สนทนาธรรม ตอนที่ 030


    ตอนที่ ๓๐

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าปัญหาของเรา เป็นปัญหาเรื่องคิดปริยัติแต่ว่าการที่เราจะรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมไม่ใช่การคิดอย่างนี้ แต่จะต้องเป็นการระลึกได้ว่าขณะนี้สภาพธรรมกำลังปรากฏ และการที่จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมที่ปรากฏว่าไม่ใช่คนนั้นคนนี้ไม่ใช่สิ่งนั้นสิ่งนี้ จะต้องเริ่มจากการที่รู้ว่าสิ่งนี้ที่มีจริงๆ กำลังปรากฏเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แค่นี้เราก็จะถอนความคิดของเราสีอะไร กี่สี หรืออะไรต่ออะไรอย่างนั้นได้ ต้องอบรมปัญญาที่จะรู้อย่างนี้

    ผู้ฟัง ดิฉันก็อยากกจะย้ำที่อาจารย์พูดว่า ระลึกได้ว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ ภาษานี้เพราะมาก และกระชับ คือแทนที่เราจะบอกว่าเราคิดว่าอันนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ขอเปลี่ยนภาษาใหม่ว่า ระลึกได้ว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏทางจักขุปสาท และทำทัศนกิจเพียงอย่างเดียว นั่นคือสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่สีในขณะหนึ่งขณะใดที่เห็น เสียงก็เช่นเดียวกันเสียงก็ระลึกได้ว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ หรือกระทบโสตปสาท และทำกิจคือได้ยินอย่างเดียว

    ผู้ฟัง ก็ตกลงว่าไม่ต้องคิดว่าจักขุวิญญาณรู้สีเดียว หรือหลายๆ สี

    ท่านอาจารย์ ห้ามความคิดคงไม่ได้แต่ต้องรู้ประโยชน์ เพราะการที่เราจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้จริงๆ เราจะรู้จักอย่างไร ถ้าเราไปนั่งคิดก็เหมือนกับเรานั่งคิดว่า ทางตากับทางหูแยกกัน ทั้งๆ ที่ขณะนี้ที่กำลังได้ยินก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องไปคิดถึงทวาร หรืออะไรๆ อย่างที่เราคิดว่าอะไรมาก่อนมาหลังแล้วก็อีกทางอย่างโน้นอย่างนี้ที่ว่าอะไรกระทบแยกกันอะไรอย่างนั้น ให้รู้ความจริงว่าสภาพธรรมที่ปรากฏแต่ละอย่างเป็นลักษณะที่ต่างกันเป็นสภาพธรรมแต่ละชนิด

    ผู้ฟัง หมายความว่าจะต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมกำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ แทนที่จะไปคิดเรื่องราวยาวๆ แบบนั้น เพราะคิดว่ากี่สี ก็ไม่ทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพสามารถที่กำลังปรากฏได้

    ผู้ฟัง จะขอเรียนถามเขาว่าลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นยังไง

    ท่านอาจารย์ เวลานี้คุณกฤษณากำลังเห็น

    ผู้ฟัง กำลังเห็น แต่มันยังไม่ประจักษ์ลักษณะ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่การประจักษ์ เข้าใจว่ามีไหม สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาขณะนี้

    ผู้ฟัง เชื่อว่ามี

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เชื่อ เห็นจริงๆ เดี๋ยวนี้ แล้วยังต้องเชื่อรึ

    ผู้ฟัง เพราะเห็นจริงๆ ถึงได้เชื่อ

    ท่านอาจารย์ แปลว่ามีแน่นอนใช่ไหม เมื่อมีสิ่งที่ปรากฏทางตาแต่คุณกฤษณายังไม่เข้าใจว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่ไม่เข้าใจลักษณะ ลักษณะที่คุณกฤษณาเห็น คนตาบอดบอกไม่ได้เพราะเขาไม่เห็น เพราะฉะนั้นคุณกฤษฎาจะบอกว่าคุณกฤษณาอธิบายไม่ได้ แต่คนตาบอดเขาอธิบายไม่ได้ต่างหาก เพราะว่าเขาไม่เห็น คือเราไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำอื่นเพราะว่ามีสภาพธรรมกำลังปรากฏ ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ ว่าขณะนี้เห็นมี แล้วจริงๆ ก็ไม่ใช่คุณกฤษณาเห็น แต่ว่าเห็นมีแน่นอนเมื่อเห็นมีแน่นอนสิ่งที่ปรากฏทางตามีแน่นอน หรือเปล่า

    ผู้ฟัง มีแน่นอน

    ท่านอาจารย์ มีแน่นอน

    ผู้ฟัง เพื่อความเข้าใจว่าลักษณะที่เห็นกับลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏที่ถูกเห็น เป็นลักษณะยังไง สองลักษณะนี้

    ท่านอาจารย์ อย่างหนึ่ง เป็นสภาพรู้ อีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่สภาพรู้

    ผู้ฟัง ลักษณะของไม่ใช่สภาพรู้

    ท่านอาจารย์ คือสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา นี่แหละไม่ใช่สภาพรู้

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเสียงก็ไม่ใช่สภาพรู้แต่ว่าจะไปปนกับ ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้เราถึงต้องรู้ลักษณะของที่ต่างกันของสภาพธรรมว่าอย่างหนึ่ง เป็นสภาพรู้คือนามธรรม อีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่สภาพรู้ ที่ใช้คำว่ารูปธรรม

    ผู้ฟัง ลักษณะที่ไม่ใช่สภาพรู้ก็มีลักษณะที่สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก

    ท่านอาจารย์ ใช่ แต่ละทาง

    ผู้ฟัง คือยังไม่รู้ลึกซึ้ง แต่ทราบว่า จิตเห็น แต่ไม่ใช่เราเห็น

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง ทีนี้เราจะเอาตัวเราออกจากที่ว่าจิตเห็นทำยังไง

    ท่านอาจารย์ ทำยังไง ทำไม่ถูก ทำไม่ได้แน่นอน ไม่มีใครทำได้แต่ปัญญาค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ เจริญขึ้น ค่อยๆ รู้ถูกต้องขึ้นในลักษณะของสภาพรู้คืออย่างไร เวลานี้เราพูดชื่อใช่ไหม มีสภาพธรรมที่เป็นสภาพรู้ แล้วโดยปริยัตก็เคยบอกกันว่ามีใครบ้างที่ไม่รู้ว่าเห็นเป็นนามธรรม ก็รู้กันทุกคนใช่มั้ย แต่รู้โดยชื่อ แต่กำลังเห็นจริงๆ เดี๋ยวนี้ ธาตุชนิดนั้นซึ่งเป็นธาตุรู้ คือกำลังเห็นนี้เป็นอย่างไร เพราะว่าไม่มีรูปร่างเลย จะรู้ได้โดยสติระลึก หรือเกิดขึ้น เหมือนมีคนเค้าบอกว่าขนมนี่หวานเราก็บอกเขาคนอื่นมาแล้วก็บอกหวานขนมนี่หวานมีคนบอกว่าขนมนี่หวาน แต่เรายังไม่รู้เลยว่าหวานยังไงเพราะว่าเรายังไม่ได้ชิม เพราะฉะนั้นเค้าบอกว่าเป็นนามธรรมแล้วก็แบบเป็นนามธรรมเป็นสภาพรู้ แต่ลักษณะของธาตุชนิดนี้ซึ่งเป็นธาตุซึ่งไม่มีรูปร่างเลย มีอาการมีกิจคือเป็นสภาพที่รู้อย่างเดียว และทางตาก็คือเราใช้คำว่าเห็น หมายความว่าต้องไม่ใช่สภาพที่ไม่รู้อะไร นั่นคือรูปธรรมซึ่งรู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ ได้ยินไม่ได้ แต่อาการที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ อาการลักษณะกิจที่เห็นเป็นลักษณะของธาตุชนิดหนึ่ง ถ้าสติไม่เกิดไม่มีทางเข้าใจธาตุนี้แต่พูดตามได้ เหมือนอย่างขนมหวานก็พูดได้ แต่หวานยังไงไม่ทราบเพราะไม่เคยชิม เพราะฉะนั้นจึงมีการอบรมเจริญปัญญาอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นสติปัฎฐาน ไม่ใช่สติขั้นฟัง วันนี้ก็อยู่ที่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตาก็กำลังเห็น ทางหูกำลังได้ยิน แต่จะเข้าใจจริงๆ เมื่อสติระลึก ไม่อย่างงั้นก็เป็นเรื่องตลอดที่เราพูดมาไม่ว่าสองชั่วโมงกว่า ก็สติระลึกรึเปล่าที่ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎทางตา หรือทางหู เป็นแต่เพียงเรื่องราวเท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องการที่เราจะคิดโดยนัยของปริยัติ แต่ว่าผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จะเห็นประโยชน์ว่า สภาพธรรมมี อวิชารู้ไม่ได้ ที่เราฟัง ฟังเพื่อให้สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะเหตุว่าถ้าไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ สัมมาสติ หรือสติปัฎฐานเกิดไม่ได้ จะไประลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ที่มีจริงๆ แล้วก็กำลังปรากฏ ถ้าไม่มีพื้นฐานของความเข้าใจที่ถูกต้อง สัมมาสติก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นประโยชน์ก็คือว่าเมื่อมีความเข้าใจแล้วเป็นสังขารขันธ์ วันหนึ่งเวลาที่สติเกิดก็จะรู้ว่าขณะนั้นสติเกิด แล้วก็ไม่ต้องถามใครด้วยว่าลักษณะของสตินั้นเป็นยังไง เพราะเหตุว่าลักษณะของสติเป็นสภาพที่ระลึกลักษณะปรมัตถธรรม เราเคยกระทบถ้วยแก้วกระทบโต๊ะ แต่เวลาที่สติระลึกลักษณะของปรมัตถธรรม ลักษณะที่แข็งปรากฏ ในขณะนั้นก็มีความที่จะค่อยๆ เข้าใจในลักษณะที่ต่างกันของสภาพที่รู้แข็งกับลักษณะของแข็งที่ปรากฏ นี่คือจุดเริ่มต้นของการที่ทำยังไง เราจะไม่โกรธ ทำยังไงเราจะไม่นึกมีสัญญาความจำที่เป็นอกุศล หรือทำยังไงต่างๆ คือเริ่มระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย ซึ่งบางท่านอาจจะมีความเข้าใจมากก็ได้ ไม่ต้องคิดว่าเล็กน้อยเหลือเกินแล้วแต่การสะสม เพราะเหตุว่าบางท่านในครั้งอดีต แม้แต่เพียงฟังปัญญาของท่านสามารถที่จะแทงตลอดลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเป็นธรรมทั้งหมดจริงๆ ไม่ว่าจะพูดถึงเห็นก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ได้ยินก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง โลภะก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ปัญญาก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง สติก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ล้วนเป็นธรรมทั้งหมด ถ้าสามารถที่จะเข้าใจถึงลักษณะแท้ๆ ของธรรมก็หมายความว่าผู้นั้นได้สะสมปัญญามา และสติก็ยังระลึกได้ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัจจัตตัง คือแต่ละคนก็จะมีความรู้เฉพาะตัวว่าสติปัฏฐานเกิดไหม และสติปัฏฐานระลึกปรมัตถ์อะไร แล้วก็ทางไหน แล้วความรู้เพิ่มขึ้น หรือเปล่า ก็เป็นการที่จะละความสงสัยในทุกเรื่องแม้แต่เรื่องที่พูดถึงเมื่อกี้นี้ก็จะหมดความสงสัยได้เมื่อเข้าใจลักษณะของปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง เข้าใจคำว่าปกติ จะถามคุณอดิศักดิ์ อย่างที่ท่านอาจารย์เคยพูดอยู่บ่อยๆ ว่าเป็นผู้ที่มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานยังไงถึงจะเป็นปกติ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกมีปกติเจริญสติปัฏฐาน ท่านก็ไม่ได้มาจากไหนก็จากหนังสือพระไตรปิฎก ในชีวิตประจำวันเรามีอะไร สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี ก็เป็นปกติ ไม่ต้องไปทำอะไรที่เป็นผิดปกติ ถ้าทำเป็นปกติแล้วสภาพธรรมที่มีอยู่ เราก็สังเกตุว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตามีไหม ทางหูมีไหม เสร็จแล้วเราก็พิสูจน์ความจริงที่คำพูดของท่านอาจารย์ เราก็พิสูจน์มันเป็นจริงแล้วมันมีสิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสภาพไม่รู้ สภาพรู้คือจักขุวิญญาณคือเห็น รู้เห็น คือปกติในชีวิตประจำวัน

    ท่านอาจารย์ คุณเครือวัลย์สงสัยเรื่องปกติใช่ไหม ขณะนี้มีอะไรปรากฏ เป็นปกติเวลานี้ที่ตัวมีอะไรบ้าง

    ผู้ฟัง ทางตา

    ท่านอาจารย์ เห็นใช่ไหม เป็นปกติใช่ไหม ไม่ได้ผิดปกติเลย ได้ยินนี้เป็นปกติ หรือเปล่า (เป็น) ขณะที่กระทบแข็งเป็นปกติไหม (เป็น) ถ้าเกิดชอบไม่ชอบเป็นปกติไหม (เป็น) นี่คือปกติ

    ผู้ฟัง แต่ถ้าเกิดสติเราไม่ค่อยระลึก

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นถามเรื่องปกติต้องเข้าใจว่าปกติคืออะไรก่อน คือปกติเดี๋ยวนี้ปกติธรรมดาอย่างนี้ที่เห็นปกติธรรมดาอย่างนี้ที่ได้ยิน ปกติธรรมดาขณะนี้ อาจจะคิดนึกเรื่องอะไรก็ได้ แม้แต่คิดนึกเรื่องอื่นซึ่งไม่ใช่เรื่องที่กำลังฟังขณะนี้ ก็เป็นปกติ หมายความว่าไม่มีใครไปสร้าง ไม่มีใครไปบังคับ ไม่มีใครไปทำอะไร แต่ว่าสภาพธรรมทุกขณะเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ก็จะไปทำ หรือพยายามจะทำเกิดขึ้น เพราะไม่เข้าใจคำว่าปกติ ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นปกติอยู่แล้ว เข้าใจปกติแล้ว

    ผู้ฟัง ปกติไม่ใช่บ่อยๆ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องพูดถึงอะไร พูดถึงปกติก่อน พูดไปทีละคำทีละคำ

    ผู้ฟัง บางคนเค้าไปเดินจงกรม นั่นผิดปกติไหม

    ท่านอาจารย์ ผิด ก็เดี๋ยวนี้คุณเครือวัลย์ไม่ได้เดิน คุณเครือวัลย์เห็น เห็นเมื่อเป็นปกติหรือเปล่า

    ผู้ฟัง นั่นไม่เป็นการเพียรทางกายหรือ

    ท่านอาจารย์ ผิด เพราะไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าเขาไปทำ แต่นี่ไม่ต้องทำสภาพธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัยอันไหนถูก ถ้าเข้าใจว่าสภาพธรรมเกิดเพราะเหตุปัจจัย จะเข้าใจว่าเราไปทำอย่างไหนถูก คือสภาพธรรมไม่มีใครทำได้อะไรสักอย่างเดียว เห็นรับรองได้ว่าไม่มีใครทำ ได้ยินใครก็ทำได้ยินขึ้นมาไม่ได้ ถ้ามีสติจริงๆ จะรู้ว่าทุกอย่างเกิดแล้วจึงปรากฏ เห็นเดี๋ยวนี้เกิดแล้ว ได้ยินก็เกิดแล้ว เมื่อกี้ไม่ได้ยิน ได้ยินก็เกิดขึ้นนี่คือปกติ ซึ่งไม่มีใครทำ แล้วจะต้องเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของสภาพธรรมที่เป็นปกติอย่างนี้ถึงจะไม่ใช่เรา ไม่ใช่ไปทำขึ้นมาว่าเราทำได้ หรือว่าเราเข้าใจ

    ผู้ฟัง อย่างที่ท่านอาจารย์บอกว่าไม่ให้ไปทำอย่างอื่น

    ท่านอาจารย์ ทำได้ไหม ทำได้หรือเปล่า ทำอะไรได้หรือเปล่าถามจริงๆ ว่าทำอะไรได้ ทำเห็นได้ไหม ทำได้ยินได้ไหม ทำสติได้ไหม ทำปัญญาได้ไหม ทำได้หรือเปล่า ถ้าทำไม่ได้แล้วไปทำทำไม แต่ว่าสภาพธรรมขณะนี้เกิดขึ้นแล้วรึเปล่า เห็นกำลังเห็นได้เกิดขึ้นแล้วรึเปล่า กำลังได้ยินได้เกิดขึ้นแล้วรึเปล่า และเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยใช่รึเปล่า แต่อวิชาไม่สามารถจะรู้ได้ แต่ปัญญาสามารถที่จะรู้ตามความเป็นจริงว่าทำไม่ได้ ไม่มีใครทำอะไรได้ แต่เริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดเพราะสติเกิด จึงระลึกได้ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง แล้วก็มีธรรมจริงๆ กำลังปรากฎให้เข้าใจด้วย อย่างกำลังเห็นเป็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฏกำลังมีให้เข้าใจขึ้น แล้วต้องไปทำอะไร ได้ยินก็เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แข็งที่กำลังปรากฏก็เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้ นี่คือการอบรมเจริญปัญญาซึ่งสติต้องเกิดระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถ์ ถ้าสติไม่ระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถ์นั่นไม่ใช่สติปัฏฐาน ปัญญาไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งได้ว่าเป็นสภาพธรรม เพราะฉะนั้นด้วยปกติไม่สงสัย เรื่องสติเกิดระลึกได้บ่อยๆ เนื่องๆ คือว่าถ้าระลึกครั้งเดียวไม่มีทางประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมแน่นอน แล้วไม่ใช่โดยวิธีอื่น คือไม่ใช่โดยไปทำสมาธิ หรือไม่ใช่โดยทำอย่างอื่น แต่เพราะสติระลึกอีก ระลึกอีกๆ จนกว่าจะสามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้ นั่นคือความหมายของบ่อยๆ เนื่องๆ คือไม่ใช่ครั้งเดียว ไม่ใช่สองครั้ง ไม่ใช่สามครั้ง

    ผู้ฟัง มีพระบางรูปท่านบอกว่า พระก็ต้องมีแบบเดินจงกรม

    ท่านอาจารย์ เดี่ยวนี้เห็น พระไตรปิฎกว่ายังไง สภาพธรรมเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย พระไตรปิฎกว่าอย่างนี้รึเปล่า ความจริงเป็นอย่างนี้รึเปล่า ไม่ใช่เฉพาะพระไตรปิฎกว่าความจริงเป็นอย่างนี้รึเปล่า และสติระลึกได้ไหมถ้าสติระลึกก็ไม่ใช่คุณเครือวัลย์ทำอะไร แต่สติเกิดจึงระลึก หน้าที่ของสติคือระลึก หน้าที่ของจิตเห็นคือเห็น หน้าที่ของจิตได้ยินคือได้ยิน หน้าที่ของโลภะคือติดข้อง หน้าที่ของโทสะคือหยาบกระด้าง หน้าที่ของสติคือระลึก ใครทำหน้าที่ของสติไม่ได้เลย เวทนาทำหน้าที่ของสติไม่ได้ สัญญาทำหน้าที่ของสติไม่ได้ปัญญาทำหน้าที่ของสติไม่ได้ สติเท่านั้นที่ระลึกได้

    ผู้ฟัง ต้องอาศัยวิริยะใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ วิริยะก็ไม่ต้องไปสร้างเกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุปัจจัย วิริยะจะไม่เกิดกับจิตเพียงกี่ดวงเท่านั้น เราก็รู้

    ผู้ฟัง ฟังจากอาจารย์สุจิตน์แล้วบอกว่าให้ระลึกคือปกติ ต้องระลึกสติ มีสติอยู่เสมอใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก ถ้าสติไม่เกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และเราจะรู้อะไร เพราะเดี๋ยวนี้ก็ดับไปแล้วถ้าไม่ระลึก ทุกอย่างที่เกิดแล้วดับแล้วทั้งหมดโดยอวิชาก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงว่าเป็นธรรมซึ่งเกิดดับ

    ผู้ฟัง ที่นี้การระลึกนี้มันต้องมีสติอยู่ตลอดเลย

    ท่านอาจารย์ ตัวสติระลึกไม่ใช่เรามีสติ

    ผู้ฟัง อันนี้เราระลึกอยู่ตลอด

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ตลอด ตลอดไม่ได้ ได้ยินตลอดรึเปล่าเห็นตลอดรึเปล่าคิดนึก ตลอดรึเปล่า เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเกิดขึ้นดับไปจะเรียกว่าตลอดได้ยังไง เมื่อมีปัจจัยสำหรับสิ่งใดจะเกิดสิ่งนั้นก็เกิด ถ้ามีปัจจัยที่จะให้ได้ยินเกิดได้ยินก็เกิด ตลอดไม่ได้ เพราะเหตุว่า มีปัจจัยให้เห็นเกิดเห็นก็เกิด จะเรียกว่าตลอดได้ยังไง

    ผู้ฟัง ก็หมายความว่าเมื่อมันดับเราก็ระลึกรู้มันดับไป

    ท่านอาจารย์ ไม่มีเราระลึกเลย ถ้าสติเกิดแต่สติต้องมีเหตุปัจจัย เหมือนอย่างได้ยิน ถ้าไม่มีโสตปสาท ไม่มีเสียงจะได้ยินได้ไหม ก็ได้ยินไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีปัจจัยที่จะให้สติเกิดระลึก จะให้สติระลึกได้ยังไง ไม่มีการฟังไม่มีการเข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีการฟังอย่างนี้สติปัฏฐานก็ระลึกไม่ได้ เกิดไม่ได้

    ผู้ฟัง การฟังก็เหมือนปริยัติ

    ท่านอาจารย์ ฟังเรื่องสภาพธรรม เพราะฉะนั้นการฟังอยู่ที่การตั้งจิตไว้ชอบ ถ้าเราจะศึกษาปริยัติเปิดมาหน้าหนึ่ง หน้าสอง หน้าสาม ก็ไม่รู้ว่าขณะนี้สภาพธรรมกำลังปรากฏ ที่เราศึกษาเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แม้แต่ที่เรากำลังฟังกำลังพูดเรื่องเห็น ก็เพื่อให้เข้าใจลักษณะเห็นที่กำลังเห็นในขณะนี้ พูดเรื่องเสียงก็เพื่อให้เข้าใจเรื่องเสียงที่กำลังปรากฏทางหู คือมีสภาพธรรมที่อวิชาไม่สามารถจะเข้าใจได้ แต่วิชาสามารถจะเริ่มเข้าใจจนกระทั่งเจริญขึ้น จนกระทั่งประจักร์ความเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรมได้ รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ นี่แสดงว่าปัญญามีหลายระดับขั้น และปัญญาก็ต้องรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง สภาพธรรมที่เป็นอนัตตาคืออนัตตา สภาพธรรมที่เป็นสติคือสติ สภาพธรรมที่เป็นเวทนาความรู้สึกคือความรู้สึก รู้สภาพธรรมแต่ละอย่างตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ

    ผู้ฟัง คือจะต้องระลึก

    ผู้ฟัง จากการศึกษาขั้นแรกอย่าพยายามไประลึก เราศึกษาให้เข้าใจ ให้เข้าใจว่าสภาพธรรมสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็จะมีจริง สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริง แล้วสภาพรู้ซึ่งเป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นรูปธรรม หลับตาแล้วลืมตาขึ้น เป็นดอกดาวเรือง เราก็เริ่มใส่ใจศึกษาว่าเราละเลยสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ธรรมไปแล้ว และการที่หนึ่ง สิ่งที่ปรากฏทางตาคือรูป ซึ่งไม่ใช่สภาพรับรู้อารมณ์อะไรก็ต้องมี สอง ก็คือนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพรับรู้อารมณ์ คือสภาพรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา

    ท่านอาจารย์ คือสิ่งที่ปราฎกทางตาไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแต่ความรู้ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ใช้คำว่าค่อยๆ เพิ่มขึ้นเพราะว่าสติค่อยๆ เกิด ไม่ใช่เกิดวันเดียวได้เยอะแยะ เวลาไหนที่สติเกิดผู้เจริญสติปัฎฐานรู้ว่าขณะนั้นสติกำลังระลึกลักษณะของสภาพธรรม อย่างหนึ่งที่ปรมัตถธรรมที่มีลักษณะจริงๆ ปรากฏ โดยเราไม่ต้องคิดเลย อย่างเสียงเราไม่ต้องคิด เสียงปรากฏสิ่งที่ปรากฏทางตาเราก็ไม่ต้องคิด ปรมัตถธรรมแล้วไม่ใช่หมายความว่าเราต้องไปคิดสิ่งนั้นถึงจะมี แต่หมายความว่าเมื่อเป็นปรมัตถธรรมก็คือว่าสิ่งนั้นมีแม้เราไม่คิด หรือเรียกชื่ออะไรทั้งสิ้น สิ่งนั้นก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็ปรากฏตลอดเวลาที่เรามีจักขุปสาท ยังมีการเห็นก็ต้องมีสิ่งที่ปรากฏ

    ผู้ฟัง แต่เราไม่รู้ตัว

    ท่านอาจารย์ รู้ เห็นก็รู้ เห็นมีแต่ไม่เข้าใจคือเข้าใจไม่ถูกต้องเพราะสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่ตัวตนอย่างไร และสภาพที่กำลังเห็นไม่ใช่ตัวเราที่เห็นอย่างไร อันนี้ต้องอบรมนี่คือตัวปัญญา เพราะเหตุว่าเห็นมีแน่นอน

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นในระยะแรกมันก็ต้องใช้ความคิดนึกช่วยก่อน

    ท่านอาจารย์ ใช้อะไรก็เกิดคิดอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วไม่ต้องใช้ เรียกว่าไม่ต้องใช้ไม่ต้องทำ

    ผู้ฟัง ก็เป็นของมันเอง

    ท่านอาจารย์ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทั้งหมด อกุศลวิตกความคิดผิดก็เกิดขึ้นเพราะฟังผิดเพราะเข้าใจผิด ความคิดถูกก็เกิดขึ้นเพราะฟังถูกพิจารณาถูกเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นไม่มีใครจะไปบังคับบัญชาได้ ความเห็นผิดก็มี ความเห็นถูกก็มี แล้วก็ต่างกันด้วย เหมือนกับสิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี เห็นก็มี แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้นเราจะเข้าใจคำว่าอวิชชาคือความไม่รู้ไม่รู้อะไร ก็ไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้แต่ไม่รู้ อริยสัจมี ๔ ทุกขอริยสัจ คือสภาพธรรมที่เกิดขึ้นนั้นดับไป อวิชาก็รู้ไม่ได้ ขณะนี้ผู้ที่รู้แล้วท่านรู้จริงๆ ว่าทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วดับอย่างเร็ว และก็ไม่ใช่ตัวตนด้วย แต่ผู้ที่ไม่รู้ก็ไม่มีการที่จะประจักร์แม้แต่บอกว่าเป็นนามธรรมก็ไม่เข้าใจ บอกว่าเป็นรูปธรรมก็ไม่เข้าใจ เข้าใจเพียงชื่อ แต่ว่าลักษณะของเขาที่เป็นรูปไม่สามารถจะเข้าใจได้ถ้าสติปัฎฐานไม่เกิด นี่เป็นเหตุที่การฟังธรรมต้องฟังว่าเราฟังธรรมทำไม การตั้งจิตไว้ชอบสำคัญที่สุดว่าเราฟังเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เราฟังเพราะเราอยากจะมีสติ หรือเราอยากจะมีปัญญา หรือเราอยากจะเป็นพระโสดาบัน นั้นคือไม่รู้เลยว่าสภาพธรรมคืออย่างไร การรู้แจ้งอริยสัจธรรมเป็นพระโสดาบันนั้นคืออย่างไร เพียงแต่ได้ยินชื่อก็อยาก นิพพานอยากรู้ พระโสดาอยากรู้ว่าท่านเป็นยังไงท่านรู้อะไร อริยสัจธรรมก็อยากรู้ แต่นั่นคือยากแต่ไม่ใช่เข้าใจอะไรเลย เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่าที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมถึง ๔๕ พรรษา ให้คนฟัง ฟังแล้วพิจารณา ฟังแล้วคิดให้ถูกต้อง ฟังแล้วให้เข้าใจถูก เพื่อจะเป็นบันไดขั้นต้นซึ่งปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นหมายความว่าสามารถที่จะประจักษ์สภาพธรรมที่เป็นทุกขอริยสัจจะได้จริงๆ คือสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ เพราะฉะนั้นทุกคนก็เป็นผู้ที่ตรงต่อตัวเองว่าไกล หรือใกล้ ต่อการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม กำลังอยู่ตอนไหนในสังสารวัฏฏ์ ที่จะต้องสะสมไปอีกเพื่อที่จะได้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นอีก ไม่ใช่ไปทำอะไรอย่างไร แต่สะสมความเข้าใจสภาพธรรมจนกว่าจะมีความเห็นที่ถูกต้องพร้อมสติที่ระลึกที่ลักษณะนั้นแม้แต่ขณะที่ฟังก็มีสติ ถ้าใครที่ไม่มีสติคือกำลังหลับ กำลังคิดเรื่องอื่น กำลังไม่ฟังเลย นั่นคือผู้ที่ไม่ใช่ฟังด้วยสติ แต่ถ้าขณะที่ฟังด้วยสติเป็นกุศลจิต จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง และเมื่อมีความเข้าใจขั้นนี้แล้วก็จะทำให้ฟังต่อไปอีก เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก และรู้ว่าไม่ใช่การทำ แต่เป็นการที่อบรมความเข้าใจขึ้นในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ละความต้องการที่อยากจะไปรู้อย่างนั้น


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    5 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ