สนทนาธรรม ตอนที่ 047
ตอนที่ ๔๗
ผู้ฟัง เรียนให้ทราบว่าที่บ้านของผมมีห้องพระ ห้องพระนี้ก็มีพุทธรูปแล้วก็มีพระพุทธรูปหลายปางหลายองค์ ใหญ่มากทีเดียว สมัยก่อนคุณพ่อสะสมไว้แล้วก็ในที่นั้นก็ยังมีพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมอยู่อีกที่หนึ่ง พระพิฆเนศอยู่ที่หนึ่ง อะไรต่างๆ เหล่านี้เป็นต้นแม้กระทั่งอัฐิของพ่อผม ผมก็จะเก็บไว้ที่นั่น ถ้าเผื่อผมมีความเห็นที่ถูกต้อง ผมมิต้องรื้อพวกนี้ออกหมดหรือครับ คือหมายความว่าก็คงจะมี คือผมจะต้องรักษานั่นต่อไปอีกไหมว่าเวลาผมเข้าไปสวดมน์แล้วผมจะมีความรู้สึกว่าเอ๊ะนี่ไม่ควรจะตั้งอันนี้ไว้ที่นี่ อันนี้ไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะต้องนับถือได้ต่างๆ เหล่านี้ อันนี้มันเป็นสิ่งที่ติดข้องครับเพราะว่าผมเองยังไม่ทราบ ผมเข้าใจตามที่ท่านอาจารย์สอนผมเข้าใจแต่เพียงเข้าใจ เพียงเท่านั้น
ท่านอาจารย์ คือเป็นเรื่องของทิฏฐิทั้งหมด ที่เราควรจะได้คุยกันให้กระจ่างชัดเจนจริงๆ เพื่อเราจะได้เข้าใจถูกต้อง เพราะมันไม่มีตัวใครเลยสักคนเดียวนอกจากมีสภาพของจิตใจซึ่งเราก็ต้องแยก และรู้ชัดในสภาพของจิตนั้น คุณวีระนับถือใครที่สุด
ผู้ฟัง ผมถึงพระสัทธรรมของพระสัมมาพุทธเจ้าผมขณะนี้ถึงแม้ผมจะไม่ได้ประจักษ์ธรรม หรือประจักษ์สิ่งที่เป็นจริงได้โดยความรู้สึกของผมเองเลย ผมก็นับถือพระพุทธเจ้ามากที่สุด เพราะผมเข้าถึงพระไตรคมน์
ท่านอาจารย์ สูงสุดเพราะ
ผู้ฟัง เพราะผมคิดว่าพระธรรมของท่านเป็นบางส่วนที่ผมศึกษาแล้วสามารถพิสูจน์ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งจริง สามารถแก้ความรู้สึกที่ผมคับแค้นอะไรต่างๆ ลงได้
ท่านอาจารย์ เพราะพระองค์เป็นผู้เลิศประเสริฐด้วยพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ ใช่ไหม
ผู้ฟัง อันนั้นก็ฟังท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเป็นความจริงคือเราไปถามใครก็ตามที่เป็นชาวพุทธ ทุกคนจะต้องไม่มีใครเหนือพระอรหันต์จะสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราควรจะให้เขามีเหตุผลมากกว่านั้น คือเพราะอะไร ไม่ใช่อยู่ดีๆ นับถือตามๆ กันมาแล้วเราก็ไม่สามารถจะตอบได้
ผู้ฟัง อันนี้จริง
ท่านอาจารย์ แต่เราต้องตอบได้ว่าท่านเป็นผู้ที่หมดจดจากกิเลส และไม่ใช่หมดจดอย่างสาวกด้วยเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่ได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง และทรงแสดงพระธรรม เพราะฉะนั้นไม่ควรที่จะมีใครเสมอเหมือน เพราะฉะนั้นที่ที่เรากราบไหว้ก็ควรจะเป็นที่พิเศษใช่ไหม ไม่ใช่ว่ามีอะไรต่ออะไรเข้าไปรวมอยู่ด้วยในที่นั้น มิฉะนั้นก็เสมอกัน
ผู้ฟัง ดิฉันอยากเรียนถามว่าผู้ใหญ่จะบอกว่า โรคภัยไข้เจ็บที่จะเกิดมักจะขาดธาตุดิน น้ำ ลม ไฟอะไรนี่ไม่เสมอกันอะไรอย่างนี้ ธาตุที่จะขาดนี่จะมาจากอกุศลกรรมอันไหนบ้างไหมขอให้พยายามแจกแจงให้เข้ามาถึงธาตุด้วยเพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนที่เจ็บไข้ หรือไม่ค่อยสบายกัน เพราะว่าธาตุไฟร้อนไป อาจจะโทสะแรง หรืออะไรอย่างนี้ ขอให้อาจารย์สมพรให้ข้อความอันนี้ด้วย
อ. สมพร รูปคือร่างกายของเรา เกิดจากสมุฏธาน ๔ เกิดจากกรรม เกิดจากจิต เกิดจากอุตุ เกิดจากอาหาร ในร่างกายของเราธาตุไม่สมบูรณ์เกิดจากกรรมก็ได้ หรือเกิดจากอุตุคือความเย็นความร้อนก็ได้ ทำให้ธาตุเปลี่ยนไปไม่สมบูรณ์ หรือเกิดจากอาหารก็ได้ เมื่อธาตุ ๔ ไม่สมบูรณ์กันร่างกายก็เป็นทุกข์ ถ้าเกิดจากกรรมก็เป็นผลของกรรม เพราะว่าร่างกายของเราเนี่ยเป็นปรมณู ประชุมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เกิดขึ้นอายุ มีอายุ ๑๗ ขณะของจิตแล้วก็ดับไป ในร่างกายของเรา ๑๗ ขณะเร็วมาก แต่ว่าประชุมกันเป็นกลุ่มก้อนเกิดติดต่อสืบต่อกันไป เราไม่เห็นความเกิดความดับของรูปในร่างกายนี้เลย เมื่อไม่เห็นเราก็สำคัญผิดไปอย่างอื่น แท้จริงพระองค์ตรัสว่า รูปบางอย่างที่พิบัติไปเกิดจากกรรมก็มี เกิดจากอุตุก็มีอุตุคือความเย็นความร้อนทุกวันนี้บางครั้งเราก็ประสบหนาว ร่างกายก็เปลี่ยนไปแต่แท้จริงที่เกิดจากกรรมก็มีมากเหมือนกัน กรรมสร้างขึ้นไม่สร้างรูปที่ดีให้เกิดขึ้น ธาตุก็พิการไม่สมดุลเมื่อธาตุไม่สมดุลก็ร่างกายก็ไม่เป็นปกติอาจจะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเป็นอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะว่าถ้าเป็นไข้ที่เราบอกว่าถ้าเกิดจากกรรมก็เป็นผลของกรรมที่กระทำไม่ครบองค์ หรือกรรมที่เบาๆ นี่เป็นผลของกรรม รูปจะเจริญ หรือเสื่อมลง ต้องถือกรรมเป็นประธานแต่ก็ต้องถือ ๔ อย่างขาดไม่ได้ เพราะว่ารูปจะเป็นอยู่สมบูรณ์ได้เพราะอาศัยเหตุ ๔ อย่าง กรรมที่ดี อุตุที่ดี อาหารที่ดี จิตที่ดี จิตที่ไม่ดีก็สร้างรูปที่ไม่ดีเกิดขึ้นเช่นเราโกรธจัดบางครั้งเรารับประทานอาหารท้องไส้ ก็ไม่ย่อย นี่เกิดจากจิตก็ได้ร่างกายของเรา เราต้องยึดถือ ๔ อย่างนี้เป็นหลัก
ผู้ฟัง ถ้าจะยึดถือ ๔ อย่าง อันที่จริงน่าจะเป็นรับวิบากอย่างเดียวน่าจะเป็นกรรมอย่างเดียว
อ. สมพร แต่เวลาที่ให้ผล
ผู้ฟัง เวลาให้ผล กรรมส่งผลรูปไม่ดี ทำให้เรารูปเกิดขึ้นไม่ดี เวลาที่เกิดอาพาต เกิดไม่สบายแล้วก็เราบอกว่า อาจจะจากอุตุก็ได้ใช่ไหม เกิดความเย็นความร้อนมากเกินไปก็ทำให้มหาภูตรูปเราเนี่ยมันสียไป ก็เพราะว่ากรรมส่งผลมาให้เราได้รับ ทางกาย ก็หนีกรรมไม่พ้นอีก
อ. สมพร หนีไม่พ้นแน่
ผู้ฟัง หรืออาหาร (หนีไม่พ้นแน่) ก็หนีไม่พ้น ก็อาหารก็ต้องเป็นเรื่องของเรารับวิบากก็ต้องหนีไม่พ้นกรรมสักอย่าง
ท่านอาจารย์ ต้องแยกใช่ไหมเวลาที่โรคภัยเกิด รูปนั้นเกิดเพราะจิตก็ได้เพราะกรรมก็ได้ เพราะอุตุก็ได้ เพราะอาหารก็ได้นี่ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เป็นเรื่องของรูปแต่ขณะจิตที่จะเกิดขึ้นรู้สภาพที่กำลังเป็นอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจขณะนั้นเป็นอกุศลวิบาก เพราะฉะนั้นต้องเกิดเพราะอกุศลกรรม ไม่ได้หมายความว่าคนป่วยไข้จะมีทุกขเวทนาตลอดไป เวลานอนหลับก็ไม่เป็นไรใช่ไหม กลางวันก็ปวดเมื่อยต่างๆ แต่พอตอนหนึ่งคืนก็หลับสบาย เพราะเหตุว่าขณะนั้นไม่ใช่กรรมที่จะทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นรับผลของกรรมทางกาย แต่มีเหตุคือมีโรคซึ่งเกิดจากกรรมก็ได้ จากจิตก็ได้ จากอุตุก็ได้ จากอาหารก็ได้ แต่ส่วนขณะจิตจริงๆ ที่จะเป็นวิบากต้องขึ้นอยู่กับกรรม เพราะฉะนั้นคนที่ป่วยไข้ ก็ยังมีระยะเวลาซึ่งบางกาละก็ไม่เจ็บไม่ปวดไม่ใช่ว่าจะต้องปวดตลอดไป
ผู้ฟัง หมายความว่ากำลังเจ็บปวดนั่นหมายความว่านั่นคือกรรม
ท่านอาจารย์ เรากำลังพูดถึงโรคตัวโรคเป็นรูป ซึ่งเกิดจากกรรมก็ได้ เกิดจากจิตก็ได้ เกิดจากอุตุก็ได้ จากอาหารก็ได้ ที่ใช้คำว่าตัวโรคเป็นรูป ก็เป็นเพราะเหตุว่านามธรรมจะไม่มีโรคภัยแบบกาย โรคภัยของนามธรรมก็คือกิเลส แต่ว่าสำหรับรูปร่างกายที่เราบอกว่าเราป่วย หรือเป็นโรคต่างๆ เป็นเรื่องของรูปทั้งหมด แต่เมื่อรูปนั้น ความเกิดขึ้นของธาตุทั้ง ๔ ไม่สม่ำเสมอเพราะอาศัยกรรมเป็นสมุฏฐานทำให้รูปนั้นไม่สม่ำเสมอ หรือว่าเพราะอาศัยจิต เพราะอาศัยอุตุ หรือเพราะอาศัยอาหาร เป็นเรื่องรูปซึ่งพิกลพิการ อาจจะหนักอาจจะไม่คล่องแคล่วอาจจะทำให้เกิดบวม หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ว่าตัวจิตที่กำลังเกิดขึ้นรู้สิ่งที่กำลังกระทบกาย ชั่วขณะนั้นต้องเป็นวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกรรม
เพราะฉะนั้นแสดงว่าถึงแม้ว่าโรคจะเกิดจากสมุฏฐานใดๆ ก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า จิตจะเกิดขึ้นรู้อนิจอารมณ์ที่กายตลอดไป ต้องแล้วแต่ว่าขณะใดเป็นผลของกรรมอะไร เพราะว่าคนป่วยก็มีการเห็นทางตา ซึ่งขณะนั้นเป็นผลของกรรม การเห็นทางตานี้เป็นผลของกรรม เช่นเดียวกับการกระทบสัมผัสกายก็เป็นผลของกรรมเหมือนกันแต่ว่าต่างชนิด เพราะเหตุว่าทางตาเห็นอย่างหนึ่ง ทางกายกระทบสัมผัสอย่างหนึ่ง แต่ให้ทราบว่าการที่วิบากจิตทั้งหลายจะเกิดได้เพราะกรรมเป็นปัจจัย แต่ส่วนตัวโรคนี่มีสมุฏฐานได้ ๔ อย่าง เพราะฉะนั้นคนป่วยไม่ใช่ว่ามีทุกขเวทนาตลอด ขณะที่กำลังเห็นไม่ใช่ทุกขเวทนา ขณะที่กำลังได้ยินเสียงไม่ใช่ทุกขเวทนา ขณะที่กำลังหลับทั้งๆ ที่ยังป่วยอยู่ก็ไม่ใช่ทุกขเวทนา แต่ขณะใดที่ทุกขเวทนาเกิดกับจิตขณะนั้นเป็นผลของกรรม
ผู้ฟัง จะเป็นได้ไหมว่า ถ้าบางคนมีโทสะมากก็ทำให้ธาตุไฟ ถ้าเราจะไปเทียบแบบทางโบราณผู้ใหญ่บอกว่า ธาตุไฟนี่ไม่สม่ำเสมอ หรือธาตุที่ ๔ ไม่สม่ำเสมอนี่จะเป็นไปได้ไหมถ้าว่าบางคนที่มีโทสะจริตมาก อาจจะทำให้ธาตุไฟในร่างกายนี่มาก แล้วก็เกิดเป็นโรคภัยขึ้นมาซึ่งเราไม่สามารถจะทราบ แต่ว่าพอจะเป็นข้อคิดคำนึงได้ไหมว่า ถ้าเราโมโหอะไรมากๆ อาจจะทำให้เราเป็นโรคภัยได้
ท่านอาจารย์ อันนี้เป็นได้แน่นอนเพราะเหตุว่ารูปเกิดจากสมุฏฐาน ๔ อย่าง ถ้ารูปที่เกิดจากกรรม ถึงแม้ว่าคนนั้นจะเป็นคนที่ใจดีใจบุญสุนทานแต่ก็เป็นโรคร้ายได้เพราะเหตุว่ากรรมทำให้ธาตุทั้งหลายไม่ได้ส่วนสัดที่เสมอก็เป็นโรคต่างๆ นานา บางคนอาจจะเป็นโรคมะเร็ง บางคนอาจจะเป็นโรคกระเพาะ บางคนอาจจะเป็นโรคอะไรก็ได้แล้วแต่ถ้าเป็นเรื่องของกรรม ถ้าเป็นเรื่องของจิตสภาพของจิต ซึ่งโทมนัสก็จะทำ ให้เกิดการไม่สม่ำเสมอของรูปซึ่งจะทำให้น้ำย่อยไม่ดี หรือจะทำให้เป็นโรคกระเพาะ โรคอะไรก็ได้หลายอย่าง ซึ่งเกิดจากการเครียดบ้างหรืออะไรบ้างซึ่งเป็นอกุศลจิต โรคที่เกิดจากอุตุก็อย่างความเย็นความร้อน ถ้าโรคที่เกิดจากอาหารก็คือว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นพิษ หรือไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายก็ทำให้เกิดเมา หรือว่าเกิดอาเจียน และต้องเข้าโรงพยาบาลกันนั่นก็เป็นโรคที่เกิดจากอาหาร พวกนี้เป็นรูปทั้งหมด หมายความว่าสมุฏฐานคือกรรมทำให้รูปอย่างนี้เกิด สมุฏฐานคือจิตทำให้รูปอย่างนี้เกิด สมุฏฐานคืออุตุความเย็นความร้อนทำให้รูปอย่างนี้เกิด สมุฏฐานคืออาหารทำให้รูปอย่างนี้เกิดทำให้คนนั้นเป็นโรค นี่ส่วนหนึ่งเป็นโรคอยู่แต่ไม่ได้หมาย ความว่าคนที่เป็นโรคนี่จะเกิดทุกขเวทนาตลอด บางเวลาก็ไม่เกิด แล้วแต่ว่าขณะไหนเป็นผลของอกุศลกรรมก็ทำให้วิบากจิตทางกายเกิดขึ้นรู้เฉพาะส่วนตรงที่เจ็บ ขณะนั้นต้องเป็นผลของกรรมที่ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นถ้าคนป่วยนอนหลับหรือว่าโคม่าไป เขาก็ไม่มีการที่จะรู้ทุกข์ทางกาย เพราะเหตุว่าขณะนั้นกรรมไม่ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นทางกาย แต่ว่าโรคมีเพราะว่าโรคต้องมีสมุฏฐานใน ๔ อย่างนี้แต่ว่าตัวจิตที่กำลังปวดเจ็บ หรือทรมานเพราะโรคต้องเกิดเพราะกรรม เพราะเหตุว่าเป็นวิบาก บางคนเป็นมะเร็งเขาก็ไม่ปวดเจ็บเป็นที่สมองด้วย ทานได้นอนหลับสบายๆ จนตายแต่ว่าโรคนั้นเกิดแล้วเพราะกรรม หรือเพราะอุตุ หรือเพราะอาหาร ก็แล้วแต่สมุฏฐาน แต่ขณะใดที่ได้รับผลของกรรมต้องเป็นจิต เป็นจิตที่กำลังมีทุกขเวทนาเกิดร่วมด้วยเป็นทุกขสหคตัง เพราะเหตุว่าคำนี้จะใช้เฉพาะกับความรู้สึกทางกายเท่านั้นไม่ว่าจะปวดจะเจ็บจะเมื่อยจะคันจะอะไรก็ตามแต่ซึ่งเป็นตรงกายความรู้สึกที่ไม่สบายตรงกาย นั่นป็นผลของกรรมที่ได้รับทางกาย เป็นทุกขเวทนาด้วย
ผู้ฟัง วันนี้รู้สึกจะลึกซึ้งมาก ละเอียดลึกซึ้งคือผมเข้าใจหมายความว่าถ้าหากว่าแม้อุตุก็ดี อาหารก็ดี ถึงแม้ว่าจะมีอิธิพลก็จริงแต่ถ้าหากว่าไม่เป็นกรรมแล้วเราก็อาจจะไม่ได้ไม่ต้องรับไม่เกิดอะไรขึ้นเลยก็ได้
ท่านอาจารย์ ทุกขเวทนาไม่เกิดได้ ย่อลงมาเหลือขณะจิตเดียว วิธีที่จะเข้าใจธรรมะชัดก็คือย่อยลงมาเป็นขณะจิตเดียว วันนี้เป็นเรื่องของโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุต์ ยังไม่ต่อ
ผู้ฟัง ผมจะขออนุญาตทวนที่เรายกตัวอย่างกันในเรื่องของ ทิฏฐิคตสัมปยุตต์กับทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ในขณะที่กระผมมองเห็นดอกกุหลาบโดยทั่วไปแล้วก็เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตต์ แต่ถ้าผมใส่ความรู้สึกไปว่าดอกกุหลาบใครจะมาว่านี่ไม่ใช้ดอกกุหลาบนี่เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือนี่เป็นสี นี่เป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ผมก็ยังเถียงว่านี่แหละดอกกุหลาบนะ สวยนะอะไรต่างๆ เหล่านี้คือผมใส่ความรู้สึกอันนี้เข้าไป อันนี้ก็คือสิ่งที่เราเข้าใจว่านี่คือทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ทีนี้ในส่วนของพระโสดาบันเราก็พูดกล่าวเกินไปนิดนึงว่าในส่วนของพระโสดาบันท่านจะเห็นเป็นทิฏฐิคตวิปปยุตต์เท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ พระโสดาบันบุคคล ไม่ใช่ปุถุชน เพราะเหตุว่าปัญญาได้รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง สามารถที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมโดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมแล้วก็รู้แจ้งลักษณะของพระนิพพานคือได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะฉะนั้นจะกลับเป็นไม่รู้อีกไม่ได้ต่อให้ใครจะมาบอกว่านี่เที่ยง มีผู้นั้นสร้างขึ้นมาไม่ได้เกิดขึ้นเองเพราะเหตุปัจจัยเลย อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นมาลอยๆ สำหรับพระโสดาบันนั้นรับไม่ได้เป็นไปไม่ได้เพราะเหตุว่าไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะว่าได้ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นจะไม่มีความเห็นผิดใดๆ เลยทั้งสิ้นไม่ว่าจะความเห็นผิดที่เป็นนิยตมิจฉาทิฎฐิ หรือความเห็นผิดอื่นๆ ทั้งหมดไม่มีเลย
ผู้ฟัง อย่างนั้นพระโสดาบันก็ไม่มีทิฏฐิคตสัมปยุตต์
ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่ใช่พระโสดาบันถ้ายังมี
ผู้ฟัง ขออนุญาตครับถ้าอย่างนั้นพระโสดาบันยังละโลภมูลจิตไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เพราะว่าโลภมูลจิตมี ๘ ดวงที่เกิดร่วมด้วยความเห็นผิด ๔ ดวงไม่เกิดกับความเห็นผิด ๔ ดวง สำหรับพระโสดาบันโลภมูลจิตที่เกิดร่วมกับความเห็นผิดไม่เกิดเลยตั้งแต่เป็นพระโสดาบันแล้วจะไม่เกิดเลย เหลือเพียงโลภมูจิตทิฏฐิคตวิปปยุตต์คือไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยเท่านั้น
ผู้ฟัง ที่นี้ท่านเห็นดอกกุหลาบแล้วท่านจะก็เกิดโลภมูลจิตไหม
ท่านอาจารย์ โลภมูลจิตได้เพราะมีเหตุจะให้ชอบ ท่านไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล ท่านรู้ด้วยว่าลักษณะที่ชอบนั้นเป็นธรรมะชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ตัวท่าน เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิด โทสะท่านก็มีเมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิด
ผู้ฟัง ทัั้งๆ ที่ท่านก็รู้ว่าอันนี้ก็คือสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เพราะท่านต้องรู้ว่าแม้โลภะก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ตัวท่าน เพราะฉะนั้นเมื่อมีเหตุปัจจัยโลภะเกิดก็คือนามธรรมชนิดหนึ่ง
ผู้ฟัง ในแง่สภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นธรรมะหมดสำหรับพระโสดาบัน
ผู้ฟัง เห็นว่าเป็นเราเพราะความสำคัญผิดคือมานะ เห็นว่าเป็นเราเพราะความติดข้องคือมานะอันนั้นก็ดูเหมือนจะเป็นเป็นการเห็นผิดไปทั้งนั้นอาจารย์ คือมันเป็นคล้ายๆ ฟังแล้วเหมือนว่าเป็นเรามันผิดไปจากปรมัตถ์ว่าเป็นอัตตาเหมือนกัน เห็นผิดนะใกล้กับความเห็นผิดมากๆ ท่านอาจารย์สุจินต์มีความคิดอย่างไร
ท่านอาจารย์ โลภะเป็นความติดข้อง จะมีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย หรือว่าไม่มีฐิเกิดร่วมด้วยก็ได้ จะมีมานะเกิดร่วมด้วย หรือว่าไม่มีมานะเกิดร่วมด้วยก็ได้ เพราะฉะนั้นต้องแยกลักษณะของเจตสิก คือโลภะเป็นสภาพที่ติดข้องขณะใด ขณะนั้นคือลักษณะของโลภะ แล้วก็เวลาที่เกิดความสำคัญตนขึ้น ก็จะเห็นได้ว่าความสำคัญตนมีเพราะโลภะ ความติดข้องถ้าไม่มีโลภะไม่มีความติดข้องความสำคัญตนมีไม่ได้
เพราะฉะนั้นอย่างพระอรหันต์ดับโลภะดับมานะไม่มีความสำคัญตน แต่สำหรับพระโสดาบันท่านดับโลภะ และก็ดับทิฏฐิความเห็นผิด เพราะเหตุว่าความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นตัวตน ด้วยความเห็นจริงๆ เพราะเหตุว่าคนที่ไม่เคยฟังพระธรรมมาก่อน ถ้าบอกเขาว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตนนี่ยากที่จะเชื่อ บางคนก็ไม่ยอมเชื่อเลย ดิฉันได้เคยพบกับคนที่บอกเขาแล้วว่าไม่มีโต๊ะ ไม่มีเก้าอี้ ไม่มีคน ไม่มีสัตว์เขาบอกเป็นไปไม่ได้คือไม่ยอมเชื่อเลยจริงๆ นั้นเป็นความเห็น ที่เห็นว่าต้องมีสิ่งซึ่งปรากฏแน่นอน ซึ่งทั้งๆ ทีเราก็เริ่มศึกษา และเริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าที่จริง และของที่มีจริงๆ เนี่ยลองพิจารณาให้ชัดสิว่าอย่างไหนถูกอย่างไหนผิด เช่นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาขณะนี้ อะไรแน่ที่ถูก เป็นเพียงสภาพธรรมที่ปรากฏเมื่อเห็น อันนี้ถูก หรือว่ามีโต๊ะ มีคน มีเก้าอี้ มีสัตว์มีสิ่งของจริงๆ อันนี้ต้องเป็นสิ่งซึ่งเราศึกษาธรรมะแล้วเราก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าลักษณะของโลภะนั้นเป็นความติดข้องต้องการ เพราะว่าเจตสิกแต่ละชนิดแยกกันละเอียดมาก อย่างอวิชชาความไม่รู้จะให้เป็นความรู้ก็ไม่ได้ เวลาที่อวิชชาเกิดยังไงๆ ก็ต้องไม่รู้สภาพธรรมทั้งๆ ที่ทั้งหมดขณะนี้เป็นสภาพธรรม ทางตาที่กำลังปรากฏสิ่งที่ปรากฏก็เป็นธรรมะ เห็นก็เป็นธรรมะ คิดก็เป็นธรรมะ สงสัยก็เป็นธรรมะ สนใจก็เป็นธรรมะ ทุกอย่างหมดเป็นธรรมะ แต่อวิชชาก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าทั้งหมดนี้เป็นธรรมะแต่ละลักษณะ เพราะเหตุว่าไม่เคยรู้
เพราะฉะนั้นก็มีความติดข้องมีความเห็นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด นี่คือยึดถือด้วยโลภะยึดถือด้วยทิฏฐิ แต่ว่าถ้ายึดถือด้วยมานะก็เป็นความสำคัญตน เพราะฉะนั้นต้องแยกความคิดเห็นออกจากความสำคัญตน ต้องแยกเจตสิก ๒ อย่างนี้ออกก่อนแล้วถึงจะรู้ว่าขณะใดที่ทิฏฐิเกิด ขณะนั้นไม่ได้มีมานะความสำคัญตนเกิดร่วมด้วย ขณะใดที่มานะความสำคัญตนเกิดขึ้นขณะนั้นไม่มีความเห็นใดๆ เป็นแต่เพียงสภาพความสำคัญตนความทะนงตัว หรือว่าความเย่อหยิ่ง หรือว่าความเห็นว่าตนเองเองใหญ่ นั่นคือลักษณะของมานะความสำคัญตน ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าเวลานี้ถ้าใครจะเกิดมีความสำคัญตนเกิดขึ้นรู้ได้เลย ลักษณะของความสำคัญตนกำลังปรากฏขณะนั้นไม่มีความเห็นใดๆ ในเรื่องของสภาพธรรมทั้งสิ้นในเรื่องโลกจะเกิดจะแตกจะดับจะไม่เกิดจะอะไรพวกนี้ไม่มีเลย เพียงแต่ว่ามีความสำคัญตัวเท่านั้นเอง ไม่ใช่ดูคนอื่น ดูคนอื่นไม่รู้จริงๆ แต่ดูตัวเองจะรู้ได้ คนอื่นเราเดา และเราคิดเอา จริงๆ เขาจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า หรือเขาจะเท่าเรา หรือจะน้อยกว่าเราไม่ใช่เป็นเรื่องวัด ไม่ดูคนอื่น เพราะว่าจริงๆ แล้วทุกคนมีมานะ แล้วก็ต้องเป็นพระอรหันต์ถึงจะดับมานะได้
ผู้ฟัง มี ถูกแต่เวลาที่มัน มันเป็นคนที่
ท่านอาจารย์ ก็เพราะเหตุว่าว่าคนอื่นมองเห็นเขาแต่เราไม่ได้ดูตัวเรา ใช่ไหม ขณะที่เราดูตัวเรา เราจะเห็นมานะของเราแต่เวลาเราดูคนอื่นให้เราไปเห็นมานะของคนอื่น เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะดู หรือรู้มานะของตัวเองจะได้รู้ว่ามันเท่าเขาหรือเปล่า เพราะไปเห็นของคนอื่นเขาแต่ของตัวเองไม่เห็น เพราะฉะนั้นก็เทียบไม่ได้ ดีที่สุดก็คือว่าไม่จำเป็นต้องไปมองคนอื่นเลย เรื่องของธรรมะต้องรู้ว่าเราอยู่ในโลกคนเดียวกับความคิดนึกเรื่องคนอื่น
เพราะฉะนั้นขณะใดที่คิดนึกเรื่องคนอื่นเป็นเพียงเรื่อง แต่สภาพจิตที่คิดนี่เป็นตัวที่เราเคยยึดถือว่าเป็นเรา กำลังมีเรื่องของคนอื่นเป็นอารมณ์ คือการศึกษาธรรมะต้องให้รู้จริงๆ แล้วก็เกิดความเห็นถูกขึ้นแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจชัดในลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเป็นหนทางเดียวซึ่งจะทำให้ละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ถ้าเรายังออกไปเป็นเรื่องของคนอื่นนอกไปอีกก็ไม่มีวันจบแต่ถ้ากลับมาถึงโลก (ของเราเอง) เป็นจิต และก็กำลังมีเรื่องคนอื่นเป็นอารมณ์ก็จะได้รู้ชัดว่าแท้จริงแล้วขณะนั้นเป็นความคิดนึก แล้วเรื่องของโลติกะคือได้แก่เจตสิก ๓ คือโลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก มานะเจตสิกซึ่งอยู่ในประเภทของโลภมูลจิต หมายความว่าจะเกิดกับจิตอื่นไม่ได้เลยนอกจากโลภมูลจิต คือทิฏฐิก็ต้องเกิดกับโลภมูลจิต มานะก็ต้องเกิดกับโลกมูลจิต ด้วยเหตุนี้เราใช้คำว่า "โลภะมูละ" เพราะเหตุว่าโลภะเป็นมูล
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060