สนทนาธรรม ตอนที่ 019
ตอนที่ ๑๙
สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๓๘
ท่านอาจารย์ จิตที่เกิดขึ้น ถ้าไม่เป็นอกุศล
ผู้ฟัง เป็นวิบากได้ไหม
ท่านอาจารย์ ได้ทั้งนั้น จะเป็นกุศล หรือเป็นวิบาก หรือเป็นกริยาก็ได้ เพราะว่าต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๔ ถ้าจิตไม่เป็นวิบากจิตเป็นอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นกุศล อกุศล วิบาก หรือกิริยา
ท่านอาจารย์ ถ้าจิตไม่ใช้กิริยา ไม่เป็นกริยาจิตเป็นอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นกุศล อกุศล วิบาก
ท่านอาจารย์ ใช่ค่ะ ก็วนเวียนอยู่อย่างนี้เพื่อให้เข้าใจชัดจะได้ไม่ลืมว่าสำหรับจิตเจตสิก ต้องมี ๔ ชาติ ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด จะบอกว่าจิตนี้ไม่เป็นอะไร ไม่ได้ ต้องเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นวิบาก หรือเป็นกิริยา
เพราะฉะนั้น การที่เราจะรู้เรื่องจิตแต่ละประเภท เราจะต้องทราบชาติของจิตนั้นด้วย เพราะฉะนั้นเราไม่มีทางที่จะศึกษาให้เข้าใจเรื่องของจิตทั้งหมด ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง แต่วิธีที่จะเข้าใจคือต้องเริ่มจากพื้นฐานว่าจิตทุกดวงที่เกิดขึ้นต้องเป็นชาติหนึ่ง ชาติใดใน ๔ ชาตินี้ก่อน เข้าใจดีแล้วนะคะ รูปเป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง เป็นชาติวิบากใช่ไหมคะ ก็สิ่งที่ปรากฏขึ้นมา ...
ท่านอาจารย์ ชาติหมายความถึงสภาพของจิต และเจตสิกเท่านั้นที่เกิดขึ้น เพราะเหตุว่าชาติมี ๔ อย่าง รูปเป็นกุศลไม่ได้ รูปเป็นอกุศลไม่ได้ วิบากก็ต้องเป็นผลของกุศล และอกุศล รูปไม่ใช่ผลของกุศล และอกุศล หมายความว่าเราต้องเข้าใจ ไม่ใช่ให้ตอบอย่างนี้ ต้องเข้าใจความจริงของสภาพธรรม เพราะเหตุว่าพูดถึงวิบากต้องใช้คำว่ากุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากทุกครั้ง ถ้าพูดวิบากเฉยๆ เราก็ไม่รู้ว่าเป็นผลของกรรมใด เพราะว่าจิตเกิดขึ้นขณะหนึ่ง ถ้ารู้ หรือเห็น หรือได้ยินอะไร ที่ไม่น่าพอใจ นั่นต้องเป็นอกุศลวิบาก เพราะเหตุว่าเป็นผลของอกุศลกรรม ถ้าสิ่งที่ปรากฏเป็นอารมณ์เป็นสิ่งที่น่าพอใจ จิต และเจตสิกนั้นก็เป็นกุศลวิบาก เพราะเหตุว่าต้องเป็นผลของกุศลกรรม ที่ทำให้จิต และเจตสิกนี้เกิดขึ้น และก็รู้อารมณ์ที่น่าพอใจอย่างนั้น
ส่วนรูปไม่ใช่สภาพรู้อารมณ์ เพราะฉะนั้นรูปไม่ใช่วิบาก รูปเป็นผลของกรรมได้ แต่ว่ารูปไม่ใช่วิบาก เพราะว่าถ้าใช้วิบาก และต้องใช้กุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นก็จากที่อธิบายว่า จิตมี ๔ ชาติ ก็เข้าใจ แต่ว่าผมก็หวนกลับไปคิดถึงเรื่องจิตที่เป็นสภาพรับรู้อารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็จะมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเกิดขึ้นจริงๆ มีทั้งนามธรรม และ รูปธรรม คือ มีธาตุรู้ กับ สภาพที่ไม่รู้อารมณ์ นั้น แต่ขณะแรกเราก็ไม่รู้ว่าเป็นกุศล อกุศล ใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ จิตเห็นเป็นอะไรชาติอะไร
ผู้ฟัง เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ ก็พูดให้เต็ม จะมาพูดกันย่อๆ อย่างกุศล อกุศล ก็กลายเป็นเหตุไป
ผู้ฟัง ครับ ก็จะต้องติดตามด้วยกุศล และกุศลทุกครั้ง
ท่านอาจารย์ วิบากจะต้องใช้คำว่ากุศลวิบาก และอกุศลวิบาก ถ้าพูดสั้นๆ ว่ากุศลต้องเป็นตัวเหตุ ไม่ใช้เป็นตัววิบาก
ผู้ฟัง ครับ ตอนแรกผมเข้าใจว่าที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ และทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ที่เรามีโอกาสได้เห็นนี่ ก็ถือว่าเป็นเป็นกุศลวิบากทั้งหมด ซึ่งในขณะแรกเท่านั้น
ท่านอาจารย์ พูดถึงจิตแต่ละขณะเลย แต่ละขณะ จะต้องเป็นกุศล อกุศล หรือวิบาก หรือกิริยา
ผู้ฟัง นอกเหนือจากนี้ไม่ได้เลย
ท่านอาจารย์ ก็มี ๔ ชาติเท่านั้น
อ.นิภัทร์ รูปไม่ใช่วิบากเพราะไม่รู้อารมณ์อะไร แต่ว่าเป็นผลของกรรมได้ เพราะผลของกรรมที่เขาทำไว้ดี คนที่เกิดมาขี้เหร่รูปร่างขี้เหร่ รูปร่างก็เป็นผลของกรรมที่ทำไว้ไม่ดี ไม่ใช่เป็นวิบากของกรรม เป็นผลต้องพูดว่าเป็นผล
ผู้ฟัง ถ้าหากว่าเราจะพูดถึงวิบาก หรือว่าถึงผลนี้ ก็ต้องแยกใช่ไหมครับ เพราะจริงๆ วิบากนี่ก็คือผลใช่ไหมครับ
อ.นิภัทร วิบาก แปลว่าสุกอย่างดี สุกอย่างพิเศษแล้ว สุกงอมแล้ว ก็ถ้าผลในภาษาบาลีใช้คำ ๒ อย่าง คือคำว่า วิปากะ กับ พละ "พละ"แปลว่าผล แปลตรงตัวเลยในคำภาษาบาลี แปลว่า พละ "วิปากะ" คือพิเศษยิ่งกว่าที่จะเห็นผลธรรมดา อย่างผลไม้เราก็เรียกว่าผลใช่ไหม เรียกว่า ผลไม้
ผู้ฟัง คือตามเข้าใจตามความเข้าใจครั้งแรกของผมก็คิดว่าวิบากนี้ก็คือผล คืออย่างเดียวกัน วันนี้ มาฟังจากที่ท่านมหานิภัทรพูดแล้ว นี่แยกคนละอย่างใช่ไหมครับ
อ.นิภัทร คือเราพูดใช้สำหรับรูป คือคนส่วนใหญ่จะสับสนกันว่ารูปเป็นวิบาก เป็นวิบากของกรรมที่ทำไว้ แต่ไม่ใช่ อย่าพูดว่าเป็นวิบากของกรรม แต่พูดว่าเป็นผลของกรรมได้ เป็นผลของกรรมดีกรรมชั่วที่เราทำไว้แต่อดีตได้ ไม่ใช่เป็นวิบากของกรรมเพราะถ้าเป็นวิบากเป็นเรื่องของนามธรรม เพื่อต้องการที่จะให้เข้าใจระหว่างรูปธรรมกับนามธรรมอย่างชัดเจน ถ้าพูดถึงเรื่องวิบากเมื่อไหร่แล้ว อย่าไปนึกถึงรูป ตัดขาดไปได้เลย เป็นเรื่องของนามธรรมโดยเฉพาะเลย เพราะว่านามธรรมแยกเป็น ๔ ชาติอยู่แล้วใช่ไหม เป็นกุศลชาติ กุศลชาติ วิปากชาติ กิริยาชาติ แบ่งไปอยู่แล้ว ไม่ได้เกี่ยวกับรูปเลย รูปตัดทิ้งไปเลยไม่เอามาพูดถึง ถ้าพูดถึง๔ ชาติแล้ว ไม่ต้องเอารูปมาพูดถึง
ผู้ฟัง ผมเพิ่งเข้าใจวันนี้เองว่าเมื่อเวลาใช้คำว่าผล กับ วิบาก ถ้าวิบากที่ใช้กับจิตอย่างเดียว นามธรรมอย่างเดียว ใช้กับรูปไม่ได้ ถ้าเป็นรูปธรรมใช้ผลได้
ท่านอาจารย์ รูปเป็นกุศลได้ไหม
ผู้ฟัง รูปเป็นกุศลไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์ รูปสวยๆ เป็นกุศลได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ครับ
ท่านอาจารย์ เจตสิกถ้าไม่เป็นกุศล เป็นอะไร
ผู้ฟัง เจตสิก ถ้าไม่เป็นกุศลเป็นอกุศล หรือเป็นวิบาก ตอบให้ครบใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ต้องครบ
ผู้ฟัง ถ้าไม่เป็นกุศล ก็เป็นอกุศล เป็นวิบาก หรือเป็นกริยา
ท่านอาจารย์ ต้อง ๔ ชาติ จำไว้ให้แม่นเลย ว่า จิต เจตสิก ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๔ คือเป็นกุศล ๑ หรืออกุศล ๑ หรือ วิบาก ๑ กิริยา ๑ วันนี้ก่อนนอนก็ท่องได้ไม่ลืม
ปฏิสนธิจิตเป็นชาติอะไร ปฏิสนธิจิตคือจิตขณะแรก ที่ใช้คำว่าปฏิสนธิจิตหมายความว่าทำกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน
ผู้ฟัง เป็นชาติวิบาก
ท่านอาจารย์ เจตสิกที่เกิดกับปฏิสนธิจิตเป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นวิบาก หมายความว่า จิตกับเจตสิกต้องเหมือนกัน เปลี่ยนไม่ได้เลย ถ้าเจตสิกเป็นกุศล จิตก็เป็นกุศล ถ้าจิตเป็นกุศล เจตสิกก็เป็นกุศล ถ้าเจตสิกเป็นอกุศลเกิดกับจิตใด จิตนั้นก็เป็นอกุศลจิต ถ้าอกุศลจิตเกิด เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยก็เป็นอกุศลเจตสิก สลับกันไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย ถ้าวิบากจิตเกิดขึ้น เจตสิกที่เกิดกับวิบากจิตก็เป็นวิบากเจตสิกด้วย หมายความว่ากรรมทำให้ทั้งจิต และเจตสิกเกิดขึ้น เป็นชาติวิบาก ปฏิสนธิจิตดับไปแล้วจิตอะไรเกิด
ผู้ฟัง ภวังคจิต
ท่านอาจารย์ เป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง เป็นวิบากชาติ
ท่านอาจารย์ เป็นชาติวิบาก เจตสิกที่เกิดกับภวังจิตเป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นวิบากด้วย
ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังเห็น จิตเห็น เฉพาะที่กำลังเห็นเป็นชาติอะไร
จิตที่กำลังเห็น เวลานี้ทุกคนเห็นทั้งนั้นเลย จะได้รู้จักว่าเป็นจิตชาติอะไร ขณะที่เห็นเดี๋ยวนี้ค่ะเป็นจิตชาติอะไร ที่กำลังเห็น เฉพาะเห็น ขณะเห็น เป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง ขณะที่กำลังเห็น เป็นจิตชาติวิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นชาติวิบาก เจตสิกที่เกิดกับจิตเห็นเป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นวิบากด้วย
ท่านอาจารย์ จิตที่ได้ยิน ขณะที่เสียงปรากฏ และจิตได้ยิน จิตที่ได้ยินเป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง เป็นชาติวิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นชาติวิบาก เจตสิกที่เกิดกับจิตได้ยินเป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นวิบากด้วย
ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังได้กลิ่นเป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังลิ้มรส
ผู้ฟัง ก็เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังกระทบสัมผัส
ผู้ฟัง ก็เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นวิบากในวันหนึ่งๆ คือเมื่อไรบ้าง วันนี้ ตั้งแต่เช้าวันนี้ มีวิบากอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ก็มีทุกขณะที่ที่เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะว่าหลังจากวิบากแล้วก็จะเป็นวิบากไม่ได้ ต้องเป็นกุศล หรืออกุศล
ผู้ฟัง ผมไม่เข้าใจคำถามท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ วันนี้ทั้งหมด มีวิบากอะไรบ้าง ขณะไหนบ้าง
ผู้ฟัง ก็ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ท่านอาจารย์ ขณะะเห็นเป็นวิบากจิต ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ขณะลิ้มรส ขณะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นวิบากจิต พูดสั้นๆ ตัดวิบากอื่นออกไป หมายความว่า หลังจากเห็นแล้ว เกิดชอบ ไม่ชอบ เป็นกุศล หรือ อกุศล
ผู้ฟัง คือยังสงสัยอยู่ว่า เมื่อครู่นี้ที่ท่านอาจารย์บอกว่า เห็นขณะแรกเป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ ไม่อยากจะใช้คำว่าขณะแรก แต่ว่าตอนต้นที่เราจะเข้าใจวิบากก็คือว่าขณะที่กำลังเห็น พูดถึงตัวจิตที่เห็นเป็นวิบาก เฉพาะเห็นๆ เฉยๆ เห็นอย่างเดียวยังไม่ได้คิดยังไม่ได้รู้ความหมายอะไรทั้งสิ้น เพียงเห็นเฉยๆ แว๊บเดียวที่เห็น ลักษณะที่เห็น ไม่มีใครสร้างขึ้นมาได้เลย นี่แสดงให้เห็นถึงความวิจิตรของจิตว่า ทำไมจึงมีจิตเห็น เพราะเหตุว่า กรรมต้องทำให้จักขุปสาทรูปเกิดที่กลางตา ถ้าคนตาบอด หมายความว่ากรรมไม่ได้ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด เพราะฉะนั้นตราบใดที่ไม่มีจักขุปสาทรูป จิตเห็นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย นี่แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต ก็ต้องมีเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นอกุศลจิตก็ต้องมีเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นวิบากจิตก็ต้องมีเหตุปัจจัยของวิบากด้วย และเหตุปัจจัยของวิบากจะขึ้นอยู่กับกรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด จิตขณะหนึ่งๆ ที่จะเกิดจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง แต่ว่าจิตใดก็ตามที่เป็นวิบาก จิตนั้นจะปราศจากกรรมเป็นปัจจัยไม่ได้เลย มีปัจจัยอื่นทำให้เกิดจิตอื่นจริง แต่ทำให้เกิดวิบากจิตไม่ได้ถ้ากรรมไม่เป็นปัจจัย
เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า กรรมคือการกระทำที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม ซึ่งเป็นจิตขณะหนึ่งๆ เมื่อดับไปแล้ว สามารถจะเป็นกัมมปัจจัยที่จะทำให้วิบากจิตเกิดขึ้น เช่น ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นเป็นวิบาก ภวังคจิตเกิดขึ้นเป็นวิบาก เท่านั้นก็สบายดีใช่ไหม ไม่ต้องเห็น ไม่ต้องได้ยิน ไม่ต้องได้กลิ่น ไม่ต้องลิ้มรสเลย เกิดมาแล้วไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น แต่ว่าเป็นอย่างนั้นไม่ได้เลย เพราะเหตุว่ากรรมต้องทำให้มีการเห็น ที่ขณะที่ทุกคนเห็นขณะนี้ ให้ทราบว่าเป็นผลของกรรม ถ้าไม่มีกรรมแล้วจะเห็นในขณะนี้ไม่ได้เลย จะได้ยินในขณะนี้ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าการที่จิตเห็นจะมีได้ ต้องมีจักขุปสาทรูปซึ่งเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย ที่จะได้ยินก็ต้องมีโสตปสาทรูปเกิดซึ่งกรรมเป็นปัจจัย ที่จะได้กลิ่นก็ต้องมีฆานะปสาทรูป ซึ่งกรรมเป็นปัจจัย ที่จะลิ้มรสได้นั้นก็ต้องมีชิวหาปสาทรูปอยู่กลางลิ้น ซึ่งกรรมเป็นปัจจัย ที่จะกระทบ และรู้ว่าอ่อน หรือแข็ง ก็จะต้องมีกายปสาทที่สามารถกระทบกับสิ่งที่อ่อน หรือแข็ง แล้วจิตเกิดขึ้นรู้ เพราะเหตุว่า โต๊ะก็ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย และปสาทเลย ใครกระทบ ใครตีอย่างไร ก็ไม่รู้สึก แต่ที่นี่ไม่เหมือนกัน เพียงแข็งมากกว่าปกตินิดเดียว ความทุกข์ก็เกิดแล้ว เย็นมากกว่าปกตินิดเดียว ความทุกข์ก็เกิดแล้ว เพราะว่าทุกขกายวิญญาณเป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรมซึ่งทำให้มีกายปสาทที่จะต้องกระทบกับสิ่งซึ่งทำให้ความทุกข์กายเกิดขึ้น ที่เราป่วย เจ็บ หรือในนรกก็ทรมานมากมาย แสดงให้เห็นว่าเพราะกรรมทำให้มีกายปสาทที่จะต้องกระทบกับสิ่งที่มากระทบกับกายปสาท แล้วจิตที่มีความรู้สึกเป็นทุกข์กายก็เกิดขึ้น
นี่แสดงให้เห็นว่าขณะที่เห็นจริงๆ เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม ขณะที่เพียงได้ยินก็เป็นผลของกรรม ขณะที่ได้กลิ่น ขณะที่ลิ้มรส ขณะที่กระทบสัมผัสเป็นผลของกรรมเท่านั้น แต่เห็นแล้วชอบ หรือไม่ชอบ ไม่ใช่ผลของกรรมแล้ว นี่แสดงให้เห็นว่า เราต้องแยกชีวิตของเราในวันหนึ่งๆ ว่า เป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนหนึ่งเป็นผลของกรรม ไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ ไม่เห็นก็ไม่ได้ ไม่ให้ได้ยินก็ไม่ได้ เพราะว่ากรรมทำให้มีสภาพที่เป็นปัจจัยทำให้จิตเหล่านี้เกิด นี่คือผลของกรรม แต่หลังจากเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ไม่ใช่เรื่องผลของกรรม แล้วแต่ว่าจิตจะเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล เริ่มเป็นเหตุที่จะให้เกิดผลข้างหน้า เพราะฉะนั้น ชีวิตก็แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนหนึ่งเป็นผลของกรรมที่ได้ทำแล้ว ทำให้มีวิบากคือผลของกรรมเกิดขึ้น อีกส่วนหนึ่ง ก็คือเป็นกรรมใหม่ สะสมที่จะให้เป็นกรรมเกิดขึ้น ที่จะทำให้วิบากต่อไปเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น สังสารวัฏฏ์จึงเป็นกิเลส กรรม วิบาก กิเลสเป็นปัจจัยให้เกิดกรรม กรรมเป็นปัจจัยให้เกิดวิบาก และเมื่อมีวิบากคือเห็นแล้ว ยังมีกิเลสต่อไป ก็มีกิเลสที่จะเป็นเหตุให้เกิดกรรม และที่จะเป็นเหตุให้เกิดวิบากต่อไป
ผู้ฟัง ขณะที่เป็นกุศล อกุศล อยู่ตอนไหน
ท่านอาจารย์ วิบากเป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ วิบากมี ๒ ชนิด คือถ้าเป็นผลของกุศล วิบากนั้นเป็นกุศลวิบาก กุศลวิบาก แปลว่า วิบากของกุศล ขณะที่เห็นสิ่งที่ดีทางตา ขณะที่ได้ยินเสียงที่ดีทางหู ขณะที่ได้กลิ่นที่ดีทางจมูก ขณะที่ลิ้มรสอร่อยทางลิ้น ขณะที่กระทบสัมผัสสิ่งที่สบายทางกาย เพราะว่าทุกคนต้องการกุศลวิบาก ใครก็ตามต้องการเห็นสิ่งที่ดี อย่างคุณประทีปก็ไม่ต้องการไปเห็นคนที่เขากำลังเป็นโรคภัยอย่างนั้น แต่ต้องเห็น หรือคนที่อยู่ใกล้กองขยะ เขาก็ไม่ได้อยากจะได้กลิ่นอย่างนั้น แต่มีเหตุปัจจัยที่จะให้จิตขณะนั้นเกิดขึ้น ได้กลิ่นไม่ดีขณะใด ขณะนั้นเป็นอกุศลวิบาก คือเป็นผลของอกุศลกรรม ตัววิบากจะเป็นเหตุคือเป็นกุศล อกุศลไม่ได้ วิบากต้องเป็นผลเสมอไป เพราะฉะนั้นจึงมีคำข้างหน้าว่ากุศลวิบาก หมายความว่าเป็นผลของกุศล อกุศลวิบากเป็นผลของอกุศล ขณะใดที่ได้กลิ่นหอม ขณะนั้นเป็นกุศลวิบาก เป็นผลของกุศลกรรมที่ได้ทำแล้ว ขณะใดที่ได้กลิ่นเหม็น ขณะนั้นก็เป็นอกุศลวิบาก เป็นผลของอกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้น วิบากต้องเป็นผล
ผู้ฟัง พูดถึงชาติ มี ๔ ชาติ กุศล อกุศล เป็นเหตุ
ท่านอาจารย์ เป็นเหตุ
ผู้ฟัง ก็อาจจะพูดว่า จิตที่เป็นกุศล เป็น
ท่านอาจารย์ จิตที่เป็นกุศลเป็นเหตุ ไม่ใช่วิบากเลย
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นคนละประเภท
ท่านอาจารย์ คนละขณะเลย จิตใดเป็นกุศล เกิดขึ้นเป็นกุศล จะเป็นผลไม่ได้ เป็นตัวเหตุ เพราะฉะนั้น จิตจึงมี ๔ ชาติ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นอะไร เป็นเหตุ หรือเป็นผล เป็นกรรม หรือเป็นวิบาก ไม่ใช่ว่าเป็นพร้อมกันทั้ง ๔
ผู้ฟัง คือเห็นขณะแรก
ท่านอาจารย์ เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม เกิดก็เป็นผลของกรรมแล้ว ดำรงชีวิตทั้งๆ ที่ยังไม่เห็นเลย ระหว่างที่ยังไม่ตายนี่ก็เป็นผลของกรรมว่ายังไม่ให้ตาย ทำไมยังไม่ตาย ก็ต้องรับผลของกรรมทางตา คือต้องเห็น ที่เราไม่ตายเพราะว่าต้องเห็น ต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ทั้งหมดนี้เป็นผลของกรรม เป็นวิบาก ถ้าเห็นดีก็เป็นกุศลวิบาก เป็นผลของกุศล ถ้าเห็นไม่ดีก็ต้องเป็นอกุศลวิบาก เป็นผลของอกุศล แต่หลังจากวิบากแล้ว กุศล อกุศล เกิดต่อ เป็นเหตุใหม่แล้ว ไม่ใช่วิบาก เป็นตัวเหตุ จิตคนละประเภท คนละชนิด จิตต้องมี ๔ ประเภท จิตที่เป็นเหตุมี ๒ ที่เป็นกุศล ๑ เหตุ จิตที่เป็นอกุศล ๑ เหตุ และจิตที่เป็นวิบากนั้นเป็นผล คนละขณะ คนละประเภท ข้ามภพข้ามชาติได้
อ.นิภัทร มีคำว่า กุศล อกุศล คือ ถ้าพูดถึงวิบากที่เป็นอกุศลก็ต้องเป็นอกุศลวิบาก อย่าไปแยกอกุศลกับวิบาก เป็นอันเดียวกันไปเลย ถ้าเป็นวิบากมาแล้วอย่าไปแยกว่ากุศลอย่างหนึ่ง วิบากอย่างหนึ่ง ไม่ใช่อย่างนั้น กุศลวิบากก็เป็นอันเดียวไปเลย อกุศลวิบากก็เป็นอันเดียวกัน ไม่ใช่แยกกุศลต่างหาก อกกุศลต่างหาก วิบากต่างหาก ทำไมจึงเรียกว่ากุศลวิบาก วิบากนี้เกิดเพราะกุศลกรรม กุศล อกุศลก็เป็นเรื่องของชาติ เรียกว่ากุศลชาติ อกุศลชาติ คือไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องวิบากเลย ถ้ามาพูดเรื่องวิบาก และยังเอากุศล อกุศล มาอยู่ด้วยแล้วก็จะงง
ถ้าพูดกุศลวิบากเป็นเรื่องของวิบากล้วนๆ แต่ว่าวิบากชนิดนี้เกิดมาจากกุศล ให้เห็นสิ่งที่ดี อย่างที่ท่านอาจารย์ท่านอธิบาย อกุศลวิบากเกิดทางตา จักขุวิญญาณาอกุศลวิบากได้เห็นสิ่งที่ไม่ดี อย่าไปงงเรื่องกุศล อกุศล
ท่านอาจารย์ เพราะว่าวิบาก เห็น เป็นผลของกรรม แต่ยังไม่ได้จำแนกเลยว่าเป็นผลของกรรมอะไร แต่เวลาที่เราอยากจะรู้ว่า กรรมอะไร กุศลกรรม หรืออกุศลกรรม เราจะรู้ได้ว่าเป็นผลของกุศลกรรมก็ต่อเมื่อสิ่งที่เห็นนั้นเป็นสิ่งที่น่าพอใจ แสดงว่าคนนั้น จิตในขณะนั้น ได้เห็นสิ่งที่น่าพอใจ สภาพของจิตที่เห็นสิ่งที่ดีเป็นวิบากที่เป็นผลของกุศล เพราะฉะนั้น ชื่อของเขาชื่อว่ากุศลวิบาก เป็นชื่อกุศลวิบาก เป็นชื่อของวิบากว่ากุศลวิบาก เพราะเหตุว่าเป็นผลของกุศล เพราะฉะนั้น คำว่ากุศลวิบากหมายความถึงจิตหนึ่งขณะ ต้องเรียกทั้งเต็มว่ากุศลวิบาก หมายความว่าจิตที่เห็นมี ๒ ดวง เป็นกุศลวิบากดวงหนึ่ง เป็นอกุศลวิบากดวงหนึ่ง ทางตามี ๒ ดวง ทางหูก็มี ๒ ดวง ที่เป็นโสตวิญญาณ จิตได้ยินเป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง เป็นอกุศลวิบาก ๑ ดวง ต่างขณะกัน ขณะใดที่ได้ยินเสียงที่ดี ขณะนั้นเป็นกุศลวิบาก ขณะใดที่ได้ยินเสียงไม่ดี ขณะนั้นเป็นอกุศลวิบาก และถ้าเป็นทางหูก็ต้องบอกว่าโสตวิญญาณอกุศลวิบาก โสตวิญญาณคือจิตได้ยิน ที่เป็นผลของกรรมที่ไม่ดี คือ อกุศลกรรม เพราะฉะนั้นจึงเป็นอกุศลวิบาก ต้องเรียกเต็ม ถ้าเป็นทางจมูกก็ฆานะวิญญาณกุศลวิบาก หรือฆานะวิญญาณอกุศลวิบาก ความสำคัญอยู่ที่ตรงวิบาก แต่วิบากประเภทไหน ส่องไปถึงว่าวิบากของกรรมชนิดไหน โดยเติมกรรมนั้นไว้ข้างหน้า ว่าถ้าเป็นวิบากของกุศลกรรมก็ชื่อว่ากุศลวิบาก ถ้าเป็นวิบากของอกุศลกรรมก็ชื่อว่าอกุศลวิบาก
ผู้ฟัง กุศลจิต ชาติที่เป็นกุศล ขอให้อาจารย์อธิบาย
ท่านอาจารย์ ชาติของจิตมี ๔ ชาติ ชาติของจิต หมายความว่า จิตที่เกิดมาเขาจะต้องเป็นสภาพอย่างหนึ่งอย่างใด คือ เป็นกุศล ๑ อย่าง เป็นอกุศล ๑ อย่าง เป็นวิบาก คือเป็นผลของกรรม ๑ อย่าง แล้วก็เป็นกิริยา ๑ อย่าง คือจิตทั้งหมดจะต้องมี ๔ ชาติ แต่ทีละหนึ่ง หมายความว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นเป็นชาติหนึ่งชาติใดใน ๔ คือ ถ้าเป็นอกุศลก็เป็นอกุศล จะไปเป็นผลคือวิบากไม่ได้ จะไปเป็นกิริยาไม่ได้ จะไปเป็นกุศลไม่ได้ เพราะฉะนั้นใน ๔ ชาติ คือ กุศล ๑ อกุศล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ เราแยก ๔ อย่างออกเป็น ๒ ก่อน คือกุศลเป็นเหตุ อกุศลเป็นเหตุ ใน ๔ อย่าง กุศล และอกุศลเป็นเหตุ ส่วนวิบากเป็นผลของกรรมที่ได้แก่กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมนั่นเอง แต่ตัววิบากไม่ใช่ตัวกรรม เหตุทำแล้ววิบากเกิดภายหลัง ต้องมีผลเกิดขึ้นจากเหตุนั้น
เพราะฉะนั้น ที่เราสามารถที่จะจำแนกจิตออกเป็นพวกใหญ่ๆ เราก็ตั้งต้นตั้งแต่ว่าโดยชาติ หรือ ชา-ติ หมายความถึงโดยการเกิดขึ้น จิตต้องเกิดแน่ๆ เมื่อเกิดแล้วจะต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๔ อย่าง คือ ถ้าจิตนั้นเป็นกุศล จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยนอกจากเป็นกุศลอย่างเดียว ถ้าจิตนั้นเป็นอกุศลก็เป็นอกุศล ถ้าไม่ใช่กุศล อกุศล ก็เป็นวิบาก คือเป็นผลของกุศล เรียกว่ากุศลวิบาก ถ้าเป็นผลของอกุศล เรียกว่าอกุศลวิบาก คือ ผล วิบากนี้คือผล
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060