประการใด ขอให้ท่านอาจารย์กรุณาอธิบายอีกครั้งหนึ่ง
นีน่า แม้แต่เดี๋ยวนี้มีเสียงดัง แต่มีสมาธิด้วย ร่วมกับสัมมาทิฏฐิที่เริ่มเข้าใจลักษณะ มีเสียงดังแต่ไม่เป็นไร สมาธิเกิดขึ้นร่วมกับสัมมาทิฏฐิ
ผู้ฟัง มีผู้ถามถึงสภาพของโลภะ ดิฉันขอย้ำที่คุณนีน่าได้กล่าวไปเมื่อครู่นี้ถึงท่านทูตว่า ท่านรับประทานอาหารชมว่า อาหารอร่อยมาก แต่สภาพของโลภะจริงๆ นั้น เกิดขณะที่อาหารสัมผัสที่ลิ้น และเรากลืนเข้าไป เราจะรู้สึกเพลิดเพลินพอใจ และสติก็ระลึกรู้สภาพความรู้สึกนั้นทันที นี่สภาพของโลภะกำลังปรากฏในการติดในรส พอใจ นั่นคือโลภะ เกิดขึ้นขณะนั้นจริงๆ และสติรู้ตรงนั้น
เพราะฉะนั้น ขณะใดที่อารมณ์ที่ปรากฏตามความเป็นจริง ที่เป็นความพอใจ ไม่ว่าทางตาเห็น จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง หรือไหวเหล่านี้ เกิดความพอใจ เป็นอารมณ์ของโลภะจริงๆ ปรากฏแล้วขณะที่สัมผัส สติรู้ได้
แต่จะยากก็ตรงที่ไม่เข้าใจ
นีน่า พระผู้มีพระภาคพูดเรื่องโลภะบ่อยๆ เพราะปรากฏตลอดเวลาโดย ๖ ทวาร และเราก็ติดในทุกอย่าง ติดในการเห็น การได้ยิน ตาเห็น ไม่ได้ไม่ชอบ เราชอบเห็น อยากจะเห็นต่อไป อยากจะได้ยินต่อไป อยากจะให้มีชีวิตต่อไป ติดในทุกอย่าง หมายความว่า โลภะปรากฏทุกๆ วัน หลายๆ ครั้งมีโลภะแรง ถ้าโลภะอ่อนก็ไม่รู้สึกตัว ลืมบ่อยๆ แต่ถ้าอ่านในพระสูตรเรื่องโลภะและพิจารณา จะเป็นเหตุปัจจัยให้มีสติรู้สึกตัว และมีความเข้าใจลักษณะของโลภะ
ผู้ฟัง ลักษณะของโลภะอย่างที่คุณนีน่าพูด ถ้าหากว่าเป็นโลภะใหญ่ๆ รู้สึกว่าจะพิจารณาได้ง่าย แต่ถ้าหากว่าโลภะนิดๆ ก็พิจารณาละเอียดลงไปอีก จะต้องเป็นผู้ที่ละเอียดกับอารมณ์ที่ปรากฏ นี่เป็นคำพูดของท่านอาจารย์สุจินต์ ซึ่งดิฉันจำได้แม่นยำมากที่ว่า ต้องละเอียดกับอารมณ์ที่ปรากฏ ต้องเป็นผู้ละเอียด พระธรรมเป็นเรื่องของความละเอียด ไม่ใช่ของหยาบ
อย่างสมมติว่า เราอาบน้ำ ถ้าหากว่าอากาศเย็นจัด เราอาบน้ำเย็น เราอาจจะรู้สึกทรมาน โทสะ ไม่ชอบ รีบๆ อาบ แต่บางครั้งเราอยู่ในห้องน้ำที่อากาศร้อน เราก็อาบอย่างช้าๆ ราดแล้วราดอีก ถ้าหากว่าไม่มีสติ จะไม่รู้ถึงความพอใจในสัมผัสเลย คือ รู้สึกว่าแช่มชื่นขณะที่น้ำรด ใจเรารู้สึกสบาย เย็นก็เป็นสภาพหนึ่ง นั่นเป็นโลภะซึ่งเรารู้ได้ยาก หรือบางครั้งมีคนเขาให้สบู่เรา หรือว่าเราซื้อมาเองก็ตาม เวลาเราฉีกก้อนสบู่ออกจะนำไปใช้ หยิบก้อนสบู่ขึ้นมาดม ดมแล้ว ดมอีก นี่เพราะอะไร โลภะบ่อยๆ
เมื่อก่อนดิฉันได้ยินอาจารย์กล่าวว่า โลภะมากมาย ดิฉันก็ไม่เห็นว่าโลภะจะมากมายอะไร วันหนึ่งๆ ก็ไม่เห็นจะชอบอะไรสักเท่าไร แต่ทำไมอาจารย์จึงกล่าวว่า มีโลภะมากมาย แต่เมื่อปฏิบัติจริงๆ แล้ว ตรงกับอารมณ์จริงๆ เป็นความจริง เพราะฉะนั้น ตาที่เห็นรูป หูที่ได้ยินเสียง จมูกที่ได้กลิ่น ลิ้นที่ลิ้มรส กายที่กระทบสัมผัส เป็นโลภะ โทสะ ทั้งวันจริงๆ ถ้าละเอียด แต่ถ้าไม่ละเอียดจะรู้แต่โลภะใหญ่ๆ ก็จะไม่ได้รับความละเอียด