สนทนาธรรม ตอนที่ 042
ตอนที่ ๔๒
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ ก็ถึงนิพพาน
ผู้ฟัง คงอีกนาน ครับ
ท่านอาจารย์ แต่ยังไงก็ตาม ถ้ารู้ๆ ๆ ไปก็ต้องถึง
ผู้ฟัง เพราะตอนที่ผมมาศึกษาฟัง แนวทางของท่านอาจารย์สุจินต์ใหม่ๆ เนี่ยผมฟังบาลีแล้วผมเมื่อไหร่ผมจะแตกฉานในพระอภิธรรมแล้ว เมื่อไรผมจะเข้าใจในสภาพธรรมแต่ละขั้นแต่ละตอน ผมท้อใจครับ ผมเรียนให้ทราบตามตรงว่าท้อใจ แล้วก็ผมกลับมาเริ่มต้นใหม่ว่าผมจะทำอย่างไรดี ผมกลับมาพิจารณาว่า ฟังให้เข้าใจ แล้วก็พิจารณาจากสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าท่านอาจารย์พูดเรื่องนี้มานี่ สภาพธรรมจริงๆ เป็นอย่างไร ที่เรากำลังวิเคราะห์พิจารณาว่าเป็นอย่างไร อะไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ มันเหมือนกับว่าผมได้คงจะสะสมมาในลักษณะอย่างนี้ เพราะฉะนั้นพอมาพูดถึงเรื่องในหัวข้อ หรือหลักการ หรือภาษาบาลีแล้วตอบไม่ได้ครับแต่ว่าผมฟังแล้วผมเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ตอนนี้ก็ได้ภาษาบาลีหลายคำเลยที่เข้าใจ ทั้งหมดนี่เป็นภาษาบาลีทั้งนั้นอย่างคำว่านามธรรมก็เป็นภาษาบาลี รูปธรรมก็เป็นภาษาบาลี เวทนาก็เป็นภาษาบาลี สังขารธรรมก็เป็นภาษาบาลี สังขตธรรมก็เป็นภาษาบาลี ทุกอย่างที่คุณประทีปเข้าใจแล้วจำได้ และก็เป็นภาษาบาลีทั้งนั้นก็ไม่ยากอะไร ไม่ใช่ว่าเราต้องไปเรียนภาษาบาลีไวยากรณ์จนกระทั่งแตกฉานแล้วก็มีความรู้แปลได้อย่างท่านอาจารย์สมพรเพราะว่าเรามีท่านแล้วท่านก็แปลให้เรา เราก็อาศัยอ่านแล้วก็ค่อยๆ พิจารณาค่อยๆ เข้าใจขึ้นก็สะดวกขึ้นเป็นการเรียนทางลัดคือเรียนโดยเข้าใจสภาพธรรมไม่เหมือนกันคนที่รู้ภาษาบาลีแต่ไม่เข้าใจสภาพธรรม เป็นไปได้ใช่ไหมคะอาจารย์คะ
อ.สมพร เป็นไปได้ครับ
ท่านอาจารย์ อย่างปัญญาก็เป็นภาษาบาลีแล้วเราก็เข้าใจถึงตัวสภาพธรรมของปัญญาด้วย คือไม่เข้าใจเพียงเฉพาะว่าชื่อ เพราะว่าเราคุ้นมาโดยที่พูดๆ ไปแต่ความลึกซึ้งของธรรมด้วยเราไม่เข้าใจ อย่างคนที่ไม่ได้เรียนธรรมก็เข้าใจปัญญาอย่าง หนึ่ง แต่พอเราพูดถึงปัญญาเจตสิก ต่อให้ใครจะมาบอกเราว่าทำวิทยุได้ หรือว่าโทรศัพท์ได้ พวกนี้เราก็รู้ว่านั่นไม่ใช่ปัญญา ตราบใดที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งเป็นตัวธรรมแต่เพียงรู้เรื่องราวของธรรมเท่านั้น ซึ่งเป็นวิชาการอื่นไม่ใช่เป็นการที่ทำให้รู้ตัวสภาพธรรม แต่พระพุทธศาสนาคือคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เรารู้จักตัวสภาพธรรม อย่างโลภะเราก็รู้แล้ว ความติดข้องซึ่งมีมากในวันหนึ่งๆ แต่ว่าที่จะรู้จนกระทั่งว่าแม้ขณะที่เพียงเอื้อมมือไป ด้วยความต้องการ ซึ่งไม่ใช่เป็นไปในทาน ในศีล และภาวนาขณะนั้นก็ต้องเป็นโลภะแล้ว
เพราะฉะนั้นเวลาที่ปัญญาจะรู้จริงๆ รู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏก็ไม่ใช่รู้อื่น ทางตาที่กำลังเห็นนี่รู้ว่าเป็นธาตุ หรือเป็นสภาพของนามธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งรูปร่างกายไม่สามารถที่จะรู้อะไรได้เลยเพียงแต่มีรูป อย่างโต๊ะ เก้าอี้ รู้อะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่ร่างกายนี้ตายไม่มีนามธรรม ก็รู้อะไรไม่ได้ แต่ขณะนี้กำลังเห็นเป็นสภาพรู้ เป็นความรู้คือรู้ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตามีลักษณะอย่างนี้ที่กำลังปรากฏให้เห็น นี่ก็เป็นอาการรู้อย่างหนึ่ง นี่ก็เป็นนามธรรม เป็นภาษาบาลี
อ.สมพร ที่บอกว่ายังไม่อยากไปนิพพานเนี่ยผมก็เห็นด้วย คนที่จะไปนิพพานจริงๆ ต้องศึกษาอบรมปัญญาให้มากจนกระทั่งเห็นโทษก่อน เห็นโทษในวัฎฎะ เห็นโทษในรูป เห็นโทษในนาม เห็นว่ามีโทษจริงๆ และเห็นความสุข หรือพิจารณาโดยปัญญาเห็นความสุขที่เป็นที่ยิ่งขึ้นๆ ประเสริฐกว่ากามสุข เมื่อใดเห็นโทษ และเห็นคุณในสิ่งที่เราจะไป เมื่อนั้นจึงเบื่อหน่าย ในที่เราไม่ชอบในรูปในนาม เมื่อใดเบื่อหน่ายแล้วต่อไปก็ดำเนินไปสู้พระนิพพานแน่นอน ตามที่เรามีเจตนาตั้งไว้ เพราะเราเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายในวัฎฎะทุกข์ ในรูป ในนาม ขณะนี้เรายังไม่เบื่อหน่าย เรายังชอบยังติดอยู่แล้วใครมาบอกให้ไปนิพพาน ใครๆ ก็คงไม่ไปเพราะยังไม่เบื่อหน่ายยังชอบอยู่ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ก็เป็นทำนองนี้ครับ ฉะนั้นถ้าพูดถึงนิพพานเนี่ย ผมก็จะต้องยืนยันว่าคงยังไม่อยากไป ไม่ทราบว่าขณะที่กระผมคิดอย่างนี้เป็นโลภะไหมครับ ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ แยกยากนะคะ เพราะสลับกันไปสลับกันมา แต่ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่าทุกคนก็เห็นว่าคนที่มีทรัพย์มากอย่างที่เป็นผลของกุศลอย่างที่คุณประทีปว่า เมื่อสักครู่นี้ก็ต้องจากโลกนี้ไป แล้วอะไรล่ะที่จะติดตามไป ทั้งๆ ที่มีทรัพย์เนี่ยค่ะ ให้ทราบว่าจริงๆ แล้วเป็นผลของกุศลแน่นอน ได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ดี ทางตา หู จมูก ลิ้นกาย ต้องมาจากเหตุที่ดี แต่สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะจริงๆ แล้วก็หมดแล้วอาหารที่รับประทานเมื่อครู่นี้อร่อย ก็หมดไปแล้ว ไม่มีอะไรเหลือแต่ละขณะถ้าจะเห็นความว่างเปล่า จริงๆ ที่ใช้คำว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่มีสาระ ก็ต้องรู้ว่าจิตเกิดขึ้นขณะหนึ่งแล้วดับ ปัญญารู้ความจริงอันนี้ ขณะที่เกิดแล้วดับ อันนั้นนะค่ะ ถึงจะเห็นได้ว่าไม่มีอะไรที่เหลือ ที่จะเป็นตัวตน หรือว่าที่จะเป็นของเราได้ เพราะฉะนั้นมีตาก็เพื่อที่จะเห็นสิ่งซึ่งเราติด และยึดถือว่าของเรา ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ หรืออะไรก็ตาม มีหูก็เพื่อที่จะได้ยินเสียงชั่วขณะ หนึ่ง แล้วก็ยึดถือว่าเป็นของเรา
เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วถ้าผู้มีพระภาคไม่ทรงตรัสรู้ ไม่มีทางที่จะมองเห็นสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นแต่เพียงสิ่งซึ่งเกิดแล้วก็หมดไปจริงๆ เมื่อหมดแล้วไม่เหลือด้วย เพราะฉะนั้นก็เป็นแต่เพียงความว่างเปล่าทุกๆ ขณะ ขณะนี้เหมือนกับว่าเราเห็นตลอด แต่ความจริงต้องว่างเปล่าชั่วขณะที่เห็นแล้วดับ แล้วก็มีการเห็นเกิดขึ้นอีก แล้วการเห็นนี้ก็ดับอีก มีการได้ยินเกิดขึ้น และการได้ยินก็ดับอีก แต่ถ้าไม่เป็นจักษ์ขณะที่กำลังเกิด และดับ เราจะไม่เห็นความว่างเปล่าว่า ที่สิ่งที่เราเคยยึดถือว่า เห็นเป็นเรา แล้วก็เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้วก็มีความยินดีพอใจทุกอย่าง มีแหล่งมาจากการเห็น การได้ยิน สุขทุกข์ทั้งหมดมาจากเพียงชั่วเห็นละก็ดับไป
เพราะฉะนั้นตราบใดที่ปัญญายังไม่ถึงการที่จะเห็นความว่างเปล่าจริงๆ เพราะเกิด และดับไป ตราบนั้นเราก็ยังคงเพลิดเพลิน แล้วก็ต้องการผลของกุศลลึกๆ อย่างที่ว่าคือว่าอย่างไรเราก็ต้องเกิดอีก เกิดอีกก็ต้องมีตา หู จมูก ลิ้น กายอีก เพราะฉะนั้นก็เห็นไปเรื่อยๆ แต่ขอเห็นสิ่งที่ดีๆ ด้วยเหตุนี้สังสารวัฏฏ์ ก็ต้องเป็นอย่างนี้ไป ถึงได้กล่าวว่า แม้ว่าผู้นั้นจะอบรมเจริญความสงบจนกระทั่งถึงอรูปฌาณ สงบประณีตมากพ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทั้งหมด ไม่มีการที่เราจะต้องสุขทุกข์เพราะสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่ก็ไม่ใช่หนทางที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ เพราะว่าต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ในพระไตรปิฏกใช้คำว่าต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือตราบใดที่เรายังไม่หมดกิเลสตราบนั้นจิตของเราที่ข้องแล้วก็ผูกพันอย่างมาก ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ก็ยังคงไม่ให้เราไปไหน ไปอยู่ที่ไหนชั่วคราวก็ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก เพราะเหตุว่ามีเชื้อของความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส
เพราะฉะนั้นวันนี้เราก็จะพูดถึงเรื่องโลภมูลจิตดวงที่๑ ให้มากๆ ให้ทุกคนจำได้โดยที่ไม่ต้องไปท่องอะไรเลย โดยที่รู้ว่าโลภมูลจิตมี ๘ และดวงที่ ๑ ที่เราจะพูดถึงนี่ประกอบด้วยโสมนัสเวทนา เพราะว่าเราควรจะพูดถึงโลภะที่มีกำลัง แล้วก็ยังมีโทษมากด้วยคือโลภมูลจิตดวงที่ ๑ ในบรรดา ๘ ดวง ดวงนี้มีโทษที่สุด แต่จะเริ่มจากโลภะ ความติดข้องซึ่งเกิดร่วมกับโสมนัส ให้เห็นจริงๆ ว่าโลภะไม่มีใครสามารถที่จะหลีกพ้นได้ แม้เมื่อผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ พระคาถาที่เป็นอุทานคาถา ก็ถือว่าเราพบนายช่างผู้สร้างเรือนคือโลภะ ตราบใดที่มีโลภะอยู่เราจะไม่หมดจะสังสารวัฎฏ์ เรือนก็คือสังสารวัฏฏ์ คือภพชาติที่ต้องเกิดอีก เป็นที่อยู่ที่อาศัยของจิตทุกชาติไป
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่านี่คือโทษที่จะเราจะต้องเห็นก่อนในบรรดาอกุศลจิต ๑๒ ดวงโลภมูลจิตดวงที่ ๑ มีโทษมากมีกำลังแรงกว่าดวงอื่นทั้งหมดใน ๘ ดวง เพราะว่าเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เราเริ่มจะเห็นไหม สิ่งที่เราเคยชอบคือโสมนัสมากๆ โลภะไม่พอต้องให้เป็นโลภะะซึ่งเกิดร่วมกับโสมนัส แท้จริงแล้วเป็นโทษ แต่ก็ยังอยากได้อยู่นั่นเองต่อให้พูดไปสักเท่าไหร่ก็ตาม ทั่วไปตลอด ๔๕ พรรษา เต็มพระไตรปิฎก นี่แสดงให้เห็นว่าเรื่องของการที่จะรู้สภาพธรรม เป็นเรื่องของปัญญา ถ้าปัญญาไม่ถึงระดับขั้นที่จะเห็นความจริงของธรรม ยังไงๆ ก็ไม่เห็น แต่ถ้าผู้ที่เห็นแล้ว ท่านก็จะทรงแสดงอย่างละเอียดมากตามกำลังของท่าน เพราะฉะนั้นท่านถึงเข้าใจกันได้ระหว่างผู้ที่เป็นพระอรหันต์ ผู้ที่เป็นพระอนาคามี ผู้ที่เป็นพระสกทาคามี ผู้ที่เป็นพระอนาคามี สิ่งที่แต่ละท่านที่ได้รู้แจ้งสัจธรรมกล่าว เป็นสิ่งที่ท่านประจักษ์ เป็นสิ่งที่ท่านเห็นจริงๆ แต่คนที่เพิ่งเริ่มฟังเริ่มอบรมยังไงๆ ก็เห็นไม่ได้ไม่มีทางจะเห็นแต่ว่าฟังเข้าใจรู้
เพราะฉะนั้นเราเริ่มจากการรู้ว่าโลภะที่มีโทษมากคือโลภมูลจิตดวงที่ ๑ ซึ่งเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ตอนนี้ก็คงจะขึ้นใจกำลังโสมนัสๆ จะได้รู้ว่าอืมนี่แหละ โทษมากเหลือเกินแล้วยังอยากได้อีก อยากได้อีก ก็คือว่าหาทุกข์ใส่ตัว หรือว่าหาโทษใส่ตัวนั่นเอง เพราะฉะนั้นความรู้แม้เพียงขั้นต้นก็ยังดีกว่าที่จะไม่รู้เลยเพราะว่าไม่รู้เลยเนี่ยต้องหลงมาก แล้วก็หาแต่โสมนัสเวทนาที่เป็นโลภะ เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ โลภะอุเบกขาเป็นไงคะ เห็นท่าจะดีกว่าโลภะที่เกิดร่วมกับโสมนัสรึเปล่า หรือว่าปัญญายังไม่ถึงขั้นนั้นก็จริง แต่เริ่มเป็นผู้ที่อะไรก็ได้โลภะก็โลภะ โลภะไม่ถึงโสมนัสก็ยังดีเหมือนกัน ดีกว่าที่จะให้เป็นโลภะโสมนัส เพราะฉะนั้นถ้าวันไหนอาหารไม่อร่อยตอนนี้ก็ไม่ค่อยจะเดือดร้อน ยังมีการปรุงได้ทำอะไรได้ทุกอย่างตามกำลังของความต้องการด้วยความที่ว่าลดความติดข้องลงนิดหนึ่งคือว่าไม่เดือดร้อนมากเหมือนแต่ก่อนซึ่งก่อนที่จะศึกษาธรรม คนที่เคยติดอะไรอย่างมากๆ ทีเดียว จะเป็นทุกข์ถ้าไม่ได้สิ่งนั้นแต่เวลาที่เริ่มเข้าใจแล้ว ก็ยังคงต้องการสิ่งนั้นอยู่ ไม่ใช่ว่าจะหมดความต้องการแต่ทุกข์ของความกระวนกระวาย จะค่อยๆ ลดน้อยลง อันนี้ก็เป็นประโยชน์สำหรับการที่เราจะเข้าใจแม้แต่เพียงว่าเราก็มีโลภะ และบางวันก็เป็นโลภะโสมนัสเวทนา บางวันก็เป็นโลภะอุเบกขา ก็แล้วแต่อะไรจะเกิดขึ้นถ้าโลภะอุเบกขา ก็โลภะอุเบกขา โลภะโสมนัสที่เคยอยากได้มากๆ ก็ไม่เป็นไรถึงว่าเราอยากได้สิ่งนี้แต่เราไม่ได้สิ่งนี้เราได้สิ่งที่ได้แต่สิ่งนั้นนิดหนึ่ง ก็ลดโสมนัส ลงไปหน่อยนึงก็ยังดีก็หมายความว่า ถ้าโสมนัสเหมือนกันแต่ว่าโสมนัสก็นิดหนึ่ง และ โสมนัสก็จะค่อยๆ ลดระดับของโสมนัสลงได้ไม่เดือดร้อน
ผู้ฟัง โสมนัสไม่ได้ แต่โทสะจะมา
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ใครจริงๆ คือเราไม่ใช่เป็นผู้ที่จะสร้างธรรมใดๆ ขึ้นมา เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญา คือไม่ใช่ไปทำ เพราะว่าไม่มีใครทำอะไรได้เลย สภาพธรรมทุกอย่างเกิดแล้วให้ทราบว่าขณะนี้เป็นธรรมเกิดแล้วปรากฏ เพราะฉะนั้นไม่ต้องทำอะไรเลย แสนที่จะสบายไม่ต้องไปเหนื่อยยากทำค่ะ เพียงระลึกลักษณะที่กำลังปรากฎด้วยความเข้าใจที่ค่อยๆ เข้าใจถูกขึ้น
ผู้ฟัง ทำอย่างไรถึงจะเพียงระลึกได้
ท่านอาจารย์ ฟังมากๆ จนกระทั่งเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีการระลึกเกิดขึ้นเป็นปกติ ทิ้งการทำซึ่งไม่ใช่ปกติ เพราะฉะนั้นอีกอย่างหนึ่ง คือไม่ใช่ทำยังไง หรือว่าจะไปทำ เลิกทำ แต่ว่าเข้าใจขึ้น ทีนี้ทราบกันแล้วโลภะโสมนัส กับโลภะอุเบกขา
ผู้ฟัง อยากรู้ว่า โลภะ ๔ ดวงหลังๆ ลักษณะมันเป็นอย่างไรที่เป็นอุเบกขา
ท่านอาจารย์ ยังไม่พูดถึง แต่ก็พูดถึงคราวๆ ประเดี๋ยวก็ไปถึงเอง ข้อสำคัญที่สุดเวลาที่ศึกษาธรรม และให้เราเข้าใจเรื่องจริงๆ สภาพจริงๆ แล้วเห็นคุณเห็นโทษจริงๆ ถ้าใครบอกคุณสุพรรณีว่าโลภะมี ๘ ดวง ๔ ดวงเกิดร่วมกับโสมนัสสเวทนาอีก ๔ ดวงเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา คุณสุพรรณีก็ฟังไปเฉยๆ แต่ถ้าคุณสุพรรณีจะหยุดคิด โลภะนี่เป็นอกุศล และโลภะอะไรจะมีกำลังมากกว่ากัน โลภะที่เกิดร่วมกับโสมนัสกับโลภะที่เกิดร่วมกับอุเบกขา คือไม่ใช่ผ่านไปเฉยๆ แต่ต้องพิจารณาจริงๆ ถึงจะเข้าใจว่าที่เป็นโลภะโสมนัสต้องมีกำลังกว่า แต่ที่ต่างกันเป็น ๘ ดวง มีอะไรเพิ่มขึ้นมาอีกทีละนิดๆ ที่จะทำให้เป็น ๘ เวลานี้เราเห็น ๒ อย่างคือโทมนัสอย่างหนึ่ง กับอุเบกขาอย่างหนึ่ง เรายังไม่ไปถึงรายละเอียดที่จะทำให้ต่างกันเป็น ๘ ดวง เพราะว่าอยากจะให้ทุกคนไม่ท่องข้อสำคัญที่สุดคืออยากให้จำให้เป็นปกติ ภาษาบาลีก็ค่อยๆ ซึมเข้าไป ไม่คิดว่ายากอะไรนักหนาเพราะว่าเราก็ใช้คำนี้ออกบ่อยๆ ไป ทั้งอุเบกขาทั้งโสมนัส ทั้งโลภะพวกนี้แต่ว่าเมื่อฟังธรรมแล้วเนี่ยขอให้พิจารณาด้วย เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์กับการที่เราได้ใช้เวลาในการศึกษาธรรม เพราะว่าบางคนก็อาจจะคิดว่าเสียเวลา หรืออะไรอย่างนี้แล้วไม่ได้อะไร แต่ความจริงแล้วทุกคำที่ผู้มีพระภาคตรัสเป็นประโยชน์ถ้าเราพิจารณา แล้วก็ค่อยๆ เกิดความเข้าใจขึ้น ความทุกข์ของเราจะลดลงตามขั้น แม้ไม่มากแต่อย่างน้อยก็ค่อยๆ ไปทีละนิดทีละหน่อย
ผู้ฟัง คืออยากจะถามนิดหนึ่ง อาจจะเป็นขณะจิตก็ได้ แยกออกเป็นขณะจิตคือ โสมนัสกับโลภะ โลภะที่ประกอบด้วยความยินดี โดยมากเรามักจะต้องการ เมื่อเราต้องการแล้วเราได้ ที่มีความรู้สึกที่เวลาที่รู้สึก ความต้องการตอนแรกมันยังไม่โสมนัส ก็ต้องได้มาแล้วมาถึงจะโสมนัสใช่ไหม พูดถึงว่า เอาให้ยากๆ ดีกว่า อย่างสมมติว่าอยากจะได้ สมบัติอยากได้เพชรซาอุ อยากจะได้เพชรซาอุเนี่ยก็วางแผนทุกอย่างเลยเพื่อจะได้เพชรซาอุมาในขณะซึ่งเขาอยู่วางแผนนั้นเขามี เรียนถามอาจารย์ว่าเขามีโสมนัสเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา
ท่านอาจารย์ ความรู้สึกของคุณสุรีย์จะเป็นอย่างไร ไม่ใช่ได้นะเพียงแต่อยาก เห็นไหมว่าต่างกัน
ผู้ฟัง ที่นี้เรียนถามว่ามันเป็นอุเบกขา หรือโสมนัส
ท่านอาจารย์ ก็ต้องถามคุณสุรีย์ว่าตอนอยาก
ผู้ฟัง แต่มันไม่โสมนัส
ท่านอาจารย์ ไม่โสมนัสก็ต้องไม่โสมนัส ไม่เหมือนตอนได้เลย
ผู้ฟัง ก็คงจะเป็นอุเบกขา หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ มีเวทนาที่เกิดกับโลภะได้เพียงสองอย่างเท่านั้น
ผู้ฟัง มันรุนแรงมาก มันแหมมันอะไรไปเอาเพชรซาอุ ถึงกับวางแผนมันแรงเหมือนกับว่ามันมีโลภมากเหลือเกิน แต่มันไม่ใช่ปัญหาของดิฉัน คือว่ามันไม่ใช่โสมนัสแต่เป็นอุเบกขา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นขณะนั้นโลภะมีกำลัง แต่ไม่ใช่เวทนามีกำลัง
ผู้ฟัง อ่อเข้าใจค่ะ หมายความว่าไม่ต้องถูกชักจูง ไม่ต้องถูกชักจูง หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ เราก็ยังไม่ไปถึงตอนชักจูง หรือไม่ชักจูงแต่โลภะมีกำลัง โลภะมีกำลังคือมีความต้องการมากแต่ยังไม่ได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นโสมนัสเนี่ยมันต้องได้มาแล้วมันจะเป็นผล
ท่านอาจารย์ ขณะใดก็ตามที่โทมนัสเกิดขึ้น
ผู้ฟัง ขอเรียนถามนิดหนุ่ง คือที่เราแยกโลภะออกเป็นโสมนัส หรือว่าเกิดร่วมกับโสมนัสกับอุเบกขาเวทนา ในแง่ของโทษ อาจารย์บอกว่าถ้าโสมนัสจะโทษแรงโทษมากใช่ไหม หมายความว่าอย่างไร ว่าเราโอกาสที่จะหลุดออกจากโลภะ หรือว่าละออกมาจะลำบาก แต่หนูมองเห็นว่าโลภะซึ่งเกิดกับอุเบกขาเวทนาซึ่งเป็นชีวิตวัน ก็ไม่ใช่จะหลุดง่าย
ท่านอาจารย์ อันนี้ไม่ได้พูดถึงเรื่องหลุด แต่อันไหนจะมีกำลังมากกว่ากันแล้วถ้าเป็นอกุศลที่มีกำลัง จะมีโทษมากกว่า หรือไม่ อย่างของที่คุณมธุรสชอบนิดหน่อย เสียหายไปก็ไม่ค่อยจะเดือดร้อนเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นของที่รักมากเลยแตกไป หายไป สูญไป พลัดพรากจากไป จะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าโทษของเขาอยู่ที่ความติดข้อง ถ้าติดข้องมากก็นำความทุกข์มาให้มาก
ผู้ฟัง โทษก็คือความรู้สึก เป็นทุกข์ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เมื่อพลัดพราก ไม่ต้องการทุกข์มากๆ ก็ต้องไม่ติดข้องมากๆ หรือว่ามีโสมนัสที่เป็นโลภะน้อยลง อย่างคนที่เห็นเพชรนิลจินดาแล้วเฉยๆ เนี่ยได้ใช่ไหม แต่คนที่เห็นมันไม่ไหวทนไม่ได้เลยอยากได้เหลือเกิน อย่างที่คุณสุรีย์ยกตัวอย่างเมื่อกี้นี้ต่างกันไหม
ผู้ฟัง ตอนเฉยเนี่ยอาจจะนึกอยาก คำว่าเฉย..
ท่านอาจารย์ บางคนไม่อยากเลย ให้ก็ไม่เอา ไม่ใส่ไม่ใช้อะไรหมดเลย เพราะจริงๆ แล้วมันก็คือสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีแสง แล้วก็ปรากฏ และก็สีต่างๆ มันก็คงจะเหมือนแสงนีออน หรือสีต่างๆ แต่ว่าในความรู้สึกของเรา มันเหมือนจะมีสิ่งที่เป็นคุณลักษณะพิเศษซึ่งทำให้เรามีความติดข้อง แต่ความจริงแล้วก็คือว่าถ้าขณะนั้นรู้ว่าคือโลภะที่กำลังชอบ สิ่งที่เราเคยชอบมากๆ เลยเราก็อาจจะมีการระลึกได้ และก็รู้ว่าถ้าลดลงไปเรื่อยๆ ทีละนิดทีละหน่อย คือจริงๆ แล้วอิฐฐารมณ์คืออารมณ์ที่ประณีตทั้งหลาย และเป็นผลของกุศลแน่นอน คนที่มีบุญที่ได้ทำไว้แล้วนี่ปฏิเสธไม่ได้เลย ยังมีบางท่านที่ท่านกล่าวว่าไม่รู้มันมายังไงกันไหลมาตลอด ห้ามยับยั้งว่าพอแล้วๆ ก็ยังไม่หยุดผลของบุญ มาเรื่อยๆ ซึ่งเขาเองเขาก็รู้ว่านี่เป็นผลของกุศล แต่ว่าเมื่อมาแล้วสำคัญอยู่ที่ว่าเรามีความติดในสิ่งนั้นมาก หรือน้อย
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ปัญญาที่ได้สะสมมาทำให้สามารถที่จะสละทุกสิ่งทุกอย่างได้ นี้ก็แสดงให้เห็นว่าสิ่งซึ่งบางคนติดมากๆ คนที่สะสมอบรมปัญญาไว้ก็สามารถที่จะค่อยๆ คลายลงไปได้ จนกว่าสามารถที่จะดับได้เป็นสมุจเฉท แต่ผู้นั้นก็รู้กำลังของปัญญาของตัวเอง ว่าถ้ายังไม่เป็นพระอริยะบุคคลตามลำดับขั้นจริงๆ อย่างพระโสดาบันจะให้ไปเหมือนกับพระอนาคามีบุคคลก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นความติดข้องของท่านเนี่ยน้อยกว่าคนอื่นจริง หรือบางรูปบางท่านอาจจะมีโลภะที่ยังมีกำลังอยู่ก็จริงแต่ก็ไม่มีความเห็นผิดที่เกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นสภาพธรรมที่เป็นอกุศล มีมากมายหลายอย่างสะสมพอกพูนปนเปผสมกันซะจนหนาเตอะจนยากที่จะเอาออกไปได้ แต่ปัญญาก็จะค่อยๆ เห็นค่อยๆ แคะ ค่อยๆ เขี่ย ค่อยๆ ละ ค่อยๆ ทำลายไปทีละหน่อยได้ด้วยความที่เข้าใจถูกต้องขึ้น
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060