แนวทางเจริญวิปัสสนา ตอนที่ 1905

ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

วันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๒


. ในอรรถกถาบอกเพียงว่า พันปีที่ ๓ มีแค่พระอนาคามี แต่ไม่ได้ ขยายความว่าหมายถึงมนุษย์ภูมิอย่างเดียว

สุ. เวลานี้โลกอื่นก็มีพระอรหันต์

. อย่างนั้นหรือ

สุ. เป็นพระโสดาบันแล้ว และท่านก็จุติจากโลกนี้ ท่านวิสาขามิคารมารดา ท่านอนาถบิณฑิกะก็เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี ต่อไปท่านก็ต้องเป็นพระอรหันต์

. น่ากลัวจะเกินวิสัยที่จะรู้

สุ. โลกอื่นมีแน่ ไม่น่าจะต้องคิดถึงไกลแสนไกลถึงโลกอื่น โลกนี้จะอยู่ นานสักเท่าไรก็ไม่ทราบ อาจจะจากโลกนี้ไปเร็ว ก็ควรที่จะคิดถึงโลกนี้ โลกอื่นก็คิดถึงเมื่อไปถึงโลกนั้น หรือว่าเมื่อไปถึงโลกนั้น ก็อยากจะคิดถึงโลกนี้

. ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ตัณหาคือโลภะทั้งหมด ใช่ไหม โลภะทั้ง ๘ ประเภทเป็นตัณหา และตัณหาทั้งหมดก็คือโลภะ ใช่ไหม

สุ. ใช่

. กามตัณหา ที่ว่าความอยากได้ อยากได้อะไร

สุ. ความอยากได้ ความติดข้อง ความต้องการ ความไม่สละ

. หมายถึงอยากได้กามคุณอารมณ์ หรืออยากได้อะไร

สุ. ถ้าเป็นกามตัณหา ก็มีความต้องการ มีความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ

. ภวตัณหา อยากมี อยากเป็น อยากมีอะไร

สุ. ตัณหา คือ ความยินดี ความต้องการ ความติดข้องในภวคือภพ ความเป็น ถึงแม้จะไม่ใช่ความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ยังมีความยินดีในความเป็น แล้วแต่ว่าจะเป็นอะไรซึ่งไม่ใช่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อย่างเช่น รูปพรหม หรืออรูปพรหม เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ภวตัณหา หมายความถึงตัณหา ความยินดีในความเห็นว่าเที่ยง

สำหรับวิภวตัณหาหมายความถึงตัณหา ความยินดีพอใจในความเห็นว่า สูญ คือ อุจเฉททิฏฐิ

. วิภวตัณหาแปลว่า อยากไม่มี ไม่เป็น ถูกไหม

สุ. ไม่ถูก

. ไม่ถูกหรือ เพราะถ้าแปลว่า อยากไม่มี ไม่เป็น ก็คงไม่เป็นตัณหา ใช่ไหม

สุ. วิภวตัณหา ได้แก่ ความยินดีพอใจในเรื่องการขาดสูญ คือ อุจเฉททิฏฐิ

. กามตัณหาที่แปลว่าอยากได้ แปลได้ถูกต้องครบถ้วนบริบูรณ์หรือยัง

สุ. ตัณหา คือ ความพอใจ ความต้องการ ความติดข้อง ความยินดี ความเพลิดเพลินในกามอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

. ภวตัณหาที่แปลว่าอยากมี อยากเป็น ก็...

สุ. ความยินดีพอใจในภพ ในความมี ความเป็น ภวตัณหา มี ๒ ความหมาย ความหมายหนึ่ง คือ ยินดีพอใจในความมี ความเป็น อยากจะ มีชีวิตอยู่ และอีกความหมายหนึ่ง คือ ยินดีพอใจในความเห็นผิดว่าเที่ยง สัสสตทิฏฐิ

. อยากเป็นครู อยากเป็นทหาร อยากเป็นตำรวจ เป็นภวตัณหา หรือเปล่า

สุ. ยังอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะหรือเปล่า ถ้ายังอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เป็นกามตัณหา

. ที่ผมออกมาถาม เป็นตัณหาหรือเปล่า

สุ. ใครจะรู้

. ที่ผมมาถาม เพราะผมอยากทราบคำตอบให้หายสงสัย

สุ. อยากเข้าใจ

. เป็นตัณหาหรือเปล่า

สุ. เป็นการต้องการปัญญา ความรู้ที่ถูกต้อง

. ใช้คำว่า อยาก ถูกต้องไหม เช่น อยากจะถามปัญหา หรือจะใช้คำอื่น

สุ. ต้องพิจารณาว่า อยากที่เป็นโลภะ หรืออยากที่เป็นฉันทะ

. ฉันทะก็คืออยากหรือ

สุ. อยากกระทำ

. อย่างคนที่อยากสวย

สุ. เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ถ. ก็เป็นกามตัณหา

สุ. แน่นอน ถ้ายังเป็นกามบุคคลก็รู้ได้ว่า ยังมีความต้องการในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่ว่าจะต้องการอะไร

ทำไมพวกเราไม่เป็นรูปพรหมบุคคลในรูปพรหมภูมิ ทำไมเราไม่เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหมภูมิ ก็เพราะถึงแม้เราจะอยากอย่างไร ก็ยังอยากในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะนั่นเอง อย่างนี้พอที่จะเข้าใจได้ไหม

. ก็ถูกต้อง ผมเองก็ทราบว่า ตัวเองมีตัณหามาก มีตัณหาครอบคลุม อยู่ตลอด ถ้าจะหลุดจากตัณหาไปก็นิดเดียว และตัณหาก็โยงใยไว้อีกทุกเวลา ตลอด

สุ. ธรรมเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญ ถ้าสิ่งใดจะเป็นบทสรุปได้ ก็สรุป เช่น ทำไมเราถึงไม่เป็นรูปพรหมบุคคล ทำไมเราถึงยังไม่เป็นอรูปพรหมบุคคล ถึงแม้ว่าเราจะอยากเป็นอะไร เราก็ยังอยากอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จึงเป็นกามตัณหา

. สมัยที่ผมเรียนรามกำแหงปีที่ ๑ ดอกเตอร์อาจอง ชุมสาย มาบรรยายเกี่ยวกับเรื่องจิตใต้สำนึก ท่านบอกว่ามีลูกสาวอยู่คนหนึ่ง ตอนนอนลูกสาวท่าน หลับแล้ว ท่านก็เอาลำโพงเครื่องเสียงมาติดอยู่ใกล้ๆ และเปิดเพลงภาษาต่างประเทศที่ลูกสาวท่านไม่เคยรู้เรื่อง ไม่เคยฟังมาก่อน ตอนเช้าก็เก็บเครื่องเสียงไปไม่ให้ลูกสาว ท่านรู้ แต่ตอนที่ลูกสาวอาบน้ำ เขาสามารฮัมเพลงที่เปิดให้ฟังได้ ท่านจึงถามลูกสาวว่า ได้ยินเพลงนี้มาจากไหน ลูกสาวท่านก็บอกว่า ไม่รู้เหมือนกัน นึกอยากจะร้อง ก็ร้องออกมา ท่านดอกเตอร์ก็สรุปว่า เวลาเราหลับ จิตใต้สำนึกเราทำงาน อย่างการเปิดเทปให้ฟัง จะเข้าไปจิตใต้สำนึก อย่างนี้จะเป็นไปได้ไหม

สุ. พระผู้มีพระภาคทรงแสดงวิถีจิตว่า ขณะใดก็ตามที่ไม่ใช่ภวังคจิต ขณะนั้นจิตอาศัยทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางเกิดขึ้นรู้อารมณ์อื่น เช่น ขณะที่กำลังเห็นอย่างนี้ จิตก็อาศัยจักขุปสาทเป็นจักขุทวาร เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ขณะที่ไม่ใช่ภวังคจิตและมีจิตได้ยินเกิดขึ้นเป็นวิถีจิตทางหู ขณะนั้นได้ยินเสียง เพราะฉะนั้น ที่เราใช้คำว่า หลับ ก็หมายความว่าช่วงของภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันนานกว่า วิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และขณะที่เราไม่ใช้คำว่า หลับ ก็คือช่วงขณะที่เป็นวิถีจิตมากกว่าขณะที่เป็นภวังคจิตเท่านั้นเอง

จิตเกิดดับสืบต่อกัน ขณะใดก็ตามที่ไม่รู้อารมณ์ใดๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเลย ขณะนั้นเป็นภวังคจิต และไม่ว่าจะมีการรู้อารมณ์ ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง ขณะนั้นไม่ใช่ภวังคจิต เพราะฉะนั้น ที่เราใช้คำว่า หลับ ก็คือขณะนั้นภวังคจิตเกิดดับสืบต่อกันมากกว่าวิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และที่เราใช้คำว่า ตื่น แม้ในขณะนี้ ก็มีภวังคจิตเกิดคั่นวิถีจิตวาระต่างๆ แต่เพราะ วิถีจิตวาระต่างๆ เกิดมากในขณะนั้นเราจึงบอกว่า ตื่น แต่จริงๆ แล้วก็คือการเกิดดับสืบต่อของวิถีจิตและจิตซึ่งไม่ใช่วิถีจิตนั่นเอง

. เพราะฉะนั้น เรื่องที่เล่ามานี้ก็คือวิถีจิตเกิด

สุ. วิถีจิตต้องเกิด ถ้าขณะนั้นมีการได้ยิน และถ้าขณะนั้นมีการคิดนึก ก็เป็นวิถีจิต

. เรื่องเกี่ยวกับต้นไม้กับพลังจิตของดอกเตอร์อาจองก็เหมือนกันที่บอกว่า ต้นไม้ที่ได้รับการดูแลอย่างดีจะเจริญงอกงามกว่าเลี้ยงแบบไม่สนใจ คือ ท่านแบ่งนักศึกษาออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเลี้ยงโดยด่าต้นไม้ อีกกลุ่มหนึ่งพูดกับต้นไม้ดีๆ ซึ่งเจริญงอกงามกว่า

สุ. และให้ปุ๋ย ให้น้ำ หรือเปล่า

. สภาวะต่างๆ เหมือนกัน ต่างที่คนดูแล

สุ. อะไรจะสำคัญกว่า ปุ๋ย น้ำ ดินดี หรือพูดไปโดยไม่ให้ปุ๋ย ไม่ให้น้ำ และดินไม่ดี

. คือ ภาวะทุกอย่างทำเหมือนกันหมด

สุ. ขอประทานโทษ ถ้าเราจะไม่คำนึงถึงเหตุนั้น ขอให้พิจารณาว่า ถ้าปราศจากสิ่งสำคัญของการเจริญเติบโตของพืช อะไรเป็นสิ่งสำคัญ นั่นเป็นเพียงส่วนประกอบ ที่จริงแล้วเสียงจะเกิดขึ้นโดยปราศจากธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ไม่ได้เลย เสียงที่ได้ยินทางหู ก็เหมือนกลิ่นที่กระทบจมูก เรามองไม่เห็นรูปร่างของกลิ่นเลย แต่กลิ่นกระทบจมูก และกลิ่นจะเกิดขึ้นโดยปราศจากธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมไม่ได้ เพราะฉะนั้น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม จึงเป็น มหาภูตรูป เป็นรูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน ไม่ว่ารูปย่อย หรืออุปาทายรูปคือรูปที่อาศัยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมเกิด จะเป็นรูปอะไรก็ตาม รูปนั้นต้องอาศัยมหาภูตรูปจึงเกิด หรือจึงมีได้

แม้กลิ่น เรารู้ได้ทางจมูก แต่เวลากระทบสัมผัสจมูก ไม่เจ็บ ไม่ปวด แต่ก็มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มีสี กลิ่น รส โอชารวมอยู่ในกลุ่มเล็กๆ นั้นแล้ว เหมือนกับเสียง เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเสียงที่ดังมาก หรือเสียงที่ดุ ก็อาจจะมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมซึ่งกระทบกระเทือน จะใช้คำอย่างนั้นก็ได้ แต่ไม่ใช่ส่วนสำคัญกว่าน้ำหรือปุ๋ยซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพืชนั้น เป็นเพียงส่วนประกอบ แต่ไม่ใช่หมายความว่าพืชนั้นมีจิตที่จะรู้ความหมายว่า นี่เป็นเสียงปลอบ หรือนั่นเป็นเสียงข่มขู่ แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย

. ภิกษุคือผู้ที่ละอาคารบ้านเรือน และภิกษุที่ยังห้อมล้อมอยู่ในหมู่ญาติ จะถือว่าเป็นผู้ละอาคารบ้านเรือนหรือเปล่า

สุ. เป็นเรื่องของจิต ถ้ายังมีใจเกาะเกี่ยว แม้ว่าจะอยู่ในป่า ใจนึกถึงได้ไหม นึกถึงญาติ นึกถึงมารดาบิดา นึกถึงครอบครัว อยู่ห่างไกลถึงในป่า ใจก็ยังคิดถึงได้ แต่ถ้าแวดล้อมด้วยวงศาคณาญาติ แต่ใจไม่ผูกพันกับวงศาคณาญาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาจิตใจ

ความเป็นภิกษุ ต้องหมายความถึงสภาพของจิตที่สามารถสละความเกี่ยวข้องในเรื่องของบ้านเรือน ในเพศของคฤหัสถ์ ไม่มีการดูโทรทัศน์หรือรื่นเริงบันเทิงต่างๆ ต้องเป็นผู้สามารถตัดความผูกพันนั้นได้จริงๆ เพราะความเป็นภิกษุเป็นสภาพจิตที่ สูงกว่าคฤหัสถ์

ขณะนี้กำลังกล่าวถึงโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง หรือ ๑๙ ประเภท เริ่มจาก ๑.ศรัทธา ๒. สติ ๓. หิริ ๔. โอตตัปปะ ๕. อโลภะ ๖. อโทสะ ๗. ตัตรมัชฌัตตตา ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นกลาง ไม่หวั่นไหวไปในอกุศล และ ได้กล่าวถึงตัตรมัชฌัตตตาที่เป็นสังขารุเปกขาญาณ ซึ่งเป็นการเจริญขึ้นของการ อบรมเจริญภาวนาปัญญา โสภณเจตสิกเจริญถึงขั้นใกล้ที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ไกลมาก จึงได้ย้อนกลับมากล่าวถึงเรื่องบารมีซึ่งเป็นคุณธรรมที่เป็น เครื่องประกอบในการเจริญปัญญาภาวนา เพราะถ้าจะเจริญปัญญาภาวนาโดย ไม่เจริญบารมีทั้งหลาย ก็เป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าการเจริญบารมีต้องควบคู่กันไปกับการเจริญสติปัฏฐาน ไม่สามารถบังคับให้สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ตามต้องการ แต่สติขั้นอื่นจะเกิดเพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน

อย่างท่านที่แต่ก่อนเวลาที่อกุศลจิตเกิดไม่เคยระลึกได้เลย แต่หลังจากเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ได้ฟังเรื่องของสภาพธรรม เข้าใจเรื่องของโสภณสาธารณเจตสิก เรื่องของสติ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตตา ก็มีปัจจัยทำให้เวลาที่อกุศลจิตเกิด สติสัมปชัญญะก็ระลึกได้ในขณะนั้น

เมื่อสติสัมปชัญญะเกิด ซึ่งทุกคนคงจะรู้สึกว่าในวันหนึ่งๆ สติสัมปชัญญะเริ่มเกิดเพิ่มขึ้น แต่เมื่อสติสัมปชัญญะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอกุศล ในขณะนั้น จะเห็นได้ว่า แล้วแต่กำลังของสติปัญญาในขณะนั้นว่าจะเป็นขั้นใด เพราะว่าสติสัมปชัญญะเริ่มระลึกได้ขณะที่เป็นอกุศล และขณะนั้นก็รู้ในสภาพที่เป็นอกุศล ถ้าเป็นปัญญาขั้นหนึ่งจะเห็นว่า อกุศลนั้นไม่ใช่กุศล ความโกรธไม่ใช่เมตตา ความโกรธไม่เป็นประโยชน์ ไม่ควรจะสะสมความโกรธ แต่ควรสะสมอบรมเจริญเมตตาเพิ่มขึ้น หรือเวลาที่มานะเกิดขึ้น และสติสัมปชัญญะเกิดระลึกได้ ก็จะมีปัญญาขั้นหนึ่งซึ่งเห็นว่า ขณะนั้นเป็นมานะ เป็นสภาพที่เป็นอันตรายมาก เมื่อเห็นโทษของมานะ ขณะนั้นอาจจะมีปัญญาที่เห็นโทษและละมานะในขณะนั้น มานะนั้นก็ลด คลายลงไปได้ นั่นก็เป็นปัญญาขั้นหนึ่ง

แต่ถ้าเป็นปัญญาอีกขั้นหนึ่ง เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิดระลึกลักษณะสภาพ ของอกุศล ในขณะนั้นพิจารณารู้ว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ขณะนั้นก็เป็นการเจริญสติปัฏฐานที่จะเข้าใจลักษณะของปรมัตถธรรมเพื่อละคลายการยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล

จะเห็นได้ว่า ชีวิตประจำวันสติสัมปชัญญะจะค่อยๆ เริ่มเกิด และบุคคลนั้น เป็นผู้รู้ด้วยตนเองว่า ปัญญาของตนเองเป็นขั้นใด เพราะว่าบางคนสติสัมปชัญญะเกิด รู้ว่าขณะนั้นเป็นอกุศล แต่อกุศลก็ยังเกิดต่อไป เห็นกำลังของอกุศลจริงๆ ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นโทสะ ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นความขุ่นเคืองใจ ทั้งๆ ที่รู้ว่าความขุ่นเคืองใจนั้นอาจจะ เกิดจากการกระทำหรือคำพูดของใครก็ได้ และคนนั้นก็พูดแล้ว เสียงนั้นก็ดับไปแล้ว ไม่มีอะไรเลย สภาพของอกุศลจิตของคนที่กล่าววาจาหรือกระทำสิ่งที่ไม่ดีนั้น ก็ได้กระทำไปแล้ว แต่อกุศลจิตของผู้นั้นก็ยังเกิดอยู่ทั้งๆ ที่รู้อย่างนั้น

แสดงให้เห็นว่า ปัญญาไม่ถึงขั้นที่กุศลจิตจะเกิดแทนอกุศล เพราะฉะนั้น ผู้นั้นเองจะเป็นผู้ที่รู้ว่า มีอกุศลสะสมมามากแค่ไหน มีกำลังแค่ไหน และ เป็นกุศลระดับใด เป็นเพียงกุศลขั้นสงบได้เพราะว่าเห็นโทษของอกุศล หรือเป็น ขั้นสติปัฏฐานที่ระลึกลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมและค่อยๆ รู้ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล

, กรณีที่ไม่มีลูก และจ้างคนอื่นให้ท้องแทน อย่างนี้เป็นกาเมสุมิจฉาจารไหม

สุ. ไม่เกี่ยวกันเลย ไม่มีเจตนาในการกระทำกาเมสุมิจฉาจาร เป็นแต่เพียงความปรารถนาที่จะมีบุตร และอาศัยวิธีกรรมอื่นเท่านั้นเอง

เปิด  255
ปรับปรุง  2 มิ.ย. 2565