สนทนาธรรม ตอนที่ 022
ตอนที่ ๒๒
สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๓๘
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าคนส่วนใหญ่ในโลกนี้ ๙๙% ชอบอีก ๑% ไม่ชอบนั่นอีกเรื่องนึ่งแต่แม้กระนั้นก็ตามแต่บางอย่างที่ละเอียดกว่านั้นแล้วก็เป็นสิ่งที่บางเบาซึ่งยากในการที่จะตัดสินนะคะ เราจะเอาความรู้สึกของคนมาตัดสินไม่ได้เพราะเหตุว่าสภาพลักษณะแท้ๆ ของเขามีที่เขาจะเป็นอิฎฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ เพราะฉะนั้นตามที่เป็นกุศลวิบาก และอกุศลวิบากเกิดก่อนความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบ โลภะ หรือโทษะเกิดหลังเห็น เพราะฉะนั้นเราจะเโลภะ หรือโทษะไปบอก หรือไปวัดว่านี้เป็นกุศลวิบาทนั้นเป็นอกุศลวิบากไม่ได้เพราะเกิดทีหลัง เราต้องเอาลักษณะสภาพของปรมัตธรรมนั่นเองให้รู้ว่า เพราะเหตุว่ารูปต่างกันเป็นรูปที่น่าพอใจประเภทหนึ่ง และไม่น่าพอใจประเภทหนึ่ง เพราะฉะนั้นเวลาที่วิบากจิตเกิด ก็ถ้าเป็นกุศลวิบากโดยสภาพจะชอบ หรือไม่ชอบก็ตามอย่างเก้าอี้นุ่น เป็นกุศลวิบากเพราะลักษณะของเขาไม่น่ารำคาญทำให้เกิดทุกข์แต่คุณวีระไม่ชอบหลังจากที่สุขกายวิญญาณเกิดแล้ว โทมนัสเวทนาเกิดโทสมูลจิตเกิด แต่สำหรับคนอื่นหลังจากสุขกายวิญญาณเกิดแล้วโลภะเกิด นี่ก็แสดงให้เห็นว่าส่วนของวิบากเป็นส่วนหนึ่ง และหลังจากนั้นแล้วก็เป็นกุศลอกุศลอีกต่างหาก
ผู้ฟัง ถ้ากุศลวิบากจิตที่ได้กระทบกับแข็ง ท่านอาจารย์ได้กรุณากล่าวว่าคุณวีระชอบ
ท่านอาจารย์ ที่กระทบแข็ง แล้วชอบแข็ง
ผู้ฟัง ผมก็ยังมีความรู้สึกว่ายังไม่เข้าใจอย่างเช่นท่านอาจารย์ชินวุฒิได้กล่าวว่าถ้าแข็งนั้นนะใครจะกำหนดว่าเป็นกุศล หรืออกุศลจุดนี้
ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ เรามักจะคิดคาดคะเนวัด แต่ปรมัตถ์ธรรมคือปรมัตถ์ธรรมสภาพธรรมจริงๆ นี้เป็นอย่างนั้น เราจะรู้ หรือไม่รู้นั่นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ขณะนี้เราเรียนเรื่องจิตเราเรียนเรื่องกรรม ว่ากรรมมี ๒ อย่าง คือกุศลกรรม และอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นผลต้องมี ๒ อย่างคือกุศลวิบากเป็นผลของกุศลกรรมสลับกันก็ไม่ได้นะคะ อกุศลวิบาทก็ต้องเป็นผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้นวิบากซึ่งเป็นผลต้องมี ๒ อย่างคือวิบากที่เป็นกุศลวิบากอย่างหนึ่ง วิบากที่เป็นอกุศลวิบากคือผลของอกุศลอีกอย่างหนึ่ง กรรมมี ๒ เหตุมี ๒ เพราะฉะนั้นผลก็ต้องมี ๒ ทีนี้ผลของกรรมเอาทางไหนมาละ ถ้าเราเกิดมาแล้วไม่มีตาหูจมูกลิ้นกาย ก็สบายดีไม่ต้องเห็นไม่ต้องได้ยินไม่ต้องได้กลิ่นไม่ต้องลิ้มรสไม่ต้องกระทบสัมผัสใช่ไหม แต่กรรมนี้ค่ะเป็นปัจจัยทำให้มีจักขุปสาทะสำหรับจักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็นแล้วแต่ว่าจะเป็นจักขุวิญญาณกุศลวิบาก เป็นผลของกุศลกรรม ที่ได้ทำแล้วในอดีต หรือว่าจะเป็นแบบจักขุวิญญาณอกุศลวิบากเป็นผลของของอกุศลกรรมที่ได้ทำแล้วในอดีต แม้แต่เห็นก็ยังมีเห็น ๒ ประเภท จิต ที่เป็นวิบากเป็น ๒ ดวง ๒ ชนิดคือกุศลวิบากดวง ๑ อกุศลวิบากดวง ๑ ที่เห็นเราก็เห็นไปเรื่อยเรื่อยกุศลวิบากบ้างอกุศลวิบากบ้าง แต่ให้ทราบว่าแม้แต่เห็นก็เป็นผลของกรรม ๒ อย่างแล้วแต่ว่าขณะไหนจะเป็นผลของกรรมที่เป็นกุศลวิบากเกิดขึ้น หรืออกุศลวิบากเกิดขึ้นทางกายก็เหมือนกัน
ผู้ฟัง ผมขออนุญาตแทรกตรงนี้นิดนึงว่าถ้าสมมติเห็นมันค่อนข้างจะชัดหน่อยเพราะว่าถ้าเห็นโดยแสงรุนแรงมากอย่างนี้สบายเห็นแล้วสบายไม่ระคายตาก็เรียกว่าเป็นกุศลจะถู หรือเปล่าไม่ทราบ กุศลวิบากจิต ถ้าเผื่อสมมติว่าเห็นแล้วจ้ามากก็เป็นอกุศลวิบากจิต อันนี้มองเห็นได้ชัดแข็งก็แข็งก็อาจจะเหมือนกันแต่ว่าอันนี้มันเป็นลักษณะสากล หรือไงครับ
ท่านอาจารย์ เรามักจะคิดอดคิดไม่ได้เลยสิ่งที่ปรากฏทางตาซึ่งยังไม่ดับชั่วขณะที่สั้นเหลือเกินแล้วเราจะบอกว่าเป็นกุศลวิบาก หรือเป็นอกุศลวิบาก เพราะฉะนั้นทางตาตัดไปได้เลยไม่มีทาง ในเมื่อสั้นอย่างนั้นจะบอกได้ยังไง ทางหูเสียงแล้วก็ยังพอจะรู้ได้ทันทีที่ได้ยินเสียงแล้วตกใจ เสียงนั้นจะเป็นกุศลวิบากไม่ได้แน่ใช่ไหมคะทางจมูกก็เหมือนกันให้กลิ่นนั้นเป็นกลิ่นที่เหม็นเราจะบอกว่าเป็นกุศลวิบากก็ไม่ได้ ทางลิ้นทางกายเหมือนกันค่ะคือถ้าเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเราต้องรู้โดยอารมณ์ ไม่ใช่อย่างอื่น ไม่ใช่เอาเราไปวัด หรือเอาเราไปตัดสิน
ผู้ฟัง แต่สมมติว่าคุณวีระไปทำกุศลกรรมไว้นะครับ เพราะฉะนั้นกุศลกรรมจะให้ผลอะไรครับ
ผู้ฟัง ก็ให้เป็นกุศลวิบาก
ผู้ฟัง กุศลวิบากสิ่งที่ดีที่งาม
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นที่เป็นกุศลวิบากอะไรเป็นอิฎฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์สิ่งๆ นั้น ที่เราได้รับสมมติว่าเป็นทางตาจะเป็นอะไร
ผู้ฟัง ก็เป็นกุศลวิบากทางตา
ผู้ฟัง ทางสิ่งที่ดีงาม
ผู้ฟัง อิฎฐารมณ์นี้มันมาหลังจากที่
ผู้ฟัง ไม่ได้หมายความว่าเราทำกรรมดีไว้นะครับ เราก็จะเห็นได้กลิ่นได้กลิ่นนะฮะได้สัมผัสในสิ่งที่ดีที่งามสมมติว่าเราทำกันดีไว้มาสัมผัสปุ๊บนี่นะครับ เราน่าจะสัมผัสกับสิ่งที่อะไร สิ่งที่ดีที่งามที่อ่อนนุ่มที่เราพอใจ
ผู้ฟัง มันจะอ่อนนุ่ม หรือเปล่า
ผู้ฟัง หมายถึงว่าเราจะต้องสัมผัสกับสิ่งที่เป็นอิฎฐารมณ์คือสิ่งที่พอใจอนิฏฐารมณ์คือสิ่งที่
ผู้ฟัง คือสิ่งที่ยังไม่พอใจ
ผู้ฟัง ยังไม่พูดถึงด้านพอใจคือถ้าทำกรรมดีไว้นะเราจะต้องมาพบสิ่งที่เป็นอิฎฐารมณ์ คือสิ่งที่เราเราน่าจะพอใจสิ่งที่น่าพอใจ ไม่มีคนเข้ามาเกี่ยวไม่มีคนนะ
ผู้ฟัง ผมเรียนถามแล้วซึ่งอาจารย์ก็ได้กรุณาบอกว่าอันนี้ยังไม่ต้องไปคิดถึงถูกไหมครับได้ไหมครับคิดว่าเป็นอนิฏฐารมณ์จริงอย่างสมมติว่าอนิฏฐารมณ์จะอนิฏฐารมณ์นี้จะเป็นอนิฏฐารมณ์ หรือเปล่าก็ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ คือเราทราบว่ารูปต้องมีหลายลักษณะต่างๆ กันไปวิจิตรมากแต่โดยประเภทใหญ่รูปจะแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือเป็นรูปที่น่าพอใจเรียกว่าอิฎฐารมณ์รูปที่ไม่น่าพอใจคืออนิฏฐารมณ์นี่คือลักษณะแท้ๆ ของรูปเขา เราตัดสินไม่ได้ใครก็ตัดสินไม่ได้เราจะชอบ หรือไม่ชอบก็ต่างคนต่างใจ แต่ถึงเราจะชอบ หรือไม่ชอบเราก็เปลี่ยนลักษณะของรูปนั้นไม่ได้ รูปนั้นโดยเนื้อแท้เขาเป็นอิฎฐารมรณ์ หรือเข้าเป็นอนิฏฐารมณ์โดยสภาพของเขาส่วนเราจะชอบ หรือไม่ชอบในเรื่องของแต่ละคนหมายความว่าอย่างน้อยที่สุดเราก็ทราบเรื่องผลของกรรมนะคะ ว่ารับผลทางตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วก็โดยกระทบกับอารมณ์ที่น่าปรารถนา หรือไม่น่าปรารถนาแต่ส่วนเราชอบ หรือไม่ชอบเป็นอีกเรื่องนึงค่ะ ถ้าเราจะรู้ได้แค่นี้เราก็รู้แค่นี้ได้
ผู้ฟัง ควรจะรู้แค่นี้ก่อน
ท่านอาจารย์ แน่นอนที่สุดนะคะ คือว่ามันมีสิ่งที่ปรากฏทางตาทางหูโดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปรู้ว่าเป็นนิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์เพียงแต่รู้ว่าเห็นไม่ใช่รูปที่ปรากฏ
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นชาติของจิต ทำไมไม่แบ่งเป็นกุศลวิบากจิตกับอกุศลวิบากจิตด้วยละครับ
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าวิบากป็นเพียงผลของกรรมเหมือนกันหมดเลยค่ะทางตาก็คือแค่เห็น ห่างหูก็คือแค่ได้ยินแต่ว่าทางกรรมที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรมวิจิตรต่างกันมาก และก็ให้ผลเพียงแค่ทำให้วิบากเกิดขึ้นเห็นซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีกำลังเลยถ้าทราบว่าสำหรับจักขุวิญญาณโสตวิญญาณฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณกายวิญญาณมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง๗ ดวงเท่านั้นค่ะ แล้วก็เป็นเจตสิกประเภทซึ่งเกิดกับจิตทั่วๆ ไปด้วยไม่เป็นกุศลไม่เป็นอกุศลเลยแสดงให้เห็นว่าธาตุชนิดนี้อาศัยปัจจัยคือเจตสิกเพียง ๗ ดวงแล้วก็ทำกิจเพียงแค่เห็นเพราะว่ากรรมมีแรงเพียงแต่จะทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นทางตาเห็น นั่นคือหน้าที่ของกรรมแต่หลังจากนั้นแล้วการสะสมที่เป็นกุศลอกุศลเขาเกิดต่อมากกว่า นี้ก็แสดงเห็นถึงกิจการงานสภาพของธรรมว่าถ้าเป็นกรรม และจะให้ผลเพียงเท่านี้คือให้จิตกี่ดวงเกิดขึ้น
ผู้ฟัง ครับ นั่นเข้าใจว่าทำไมถึงมีวิบากเป็นชาติเดียว
ผู้ฟัง ความรู้สึกที่เราได้รับว่าเราชอบ หรือไม่ชอบจากวิบากต่างๆ เกิดขึ้นเนื่องจากเราทำกรรมดี หรือไม่ดีเอาไว้จึงแปลผลว่าเราชอบ หรือไม่ชอบ หรือเปล่าคะ
ผู้ฟัง ตามความเห็นผมไม่ใช่นะครับ การที่เราชอบ หรือไม่ชอบนี้มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสะสมในเรื่องกุศล และอกุศลจิตมากกว่า
อ.นิภัทร นี้ว่าที่ชอบ หรือไม่ชอบสิ่งที่เห็นผลของกรรมดีเรียกว่ากุศลวิบาก ผลของกรรมชั่วก็เรียกว่าอกุศลวิบาก อกุศลวิบากนี้ชั่วขณะจิตนิดเดียวสั้นมากซึ่งจะไม่มีเรื่องที่จะคิดว่าชอบ หรือไม่ชอบเลย มันสั้นเหลือเกินเพราะมันขณะจิตเดียวจริงๆ จักขุวิญญานเกิดขณะจิตเดียวจริงๆ ที่คุณเห็นขณะนั้น ซึ่งมันจะไม่มีความชอบ หรือไม่ชอบจะไม่รู้สึกยังไม่มีเลยในขณะนั้นแต่หลังจากนั้นมาเราเกิดชอบ หรือไม่ชอบมันเป็นเรื่องของกุศลจิตอกุศลจิต
ผู้ฟัง อันนั้นเป็นผลของกรรม หรือเปล่า
อ.นิภัทร ไม่ๆ เป็นอันใหม่ เป็นกุศลอกุศลที่จะให้ผลต่อไป เป็นกุศลจิตอกุศลจิต เป็นโลภะ โลภมูลจิตที่ชอบโสมนัสชอบ หรือว่าไม่ค่อยชอบมากเฉยๆ
ผู้ฟัง ที่สร้างขึ้นมาใหม่ราก็ทำเอาขึ้นเองก็จะให้มันเป็นกัน
อ.นิภัทร เป็นสั่งสมมาเป็นสั่งสมที่จะให้เราได้รับผลต่อไปข้างหน้าเป็นการสั่งสมคือเราเห็นสิ่งที่ดีใช่ไหม เห็นสิ่งที่ดีนี่เป็นผลของกุศลทางตาเห็นสิ่งที่ดีเป็นผลของกุศลทางตาห็นสิ่งที่ไม่ดีขึ้นผลของอกุศลอันนั้นเป็นเป็นเรื่องธรรมดานะแต่เราไปชอบ หรือไม่ชอบนี่มันไม่ใช่เกี่ยวกับเรื่องเห็นสิ่งที่ดี หรือไม่ดีนะ มันเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง เพราะว่าอย่างกรณีอย่างกลิ่นนี่นะตัวอย่างขอประทานโทษอย่างสุนัขนี่นะได้กลิ่นเหม็นอุจจาระนี่มันกินนะครับ โดยสภาพของกลิ่นนะมันเป็นเหม็นนมันเหม็นแต่ว่าสภาพของมันเป็นอย่างนั้น เป็นอนิฏฐารมณ์ แต่ว่าสุนัขชอบเป็นกุศล หรือเปล่า
ผู้ฟัง แสดงว่าคือเขาไม่มีวิบากที่ไม่ดีสุนัขใช่ไหมคะ
อ.นิภัทร ไม่ๆ ไม่เกี่ยวกับวิบาก เพราะวิบากนี้ได้กลิ่นหมือนกันหมดเลยจะเป็นคน หรือเป็นสัตว์ก็แล้วแต่ที่ที่มีวิญญานที่มีขันธ์ ๕ นี่นะต้องรู้สึกเหมือนกันก็ต้องรู้สึกเหม็นก็เหม็นหอมก็หอมจะต้องรู้สึกเหมือนกัน มันประณีตเลวหยาบละเอียด มันต้องเหมือนกันหมด แต่ส่วนที่จะมาจัดแจงทีหลังว่าชอบอย่างประณีตชอบอย่างละเอียด หรือชอบอย่างหยาบชอบอย่างเลวมันไม่ใช่เรื่องของ
ผู้ฟัง มันเกิดที่หลัง เพราะฉะนั้นกรรมที่ทำเอาไว้นี้มันก็คงไม่ส่งผลใช่ไหมคะ
อ.นิภัทร ส่งซิ ส่งตอนแรก
ผู้ฟัง ตอนที่เป็นวิบาก
อ.นิภัทร ส่งตอนแรกที่เห็นที่แรกไง ขณะนิดเดียวนั่นแหละส่งตอนนั้นแหละ
ผู้ฟัง แต่ว่าเราก็ไม่รู้สึกอะไรตอนนั้น
อ.นิภัทร แต่มันก็ทำแล้วนี่ทำหน้าที่แล้ว
ผู้ฟัง ตัดกันคนละตอนไปเลย หรือคะ
ผู้ฟัง ที่เรายินดีพอใจ หรือไม่พอใจอีกเรื่องหนึ่ง
ผู้ฟัง ยินดีไม่พอใจ คนละเรื่องแล้ว เพราะฉะนั้นก็ไม่เกี่ยวกับกรรมที่เรากระทำไว้ก่อน สมมุตว่าแต่ก่อนเราทำกรรมที่ไม่ดีเอาไว้ เราต้องมาเจอของที่ไม่ดีแต่ใจเราไปคิดอีกอย่างว่าดีอย่างงี้มันก็ไม่ใช่
อ.นิภัทร ใช่ มันก็ผิดจากหลัก คือสิ่งที่ดีแต่ว่าเพราะเราสั่งสมมาไม่ดีก็กลายเป็นเห็นไม่ดียังพวกเดียรถีย์นี่เห็นพระพุทธเจ้าก็เป็นศัตรูกันเลย พระพุทธเจ้าดี หรือเปล่าประเสริฐเลิศมนุษย์แล้วแต่เดียรถีย์เห็นก็ว่าไอ้นี่ไม่ได้ต้องสู้อะไรอย่างนี้ต้องแข่งขันกันอะไรอย่างนี้แล้วทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะทั้งๆ ที่ของดี
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบเข้าใจชัดรึยังค่ะ
ผู้ฟัง คือมันความเข้าใจมันขัดกันตรงนี้ค่ะว่าถ้าเราทำกรรมไม่ดีไว้ก่อนถ้ามันจะส่งผลมันก็ต้องไม่ดี
ท่านอาจารย์ ตอนไหน
ผู้ฟัง คือไม่ดีตอนที่มันมากระทบเราใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ อะไรกระทบ
ผู้ฟัง ยกตัวอย่างสมมติว่าน้ำนี่เย็นถ้าสมมติว่า เราอยู่ข้างนอกเราเป็นอากาศร้อนใช่ไหมคะเป็นฤดูร้อนไอ้น้ำเย็นแค่นี้เราอาบมันก็เย็นสบายดีแต่เป็นฤดูหนาวไอ้น้ำที่มันเย็นเท่าเดิมที่เราอาบมันก็หนาวๆ นะคะ คือสภาพของวิบากเหมือนกันใช่ไหมคะแต่ใจตอนที่ที่เรารับรู้สึกว่าเราชอบ หรือไม่ชอบนี่มันจะต่างไปเลย
ท่านอาจารย์ แล้วไงคะ
ผู้ฟัง มันก็คือคล้ายๆ กับว่าวิบากว่าเราจะต้องมาเจอวิบากน้ำเย็นอุณหภูมิแค่นี้ใช่ไหมคะเราจะต้องมาเจออย่างนี้แต่ถ้าหากว่าสิ่งแวดล้อม
ท่านอาจารย์ ทำไมมีแต่ในเมื่อวิบากแล้ว
ผู้ฟัง ค่ะ มันเจออย่างนี้แล้วถ้าบังเอิญเรามาเจอวิบากในตอนที่เราหนาวอยู่นี่
ท่านอาจารย์ ยังไงก็ตามแต่คือวิบากคือวิบากใช่ไหมคะ
ผู้ฟัง ใช่ไหมคะคือวิบากคือวิบากใช่ค่ะตัดตรงนั้นทิ้งไป เพราะฉะนั้นถ้าวิบากว่า อันนี้สมมติว่าเป็นวิบากที่เกิดจากกรรมดี เราก็จะต้องมาเจอวิบากอันนี้ตอนฤดูร้อนใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ ฤดูร้อนฤดูหนาว เอาละค่ะเอาวิบากไม่เกี่ยวกับเรื่องน้ำเย็นน้ำร้อนเลยวิบากตาเห็นอะไรก็ตามหูได้ยินจมูกได้กลิ่นลิ้นลิ้มรสกายกระทบสัมผัสค่ะเท่านั้น
ผู้ฟัง ค่ะคือแค่นัันตัดตอนแค่นั้นก็เข้าใจค่ะ แต่พอมาถึงตอนที่ว่าตอนที่เรารับแล้วเราสุขทุกข์
ท่านอาจารย์ นั้นไม่ใช่วิบากแล้วแต่ว่าเป็นกุศลจิต หรืออกุศลในจิต
ผู้ฟัง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกรรมที่มาก่อวิบากนั้นเลย
ท่านอาจารย์ วิบากต้องทราบว่าเป็นผลของกรรมนะคะ แล้วก็ขณะเห็นขณะได้ยินขณะได้กลิ่นขณะลิ้มรสขณะที่กระทบสัมผัสเท่านั้น ไม่ต้องหน้าหนาวหน้าร้อนได้ไหมคะ ทางตาหูจมูกลิ้นกายนี้แหละค่ะกระทบเมื่อไหร่ นั่นก็คือวิบากแล้วค่ะ
ผู้ฟัง ผมได้คำตอบว่าอย่างนี้ครับมาตรฐานนั้นมี ปรมัตถ์มีมาตรฐานแน่ ยกง่ายๆ ก่อนสุคติภพ ทุคติสุคติมีแน่นอนเรารู้นะครับ มนุษย์เป็นสุคติต่ำที่สุด ดีชั่วก็มี มาตรฐานอันนี้คือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ผมว่าปรมัตถ์ที่เรากำลังพูดถึงนี่ใช้มาตรฐานตัวนี้แหละครับ ใช้มาตรฐานตัวนี้ หนอนที่ที่เดินอยู่นั้นเขาพอใจของเขาอย่างนั้น แต่มาตรฐานก็บอกว่ามันเป็นอนิฏฐารมณ์แต่เขาจะพอใจก็เรื่องของเขา คนเราจะไปเอาไอ้สิ่งดีมาชอบมาเป็นของตัวพอใจในสิ่งตัวเป็นการตามความสะสม สะสมมาหลายๆ ๆ ชาติเขาชอบเขาอย่างนั้นนเขาชอบเขาอย่างนั้นจนกว่าที่เขาจะได้พบสิ่งที่ดีที่งามได้รับคำสั่งสอนดีๆ ก็อาจจะกลับไปที่ละนิดที่ละนิดก็ได้ หรือกลับอย่างฉับพลันก็ได้ผมคำตอบของผมก็ว่าตรงนี้มันมีมาตรฐานมาตรฐานที่ปรมัตถ์ที่เรากำลังพูดกันนี่ มีมาตรฐานที่ท่าน ว่าเป็นสัจจธรรมจริงๆ แล้วสิ่งที่ดีไม่ดีมีมาตรฐานอยู่เรียกอิฎฐารมณ์อนิฎฐารมณ์แต่ว่าถ้าเราเป็นมาตรฐานของหนอน หรือหมามาเทียบกับเรามันก็ยุ่งนะครับ เพราะว่าเขาหอมเราว่ามันเหม็นเพราะว่าเขาน่ากินเราว่ากินไม่ลง เพราะฉะนั้นถ้าเอามาตรฐานของคนส่วนใหญ่แล้วล่ะก็ แล้วก็จะรู้ว่าอะไรคือดีอะไรคือชั่วอะไรคือบาปอะไรคือบุญก็แล้วแต่ ต่อไปถึงจะพูดกันได้ ถ้าเราไปเถียงเขาว่าฉันก็ว่าของฉันก็ดีทั้งๆ ที่มันไม่ดี เถียงจนตายก็คงไม่แพ้ไม่ชนะกันแต่กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อยู่ในนรกแล้วถึงก็อ้อเราแพ้เสียแล้ว
ท่านอาจารย์ ที่จริงบางทีคำนี้ทำให้เราสับสนได้อย่างความเข้าใจที่ว่า วิบากทั้งหลายในขณะที่เห็นขณะได้ยินขณะได้กลิ่นขณะลิ้มรสขณะที่กระทบสัมผัสถ้าเราเข้าใจสั้นๆ ตรงตรงอย่างนี้นะคะ คือจบเลย ขณะที่เห็นนี้คือวิบากขณะได้ยินขณะได้กลิ่นขณะลิ้มรสขนาดกระทบสัมผัสนอกจากนั้นแล้วไม่ใช่ถ้าโดยนัยของพระสูตรแค่นี้เอง แต่ถ้าโดยนัยของพระอภิธรรมที่ขยายกว้างก็เพื่อที่จะให้เราเห็นละเอียดตั้งแต่การเห็นครั้งหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้นนี่ถี่กว่านั้นก็คือว่ามีวิบากจิตกี่ขณะแล้วก็มีกุศลอกุศลจิตกี่ขณะะสลับกับกิริยากี่ขณะอะไรต่างๆ เหล่านั้นแต่ให้ทราบว่าทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะให้ รู้ง่ายๆ ตรงตรงนั้นเองที่กำลังพิสูจน์ได้ และที่ใช้คำว่ามาตรฐานก็คงจะมาใช่ตอนหลังที่เรียกว่าจะเอาอะไรเป็นมาตรฐานแต่ว่าตอนแรกทีเดียวเราก็ตกลงกันแล้วเรียบร้อยว่าสภาพธรรมปรมัตธรรมนั้นเองที่เราไม่สามารถจะรู้ได้ แต่ว่าโดยลักษณะแล้วรูปต้องมี ๒ อย่าง ๒ ลักษณะคือลักษณะที่เป็นอิฎฐารมณ์อย่างหนึ่ง ลักษณะที่เป็นอนิฏฐารมณ์อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นใครจะตัดสินไม่ได้ทั้งสิ้น แต่ที่เราพยายามกันเหลือเกินที่จะตัดสินที่จะรู้ว่านี่มันอิฎฐารมณ์ หรือนั้นมันอนิฏฐารมณ์ไม่มีวิธีอื่นนอกจากเอาคนส่วนใหญ่ที่เราใช้คำว่ามาตรฐานนี่ก็คือว่าเอาคนส่วนใหญ่มาเรียกว่าสิ่งที่ดีนี่คนก็ต้องชอบใครละจะไปชอบสิ่งที่ไม่ดีนี่คือส่วนใหญ่ใช่ไหมคะ แต่ว่าส่วนย่อยปลีกย่อยก็มีอีกว่าต่างคนต่างใจ เพราะฉะนั้นทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่ดีบางคนก็ไม่ชอบค่ะ อย่างน้ำหอมนี่มีตั้งหลายกลิ่นถามดูนะคะ ให้มาเลือกทุกคนจะเลือกคนละกลิ่นก็ได้ หรือว่ากลิ่นซ้ำกันก็ได้กลิ่นเดียวกันก็ได้นี่ก็แสดงให้เห็นว่าบางกลิ่นทั้งๆ ที่หอมเนี่ยบางคนก็บอกว่าแม้กลิ่นนี้ไม่หอมเลยบางชนิดก็แสดงเห็นว่าเราตัดสินไม่ได้เลยเพราะเหตุว่าสภาพธรรมเขาเป็นสภาพธรรมอย่างนั้นแล้ว
เพราะฉะนั้น วิบากจิต เกิดขึ้นตามกรรมคือแล้วแต่ว่าเป็นผลของกรรมใด ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็รู้สิ่งที่เป็นอิฎฐารมณ์โดยที่ว่าความชอบใจความยังไม่ชอบใจยังไม่เกิดเลยเพียงแค่รู้อิฎฐารมณ์แล้วดับ เพราะฉะนั้นมาตรฐานจริงๆ ของเขาโดยที่เราไม่สามารถจะรู้ได้คือลักษณะที่เป็นอิฎฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์แต่เมื่อเราไม่รู้ได้เราก็เลยมาเอาปริกัปอิฎฐารมณ์คืออารมณ์ใจที่เราชอบเฉพาะตัวเราบอกว่าอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่ดี นี่ก็คือว่าเฉพาะแต่ละบุคคลแต่จะใช้อันนี้เป็นมาตรฐานไม่ได้เพราะเหตุว่าถ้ามาตรฐานจริงๆ ต้องเป็นลักษณะที่เป็นอิฐฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ของสภาพนั้นๆ กุศลวิบากอกุศลวิบากไม่จำกัดแต่เฉพาะมนุษย์ จักขุวิญญาณไม่ได้เป็นของสัตว์เดรัจฉานของเทวดาของมนุษย์เลยเกิดจากกรรมทั้งนั้น เพราะฉะนั้นถ้าเป็นกุศลวิบากขณะใดขณะนั้นก็เห็นสิ่งที่ดีได้ยินเสียงที่ดีไม่ว่าจะเป็นสัตว์เป็นมนุษย์ทั้งนั้นส่วนชอบไม่ชอบทีหลังนั้นแล้วแต่การสะสม ๒๑
ผู้ฟัง อาจารย์ครับ รูปนี้ก็เป็นผลของกรรมรูปนะครับ
ท่านอาจารย์ รูปเป็นผลของกรรมได้ถ้าเป็นเป็นกรัมมชรูปอย่างเดียว
ผู้ฟัง วิบากนี้ก็เป็นผลของกรรม
ท่านอาจารย์ วิบากเป็นผลของกรรมแต่ต้องเป็นจิตเจตสิก
ผู้ฟัง วิบากตามภาษาบาลีไแปลว่าเป็นผล ถ้าสุกงอมแปลว่าผล
ท่านอาจารย์ เพราะว่าจิตเจตสิกเป็นสภาพรู้รูปเนี่ยไม่มีทางจะรู้เลย ต่อให้จะสูงจะต่ำจะดำจะขาวยังไงรูปไม่กระทบกระเทือนไม่หวั่นไหวเพราะว่าไม่ใช่สภาพรู้แต่จิตที่เห็นรูปจะทำให้รู้ได้ว่าเป็นผลของกรรมเพราะเหตุว่าเห็นสิ่งที่สามารถจะรู้ได้ว่าเป็นสิ่งที่เป็นอิฎฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์นำมาซึ่งความสุข หรือความทุกข์ เพราะฉะนั้นกรรมให้ผล ๒ อย่างคือให้ผลเป็นวิบากจิตวิบากเจตสิกขณะใดเกิดร่วมกันพร้อมกันในจิตขณะเดียวกันคือทางจิต และทั้งเจตสิกซึ่งเป็นวิบากนั้นเป็นนามธรรม กรรมให้ผลเป็นรูปคือกัมมชรูปเท่านั้น ถ้ารูปซึ่งเกิดจากสมุฎฐานอื่นคือเกิดเพราะจิตเป็นสมุฎฐาน หรือว่าเกิดเพราะอุตุเป็นสมุฎฐานเกิดเพราะอาหารเป็นสมุฎฐานใช่เป็นผลของกรรม เพราะฉะนั้นอย่างที่เราบอกตั้งแต่ต้นขณะปฏิสนธิขณะนั้นกรรมให้ผลคือทำให้วิบากจิตกับเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกัมมชรูป รูปที่เกิดในขณะนั้นเป็นผลของกรรมด้วย เพราะฉะนั้นตั้งแต่กัมมชรูปเกิดพร้อมกับอุปปาทขณะของจิตเพราะเหตุว่าจิตขณะหนึ่ง จะมี ๓ ขนาดย่อย คืออุปปาทขณะ ฐีติขณะภังคะขณะ อุปปาทขณะทั้งๆ ที่จิตเกิดดับเร็วมากขณะที่เกิดไม่ใช่ขณะที่ดับ เพราะฉะนั้นขณะที่ตั้งอยู่ก็ไม่ใช่ขณะที่เกิดไม่ใช่ขณะที่ดับด้วย
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060