แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 1657

สนทนาธรรมระหว่างไปนมัสการสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย

เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๐


. ก็ไม่เชิงคิด

สุ. หมายความว่าขณะนั้นปัญญารู้ลักษณะของนามและรูปโดยไม่คิด นั่นคือไม่ใช่ขั้นคิด

. อยู่ในสภาพความไม่คิดมากขึ้น ถ้าเปรียบเทียบอย่างทางตากับทางหู

สุ. กำลังใช้คำว่าเปรียบเทียบ แต่จริงๆ สติปัฏฐานจะระลึกทีละลักษณะ และไม่ได้คิดในระหว่างนั้น

. ถ้าเปลี่ยนทวารจะทำให้เวลาคิดไม่มี หรือมีน้อย จากที่สังเกตดู

สุ. ไม่ใช่เปลี่ยนทวาร หมายความว่าสติระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรม

. เปลี่ยนจากทวารหนึ่งไปพิจารณาอีกทวารหนึ่ง

สุ. ไม่มีใครเปลี่ยน หมายความว่าสติระลึกลักษณะของสภาพธรรม นี่คือความแทรกซ้อนของความคิด ซึ่งจะต้องรู้ว่า ...

. แต่เป็นสติจริงๆ จากตามาทางหู

สุ. เพราะฉะนั้น สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏทีละอย่าง เราคงคำนี้ไว้ จะทางไหนก็ตามแต่ สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมทีละอย่าง

. คือ เห็นความเป็นธรรมชาติมากกว่าเก่า

สุ. แต่จะต้องรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมซึ่งต่างกับรูปธรรม นี่คือตัวปัญญา ที่จะต้องเกิดจากการที่สติระลึก

ตัวปัญญาที่เกิดพร้อมสติชั่วขณะที่สั้นมากนั้น จะต้องเริ่มสังเกตศึกษาที่จะรู้สภาพที่เป็นนามธรรมว่าต่างกับรูปธรรม มิฉะนั้นแล้วสติที่เกิดก็ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญา

. ถ้าพูดถึงว่ามีนามเป็นอารมณ์ หรือมีรูปเป็นอารมณ์ ก็เป็นความคิด

สุ. นั่นซิ ถึงได้กล่าวว่า ขั้นที่จะไม่คิดแต่น้อมไปที่จะรู้โดยไม่คิด ถ้าสามารถที่จะค่อยๆ เจริญขึ้น ก็เป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะรู้จริงๆ

. ทำไว้ในใจก่อน คือ โยนิโสมนสิการ

สุ. ไม่ได้ ไม่ได้เด็ดขาด ทำไว้ในใจก่อน นั่นใครทำ

. คือ บางครั้งเราก็ดูซิว่าเป็นนาม …

สุ. นั่นแหละ ดูซิ นั่นคือใคร เต็มที่แล้ว

. แต่ไม่น่าแคร์ว่า คิดมากน้อยแค่ไหน เพราะว่าช่วยไม่ได้ ถ้าสติเกิด และก็มาพิจารณาบ้าง ก็ดีที่สุดแล้ว

. ก็คิดว่าไม่เสียหาย ก็เป็นสติขั้นหนึ่ง แต่เมื่อไรจะหลุดพ้นจากความคิด

สุ. เอาอีกแล้ว เมื่อไรมาอีกแล้ว

. อาจารย์มักจะพูดว่า มีคำพูดเป็นอารมณ์ ตามมาด้วยความนึกคิด เป็นคำๆ

สุ. คุณธงชัยคิดเป็นคำหรือเปล่า

. กายทวารไม่เคยคิดเป็นคำเลย มีเป็นภาพ ไม่ใช่เป็นคำ

สุ. ที่ว่าคิด

. ก็เป็นการคิดเป็นภาพ เป็นอะไรขึ้นมา ไม่ต้องท่อง

สุ. ก็ไม่ต่างกัน ที่ว่าเป็นการคิดถึงรูป หรือการคิดถึงเรื่อง หรือการคิดถึงคำ

. ก็เป็นความคิดอยู่ดี แต่ก็คิดน้อยลง เป็นไปได้ไหม แต่ก่อนคิดยาวและท่องด้วย ท่องว่านั่นเป็นรูป นี่เป็นนาม ยิ่งใหม่ๆ ท่องใหญ่เลย

. คิดน้อยลง ก็หมายความว่า สติมากขึ้น

. ไม่แน่ว่าสติมากขึ้น หรือว่าสมาธิในขณะนั้นมากขึ้น

. เพราะว่าผมไม่เห็นปัจจัยที่จะทำให้ใครๆ มีความคิดน้อยลง ปกติในชีวิตประจำวัน แต่มีสติเกิดขึ้นบ่อยกว่าเดิมได้

. สมาธิอาจจะมากขึ้น ที่เราดูหรือพิจารณาอารมณ์นั้นได้แนบแน่นขึ้น เพราะแน่นอนที่สุด สมาธิจะต้องมีกำลังเพิ่มขึ้นๆ เป็นพละเพิ่มขึ้น

สุ. ปัญญาดีกว่าสมาธิไหม

. ปัญญาก็ต้องมีสมาธิอยู่แล้ว

สุ. ไม่ต้องเอาปริยัตินั้นมาเทียบ คนละตอน คนละเรื่อง

ผู้ฟัง คนละประเภท

. แต่ก็เป็นสัมมาสมาธิ

สุ. สัมมาสมาธิเกิดร่วมกับสัมมาทิฏฐิ เกิดร่วมกับสัมมาวายามะ เกิดร่วมกับสัมมาสติ สัมมาสังกัปปะ เพราะฉะนั้น จะสังเกตลักษณะของ สัมมาสังกัปปะได้ไหม จะสังเกตลักษณะของสัมมาทิฏฐิได้ไหม ถ้ามีในขณะนั้น

. เป็นเวลายาวนาน

สุ. ไม่สนใจเลย ชาตินี้จะเป็นอย่างไร ได้เท่าไร ชีวิตปกติเป็นอย่างไร เป็นตัวของเราเอง นี่คือมัชฌิมาปฏิปทา และสติเขาก็ตามประคองไปเรื่อยๆ

. ถ้าคิดไปหวังผล รู้สึกว่าจะมืด

สุ. ถอยไปอีก ถอยกลับไปอีก

ผู้ฟัง เวลาที่เราปล่อยเป็นปกติธรรมดา รู้สึกว่าจะดีกว่าที่เราจะมุ่งมั่นว่า จะให้สติเกิด ให้ปัญญาเกิด

สุ. เพราะว่ามัชฌิมาปฏิปทา สติปัฏฐานละอภิชฌา มีตั้งแต่อภิชฌาโตๆ ให้เห็นว่าอยากได้ผล จนปลีกย่อยลดลงมาจนกระทั่งแม้ในขณะที่สติกำลังระลึก จะแฝงอยู่หรือเปล่า ต้องรู้ให้ได้ว่า หนทางนี้ละอภิชฌา

. ถ้าอย่างนั้นผมคิดว่า เท่าที่ท่านอาจารย์พูดมาทั้งหมด คงจะเน้นคำว่า สัจจญาณ เป็นพิเศษ เพราะถ้าสัจจญาณไม่มั่นคงจริงๆ ก็คงเป็นการคิดมากกว่าที่จะเป็นลักษณะของสติ

สุ. สัจจญาณ คือ ปัญญาที่ฟังแล้วพิจารณาและมั่นคงจริงๆ ว่า สภาพธรรมที่จะต้องประจักษ์แจ้ง ที่เป็นของจริง คือ ขณะนี้เอง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่คือสัจจญาณ ถ้ารู้อย่างนี้จริงๆ จะไปทำ อย่างอื่นไหม นี่คือคำถาม ถ้ารู้จริงๆ จะไม่ทำอย่างอื่นเลย ไม่ไปนั่งเสียเวลาเปล่าๆ เพราะว่าอะไรกำลังเป็นสัจจะ ของจริง กำลังเห็น กำลังได้ยิน เมื่อเป็นของจริงซึ่ง เกิดดับ กิจจญาณก็ระลึกตรงของจริงตามปกติ ตามธรรมดา นี่คือการปฏิบัติที่ตรงกับความเข้าใจที่เป็นสัจจญาณ หมายความว่ากิจจญาณกับสัจจญาณต้องตรงกัน และสอดคล้องกัน

ถ้ารู้จริงๆ ว่า สัจจญาณเป็นอย่างนี้ กิจจญาณก็เกิดระลึกตามที่สัจจญาณมั่นคง ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น

แต่เรื่องความคิด เป็นเรื่องคิดได้ ไม่ใช่ห้ามคิดเลย สติปัฏฐานไม่ใช่ห้ามคิด แต่เป็นการรู้ลักษณะของปรมัตถธรรมซึ่งจะต้องรู้ว่า ทุกอย่างที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน เช่น เห็นและคิด ได้ยินและคิด ได้กลิ่นและคิด เหล่านี้ไม่ใช่เรา

เพราะฉะนั้น ไม่ได้ห้ามคิด แต่ให้รู้ว่าปัญญามีหลายขั้น ขั้นฟังเข้าใจแล้วคิด กับขั้นที่เป็นสติที่ระลึกที่ลักษณะของปรมัตถ์ ระลึกนิดเดียว และตอนหลังคิดทันที เพราะว่ายังไม่ชำนาญ แต่จะต้องมั่นคงที่ว่า สติปัฏฐานต้องมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์

และขณะที่ความคิดพาไป สติจะต้องระลึกรู้อีกว่า ขณะที่กำลังรู้คำนั้น เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้อย่างหนึ่ง ตอนต้นๆ ความคิดก็จะพาไปอีก คิดไปอีกว่า ขณะที่กำลังมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์นั้น เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง เพราะเคยได้ยินมาอย่างนั้น จนกว่าจะชินกับลักษณะที่ว่า คิดที่รู้คำ ต่างกับขณะที่ไม่ได้คิด แต่กำลังมีปรมัตถ์เป็นอารมณ์

. ขณะที่กิจจญาณ สติทำหน้าที่ แต่ทำหน้าที่ไม่ค่อยตรง หมายความว่าสติระลึกไม่ค่อยตรงสภาวะ แสดงว่าสัจจญาณของเราไม่มั่นคง

สุ. ไม่ใช่ สัจจญาณมี เราไม่ได้ไปทำอย่างอื่น เราไม่ได้ไปนั่งเฉยๆ แต่ปัญญาของเราไม่พอ

. คือ ไม่เข้าใจจริงๆ

สุ. แน่นอน นั่นคือสัจจญาณ

. ที่คุณธงชัยพูด คือ มีความรู้สึกว่า อย่างนี้ดีสติเกิดมาก อีกแบบหนึ่ง ไม่ดี หรืออย่างไร

. หมายความว่า เป็นการสังเกตจากผลของการที่สติเกิด โดยเฉพาะ ตอนกลางคืนนั่งรถไป สติเกิด มีเสียงรถเป็นอารมณ์ ทันใดนั้น ทางตา แสงสีข้างหน้าเป็นอารมณ์ และสติก็เกิดที่เสียงใหม่ และไปเกิดที่ตาใหม่ และไปเกิดที่แข็งใหม่ ซึ่งไวๆ เร็วๆ ทำให้สังเกตเห็นว่า ไม่ค่อยได้คิด

ผู้ฟัง ถ้าสติระลึกรู้เท่าทันสภาวะจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างขณะที่ระลึกรู้ จะต้องตรงกับสภาวะเท่านั้น คือ จะไม่มีอะไรคั่น ไม่ใช่การคั่นว่า คิดจากทวารนี้ ไปทวารนั้น สติที่เกิดในขณะนั้น รู้สึกว่าจะไม่มีกำลังเท่าไร

สุ. เพราะว่าปัญญาไม่ได้รู้ชัด ไม่ได้ศึกษาโดยไม่ได้คิด คือ ปัญญาจะต้องรู้ความต่างกันขณะที่สติระลึก กับหลังจากที่สติระลึกแล้วคิด จะได้รู้ว่า ขณะที่คิดไม่ใช่ขณะที่กำลังมีปรมัตถธรรมนั้นเป็นอารมณ์แล้ว จุดนี้ที่จะต้องเข้าใจ เพราะถ้าไม่ใช่ขณะที่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ก็เป็นความเข้าใจขั้นคิดที่กำลังไตร่ตรอง ขั้นที่ยาก คือ ขั้นนี้

. อาจารย์อธิบายซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็ยังน่าฟัง ทั้งๆ ที่ฟังแล้ว ก็อยากฟังอีก

สุ. ก็เหมือนกับบอกให้ยกเท้าขึ้น ทุกคนก็กำลังมีเท้าอันหนัก จมอยู่ในปลัก บอกให้ยกขึ้นๆ ค่อยๆ ชวนฉุดให้ยกขึ้น แล้วแต่ว่าจะยกขึ้นไหวหรือ ยังไม่ไหว หรือวันนี้มีกำลังขึ้นมานิดหนึ่ง และกว่าจะก้าวไปแต่ละก้าว แต่ตอนที่จะ ยกเท้าก็ยาก เพราะว่าหนักไปด้วยอวิชชา ความไม่รู้ในหนทางระหว่างสติขั้นคิด กับสติที่รู้โดยไม่คิด น้อมไปที่จะศึกษาโดยค่อยๆ พิจารณาจริงๆ และขณะใดที่ความคิดแทรก ก็รู้ว่าขณะนั้นมีคำเป็นอารมณ์ เป็นขั้นคิดแล้ว ไม่ใช่เป็นขั้นศึกษาปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ

ปรมัตถธรรมคำเดียวนี่ก็แย่ ใช่ไหม ที่จริง ไม่แย่เลย ธรรม คือ สิ่งที่มีจริง รู้คำนี้คำเดียว มีการบ้านเยอะเลย อะไรจริงบ้าง ต้องตอบได้หมดจึงจะแปลว่า ธรรม คือ สิ่งที่มีจริง และยังเป็นปรมัตถธรรม หมายความว่าสิ่งที่มีจริงนั้นเป็นของจริงโดยไม่ต้องเรียกชื่อ ไม่จำเป็นต้องเรียกชื่อก็มีจริงๆ นั่นคือความหมายของปรมัตถธรรม

เช่น เห็นอย่างนี้ เราไม่ต้องเรียกอะไรเลย ทุกคนกำลังเห็น พิสูจน์ได้เลยว่า จริงไหม ถ้าจริง การเห็นจริง การเห็นก็เป็นปรมัตถธรรม นอกจากเราเห็นแล้ว สัตว์เห็นไหม นกเห็นไหม ช้างเห็นไหม อูฐเห็นไหม เทวดาเห็นไหม

เพราะฉะนั้น เห็น เป็นปรมัตถธรรม ไม่มีเจ้าของ เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้และทรงแสดงความจริงว่า ทั้งหมดที่เราเคยยึดถือว่าเป็นตัวเราตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งเป็นของจริง อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าใครยังไม่ประจักษ์ ก็ยังเป็นเราอยู่ ไม่ว่าจะเห็นก็เรา ได้ยินก็เรา ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นปรมัตถธรรม คือ เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ และไม่ต้องเรียกชื่ออะไรทั้งนั้น

. บางทีก็ไปนึกชื่อเอง เห็นปั๊บ นี่เป็นธาตุ รูปธาตุบ้าง และก็ธาตุรู้ นามธาตุบ้าง ไปนึกอย่างนี้

สุ. เป็นเรื่องไปหมด ไม่ใช่เป็นลักษณะของสภาพธรรม

. ยกเท้าไม่ขึ้นสักที จะยกขึ้นก็กลับที่เก่าอีกแล้ว เพราะว่าบัญญัติ คอยแทรกมาเรื่อย เห็นเป็นรูปธาตุ รู้เป็นนามธาตุ ถอยกลับทุกที ยกไม่ขึ้น

. แต่มีทางเดียว การท้อใจไม่มีประโยชน์เลย ทำให้ยิ่งช้าลง

สุ. และความหวังอีก ฉะนั้น ตัดความหวัง กับตัดความท้อใจ ก็สบายมาก ไปเรื่อยๆ

. ผู้ที่ไม่มีความรู้ เริ่มฟังจะไปได้ไวไหม กับผู้ที่รู้มาก แต่ ...

สุ. ความรู้นี่ หมายความว่า รู้อะไร

. อย่างที่ตามฟังไปทีละเล็กละน้อย

สุ. อย่างสมมติว่า อนัตตา คำเดียว รู้มากหรือรู้น้อย ที่ว่าคนที่รู้น้อย กับคนที่รู้มากว่า ใครจะก้าวไปไกลได้เร็วกว่ากัน

. ก็คนที่รู้มาก

สุ. ไม่ใช่ เอา อนัตตา คำเดียว ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน รู้น้อยคืออย่างไร และรู้อนัตตามากๆ รู้อย่างไร รู้มาก รู้แค่ไหน

. รู้น้อย คือ เพิ่งจะเริ่มฟัง อนัตตา คือ ไม่มีตัวตน

สุ. เพียงฟังแค่นี้ จะปฏิบัติได้ไหม

. .... (ได้ยินไม่ชัด)

สุ. แปลว่ายังไม่พอ ต้องค่อยๆ ฟังจนกว่าจะเข้าใจขึ้นๆ เมื่อเข้าใจขึ้นแล้ว การปฏิบัติจะเกิดได้ ข้อสำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจพอหรือยัง ถ้ายังไม่พอ หรือ มีน้อย ปฏิบัติไม่ได้เลย

. ดีกว่าจะก้าวข้ามไปโดยที่ไม่รู้ และคิดว่ารู้แล้ว

สุ. ถูกต้อง ความรู้คือเข้าใจ

. ฟังเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน มีคำถามว่า จำเป็นด้วยหรือที่จะต้อง มีวิธีการฟังอย่างนี้ ถ้าไม่ฟังอย่างนี้ ไม่สามารถเข้าใจการเจริญสติปัฏฐานได้หรือ ขอให้ท่านอาจารย์อธิบายว่า สำหรับผู้ที่คิดว่าจะอ่านเองจากพระไตรปิฎก หรืออะไร ก็ได้ ถ้าอ่านแล้วมีความเข้าใจ ไม่จำเป็นจะต้องพูดถึงเรื่องการฟังได้ไหม

สุ. แน่นอนที่สุด ขอให้เข้าใจเถอะ คำเดียวเท่านั้น คือ ขอให้เข้าใจเถอะ

. เมื่ออ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็มาสอบถามผู้เป็นอาจารย์ก็ได้

ผู้ฟัง คำว่า ฟัง คงไม่จำกัดอยู่แค่การฟังเทปอย่างเดียว

สุ. ไม่เลย จะอ่านก็ได้ หรือสนทนาก็ได้ ทุกอย่างหมดที่จะทำให้เข้าใจ จะใช้วิธีไหนได้หมด แต่ต้องเข้าใจ

ผู้ฟัง ความเข้าใจสำคัญที่สุด อ่านจากพระไตรปิฎก ถ้าเข้าใจตรงกับที่ พระพุทธองค์ต้องการให้เราเข้าใจก็สำเร็จได้ แต่เราไม่เข้าใจ เราไม่รู้อรรถ อ่านแล้ว อ่านอีก ก็ยังไม่เข้าใจ ถ้าไม่มีผู้ที่อ่านแล้วซาบซึ้งในอรรถนั้นมาชี้แนะ

สุ. ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญการสนทนาธรรม เพราะเป็นการแสดงว่า สิ่งที่เข้าใจนั้นถูกหรือผิด มากหรือน้อย ตรงหรือเปล่า แม้แต่ท่านที่เป็นพระอัครสาวก หรือพระมหาสาวก ท่านก็ยังสนทนาธรรม ไม่อย่างนั้น เราจะคิดเอาเองว่า ความเข้าใจของเราถูก ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ แต่เมื่อเราฟังคนอื่น เขาอาจจะพิจารณาถูกต้องกว่าก็ได้

. ดิฉันก็คิดอย่างนั้น ความจริงพระไตรปิฎกเล่มเดียวกัน อ่านแล้วอาจจะแปลความหมายไปคนละทาง ฉะนั้น เมื่ออ่านแล้วควรมาพูดกันว่า อย่างนี้ถูกไหม

สุ. และก็รับในเหตุผล

. ฟังความเห็นของคนอื่น ถ้าถูกเราก็รับ

สุ. นี่คือความถูกต้อง

นิ. อาจารย์สำนักต่างๆ ต่างก็อ้างว่าอ่านสติปัฏฐานกันทั้งนั้น เดินก็รู้ว่าเดิน นั่งก็รู้ว่านั่ง นอนก็รู้ว่านอน สอนตรงในสติปัฏฐานเลย

สุ. ไม่ต้องพูดถึงสำนักอื่นก็ได้ เพียงแต่ว่าปัญญาที่เกิดจากการฟังที่จะให้เข้าใจสิ่งที่เรากำลังมี ทั้งๆ ที่ตั้งแต่เกิดมา ถามตัวเองจริงๆ ซิว่า เรารู้จักตัวเองแค่ไหน เมื่อไม่รู้จัก ทำอย่างไรจึงจะรู้จักขึ้น ใครก็ตามที่สอนให้เรารู้จักตัวเองตั้งแต่ศีรษะ ตลอดเท้าชัดเจนขึ้น เราถือว่าเป็นสิ่งที่เราได้จากชีวิตนี้ คือ จากความไม่รู้อะไรเลย ที่เกี่ยวกับตัวเองและคนอื่นๆ มาเป็นความรู้ขึ้น

เพราะฉะนั้น ธรรมข้อใดก็ตามที่ทำให้เราเกิดปัญญารู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ที่เคยยึดมั่น ที่เคยเป็นที่ตั้งของความยินดีพอใจ ที่จะทำให้กิเลสหนา และเมื่อมีความเข้าใจขึ้นแล้ว กิเลสก็ค่อยๆ บางลงจากความไม่รู้เป็นความรู้ขึ้น แค่นี้เราก็น่าจะพอแล้ว และยิ่งสามารถทำให้เราดับกิเลสได้ด้วย จะยากเย็นเข็ญใจอย่างไร แต่ถ้าเป็นหนทาง ที่ถูก ก็ยังดีที่เราได้เข้าใจ เราจะถึงหรือไม่ถึง ดับได้หรือไม่ได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ขอให้เราได้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ซึ่งเราไม่เคยคิดเลยว่าเราจะต้องเข้าใจ

อย่างกำลังเห็นอย่างนี้ เราเคยคิดไหมว่าเราจะต้องเข้าใจเรื่องนี้ ได้ยินนี่ธรรมดาๆ เคยคิดไหมว่าจะต้องเข้าใจ ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง คิดนึก เป็นสิ่งที่เราจะต้องเข้าใจหรือ แต่ถ้าเราย้อนคิดมุมกลับ ถ้าเรา ไม่เข้าใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะให้เราเข้าใจอะไร

เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีต่างๆ เหล่านี้ต่างหากที่เราจะต้องฟังให้เข้าใจ ใครทำให้ เราเข้าใจได้ นั่นเป็นประโยชน์ ไม่ว่าใครทั้งนั้น

เปิด  243
ปรับปรุง  2 มิ.ย. 2565