สนทนาธรรม ตอนที่ 046
ตอนที่ ๔๖
ท่านอาจารย์ แต่ท่านยังมีโลภมูลจิตทิฏฐิคตวิปปยุตต์ นี่คือความต่างกันของคำว่าสัมปยุตตะกับวิปปยุตตะ ถ้าสัมปยุตตะ หมายความว่ามีเจตสิกนั้นเกิดร่วมด้วย ถ้าวิปปยุตตะ หมายความว่าแม้จะเป็นโลภะแต่ก็ไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย จึงเป็นทิฏฐิคตวิปปยุตต์
ผู้ฟัง อย่างพระโสดาบันนี่เป็นวิปปยุตต์
ท่านอาจารย์ ไม่มีทิฏฐิคตสัมปยุตต์เลย ดับหมด
ผู้ฟัง มีแต่วิปปยุตต์มีไหม
ท่านอาจารย์ มีแน่นอน เพราะเหตุว่าต้องเป็นพระอรหันต์จึงจะละได้
ผู้ฟัง คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่าถ้าหากว่าไม่มีทิฏฐิคตสัมปยุตต์แล้ว มิได้หมายความว่าเห็นถูก
อ.นิภัทร แม้กระทั่งเขาไม่ได้เรียนธรรมะเลย ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ก็น้อยกว่า
ผู้ฟัง สักกายทิฏฐิ ถือว่าเป็นมิจฉาทิฎฐิรึเปล่า
ท่านอาจารย์ เห็นผิดหรือเห็นถูก สักกายทิฏฐิ (เห็นผิด) เห็นผิดต้องเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อว่าโลภมูลจิตเกิด แล้วก็ยังมีความเป็นตัวตนตลอดเวลาก็ต้องเป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต์
ท่านอาจารย์ มีเจตสิกที่เป็นทิฏฐิเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า สำคัญที่ขณะจิตนั้นเกิดขึ้นมีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า ถ้าทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถึงจะเป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ต้องเป็นความเห็น ความคิดเห็น
ผู้ฟัง ทิฏฐิตัวนี้ กินความกว้างสักแค่ไหน ทิฏฐิอะไรบ้างที่เป็นทิฏฐิ
อ.สมพร มิจฉาทิฏฐิ ก็ความเห็นผิดนั่นเอง เพราะว่ามิจฉาแปลว่าผิด มิจฉาเกี่ยวกับความเห็นต่างๆ ทั้งหมดรวม ๖๒ แต่ว่าความเห็นนี่ไม่ได้เกิดกับจิตทุกขณะทุกดวงเพราะว่าจิตจนเกิดเป็นขณะหนึ่ง ขณะหนึ่ง บางครั้งก็มีความเห็นผิดบางครั้งก็ไม่มีความเห็นผิดบางครั้งก็เป็นกุศลใช่ไหม ขณะจิตที่เกิดแต่ละดวงแล้วแต่ปัจจัยไม่ใช่ว่าจะมีทิฏฐิอยู่เสมอ แต่ถ้าเราพูดถึงอนุสัยนั้นอีกอย่างหนึ่ง ขณะจิตที่เกิดขึ้นปรากฏชัดจะบอกได้ว่าทิฏฐิทุกดวงก็ไม่ได้หรอก เพราะบางครั้งเป็นกุศลก็มีแล้วแต่จิตที่เกิดขึ้น เราไม่พูดถึงอนุสัย อนุสัยนั้นอีกนัยหนึ่ง
ผู้ฟัง อาจารย์สมพรนัตถิกทิฏฐิเป็นอย่างไร
อ.สมพร นัตถิแปลว่าไม่มี ความเห็นว่าไม่มี ไม่มีบุญไม่มีบาป อกิริยทิฏฐิความเห็นว่ากระทำบุญไม่ได้บุญ กระทำบาปไม่ได้บาปหมายถึงว่าเห็นว่าการกระทำไม่มีผลนั่นเอง อกิริยะ อะแปลว่าไม่ กิริยะแปลว่ากระทำ
ท่านอาจารย์ อาจารย์คะที่คุณสุรีย์ถามนี่ หมายความถึงนิยตมิจฉาทิฎฐิ ๓ อย่างใช่ไหม เมื่อกี้นี้ คือนิยตมิจฉาทิฎฐิ คือได้ยินคุณสุรีย์พูดเรื่องนิยต นิยตมาตั้งแต่ต้นไม่ทราบว่าเข้าใจไหม
ผู้ฟัง ทำไมมันมีชื่อออกไปอีก เป็นนัตถิกอะไรอย่างนี้ ก็เลยต้องถาม
ท่านอาจารย์ อาจารย์ให้ความหมายแล้วใช่ไหมว่า นิยตมิจฉาทิฎฐิ หมายความถึงทิฏฐิที่แน่นอน ยากที่จะเปลี่ยนแปลง เชื่อมั่นจริงๆ ดิ่งลงไปในความเห็นนั้น เรียกว่าเกือบจะเรียกว่าเยียวยาไม่ได้ มี ๓ อย่าง คือนัตถิกทิฏฐิ ๑ อเหตุกทิฏฐิ ๑ อกิริยทิฏฐิ ๑ สามอย่าง ที่เป็นนิยตมิจฉาทิฎฐิเราจะมาถึงความเห็นที่แรงมาก ๓ อย่างซึ่ง ทำให้เกิดโทษมาก เพราะเหตุว่าถ้าใครมีความเห็นอย่างนี้แล้วก็จะไม่เชื่อในเหตุกับผล ไม่เชื่อในบาปบุญ ไม่เชื่อในผลของบาปบุญ
เพราะฉะนั้นสำหรับนัตถิกทิฏฐิหมายถึงไม่เชื่อในผลของบาปไม่เชื่อในผลของบุญนี่คือนัตถิกทิฏฐิ ไม่เชื่อในผล เพราะฉะนั้นคนที่ฆ่าเขา ลักทรัพย์ หรือทำทุจริตต่างๆ คิดว่าไม่มีผลเลยทำได้ทำดี คือไม่เชื่อเลย ไม่เชื่อเลยว่าจะมีผล นี่คือนัตถิกทิฏฐิ ส่วนอเหตุกทิฏฐิก็ไม่เชื่อว่าการกระทำนี้เป็นเหตุ หรือมีเหตุ ซึ่งไม่รู้ที่มาที่ไปของการกระทำอันนี้เกิดเพราะจิตชนิดไหนเป็นอกุศลอย่างไร ส่วนอกิริยทิฏฐินั้นก็คือว่า เห็นว่าการกระทำนั้นไม่มี อย่างพวกที่เขามีความเชื่อว่าทั้งตัวเรา มีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่ ละเอียดยิบ เพราะฉะนั้นการที่เราจะเอามีดฟันเข้าไปมันก็ถูกอากาศใช่ไหม เพราะฉะนั้นก็ไม่ใช่เป็นการกระทำซึ่งเป็นกรรมที่จะทำให้เกิดผล นี่ก็แสดงว่าถ้ามีความเห็น ๓ อย่างนี้ก็เป็นนิยตมิจฉาทิฎฐิ พูดถึงเรื่องทิฏฐิ ๖๒ ซึ่ง ๖๒ เป็นจำนวนมาก ไม่ต้องไปจำ ไม่ต้องไปคิดให้เสียเวลาเลยมันแยกกันยังไงเพราะว่าเชื่อว่ากายไม่เที่ยงบ้าง เชื่อว่าจิตไม่เที่ยงบ้าง เชื่อว่ากายเที่ยงจิตไม่เที่ยง หรือกายบางส่วนเที่ยงจิตบางส่วนพวกนี้ ก็เป็นเรื่องของการไม่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นเราก็จะเห็นมูลของทิฏฐิได้ว่ามาจากความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อมีความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงย่อมมีนานาทิฏฐิความเห็นต่างๆ กัน ซึ่งในสมัยพุทธกาลก็มีความเห็นมากหลายอย่างแล้วก็ทรงจำแนกไปแล้วก็แจกลูกแจกหลานไปอีกละเอียดมากมายเยอะแยะซึ่งจำนวนนี้เราไม่ต้องคิดไม่ต้องกังวล เพียงแต่ว่าขึ้นชื่อว่าเป็นความเห็นผิด ก็คือเห็นไม่ตรงตามลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงไม่เห็นตามเหตุตามผล และส่วนนิยตมิจฉาทิฎฐิใช้คำพิเศษเพราะเหตุว่าเป็นทิฏฐิที่ไม่เชื่อในผลของกรรม ไม่เชื่อในกรรมซึ่งเป็นเหตุ และไม่เชื่อว่าการกระทำนั้นเป็นกรรมที่จะให้เกิดผล สำหรับในที่นี้คงจะพ้นปัญหาไปใช่ไหม นิยตมิจฉาทิฎฐิ หรือใครมีนิยตมิจฉาทิฎฐิบ้างคือไม่เชื่อเรื่องกรรม แต่ว่านี่เป็นความที่ละเอียดมาก ถ้าเราจะขยายคำว่าทิฏฐิออกไปว่าเราเชื่อในกรรมจริงๆ หรือเปล่า นี่จะมาอีกแล้วแสดงให้เห็นว่าทิฏฐินี่จะสอดแทรกเข้ามาในชีวิตประจำวันมาก จะเป็นส่วนของความเห็นผิดอย่างแรง หรือไม่
ผู้ฟัง มันหลายอย่างเหลือเกินนี่อ่านตรงนั้นก็ชื่ออย่างนี้ อ่านตรงนี้ก็ชื่ออย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เอาต้นตอก่อนว่ามาจากไหนมาจากอวิชชาความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงสภาพธรรมกำลังปรากฏก็ไม่รู้ว่าเป็นสภาพธรรม เพราะฉะนั้นจึงมีความยึดถือว่าเป็นเราเป็นตัวตน เมื่อมีความยึดถือว่าเป็นเราเป็นตัวตนซึ่งเป็นอัตตานุทิฏฐิ และเป็นสักกายทิฏฐิ ก็ยังมีความเห็นต่างออกไปอีกว่าต้องมีผู้ที่เกิดก่อนผู้นั้นเป็นใหญ่เป็นผู้สร้าง หรืออะไรต่างๆ เหล่านี้ และก็ไม่เชื่อเรื่องกรรม เพราะเหตุว่าถ้าเชื่อว่าบุคคลอื่นสร้างจะต้องทำกรรมอะไร อันนี้ก็เป็นเรื่องซึ่งปฏิเสธเรื่องกรรม และผลของกรรมด้วย เพราะฉะนั้นก็แตกออกไปอีกเยอะเลยซึ่งทิฏฐิ เป็นความละเอียดวันนี้เราควรจะเข้าใจให้ถูกต้องว่าเราเป็นผู้ที่มีความมั่นคงในกรรม แล้วก็ไม่มีมิจฉาทิฎฐิ หรือเปล่า ทั้งๆ ที่เรากำลังฟังธรรมะ
ผู้ฟัง อาจารย์ครับกิเลสตัวนี้ก็มีมีหลายระดับ ถูกไหมทิฏฐิตัวนี้
ท่านอาจารย์ แน่นอนอกุศลทั้งหมดมีหลายระดับกุศลทั้งหมดมีหลายระดับ
ผู้ฟัง แม้แต่เราเอง ก็มีหลายระดับเพราะว่าบางคนก็เชื่อครึ่งๆ เชื่อ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เชื่อ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ บางทีก็ไม่เชื่อ ไม่เชื่อมาก ไม่เชื่อน้อย
อ.สมพร คำว่าทิฏฐิคือความเห็น ถ้าเกิดอยู่ในโลภะก็อย่างที่ท่านอาจารย์บอกว่า มุ่งถึงมิจฉาทิฎฐิอย่างเดียว ไม่ใช่ทิฎฐิอย่างอื่น และทิฎฐิที่เกิดกับโลภะมีถึง ๖๒ ประการ แต่ว่าที่หนักแน่นที่เป็นอกุศลกรรมบถได้แก่นิยตมิจฉาทิฎฐิ ๓ อย่าง นอกนั้นท่านกล่าวว่า กล่าวตามอรรถกถา ไม่เป็นอกุศลกรรมบถ เฉพาะนิตยมิจฉาทิฎฐิเท่านั้นจัดเป็นอกุศลกรรมบถ ถึงไม่จัดเป็นอกุศลกรรมบทก็เป็นอกุศล อกุศลกับอกุศลกรรมบถต่างกัน มีความต่างกัน ต่างกันโดยโทษ โดยความประพฤติ โดยความประพฤติหมายความว่าไม่ประพฤติถึงที่สุด เช่นเรามีองค์ธรรมที่จะประกอบว่าอันนี้เป็นอกุศลกรรมบถแต่ไม่ครบองค์ธรรม นั่นก็เรียกว่าเป็นอกุศล ถ้าครบแล้วก็เป็นอกุศลกรรมบถ
ดังนั้นคำว่าทิฏฐิไม่ใช่ว่ามีโทษหนักทั้งหมดที่มีโทษเบาก็มี แต่ที่หนักจริงๆ ก็ต้องเฉพาะนิยตมิจฉาทิฎฐิคือปฏิเสธผลของกรรม ผลของกรรมดีไม่มีผลของกรรมชั่วไม่มี เรียกว่านัตถิกทิฏฐิ นัตถิกแปลว่าไม่มี ความเห็นว่าไม่มี ทุกอย่างไม่มีเมื่อเห็นว่าบุญไม่มี เห็นว่าผลของบุญไม่มี ผลของบาปไม่มี ผู้นั้นจะมีการกระทำอย่างไรลองพิจารณาดู การกระทำของเขาก็มุ่งลาภสักการะเป็นใหญ่ เมื่อมุ่งลาภก็ไม่เห็นใครๆ ทั้งสิ้น ก็เห็นแก่ตนเองแล้วความประพฤติก็หนักนะ หนักเพราะตกอยู่ในอกุศล ส่วนอีกอันหนึ่ง เรียกว่าอกิริยทิฏฐิ ปฏิเสธกรรม นัตถิกทิฏฐิปฏิเสธผลของกรรม อกิริยทิฏฐิปฏิเสธกรรม สองอย่างคล้ายๆ กันแต่เมื่อพิจารณาแล้วมันถึงกันหมด อีกอันนึงอันที่ ๓ เรียกว่าอเหตุกทิฏฐิ ปฏิเสธเหตุทั้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเกิดขึ้นมาเอง นี่คือนี่คือนิยตมิจฉาทิฎฐิ ๓ อย่าง รวมอยู่ในทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ส่วนนอกนั้น เป็นทิฏฐิธรรมดาก็มี อย่างเรียกว่าสามัญทิฏฐิ อย่างพวกเราเนี่ยครับ ท่านจำแนกออกไปถึง ๒๐ ประเภท
ผู้ฟัง ผมก็ยังสงสัยว่าถ้าสติปัฏฐานจะเกิดขึ้น ที่เป็นปรมัตถธรรม เห็นในครั้งแรกที่เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา มันจะเกิดขึ้นทันหรือครับท่านอาจารย์ เพราะว่าสภาพของกิจของจิตเขาจะทำหน้าที่เขา ไม่มีใครสามารถไปหาข้ามกิจของจิตที่ทำหน้าที่จนจบกระบวนการว่าเป็น
ท่านอาจารย์ ไม่เข้าใจคำถามที่ว่า"ทัน"หมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง คือสติปัฏฐานจะเกิดในขณะที่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เวลานี้ถ้าเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมะให้เข้าใจจริงๆ เราพูดเรื่องโลภมูลจิต เราพูดเรื่องโสมนัส เราพูดเรื่องทิฏฐิ ให้เข้าใจว่าไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง แต่เพราะเหตุว่าไม่เคยรู้จักสภาพธรรมอย่างนี้เพียงแต่ฟังเรื่องธรรมะ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่เห็นว่าจะเป็นธรรมะแต่ยังคงเห็นเป็นคนนั้นคนนี้อยู่ใช่ไหม
เพราะฉะนั้นการที่จะมีการระลึกรู้ลักษณะของปรมัตถธรรมก็โดยการที่ให้ทราบว่าขณะนี้ เป็นปรมัตถธรรมคือต้องเข้าใจอันนี้ และจะไม่มีการทันอันไหนเลย ทุกอย่างเป็นปรมัตถธรรมทั้งนั้น ระลึกได้
ผู้ฟัง จากการศึกษาเป็นบางครั้งบางคราวที่เมื่อสิ่งที่ปรากฏทางตา เห็นปุ๊บก็กลายเป็นดอกกุหลาบต่ออะไร
ท่านอาจารย์ อันนั้นคิด
ผู้ฟัง จากการฟังธรรมะพอจบเรื่องกุหลาบปุ๊บ ความนึกคิดของผมก็ยังพิจารณาว่าจากการที่ฟังธรรมมาที่จริงแล้วไม่ใช่ดอกกุหลาบ
ท่านอาจารย์ นั่นก็คิดอีก
ผู้ฟัง อันนี้ผมก็ยังยังพยายามคิดว่า แท้ที่จริงแล้ว ปรมัตถธรรมเป็นสติปัฏฐานจริงๆ จะรู้ไหมว่าในขณะที่สิ่งที่ปรากฏทางตาเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ไม่รู้ใช่ไหมเพราะสติไม่เกิดไม่ระลึก เมื่อสติเกิดก็ค่อยๆ รู้ขึ้นไม่ต้องทันอะไรเลยทั้งหมด เพราะมีสิ่งที่กำลังปรากฏให้สติระลึก ตัดปัญหาเรื่องทันไม่ทันเลย ทุกอย่างเป็นธรรมะหมด แล้วเร็วมาก และสั้นมากด้วย สั้นจนกระทั่งไม่ต้องไปห่วงเรื่องจะทัน ไม่ยาวพอที่จะให้เราไปทัน แต่ทุกอย่างในขณะนี้เป็นธรรมะให้เข้าใจจริงๆ แล้วก็สติก็ระลึกได้ ถ้ามีเหตุปัจจัยพอแต่ไม่ใช่ว่าวันนี้จะชวนทุกคนให้เจริญสติให้เกิดสติหรืออะไร เป็นการฟังธรรมะให้เข้าใจ และสติของใครจะเกิดก็เป็นเพราะเหตุว่ามีปัจจัยที่จะเกิด ถ้ายังไม่มีปัจจัยก็เข้าใจสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟังเพิ่มขึ้น เพื่อที่ว่าเมื่อเข้าใจแล้วสติก็จะได้ระลึกถูกเป็นสัมมาสติ
เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แล้วเราก็พูดถึงเรื่องทิฏฐิยังไม่จบใช่ไหม ยังไม่ถึงอสังขาริกกังเมื่อเช้านี้เพียงแค่โสมนัสสสหตัง หรืออุเบกขาสหคตังคือแถมอุเบกขามาว่า ถ้าเป็นอุเบกขาก็ใช้สหคตังเหมือนกัน โทมนัสก็สหคตัง สุขก็สหคตัง ทุกข์ก็สหคตัง ทุกครั้งที่จะพูดถึงชื่อเวทนา ๑ เวทนาใด ภาษาบาลีก็จะตามมาเป็นชุด แสดงให้เห็นว่าสภาพของจิตดวงนั้นมีเวทนาอะไรเกิดร่วมด้วย และนอกจากนั้นยังมีเจตสิกอะไรซึ่งเกิดกับจิตดวงนั้น เช่นโลภะกับทิฏฐิอันนี้เป็นสิ่งที่เราควรที่จะได้เข้าใจโดยละเอียดว่าทิฏฐิ ไม่ใช่มีอยู่ในตำราว่า ๖๒ หรือว่านิยตมิจฉาทิฎฐิ ๓ หรืออะไร แต่ทิฏฐิก็คือความเห็นผิดใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะขณะไหนก็ตามในชีวิตประจำวันทั้งหมดที่ไม่ถูกต้อง นั่นเป็นความเห็นผิด เช่นคนที่ไม่เชื่อเรื่องกรรม ว่าแต่ละคนที่เกิดมาเป็นแต่ละบุคคลนี้จริงๆ ไม่ใช่กรรมของมารดา ไม่ใช่กรรมของบิดา ไม่ใช่กรรมของคนอื่นเลย แต่เพราะกรรมของตนเอง ต้องเป็นของตนเอง กรรมหนึ่งในกรรมมากมายในสังสารวัฎฏ์ ทำให้ชาตินี้เกิดเป็นคนนี้ ซึ่งแล้วแต่ว่ากรรมใดจะทำให้ดำรงความเป็นคนนี้นานหรือสั้นเท่าไหร่ แล้วก็กรรมอื่นก็ให้ผลทำให้เกิดใหม่เมื่อกรรมนี้ได้สิ้นสุดการให้ผล ถ้าเชื่ออย่างนี้จริงๆ จะเชื่อตลอดมาจนกระทั่งถึงว่า แม้ขณะที่กำลังเห็นก็เป็นผลของกรรม กำลังได้ยินนี่ก็เป็นผลของกรรม
เพราะฉะนั้นก็จะเข้าใจว่าการที่ปัญญาจะรู้ความจริงไม่ใช่รู้ขณะอื่น แต่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏโดยแต่ก่อนไม่เคยเข้าใจเลยว่านี่เป็นผลของกรรมแต่ว่าเริ่มเข้าใจแล้วว่านี่เป็นผลของกรรมที่เห็น ไม่มีใครสร้างไม่มีใครทำ จักขุประสาทเกิดเพราะกรรม สิ่งที่มากระทบปรากฏทางตาทำให้เกิดจักขุวิญญาณการเห็นก็เป็นผลของกรรม คือให้เข้าใจจริงๆ ลงมาถึงขณะจิต ถ้าจะเข้าใจเรื่องกรรมต้องเข้าใจลงมาถึงขณะจิต แต่พอไม่เข้าใจอย่างนี้แล้วก็มีความเห็นต่างๆ ไป นั้นคือโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด เพราะพอใจในความเห็นอย่างนั้น แต่ละคนจะยึดถือความเห็นอย่างไรก็เพราะเหตุว่ามีความพอใจในความเห็นอย่างนั้นจึงยึดถืออย่างนั้น ถ้าไม่มีความพอใจในความเห็นนั้นก็ไม่ยึดถือความเห็นนั้น ทีนี้อยากจะให้ความเห็นผิดหรือ ทิฏฐิละเอียดกว่านั้น คือไม่ใช่เพียงแค่ ๖๒ ในตำรา หรือว่า ๓ ที่เป็นนิตยมิจฉาทิฎฐิ ในชีวิตประจำวันเข้าใจว่าคุณประทีปก็เคยมีมิจฉาทิฎฐิมาเยอะ
ผู้ฟัง มีครับ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้น้อยลงไหม
ผู้ฟัง เข้าข้างตัวเองว่าน้อยลง
ท่านอาจารย์ แล้วมิจฉาทิฎฐิเก่าที่เคยเข้าใจผิด เข้าใจว่าอย่างไรถึงได้บอกว่าเป็นมิจฉาทิฎฐิ
ผู้ฟัง เข้าใจว่า การที่ได้รับการสั่งสอน ให้ไปนั่งสมาธิแล้วปัญญาก็จะเกิดขึ้นเอง
ท่านอาจารย์ อันนี้ก็เป็นความเห็นผิด ก็อาจจะมีหลายคนซึ่งเคยเป็นอย่างนี้ เข้าใจว่านั่งสมาธิแล้วก็จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง นอกจากนั้นมีอะไรอีกในชีวิตประจำวันซึ่งเคยมีความเห็นผิด ขออภัยที่ต้องยกคุณประทีปเป็นตัวอย่างเพราะว่ายังไม่ทราบว่าคนอื่นจะมีความเห็นผิดที่อยากจะให้คนอื่นได้ทราบบ้างหรือเปล่า
ผู้ฟัง ความจริงก็มาก แรกเริ่มเลยก็ไม่เชื่อ ในเรื่องนรกมีจริง สวรรค์มีจริง และก็ไม่เชื่อในเรื่องของกรรม เพราะถ้าเชื่อในเรื่องของกรรมผมคงไม่ไปเที่ยวยิงนกตกปลา
ท่านอาจารย์ ตอนนี้คุณประทีปมีความเชื่อว่านรกมีจริงสวรรค์มีจริง ไม่ใช่เพราะเห็นใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่ครับ
ท่านอาจารย์ แต่เพราะอะไรถึงได้เชื่อ
ผู้ฟัง จากการศึกษาครับ
ท่านอาจารย์ ศึกษาอย่างไรถึงเชื่อว่ามีนรกมีสวรรค์
ผู้ฟัง ขั้นแรกเลยผมก็ศึกษาจากพระธรรมคำสั่งสอน ก็ไม่รู้ว่าจะไปหาที่ไหนอ่าน แล้วก็จนกระทั่งรู้ว่าใครมีพระไตรปิกฎกก็ไปลองจับอ่านดู อ่านไม่รู้เรื่องไม่รู้เรื่องก็พอดี คุณน้าธริศที่ราชบุรีว่าแนะนำว่าลองฟังท่านอาจารย์สุจินต์ดู ผมก็เริ่มฟัง มันก็ฟังก็อย่างนั้น ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเริ่มชื่อเรื่องเหตุผลว่าถ้าเหตุดีผลก็ต้องดี เหตุไม่ดีผลก็ต้องไม่ดี แล้วก็เป็นเรื่องของจิต และในชีวิตประจำวันยังมีความเห็นผิดเล็กๆ น้อยๆ บ้างไหม อย่างยังเห็นว่าดอกประดู่บานคงจะ อะไรล่ะ ดี หรืออะไรใช่ไหมคิดอย่างนั้นหรือเปล่า
ผู้ฟัง เมื่อก่อนคิด แต่ว่าเดี๋ยวนี้ก็คิดนะ
ท่านอาจารย์ คิดยังไงเดี๋ยวนี้ กำลังพูดเรื่องความเห็นผิดในชีวิตประจำวัน บางคนก็คิดว่าถ้าวันนี้เขาเห็นดอกประดู่บานในวันนี้เขาต้องได้ลาภหรืออะไรอย่างนั้น
ผู้ฟัง พูดถึงความเห็นผิดในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ยังมีไหม หรือว่าแต่ก่อนเคยมีอย่างไรบ้าง ความเห็นผิดกำลังพูดถึงความเห็นผิดว่าเคยมีความเห็นผิดอะไรบ้างที่ไม่ต้องเกี่ยวกับทิฏฐิ ๖๒ หรือว่านิยตมิจฉาทิฎฐิแต่เป็นความเห็นผิด อย่างเห็นว่าวันนี้ดอกประดู่บานประเดี๋ยวก็คงจะได้ลาภ หรือเดินไปเจออะไรเข้าก็อันนี้คงจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรืออะไรอย่างนั้น หรือสวดมนต์มากๆ หรืออะไรอย่างนี้เดี๋ยวก็จะได้ลาภได้ผล ไม่มีหรือเคยมี หรือเดี๋ยวนี้ก็ยังมี เรื่องของทิฏฐินี่เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา เพราะว่าว่าเป็นเราเอง แล้วเราจะได้รู้ว่าเรามีความเห็นผิดเหลืออยู่แค่ไหน หรือยังมีมากแค่ไหนแล้วจะเอาออกไปได้ด้วยวิธีไหน
เพราะฉะนั้นเราถึงเน้นเรื่องกรรม ว่าในพระพุทธศาสนาเชื่อเรื่องเหตุ และผลคือกรรมเป็นเหตุ และวิบากเป็นผล ไม่มีใครทำอะไรให้เลยนอกจากทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยไม่ใช่อาศัยสิ่งอื่น
ผู้ฟัง ผมเข้าใจเพราะว่าเรียนมา ตั้งแต่เรียนมาก็คือจิตของผมเองนั่นแหละทำให้ทำกิจปฏิสนธิ
ท่านอาจารย์ แล้วที่เห็นขณะนี้ใครทำให้เห็น
ผู้ฟัง ก็จิตนี้เอง
ท่านอาจารย์ ก็เป็นผลของกรรมของคุณวีระเอง
ผู้ฟัง เพราะว่ามีวิบากที่เป็นชาติ
ท่านอาจารย์ ตลอดชีวิตจะมีจิตแต่เพียงที่เป็นกุศล ๑ อกุศล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ ซึ่งกิริยาเราคงจะไม่ต้องพูดถึงละเอียด เอาแค่กุศล อกุศล กับวิบากคือผลของกุศลอกุศลที่จะต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า ขณะที่เป็นกุศลวิบาก ต้องเป็นเพราะกุศลกรรมของตนเอง จะได้มีความมั่นคงขึ้นในเรื่องกรรม ส่วนเรื่องที่จะนับถือมารดาบิดา หรือว่าระลึกถึงท่านเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับการที่ท่านจะมาบันดาลอะไรได้ต้องมีความมั่นคงในกรรมของตนเอง แต่ถ้าคุณวีระมีกุศลจิตของคุณวีระ กุศลจิตอันนั้นก็ทำให้เกิดกุศลวิบากได้ เช่นความกตัญญูก็เป็นกุศล
เพราะฉะนั้นก็ทำให้เกิดกุศลวิบากได้ แต่ไม่ใช่ว่าเพราะคนอื่นมาบันดาล คนอื่นจะให้คุณวีระเกิดไม่ได้ต้องเพราะกรรมไหนทำให้เกิด คนอื่นจะทำให้คุณวีระตายไม่ได้ นอกจากกรรมสิ้นสุดการที่จะให้ผลในความเป็นบุคคลนี้เมื่อกลางถึงกาละที่จะทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้หมอวิเศษก็ช่วยไม่ได้พ่อแม่พี่น้องใครก็ช่วยไม่ได้เลย นี่สุดขีดเกิดขณะที่จะจากโลกนี้ไปยังต้องเป็นเพราะกรรม
เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจชัดเจนในเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็จะได้รู้ว่าขณะไหนเป็นผลของกรรม ขณะไหนเป็นเหตุซึ่งไม่ใช่ผล
ผู้ฟัง ครับซึ่งที่จริงแล้วค่อนข้างที่จะยาก กระผมเองเมื่อคราวที่แล้วท่านอาจารย์ธนิตได้พูดถึงเรื่องมงคลตื่นข่าว และพูดถึงสิ่ง ที่คนเขาเชื่อถือว่าเป็นเครื่องรางของขลัง ผมเรียนให้ทราบว่าที่บ้านของผมมีห้องพระ ห้องพระนี้ก็มีพุทธรูปแล้วก็มีพระพุทธรูปหลายปางหลายองค์ใหญ่มากทีเดียว สมัยก่อนคุณพ่อสะสมไว้แล้วก็ในที่นั้นก็ยังมีพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมอยู่อีกที่หนึ่ง พระพิฆเนศอยู่อีกที่นึงอะไรต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น แม้กระทั่งอัฐิของพ่อผม ผมก็จะเก็บไว้ที่นั่น อย่างนี้ถ้าเผื่อผมมีความเห็นที่ถูกต้อง ผมมิต้องรื้อพวกนี้ออกหมดเลยหรือครับ
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060