สนทนาธรรม ตอนที่ 044


    ตอนที่ ๔๔


    ท่านอาจารย์ คือถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจธรรมถึงกับเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีบุคคลเพียงพระโสดาบัน ละความยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปคิดเรื่องละกามตัณหาด้วยความยินดีพอใจในรูป เสียง โผฏฐัพพะ แต่เพียงเริ่มเห็นโทษ แล้วก็รู้ตามความเป็นจริงว่าชีวิตของเราทุกคน ตั้งแต่เกิดจนตายไม่พ้นจากความพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะถ้าเป็นอารมณ์ที่ดี หมายความว่าเป็นรูปที่ดี เป็นเสียงที่ดี เป็นกลิ่นที่ดี เป็นรสที่ดีเป็นผโผฎฐัพพะที่ดี แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดี โลภะ หรือความต้องการจะไม่เกิดขึ้นเลย เพราะเหตุว่าไม่มีใครต้องการสิ่งที่ไม่ดีเลยใช่ไหม หรือว่ามีใครต้องการ ควรจะได้เข้าใจชีวิตประจำวันจริงๆ กำลังสำรวจจิตใจของแต่ละคนเพื่อที่จะได้รู้ว่าจิตมี ๘๙ จริง แล้วก็เป็นกามาวจรจิต ๕๔ จิต ๕๔ นี่ฟังดูเหมือนกับจำนวนมาก แต่ถ้าค่อยๆ เริ่มเข้าใจทีละ ๑ ดวงก็ไปได้ จนกระทั่งถึง ๕๔ ดวงแต่ว่าต้องเริ่มด้วยความเข้าใจจริงๆ ในจิตแต่ละดวง นี่เราก็เข้าใจความหมายของกามวจรจิต แล้วก็รู้ว่าการละความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ละยังไม่ได้ แต่ที่ฟังเพื่อให้เข้าใจถูก ว่าตัวเราจริงๆ ดี หรือไม่ดี แล้วก็ไม่ดีในเรื่องอะไร แล้วก็ละได้ไหมทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ดี ขอถามอีกนิดทำไมละไม่ได้

    ผู้ฟัง ยังไม่ทราบโทษของกรรม

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าการที่จะละ ไม่ใช่เราละ ถ้าปัญญาไม่เกิดไม่มีทางเลยที่ใครจะละได้ เพราะฉะนั้นจะแสดงให้เห็นว่าเรามีอวิชชา มีความไม่รู้มากแค่ไหนเพราะเหตุว่าแม้แต่เพียงคำว่าปัญญารู้อะไร ที่จะไปละความติดข้องในรูปเสียง กลิ่นรส สัมผัส หรือว่าในนามธรรมในรูปธรรม เราก็ยังต้องค่อยๆ คิดค่อยๆ พิจารณาให้เข้าใจจริงๆ ว่า ไม่ใช่เราเพราะเหตุว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

    เพราะฉะนั้นถ้าปัญญาไม่เกิด ละไม่ได้ ที่ทุกคนฟังเพื่อให้เกิดปัญญาให้รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริงโดยเฉพาะให้รู้จักจิต ซึ่งขณะนี้กำลังมี ให้ทราบว่าขณะนี้เป็นจิตทั้งนั้น ที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก แล้วก็มีมากมายหลายประเภทที่ทรงแสดงไว้ว่า ๕๔ ประเภทที่เป็นกามาวจร และแม้กระนั้นในกามาวจรจิต ๕๔ เรามีไม่ครบยิ่งน้อยลงไปอีก ให้ทราบไว้ด้วยว่า บางจิตเป็นของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้นก็ต้องเอากามาวจรจิตที่เป็นของพระอรหันต์ออกไป คุณประทีปให้ความเห็นหน่อยว่าทำไมพระอรหันต์ยังมีกามาวจรจิต

    ผู้ฟัง เพราะว่าพระอรหันต์นี้ก็ยังมีรูป รส กลิ่น เสียง ซึ่งชีวิตประจำวันก็ยังมีทั้งรูปธรรมนามธรรมที่กำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าพระอรหันต์ก็เห็น (ก็เห็นครับ) เพราะฉะนั้นขณะที่จิตใดก็ตามมีรูปเป็นอารมณ์กำลังเห็นรูป ขณะนั้นเป็นกามาวจรจิตไม่ว่าเป็นจิตของใครทั้งนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีกามาวจรจิตไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เหตุผล

    ผู้ฟัง เพราะว่าก็อย่างที่ท่านอาจารย์ได้เรียนให้ทราบ ว่ามันมีทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางใจ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกคนค่อยๆ พิจารณาไป แล้วก็จะเข้าใจว่ากามาวจรจิต ที่ดีก็มี ที่ไม่ดีก็มี และที่เป็นจิตของพระอรหันต์ซึ่งไม่ใช่ทั้งกุศลไม่ใช่ทางอกุศลก็มี นี่คือสิ่งที่เราจะค่อยๆ เข้าใจกามาวจรจิต

    ผู้ฟัง ผมเข้าใจว่าคำว่ากามได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทีนี้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะมีทั้งที่เป็นอิฐฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่าใคร่น่าพอใจก็มี และมีทั้งที่เป็นอนิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจก็มี ที่มันไม่น่าใครน่าพอใจมันไม่น่าจะเป็นกาม

    อ.สมพร ปัญหานี้ก็น่าคิด แต่คำว่ากามนั้น ท่านกล่าวว่าได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ท่านยังไม่ได้แยกเลยว่าต้องใคร่ หรือไม่ใคร่ แต่ศัพท์มันแปลว่าเป็นเหตุให้จิตใคร่ ถึงว่าสิ่งที่เราไม่ต้องการเกิดขึ้นแต่เราก็ไม่พอใจก็ยังต้องแสวงหา ท่านบอกว่าวัตถุกามก็คือรูปนั่นเอง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั่นเอง จะใคร่หรือไม่ใคร่ ก็ต้องชื่อว่าวัตถุกามเพราะเป็นเหตุให้จิตพอใจ ถ้าจิตไม่พอใจก็แสวงหา ไอ้เรื่องไม่พอใจ เป็นเรื่องของเกี่ยวกับตัณหา เพราะว่าไม่ชอบใจเห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจตัณหาก็ไม่เกิด กลายเป็นโทสะเกิดนั้นเป็นอีกนัยหนึ่ง แต่เราจะพอใจ หรือไม่พอใจก็ตามวัตถุที่ปรากฏทางตาเรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะก็เรียกว่าวัตถุกาม จะพอใจ หรือไม่พอใจก็เรียกวัตถุกามเหมือนกัน เพราะท่านกล่าวว่า วัตถุกามมี ๕ อย่าง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่ชื่อของมันจริงๆ แปลว่าใคร่ และเป็นเหตุให้จิตใคร่

    ผู้ฟัง หมายความว่า ตัวกามเนี่ย อาจจะทำให้คนส่วนใหญ่ใคร่ใช่ไหม แต่ว่าจิตที่ได้การอบรม แล้วเนี่ยอาจจะไม่ใคร่ก็ได้

    อ.สมพร คือสมมติอย่างนี้ เช่นเราเห็นอุจจาระเราไม่ใคร่ไม่พอใจแต่สุนัขใคร่ เพราะฉะนั้นเราจะตัดบททีเดียวว่าสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ไม่เรียกว่ากามก็ไม่ได้เช่นสุนัขเห็นอุจจาระเป็นต้น อุจจาระนี่เป็นสิ่งที่ไม่น่าใคร่ ใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นเราก็จัดอย่างนั้นเป็นไม่ใช่กามไปเสียเพราะสุนัขมันยังใคร่อยู่ เพราะฉะนั้น ใคร่หรือไม่ใคร่ไม่สำคัญต้องจัดเป็นกามเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ อันนี้ก็เป็นความชัดเจนที่จะต้องเข้าใจว่าคำว่ากาม หรือกามะ จะพ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะไม่ได้ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีรูปจะพอใจในอะไร ถ้าไม่มีเสียงปรากฏผ่านหูจะพอใจในอะไร ถ้าไม่มีกลิ่นไม่มีรสไม่มีสิ่งที่กระทบกายเย็นบ้างร้อนบ้างอ่อนบ้างแข็งบ้าง ให้มีความรู้สึกสบายเราก็คงจะไม่มีความรู้สึกสบายทางกายเกิดขึ้น

    เพราะฉะนั้นนี่ก็แสดงให้เห็นว่าสิ่งซึ่งปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายเป็นกาม เป็นที่ตั้งทำให้เกิดความต้องการ และสำหรับที่เรายังไม่ได้แยกออกเป็นอะไรเลยเพียงแต่คำว่ากามคำเดียว ตัดปัญหาหมดก็คือว่าพ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีคำว่ากามตัณหาก็หมายความว่าตัณหาคือความติดข้องความต้องการในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะนั่นเอง เพื่อที่จะได้เข้าใจจริงๆ ว่าแต่ละคำความหมายจำกัดแค่ไหน และเวลาที่มีคำอื่นมารวม หมายความว่าอย่างไรเพราะแม้แต่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีกามาวจรจิต ตราบใดที่จิตนั้นยังเป็นไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส หรือที่เราเรียกว่าโผฏฐัพพะ ก็จะต้องเป็นกามาวจรจิต ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นปุถุชน หรือเป็นใครก็ตามแต่ว่าระดับจิตต่างกัน

    เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าเป็นจิตประเภทที่เป็นไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฎฐัพพะก็ตาม แต่ยังมีประเภทที่เป็นจิตไม่ดี หรือเป็นจิตที่ดี หรือว่าเป็นจิตที่ไม่ใช่ทั้ง สอง อย่างคือไม่ใช่ทั้งจิตที่ดี และจิตที่ไม่ดี ซึ่งถ้าไม่ศึกษาพระธรรมเราไม่มีโอกาสจะรู้เลยว่าจิตอย่างนี้ก็มี เพราะว่าส่วนใหญ่ในชีวิตของเรา เรามักจะพูดกันแต่ว่ากุศลจิต อกุศลจิตแต่ไม่ได้พูดถึงจิตที่ไม่ใช่ทั้งกุศล และไม่ใช่อกุศล นี่แสดงได้ให้เห็นว่าถ้าจะเข้าใจสภาพธรรมจริงๆ ไม่มีใครในโลกซึ่งจะคิดขึ้นมาเองได้นอกจากจะฟังพระธรรม แล้วก็เริ่มเข้าใจตามความเป็นจริงซึ่งในขั้นต้น เราจะพูดถึงเรื่องกามมาวจรจิตก่อน

    ผู้ฟัง ตัวทิฏฐิคือความคิดเห็น ทิฏฐิความหมายกลางๆ แปลว่าความคิดเห็นใช่ไหมความคิดเห็นที่ถูกกับความคิดเห็นที่ผิด อันนี้อยากจะให้เคลียร์อันนี้ก่อน

    อ.สมพร ทิฏฐิจริงๆ ก็แปลว่าความเห็น แต่ว่าในพระสูตรกับในพระอภิธรรม มีความหมายต่างกัน ในพระสูตรเป็นการขยายความละเอียด ท่านกลัวคนจะเข้าใจผิดท่านก็เพิ่มเติมเป็นสัมมาทิฏฐิกับมิจฉาทิฎฐิ

    ผู้ฟัง แปลว่าอะไรทิฎฐิ

    อ.สมพร ทิฎฐิแปลว่าความเห็น เพื่อจะให้เข้าใจถูกต้องท่านจึงแยกสัมมาทิฏฐิแปลว่าเห็นถูก หรือเห็นโดยชอบ แล้วก็มิจฉาทิฎฐิ แปลว่าเห็นผิด แต่ถ้า กล่าวว่าทิฏฐิเฉยๆ คนอาจมีความเข้าใจผิดหลายแง่หลายมุม แต่ในพระอภิธรรมเขามุ่งถึงว่าคนมีปัญญา แล้วศึกษาเข้าใจ แล้วทิฏฐิในที่นี้มุ่งถึงความเห็นผิดอย่างเดียวเพราะท่านแสดงว่าเห็นว่าเป็นอัตตาตัวตนมุ่งถึงอันนี้เป็นใหญ่ ในอภิธรรมป็นธรรมที่ละเอียดกว่า และพระสูตรนั้นเป็นการชี้แจง สำหรับคนมีปัญญาอย่างน้อยไปก่อนท่านจึงกล่าวแยกอย่างชัดเจน

    ท่านอาจารย์ คุณสรีย์ค่ะคือถ้าจะสนทนากันโดยที่ว่าไม่ได้ตั้งหัวข้อไว้เลย เราก็บอกว่าทิฏฐิเป็นความเห็นเรายังไม่ได้พูดเลยว่าเราจะพูดเรื่องฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศล เพราะฉะนั้นทิฏฐิคำกลางๆ ก็คือความเห็น แต่ถ้าเราใช้คำว่ามิจฉาทิฎฐิ ก็ต้องเป็นอกุศลเจตสิก เพราะเหตุว่าเป็นความเห็นผิด

    ผู้ฟัง หมายความว่ามิจฉานั้นคือตัวทิฏฐิที่เป็นหมายความว่าเห็นผิดใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าใช้คำว่ามิจฉา แล้วก็ต้องเข้าใจ แล้ว

    ผู้ฟัง ตัวเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ ตัวเดียวกับอะไร

    ผู้ฟัง ตัวเดียวกับทิฏฐิที่เป็น ที่เป็นเจตสิกที่ความเห็นผิด

    ท่านอาจารย์ สำหรับเจตสิกถ้าศึกษาเรื่องเจตสิก จะทราบว่าเราใช้คำแยกกันถ้าเป็นอกุศลเจตสิกเราใช้คำว่าทิฏฐิ แต่ถ้าเป็นโสภณเจตสิกเราใช้คำว่าปัญญา เพราะฉะนั้นก็ต้องทราบว่าการใช้คำในภาษาบาลี ก็ต้องแล้วแต่ความหมาย ถ้าสนทนากันธรรมดาเหมือนอย่างในพระสูตรที่ว่ามิจฉาทิฎฐิ สัมมาทิฏฐิความเห็นถูกกับความเห็นผิด ถ้าความเห็นถูกก็คือปัญญาเจตสิก ถ้าความเห็นผิดก็คือทิฎฐิเจตสิกที่เป็นอกุศลเจตสิก เพราะฉะนั้นบางครั้งจะเห็นได้ว่าเราต้องตามข้อความในพระไตรปิฎก คือตามหัวข้อ หรือตามเรื่องอย่างตอนนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องกามาวจรจิต และจริงๆ แล้ว เราจะแยกเป็นประเภทก็ได้คือเป็นอกุศลจิต ๑๒ ประเภท เป็นอเหตุกจิต ๑๘ ประเภท และก็เป็นโสภณจิตอีก นั่นก็แยกไปแต่ที่นี้ยังไม่อยากจะให้ทุกคนต้องไปงง หรือว่าไปจำ หรือคิดว่าเรื่องเยอะเหลือเกินจะต้องแบ่งนั่นแบ่งนี่ ก็เอาเพียงง่ายๆ คือจิต ๘๙ แล้วก็แบ่งเป็นกามาวจรจิตเพราะเหตุว่า ในคราวก่อนๆ ตอนต้นๆ เราก็ได้พูดถึงเรื่องภูมิต่างๆ คือระดับขั้นของจิตไปหมดเลยว่าจิต ๘๙ ต่างกันเป็นระดับขั้น ขั้นต่ำสุดขั้นต้นคือกามาวจรจิต แต่ผลจากกามาวจรจิต แล้วแปลว่าสูงขึ้นทั้งนั้น เป็นฌานจิตประกอบด้วยกุศลที่มั่นคงมีรูปเป็นอารมณ์ แล้วก็เป็นอรูปฌานจิตคือเป็นฌานจิตที่เป็นความสงบที่มั่นคงที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ แล้วก็เป็นโลกุตตรจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ซึ้งสุดเอือม เพราะเหตุว่าขณะนี้กำลังเป็นกามาวจรจิตทุกขณะ

    เพราะฉะนั้นเราก็เริ่มจากการที่จะศึกษาเรื่องของกามาวจรจิต และที่ยังไม่แบ่งเป็นประเภท หรือว่าบางคนก็รู้แล้วว่าแบ่งเท่าไร่ หนังสือก็มีก็ไม่จำเป็นอีกเหมือนกันแต่เรากำลังจะเริ่มจากจิตสักดวงหนึ่ง ซึ่งทุกคนมี แล้วก็มีเป็นประจำวันด้วยในชีวิตไม่เคยขาดจิตประเภทนี้เลยคือโลภมูลจิต แต่ว่าในโลภมูลจิตคือจิตที่ประกอบด้วยความติดข้องต้องการ ซึ่งมีใครบ้างไหมที่จะบอกว่าวันนี้ไม่มี มีแต่ไม่รู้ ตื่นมามีโลภมูลจิตไหม หรือยังก่อน ต้องไปเห็นอะไรที่สวยๆ งามๆ ถูกอกถูกใจอาหารอร่อยถึงจะเกิดโลภะ ไม่ใช่เลย ทันทีที่ลืมตาไม่เป็นกุศลก็ต้องเป็นอกุศล ถ้าขณะนั้นไม่ใช่โทสมูลจิต คือเป็นจิตที่ขุ่นใจขุ่นเคือง แล้วก็ขณะนั้นไม่พ้นจากโลภมูลจิต โมหมูลจิตเรายังไม่ต้องกล่าวถึง เรากำลังจะกล่าวถึงจิตซึ่งมีเป็นประจำแต่ว่าตั้งแต่เกิดจนตายก็ไม่เคยรู้จัก

    เพราะฉะนั้นทั้งๆ ที่อยู่ที่ตัวเราเราก็จะเริ่มจากจิตดวงที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อกี้คุณเสรีก็บอกว่าประกอบด้วยโสมนัสคือความยินดีอย่างยิ่ง โสมนัสทีเดียวไม่ใช่เพียงแต่เฉยๆ แสดงให้เห็นว่าจิตใดที่เป็นอกุศลที่มีโทษที่สุด ต้องเป็นโลภมูลจิตที่ประกอบด้วยโสมนัสสเวทนา เพราะเหตุว่าแม้แต่โลภะความติดข้อง ก็มีเวทนาเจตสิกคือความรู้สึก สภาพความรู้สึกเป็นธรรมที่มีจริงเป็นนามธรรมแต่ไม่ใช่จิต

    เพราะฉะนั้นสภาพความรู้สึกที่เกิดกับโลภะความติดข้องมี ๒ อย่าง คือติดข้องธรรมดาๆ อย่างหนึ่ง เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา แต่ว่าติดข้องอีกอย่างหนึ่งนั้นเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เพราะฉะนั้นก็ให้ทราบว่าสำหรับสภาพของเวทนาเจตสิกความรู้สึกซึ่งจะเกิดกับโลภมูลจิตนั้นมีเพียง ๒ อย่าง และในวันหนึ่งๆ ทุกคนทราบได้เลยว่าขณะไหนเป็นโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา และก็ขณะไหนเป็นโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับโสมนัสสเวทนา คงไม่มีปัญหาเรื่องเวทนา เพราะเหตุว่าชื่อเราก็ใช้อยู่แล้วในภาษาไทยว่าอุเบกขา ก็คือไม่ทุกข์ไม่สุข เฉยๆ ถ้าโสมนัสทุกคนก็บอกว่าดีใจมากๆ ขณะนั้นก็เป็นโสมนัสเวทนา เพียงแต่ว่าใช้คำภาษาบาลีให้ถูกต้องสักหน่อยว่า ถ้าเป็นความรู้สึกเฉยๆ ก็เป็นอุเบกขาเวทนา ถ้าเป็นความรู้สึกโสมนัสภาษาบาลีได้ตรงตัวเลยคือโสมนัสเวทนา ภาษาบาลีเข้าไปอีกนิดหน่อยก็คงจะไม่เป็นการขัดข้องอะไรเพราะเหตุว่าจะทำให้เราเข้าใจชัดขึ้นอีกคือถ้าเป็นเวทนา แล้วจะต่อท้ายด้วยคำว่าสหคตัง

    เพราะฉะนั้นสำหรับโสมนัสเวทนา จะต่อท้ายด้วยสหคตัง จึงเป็นโสมนัสสสหัคตัง ถ้าเป็นอุเบกขาก็อุเบกขาสหคตัง ถ้าเป็นทุกขะคือความรู้สึกทุกข์กายก็เป็นทุกขสหคตัง ถ้าเป็นโทมนัส ก็โทมนัสสสหคตัง คือความหมาย หมายความว่าแปลโดยศัพท์ คะตะ หรือคตังเนี่ยก็หมายความถึงไป แต่ทีนี้สำหรับเราที่จะเข้าใจเราไม่จำเป็นต้องติดอยู่ที่ภาษา แต่ให้เข้าใจว่าขณะใดก็ตามที่มีจิตเกิดขึ้นต้องมีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง

    เพราะฉะนั้นสำหรับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ ซึ่งมีโทษมากก็คือโสมนัสสหคตังต้องเกิดร่วมกับโสมนัส เพราะฉะนั้นวันนึงชีวิตเรา เราจะเห็นโทษของโลภะไหม โลภะธรรมดาๆ ก็นิดหน่อย แต่ถ้าโลภะถึงโสมนัสสสหคตังก็แปลว่าโลภะนั้นเกิดร่วมกับความดีใจอย่างมากๆ เพราะฉะนั้นความติดข้องก็ต้องมากด้วยแต่ว่าทุกคนชอบ นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ากว่าเราจะเข้าใจจริงๆ ถึงสภาพจิตที่เป็นอกุศล แล้วเห็นโทษ ฝืนกับชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งชีวิตประจำวันของเรา ถ้ามีโลภะที่เกิดร่วมกับความรู้สึกเฉยๆ เป็นอุเบกขาสหคตังเราก็ไม่พอใจแสวงหาให้มากกว่านั้นอีก คือต้องให้ถึงกับเป็นโสมนัสสสหคตัง ที่บ้านมีดอกไม้ดอกกุหลาบแต่ถ้าดอกไหนใหญ่กลิ่นหอมโสมนัสสสหคตังเกิดร่วมกับความติดข้อง ถ้าเป็นดอกไม้ธรรมดาๆ กุหลาบดอกเล็กๆ หรือไรก็ไม่ใช่ว่าไม่มีโลภะ มีความติดข้องแต่อุเปกขาสหคตัง เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา

    เพราะฉะนั้นเราค่อยๆ ไปตั้งแต่ชีวิตประจำวัน แล้วก็เราจะเห็นตัวเราตามความเป็นจริง เพราะว่าทุกคนเวลาพูดถึงเรื่องปฏิบัติเหมือนกับว่า อยากหมดกิเลสทำยังไงสติปัฏฐานจะเกิดมากๆ ปัญญาจะเกิดเยอะๆ แต่ไม่ได้คิดถึงเลยว่าชีวิตประจำวันมีอกุศลเท่าไหร่ แล้วก็จะไปโหมดกันเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าต้องเข้าใจเรื่องเหตุกับเรื่องผล แล้วก็เรื่องที่จะหมดกิเลส อย่าเพิ่งคิด เพราะเหตุว่ามันเป็นไปไม่ได้ ถ้าปัญญาไม่เกิด สำหรับโสมนัสสสหคตังคุณสุรีย์ยังมีอะไรสงสัย หรือข้องใจไหม

    ผู้ฟัง อยากจะขอให้ท่านอาจารย์ช่วยให้ตัวอย่างโสมนัสสสหคตังในชีวิตประจำวัน

    ท่านอาจารย์ ดอกกุหลาบสวยๆ เมื่อกี้นี้เองดอกโตๆ กลิ่นหอมๆ กับดอกกุหลาบเล็กๆ ธรรมดา

    ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าเผื่อว่ามีคน ๒ คนมองเห็นกุหลาบโตๆ หอมๆ เขาก็เฉยๆ ก็เป็นอุเบกขาสหคตัง อันนั้นก็แล้วแต่บุคคลที่จะโทมนัสรึเปล่า หมายความว่าเรายินดีมากๆ อย่างเราได้รับของ แล้วเราดีใจมากๆ อันนั้นก็เป็นโสมนัสใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นทุกครั้ง จิตทุกดวงนี้ให้ทราบว่าจะต้องมีเวทนาเจตสิกอยู่ข้างหน้า แสดงให้เห็นความต่างแม้แต่ของจิตซึ่งเกิดเป็นประเภทเดียวกันก็ตาม เพราะฉะนั้นจะจำแนกจิตด้วยเวทนา เพราะเหตุว่าความรู้สึกนี่บางทีเราลืมจิตด้วยซ้ำไป กำลังโกรธขณะนั้นสภาพของจิตประทุษร้าย เป็นสภาพที่หยาบกระด้าง แต่ความรู้สึกบางครั้งนี่โทมนัส ที่ใช้คำว่าโกรธเนี่ยจริงๆ แล้วหมายความถึงขณะนั้นจิตไม่ได้ต้องการอารมณ์ที่มาเผชิญหน้าในขณะนั้น จะด้วยความเสียใจ จะได้ความน้อยใจ จะด้วยความรู้สึกอะไรก็ตามแต่

    เพราะฉะนั้นเวทนาเป็นความรู้สึกซึ่งปรากฏให้เห็น แม้แต่ดีใจก็ปรากฏ เสียใจก็ปรากฏ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่จะพูดเรื่องจิตจะต้องประกอบด้วยเวทนาเจตสิก ซึ่งจะจำแนกให้เห็นว่าจิตนั้นๆ ต่างกัน โดยการที่ใช้เวทนานำหน้า โสมนัสสสหคตัง หรือว่าอุเบกขาสหคตัง หรือโทมนัสสหคตัง หรือว่าทุกขสหคตัง หรือสุขสหคตัง เวทนามี ๕ อย่าง

    ผู้ฟัง สมมติว่าเรารับประทานอาหารมันก็อร่อยนะ อร่อยอันนั้นเป็นโสมนัสสสหคตังด้วยใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ความรู้สึกบอกเอง คุณวีระมีความรู้สึกโสมนัสตอนไหนบ้าง ลองให้ตัวอย่างที่เป็นโลภะ

    ผู้ฟัง ขณะที่เห็นดอกกุหลาบนี้ ก็อยากจะได้กลับบ้าน แต่ว่าชอบมากครับเพราะว่าท่านจัดวางไว้สวยมาก แล้วก็เลือกสีที่ผมชอบมาก เรานั่งอยู่นี่ก็กลิ่นก็หอม ไม่ทราบว่าจะได้นั่งอยู่ที่ตลอดทั้งวันก็จะดี

    ท่านอาจารย์ แล้วอุเบกขาล่ะ โลภะที่เกิดร่วมกับอุเบกขา เรากำลังจะพูดถึงเรื่องโลภมูลจิต จิตซึ่งประกอบด้วยความติดข้องมี ๒ อย่าง คือว่าติดข้องด้วยความรู้สึกโสมนัส หรือว่าติดข้องด้วยความรู้สึกเฉยๆ แต่เป็นความติดข้องต้องเป็นโลภะ แต่จริงๆ แล้วเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ มีโลภมูลจิตได้ ไม่ใช่ไม่ได้ ถ้าขณะนั้นไม่ใช่ความรู้สึกโสมนัสก็เป็นอุเบกขา เอาใกล้ๆ ต่อหน้าต่อตา เพราะฉะนั้นวันนึงๆ โลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับอุเบกขามากจนนับไม่ถ้วน

    ผู้ฟัง อย่างนั่งอยู่หยิบปากกา เราอยากจะหยิบปากกาต้องการปากกาเขียนอันนี้เป็นอุเบกขาใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แน่นอนไม่ได้เกิดโสมนัสอะไรใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่ แต่เราต้องการที่จะใช้ปากกา

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นโลภามูลจิตตลอดเลยถ้ากุศลจิตไม่เกิดให้ทราบว่าหนีไม่พ้น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ค่ะ สมมติว่าเราไม่ได้ไปวัดกันมาตั้งเดือน แล้วก็หิวธรรมะเหลือเกิน ก็อยากจะเจอหน้าคุยกัน


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    28 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ