แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 1649

สนทนาธรรมระหว่างไปนมัสการสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย

เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๐


. แสดงว่าสติไม่ได้เกิดทุกเมื่อ

สุ. ก็สติเป็นอนัตตา เมื่อกี้รับรองกันอยู่แล้วว่า สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ต้องเกิดเพราะเหตุปัจจัย มีปัจจัยให้ได้ยินจริง มีปัจจัยให้เห็นจริง แต่มีปัจจัยให้สติเกิดหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าเราจะไปทำให้รู้แข็งไปตลอดทั้งวัน แม้แต่สัมมาสติที่จะเกิดก็ต้องอาศัยปัจจัย ซึ่งการฟังและเข้าใจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สัมมาสติระลึกได้

. อย่างนั้นก็ยังไม่เป็นชีวิตประจำวัน เพราะถ้าจะเป็นชีวิตประจำวัน ต้องอยู่ในขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ปัจจุบันนี้

สุ. เมื่อระลึกแล้วก็เป็นประจำวัน สติเกิดก็ต้องระลึกสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นปกติประจำวัน สติไม่ได้ไปทำอะไรให้พิเศษเลย เพราะว่าเห็นตามปกติ ได้ยินตามปกติ และสติก็ระลึกตามปกติ ไม่มีใครรู้เลย

. อย่างที่กำลังคุยกันอยู่

สุ. สติก็ระลึกได้

. สติระลึกเรื่องคุย

สุ. ระลึกลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง

ถ. แต่ละอย่างที่กำลังปรากฏ

สุ. ทางตาอย่างหนึ่ง ทางหูอย่างหนึ่ง ทางจมูกอย่างหนึ่ง ทางลิ้น อย่างหนึ่ง ทางกายอย่างหนึ่ง ทางใจอย่างหนึ่ง มี ๖ ทางเท่านั้นที่จะรู้ได้

. แสดงว่าสติมีเหตุปัจจัยที่จะทำให้เจริญสติได้ตลอดเวลา

สุ. แน่นอน สภาพธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย คำใดที่ตรัสแล้วไม่เปลี่ยน ได้ยินต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เห็นต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย คิดนึกต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สติต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สุขต้องเกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย ทุกข์ต้องเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดตามความพอใจได้ ทุกอย่างต้องเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยเฉพาะของสภาพธรรมนั้นๆ

. ถ้าเจริญสติปัฏฐานถึงขั้นกำหนดสติได้ทุกขณะ ทุกเมื่อ

สุ. ไม่ใช่กำหนดสติ แต่สติเกิดและระลึกเนืองๆ บ่อยๆ ตรงกับที่แสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานว่า เป็นผู้มีปกติสติระลึกเนืองๆ บ่อยๆ

. และในสติปัฏฐานที่แสดงไว้ ท่านอาจารย์ให้คำอธิบายว่าอย่างไร

สุ. ระลึกที่กาย ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรม หมายความว่า ทุกอย่างที่ปรากฏ เพื่อละความยึดถือว่าเป็นตัวตน

. มาขมวดลงตรงที่กาย เวทนา จิต ธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏ ตามความเป็นจริง

สุ. ต้องอยู่ในประเภทหนึ่งประเภทใด คือ ที่กาย ที่เวทนา ที่จิต หรือ ที่ธรรมเท่านั้น

. นำเอาสิ่งเหล่านี้มารวมในชีวิตประจำวัน

สุ. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้

. ระลึกขึ้นเพื่อที่จะให้เกิด ...

สุ. รู้ของจริงในชีวิตประจำวันนี่มีประโยชน์ไหม

. ก็มีประโยชน์

สุ. เพราะอะไรจึงมีประโยชน์ ก็เพราะเป็นของจริงที่เกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน เมื่อไม่ใช่ตัวตนและเป็นของจริงแต่ไม่รู้ ก็เท่ากับว่า ไม่รู้ความจริง ก็ต้องเห็นผิด

. ถ้ารู้ ก็คือพระอรหันต์ เพราะสามารรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน

สุ. ยังไม่ถึงพระอรหันต์ นี่คือพระโสดาบัน ต้องถึงพระโสดาบันก่อน ไม่ใช่ถึงพระอรหันต์ก่อน พระโสดาบันดับมิจฉาทิฏฐิทั้งหมด ไม่มีความเห็นผิดยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน แต่ยังมีโลภะ มีโทสะ มีโมหะ ด้วยเหตุนี้การดับกิเลสจึงต้องดับความเห็นผิดก่อน

คนส่วนใหญ่ในขณะนี้เข้าใจว่า ต้องดับโลภะก่อน เพราะเขาไม่ได้ศึกษาตามลำดับขั้นว่า ผู้ที่จะดับโลภะได้หมดสิ้นต้องเป็นพระอรหันต์ ผู้ที่ดับความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นพระอนาคามี ผู้ที่ดับความยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอย่างหยาบเป็นพระสกทาคามี ผู้ที่ดับความเห็นผิดเป็นพระโสดาบัน

เพราะฉะนั้น ขั้นต้นที่สุด ต้องดับความเห็นผิด เพราะถ้ายังมีความเป็นตัวตนอยู่ตราบใด ก็ยังละโลภะ โทสะ อะไรไม่ได้

. หมายถึงว่า ไม่มีเรา

สุ. ต้องรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง นี่คืออริยสัจรอบที่ ๑

. แต่ในอริยสัจต้องรู้ว่า นี่คือทุกข์ ซึ่งนั่นหมายความว่า นี่คือเรา

สุ. มิได้ เราไม่มี มีแต่ธรรมที่เป็นสังขารธรรมที่เกิดและดับ ไม่อย่างนั้น ทรงแสดงสังขารธรรมไว้ทำไม ทรงแสดงเพื่อให้เห็นว่าไม่ใช่เรา เป็นสังขารธรรม แต่ละอย่าง เห็นเป็นสังขารธรรม จิตเป็นสังขารธรรม เจตสิกเป็นสังขารธรรม รูปเป็นสังขารธรรม ได้ยินก็เป็นจิต เป็นสังขารธรรม สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง แสดงว่า ได้ยินต้องเกิดและดับด้วย เห็นต้องเกิดและดับด้วย ทุกอย่างที่เกิดต้องดับ รูปเป็นสังขารธรรมเกิดขึ้นและดับไป

. ในอริยสัจ นี่คือทุกข์ ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกข์เราได้กำหนดรู้แล้ว มี ๓ ตอน

สุ. ทุกข์คืออะไร ทุกข์อะไรที่ควรกำหนดรู้

ทุกขอริยสัจ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกขลักษณะไม่ใช่ทุกขเวทนา ต้องเป็นทุกขลักษณะ คือ การเกิดขึ้นและดับไปของทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ไม่ใช่ไปรู้ทุกข์อื่นเลย

. ถ้ากำหนดว่า นี่คือเรา เราไม่มีตัวตน และเรารู้แล้วว่าเราไม่มีตัวตน อย่างนี้จะได้ไหม

สุ. ไม่ได้เลย ถ้าอย่างนั้นพระธรรมของพระพุทธเจ้าง่ายมาก ง่ายจริงๆ ไม่ต้องถึง ๔ อสงไขยแสนกัปเลย ประเดี๋ยวเดียวก็รู้กันเลยว่า นี่ไม่ใช่ตัวตน แต่ละอะไรไม่ได้เลย

. ภาวะที่จะรู้ถึงขนาดนี้ ต้องรู้ชัดจริงๆ แต่เวลาพูดอาจจะสั้น

สุ. มิได้ ต้องแยกออกมาเป็นสภาพธรรมแต่ละขณะจิต เห็นเป็นขณะที่ ต่างกับได้ยิน ต้องแยกออกจากกันด้วย เห็นไม่ใช่ได้ยิน เห็นมีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เห็นรู้สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ได้ยินรู้เสียงซึ่งปรากฏทางหู จึงเป็นจิตคนละประเภท เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยต่างกัน ไม่ใช่เรา

เพราะฉะนั้น ต้องระลึกขณะที่ได้ยิน ระลึกขณะที่เห็น จนกว่าจะประจักษ์การดับไปของเห็นและได้ยิน จึงจะถอนความสำคัญที่ยึดถือตัวตน สัตว์ บุคคลได้

. ต้องพยายามมองให้ ...

สุ. ไม่ใช่พยายามมอง ต้องฟังจนกระทั่งสัมมาสติระลึกตามที่กำลังปรากฏ ขณะนี้เห็นมี สิ่งที่กำลังปรากฏทางตามี สัมมาสติระลึกหรือยัง ถ้ายังไม่ระลึก ก็ฟังจนกว่าจะเข้าใจเพิ่มขึ้น เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งจนกว่าสติจะระลึกที่นามธรรม ที่เห็น หรือที่รูปที่ปรากฏทางตา หมดทุกทวาร ทั้งหู ทั้งจมูก ทั้งลิ้น ทั้งกาย ทั้งใจ ทีละอย่างๆ ละเอียดขึ้นๆ จนกว่าจะรู้จริงๆ ว่า ไม่มีเรา เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง

. ต้องถึงขั้นละเอียด

สุ. แน่นอน เพราะความยึดถือว่าเป็นตัวตน ยึดทุกอย่างละเอียดหมด

. ที่มีความเห็นอย่างนี้ เพราะอยู่ในใจว่า จะต้องมองดูให้เห็นเป็น ขั้นๆ ไปในลักษณะ ...

สุ. อย่างนั้นพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องง่าย แสนง่ายเลย ๔๕ พรรษาทรงแสดงทั้งพระวินัยปิฎก ทั้งพระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก ก็ไม่ต้องเอามาใช้เกื้อกูลอะไร

. ก็เกื้อกูล แต่อย่าทำให้ยาก ทำให้ง่าย

สุ. ทำให้ง่าย ทำอย่างไร

. เช่น ในสมัยพระพุทธองค์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเอาสติปัญญาไปเปรียบเทียบ คือ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดปุ๊บ บริวารของพระเจ้าพิมพิสาร ก็บรรลุเป็นหมื่นๆ แสดงว่าพระธรรมของพระพุทธองค์ไม่ใช่ยากเกินไป แต่อยู่ที่ การบำเพ็ญบารมี อยู่ที่สติปัญญาจะรู้ขนาดไหน แต่ถ้าไปทำให้ยากแล้ว ก็ยิ่งยาก ซึ่งดั้งเดิมแล้วคิดว่าไม่ยาก

สุ. ถ้าไม่ยาก พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ต้องทรงบำเพ็ญพระบารมีมากถึง ๔ อสงไขยแสนกัป ซึ่งนานแสนนาน ทำไมต้องบำเพ็ญพระบารมีถึงขั้นนี้

. เพราะว่าเราเกิดไม่ทันสมัยพระพุทธองค์หรือเปล่า

สุ. เป็นพระบารมี ทำไมต้อง ๔ อสงไขยแสนกัป ทำไมต้องมากอย่างนั้น ที่จะทรงตรัสรู้ความจริงง่ายๆ แค่นี้เอง ถ้าง่ายอย่างที่ว่า

. ในด้านของการรู้ กับด้านของการบำเพ็ญให้ได้บรรลุผลเท่าที่รู้ อาจจะใช้เวลานาน เช่น เรารู้ว่าอริยสัจเป็นอย่างไรอย่างละเอียด แต่ยังไม่สามารถ บรรลุอริยสัจ หรือเห็นอย่างแท้จริงได้ แต่ถ้าศึกษาอย่างละเอียด รู้ พูดได้ เข้าใจ แต่ถ้าจะบำเพ็ญให้ถึงอย่างนั้นจริงๆ ต้องใช้เวลา

สุ. ก็แสดงว่า ไม่ง่ายเลย

. คือ ง่ายตรงที่รู้

สุ. ตรงที่เข้าใจ

, จะทำให้ง่ายๆ อย่างนี้ได้ไหม

สุ. และตอนที่จะบรรลุ จะทำอย่างไร

. เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอีกสักหน่อย

สุ. แปลว่าไม่ง่ายแล้ว

. ก็ต้องไม่ยากเท่าไร

สุ. ก็ลองดูว่า จะไม่ยากเท่าไร หรือจะยากเท่าไร

นิ. ขั้นเข้าใจนี่ไม่ใช่ง่าย ที่ว่าไม่ยากนี่หมายถึงจำได้ อาจจะไม่ยากจริง ใครมีสติปัญญาก็อาจจะจำได้เก่ง เอาไปพูดได้ด้วย แสดงได้ด้วย แต่จะเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ขั้นเข้าใจจริงๆ ก็ไม่ใช่ของธรรมดา ไม่ใช่ของง่าย เป็นปัจจัยขั้นแรกจริงๆ ในการที่จะเจริญสติปัฏฐานได้ ถ้าไม่เข้าใจแล้ว ไม่มีทาง

ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น คำว่า จำได้ กับเข้าใจ ต้องอธิบายตรงนี้ให้ชัด

นิ. คนละอย่าง

ผู้ฟัง เรื่องจำ คือ สามารถพูดตามได้ ส่วนความเข้าใจนั้นหมายถึงว่า ไม่มีความสงสัย เช่น ลักษณะที่เป็นรูปธรรมนามธรรม ต้องไม่สงสัยแล้วว่า ลักษณะอย่างนั้นต้องมีจริงๆ ถ้าสติเกิด ต้องแยกตรงนี้

นิ. ไม่ใช่เข้าใจตามตัวหนังสือ ตามตำราเท่านั้น ต้องเข้าใจสภาวธรรมว่า เป็นอย่างนั้นจริงๆ ด้วย ไม่ใช่แค่หนังสือว่า แต่เราจะต้องเห็นว่า เป็นไปได้จริงๆ ไม่อย่างนั้นจะเป็นสัจจะ เป็นความรู้ใน ๓ รอบได้อย่างไร สัจจญาณจะต้องเข้าใจว่า ทุกข์เป็นอย่างนั้นจริงๆ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ เป็นญาณขั้นแรกใน ๓ ขั้น คือ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ที่พระปัญจวัคคีย์เข้าใจ ต้องเข้าใจจริงๆ จึงถึงกิจจญาณ กตญาณทีหลังได้ ถ้าเพียงจำได้ ไม่มีทาง ใครๆ ก็จำได้ มีสติปัญญาดีเรียนเก่ง ท่องเก่ง อาจจะจำได้มาก พระพม่าบางรูปจำพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด ท่องได้หมด ทำสังคายนา แต่นั่นไม่ใช่ จำได้กับความเข้าใจ คนละอย่าง

. ความเข้าใจต้องมาจากไหน

นิ. ฟังบ่อยๆ

. ฟังอย่างเดียวหรือ

นิ. คำว่า สาวก แปลว่าอะไร

. ผู้ฟังตาม

นิ. ผู้ฟัง และเข้าใจด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่า ฟังแล้วไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ค้นคว้า ไม่ได้หมายความอย่างนั้น คือ สรุปแล้วความเข้าใจเกิดจากการศึกษา ความเข้าใจจึงจะมีได้ ทีนี้ศึกษาก็ต้องรู้อีกว่า ใครจะผู้เป็นแนะ เป็นคนชี้ให้เราเข้าใจสภาวะได้จริงๆ เข้าใจความจริงได้จริงๆ เข้าใจว่าเป็นไปได้จริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะ สอนกันตามตำรา แต่ที่จะชี้แนะผมว่าไม่มี ผมเห็นมีแต่อาจารย์คนเดียวเท่านั้น ผมก็ ไปมาหลายแห่ง และก็เรียนมาพอสมควร แต่ไม่มีใครชี้ว่า แนวปฏิบัติต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เปะปะว่า นั่งที่ไหนๆ ก็ว่าเป็นวิปัสสนา ความรู้ที่จะนำมาปฏิบัตินั้นต้องรู้จริงๆ ไม่ใช่ไปจำเขามาเท่านั้น นี่สำคัญที่สุด ขั้นแรกที่สุด

. ต้องรู้จริงๆ

นิ. ต้องเข้าใจให้เห็นสภาวะที่ว่า เป็นรูปธรรม เป็นนามธรรม หรือลักษณะที่ปรากฏเป็นอย่างนั้นจริงๆ ไม่ใช่พูดเอา ไม่ใช่ตำราว่า ไม่ใช่อย่างนั้น ผมฟังอาจารย์มา ๒๐ ปี

. เพราะฉะนั้น ต้องฟังอาจารย์ต่อไป

ศุ. ลักษณะที่เป็นการตรวจสอบว่า การฟังธรรมของเรามีความเข้าใจเพิ่มขึ้นหรือยัง คือ เมื่อเข้าใจเพิ่มขึ้น ความสงสัยจะลดน้อยลง เหมือนกับความมืดความสว่าง

. เรื่องเมตตา ฟังมาก็นานแล้ว แต่เจริญคือทำให้มีมากขึ้นได้อย่างไร

. เราก็ต้องสร้างเมตตาให้เกิดกับตัวเองก่อน สร้างก็คือ สั่งสมอบรม

. ทำอย่างไร

. คือ ต้องคิดปรารถนาดีต่อผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตเมตตา

. ตอนไหน

. ตอนคิดก็คิดด้วยความเมตตา พูดก็พูดด้วยความเมตตา ทำก็ทำด้วยความเมตตา สร้างขึ้นมา

ศ. เราสร้างขึ้นได้หรือ

ถ. ถ้าหากว่ามีสิ่งที่มี ก็คิดว่าสร้างได้ อย่างบ้าน เราไม่คิดว่าเราสร้างได้ แต่ถ้าเราคิดจะสร้างและมีอุปกรณ์ครบ ก็สร้างได้

ศุ. ถ้าเป็นในลักษณะนี้ พอจะเข้าใจง่ายขึ้นไหม ถ้าเราจะพูดถึงเรื่องเมตตา ว่า ต้องมีสัตว์บุคคลที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น

. พูดใหม่อีกที

ศุ. คือ เวลาที่สภาพธรรมปรากฏ เช่น มีใครมาพูดให้เราไม่พอใจขณะนั้น และเราเกิดความโกรธ เราจะเมตตาเขาได้ไหม

. ก็เราสร้างความเมตตาอยู่เรื่อย เราจะไปโกรธทำไม

ศุ. ใช่ เวลานี้ความโกรธยังไม่เกิดขึ้นเราก็พูดได้ว่า เราต้องสร้าง ความเมตตา ให้อภัย แต่ขณะที่กำลังมีสภาพที่เกิดไม่พอใจขึ้นมาขณะนั้น เราจะเมตตาเขาได้ไหม

. ก็แสดงว่าเรายังเมตตาไม่พอ ต้องสร้างต่อไป

ศุ. นี่คือจุดที่ว่า เราจะเจริญเมตตาได้อย่างไร ก็ต้องเมื่อกำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏทำให้เกิดโทสะ สังเกตอย่างนี้ จึงจะมีโอกาสเจริญเมตตาได้ เพราะเมตตา ไม่ใช่ว่าไม่มีสัตว์บุคคลปรากฏขณะนั้น

เมตตา หมายความถึงความเป็นมิตร เป็นเพื่อน ไม่คิดเบียดเบียนเขา แต่ เวลามีใครมาทำให้เราเกิดความไม่พอใจขณะนั้น ขณะที่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบ เราจะรู้ตรงนั้นว่าเราสามารถจะเจริญเมตตาได้หรือไม่ เรามีเมตตาต่อคนอื่นได้ หรือไม่ได้ ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้น ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ยากที่จะกล่าวว่า เรามีเมตตา

. มีหรือไม่มี

ศุ. ก็ต้องไม่มีก่อน จึงอบรม ใช่ไหม

. คือ พูดในลักษณะทฤษฎีก่อน และถึงลักษณะการปฏิบัติ ที่พูดว่า เมื่อเราไปเจอเหตุการณ์เข้าและโกรธ ตอนนั้นไม่มีเมตตา นี่ในทางปฏิบัติ แต่ในทางทฤษฎีนี่รู้

ศุ. ก็ไม่มีประโยชน์ ในทางทฤษฎีมีความเข้าใจ พูดได้ไม่ตกหล่นด้วย แต่เวลาสภาพธรรมปรากฏจริงๆ เมตตาไม่มีเลย และจะทำอย่างไร ก็ต้องอาศัยทฤษฎีว่า ขณะที่มีความโกรธ อะไรเป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับความโกรธ ก็ต้องคิดถึงหลักทฤษฎีอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้น ทฤษฎีหรือปริยัติมีความสำคัญมาก คือ ต้องมีการฟัง และหมั่นสังเกต

เปิด  222
ปรับปรุง  2 มิ.ย. 2565