สนทนาธรรม ตอนที่ 051
ตอนที่ ๕๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น บอกว่านั่งวิปัสสนา ถูก หรือผิด
ผู้ฟัง ผิดค่ะ
ท่านอาจารย์ จะใช้สติถูก หรือผิด
ผู้ฟัง ผิด
ท่านอาจารย์ ใช้ปัญญาถูก หรือผิด
ผู้ฟัง ผิด
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่าสภาพธรรมไม่สามารถเป็นสิ่งที่เราไปบังคับได้
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง และอีกประการหนึ่ง ยังไม่มีจะใช้ ปัญญามี หรือไม่ อบรมเจริญ หรือยัง พูดเหมือนก็มีมาก จะใช้เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ความจริงไม่มี ต้องเจริญต้องอบรมให้เกิดขึ้น อย่างความรู้ในเรื่องธรรม ใช้ได้ไหม จะไปใช้อย่างไร ให้รู้ให้เข้าใจ ใช้ไม่ได้ ไม่มีใครใช้ได้ ความรู้ความเข้าใจในธรรมจะมีได้ต่อเมื่อฟัง และไม่ใช่ฟังเฉยๆ ต้องพิจารณา และพิจารณาเข้าใจเมื่อไหร่ ขณะนั้นเป็นปัญญาทีละเล็กที่ละน้อยจนกว่าจะคมขึ้นชัดขึ้น แล้วก็มีระดับขั้นของปัญญาขั้นต่างๆ แต่ทั้งหมด ต้องมาจากคำว่าเข้าใจ ต้องเป็นความเข้าใจจริงๆ ถ้าตราบใดที่ไม่เข้าใจขณะนั้นก็ไม่ใช่ปัญญา ไม่เข้าใจ และจะเป็นปัญญาได้อย่างไร แต่พอเริ่มเข้าใจ จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เข้าใจถูกขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือปัญญา
เพราะฉะนั้น นั่งวิปัสนาก็ผิด ทำวิปัสสนา ถูกไหม ผิด ใช้สติก็ผิด ใช้ปัญญาก็ผิด แต่ถ้าฟังธรรมให้เข้าใจขึ้นถูก หรือผิด และอะไรเป็นปัญญา พิจารณาความเข้าใจถูกจากการฟัง และการพิจารณา นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของปัญญา คราวนี้ก็หมดสงสัยเรื่องวิปัสสนาแล้วใช่ไหม เคยไปวิปัสสนา หรือไม่ ที่ไหน
ผู้ฟัง เคย
ท่านอาจารย์ ไปทำไม
ผู้ฟัง ไปปฏิบัติไปแบบสนุกๆ
ท่านอาจารย์ ถูก หรือผิด
ผู้ฟัง ก็ผิด
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นต้องเห็นโทษของโลภะมูลจิตดวงที่หนึ่ง เพราะว่าความโน้มเอียงที่ละเล็กทีละน้อยจะทำให้เราสะสมโดยที่เราไม่รู้ตัวว่าเราติด ซึ่งเป็นการละ หรือ แกะยากมาก เพราะว่าติดเสียแล้ว อะไรที่ผิดก็ไม่ควรจะเข้าใกล้ แล้วถ้ารู้ว่าผิด ต้องรีบทิ้งด้วย ถ้าไม่ทิ้งมันก็เกาะอยู่นั่นแหละ แล้วมันก็จะเพิ่มขึ้น ด้วยจากความเห็นผิดประการหนึ่ง มันจะโยงไปถึงความเห็นผิดทีละอย่างๆ จนกระทั่งเต็มไปด้วยความเห็นผิด เรื่องความเห็นผิดอันตรายมาก แล้วก็จะเห็นได้ว่าสำหรับผู้ที่เป็นพระอริยะบุคคลขั้นแรกที่สุดไม่ใช่ดับอย่างอื่นเลย นอกจากดับกิเลสคือความเห็นผิด มีความเห็นผิดอื่นๆ อีก หรือไม่ เพราะว่าวันนี้เราจะพูดเรื่องนี้ ให้ให้ค่อยๆ ออกไป เอาให้ได้ คือว่า พยายามเห็นว่าเป็นภัย เป็นโทษ เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะสะสม
ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์ว่า อย่างนี้ลักษณะของสำนักวิปัสสนาแต่ละแห่งแล้ว คนที่ไปปฏิบัติในแง่ความหมายนี้ก็ว่าผิด ใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ คือถ้าขณะนี้เข้าใจถูกว่าเป็นสภาพธรรม แล้วการเข้าใจเรื่องสภาพธรรมเพิ่มขึ้น นี้คือการอบรมเจริญปัญญา แล้วการฟังขณะนี้เป็นเพียงฟังเรื่องของธรรม เรื่องจิต เรื่อง เจตสิก เรื่องเห็น เรื่องได้ยิน ทั้งๆ ที่จิตเห็นกำลังเกิดแล้วเห็น จิตได้ยินกำลังเกิดแล้วได้ยิน นี่แสดงให้เห็นว่าเราฟังเรื่องธรรม ซึ่งบางคนอาจจะฟังมาเป็น ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๓๐ ปี แต่ไม่รู้จักตัวจริงของธรรม
เพราะฉะนั้น ก็มีปัญญาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งอาศัยการฟังมากๆ จะรู้ได้ ระลึกขึ้นได้กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นสภาพธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ ลักษณะรู้ ไม่มีรูปร่างสัณฐานเลย แต่จิตประเภทนี้เกิดขึ้นจะต้องเห็นสิ่งที่ปรากฏ แสนโกฎกัปมาแล้วที่เห็นแล้ว และถ้าเดี๋ยวนี้ถ้าเกิดจะมีใครตาย และเกิดทันที จิตเห็นนี่ก็เห็นแล้ว แสดงให้เห็นว่าไม่มีเวลาที่จะต้องช้านานเลย ถ้าเป็นครอบคลุม ซึ่งเกิดมาเป็นตัวผุดเกิดขึ้นได้ ที่เรียกว่าโอปปาติกะ เห็นขณะนี้กับเห็นขณะต่อไปนี่ไม่ไกลกันเลย เหมือนเรานอนหลับสั้นๆ แล้วก็ตื่นขึ้นมาก็เห็นอีก
เพราะฉะนั้น เห็นแสนโกฎกัปมาแล้ว ได้ยินก็ได้ยินอย่างนี้แสนโกฎกัปมาแล้ว และยังจะเห็นต่อไป ได้ยินต่อไปอีก ถ้ายังมีสังสารวัฎ และเราก็จะต้องเห็นต่อไป แล้วคิดเรื่องที่เห็น ได้ยินแล้วคิดเรื่องที่ได้ยิน โดยที่ไม่รู้เลยว่าเป็นความคิดเท่านั้น เรื่องราวต่างๆ นี้เป็นแต่เพียงเรื่อง สภาพธรรมทั้งหมดที่เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ดับแล้ว เกิดแล้วดับแล้วทั้งหมด เหลือแต่ความจำ
เพราะฉะนั้น เราจะอยู่ในโลกของความจำเรื่องของโลกนี้ ระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ ถ้าเราตายแล้วเราเปลี่ยนเป็นบุคคลหนึ่ง ต่อไปข้างหน้า เรามีโลกใหม่ เห็นใหม่ ได้ยินใหม่ รู้เรื่องใหม่ จำใหม่ สุขใหม่ ทุกข์ใหม่ โกรธใหม่ เกลียดใหม่ ไม่รักใหม่ ไปอีกโลกหนึ่งแล้ว ก็เทียบง่ายๆ อย่างชาติก่อน ลืมสนิท จะสุข จะทุกข์ จะช้ำใจ เสียใจ ดีใจอะไร น้อยใจสักแค่ไหน จำไม่ได้เลยแล้วไม่เห็นจะเดือดร้อน แต่มาเดือดร้อนกับเรื่องของโลกนี้ เพราะว่าเรายังอยู่ในโลกนี้ นี้ก็เป็นแต่เพียงการเกิดดับสืบต่อของจิตแต่ละภพชาติ
เพราะฉะนั้น ถ้าคนที่มีปัญญาสามารถที่จะระลึกชาติ เพราะเหตุว่าสัญญาความจำมีลักษณะที่จำทุกอย่างที่เห็น ที่ได้ยิน รวมถึงเรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้นชาติก่อนเคยรู้สึกอย่างไร เขาสามารถที่จะมีปัญญาที่พร้อมสติระลึกถึงชาติก่อนได้ เพราะว่าสัญญาความจำมีอยู่ในทุกชาติ เหมือนเมื่อวานนี้เราจำได้ ๑๐ ปีก่อนเราก็จำได้ แต่เลยชาตินี้ไปแล้วเราจำไม่ได้ แต่ถ้าเรามีปัญญาสะสมมาจริงๆ เราสามารถที่จะจำชาติก่อนได้ด้วย แต่อย่างไรก็ตามแม้พระผู้มีพระภาคจะได้ทรงแสดงเรื่องของชาติ พระชาติต่างๆ ตั้งแต่ครั้งที่อบรมเจริญบารมี จนกระทั่งถึงพระชาติสุดท้าย ไม่ใช่เพื่อให้ติด แต่เพื่อให้เห็นการเกิดดับสืบต่อกันแต่ละภพแต่ละชาติ ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ บางชาติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน บางชาติก็เป็นคนเข็ญใจ ท่านพระอานนท์ก็เคยเป็นคนที่ตระหนี่มาก และสะสมทรัพย์ แล้วก็มีเงินเพียงแค่ครึ่งมาสก ก็หวงแหนไว้อะไรอย่างนี้ ก็แสดงให้เห็นถึงชีวิตจริงๆ แต่ละภพแต่ละชาติ ซึ่งก็คือธรรมแต่ขณะ เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้ความจริงประการนี้เพื่อที่จะได้รู้ว่าวิปัสสนาจริงๆ ไม่ใช่ไปทำ แต่ว่าเป็นการฟังพระธรรมให้เข้าใจ แค่ฟังเดียวนี้จะทำวิปัสสนาเดี๋ยวนี้ได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ ได้ หรือ?
ผู้ฟัง อ้อไม่ได้นะคะ
ท่านอาจารย์ นี่จึงต้องฟังให้เข้าใจจริงๆ ว่าแล้วแต่เหตุปัจจัย เพราะว่าแม้แต่สติจะเกิดก็บังคับไม่ได้ เหมือนกับได้ยิน ก็บังคับได้ไหมว่า จะให้ได้ยินเมื่อนั้นเมื่อนี้ ก็ไม่ได้ ถ้าไม่มีสิ่งที่มากระทบจมูกให้ได้กลิ่น กลิ่นก็ไม่ปรากฏ เราจะไปบังคับให้ได้กลิ่นก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สติก็เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราจะบังคับได้ ว่าฉันจะทำวิปัสสนาเดี๋ยวนี้ ๑๐ นาที ผิด หรือถูก
ผู้ฟัง ผิดค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า นั่นไม่ใช่สัมมาสติ ไม่ได้เข้าใจว่าสภาพธรรมเป็นธรรม สติก็เป็นอนัตตา ทุกอย่างเป็นอนัตตา เมื่อมีปัจจัยจึงจะเกิด ถ้าไม่มีปัจจัยก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นทำวิปัสนาก็ไม่ได้ กำลังฟังอย่างนี้จะทำวิปัสสนาได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ สติเกิดได้ไหม
ผู้ฟัง สติเกิดได้
ท่านอาจารย์ สติเกิด ไม่ใช่เราทำสติ ไม่ใช่เราใช้สติ ไม่ใช่ทำวิปัสสนา แต่สติเกิดได้เมื่อไหร่
ผู้ฟัง เมื่อที่เราพิจารณา
ท่านอาจารย์ เมื่อมีเหตุปัจจัยของสติ ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยสติก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ว่าสติเกิดได้เมื่อมีเหตุปัจจัย จะไม่มีเราซึ่งกำลังทำ อย่างนี้ก็ตัดความเป็นตัวตนไปตอนหนึ่ง แต่ถ้ามีใครไปส่งเสริมว่าให้ทำวิปัสสนา ก็จะเพิ่มความเป็นตัวตนว่าทำได้ ไม่มีทางที่จะละโโยการเห็นความความจริง ว่าแม้สติก็เป็นอนัตตา กำลังฟังขณะนี้สติก็เกิดได้ บางท่านกำลังฟังพระธรรมที่พระวิหารเชตวันเป็นพระอรหันต์ได้ เป็นพระโสดาบันได้ แล้วแต่ปัญญา ไม่ใช่แล้วแต่ว่า เอ๊ะ ท่านเป็นได้ ของเรานี้ก็ฟังมา ๑๐ ปีแล้ว บางท่านมากกว่านั้นอีก ก็น่าจะเป็นสักที ไม่ใช่เรื่องเวลา แต่เป็นเรื่องความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นให้ทราบว่าตลอดชีวิตหนีธรรมไม่พ้น แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม จนกว่าเมื่อใดที่มีการระลึกได้ และมีความเข้าใจจากการฟัง มั่นคง รู้ว่าขณะนี้ทุกอย่างเป็นธรรม และสติระลึกที่ธรรมหนึ่งธรรมใดก็ได้ และค่อยๆ เข้าใจขึ้น นั่นคือการอบรมสติปัฎฐาน ซึ่งใช้คำว่าเจริญวิปัสสนา เพราะเหตุว่าตอนต้น แรกๆ ที่สติระลึก ปัญญายังเห็นแจ้งไม่ได้ จนกว่าจะเพิ่มความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏขึ้น จนกระทั่งรู้จริงๆ ว่าเป็นธรรมทั้งหมด และจนกว่าสภาพธรรมจะปรากฏตามความเป็นจริง
เวลานี้สภาพธรรมไม่ได้ปรากฏตามความเป็นจริง เพราะทั้งๆ ที่บอกว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ความรู้อย่างนี้ยังไม่มากพอ หลงไปอีกแล้ว เป็นคนนั้น คนนี้ ที่นั่น ที่นี่ จนกว่าสติจะเกิด และค่อยๆ ระลึกค่อยๆ เข้าใจขึ้น เป็นการอบรมจริงๆ ในพระไตรปิฎกใช้คำว่า"จิรกาลภาวนา" หมายความว่าเป็นการอบรมเจริญที่ยาวนาน เพราะฉะนั้น เราจะเปลี่ยนพุทธพจน์ไม่ได้เพราะเป็นความจริง ค่อยๆ อบรมไปเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ปัญหาอื่นคงไม่มีแล้วใช่ไหม ถ้าเข้าใจอย่างนี้ แต่ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ก็ ...
ผู้ฟัง ขอถามเรื่องจิตดวงที่ ๑ ว่ามีความวิจิตรพิศดารอย่างไร
ท่านอาจารย์ มีไหมคะ จิตดวงนี้
ผู้ฟัง ก็มีรายละเอียดของจิตดวงนี้อีกมาก หรือไม่คะจะได้ให้พี่ๆ เพื่อนฝูงได้ฟัง
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่เห็นผิดจากความเป็นจริงนะคะ ขณะนั้นก็เป็นจิตที่เป็นโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปะยุตตัง แล้วแต่ว่าจะเป็นโสมนัสสคหัส หรือ อุเปกขาสหคตังที่เกิดร่วมกับโสมนัส หรือเกิดร่วมกับอุเบกขา แล้วแต่ว่าจะเกิดเองเป็นอสังหาริก หรืออาศัยการชักจูงของคนอื่นเป็นสสังขาริก น่ากลัวไหมคะ จิตดวงนี้ เห็นผิด
ผู้ฟัง น่ากลัวค่ะ
ท่านอาจารย์ เห็นผิด ไม่ถูกต้องไม่ต้องกลัวเลย กลัวเรื่องกรรมเท่านั้น ว่าเราทำดี หรือเปล่า ถ้าเราเป็นกุศลจิต และไม่ต้องกลัวอะไรเลย ถ้าเป็นอกุศลจิตก็แสดงว่าจะต้องให้ผล
ผู้ฟัง เป็นเรื่องจริงด้วยค่ะ มีรุ่นพี่ที่ทำงาน เล่าให้หนูฟังเอง บอกว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง เขาต้องการเอาลูกเข้าโรงเรียนบดินทร์ เขาก็ทำยังไงก็เข้าไม่ได้ ก็จะหมดกำหนดเวลา และเขาก็ตั้งจิตอธิษฐานถึงเจ้าแม่กวนอิม แล้วเขาก็เริ่มสวดแล้วก็ไม่ทานเนื้อเลยนะคะ ทานแต่มังสวิรัติ และต่อมาอีกไม่เท่าไหร่ เขาก็ได้รับการติดต่อจากโรงเรียนบดินทร์ ลูกเขาก็เข้าได้จริงๆ แล้วเขาก็เริ่มทานมังสวิรัติตั้งแต่นั้นมา หนูขอถามอาจารย์ว่าว่าเป็นปาฏิหาริย์ หรือว่าเป็นอุปทาน หรือว่าเป็นอะไร
ท่านอาจารย์ ก็จะขอถามก่อนแล้วก็ต้องตอบด้วยว่า กวนอิมคือใคร?
ผู้ฟัง เป็นเทพเจ้าที่พวกคนจีนเขานับถือกัน
ท่านอาจารย์ มากกว่าพระพุทธเจ้า หรือ ลองเปรียบเทียบความสำคัญของกวนอิม
ผู้ฟัง ถ้าในประเทศจีนซึ่งเขาไม่ได้ถือศาสนาพุทธ ก็ใช่ค่ะ แต่ว่าในประเทศไทยนี้บางคนมีเขาก็อาจจะนับถือคู่กันไปในลัทธิของมหายานเพราะถือว่าเป็นเสมือนพระโพธิสัตว์ที่มาบำเพ็ญบารมี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะไม่อ้างชื่อตำรานะคะ การนับถือกวนอิมนับถือแบบพระเจ้า ไม่ใช่นับถือแบบพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นจะชื่อกวนอิม จะชื่อพระบิดา และจะชื่ออะไรก็ตามแต่ ถ้านับถือในลักษณะแบบพระเจ้าไม่ใช่นับถือแบบที่ให้ความรู้ความเข้าใจ เพราะฉะนั้นเรา และจะนับถือใคร ระหว่าง สอง คนนี้ คนที่ให้เราเกิดปัญญาความรู้ความเข้าใจ กับคนซึ่งเราคิดว่าช่วยบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เรา เรา
ผู้ฟัง นับถือพระพุทธเจ้า
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็จบปัญหาเรื่องกวนอิมไปได้ อีกอย่างหนึ่ง คือ สอนให้เชื่อคนอื่น กับสอนให้เชื่อกรรมของตัวเอง ใครสอนถูก เพราะว่ากวนอิมสอนให้เชื่อตัวกวนอิม แล้วเราคิด หรือค่ะว่าคนที่สอนให้ติดในตัวเขา จะสอนถูก สอนให้หลง สอนให้ติดไม่ใช่สอนให้ละ ไม่ใช่สอนให้เกิดปัญญา แล้วเรายังจะไปนับถือกราบไหว้คนที่เอากิเลสมาให้เรา หรือ ให้เราไปติด ให้กราบไหว้ ให้บูชา
ผู้ฟัง ลักษณะเหมือนกับเป็นเทพองค์ หนึ่ง ถ้าเกิดว่าใครไปศรัทธานับถือ เทพก็จะบันดาลให้ในลักษณะนี้
ท่านอาจารย์ แล้วกวนอิมจะบันดาลเราได้ไหม คิดให้ลึกซึ้ง ให้จักขุประสาทเราเกิด ให้เราเห็น กวนอิมทำได้ หรือไม่
ผู้ฟัง ถ้าเป็นลักษณะของเหตุผล ไม่น่าจะได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เลย ใครจะมาบันดาลให้จักขุปสาทเกิด ใครจะมาบันดาลให้จิตเห็นเกิด กวนอิมก็ทำให้จิตเห็นเกิดไม่ได้ คือถ้าใครสอนให้ติดล่ะก็ รู้ได้เลยค่ะว่า ไม่ใช่คำสอนที่ถูกต้อง และคนก็ติดง่าย สอนให้ติดแล้วก็เร็วเลย รีบกราบ รีบไหว้ รีบขอไม่ต้องทำอะไร กราบไหว้ขอ จบ
ผู้ฟัง มีคนหนึ่งไปสมัครงาน แล้วตอนแรกเขาก็ไม่รับ แล้วตอนหลังเขาก็รับ แต่ก็ไม่เคยไหว้กวนอิมเลย เขาไม่ต้องไปหลงติดใครด้วย แต่ถ้าได้รับคำสอนว่า ต้องไปขอกวนอิม และคนนั้นก็ไปขอ และเกิดได้ ก็เลยไปเชื่อว่านี่เพราะกวนอิน แต่คนที่ไม่ได้งาน และตอนหลังมีคนเรียกเขาไปทำงาน เขาไม่ไหว้กวนอิม แต่ชีวิตเขาก็เป็นอย่างนี้ ตามกรรม
ผู้ฟัง ต้องยอมรับ ว่า สังคมเราเป็นคนจนมาก
ท่านอาจารย์ ต้องมีเหตุที่จะให้จนด้วย
ผู้ฟัง คือในอดีตชาติ ทำทานก็ไม่มาก
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างตัองมีเหตุ ข้อสำคัญคือทำให้ติด ไม่ใช่คำสอนที่ถูกต้อง อยู่ดีๆ ไปให้ติดให้เกิดโลภะ และยังไม่ใช่โลภะธรรมดา แต่เป็นทิฎฐิคตะสัมปยุตด้วย ไปเห็นผิดว่าเขาสามารถจะช่วยได้ กรรมของเราไม่ได้พูดถึงเลย
ผู้ฟัง ถ้าเป็นลักษณะนี้แสดงว่า ปัจจุบันนี่สื่อสาร แล้วก็การพูดปากต่อปาก หรือระบบประชาสัมพันธ์มีอิทธิพล หรือจิตใจคนมาก โดยขาดสติปัญญาเข้าไปไตร่ตรอง
ท่านอาจารย์ เวลานี้ คนไม่เห็นว่าพระพุทธศาสนาต้องศึกษา ไม่มีความเข้าใจอย่างนี้เลย เขาคิดว่าเขาเกิดเป็นชาวพุทธแล้วเขาก็รู้พระพุทธศาสนา หรืออีกอย่าง หนึ่ง ก็คิดว่าแปลกที่ศึกษาพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นถ้ามีคนถามว่า เอ๊ะ อะไรนะทำให้คุณสนใจศึกษาพุทธศาสนา ถ้าคิดในมุมกลับไง เอ๊ะคนนั้น แปลก เห็นพระพุทธศาสนาเป็นอะไ รจะต้องมีการเป็นอะไรถึงได้มาศึกษาพระพุทธศาสนา นี้แสดงให้เห็นว่าไม่เข้าใจคุณค่า
ผู้ฟัง จริงค่ะ ถ้าเป็นผู้หญิงฟังธรรม เขาจะมองว่าผู้หญิงนี้อกหัก
ท่านอาจารย์ แปลว่าไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาเลยว่า แล้วที่เรียนแพทย์ทำไมเรียนแพทย์ เรียนสถาปัตย์ทำไมเรียนสถาปัตย์ เย็บปักถักร้อยทำไมเรียน เห็นคนทำขนมอร่อยๆ ทำไมสนใจอยากจะทำ เห็นเขาเย็บปักถักร้อยทำไมสนใจ ทำไมพวกนี้ไม่ถามว่าเหตุใดคุณถึงสนใจจะทำกับข้าว ทำไมคุณสนใจจะเรียนสถาปัตย์ ทำไมคุณจะสนใจเรียนวิชานั้น วิชานี้ แต่พอถึงพระพุทธศาสนา เอ๊ะ ทำไมคุณเรียนเนี่ย เป็นคำถามที่แปลกมาก แสดงให้เห็นว่าคนไม่เห็นคุณค่าของพระธรรม และไม่เข้าใจด้วยว่าพระพุทธศาสนานี้ถ้าไม่ศึกษาจริงๆ ไม่มีทางเข้าใจ ไม่ใช้คำง่ายๆ ที่ใครพูดก็เข้าใจได้ แต่เป็นคำที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ และทรงแสดง เพราะฉะนั้นต้องศึกษาจริงๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นถ้ามีใครถามว่าอะไรทำให้คุณศึกษาได้ แปลว่าคนๆ นั้นไม่รู้เรื่องเลย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์เคยบอกไว้แล้วว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่าพระองค์ท่านช่วยใครไม่ได้เลย นอกจากผู้นั้นประพฤติปฏิบัติเอง
ท่านอาจารย์ แล้วจริง หรือไม่ แล้วเรายังจะไปเชื่อว่าคนอื่นทำให้เราได้อย่างไร
ผู้ฟัง หนูก็เอามาเป็นปุจฉาถามท่านอาจารย์ เวลานี้จะมีรอบข้างคือในที่ทำงานจะมีปัญหาหลากหลายมากเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เวลานี้เราจะอยู่แวดวงของความเห็นผิด สำคัญที่สุดคือเราไม่มีเวลาพอที่จะห่วง หรือรับผิดชอบโลก แต่ว่าตัวเรานี่มีความเห็นถูกคนหนึ่งๆ ๆ ก็เพิ่มขึ้น เป็นวิธีที่จะสืบต่อพระพุทธศาสนา คือจากเราเอง ถ้าไม่ศึกษาแล้วก็ห่วง เมื่อไหร่คนจะทำ เมื่อไหร่คนนี้จะทำ แล้วเราก็ไม่ได้ศึกษา ทุกคนก็คิดอย่างนี้ แต่ถ้าเราจะแก้ไขปัญหาได้คือเราศึกษา แต่ละคนก็จะเป็นกำลังที่จะสืบต่อได้ แต่ข้อสำคัญคือถ้าคนอื่นเห็นผิด กล้าหาญพอที่จะไม่ตาม เพราะว่า ถ้าตาม ตามความเห็นผิด ถ้าไม่ตามความเห็นผิดก็คือตามพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามเหตุผล ตามความเป็นจริงที่ถูกต้อง เกิดมาแล้วเราจะต้องเป็นทาสของอะไร ไม่จำเป็นเลย ลาภ ยศ สรรเสริญ เพราะความจริงเป็นสิ่งประเสริฐสุด เกิดมาเพื่อที่จะพบความจริง เข้าใจความจริง ถ้าคน ๑,๐๐๐ คนเห็นผิด เราหนึ่งคนเห็นถูก ก็ต้องยอมที่จะเป็นหนึ่ง ไม่ใช่ว่าทั้งหมดเห็นผิดตามก็กันไปด้วย
ผู้ฟัง การที่จะช่วยละความเห็นผิด นอกจากการศึกษาอย่างเดียว อย่างอื่นจะมีอะไรที่เป็นเครื่องช่วยประคับประคอง
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางเลย ถ้าเป็นพระธรรมแล้วไม่มีทาง
ผู้ฟัง การศึกษาอย่างประเภทที่เรียนรู้จบหลักสูตรสูงๆ แล้วจะมีเครื่องรับประกันได้ว่าจะไม่มีความเห็นผิด แล้วจะไม่โน้มน้าวไป
ท่านอาจารย์ อะไรจะไปประกัน
ผู้ฟัง นึกว่าการศึกษาที่เรียนมาก รู้มาก
ท่านอาจารย์ รู้อะไร
ผู้ฟัง ก็เรียนรู้ในเรื่องของพระไตรปิฏก
ท่านอาจารย์ นี่ก็เรียนพระไตรปิฏก การศึกษาให้ทราบว่าศึกษาเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่ว่าศึกษาอ่านจบ ศึกษาคือการอ่านจบนั้นไม่ถูกต้อง ศึกษาคือเข้าใจสิ่งที่มี ที่อ่าน
ผู้ฟัง ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่การเกื้อกูลกันระหว่างการเรียนมา กับการพิจารณาสิ่งที่อ่าน
ท่านอาจารย์ ก็คือเข้าใจสิ่งที่อ่าน ก็คือเข้าใจว่า เดี๋ยวนี้เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง และปัญญารู้อะไรปัญญาก็รู้ความจริงของธรรมคือเดี๋ยวนี้คือสิ่งที่มีจริง อย่างนี้แล้วก็จะผิดได้อย่างไร นี่คือความเข้าใจ เพราะฉะนั้นการอบรมเจริญปัญญาก็คือรู้ลักษณะของสติ สติก็แสดงลักษณะไว้แล้วว่าเป็นสภาพที่ระลึก ไม่ใช่เจตนาไม่ใช่จงใจไม่ใช่จะทำอะไรอย่างนั้น แต่ระลึกตามที่ได้ฟังถูกต้อง มีลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นั่นคือเข้าใจค่ะ
ผู้ฟัง สิ่งที่ทุกคนก็คิดว่าการฟังมา หรืออ่านมาแล้วก็มีความเข้าใจ จะว่าไม่เข้าใจก็..
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจก็คือ ขณะนี้รู้ว่าเป็นธรรม และสติระลึกได้ สามารถที่จะประจักษ์แจ้งเป็นพระอรหันต์ก็ได้ เมื่อปัญญาสามารถที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ถ้าสติไม่เกิด จะพูดว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม อย่างนี้จะได้ไหม
ท่านอาจารย์ พูดตามตัวหนังสือ แต่คนนั้นก็ต้องรู้ว่า สติไม่เกิด ถ้าเข้าใจผิดว่าสติเกิดนั่น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งๆ ที่ไม่ใช่สติก็คิดว่าเป็นสติได้ เพราะไม่เข้าใจ ถ้าเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมจะต้องไปสำนักปฏิบัติ หรือไม่ เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเข้าใจ หรือไม่ว่าทุกอย่างเป็นธรรม แค่นี้เข้าใจ หรือไม่ว่าทุกอย่างเป็นธรรม
ผู้ฟัง คือคนที่ไปแล้ว เนื่องจากว่าป็นการตัดความวุ่นวายที่เราเคยอยู่กันในหมู่ในสังคมนี้ไปอยู่ในที่ๆ เขาให้อยู่เฉพาะ ทำให้มีการคิดมีการพิจารณาได้ง่ายขึ้น ไม่ปล่อยให้เผลอไปนี้ก็เป็นเหตุผลที่เขาพูด
ท่านอาจารย์ ขณะเห็นเดี๋ยวนี้ปัญญารู้ได้ไหมฦ ถ้ารู้ไม่ได้ ไปที่ไหน ทำอะไร ก็ไม่มีประโยชน์
ผู้ฟัง ถ้าเป็นปัญญาเกิดขึ้นในขณะที่เห็น จะรู้อะไร
ท่านอาจารย์ ขณะที่เห็นเดี๋ยวนี้ ปัญญารู้ความจริงของเห็นขณะนี้ได้ไหม ถ้ารู้ไม่ได้จะไปที่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ ๒๐ ปี ๓๐ ปีก็ยังรู้เห็นในขณะนี้ตามความเป็นจริงไม่ได้ และจะมีประโยชน์อะไรในเมื่อขณะนี้เป็นเห็น ไม่ใช่เรา แล้วถ้าไม่รู้อย่างนี้ไม่สามารถจะรู้ได้ และการไปจะมีประโยชน์อะไร
ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่า เวลานี้ มีการระลึกแต่ว่ายังไม่มีปัญญา ก็ค่อยๆ อบรมเป็นไปได้ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน ปัญญาต้องเจริญขึ้น จะมีปัญญามากมายทันทีไม่ได้
ผู้ฟัง หมายความว่ามีการระลึก แต่ว่า ขณะนั้นยังไม่มีปัญญา หรือมีปัญญาน้อยมากๆ
ท่านอาจารย์ คุณศุกลเคยเห็นมะม่วงที่ยังไม่โผล่ออกมา หรือไม่ แต่กำลังจะโผล่ ตอนที่ไม่โผล่ไม่เห็น แต่รู้ว่ามี ก็เหมือนกับการเจริญปัญญา ไม่ใช่ใครจะบังคับ สภาพธรรมเป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น อกุศลมีไม่ใช่ไม่มี โลภะมี โทสะมี โมหะมี ไม่ได้ไปบังคับไม่ให้เกิด หรือควรจะเกิด ไม่ควรจะเกิด พูดไม่ได้เลย ถ้าควรก็คือควรจะมีกุศล แต่ว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงแสดงธรรมที่เป็นไปไม่ได้ แต่ว่าสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างไร ตรงกับกำลังเป็นทุกอย่าง คือสภาพธรรมเป็นจริงอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น จะเป็นโลภะ จะนึกถึงสมาธิ หรือจะเกิดกุศลจิต หรือจะอะไรก็แล้วแต่เหตุปัจจัยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นปัญญาไม่ใช่เปลี่ยนแปลง ละความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น เวลาที่อบรมเจริญปัญญาที่จะละสีลัพพตปรามาส ละการลูบคลำข้อปฏิบัติที่ผิด และสักกายทิฎฐิ คือละความเป็นเราที่กำลังทำ จนกระทั่งเป็นธรรมจริงๆ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย นี่คือ ค่อยๆ ละความเป็นตัวเราที่จะทำออก เพราะว่าคำถามส่วนใหญ่ ควรไม่ควร ทำอย่างไร ใช่ไหม อย่างหนึ่งอย่างไร แต่จริงๆ แล้วปัญญาเกิดเมื่อไร ถ้าเป็นปัญญาที่เจริญขึ้นๆ ยิ่งละการที่จะทำ ไม่มีเลยที่จะทำ แล้วแต่สภาพธรรมซึ่งเกิดเร็วเหลือเกิน ไม่ทันจะไปทำเลย สภาพธรรมใหม่เกิดแล้ว เกิดแล้วๆ ไม่มีเวลาจะไปทำอะไร
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060