สนทนาธรรม ตอนที่ 024
ตอนที่ ๒๔
สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๓๘
ท่านอาจารย์ จิตเจตสิกที่เกิดขณะแรกๆ เป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง วิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นวิบากของกรรมอะไร
ผู้ฟัง ของกุศลกรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเป็นกุศลวิบากที่เกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของกุศลกรรม ขณะนี้เรากำลัง (ฟังพระธรรม) มีกุศลจิตใช่ไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ถ้าขณะจิตที่เราจะไปปฏิสนธิ และกรรมประเภทนี้ให้ผล จิตประเภทไหนจะทำกิจปฏิสนธิ
ผู้ฟัง กุศลจิต
ท่านอาจารย์ กุศลวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกุศลกรรมที่กำลังฟังธรรมนี้จะเป็นปัจจัยให้กุศลวิบากปฏิสนธิ เพราะฉะนั้นก็ทราบว่าขณะแรกที่เกิดคือจิตเจตสิกที่เป็นชาติวิบากนี้เป็นเหตุที่เรารู้ว่าจิตเจตสิกมีมากมาย แล้วเราจะต้องเข้าใจเพื่อจะให้เห็นว่าไม่ใช่เรา แต่เป็นจิตประเภทต่างๆ บางชนิดก็เป็นเหตุ บางชนิดก็เป็นผล แต่ก็ไม่พ้นจากจิต เจตสิก รูปนั่นเอง ที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา เข้าใจว่าเป็นเรา แท้ที่จริงก็เป็นปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้นการรับผลของกรรมขณะไหนบ้างตั้งแต่เกิด
ผู้ฟัง เริ่มปฏิสนธิ
ท่านอาจารย์ ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิขณะแรกก็เป็นผลของกรรม หนีกรรมพ้นหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่พ้น
ท่านอาจารย์ ไม่พ้น อยากเกิดไหม
ผู้ฟัง ไม่อยาก
ท่านอาจารย์ แต่ต้องเกิดใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ที่คุณสุพรรณีเกิดมานั่งที่นี่ ตั้งใจจะเกิดมาในโลกนี้ หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้ตั้งใจ
ท่านอาจารย์ แล้วเหตุใดจึงเกิด
ผู้ฟัง ก็กรรมพามา
เ ท่านอาจารย์ เ พราะเป็นผลของกรรมหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลกรรมทำให้เกิดเป็นคนสุพรรณี แล้วคุณอดิศักดิ์เกิดมานี่ปฏิสนธิจิตเป็นอะไร
ผู้ฟัง กุศล
ท่านอาจารย์ กุศลหรือ ต้องพูดให้เต็ม
ผู้ฟัง กุศลกรรม
ท่านอาจารย์ กุศลวิบากเป็นผลของกุศลกรรม ปฏิสนธิจิตของคุณอดิศักดิ์เป็นกุศลวิบาก และก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง เกิดร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยกับปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นชาติวิบากเจตสิกนั้น เป็นวิบาก หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นวิบากด้วย แสดงให้เห็นว่าวิบากจิตเกิดร่วมกับวิบากเจตสิกเพราะกรรมเป็นปัจจัย คุณอดิศักดิ์อยากจะเกิดในโลกนี้ หรือไม่
ผู้ฟัง ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยของเขา
ท่านอาจารย์ ตั้งใจจะเกิด หรือไม่
ผู้ฟัง ไม่ได้ตั้งใจ
ท่านอาจารย์ ตั้งใจได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางเลย ทุกอย่างไม่ใช่สำเร็จเพราะต้องการ หรือเพราะปรารถนาแต่ต้องเป็นไปตามเหตุ ถ้าตั้งใจได้ทุกคนก็ตั้งใจเกิดในสวรรค์เกิดในมนุษย์ แต่ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมจะเกิดที่ไหน
ผู้ฟัง เกิดเป็นอบายภูมิ ๔
ท่านอาจารย์ มีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง เป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย
ท่านอาจารย์ อะไรอีก
ผู้ฟัง สัตว์เดรฉาน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นเรามองเห็นเลยเวลาเรามองสัตว์นี่เราจะรู้เลยว่านี้ปฏิสนธิเป็นอกุศลวิบาก เป็นผลของอกุศลกรรม แล้วเวลาเราเห็นคนไม่ว่าจะเกิดที่เมืองไทย ที่ต่างประเทศ กำลังได้รับทุกข์ร้อน อดข้าวปลาอาหาร น้ำท่วม หรืออะไรก็ตามจิตที่ปฏิสนธิของเขาเป็นจิตอะไร
ผู้ฟัง วิบาก
ท่านอาจารย์ ประเภทไหน
ผู้ฟัง เกิดเป็นคนก็กุศลวิบาก
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นกุศลวิบาก ไม่ว่าจะยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์ตาบอดหูหนวกอะไรก็ตามแต่ ถ้าเป็นมนุษย์แล้วต้องเป็นผลของกุศลกรรม เพราะฉะนั้นต้องเป็นกุศลวิบาก แล้วแต่ว่าจะเป็นกรรมที่ประณีต หรือไม่ประณีต ถ้าเป็นกรรมที่ไม่ประณีตก็ทำให้ได้รับอารมณ์ที่ไม่ประณีต เป็นคนยากจนลำบากเข็ญใจอะไร ก็แล้วแต่ผลของกรรม ดังนั้น การพิจารณาธรรมที่ได้ยินได้ฟังจนกระทั่งเข้าใจ
เพราะฉะนั้นเราจะเริ่มใหม่ เราจะไม่ไปสนใจ ใครจะรู้ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจโดยชื่อ โพชฌงค์เท่าไหร่ เราไม่สนใจเลย เราจะสนใจความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏชัดเจนจริงๆ ซึ่งก็ต้องเป็นความเข้าใจในตั้งแต่ต้น ถ้าตอนต้นยังไม่มีความเข้าใจชัดเจนจริงๆ แล้วอย่าไปต่ออะไรเลย ก็เป็นความไม่เข้าใจอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นก็ต้องพยายามทิ้งอย่างอื่นที่เคยได้ยินได้ฟังมาหมด ตั้งต้นปรมัตถ์ธรรม ๔ ไปช้าๆ แล้วก็ให้เข้าใจจริงๆ และไม่ต้องกระโดดไปกระโดดมา หนังสือหน้านั้นว่าอย่างนี้อะไรเป็นอย่างนั้น เริ่มใหม่ ถ้าคุณสุพรรณีจะบอกว่าตั้งแต่เกิดมาขณะเกิดเป็นผลของกรรม และก็จิตขณะที่เกิดดับ เพราะจิตนี้จะต้องดับทันทีที่เกิดทำกิจหน้าที่ของจิตนั้นเสร็จแล้วดับทันที
นี่แสดงว่าจิตเกิดเร็วมากไม่มีใครสามารถที่จะเข้าใจสภาพของจิตได้ถ้าคนนั้นไม่ได้ฟังพระธรรม ใครจะบอกว่าจิตขณะนี้เกิดดับเร็วที่สุด ไม่มีใครสามารถจะบอกได้เลยคนที่สามารถจะบอกได้ก็คือคนที่สามารถจะกล่าวลักษณะของจิตแต่ละประเภท แต่ละชนิดโดยละเอียดทีเดียว แสดงให้ผู้นั้นมีหลักฐานยืนยันว่าผู้นั้นได้ตรัสรู้จริงๆ ว่าจิตเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุว่าไม่ใช่การพูดจิตลอยๆ นี้เป็นผล นั่นเป็นเหตุ แค่นั้นไม่พอ แต่ต้องหมายความว่าที่จะให้เราเห็นจริงๆ ว่าเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน และก็เกิดดับอย่างเร็ว เอาอะไรมาพูด ก็จะต้องมีจิตแต่ละประเภทแต่ละลักษณะซึ่งเกิดขึ้นทำกิจการงาน เช่นเวลาที่เราพูดถึงจิตขณะแรก ปฏิสนธิจิตมีจริง ทุกคนเกิดมาแล้วจะบอกว่าไม่มีปฏิสนธิ ไม่มีจิตเกิด ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่ามีตัวสัตว์ ตัวบุคคล ไม่ใช่เป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ แต่ว่ามีตัวสัตว์ ตัวบุคคล ซึ่งเป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้จริงๆ
เพราะฉะนั้นขณะแรกที่เกิดก็ต้องรู้ว่าเป็นนามธรรมตั้งแต่ต้นเลย ต้องเข้าใจคำว่านามธรรม และก็ต้องรู้ชาติด้วยว่าเป็นผลของกรรมคือเป็นวิบาก แล้วก็ต้องรู้กิจด้วยว่าขณะที่หนึ่ง ซึ่งเกิดเป็นจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นวิบากก็จริง วิบากซึ่งเป็นผลของกรรมต้องมีมากไม่ใช่มีอย่างเดียว ขณะเดียว แต่ว่าขณะแรกที่ปฏิสนธิทำกิจเกิดขึ้นจิตทุกขณะทำกิจ มีกิจหน้าที่ นี้แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ แต่มีลักษณะมีกิจการงานให้รู้ด้วยว่านี้เป็นจิตนะ เกิดอย่างไร เกิดทำกิจอะไร ทำกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อนเป็นขณะแรก ชื่อว่าปฏิสนธิจิต เพราะทำปฏิสนธิกิจเป็นผลของกรรม และกรรมก็มีการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การอะไรมากมาย จะให้ผลเป็นจิตขณะเดียวทำกิจปฏิสนธิพอไหม โดยเหตุผล ไม่พอ ตามสภาพธรรมไม่พอ เพราะฉะนั้นกรรมไม่ได้ทำให้เพียงปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับไป ยังเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นจิตขณะต่อไปที่เกิดก็เป็นวิบาก คือเป็นผลของกรรมที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดเพราะว่ากรรมจะไม่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขณะเดียว จะต้องทำหน้าที่อีกหลายขณะหลังจากที่เกิดแล้ว
ขณะต่อจากปฏิสนธิก็คือทำกิจดำรงภพชาติความเป็นบุคคลที่เกิดมาแล้วนั้นไม่ให้เปลี่ยนสภาพเป็นบุคคลอื่น กรรมที่ทำให้เป็นคุณสุพรรณีจะทำให้เป็นคุณสุพรรณีไปจนกว่าจะตาย ไม่เปลี่ยนเป็นคนอื่นแน่ๆ เพราะอะไร เราใช้ชื่อสุพรรณี แต่ความจริงก็คือเป็นจิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิ เพราะเหตุว่าเป็นผลของกรรม เวลานี้คุณสุพรรณีมีภวังคจิตหรือไม่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรถึงว่ามี
ผู้ฟัง เพราะว่าต้องดำรงภพชาติ ยังไม่ตาย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นต้องมีภวังคจิตอยู่แน่นอน
ผู้ฟัง แน่นอน
ท่านอาจารย์ ภวังคจิตเป็นจิตชาติอะไร
ผู้ฟัง เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นวิบาก เป็นผลของกรรมอะไร ภวังคจิตของคุณสุวรรณีต้องเป็นผลของกุศลกรรม เพราะฉะนั้นตัวภวังค์จิตเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นกุศลวิบาก เห็นไหมว่าค่อยๆ เข้าใจขึ้นโดยที่เราไม่ต้องไปท่องเลยเวลาที่เราใช้คำว่าภวังคจิต หรือจิตที่เกิดขึ้นทำกิจดำรงภพชาติหมายความว่าขณะนั้นยังไม่มีการเห็นการได้ยินการได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส หรือแม้การคิดนึก เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าต้องแยกจิตเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือจิตที่เกิดโดยไม่อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่รู้อารมณ์อื่นเลยนอกจากเป็นภวังค์ รู้อารมณ์เดียวกับปฏิสนธิ เพราะเหตุว่าจิตเกิดโดยไม่รู้อารมณ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นปฎิสนธิจิตเป็นผลของกรรมใดทำให้รู้อารมณ์ใด ภวังคจิตก็เกิดขึ้นดำรงภพชาติ ยังต้องรู้อารมณ์อยู่ แต่รู้อารมณ์เดียวกับภวังคจิต ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้นขณะที่คุณสุพรรณีคิด เป็นภวังคจิตหรือไม่
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ ต้องฟังใหม่ ถ้าตอบอย่างนี้ต้องฟังอีกครั้งหนึ่งว่าจิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิจิต ดำรงภพชาติโดยยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน ยังไม่ได้กลิ่น ยังไม่ได้ลิ้มรส ยังไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ยังไม่คิดนึกใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นปฏิสนธิจิตมีอารมณ์อะไรเพราะกรรมทำให้ปฏิสนธิจิตนั้นซึ่งเป็นวิบากมีอารมณ์นั้นดับไป ภวังคจิตก็เกิดขึ้นเป็นผลของกรรมเดียวกับที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นจิตประเภทเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เมื่อปฏิสนธิจิตเป็นกุศลวิบาก ภวังคจิตต้องเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นกุศลวิบาก
ท่านอาจารย์ กุศลวิบาก ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นอกุศลวิบากภวังคจิตเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ อกุศลวิบาก ต้องใช้คำว่าอกุศลวิบากด้วย นี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีการเปลี่ยนภพชาติ เมื่อเกิดมาแล้วจนกว่าจะถึงจุติคือตาย เพราะฉะนั้นให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง ว่าภวังคจิตทำกิจดำรงภพชาติ ถึงแม้ว่าจะเป็นจิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิตแต่ไม่ได้ทำกิจปฏิสนธิ เพราะไม่ใช่ขณะแรกเป็นขณะที่ ๒ ที่เกิดต่อจากปฏิสนธิ เพราะฉะนั้นจะไปทำกิจปฏิสนธิไม่ได้ ต้องทำภวังคกิจดำรงภพชาติอยู่ เพื่ออะไร เพื่อรับผลของกรรมต่อไปข้างหน้าที่ยังไม่ได้สิ้นสุดการรับผลของกรรม เพราะฉะนั้นขณะที่เป็นภวังค์ไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ หมายความว่าไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก ขอให้เข้าใจอย่างนี้ เพราะฉะนั้นขณะที่คุณสุพรรณีคิดเป็นภวังคจิตหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เป็นแล้ว
ท่านอาจารย์ ต้องไม่เปลี่ยน คือ ขณะที่คิดต้องไม่ใช่ภวังคจิต เพราะอะไรคะ
ผู้ฟัง เพราะว่าเกิดวิถีจิตขึ้นมา
ท่านอาจารย์ เพราะภวังคจิต ไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะภวังคจิตไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส รวมทั้งไม่คิดนึกใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นที่เป็นภวังคจิตเพราะไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะที่คนสุพรรณีฝัน เป็นภวังคจิตหรือไม่
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะฝันนี้ เรารู้อารมณ์ทางมโนทวาร
ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะขณะนั้นคิดนึกใช่ไหมแท้ที่จริงความฝันก็คือการคิดนึก เพราะอะไรทำไมถึงเรียกว่าคิดนึก
ผู้ฟัง เกิดนาน
ท่านอาจารย์ นี่ไม่ใช่คำตอบ
ผู้ฟัง เพราะว่าเป็นเรื่องเป็นราวใช่ไหม แล้วก็ไม่ใช่เป็นปรมัตถ์ เป็นบัญญัติเป็นเรื่องเป็นราว
ท่านอาจารย์ ก็ตอบให้ชัดขึ้นมาอีก
ผู้ฟัง คือมีสิ่งที่ปรากฏทางใจที่ใจเรารู้
ท่านอาจารย์ ก็ตอบได้ แต่ต้องเรียบเรียงด้วยให้ชัดเจนขึ้นมาอีก ถามว่าทำไมถึงได้ว่า ขณะที่ฝันเป็นขณะที่คิดนึก
ผู้ฟัง เพราะขณะนั้นไม่ใช่การเห็น ไม่ใช่การได้ยิน ไม่ใช่การได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส
ท่านอาจารย์ คือความชัดเจนจะอยู่ตรงที่ว่าขณะที่เห็นไม่ใช่ขณะที่คิด ขณะที่ได้ยินไม่ใช่ขณะที่คิด ขณะที่ได้กลิ่นไม่ใช่ขณะที่คิด ขณะที่ลิ้มรส รสปรากฏไม่ใช่ขณะที่คิดขณะที่กำลังกระทบสัมผัสอ่อนแข็งปรากฏ ไม่ใช่ขณะที่คิด เพราะแข็งกำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่ไม่ได้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย คือขณะที่คิด นี่เป็นของที่แน่นอน จำไว้ได้เลยว่าขณะใดก็ตามที่ไม่ได้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายขณะนั้นเป็นคิดทั้งหมด
เพราะฉะนั้นธรรมจะไม่เปลี่ยน ความจริงเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น เพราะว่าถึงแม้ว่าจิตนี้ใครจะเกิดดับเร็วมากอย่างไรก็ตาม แต่เพราะการตรัสรู้ทรงแสดงชัดถึงการตรัสรู้ว่าขณะใดที่เป็นจิตเห็น หรือกำลังรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา วิถีจิตทางตาทั้งหมดไม่ใช่ขณะที่คิด กำลังมีสิ่งนั้นทางตาเป็นอารมณ์ ขณะที่เสียงกำลังปรากฏวิถีจิตทั้งหมดวาระนั้นมีเสียงที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ ขณะนั้นไม่ใช่คิด เพราะฉะนั้นพอถึงฝันไม่ใช่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้นคือคิด แล้วก็ผู้ที่เจริญสติปัฎฐานจะทราบจริงๆ ว่าเมื่อตื่นขึ้นมา ก็รู้เลยว่าแค่คิด เรื่องทั้งหมดที่ฝันคือคิดทั้งนั้น ไม่ใช่ขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยิน ขณะที่ได้กลิ่น ขณะที่ลิ้มรส ขณะที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส
ผู้ฟัง จิตที่กำลังคิดกำลังฝัน จัดว่าเป็นชาติอะไร
ท่านอาจารย์ ประเด็น นี้ก็น่าคิด เพราะเหตุว่าต้องเข้าใจชัดเจนทีเดียวว่าวิบากจิตสั้นที่สุด คือขณะเห็นทางตา แล้วท่านแสดงโดยวิถีจิต คือโดยนัยของพระอภิธรรมแล้วก็แยกจิตละเอียดทีเดียวว่า ขณะใดเป็นวิบาก ขณะใดเป็นกิริยา ขณะใดเป็นกุศลอกุศลแม้ชั่วขณะที่สิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏโดยยังไม่ดับ จะมีจิตครบทั้ง ๔ ชาตินี้แสดงให้เห็นว่าเราจะพูดอย่างหยาบกว้างๆ หรือว่าเราจะพูดอย่างละเอียดถ้าโดยนัยของพระสูตรแล้วไม่ได้แสดงจิตทีละขณะ ทีละชาติอย่างนี้ แต่จะแสดงว่าขณะที่เห็นไม่ใช่ขณะที่คิด แล้วก็ไม่ใช่วิบากจิต ขณะที่เห็นต้องเป็นวิบากจิต แต่ขณะที่คิดไม่ใช่ขณะที่เห็น เพราะฉะนั้นขณะที่คิดเป็นวิบากจิตไม่ได้
ผู้ฟัง ก็ยังสงสัยว่าที่คิดหรือนึกเป็นชาติชาติอะไร
ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นวิบากไม่ได้จะเป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง เป็นกุศล และอกุศลแน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องเป็นกุศล หรืออกุศลอย่างหนึ่งอย่างใด
ผู้ฟัง เราได้ฟังธรรมกันมาแล้ว ๓ เดือน จากความเข้าใจของผมทำให้ผมเข้าใจ สภาพธรรมขึ้นดีอีกมากเลย เราได้แม่บทใหญ่ๆ มาเป็นแม่บทคือปรมัตถธรรมๆ ก็มีจิตเจตสิกรูป และนิพพาน แต่จาก ๒, ๓ ครั้งที่เราได้มาฟังกัน ผมก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกว่าจิตเจตสิกรูป นิพพาน ก็แบ่งออกเป็น ๒ อย่างก็คือสภาพรู้ กับสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ ก็เหมือนกับมีนามธรรม และรูปธรรม จากนั้นก็แตกเป็นขันธ์ทั้ง ๕ แตกออกมาเป็นอะไรต่ออะไรต่างๆ ก็จะกลายเป็นสภาพรู้ ไม่รู้ ลักษณะนี้ทำให้ผมพิจารณาสภาพธรรมมากขึ้นมากๆ นั่นก็คือไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน ถ้าไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนขณะนั้นคืออะไร ขณะนั้นก็คือจิต เจตสิก รูป เกิดดับสืบต่อเนื่องกันอยู่ตลอดโดยไม่ขาดสาย ในขณะนี้รูปที่ตัวนี้ไม่มีสภาพรู้ และก็มีสภาพของจิตเจตสิกรูป เกิดดับโดยไม่ขาดสาย ขณะนี้เราเริ่มพิจารณากันบ้าง หรือยังว่า ที่เราได้ศึกษากันมาทั้งหมดนี่เรามีแม่บทอยู่อย่างหนึ่งเหมือนกับนักกฎหมาย เมื่อจะเรียนเรียนกฎหมายแล้วเรามีจิตเจตสิกรูปนิพพานเท่าที่พอจะรู้ได้คือ จิตเจตสิกรูป นี่ก็คือสภาพรู้กับสภาพไม่รู้ หรือนามธรรมกับรูปธรรม
ท่านอาจารย์ คือว่าเราต้องทราบว่าทางกาย เราสามารถที่จะรู้ ถ้าเวทนานั้นชัดเจนที่จะรู้ว่าเป็นกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบาก อย่างเวลาที่ปวดเจ็บทางกายใครจะบอกว่าเป็นกุศลวิบาก ก็เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าความรู้สึกนั้นเป็นความรู้สึกที่ถึงกับเจ็บ หรือถึงกับปวดทำให้สามารถจะบอกได้ แต่ขณะที่คุณสุรีย์จับไมโครโฟน บอกยากเหลือเกินว่าเวทนาเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ใช่ไหม เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะจริงๆ ที่จะรู้อย่างรวดเร็วที่ขณะที่สภาพธรรมนั้นปรากฏจะไม่สามารถรู้ลักษณะของเวทนา เช่นเส้นผมที่ปรกหน้าผาก ทุกคนจะรู้สึกรำคาญเส้นบางเล็กนิดเดียวเอง เส้นผมนี่ไม่ใช่ของหนักๆ อะไรเลย แต่ก็จะรู้สึกสภาพของเวทนาในขณะนั้น จะรู้สึกได้ว่าลักษณะแม้ลักษณะกระด้าง หรือความหยาบของเส้นผมเล็กๆ ที่กระทบกับกายปสาท ขณะนั้นเป็นทุกขเวทนา ไม่ใช่สภาพที่รู้สึกสบาย เพราะฉะนั้นแม้แต่เรื่องของกายปสาทซึ่งหยาบกว่าทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น เราก็ยังรู้ยากเวลาที่มันเล็กน้อยเหลือเกิน เพราะฉะนั้นสำหรับวิบากทางตาที่เห็นนี้ เวทนาเป็นอุเบกขา เราจะเอาความรู้สึกที่เกิดในขณะที่กำลังเห็นมาบอกไม่ได้ เราสามารถที่จะรู้ได้เฉพาะสิ่งที่ปรากฏว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นประมาณได้เป็นอิฎฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ส่วนใหญ่โดยเป็นสิ่งที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ แต่แม้กระนั้นก็ไม่มีใครที่สามารถที่จะตอบไปทุกกรณีได้ว่าอย่างนี้เป็นอิฐารมณ์ อย่างนั้นเป็นอนิฏฐารมณ์ นี้เป็นกุศลวิบาก นั้นเป็นอกุศลวิบาก
เพราะฉะนั้นทางกายเราพอจะรู้ได้ถ้าอารมณ์นั้นหยาบพอสมควร แต่ถ้าอารมณ์นั้นไม่กล้า หรือไม่มีกำลังก็รู้ยาก เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่เราจำเป็นเรื่องที่เราพูดเป็นเรื่องที่เราคิด แต่ว่าไม่ใช่การรู้ลักษณะ เราจึงต้องศึกษาปรมัตธรรมเพื่อจะรู้จักตัวจริง เริ่มต้นตั้งแต่การเห็นเดี๋ยวนี้เลยให้ทราบว่าขณะนี้เป็นวิบาก เพราะต้องเห็น หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย นี่คือความหมายของวิบาก มีจักขุปสาท เพราะกรรม แล้วยังมีรูปมากระทบแล้วมีจิตเห็น หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย นี่คือวิบาก แต่ใจจะเป็นกุศล หรืออกุศลตามการสะสม และเปลี่ยนแปลงแล้ว เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่วิบาก วิบากแค่เห็น แค่ได้ยิน
ผู้ฟัง เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าในชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบันมีสภาพธรรมอะไรกำลังปรากฏ ท่านอาจารย์พยายามชี้ให้เห็นถึงสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์เดินจับถ้วยมา ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เดินจับถ้วยมา มีวิบากไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ หนีไม่พ้นเลย นั่งอยู่ก็มี เดินไปก็มี กลับมาถือถ้วยนี้ก็มี วิบากอันนี้ลองจับหน่อย ลองจับวิบากอย่างนี้ เห็นไหมว่าเป็นวิบากหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ วิบากอะไร
ผู้ฟัง ทางกาย
ท่านอาจารย์ วิบากชนิดไหน
ผู้ฟัง กายวิญญานจิต
ท่านอาจารย์ ชนิดไหน
ผู้ฟัง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
ท่านอาจารย์ ชนิดไหน
ผู้ฟัง ชนิดไหนกุศล หรืออกุศลใช่ไหม
ท่านอาจารย์ วิบากมี ๒ อย่าง อกุศลวิบากกับกุศลวิบาก จับเลย
ผู้ฟัง ถ้าจับแล้วดิฉันชอบอุ่นๆ
ท่านอาจารย์ ชอบไม่เกี่ยว เรื่องชอบไม่เกี่ยว
ผู้ฟัง เป็นอกุศลวิบาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะหนีพ้นได้อย่างไร ชั่วนิดเดียวที่กระทบ ถ้ามีกายปสาทเมื่อไหร่แล้วก็รู้สิ่งที่ปรากฎเมื่อไหร่เมื่อนั้นเป็นวิบาก ไม่ว่าเวทนาจะเป็นอะไรก็ตาม ทางตาเห็นเมื่อไหร่เมื่อนั้นก็เป็นวิบากไม่ว่าจะเป็นเวทนาอะไรก็ตาม ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้น เฉพาะทางกายไม่เป็นอุเบกขา
ผู้ฟัง สำหรับทางตานี่เป็นอุเบกขาเวทนา ก็ยอมรับ แต่ทางหูนี่ไม่ใช่ ทางหูนี่เร็วกว่าทางตา ได้ทั้งกุศลอกุศล
ท่านอาจารย์ เหมือนกัน เพราะพูดถึงวิบาก ไปพูดถึงอะไร ถ้าพูดถึงวิบากแล้วต้องแยก
ผู้ฟัง ออกจากกุศลจิต แต่ก็เป็นกุศลวิบากจิต เป็นกุศลโสตวิญญาณ หรืออกุศลโสตวิญญาณก็ได้ถูกไหม แต่ดิฉันเรียนท่านอาจารย์ทราบหมายความว่า ทางหูนี้มักจะไม่เป็นอุเบกขา โสตวิญญานมีไหม
ท่านอาจารย์ ตาเฉพาะจักขุวิญญาณนี่จะไม่เกิดกับสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสเลย
ผู้ฟัง เป็นอุเบกขาใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ๔ ทาง จะต้องเป็นอุเบกขาทั้งหมด
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060