สนทนาธรรม ตอนที่ 017


    ตอนที่ ๑๗

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นบุคคลที่เจริญปัญญาที่จะไม่รู้ขันธ์ ๕ คือ ไม่รู้รูป ไม่รู้เวทนา ไม่รู้สัญญา ไม่รู้สังขาร ไม่รู้วิญญาณไม่ได้ เพียงแต่ว่าเราจะใช้ชื่อ หรือไม่ใช่ชื่อเท่านั้น แต่หมายความว่าเมื่อมีความยึดมั่นในขันธ์ ๕ การที่จะละความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ก็ด้วยอบรมเจริญปัญญา รู้ในสภาพความเป็นจริงของขันธ์ ๕ อย่างเห็น แล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นสภาพรู้เป็นนามธรรม ไม่มีทางที่จะละการยึดถือเห็นว่าเป็นตัวตนได้ หรือเวลาที่สุขทุกข์เกิดขึ้นก็ไม่ระลึกรู้ว่าขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ก็ไม่สามารถที่จะละคลายความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ว่าเราเป็นทุกข์เหลือเกิน หรือว่าเราเป็นสุขเหลือเกินได้ เพราะฉะนั้นการที่ทรงแสดงเรื่องของขันธ์ ๕ ให้รู้ว่าเรายึดมั่นติดข้องมีอุปทานในขันธ์ ๕ มาก เพราะฉะนั้นปัญญาที่จะต้องละความไม่รู้ก็คือละความไม่รู้ในขันธ์ ๕ มิฉะนั้นเราก็ยังต้องยึดถือขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตน

    ผู้ฟัง เป็นตัวตน อยู่ในปรมัตถธรรมอะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ว่าจะหอม หรือตุ หรืออะไรก็ตาม ที่ปรากฏทางจมูก และขณะที่กลิ่นปรากฏหมายความว่ามีจิตกำลังรู้ในตุตุนั้นด้วย ในกลิ่นตุตุ นั้นด้วยถ้าจิตไม่เกิดขึ้น หรือได้กลิ่นตุตุ กลิ่นตุตุ เกิดขึ้น และดับไป มีกลิ่นตุตุเยอะซึ่งจิตไม่รู้ เพราะฉะนั้นกลิ่นตุตุก็เกิดดับตามเหตุตามปัจจัยโดยที่จิตไม่รู้แต่ถ้าขณะใดจิตรู้ว่ามีกลิ่นตุตุ ขณะนั้นกลิ่นตุตุ เป็นรูปซึ่งจิตเกิดขึ้นรู้รูปทางจมูก

    ผู้ฟัง ไม่ใช่เป็นเวทนา

    ท่านอาจารย์ ไม่ ความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบ พร้อมกันก็ได้ในขณะที่กำลังมีอะไรเป็นอารมณ์แล้วแต่ว่าความรู้สึกขณะนั้นจะเป็นอุเบกขาด้วยว่าจะเป็นอะไรก็ตามแต่ความรู้สึก ความรู้สึกเป็นเวทนา แต่ตัวกลิ่นเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกอย่างนั้น ถ้ากลิ่นหอมก็ทำให้เกิดความรู้สึกโสมนัส ถ้ากลิ่นไม่หอมก็ทำให้รู้สึกโทมนัส

    ผู้ฟัง เปรียบเหมือนแม่บท กลิ่นเป็นรูป ความรู้สึกที่ได้กลิ่นก็เป็นนาม ถ้ากลิ่นตุตุก็เป็นรูป ความรู้สึกที่ได้กลิ่นตุตุก็เป็นนาม หลักใหญ่ๆ ก็เป็นอย่างนี้ ถ้าเสียงเป็นรูป ความรู้สึกที่รู้เสียงนั้นก็เป็นนามเท่านั้นเลย เสียงเพราะไม่เพราะอีกเรื่องหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ ในพระไตรปิฎก และอรรถกถา ท่านใช้คำว่ากลิ่นทุกกลิ่น แม้แต่กลิ่นผ้าเก่ากลิ่นผ้าเก่าก็มีกลิ่นผ้าใหม่ก็มี กลิ่นรากไม้ทุกกลิ่นเป็นรูป เป็นสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้ทางจมูกข้อสำคัญก็คือว่าเวลาที่กลิ่นปรากฏเราสามารถที่จะระลึกรู้ได้ว่าต้องมีสภาพที่รู้กลิ่นนั้นกลิ่นนั้นจึงปรากฏ ถ้าไม่มีสภาพรู้กลิ่นกลิ่นนั้นก็ปรากฏไม่ได้ นี่เป็นทางที่จะทำให้รู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม เพราะเหตุว่ารูปธรรมปรากฏแก่จิตซึ่งกำลังรู้กลิ่นนั้น เพราะฉะนั้นต้องมีนามธรรมที่กำลังรู้กลิ่น เพราะเหตุว่ายากที่จะมาระลึกว่ามีนามธรรมที่กำลังรู้กลิ่น เพราะเหตุว่า เคยเป็นเราได้กลิ่นแล้วก็ไม่เคยสังเกตุไม่เคยรู้เลยว่า การได้กลิ่นนั้นแท้ที่จริงก็เป็นชั่วขณะเดียวซึ่งกลิ่นปรากฏแล้วมีสภาพที่กำลังรู้กลิ่นนั้น เพราะฉะนั้นสภาพรู้ต้องมีในขณะที่กลิ่นปรากฏด้วยเหตุนี้ไม่ว่าอะไรทั้งนั้นที่กำลังปรากฏในขณะนี้ให้ทราบว่าเพราะจิตกำลังรู้สิ่งนั้นแสดงให้เห็นว่าตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายไม่เคยขาดจิต ไม่เคยขาดสภาพรู้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าอะไรปรากฏ และเราไปสนใจแต่สิ่งที่ปรากฏโดยที่เราลืมระลึกว่าแท้ที่จริงขณะนั้นมีจิตซึ่งอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นรู้สิ่งนั้นแล้วก็ดับไป เช่น ทางตาเห็นแล้วก็ดับทางหูได้ยินเสียง แล้วก็ดับ ทางใจคิดนึกเรื่องทางตา ทางหู และก็ดับ เพราะฉะนั้นจิตในวันหนึ่งๆ เกิดดับเร็วมากแล้วก็รู้อารมณ์ทุกอย่างที่ปรากฏ เวลานี้ไม่ว่าจะเป็นทางตา และเป็นทางหู และก็เป็นทางกาย และก็เป็นทางใจ จิตเป็นสภาพที่เกิดรู้อารมณ์ที่ปรากฏทั้งหมดโดยที่ว่าถ้าสติปัฎฐานไม่เกิดไม่มีทางจะรู้เลยว่าทุกขณะเกิดแล้วดับตามเหตุตามปัจจัยทั้งหมด

    ผู้ฟัง ปสาทรูป ๕ วิสยรูป ๔ หรือ ๗ ท่านเรียกว่าโอฬาริกรูป รูปหยาบ เรียกว่ารูปหยาบ แต่ผมก็ไม่เคยรู้เลยว่าจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท ปสาทรูปทั้ง ๕ ซึ่งรับกระทบสี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สติระลึกรู้ลักษณะของปสาทรูป ทั้ง ๕ ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ระลึกได้ไหม คือคำถาม

    ผู้ฟัง ระลึกได้แต่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ระลึก

    ผู้ฟัง นึกเอา นึกคิด ก็คงจะเป็นอย่างนี้ไปก่อนใช่ไหม ต้องนึกคิด

    ท่านอาจารย์ ไม่มีความจำเป็น ที่ใครอยากจะรู้อะไรโดยเฉพาะในเมื่อสภาพธรรมกำลังปรากฏทางตาแล้วไม่รู้ จะไปรู้จักขุปสาทรูป และเป็นอย่างไร ถ้าไม่ใช่ตัวความต้องการแล้วก็ไม่มีเหตุผลเลยสิ่งใดไม่ปรากฏแล้วจะไปรู้สิ่งที่ไม่ปรากฏ ในเมื่อมีสิ่งที่ปรากฏแล้วไม่รู้สิ่งที่ปรากฏแล้วเมื่อไหร่จะรู้ อย่างเสียงกำลังปรากฏ และมีจิตที่กำลังได้ยินด้วยเสียงจึงปรากฏได้ และถ้าสติไม่ระลึกว่าขณะที่ได้ยินเป็นชั่วขณะที่ กำลังรู้เสียงเท่านั้นเอง เป็นชั่วขณะจิตหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นรู้เสียง และเสียงก็เป็นเพียงสิ่งที่กำลังปรากฏทางหู ถ้าไม่รู้ลักษณะนี้แล้วจะไปพยายามรู้โสตปสาทรูป ก็ไม่มีทางเพราะว่าโสตปสาทรูปไม่ได้ปรากฏ ไม่ได้มีลักษณะอะไรปรากฏให้รู้

    ผู้ฟัง ไม่ได้พยายามจะรู้ จักขุปสาท รูปารมณ์ หรือ โสตวิญญาณ ไม่ทราบ ไม่ชัดเจน

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ระลึก ไปนึกถึงชื่อไปนึกถึงเรื่องแล้วไปพยายามที่จะดูสิ่งที่ไม่มีให้รู้ สิ่งที่ไม่ได้ปรากฏในขณะนั้นเลย เพราะฉะนั้นทางตาที่กำลังเห็น ผู้ที่อบรมเจริญปัญญาโดยสัจจะญาณหมายความว่าเป็นผู้ที่มีปัญญารู้ความจริงแท้ว่าสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะที่เห็นไม่ใช่อย่างอื่นนอกจากสิ่งที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้กับสภาพรู้ คืออริยสัจธรรมถ้าสามารถจะรู้ความจริงในขณะนี้ได้ ก็รู้ในขณะที่กำลังเห็น หรือว่าขณะที่กำลังได้ยิน เวลาที่ได้ยินมีสติก็ระลึกรู้สภาพที่กำลังรู้เสียงว่าเป็นสภาพรู้เท่านั้นเอง สภาพรู้นั้นไม่ได้รู้อย่างอื่นเลยนอกจากรู้เสียงที่ปรากฏ แล้วก็มีสภาพของนามธรรมอื่นรูปธรรมอื่นที่ปรากฏจริงๆ ให้รู้ ถ้ารู้อย่างนี้จริงๆ ก็รู้ว่าปัญญาไม่รู้อย่างอื่นนอกจากรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง สิ่งที่กำลังปรากฏมีอยู่ ๓ สิ่ง

    ท่านอาจารย์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ผู้ฟัง แต่ละทางมี ๓ สิ่ง

    ท่านอาจรย์ ไม่ต้องไปนับอะไร จักขุวิญญาณไม่ปรากฏ จักขุวิญญาณมี เวลานี้ สิ่งที่ต้องรู้ก็คือว่าเห็นมีจริงๆ และสิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีจริงๆ จะต้องไปนึกถึงอย่างอื่นไหม

    ผู้ฟัง จะนึกถึงปริยัติมี ๓ สิ่ง

    ท่านอาจารย์ ก็นั่นสิ ไปนึกถึงปริยัติขณะนั้นไม่ได้รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ได้รู้ความจริงของสภาพที่กำลังเห็นเข้าไปนึกเรื่องปริยัติ

    ผู้ฟัง ยังไม่ตรง ยังไม่อุชุปฏิปันโน

    ท่านอาจารย์ ต้องระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏไม่ใช่ไปคิดเรื่องราว

    ผู้ฟัง รูปในร่างกายของเราทั้งหมดจะเป็น ๒๗ หรือ ๒๘ ก็ตามก็แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท รูปที่หยาบ รูปที่ละเอียด รูปที่หยาบ บางทีท่านก็ใช้คำว่ารูปใหญ่ บางทีก็ใช้คำว่ารูปที่รู้ง่าย รูปที่หยาบ รูปที่ละเอียดก็รูปที่รู้ได้ยาก หรือคือรู้ได้โดยอ้อมไม่ใช่รู้ได้โดยตรง มีหลายนัย รูปหยาบรูปละเอียดหมายความว่ารูปที่รู้ได้ง่ายกว่า รูปนั้นเรียกว่ารูปหยาบ รูปที่รู้ได้ยากหน่อย เรียกว่าสุขุมรูป รูปที่ละเอียด มี ๑๖ รูป รูปที่หยาบก็เหลือจาก ๑๖ รวมทั้งหมดเป็น ๒๘ นอกจากนั้นรวมทั้งหมดเป็น ๒๘

    ผู้ฟัง มีอาหารอยู่ในไม้นี้ไหม

    ผู้ฟัง อาหารนับเป็นอาหารคนละอย่างอย่างนี้ รูปทุกรูป ที่ท่านบอกว่ารูปอย่างเล็กที่สุดมีรูปรวมกัน ๘ รูป คืออะไรบ้าง อาหารที่เราว่า หมายถึงว่า สิ่งที่เรากลืนกินไป หรือคำข้าวที่กลืนกินไป แต่ในไม้ในอุตุ ไม่ใช่อาหารอย่างที่ว่า ไม่ใช่อาหารที่เรากลืนกินเข้าไปนี่ไม่ใช่ คือโต๊ะ เก้าอี้ หรือวัตถุ ต้นไม้ เล็กที่สุดมีรูป ๘ รูปประชุมกัน รูป ๘ รูป แยกจากกันไม่ได้แต่แยกโดยปัญญา ด้วยสภาวะปัญญาแยกได้ สภาวะมันก็ต้องเกิดพร้อมกัน ๘ รูป แต่ว่าพระองค์มีปัญญาสามารถแยกว่า ในรูปที่เล็กที่สุด ยังมีรูปเกิดพร้อมกัน ๘ รูป ทำไมถึงแยกได้เพราะว่าเป็นสภาวะมีสภาวะคนละอย่าง ๘ อย่าง รวมอยู่ในกลุ่มเล็กที่สุด มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และ อุปาทายรูปคือรูปอย่างต่ำที่สุด ละเอียดที่สุดที่ประชุมกัน ในปรมาณูหนึ่ง หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เล็กที่สุดต้องมีรูป ๘ รูปประชุมกัน ที่แยกจากกันไม่ได้แล้ว รูปเล็กที่สุดถึงอย่างนั้นพระองค์ก็สามารถแยกสภาวะที่ประชุมกันที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นว่ามี ๘ อย่างเพราะว่าสภาวะต่างๆ กันซึ่ง ๘ อย่าง

    ผู้ฟัง ยังข้องใจอยู่ว่าคำว่าวิบาก กระทบกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ตาม ขณะของวิบากซึ่งเป็น กุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก ขณะที่เราเห็น มีอยู่แล้ว เข้าใจว่าเห็นก่อนแล้วกุศล หรืออกุศล ถึงจะเกิด

    ท่านอาจารย์ ต้องแยกคือกุศลเป็นเหตุ กุศลวิบากเป็นผล เป็นจิตแต่ละดวงไม่ใช่ดวงเดียวกัน จิตที่เป็นกุศล เป็นเหตุที่จะให้เกิดจิตที่เป็นกุศลวิบาก เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงวิบาก ต้องหมายความว่าเป็นผลของกุศล หรือเป็นผลของอกุศล ต้องแยกละเอียด

    ผู้ฟัง แสดงว่าต้องสะสมกุศลมาแล้วถึงจะได้กุศลวิบาก

    ท่านอาจารย์ กุศลเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบาก เป็นจิตแต่ละชนิด เพราะฉะนั้นถ้าเราแยกจิตออกเป็นโดยชาติคือโดยการเกิดขึ้นจะมี ๔ ชาติ คือจิตที่เป็นเหตุมี ๒ คือ กุศล ๑ อกุศล ๑ เพราะเหตุว่าจิตเกิดขึ้นเป็นอกุศล จะต่างกับกุศลทีเดียว เพราะฉะนั้นจะรวมกันเป็นชาติเดียวไม่ได้ กุศลก็เป็นกุศล อกุศลก็เป็นอกุศล นี้เป็นจิตที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดจิตอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดเพราะกุศล และอกุศลนั้นเป็นเหตุ จิตที่เป็นผลซึ่งเกิดเพราะกุศลชื่อว่ากุศลวิบาก เพราะฉะนั้นวิบากเป็นจิตซึ่งเป็นผล และก็กุศลเป็นจิตซึ่งเป็นเหตุอกุศลจิตซึ่งเป็นเหตุ พอได้ยินวิบากนั่นหมายความว่าต้องเป็นผลของกรรมด้วย กรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัยให้จิตที่เป็นวิบากเกิด เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องทราบว่าวิบากคือขณะไหนบ้าง

    ตอนเกิดเป็นกุศล หรือเป็นวิบาก หรือเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง เป็นวิบาก

    ท่านอาจารย์ เป็นวิบาก เพราะเหตุว่าตอนเกิดใหม่เราไม่ได้ทำกรรมอะไรเลยแต่ต้องเกิด แล้วทำไมถึงต้องเกิดเพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว ถ้าคนนั้นเป็นพระอรหันต์ถึงแม้ว่าจะทำกรรมแล้ว พอเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่มีโอกาสที่กรรมที่ได้ทำแล้วจะให้ผลหลังจุติคือหลังจากปรินิพพานของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้นที่มีสังสารวัฎ หรือว่าที่ตายแล้วเกิด ตายแล้วเกิด กันอยู่นี่ แสดงให้เห็นว่าทุกคนมีกรรมเป็นของของตน และเวลาที่ปฏิสนธิจิตเกิดเลือกไม่ได้เลยว่าจะให้กรรมไหนให้ผล เพราะฉะนั้นชาตินี้ เรารู้ละว่าเราเกิดมาเป็นคนนี้ แต่เราไม่สามารถจะรู้ได้ว่าที่เราเกิดมาเป็นคนนี่เป็นผลของกรรมอะไรชาติไหน แต่ต้องเป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นที่เกิดนี่คือจิต และจิตประเภทวิบากที่ทำปฏิสนธิกิจนี่คือผลของกรรมขณะแรกในชีวิต แต่ว่ากรรมก็ไม่ได้ให้ผลเพียงแค่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ถ้าแค่นั้นก็หมดก็พอแต่กรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดยังทำให้ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น ไม่เปลี่ยนเป็นบุคคลอื่นจนกว่าจะตาย เพราะฉะนั้นหลังจากปฏิสนธิจิตดับแล้วจิตอะไรเกิดต่อคุณประทีป

    ผู้ฟัง เป็นกุศล อกุศล

    ท่านอาจารย์ ยัง เอาใหม่ ขณะปฏิสนธิจิตเกิดขณะเดียว และดับ และกรรมไม่ได้ทำให้เพียงปฏิสนธิจิตเกิดขณะเดียวซึ่งจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะว่าจิตเกิดขึ้นขณะเดียว และดับ เพราะฉะนั้นถ้ากรรมเพียงทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด และดับขณะเดียวก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นหลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับแล้วจิตอะไรจะเกิดต่ออีก

    ผู้ฟัง เป็นภวังคจิต

    ท่านอาจารย์ ซึ่งเป็นวิบากจิตเป็นผลของกรรมเดียวกับกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดเพราะว่าเมื่อปฏิสนธิจิตเป็นอย่างไรจะต้องเป็นบุคคลนั้นตลอดไปจนกว่าจะตายเปลี่ยนไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ปฏิสนธิจิตเป็นจิตประเภทไหน เป็นผลของกรรมอะไรเป็นวิบากที่เป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากอย่างไร ภวังคจิตก็ต้องเหมือนกันเลยเกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเราเอาตัวเราออก เอาชื่อออกก็คือจิตของทุกคน ซึ่งทำกิจปฏิสนธิแล้วดับ และหลังจากนั้นจิตประเภทเดียวกันคือวิบากจิตนั่นเองชนิดนั้นก็เกิดขึ้นสืบทำภวังคจิต ดำรงภพชาติไป นี่คือผลของกรรม สงสัยไหมตอนนี้ ว่าปฏิสนธิจิตเป็นจิตชาติอะไร

    ผู้ฟัง เป็นวิบาก

    ท่านอาจารย์ และก็หลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไปแล้วจิตอะไรเกิดต่อ

    ผู้ฟัง ภวังคจิต

    ท่านอาจารย์ เป็นชาติอะไร

    ผู้ฟัง เป็นวิบากเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ เป็นผลของอะไร

    ผู้ฟัง เป็นผลของกรรม

    ท่านอาจารย์ กรรมอะไร

    ผู้ฟัง ก็อาจจะเป็นกุศล และอกุศลก็ได้

    ท่านอาจารย์ กรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด เพราะฉะนั้นไม่เปลี่ยน ภวังคจิตต้องเป็นผลของกรรมเดียวกับกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิเกิด ถามว่าภวังคจิตเป็นผลของกรรมอะไรก็เป็นผลของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าปฏิสนธิจิตเป็นอกุศลวิบาก ภวังคจิตเป็นอะไร ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นอกุศลวิบาก

    ผู้ฟัง ต้องเป็นอกุศลด้วย

    ท่านอาจารย์ อกุศลไม่ได้

    ผู้ฟัง ต้องเป็นอกุศลวิบากด้วย

    ท่านอาจารย์ ทิ้งไม่ได้เลยถ้าคุณประทีปพูดอกุศลเป็นเหตุ ถ้าพูดอกุศลวิบากเป็นผล เพราะฉะนั้นแยกจะพูดสั้นๆ แบบเป็นอกุศลไม่ได้ ต้องเป็นอกุศลวิบาก ไม่งั้นเดี๋ยวทีหลังเราจะงงๆ ตอนเห็นตอนได้ยิน แล้วก็ถ้าปฏิสนธิเป็นกุศลวิบาก ภวังค์เป็นอะไร

    ผู้ฟัง ก็เป็นกุศลวิบาก

    ท่านอาจารย์ ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นกุศลวิบากที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา ความรู้สึกผ่องใสแช่มชื่นเบิกบานวิบากเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นกุศลวิบากโสมนัสเวทนา

    ท่านอาจารย์ การเกิดเป็นช้างปฏิสนธิจิตของช้างเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอกุศลวิบาก

    ท่านอาจารย์ ภวังคจิตของช้างเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอกุศลวิบากด้วย

    ท่านอาจารย์ ปฏิสนธิจิตของมดเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอกุศลวิบาก

    ท่านอาจารย์ ภวังคจิตของมดเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นอกุศลวิบากด้วย

    ท่านอาจารย์ เทวดาปฏิสนธิจิตเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นกุศลวิบาก

    ท่านอาจารย์ ภวังคจิตของเทวดาเป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นกุศลวิบาก

    ท่านอาจารย์ ต้องทราบแน่นอนเรื่องชาติทั้ง ๔ คือว่ากุศลเป็น ๑ ชาติ อกุศลเป็น ๑ ชาติ วิบากเป็น ๑ ชาติ กิริยาเป็น ๑ ชาติ จิตทั้งหมดจะอยู่ในที่ไหนก็ตามโดยการเกิด และจะต้องเป็น ๑ ใน ๔ คือถ้าเป็นกุศลก็เป็นกุศล ถ้าเป็นอกุศลก็เป็นอกุศล ถ้าเป็นวิบากคือผลของกรรมก็ต้องเป็นผลของกรรม ถ้าไม่ใช่ทั้งกุศล อกุศล ไม่ใช่วิบากก็เป็นกิริยามี ๔ ชาติ

    ผู้ฟัง กราบเรียนถามอีกหน่อยที่ยังงงๆ อยู่คือว่าขณะเดียวของกรรมที่ปฏิสนธิ แล้วทำไมเป็นรูปร่างเรา หรืออะไรต่อมา คล้ายๆ เหมือนอย่างกับว่ามันมีหลายๆ ที่ว่ากรรมเดียวที่มาปฏิสนธิ แต่ว่าเมื่อมาเป็นตัวเราแล้วมีความรู้สึกว่าคล้ายๆ ว่ามีอยู่หลายกรรม

    ท่านอาจารย์ คนเราในสังสารวัฎที่ผ่านมาจะมีกรรมเดียวไม่ได้เลย แต่ทีนี้กรรม หนึ่ง ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด ซึ่งเราเลือกไม่ได้เราอยากให้กรรมดีๆ ใช่ไหม เราจะต้องตายแล้วเราอยากให้กรรมดีให้ผลทำให้เราเกิดดี แต่พวกแมวพวกสุนัขเมื่อก่อนนั้นเค้าก็อยากอย่างนั้น แต่เขาก็เลือกไม่ได้ที่อกุศลวิบากจะทำกิจปฏิสนธิเพราะเป็นผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นทุกอย่างให้เห็นความเป็นอนัตตา ว่าบังคับบัญชาไม่ได้เลย แม้แต่สัตว์ทุกชนิดก่อนจะตายเขาก็ไม่อยากจะเกิดเป็นสัตว์ แต่กรรมหนึ่ง ทั้งๆ ที่สัตว์นั้นก็เคยทำกรรมดีมาแล้วเยอะแยะ กรรมไม่ดีก็ทำมาแล้วมาก แต่กรรมหนึ่ง ในบรรดากรรมทั้งหลาย เวลาที่จะให้ผลหมายความว่าจิตเศร้าหมอง หรือผ่องใสก่อนจุติเนื่องจากเป็นผลของกรรมใด ถ้าจิตผ่องใสก็เป็นผลของกุศลกรรม ถ้าจิตไม่ผ่องใสก็เป็นผลของอกุศลกรรม

    ผู้ฟัง รู้สึกแปลกใจว่า มีความแตกต่างของรูปร่าง หรือ สถานการณ์ หรือว่าความเป็นอยู่ต่างกันมันเป็นกรรมของแต่ขณะที่ได้สร้างมาแล้วใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แต่ละจิตที่เกิดดับสืบต่อสะสมมา เพราะฉะนั้นเราจะเห็นกระบวนการว่าในจิตขณะเดียวมีอะไรบ้างมีการสะสมอยู่ในนั้นซึ่งต่างกันมากไม่อย่างนั้นคนหนึ่ง จะไม่เกิดเป็นคนฉลาด อีกคนหนึ่งเป็นคนโง่ หรือว่าพิการปัญญาอ่อน

    ผู้ฟัง ภายในกรรมเดียวที่จุตินี้มีอยู่ครบ

    ท่านอาจารย์ จิตขณะหนึ่ง จะต้องมีทุกอย่างเพราะเมื่อจิตขณะนั้นดับ และเป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิดดำรงความเป็นบุคคลนั้นซึ่งสะสมทุกอย่างไว้ต่างๆ กันไป

    ผู้ฟัง เป็นปัญหาเดียวกับของคุณหญิง คือเคยฟังเทปอาจารย์พูดว่า ปฏิสนธิจิต ประมวลไว้ซึ่งทุกอย่างอยู่ในปฏิสนธิจิต แต่ในขณะเดียวกันปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นจากกรรมๆ เดียว อันนี้มันหมายความว่ายังไง

    ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์มีเสื้อหลายตัว หรือตัวเดียว เวลาใส่ๆ กี่ตัว

    ผู้ฟัง ใส่ตัวเดียว แต่ว่ายังมีอยู่ในกระเป๋าหลายตัวก็เหมือนกับว่าสะสมอยู่ในที่หลายๆ อัน

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างก็จะทางบ้านคุณสุริย์มีอะไรบ้างแต่เวลาจะใช้ๆ ทีละอย่างเวลาที่มาเกิดให้เกิดกรรมเดียว

    ท่านอาจารย์ กรรมเดียวเป็นผล

    ผู้ฟัง เป็นผลให้เกิด แต่ว่าลักษณะของจิต หรือหน้าที่ของจิต เวลาจิตดวงหนึ่งดับไปแล้วจุติจิตที่ดับไปแล้ว หลังจากจะมีจุติจิต เขาจะสะสมมาตลอดคือจิตดวงที่ หนึ่ง ดับ

    ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์เราตั้งต้นชาตินี้โดยปฏิสนธิจิต แล้วมาจากไหน

    ผู้ฟัง ก็มาจากกรรมๆ เดียว

    ท่านอาจารย์ จากกรรมเดียว แต่ว่าสะสมอยู่ในจิตหลายกรรม

    ผู้ฟัง สะสมมาไม่รู้กี่ร้อยชาติ แต่ว่าเขาใช้เกิดกรรมหนึ่งเท่านั้น ทีละกรรม

    ท่านอาจารย์ เพราะจิตเกิดทีละหนึ่งขณะ อันนี้สำคัญมากเลย จิตไม่ได้เกิดหลายขณะเดียว เมื่อจิตเกิดขณะหนึ่ง ทำไมจิตขณะนี้ แตกต่างกับจิตของคนอื่น เพราะว่าการสะสมของจิตแต่ละขณะต่างกัน

    ผู้ฟัง ไม่รู้มากี่ร้อยชาติมันจะสะสมแต่ทีนี้มันจะงง ซึ่งเคยถามกันว่าที่เคยสะสมกี่ร้อยชาติมันไปกองอยู่ที่ไหน มองไม่เห็นแต่มันไปกองอยู่ที่ไหน คุยกับคุณบุญเรือน ซึ่งเธอก็พูดอยู่มาว่ามันเป็นนามธรรม มันเป็นนามธรรมซึ่งจะไปกองไม่ได้ถูกมั้ย แล้วแต่อาจารย์บอกว่าจะใช้ตรงไหนมันก็มาตรงนั้นแต่การที่เราจะได้ตรงนั้นต้องมีเหตุปัจจัยด้วยใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่มีการใช้ คุณสุรีย์ ทุกอย่างเป็นเรื่องของเหตุปัจจัยทั้งหมด

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่ากรรมใดที่สุกงอม

    ท่านอาจารย์ คำว่าสุกงอม หมายความว่าถึงกาละที่จะให้ผล เพราะว่าเราเลือกไม่ได้จะให้กรรมนี้ให้ผลกรรมก่อน กรรมนั้นให้ผลก็เลือกไม่ได้ แล้วแต่ว่ากรรมใดถึง กาละที่จะให้ผล เราไม่สามารถจะไปจัดแจงเรื่องกรรมได้เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเห็นคนที่เขาทุกข์ยาก เดือดร้อน และก็เป็นโรคภัย หรือว่าอาจจะเป็นคนโรคเรื้อนคนขอทาน เราก็มีความเห็นใจว่านี้เป็นกรรมหนึ่งของเขาที่เป็นอกุศลกรรม


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    15 ต.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ