สนทนาธรรม ตอนที่ 048


    ตอนที่ ๔๘


    ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้เราใช้คำว่า "โลภะมูละ" เพราะเหตุว่าโลภะเป็นมูลเมื่อโลภะเกิดกับจิตนั้น จิตนั้นจึงชื่อว่าโลภมูลจิตหมายความว่าต้องมีโลภะแน่นอนแต่ส่วนจะมีทิฏฐิก็ได้ไม่มีก็ได้มีมานะก็ได้ไม่มีมานะก็ได้ ด้วยเหตุนี้แม้แต่ชื่อก็บ่งชัดแล้วว่าโลภมูลจิต คือจิตซึ่งมีโลภะเป็นมูล ไม่ได้ใช้คำว่าทิฏฐิมูลจิตหรือว่ามานะมูลจิต แต่ใช้คำว่าโลภมูลจิตเพราะเหตุว่าโลภะนั้นเป็นมูล ต้องมีโลภะขณะนั้นส่วนจะมีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย หรือไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยนี่ก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่าถ้ามีทิฏฐิขณะใด หมายความว่าจิตในขณะนั้นเป็นจิตประเภทโลภมูลจิต ถ้ามีมานะขณะใดให้ทราบว่าขณะนั้นเป็นจิตประเภทที่เป็นโลภมูลจิต เพราจะเกิดกับอกุศลจิตอื่นคือโทสมูลจิต และโมหมูลจิตไม่ได้ต้องเกิดกับโลภมูลจิตเท่านั้น

    ผู้ฟัง แล้วทำไมจึงใช้คำว่าโลติกะนี่เป็นเครื่องเนิ่นช้า

    ท่านอาจารย์ เนิ่นจริงๆ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็นเครื่องช้าอย่างไรอยากจะให้อาจารย์อธิบายว่าทำไมเนิ่นช้า

    ท่านอาจารย์ ก็เพราะว่ามีความติดข้องใช่ไหม

    ผู้ฟัง เนิ่นช้าในที่นี้หมายความว่าเราเนิ่นช้าในการเข้าถึงพระธรรม หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ แน่นอนไม่ไปเนิ่นช้าที่อื่นหรอก

    ผู้ฟัง แหมงั้นมีอยู่นี่เราก็ไม่เข้าถึงสักทีมันก็เนิ่นช้าไปเรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถึงต้องรู้กำลังของอกุศล ไม่อย่างนั้นเราไม่ต้องมานั่งเรียนเรื่องโลภมูลจิต เราเรียนเพื่อเราจะได้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วสภาพธรรมที่เป็นเครื่องทำให้เนิ่นช้าที่จะต้องอยู่ในสังสารวัฎฏ์ต่อไปอีกยาวนานนั้นน่ะคืออะไร ถ้ามีโลภะ และยังมีความเห็นผิดด้วยนี่เพิ่มความยาวนานเข้าไปอีกไหม นี่ก็แสดงให้เห็นว่าโลภมูลจิตดวงที่ ๑ คือโสมนัสสสหคตังเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนาทิฏฐิคตสัมปยุตตังมีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วยอสังขาริกังคือไม่ต้องอาศัยการชักจูง เป็นสภาพของจิตที่สะสมมาที่มีกำลังที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับความโสมนัสยินดีในความเห็นผิด ก็เป็นจิตที่มีกำลังแรงมาก

    เพราะฉะนั้นโทษของจิตดวงนี้มากที่สุด ในประเภทของอกุศล แต่ว่าคนที่มีความเห็นผิดจะไม่รู้สึกตัวเลยว่าเขากำลังเห็นผิด เพราะเหตุเพราะความเห็นผิดมีลักษณะที่เห็นผิดในขณะนั้นจะเห็นถูกไม่ได้ พร้อมกันนั้นถ้าเป็นผู้ที่สะสมความโน้มเอียงพอใจในความเห็นผิด เวลาที่เห็นผิดจะไม่เกิดร่วมกับเพียงอุเบกขาเวทนาแต่จะเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา และก็ถัามีกำลังมากคือสะสมมามากก็ไม่ต้องอาศัยการชักจูงเลย เกิดเอง ใครไม่มีโลภมูลจิตดวงนี้คะคุณสุพรรณี ต้องมีค่ะถ้าไม่อย่างนั้นดับกิเลสไม่ได้ ใครไม่มีจิตดวงนี้ โลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์อสังขาริกังเนี่ยใครไม่มีจิตดวงนี้

    ผู้ฟัง หนูว่ามีทุกคน

    ท่านอาจารย์ ไม่สิคะถ้าถามว่าใครไม่มีถ้าอย่างนั้นก็ดับกิเลสไม่ได้

    ผู้ฟัง จะเป็นโสดาบัน

    ท่านอาารย์ พระโสดาบันบุคคล

    ผู้ฟัง หนูสงสัยว่าทำไมทิฏฐิคตสัมปยุตตังทำไมไม่มีมานะคตสัมปยุตตังค่ะอาจารย์

    ท่านอาจารย์ เราจะมีจิตของโลภมูลจิต ต่อไปจะทราบว่าแยกเป็น ๒ ประเภทคือมีทิฎฐิเจตสิกเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ส่วนอีกประเภทหนึ่ง นั้นไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยชื่อว่าทิฏฐิคตวิปปยุตต์ตัง หมายความว่าไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วย และจิตดวงนี้ไม่จำเป็นต้องมีมานะเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้นไม่ใช้คำว่ามานะสัมปยุตต์

    ผู้ฟัง แล้วมานะจะเกิดดวงไหนใน ๘ ดวง

    ท่านอาจารย์ ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ขณะใดที่ไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วยมีโลภเจตสิกเกิดแน่นอนส่วนจะมีมานะ หรือไม่มีมานะไม่จำเป็น พระโสดาบันละแน่ใช่ไหม ยังเหลือนิดๆ ไหนบ้างไหม

    ผู้ฟัง พระโสดาบันละทิฏฐิความเห็นผิด

    ท่านอาจารย์ ดับสนิทเป็นสมุทเฉทไม่เกิดอีกเลยไม่ว่าความเห็นผิดใดๆ ทั้งสิ้น

    ผู้ฟัง งั้นเราก็ปฏิบัติธรรมรีบๆ เข้าแล้วเราจะได้ละตัวนี้

    ท่านอาจารย์ นี่แหละคือตัณหาล่ะเครื่องเดินช้าล่ะ รีบๆ ปฏิบัติทำอย่างไร ยังไม่ทันเข้าใจอะไรเลยแล้วรีบๆ ปฏิบัติได้ไหม

    ผู้ฟัง ก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ค่ะเป็นเรื่องที่ว่าต้องเห็นความละเอียดของธรรมะว่าทั้งหมดนี้ต้องเป็นเรื่องของปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาเจตสิกเกิด อกุศลจิตทำ ทำทุกอย่างที่ผิดแล้วก็เข้าใจว่าถูกนั้นก็คือความเห็นผิด เพราะฉะนั้นกว่าความเห็นจะตรง ต้องตรงจริงๆ รู้ว่าขณะใดมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ขณะใดไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย

    ผู้ฟัง อาจารย์คะขอแทรกนิดนึงเมื่อกี้อาจารย์พูดคำว่าทิฏฐิคตวิปปยุตต์คำว่าทิฏฐิคตวิปปยุตต์ก็อาจจะเป็นโลภะเฉยๆ โดยไม่มีทิฏฐิเข้าร่วมด้วยหรือโลภะมีมานะ

    ท่านอาจารย์ ถ้าใช้คำว่าทิฏฐิคตวิปปยุตต์หมายความว่าไม่มีทิฎฐิแน่นอน

    ผู้ฟัง ไม่มีแต่มันก็อาจจะมีโลภะตัวเดียว

    ท่านอาจารย์ โลภะต้องมี

    ผู้ฟัง หรือมีมานะ

    ท่านอาจารย์ มีมานะเกิดร่วมด้วยก็ได้ ไม่เกิดร่วมด้วยก็ได้

    ผู้ฟัง คำว่าวิปปยุต์หมายความว่ามีมานะก็ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่มีทิฏฐิเท่านั้น นี่ดวงที่ ๑ แล้วไปถึงดวงอื่น ก็ไม่เป็นไร เพราะเหตุว่าจะได้เข้าใจขึ้นในดวงที่ ๑ แต่ว่าดวงที่ ๑ เป็นสิ่งซึ่งต้องมีความเห็นถูกต้องตรงจริงๆ อย่าให้เหลืออะไรซึ่งเป็นเค้าหรือว่าเป็นอาการของความเห็นผิด เพราะเหตุว่าทั้งหมดไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    ผู้ฟัง อันนี้ขอทบทวนอีกนิดหนึ่ง ที่อาจารย์บอกว่าดวงที่ ๑ มีกำลังแรงมากอันนั้นมันเกิดมาจากการสะสมจึงเป็นอสังขาริกังจึงไม่ต้องมีการชักจูงมันเหตุจากการสะสมใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ อะไรหลงเหลือบ้างไหม

    ผู้ฟัง คราวนี้ก็คงมีความเห็นผิดหลงเหลืออยู่แยะครับในเรื่องของความเห็นผิดของกระผมที่เกี่ยวกับเรื่องการสวดมนต์เพื่อจะมีความสุขสบายกายสบายใจนี่ก็คิดว่าได้เปลี่ยนไป เป็นการสวดมนต์เพื่อจะให้เข้าใจถึงว่าการระลึกถึงพระคุณของพระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าพระธรรมเจ้าพระสงฆ์พระเจ้า

    ท่านอาจารย์ อันนี้ถามนิดนึง ว่าเป็นการถูกต้องไหม ผมได้รับฟังจากคราวที่แล้วที่นี่ผมคิดว่าอันนี้น่าจะเป็นการถูกต้องเพราะว่าทำให้ความมีความสงบเกิดขึ้นจากการที่ว่า

    ท่านอาจารย์ แม้แต่คำที่ว่าถูกต้อง ก็ขอให้ทุกคนช่วยกันคิด ว่าเพราะอะไรจึงถูก การที่ปัญญาจะเจริญ อาศัยการไตร่ตรองการพิจารณาการคิดจนกระทั่งตรงกับเหตุผลจริงๆ ที่ว่าแต่ก่อนนี้เคยสวดมนต์เพราะว่าหวังที่จะให้จิตใจสงบใช่ไหม

    ผู้ฟัง หวังที่จะให้มีความสุขสบาย

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ สุขสบายนี่โลภะหรือว่าสงบ

    ผู้ฟัง โลภะ

    ท่านอาจารย์ หวังที่จะให้สุขสบายนั่นอย่างหนึ่ง สวดเพราะหวังว่าจะให้สุขสบายซึ่งขณะนั้นเป็นด้วยกำลังของโลภะจึงทำให้สวดเพราะหวังจึงสวด แต่ทีนี้ถ้าเปลี่ยนจากการที่เคยหวัง มาเป็นสวดเพราะว่าระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ซึ่งเป็นการถูกต้องก็อยากจะให้ช่วยกันคิดว่าเพราะอะไรจึงกล่าวว่าเป็นการถูกต้อง ถ้าฟังคนอื่นบอกก็ง่ายแล้วก็ไม่ได้คิดเองแต่ถ้าคิดเองจะจำได้แล้วก็จะรู้ว่าเหตุผลเป็นจริงๆ อย่างนั้น หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เราฟังพระธรรมคือว่าเราฟังแล้วเราเข้าใจ และการสวดมนต์แล้วแบบว่าอยากสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้าว่าท่านมีคุณ แหมบรรยายไม่ออกล้ำลึ้ก ตั้งแต่เกิดมาเราก็ไม่เคยเห็นพระคุณใครเหมือนพระคุณของพระพุทธเจ้า คล้ายๆ เรามีความบันเทิงใจว่าแหมกิเลสทุกๆ อย่างที่มันกลั่นกรองออกมาถ้าเราไม่ฟังธรรม เรายังไม่มีโอกาสรู้เลย เพราะชีวิตของเรามีแต่ปม แต่ปม ปมทุกวันเพราะแก้ปมนี้ไปเจอปมนั้น พอแก้ปมนั้นไปเจอนั้น ถ้าเราฟังพระธรรมเวลาเราสวดมนต์เราระลึกถึงพระคุณของพระองค์ท่าน ถ้าเราไม่มีท่านเราคงทุกข์แสนที่จะทุกข์ ดิฉันมีความคิดอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ อันนี้ถ้าคุณธงชัยอยู่ที่นี่นะคะ ประโยคของคุณธงชัยก็คือว่าไพเราะ

    ผู้ฟัง ดิฉันไม่รู้จักกล่าวอย่างไรมันมีความบรรเทิงใจเหลือเกินที่เวลาได้ฟังคำของพระพุทธเจ้า ฟังพระธรรมทีไรเรามีความบันเทิงใจโอ้ยเราขึ้นมาอีกนิดนะเหมือนเราอยู่ในหุบเขาเราเห็นแสงสว่าง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็เป็นการสรรเสริญด้วยการรำลึกถึงพระคุณจากการที่ได้ฟังพระธรรม

    ผู้ฟัง อยากจะถามอาจารย์อีกอย่างคือคนมีความเห็นผิด คือว่าค่ำเช้าเขาจะทำวัดเช้าทำวัดค่ำ เขาจะมีโอกาสบ้างไหม คล้ายๆ หนทางเขาก็อยากจะไปนิพพานแต่เค้าเดินไม่ถูก แล้วเขาจะมีโอกาสบ้างไหม

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมเป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น ตรงตามที่คุณปทุมพูดทุกอย่างเลยว่าเขาไม่รู้เมื่อไม่รู้แล้วจะถึงได้อย่างไร

    ผู้ฟัง ฉันมีพี่ชายอยู่คนฉันเห็นเขาสวดมนต์ฉันก็ได้แต่นึก แต่เขาไม่ฟังเขาไม่ฟังเหตุผล เนี่ยเขาก็สวดทุกวันเขาสวดดังๆ เลย ชาวบ้านชาวช่องก็ได้ยินหมด แต่อย่างเรานะคนอื่นก็เคยเห็นเราเป็นยายสีตาสาแต่เราก็นึกสงสารเขา ว่าเขาอุตส่าห์สวดเช้าสวดค่ำ เขาก็อยากจะไปถึงแต่เขาไม่รู้ ก็แบบว่าอาจารย์บอกว่าสวดด้วยโลภะ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นธรรมะนี้เป็นเรื่องละเอียดจริงๆ เป็นเรื่องที่จะต้องรู้ว่ากุสลจิตจริงๆ นี่คืออย่างไร มิฉะนั้นแล้วเราจะไปถืออกุศลเป็นกุศลก็ได้ เป็นเรื่องของการรู้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมว่าพระพุทธศาสนาไม่สอนให้คนงมงาย ไม่สอนให้คนหลงผิดไม่สอนให้คนยึดติดแต่ต้องเป็นเรื่องละ เพราะความรู้ สิ่งซึ่งเรามีมากๆ เราต้องเห็นว่านำมาซึ่งความทุกข์หรือความสุข อย่างโลภะมีเยอะๆ มีมากๆ และผลของโลภะคืออย่างไร และทิฏฐิความเห็นผิดแม้เพียงนิดเดียว จะค่อยๆ เห็นผิดเพิ่มขึ้นๆ และก็แตกแขนงออกไปจนกระทั่งไม่รู้อะไรเลย และก็มีความเข้าใจผิดยึดมั่นในสิ่งต่างๆ ซึ่งไม่เป็นเหตุเป็นผล

    เพราะฉะนั้นความเห็นผิดที่มีอันตรายมากซึ่งผู้ที่ศึกษาธรรมะทุกคนต้องเป็นผู้ที่ตรงแล้วก็เมื่อตรงแล้วสิ่งใดผิดคือผิด เมื่อผิดแล้วยังยึดถืออยู่ต่อไป หรือเปล่า ถ้ายึดถืออยู่ต่อไปก็ไม่มีใครช่วยได้ชาติหน้าต่อไปก็เห็นผิดเพิ่มขึ้นอีก และก็ไม่มีอะไรจะไปละได้ เพราะฉะนั้นโลภมูลจิตดวงที่ ๑ มีโทษซึ่งทุกคนจะต้องพิจารณาจริงๆ ค่อยๆ แกะค่อยๆ ทิ้ง ค่อยๆ ละ ค่อยๆ เว้นสิ่งที่ผิดหรือเห็นผิดออก มิฉะนั้นก็ทำให้ไม่สามารถจะเข้าใจในพระธรรมได้

    ผู้ฟัง อย่างนี้เขาก็ไปตามกรรมของเขา

    ท่านอาจารย์ ทุกคน ทุกคนมีกรรมเป็นของๆ ตน เรื่องความเห็นผิดนี่น่าสนใจ เมื่อกี้นี้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง คือเรื่องสวดมนต์ซึ่งทุกคนก็จะต้องเข้าใจให้ถูกค่ะว่าต่อไปนี้อย่าได้ไปหวังอะไร หรือว่าคาถาทั้งหลายซึ่งใครมาพร่ำพรรณาว่ามีสวดแล้วจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็เป็นอันให้เข้าใจจริงๆ ว่าขณะนั้นเป็นเรื่องติดไม่ใช่เป็นเรื่องที่ให้เข้าใจถูกในพระพุทธคุณเลย หรือว่าในพระธรรมที่ได้ฟัง เรื่องของโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตต์หรือว่าความเห็นผิดซึ่งเกิดกับโลภมูลจิตดวงที่ ๑ อย่าคิดว่าไกลความจริงเป็นชีวิตประจำวันจริงๆ แล้วถ้าเรามีความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ขณะนั้นเรามีความเห็นผิดต้นเหตุของการที่จะสนทนากันเรื่องนี้ที่ราชบุรีก็เพราะเหตุว่ามีคนนึง เขาบอกว่ามีท่านผู้หนึ่งท่านกล่าวว่า เมตตาไม่มีประมาณจะพบคนพาลทั้งเมือง ซึ่งคำพูดอย่างนี้ถูกได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเราไม่ใช่เป็นคนที่ฟังอะไรแล้วก็

    ผู้ฟัง อาจารย์ดิฉันไม่เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ก็นั่นสิเขาบอกว่าเมตตาไม่มีประมาณ ผลของเมตตาไม่มีประมาณก็คือว่าจะพบคนพาลทั้งเมือง

    ผู้ฟัง คำว่าไม่มีประมาณหมายความว่ามีมากมายหรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ใช่เพราะจริงๆ แล้วไม่ควรจะมีประมาณ มากเท่าไหร่ก็ดีเท่านั้น ใช่ไหมไม่ใช่จำกัด แต่ว่าคนนี้กล่าวว่าเมตตาไม่มีประมาณจะพบคนพาลทั้งเมือง เพราะฉะนั้นใครก็ตามจะพูดอะไรก็ตาม เราไม่ใช่ว่าตื่นเต้นเชื่อง่ายฟังดูก็คล้องจองดีแต่ต้องพิจารณาว่าเกิดจากความเห็นถูก หรือเกิดจากความเห็นผิดตรงกับพระพุทธพจน์ หรือไม่ตรง ตรงกับสภาพธรรมตามความเป็นจริง หรือไม่ตรง เพราะว่าถ้าคนที่มีความเห็นผิดสะสมมาจะรับทันทีว่าจริง

    เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องเมตตามาก อย่าให้มีประมาณนะเพราะว่าเดี๋ยวจะพบคนพาลทั้งเมือง ก็เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจคุณประโยชน์ของธรรมฝ่ายดี และนอกจากนั้นก็ยังไม่เข้าใจว่าเมตตานั้นมีลักษณะอย่างไร เพราะเหตุว่าจริงๆ แล้วเมตตาไม่ใช่คิด ไม่ใช่คิดว่าเราไม่เป็นศัตรู "นั่นคิด" แต่ไม่ใช่ความจริงใจ เพราะฉะนั้นเมตตานี่คือความเป็นเพื่อนไม่ต้องมานั่งคิดว่าฉันไม่เป็นศัตรูกับใครฉันไม่เป็นศัตรูกับใคร หรือว่าไม่ใช่มานั่งท่องสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข แต่ความเป็นมิตรคือผู้นั้นแหละเป็นเพื่อนจริงๆ พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้คนอื่นทันที มีความหวังดีมีความพร้อมที่จะทำประโยชน์เกื้อกูลนี่คือความเป็นมิตร หรือความเป็นเพื่อน ไม่ได้มีความหวังร้าย เพราะฉะนั้นเมตตาเกิดจะไม่เกลียดชังใคร

    เพราะฉะนั้นที่จะไปแผ่ให้คนที่ชังก็ยังมีชังอยู่แล้วก็นั่งแผ่นี่ก็ไม่สำเร็จหรอกเพราะว่าปราศจากความเป็นเพื่อน แล้วก็เรื่องต่อไปที่ยกก็คือว่าทุกคนที่ฟังธรรมะ ศึกษาธรรมะ เพื่อประโยชน์คือได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงสิ่งใดดีก็ดีอย่างเมตตาดีก็ต้องดีจะไปกล่าวว่าให้มีประมาณก็ไม่ถูกต้อง สิ่งใดไม่ดีก็ต้องไม่ดีธรรมะฝ่ายดีคือดีธรรมะฝ่ายไม่ดีคือไม่ดี ไม่ใช่มีเราหรือมีเขาแต่ธรรมะที่ดีใครจะไปเปลี่ยนสภาพธรรมะนั้นได้ อย่างความเป็นมิตรมีใครบ้างที่ไม่ต้องการ เมื่อคนอื่นต้องการฉันใด หรือเราต้องการฉันใด คนอื่นก็ต้องการฉันนั้นคือความที่เป็นเพื่อนแล้วก็พร้อมที่จะช่วยทำประโยชน์เกื้อกูล

    เพราะฉะนั้นถ้าเป็นธรรมะฝ่ายดี เราจะมาพูดกันว่าเมตตาไม่มีประมาณพบคนพาลทั้งเมืองเนี่ยก็ไม่ถูก ในเมื่อเราเป็นผู้ที่ศึกษาธรรมะเพื่อรู้ความจริงเพื่อที่จะได้ละอกุศล

    ผู้ฟัง อาจารย์คะคนที่ตั้งอันนี้เป็นทิฏฐิหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ แน่นอนเห็นผิดแน่นอน ไม่รู้จักเมตตาด้วยแล้วก็พูดไปโดยความคิดเห็นของตัวเองที่ไม่เข้าใจว่าเมตตาจริงๆ นั้นคืออย่างไร ไม่รู้จักเมตา

    ผู้ฟัง อันนี้ถ้าเผื่อเห็นผิดมันเป็นพวกสักกายทิฏฐิ หรือนิยต

    ท่านอาจารย์ ถ้าตราบใดที่ยังมีสักกายทิฏฐิก็ยังยึดถือว่าเป็นเราเป็นตัวตน

    ผู้ฟัง อันนี้เป็นสักกายหรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ตราบใดที่ยังไม่เป็นพระโสดาบันยังมีสักกายทิฏฐิ แล้วถ้ายังไม่มีความเห็นถูกเห็นสภาพธรรมะผิด หรือไม่เข้าใจเลยจะเชื่อว่าผู้นั้นรู้จักสภาพธรรมไม่ได้ สภาพธรรมคือธรรมะ ธรรมะฝ่ายดีเกิดขึ้นไม่ใช่เรา แต่ลักษณะสภาพธรรมฝ่ายดีมีลักษณะอย่างนี้

    ผู้ฟัง คืออันนี้มันไปล็อคอยู่ในล็อกไหนสีลปรามาส หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ยังมีความเป็นตัวตน ก็ยังไม่ต้องไปแจกว่ามันอุปาทานหรือมันเป็นอะไร ให้รู้จักตัวเค้าว่าเป็นความเห็นผิดก่อน และความเห็นผิดนี่จะออกไปในรูปใดบ้างมีหลายขั้นตอน แต่ให้ทราบว่านี่คือสภาพธรรมฝ่ายดีต้องดี ใครจะมากล่าวว่าไม่ดีไม่ได้ คนนั้นคือผู้ที่เห็นผิดแล้วไม่รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเรามาที่นี่เพื่อที่จะฟังธรรมะไปที่วัดเพื่อที่จะฟังธรรมะทุกอย่างเพื่อที่จะเข้าใจธรรมะให้ถูกต้อง แล้วเรายังจะแซมความเห็นผิดอะไรตามใจชอบของเราด้วยคำต่างๆ ซึ่งมันไม่ตรงนี่ก็ไม่ถูกใช่ไหม นอกจากว่าเราจะต้องฟังจนกระทั่งเข้าใจว่าเมตตานี่เป็นความเป็นมิตร และความเป็นมิตรนี่มีความหมายแค่ไหน ลองคิดดูสิคะว่าเพื่อนทุกคนใช้คำนี้บ่อยๆ มิตร หรือเพื่อน และความจริงใจเป็นเพื่อนจริงๆ น่ะขณะไหน ขณะที่โกรธไม่ใช่ ขณะที่แข่งดีไม่ใช่ ขณะที่หวังร้ายไม่ใช่ ขณะใดที่เป็นอกุศลทั้งหมดไม่ใช่ความเป็นมิตร

    เพราะฉะนั้นเราศึกษา และเราก็ร่วมกันทำกุศลใหญ่คือการศึกษาและเผยแพร่พระธรรม แต่ว่าถ้าเรายังไม่มีเมตตา หรือว่ายังไปเชื่อ คำที่ว่าเมตตาไม่มีประมาณพบคนพาลทั้งเมือง เราเผยแพร่ธรรม เราไม่ได้เผยแพร่เฉพาะกลุ่มใช่ไหม เฉพาะคนที่สนิทสนมหรือเฉพาะคนที่เรารู้จัก แต่เราเผยแพร่ทุกคนที่มีโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรมไม่ว่าจะอยู่ไกลอยู่ใกล้อยู่ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศก็ได้ที่เขาสะสมบุญมาที่จะมีโอกาสได้ฟังพระธรรม นี่คือจุดประสงค์ของการเกิดมาร่วมกันทำงานอันนี้ เพราะฉะนั้นเมตตาของเรา ต้องให้สมจริงอย่างกับที่เราทำ เราทำประโยชน์อันนี้ด้วยจิตที่เมตตาเพื่ออนุเคราะห์ให้บุคคลอื่นเกิดความเห็นถูกในพระธรรม

    เพราะฉะนั้นจิตของเราก็ต้องเห็นถูกด้วยมีความเมตตาไม่มีประมาณจริงๆ ด้วยไม่ใช่เราทำงานอย่างนี้ หรือว่าร่วมกันทำอย่างนี้แต่จิตของเรา ยังคงไปเชื่อเมตตาไม่มีประมาณคบคนพาลทั้งเมืองนี่ก็ไม่ได้ แล้วตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือว่าเวลาที่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นเช่นคนนึงยิงอีกคนนึง ทำให้พิการอาจจะตลอดชีวิต หรือว่าอาจจะทำให้ครอบครัวลำบากมีความทุกข์ยาก แล้วก็เราก็พากันจงเกลียดจงชังคนทำไม่ใช่ว่าห้า มแต่ไม่ความว่าถ้ามีเหตุปัจจัยจะเกิดโทสะก็เกิดแต่ว่าต้องรู้ว่าไม่ถูก ต้องมีความรู้ที่ถูกต้องจริงๆ ถามว่าขณะใดดีขณะไม่ดี และคนนั้นก็เหมือนกับว่าโอ้โหคนนี้ได้รับทุกข์ยากทั้งครอบครัวทั้งบ้านทั้งอะไรเพราะคนๆ เดียว ก็ต้องถามอีกว่าใครทำคิดดีๆ สิว่าใครทำ คิดออกหรือยังว่าใครทำ ถ้าคิดไม่ออกเราก็ศึกษาธรรมะมาแล้วเราก็ไม่เข้าใจเรื่องกรรม และผลของกรรมแต่ถ้าเราคิดออกก็รู้แน่เลย คนนั้นหรือทำ หรือว่ากรรมของคนนั้นทำให้เขาได้รับผล ผู้กระทำกรรมนั้นผู้หนึ่ง แต่ผู้ที่เราคิดว่ารับผลของกรรมจากคนอื่นน่ะความจริงรับผลจากกรรมของตนเองที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่เราจะต้องไปเกลียดไปโกรธไปชัง เรียกว่าไปตั้งตัวเป็นตุลาการหรือว่ารับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น เพราะว่าทุกคนนี่มีกรรมเป็นของของตนอยู่แล้ว

    เพราะฉะนั้นถ้าจิตของเราเป็นอกุศลขณะไหนเราก็สะสมอกุศล เพิ่มกิเลสของตัวเองเข้าไป และได้ประโยชน์อะไรจากการที่เราจะศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจว่าธรรมะฝ่ายดีคือดีธรรมะฝ่ายไม่ดีคือไม่ดี ถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆ แล้วก็ค่อยๆ รู้ตัวแล้วก็ละคลายเวลาที่จิตใจของเราเศร้าหมองเป็นอกุศลเพราะว่ามีความรู้มีความเห็นถูกเกิดขึ้นมีสติเกิดขึ้นขณะนั้น ยังจะโกรธเกลียดชังคนอื่นไหม อันตรายนะคะ ไม่ได้ห้ามเลยแต่ว่าน่ากลัวเหลือเกินว่าจิตคนนะจะดำลงไปอีก จะสกปรกเพิ่มไปอีกยากที่จะขัดอีกเยอะแยะทุกครั้งที่เกิดโกรธไม่เกลียดช่างคนอื่น โดยที่ไม่ใช่เรื่องของตัวเองเลยถามว่าเรื่องของใครเรื่องของเขา กรรมของใครก็กรรมของเขา แต่นี่เดือดร้อนอะไร เราผู้ฟังเดือดร้อนเห็นไหมทั้งๆ ที่ไม่ใช่เรื่องของเรา ก็ไม่ใช่กรรมของเราด้วยแต่เราเดือดร้อน

    อ. สมพร ที่อาจารย์บอกว่าเมตตาไม่มีประมาณจะคบคนพาลทั้งเมือง

    ท่านอารย์ จะพบ

    อ. สมพร จะพบคนพาลทั้งเมือง

    ท่านอารย์ คนนั้นพูด

    อ. สมพร เป็นคนเป็นคำพูดของคนที่ยังไม่เข้าใจธรรมะ เมตตาไม่มีประมาณเป็นอย่างไร หมายความว่าคนดีเราก็มีเมตตาคนชั่วเราก็มีเมตตา ญาติของเราเราก็มีเมตตาแม้ไม่ใช่ญาติเราก็มีเมตตา อย่างนี้เรียกว่าเมตตาไม่มีประมาณไม่จำกัดไม่จำกัดว่าต้องเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นใครใครทั้งสิ้นเลยเมื่อขณะที่เรามีเมตตาจิตของเราเป็นอย่างไรไม่มีโทสะก็มีความสำราญสบายใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจะพูดต่อไปว่าเมตตาไม่มีประมาณจะพบความสำราญตลอดไปจะดีกว่า เป็นอย่างไรคุณสุรีย์ ควรจะเปลี่ยนคำประโยคสุดท้ายว่าจะพบความสำราญตลอดไป

    ท่านอาจารย์ คงไม่ใช่เรื่องที่จะทุกคนทำได้วันนี้แต่หมายความว่าถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องขึ้นก็จะค่อยๆ สบายขึ้นอย่างที่อาจารย์ว่า คงขอต่อด้วยความเห็นผิดในเรื่องสวดมนต์ ไม่ทราบยังมีใครข้องใจสงสัยอะไรหรือเปล่าเรื่องสวดมนต์


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    1 ก.พ. 2567

    ซีดีแนะนำ