สนทนาธรรม ตอนที่ 053
ตอนที่ ๕๓
ท่านอาจารย์ คำว่า อบรม หรือ ภาวนา เจริญภาวนา คือ อบรมความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้น ที่เห็น นี่เห็นด้วยปัญญา หรือปัญญาเห็น ไม่ใช่เราตัวตนกำลังไปพยายามทำอย่างไรจึงจะเห็น ซึ่งไม่มีทางเลย เวลานี้สภาพธรรมเป็นสภาพธรรม สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแน่นอน ใครก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่ใครจะรู้ว่าไม่ใช่เราที่กำลังเห็น และสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นจริงๆ ทั้งๆ ที่ความจริงก็เป็นความจริงอย่างนี้ คือ ถ้าดับไฟหมด ใครนั่งอยู่ที่นี่บ้าง มีแต่ความจำเพราะว่าไม่ปรากฏ สีสันวรรณะไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้นเวลาที่เปิดไฟ หรือมีแสงสว่าง สีสันวรรณะปรากฏ ก็ควรจะเป็นเพียงแค่สีสันวรรณะเท่านั้นที่ปรากฏ แล้วเหตุใดจึงมาจำว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้
ก็เป็นเรื่องที่จะต้องฟังจนกระทั่งเข้าใจจริงๆ ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาคืออย่างนี้ ธรรมดาอย่างนี้ แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่ใช่ไปใช้วิธีไหนจะมองให้เห็นว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แต่เป็นเรื่องการที่จะอบรมเข้าใจสภาพธรรม
ผู้ฟัง ถ้าจะอธิบายสำหรับผู้ที่มีการฟังใหม่ๆ ครั้งเริ่มต้น ถ้ายังฟังในลักษณะที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ก็คงยังต้องเป็นความสงสัยไม่รู้จบไม่รู้หายใช่ไหม
ท่านอาจารย์ การฟังธรรม ฟังอย่างไร ฟังครั้งเดียวจะเข้าใจได้ตลอดเหมือนท่านพระสารีบุตรฟังพระอัสสชิ ปัญญาคนละระดับมากทีเดียว คนยุคนี้ห่างไกลมา ๒๕๐๐ กว่าปี ขณะที่ฟัง พิจารณาในสิ่งที่ฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น นั่นคือการอบรมเจริญปัญญาจนกว่าจะถึงระดับที่ฟังแล้วเข้าใจทันที
ผู้ฟัง ถ้าจะกล่าวให้กำชับเข้าไปอีก คือบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นเรื่องของปัญญา แล้วถ้าปัญญาไม่เกิด สิ่งที่เป็นความรู้ก็คือเป็นความรู้ผิด แล้วก็ทำให้เกิดความเข้าใจต่างๆ ผิดทั้งหมด แต่ถ้าสมมติว่าเป็นการรู้ถูก เห็นถูกก็คือว่า ขณะเห็นก็ต้องมีปัญญา ขณะที่ได้ยินก็ต้องมีปัญญา ถูกต้องใช่ไหม?
ท่านอาจารย์ ต้องก็ไม่ได้ค่ะ
ผู้ฟัง มีปัญญาครับ
ท่านอาจารย์ ยังคะ คือสภาพธรรมมี ๒ อย่าง ซึ่งตรงกันข้ามกัน อวิชาเป็นของที่มีจริงอย่างหนึ่งแน่นอน คือความไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม และสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งตรงข้าม ก็คือปัญญา เพราะฉะนั้นจะเห็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกันจริงๆ ห่างไกลกันจริงๆ ว่าอวิชชาไม่สามารถที่จะรู้ความจริงได้ แต่ส่วนวิชา หรือปัญญานั้น สามารถที่จะประจักษ์แจ้งความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏได้
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็จะได้ทราบความจริงว่า ขณะนี้เป็นอวิชชา หรือเป็นปัญญา นี่เป็นความจริง เพราะฉะนั้น ความจริงคือความจริง เมื่ออวิชาเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ถามคุณวีระ ว่า อวิชาเป็นปรมัตธรรมอะไร
ผู้ฟัง ปัญญาเป็น เจตสิก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เรา ใช่ไหม อยู่ที่จิตแต่ละขณะว่าจิตขณะนั้นจะมีเจตสิกชนิดใดเกิดร่วมด้วย ถ้ามีอวิชชา หรือโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย อย่างไรๆ ก็ไม่เข้าใจ ไม่รู้ความจริง แต่ถ้าเป็นปัญญา เริ่มมีความเข้าใจขึ้น แม้ทีละเล็กทีละน้อย ก็เป็นปัญญา เป็นความเข้าใจ ซึ่งจะต้องเจริญเติบโตขึ้น เพราะเหตุว่า ให้อวิชาไปทำหน้าที่ของปัญญาก็ไม่ได้ และให้ปัญญาทำหน้าที่ของอวิชาก็ไม่ได้ จะบอกว่าต้องมีปัญญาก็ไม่ได้ แต่อบรมเจริญปัญญาได้ จากความไม่รู้ ค่อยๆ รู้ขึ้น ไม่ใช่จากความไม่รู้ แล้วรู้เลย
ผู้ฟัง สิ่งที่ได้ยินได้ฟังมานั้นก็ดูเหมือนเป็นสิ่งที่เหมือนกับไม่ยาก เพราะว่าท่านอาจารย์ก็พูดอยู่เสมอว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง พอพูดอย่างนี้คนฟังส่วนใหญ่ก็เห็นตามก่อน
ท่านอาจารย์ ฟังเข้าใจแต่ยังเห็นเป็นคนอยู่ จึงเข้าใจว่าการอบรมหมายความว่า จากไม่รู้เลยว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วฟังแล้วเข้าใจความหมาย ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าสติจะระลึกได้บ่อยๆ จนกระทั่งระหว่างความที่ไม่เคยรู้ เป็นความรู้ขึ้นมากกว่าความไม่รู้
ผู้ฟัง สงสัยว่าในเมื่อสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ประเสริฐ และก็เป็นการประจักษ์สภาพธรรมเพื่อที่จะไถ่ถอนความไม่รู้ แล้วก็ทำไมถึงมีการเหมือนพูดว่า ให้มีการปฏิบัติที่เป็นสมถภาวนา
ท่านอาจารย์ ที่ไหนกล่าวเช่นนั้น
ผู้ฟัง ส่วนใหญ่ครับ
ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ไม่สนใจ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นเรื่องข้อปฏิบัตินี้ ก็คงจะเน้นลงไปได้ในแบบไม่ต้องมีข้อสงสัยเลย
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ ใครจะปฏิบัติอะไรก็ถามก่อนว่า ปฏิบัติอะไร เพื่ออะไร รู้อะไร เพียงแต่ถามว่ารู้อะไร ตอบได้ไหม ปฏิบัติให้รู้อะไร แค่นี้ ตอบได้ไหม
ผู้ฟัง ถ้าขณะที่ลืมตามอง แล้วยังไม่รู้แล้วจะไปทำสิ่งอื่นอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ใครตอบไม่ได้ ก็แปลว่าเขาไม่ได้ปฏิบัติ
ผู้ฟัง ถ้าสอนผิด จากที่ท่านอาจารย์สอน การสอนนี้ถือว่าเป็นข้อผิด
ท่านอาจารย์ ผิดจากสภาพธรรม ผิดจากความจริง
ผู้ฟัง ก็ไม่ใช่หนทางที่จะดับกิเลส และรู้แจ้งอริยสัจธรรม
ท่านอาจารย์ ก็ความจริงกำลังปรากฏ และไม่สอนให้รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วจะให้รู้อะไร
ผู้ฟัง ขึ้นอยู่ที่ว่าเชื่อง่าย หรือเชื่อยาก ใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ เหตุผลกับสภาพธรรมตามความเป็นจริง ต้องรู้ว่าปัญญารู้อะไร อวิชชาไม่รู้อะไร อวิชาไม่รู้ที่กำลังเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน ปัญญารู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะกำลังเห็น กำลังได้ยิน ไม่ใช่รู้อย่างอื่น
ผู้ฟัง ปกติแล้วมักจะมองข้ามถึงสิ่งที่เป็น
ท่านอาจารย์ มักจะ นี่ใคร
ผู้ฟัง ตัวผมเองครับ ไม่ค่อยมีการสังเกต และพิจารณาในสิ่งที่เป็นธรรมที่เป็นอกุศล ก็มักจะนึกถึงในเรื่องการที่จะเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง เน้นที่จะให้เห็นเป็นลักษณะว่า สภาพธรรมเขามีลักษณะอย่างนั้นจริงๆ ก็พยายามที่จะพิจารณาให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ถ้าหากว่าเป็นการปฏิบัติอย่างปกติแล้ว ไม่ว่าสภาพธรรมใดจะเกิดขึ้นปรากฏ ควรรู้อย่างนั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คือวิธีนี้ก็ยังไม่ใช่หนทาง น่าสงสัย หรือไม่ ว่าเหตุใดยังไม่ใช่หนทาง
ผู้ฟัง สงสัย
ท่านอาจารย์ คนอื่นสงสัย หรือไม่ เหตุใดยังไม่ใช่หนทาง พูดออกอย่างนี้ และยังไม่ใช่หนทางอีก กรุณาพูดใหม่อีกครั้งให้คนอื่นได้พิจารณาว่าเป็นหนทาง หรือไม่ใช่หนทางแน่
ผู้ฟัง เพราะว่าการพิจารณาก็เป็นสิ่งที่ท่านอาจารย์ก็เตือนอยู่เสมอ ก็เมื่อฟังแล้ว เข้าใจแล้ว ก็จะมีการพิจารณา ให้เป็นลักษณะที่ปรากฏ เป็นลักษณะ เช่น ทางตา เห็นเป็นเพียงสี ทางหูได้ยินเป็นเสียง แต่จริงๆ แล้วควรจะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เพื่อจะได้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม อย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบใครจะมีความเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ ว่าเป็นหนทาง หรือยัง
ผู้ฟัง ตามที่ท่านศุกลกล่าวแล้ว ผมว่าก็ดี เพราะว่าจะทำการบ้านที่อาจารย์ได้กรุณาให้เมื่อครู่ว่า อะไรเป็นสังขารธรรมบ้างที่เกิดขึ้นขณะนี้ อะไรเป็นสังขตธรรมบ้างที่เกิดขึ้นขณะนี้ ไม่ทราบจะทำการบ้านอย่างไร
ท่านอาจารย์ นี่เป็นการบ้านพิจารณา ไม่ใช่การบ้านรู้ลักษณะ คือการบ้านสำหรับคนใหม่ที่ยังติดอยู่ ๒ คำ ระหว่าง"สังขตธรรม"กับ"สังขารธรรม" เพื่อที่จะไม่ให้เขาห่างเหิน ก็จะได้มีการระลึกได้ว่านี่เกิดแล้ว ปรากฏแล้ว นี่เป็นสังขตธรรม และเป็นสังขารธรรมด้วย
แต่ที่คุณศุกลกำลังพูดถึงเรื่องที่จะให้รู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็น่าจะพิจารณาว่าที่พูดนั้นเป็นหนทาง หรือยัง
ผู้ฟัง ความจริง ที่คุณศุกลกล่าวมานั้น รู้สึกว่าจะไม่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน คือสังเกตดูว่าจะเป็นตัวตนที่จะเข้าไปพิจารณามากกว่า เพราะว่าคุณศุกลก็กล่าวว่า อนัตตาๆ ทุกอย่างจะต้องเกิดด้วยเหตุด้วยปัจจัย ไม่ใช่ว่าจะเอาตัวตนเข้าไปพิจารณาสภาพธรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิดเพื่อจะได้ประจักษ์สภาพธรรม สภาพธรรมจะประจักษ์ได้ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยที่ได้สะสมมา จากปัญญาที่เกิดจากการฟัง การพิจารณา การอ่าน การไตร่ตรองพระธรรมเท่านั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นว่า หนทางนี้ต้องละเอียด และต้องละเอียดขึ้นด้วย ถ้าเพียงแต่เป็นเราที่กำลังจะพิจารณา อย่างนั้นไม่ใช่มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเหตุว่าไม่รู้ลักษณะของสติ แต่เป็นเราที่กำลังพิจารณา เพราะฉะนั้นก็ต้องมีความละเอียดที่จะรู้ว่า ขณะใดก็ตามที่สติเกิด ต่างกับขณะที่หลงลืมสติ เวลาที่สติยังไม่เกิด เราไม่สามารถจะรู้ลักษณะของสติได้ มีเราที่กำลังจะพิจารณาให้เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ นี่คือความจงใจ เป็นความตั้งใจ มีความเป็นตัวตน ไม่ใช่เป็นการที่รู้ว่าแม้ขณะที่เห็นนี้ ก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วเพราะปัจจัย ขณะที่กำลังได้ยินนี้ก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วเพราะปัจจัย
เพราะฉะนั้น ขณะที่สติเกิด จะรู้เลยว่าขณะนั้นไม่ใช่เราซึ่งกำลังตั้งใจที่จะพิจารณาให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าจะรู้ลักษณะของสติว่า สติเป็นสภาพที่ระลึกที่ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม นี่คือความต่างกันของขั้นคิดพิจารณา กับขั้นที่รู้ว่าเวลาที่สติเกิดจะมีความเข้าใจถูกต้องว่าไม่ใช่เราที่กำลังจะพิจารณา แต่เพราะสติระลึก
อ.นิภัทร การตั้งใจพิจารณาที่ท่านอาจารย์บอกว่าไม่เป็นหนทาง เพราะมีตัวตนตั้งใจที่จะพิจารณา แล้วที่เป็นหนทางเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ที่เป็นหนทางคือ เมื่อใดที่สติระลึกที่ลักษณะของปรมัตถธรรม เวลานี้สภาพธรรมทั้งหมดเป็นปรมัตถธรรม อย่าลืมว่าไม่มีเรา เป็นสภาพธรรมทั้งนั้น เป็นปรมัตถธรรมทั้งนั้น แต่ขณะใดที่สติไม่เกิด ไม่ระลึกที่ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม แม้เห็นก็เป็นเรา แม้คิดก็เป็นเรา แม้พิจารณาก็เป็นเรา ทุกอย่างเป็นเราหมด เพราะว่าสติไม่ได้ระลึกที่ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ทั้งๆ ที่สภาพธรรมเป็นปรมัตถธรรม แต่สติไม่ได้ระลึกที่ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม
อ.นิภัทร เป็นตัวตนที่ไปคิดนึกเอาเอง
ท่านอาจารย์ ค่ะ
ผู้ฟัง แต่ว่าตราบใดที่ไม่ทราบสภาพปรมัตธรรม ก็ไม่มีทางที่จะ ...
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะฉะนั้นก่อนอื่น จะต้องมีการฟังตามลำดับ คือฟังเรื่องสภาพธรรมจนกระทั่งเข้าใจถ่องแท้จริงๆ นี่เป็นสัจญาณในอริยสัจรอบที่ ๑ เพราะว่าอริยสัจ ๔ มี ๓ รอบ สัจญาณขาดไม่ได้เลย ถ้าขาดสัจญาณคือญาณรอบแรก สติปัฎฐานก็ไม่เกิด เพราะเหตุว่าไม่มีความเข้าใจถูกต้องจริงๆ ว่าขณะนี้เป็นปรมัตถธรรมทั้งหมด ที่กำลังเห็น ที่กำลังได้ยิน
เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจที่มั่นคง ขณะนี้ทางตาที่กำลังเห็น เริ่มที่จะมีการเข้าใจขณะนั้นคือสติเกิด ไม่ใช่มีการที่เราจะไปจงใจทำให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าเริ่มมีการระลึก และก็เข้าใจ ซึ่งเราเห็นบ่อยๆ แต่ขณะใดที่ระลึกแล้ว ก็รู้ว่าขณะนี้เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ขณะนั้นคือเริ่มที่สติจะระลึกที่สภาพธรรมทางตา หรือทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แล้วจะรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่เพราะสติเกิด สภาพที่กำลังระลึก นั่นคือสติ ก็จะรู้ลักษณะของเจตสิกอีกชนิดหนึ่ง เพราะว่าเราเคยโกรธ แต่เป็นเราโกรธ เมื่อศึกษาปรมัตธรรมขั้นฟัง ก็รู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นเจตสิก แต่ว่าลักษณะของสภาพโกรธ เวลาเกิดขึ้นปรากฏ ปกติธรรมดาก็ไม่ได้ระลึกเลย แต่เมื่อมีการระลึกตรงสภาพโกรธ แล้วก็รู้ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ขณะนั้นก็ไม่ใช่เราที่ระลึก แต่ว่าสติระลึกเอง เหมือนเช่นขณะนี้ทางตา ก็มีเห็น ทางหูก็ได้ยิน แต่สติอาจจะระลึกที่แข็ง เพราะฉะนั้น จะรู้ได้ว่าเลือกให้สติระลึกอะไรก็ไม่ได้ แต่ว่าเมื่อสติระลึกปรมัตถ์อะไร แสดงให้เห็นว่า ขณะนั้นไถ่ถอนการเป็นเราจะทำ เพราะว่าเริ่มรู้ว่าแท้ที่จริงเป็นสติที่ระลึก
เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ จะไม่หนักใจ ไม่ใช่ว่าอยากให้สติเกิด เพราะว่าส่วนใหญ่คนที่ไม่ได้ศึกษาโดยละเอียด มักจะถามว่าทำอย่างไร "ทำอย่างไรนี่คืออยาก" ทำอย่างไรก็ยังไม่พอ ทำอย่างไรสติจะเกิดมากๆ นี่ก็คืออยากต่อไป แล้วจะทำอย่างไรจะรู้หมด รู้ทั่ว หรือรู้เร็ว หรือรู้แจ้ง ก็เป็นเรื่องที่เขาไม่รู้เลยว่า ขณะนั้นเป็นโลภะ
เพราะฉะนั้น ให้ทราบ ว่าอริยสัจ ที่ ๑ คือ ทุกขอริยสัจจะ ได้แก่ การเกิดดับของสภาพธรรมขณะนี้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจมั่นคงจริงๆ สติจะระลึก ไม่ไปเที่ยวสู่สำนักต่างๆ หรือว่าไม่ไปเที่ยวทำอย่างอื่น แต่ว่าระลึก เพราะว่ามีความมั่นใจ ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรม คือการเกิดดับของทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะกำลังเป็นของจริง ซึ่งรู้ได้ถ้าอบรม เพราะฉะนั้น ก็จะไม่ทำอะไรเลย เมื่อไม่ทำอย่างอื่น ก็มีการเริ่มระลึก แต่จะมากจะน้อย ก็ไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะถ้าห่วงกังวล สมุทยสัจ โลภะ เป็นสมุทัยไม่เห็นตัวนี้เลย เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะคลาดเคลื่อนไปจากมรรคมีองค์ ๘ เพราะโลภะ เพราะมีความต้องการ และเพราะมีความเห็นผิด ซึ่งเป็นมิจฉามรรคไม่ใช่สัมมามรรค แต่ถ้าเป็นสัมมามรรค จะเห็นจริงๆ ว่าโลภะเป็นความต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะที่ต้องการอะไรก็ได้ในชีวิตประจำวัน แต่แม้ขณะที่กำลังมีสภาพธรรมเป็นอารมณ์ยังมีความต้องการอยู่ในที่นั้นก็ได้ เพราะฉะนั้นจะเริ่มเห็นว่าโลภะเป็นธรรมที่ต้องละ หรือควรละ เพราะเหตุว่าถ้าตราบใดที่ยังมีโลภะอยู่ ก็เป็นเครื่องเนิ่นช้า
ผู้ฟัง จิตที่เป็นกุศลเกิดแทรกได้เร็วอย่างนั้น เชียว หรือ?
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน และก็ยังมีคิดนึก แทรกตรงกลางอีกมาก ระหว่างเห็น กับได้ยิน ซึ่งแยกไม่ออกเลย ยังมีคิดนึกแทรกคั่นอยู่ตรงกลางอีกมาก
ผู้ฟัง แล้วเวลาสติเกิดขึ้น สติมีหน้าที่ระลึกอย่างเดียว แต่สิ่งที่จะเป็นความรู้ เป็นเรื่องของปัญญา แล้วปัญญาที่เกิดร่วมกับสติ เกิดสลับขึ้นมาเดี๋ยวนั้นอีกทันทีเลย หรือครับ
ท่านอาจารย์ เกิดในขณะที่สติกำลังระลึกลักษณะของสภาพปรมัตถ์หนึ่งปรมัตถ์ใด ค่อยๆ รู้ขึ้น
ผู้ฟัง ก็แสดงให้เห็นว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ได้คิดไว้ก่อน หรือว่าเตรียมไว้ก่อนก็ไม่ได้เลย และเวลาเกิด คนเกิดต้องรู้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตายืนยันได้
ผู้ฟัง ถ้าคนที่สติเกิด คนนั้นก็ต้องรู้
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่รู้ ก็ไม่ใช่สติปัฎฐาน
ผู้ฟัง เป็นปัญญาก่อนนะครับ เอาแค่สติระลึกก่อน
ท่านอาจารย์ สติระลึกได้ไหมถ้าไม่มีการรู้มาก่อนว่าลักษณะของปรมัตธรรมนั้นเป็นอย่างไร และสติจะไประลึกได้ไหม ถ้าไม่รู้ก่อน ถ้าขณะนี้ไม่ฟัง ไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม แล้วสติจะระลึกได้ไหม แต่เพราะรู้ สติจึงระลึกที่ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม
ผู้ฟัง แต่พอสติระลึก แต่ก็ยังไม่เป็นความรู้ในลักษณะที่เป็น..
ท่านอาจารย์ ค่อยๆ รู้ขึ้น ได้ไหม พร้อมสติค่อยๆ รู้ขึ้นทีละหน่อยทีละน้อยๆ ถ้าสติไม่เกิด ปัญญาก็ไม่รู้
ผู้ฟัง ครับ ก็ทราบจากการศึกษาว่าถ้า สติเกิด ปัญญาจะไม่เกิด แต่ขณะนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของทานเรื่องของศีล แต่เป็นเรื่องของการอบรมให้เกิดสติ และปัญญา
ท่านอาจารย์ ให้เกิดความรู้ในลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟังแต่ก็ยังไม่รู้ครับ
ท่านอาจารย์ ก็อบรม คำว่าอบรม นี่คือการที่จะเข้าใจความหมายของคำว่าอบรม
ผู้ฟัง การเจริญสติ เท่าที่ได้รับฟังทางสถานีวิทยุ ท่านอาจารย์ก็บอกให้ระลึกลักษณะของนามธรรม รูปธรรม จากที่เจริญสติในระยะแรก ส่วนมากก็รู้สึกว่าตัวเองจะพิจารณาสภาพธรรมไปเป็นคู่ๆ อย่างเช่นว่า เห็น กับ สี หรือ เสียง กับ ได้ยิน ก็เกิดวิจิกิจฉาขึ้นมาในหลายๆ ครั้ง ว่า สี กับเห็น รู้สึกติดกัน ไม่ทราบว่าจะทราบลักษณะที่ต่างกันของนามธาตุ กับรูปธาตุ ได้อย่างไร ก็ได้ฟังการบรรยายเพิ่มเติมว่าการเจริญสติปัฎฐานนี้ ปัญญาขั้นแรกนี้ก็คือนามรูปญาณปริเฉทญาน ซึ่งจะต้องรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมทางมโนทวาร กราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ถ้าสติไม่ระลึกทั่วทั้ง ๖ ทวาร คือยังไม่ระลึกทางมโนทวารนี้ ก็ไม่รู้ลักษณะที่ต่างกันของนาม และรูปใช่ หรือไม่
ท่านอาจารย์ เป็นคำถามที่เป็นความสงสัยตลอดไป จนกว่าปัญญาจะเกิดขึ้นประจักษ์แจ้งลักษณะของธรรม ซึ่งไม่มีทางที่เราจะไปคิดหวังว่าเมื่อไร เพราะฉะนั้นหนทางเดียวที่จะละธรรมเครื่องเนิ่นช้า ก็คือว่าเวลาที่สติระลึกลักษณะของนามธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้ ค่อยๆ เข้าใจในลักษณะของธาตุรู้ขึ้น เวลาที่ระลึกลักษณะของรูปธรรมก็รู้ว่าลักษณะที่เป็นรูปธรรมนั้นที่สติกำลังระลึกก็เป็นเพียงธรรมชนิดหนึ่ง แล้วไม่ต้องกังวลว่าทั่ว หรือยัง ถ้ามีความรู้จริงๆ ในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมมีปัจจัยพอ นามรูปญาณปริเฉทญานก็เกิดได้ ไม่ต้องห่วง
มีใครที่คิดว่ายังแยกจิตกับเจตสิกไม่ได้บ้าง หรือไม่ จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการเพียงรู้อารมณ์ รู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ แต่ไม่จำ ไม่รู้สึก ไม่ริษยา ไม่เมตตา ไม่อะไรทั้งหมด เพราะว่าลักษณะอื่นนอกจากสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์แล้วเป็นเจตสิกทั้งหมด วันหนึ่งๆ ที่เราบอกว่าคนนั้นร้าย คนนี้ดี ร้าย ดี นั้น ก็คือเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิต ตามที่ได้สะสมมา
เพราะฉะนั้น ก็ไม่ยากเลยที่จะเข้าใจลักษณะของจิต เจตสิก รูป แต่ต้องไม่ลืม แล้วก็ต้องคิดว่าจะไม่จำดีไหม จะไม่เอาดีไหม ฟังไปเรื่อยๆ ไม่ได้ค่ะ เพราะเหตุว่าเป็นปรมัตธรรมที่จะทำให้เราเห็นความไม่ใช่ตัวตน เพราะรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง คือเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ได้แก่ เห็น ได้ยิน คิดนึก แต่ส่วนเจตสิกก็เป็นสภาพของนามธรรมอื่นซึ่งเกิดกับจิต ทำให้จิตต่างออกไปเป็นสภาพต่างๆ
ผู้ฟัง กราบเรียนถาม ว่าคือไม่ทราบว่า อย่างนี้จะเรียกว่าตั้งใจ หรือไม่ คืออยากจะทราบว่าอาการของโทสะเป็นอย่างไร ก็ระลึกถึงเรื่องที่โกรธ ทำให้โกรธ อาการโทสะก็ เกิดขึ้น ก็เลยไประลึกรู้ตรงที่โกรธ พออยากจะรู้ว่าเศร้าเป็นอย่างไรก็ไปนึกถึงเรื่องที่เศร้า อาการอย่านั้นก็เกิดขึ้น อย่างนี้ทำยังไม่ถูก ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ถูกแน่นอน ที่ว่าไม่ถูกเพราะอะไร เพราะเห็นว่าเป็นตัวตนที่ทำ
ผู้ฟัง แต่ก็ได้ความรู้สึกอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจะมีความพอใจ อย่าลืมว่า อะไรที่ทำให้เกิดพอใจไม่ทำให้เกิดการละ ไม่ใช่การรู้แล้วละ
ผู้ฟัง แต่ก็นึกว่าอย่างนี้ฝึกเอาไว้ เผื่อเวลาเกิดขึ้นมาจะได้ทันบ้าง
ท่านอาจารย์ ไม่ต้อง เพราะอะไร เพราะว่าฝึกอย่างนั้นคือฝึกผิด และก็จะติดนิสัยผิด โดยที่ว่าขณะนี้ไม่จำเป็นต้องฝึกเลย สติระลึกได้ถ้ามีปัจจัย ปัจจัย คือความเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรม แล้วเป็นอนัตตา และก็รู้ด้วยว่าเวลาสติเกิด สติมีลักษณะอย่างนี้ แต่ถ้าตราบใดที่สติไม่เกิด ก็ยังสงสัยว่าสติมีลักษณะอย่างไร
เพราะฉะนั้นก่อนอื่น ถ้าจะเจริญสติ ก็หมายความว่ารู้ลักษณะของสติ และเมื่อสติเกิดสติก็จะเกิดอีก "อนุปัสสนา" บ่อยๆ หนึ่ง เรื่องไม่ใช่ไปซ้อมทำอย่างอื่น ซ้อมทำอย่างอื่น นั่นตัวตน มีโลภะ มีความต้องการด้วย
เพราะฉะนั้น เรื่องของโลภมูลจิตนี่เป็นเรื่องที่เจ้าเล่ห์ เจ้ากล สุดจะพรรณา คือว่า ไม่มีใครสามารถจะไปตามรู้เล่ห์กลของโลภะได้ ถ้ารู้ได้คือหมายความว่าขณะนั้นเป็นปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ แต่ถ้าไม่ใช่ปัญญา โลภจะทำได้สารพัดอย่าง เช่น ลองนึกถึงโทสะ ลองนึกถึงโลภะ จะเป็นเรื่องของความต้องการทั้งนั้น
ผู้ฟัง เมื่อพูดถึงบุคคลในครั้งพุทธกาลที่ได้มีโอกาสจะรู้แจ้งธรรม จากตัวอย่างหลายๆ ท่าน ปรากฏว่าเวลาที่ไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จะแสดงคำว่า "อนุปุพพิกถา" เริ่มต้นในเรื่องของทานก่อน ผมก็มาพิจารณาเองว่า เอ๊ะ ปกติเนี่ยนะถ้าไม่พูดถึงเรื่องทาน คือเรื่องของกุศลเลย จิตของคนที่กำลังนั่งฟังพระธรรมอยู่นั้นอาจจะซัดส่าย หรือไม่สำรวม ไม่พิจารณาถึงสิ่งที่ตัวเองได้เคยกระทำ ดังนั้น เริ่มต้นว่าถ้าจะช่วยให้บุคคลนั้นได้มีการระลึกได้ ก็กล่าวเรื่อง ของทาน เรื่องของศีล เรื่องโทษของกาม เรื่องสวรรค์ และเรื่องอริยสัจ ๔
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060