สนทนาธรรม ตอนที่ 054
ตอนที่ ๕๔
ผู้ฟัง กล่าวเรื่องทานเรื่องศีล เรื่องโทษของกาม เรื่องสวรรค์ และเรื่องอริยสัจ ๔ แต่ว่าปัจจุบัน การฟังพระธรรม ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างตามลำดับอย่างนั้น แล้วแต่ว่าเรื่องนั้นจะฟังเมื่อไหร่ ครั้งอะไร เพราะฉะนั้น ประโยชน์ที่คนในสมัยนี้จะได้นี้ จึงมีส่วนน้อย
ท่านอาจารย์ มิได้ค่ะ หมายความว่า มักจะลอกแบบ มีแม่แบบแล้วก็เลียนแบบแล้วก็ลอกแบบ แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องของปัญญา ถ้าไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเนี้ย จะรู้ไหมว่าคนที่มาเฝ้า พร้อมแล้วที่จะทรงแสดงอนุปุบพิกถา หรือว่าคนนั้นเพียงตรัสเรื่องของสภาพธรรมที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เขาก็บรรลุได้ เพราะฉะนั้นไม่มีใครสามารถที่จะไปรู้ได้ว่า ทรงแสดงธรรมอย่างไร ซึ่งจะอุปการะให้เขาสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม แต่สำหรับเรานี้สิ่งที่เราไม่ได้เคยฟังในชาตินี้มาก่อน คือเรื่องของปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น เราจะมีชีวิตอยู่ในโลกเนี่ยนานเท่าไหร่ ก็ไม่ทราบ แล้วเราจะพูดเรื่องไหนดี
ผู้ฟัง เรื่องที่ทำให้สติเกิด และปัญญาเจริญ
ท่านอาจารย์ เรื่องที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน แล้วจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง ท่านพระยสะกุลบุตรท่านก็มีความสมบูรณ์พร้อมหมด แต่ในรายละเอียด ก็ไม่ได้กล่าวว่าท่านมีการให้ทาน มีอะไรมากมาย แต่เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรม แสดงเรื่องอนุบุปพิกถาก่อนเลย เรื่องทานก่อน
ท่านอาจารย์ จะทำเป็นรูปแบบ หรือจะลอกแบบ ในเมื่อเราไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งไม่รู้ความพร้อมของบุคคล และถ้าสมมติว่า จะคิดถึงจิตทุกคน ต่างมีจิตคนละหนึ่งขณะ ทีละหนึ่งขณะ ขอยกตัวอย่างว่า ขณะเห็น เป็นจิตขณะเดียว แต่ว่าในจิตขณะเดียวที่เห็น มีอะไรในจิตนั้นบ้าง มีกล้องส่องที่จะไปดูความละเอียดว่า สะสมปัญญามาแค่ไหน สะสมอกุศลมาแค่ไหนหรือเปล่า เพราะเหตุว่าหลังจากที่เห็นดับ ความคิดนึกเกิด ต่างคนต่างใจ ตามการสะสม ว่าคนนี้เห็นแล้วมีเมตตา คนนั้นเห็น แล้วเกิดหมั่นไส้ หรือคนนี้เห็นแล้วก็เกิดอยากจะช่วยเหลือ หรืออะไรอย่างนี้ นี่แสดงให้เห็นว่าในจิต แม้เพียงเห็น ซึ่งทุกคนก็ต่างเห็น แต่ว่าจิตเห็นนี้มีอะไรอยู่ในนั้น ที่พร้อมที่จะผลิตจิตขณะต่อไป ให้เป็นอย่างหนึ่งอย่างใด นี่เราไม่สามารถจะรู้ได้ แต่เมื่อพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถที่จะหยั่งรู้ถึงการสะสม หรืออินทรีย์ของแต่ละจิต ไม่ต้องพูดถึงคน ซึ่งเป็นเรื่องสมมติ พูดถึงเรื่องปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น รู้ว่าบุคคลนี้ถึงกาละที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม และกาละสำหรับบุคคลนี้จะแสดงอนุปุบพิกถา หรือว่าจะแสดงธรรมอื่น เพราะเหตุว่าไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม จะต้องได้รับฟังอนุปุบพิกถาทุกคน ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างท่านพระอัสสชิแสดงธรรมกับท่านพระสารีบุตร ไม่ได้แสดงเรื่องอนุบุปพิกถาเลย แต่ท่านพระสารีบุตรก็รู้แจ้งอริยสัจจธรรม
เพราะฉะนั้น อย่าคิดเรื่อง รูปแบบ หรือลอกแบบ หรือเลียนแบบ แต่ให้ทราบว่าชีวิตของเราที่เกิดมานี้เราจะตายอาจจะเป็นพรุ่งนี้ เย็นนี้ก็ได้ เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามซึ่งประเสริฐสุดก็คือ ขณะที่สามารถจะได้ยินได้ฟัง สิ่งซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังแล้วเข้าใจ เรื่องของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ที่จริงเรื่องของ นามธรรมกับรูปธรรมผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ เพียงแต่ว่า จำไว้เท่านั้นเอง คือ เชื่อไปอย่างนั้นก่อน แต่อยากจะขอความเข้าใจว่า สภาพธรรมในโลกเรา มี ๒ อย่าง คือนามธรรมกับรูปธรรม นามธรรม ก็เป็นเพียงสภาพรู้ ส่วนรูปธรรมก็ไม่ใช่สภาพรู้ นามธรรมกับรูปธรรม เราจำแนกเป็นปรมัตถธรรม ๔ ซึ่งได้แก่ จิตเจตสิก รูป แล้วก็นิพพาน มีรูปเท่านั้น ที่เป็นรูปธรรม ส่วนนามธรรม ได้แก่ ปรมัตถธรรม ๓ ที่จำแนกว่า นิพพานปรมัตถ์ว่า เป็นนามธรรม ก็สักแต่ว่าผู้กล่าวมาอย่างนี้ ผมก็จำตามเท่านั้นเอง แต่ว่าไม่กระจ่างเลยว่า นิพพานปรมัตถ์ จะเป็นรูปธรรมได้ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ได้แน่นอน
ผู้ฟัง ก็อยากขอทราบเหตุผล และอะไรที่มีเหตุผล ที่จะให้เข้าใจกระจ่างขึ้น เพราะว่า นิพพานไม่ใช่สภาพรู้ เป็นนามธรรม ที่ไม่ใช่สภาพรู้ ก็ไม่กระจ่าง ก็อาศัยความจำเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ เพราะว่ารูปธรรมมีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น เหมือนกับจิต และเจตสิก ซึ่งเป็นนามธรรม มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น แต่นิพพานเป็นนามธรรมก็จริง ไม่ใช่รูปธรรมไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เกิดขึ้น
ผู้ฟัง เพราะว่าต่างกันตรงนี้ใช่ไหม เพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง ครับ
ท่านอาจารย์ รูปไม่ใช่นาม เพราะเหตุว่า รูปไม่ใช่สภาพรู้ แต่รูปก็เกิดขึ้น เพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง จิต เจตสิก เป็นนาม นิพพาน เป็นนาม แต่นิพพาน ไม่ใช่จิต เจตสิก เพราะเหตุว่า จิต เจตสิก เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง
ผู้ฟัง นิพาน ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
ท่านอาจารย์ ไม่เกิดขึ้น
ผู้ฟัง และก็ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
อ.นิภัทร เมื่อไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ก็ไม่เกิดไม่ดับ
ผู้ฟัง เลยถือเป็นนามใช่ไหม
อ.นิภัทร เพราะไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่างสัณฐาน อะไรเลย พระนิพพาน ไม่มีรูปร่างสัณฐาน
ผู้ฟัง ไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมายอะไรเลย
ท่านอาจารย์ รูปยังเป็นรูป ที่มีลักษณะของแต่ละรูป
ผู้ฟัง รูปที่ไม่มีนิมิตเครื่องหมายมีไหม ที่รู้ได้ทางใจ
ท่านอาจารย์ รูปที่รู้ได้ทางใจ ก็คือรูปอื่นนอกจากรูป ๗ รูป
ผู้ฟัง จะต่างกัน
ท่านอาจารย์ ก็เป็นรูปอยู่ดี เกิดขึ้นต้องมีลักษณะ
ผู้ฟัง แต่นิพพานไม่มีลักษณะ
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นธรรม แล้วต้องมีลักษณะ
อ.นิภัทร แต่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
ท่านอาจารย์ ลักษณะของเขา ก็คือไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง
ผู้ฟัง เลยจัดเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จัด แต่โดยสภาพไม่ใช่รูป
อ.นิภัทร คือ ไม่ใช่ลักษณะแบบจิต เจตสิก
ผู้ฟัง คือใช้ข้อแตกต่าง ตรงนี้เอง
อ.นิภัทร คือไม่ใช่จิต เจตสิก ไม่ใช่รูป ก็อีกเหตุผลหนึ่ง
ผู้ฟัง โลภะ เป็นเครื่องเนิ่นช้า แต่ถ้าเราอยากมาฟังพระธรรมอย่างนี้ จะเรียกว่าเป็นการเนิ่นช้าหรือไม่
ท่านอาจารย์ อยาก หรือ ฟัง
ผู้ฟัง อยากฟัง
ท่านอาจารย์ ถ้าเพียงอยาก เหมือนกับ อยากใส่บาตร กับใส่บาตรเหมือนกันไหม
ผู้ฟัง ไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ตั้งใจจะใส่บาตร กับอยากใส่บาตรนี่ ผิดกัน ตั้งใจมาฟังพระธรรม กับอยากมาฟังพระธรรมก็ผิดกัน
ผู้ฟัง คือ ที่ถามนี่เคยมีบางคนพูดว่า ทำไม่ได้ โลภะ บอกว่ามีได้ ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า
ท่านอาจารย์ ลักษณะที่อยาก อยากได้ทุกอย่าง อยากเป็นพระอรหันต์ อยากเป็นรูปพรหม อยากมีสติ อยากบวช อยากช่วยคนนั้น อยากช่วยคนนี้ ลักษณะที่อยากปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เป็นสภาพที่อยาก ไม่เหมือนกับเจตนาที่จะช่วย เพราะฉะนั้นเวลาที่กุศลจิตเกิดมีกุศลเจตนา มีความตั้งใจที่เป็นกุศล ไม่ใช่เพียงแต่อยาก เพราะฉะนั้นต้องแยก
ผู้ฟัง ก็เข้าใจ จะได้ยินคนพูดอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ แต่เราก็ไม่สามารถว่าจะตอบคำนี่อย่างไร ก็ขึ้นอยู่ที่ลักษณะใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แค่มีสติจะรู้ความต่างกัน
อ.นิภัทร ที่ว่าอยากมาฟังธรรมสงสัยจะเป็น ฉันทะ ฉันทะก็อยากเหมือนกัน แต่อยากอย่างฉันทะ ไม่ได้อยาก อย่างโลภะ เพราะฉันทะเจตสิกนี่ เกิดกับจิตที่เป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ แต่ถ้าเกิดกับจิตที่เป็นกุศล ก็อยากมาฟังธรรม ตัดสินใจเลยจะมี อะไรๆ ก็แล้วแต่ แม้แต่วันนี้มีเลือกตั้งนี่ ก็ตัดสินใจ ตื่นแต่เช้า เลือกตั้งเสร็จก็มา คือมีฉันทะตั้งใจไว้แน่นอน
ท่านอาจารย์ เวลาที่เป็นความตั้งใจนี้ เห็นลักษณะของอยากหรือไม่ หรือว่าเป็นแต่ความตั้งใจ
อ.สมพร ฉันทะเกิดทั้งกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ แต่บางครั้งบางคราว เกิดกับอกุศล เกิดแม้นิดหนึ่ง ซึ่งความอยากบางครั้งก็หมายความว่า เรายึดอัตตานี้แหละเป็นตัวตนในความยึด เป็นมาตรฐานชี้ชัดว่า ต้องเป็นโลภะ ว่าตัวเรา แต่อยากที่เป็นฉันทะ ไม่ได้ยึดอัตตาว่าเป็นตัวตน มีความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกระทำกุศล อย่างพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อมีฉันทตา มีความพอใจในการสร้าง ถ้าเราจะไม่พิจารณาให้ดี คำว่าอยากก็ส่วนมากก็ต้องเป็นโลภะ แต่ว่าอีกอย่างหนึ่ง ฉันทะก็เป็นได้ แต่เป็นในกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ ก็ใกล้ๆ กันนะ เพราะว่าฉันทะนี้ เป็นได้หลายอย่าง
ท่านอาจารย์ วิธีสังเกตว่าจะเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต ถ้าเป็นกุศล และเบาสบาย ไม่เดือดร้อน แต่ถ้าเป็นอกุศลแล้ว ต้องหนัก และก็เป็นทุกข์ และเดือดร้อน เพราะฉะนั้น เวลาที่อยากมานี่เป็นอย่างไรคะ เดือดร้อน ก็ต้องเป็นอกุศล เพราะเหตุว่า อกุศลจิตกับกุศลจิต สลับเร็วมาก ถ้าไม่ใช่สติปัฏฐาน แล้วไม่มีทางที่จะรู้เลย
ผู้ฟัง ทีนี้ยังมี เรื่องที่ว่า อยู่ในข่ายคนพาล หรือไม่ ผมหมายถึงคนพาลในทางธรรม ที่ตรงข้ามกับบัณฑิต แล้วโยงไปถึงเรื่องอเสวนาจพาลานัง ว่ากิจกรรมของคนเหล่านี้ เขาทำกิจกรรมอะไร เราควรจะเข้าไปเสพ หรือเปล่า และผมอยากจะปรารภนิดนึง เมื่อครู่ได้ยินพูดถึง มีการชกมวย เพื่อการกุศล ซึ่งเป็นกุศลเจตนา แต่ก็เจือด้วยด้วยอกุศล ซึ่งฟังดูแล้วคล้ายกับเรื่องพวกที่ขายเหล้า เพื่อเอาเงินไปทำกุศล ซึ่งแลดูคล้ายๆ กับพวกที่ฆ่าสัตว์บูชายัญ แล้วนึกว่าเป็นกุศล คือพูดง่ายๆ เขาสำคัญผิดไปเลย ว่าสิ่งที่เขาทำ เป็นปาบเป็นอกุศล แต่เขาไปนึกว่าเป็นกุศล เพราะฉะนั้น ผมนึกว่าพวกที่ขายเหล้า เพื่อเอาไปทำกุศล หรือว่าจัดชกมวย ผมว่าเหมือนกันเลยกับคนฆ่าสัตว์บูชายัญ แล้วนึกว่าได้กุศล ซึ่งจริงๆ แล้วน่าจะเป็นบาป
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วก็ต้องเป็นความละเอียด ที่จะดูสภาพของจิตว่าเป็นไปในอกุศลกรรมบถ หรือไม่ เป็นสิ่งที่เป็นเครื่องวัด เพราะเหตุว่าทุกคนก็ยังมีอกุศลจิต จะพ้นไปได้จริงๆ ก็ต่อเมื่อมีปัญญาเกิดขึ้น ที่จะรู้สภาพธรรมละเอียดขึ้น สำหรับเรื่องของคนพาล ถ้าเราจะจำกัดความหมายว่า เอ๊ะ เราไม่ได้ทำอะไร เราเป็นพาลรึเปล่า เอาแค่นี้เรายังไม่ได้ทำอะไรเลย และเราเป็นพาลบ้างรึเปล่า
อ.สมพร เรื่องพาล ก็มีหลายระดับ ถ้าพาละ พาโล พาล นี้นะครับ แปลว่าโง่ คนโง่ คราวนี้พาล เนี่ยมีหลายอย่าง อันธพาล ก็ลงความว่า คนทั้งหมดนะ ถ้าจำแนกออกเป็น ๒ ประเภทได้ ปุถุชนประเภทหนึ่ง อริยบุคคลประเภทหนึ่ง อย่างนี้ ปุถุชนอย่างพวกเรา ก็ยังจำแนกออกเป็นว่า กัลยาณปุถุชน และอันธพาลปุถุชน หรือพาลปุถุชน
คราวนี้ ถ้าหากว่าเราจะคบนะ ถ้าไปคบคนพาล ที่ไม่รู้ ก็พาไปในด้านอกุศลมากมาย จิตของเราก็เศร้าหมอง
เพราะฉะนั้น ในคาถานั้น ท่านจึงไม่ให้คบคนพาล เมื่อคบแล้ว จิตมันมีแต่อกุศลเกิด ไม่มีกุศลเกิดเลย แต่ถ้าเราจะคบ คบพวกกัลยาณมิตรได้ ครับ เมื่อคบแล้วก็ทำให้กุศลเกิด มีการแนะนำให้มีการให้ทาน รักษาศีลเหล่าเนี่ย เป็นเหตุให้ กุศลจิตเกิด พาล ก็หมายความว่า คนที่ไม่รู้ เมื่อคบแล้วก็เป็นเหตุให้อกุศลเกิดทั้งสิ้น ก็รวมเป็นคนพาล เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ถ้าทราบแล้ว ขณะนี้เราเป็นพาลบ้างรึเปล่า หรือเราไม่เป็นเลย เวลานี้ที่เรานั่งเฉยๆ นี่ เป็นพาลบ้างมั้ย คือโดยมากเราไปใช้ คำว่าคนพาล เวลาที่เราเห็นอาการมากๆ ใช่ไหม มากๆ และเราก็กำหนดได้ว่า ลักษณะนี้ เป็นลักษณะของคนพาล แต่ความจริงลักษณะมากๆ ที่ปรากฏจนกระทั่งเห็นว่าหนาแน่น ก็คืออกุศลจิต หรืออกุศลธรรม
เพราะฉะนั้นขณะใดที่จิตเป็นอกุศลนี้ในขณะนั้นเป็นพาล อย่างน้อย หรืออย่างมาก อย่างที่ อาจารย์บอกว่าโง่ พาละ คือผู้เขลา
ขณะใดที่อกุศลจิตเกิด ขณะนั้น จะบอกว่าเป็นผู้มีปัญญา หรือเป็นผู้ที่ฉลาดไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราไปเห็นคนพาลอื่น ตัวใหญ่ๆ อกุศลมากๆ แล้วก็เราลืมคิดว่า แม้ว่าจะตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก พาลก็คือพาล อกุศลก็คืออกุศล
เพราะฉะนั้น โลภะจะมาก หรือจะน้อยสักเท่าไหร่ ก็คือโลภะ โทสะจะมาก หรือจะน้อยสักเท่าไหร่ ก็คือโทสะ เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะไปดูว่าคนอื่นพาล หรือว่าเขาเป็นพาลมากนี่ แต่ว่าเรานี่ พาลหรือเปล่า ถ้ารู้ว่าขณะใดเป็นอกุศล ขณะนั้นพาลแน่ๆ
เพราะฉะนั้น เราก็จะดูได้ว่าทุกคนเหมือนกันหมด คือว่า ตราบใดที่ยังไม่ใช่เป็นพระอริยบุคคล ตราบนั้นมีอกุศลจิต เมื่อมีอกุศลจิตแล้ว นี่เราจะคบคนพาล หรือไม่คบ เพราะเหตุว่า ถ้าจะพูดถึงว่า ไม่คบคนพาลเนี่ย เราไปเอาตัวบุคคลมา ว่าคนนี้เป็นพาล เราไม่คบด้วย แต่เราจะคบกับอกุศลจิตมั้ย เราจะคบกับอกุศลธรรมหรือไม่ นี่คือ สิ่งที่เราสมมติ เรียกว่าพาล
เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้แน่ว่า เราเองก็มีอกุศลจิต เพราะฉะนั้น ก็ไม่ควรจะคบ คือมีบ่อยๆ หรือว่ามีมากๆ แล้วเราก็จะรู้ได้ว่า การที่เราจะคบใครก็ตาม ถึงแม้ว่าลักษณะอาการภายนอกของเขา อาจจะเรียกได้ว่า สุดจะพาล พาลเหลือหลาย พาลที่สุด แต่เราจะเป็นประโยชน์กับเขาบ้างหรือไม่ เพราะเหตุว่า ถ้าการคบกับคนที่เราสามารถที่จะเป็นประโยชน์กับเขา ไม่ว่าเขาเป็นใคร เพื่ออนุเคราะห์ หรือเพื่อสงเคราะห์ แต่ไม่ใช่เพื่อที่จะไปทำตามอย่างเขา หรือว่าเพื่อที่จะไปเข้าหมู่เข้าคณะเป็นพวกเขาไม่ใช่อย่างนั้น แต่หมายความว่า ทางเดียว ลักษณะการคบหากับคนพาล ประการเดียวคือ เป็นประโยชน์กับเขาหรือไม่ ถ้าเป็นประโยชน์ก็ควรคบค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่าไปเป็นเพื่อนสนิท แต่คบในฐานะที่อนุเคราะห์ได้หรือไม่ ถ้าอนุเคราะห์ได้ก็อนุเคราะห์ แต่ไม่ใช่เป็นเข้าพวกหรือเป็นด้วย เพราะเหตุว่า ไม่ว่าจะเป็นใครทั้งนั้น อกุศลจิตของคนที่เราคิดว่า ดีแสนดี แต่ว่าอกุศลจิตเกิดขณะใด เราก็ไม่ควรจะไปคบ กับอกุศลจิตของคนนั้น หรือว่าเราไม่ควรจะเป็นคนลำเอียงว่าคนนี้ดีอยู่แล้ว เพราะเขาทำอะไรก็ไม่ผิดหรอก ไม่ถูกต้อง คือธรรม กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล แม่แต่ที่ คนที่เราคิดว่า เป็นผู้ดีมีคุณธรรม หรือว่ามีความประเสริฐมาก แต่ถ้าขณะใดเป็นอกุศลจิต เราก็ต้องตรงว่า ขณะนั้นเป็นอกุศล ที่เราจะไม่คบในลักษณะของอกุศล ถ้าถามว่าจะคบกับคนพาลมั้ย ก็ต้องพิจารณาละเอียดไป
ตอนนี้ คุณทศพลมีจิตชาติอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ก็ขาดชาติกิริยาหรือไม่
ท่านอาจารย์ มีหรือไม่ชาติกิริยา
ผู้ฟัง ผมว่าขาดไป ตอนช่วงนี้ยังไม่มี
ท่านอาจารย์ แน่ใจหรือว่าไม่มี
ผู้ฟัง อ๋อ มีอยู่ ๒ ครับ
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างงั้น เราก็ควรจะผ่านไปถึง กิริยานิดหน่อย กิริยาจิต เพราะว่าคุณทศพล บอกว่า มีจิต ครั้งแรกบอกว่า ไม่มีกิริยาจิต พอนึกขึ้นมาได้ ก็อ๋อ มีกิริยาจิต ทั้งๆ ที่คุณทศพลไม่ใช่พระอรหันต์
เพราะฉะนั้น กิริยาจิต เป็นจิตอีกชาติหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต ไม่ใช่วิบากจิต แต่เป็นจิตที่ไม่เป็นเหตุ ที่จะให้เกิดผล และก็ไม่ใช่ผล ของเหตุหนึ่ง เหตุใดด้วย คือไม่ใช่กุศลวิบาก ไม่ใช่อกุศลวิบาก ซึ่งเป็นผลของกุศล และอกุศล ส่วนใหญ่แล้วเป็นจิตของพระอรหันต์ เพราะเหตุว่า สำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ แม้ว่ายังเป็นพระอนาคามีบุคคล คือการรู้แจ้งอริยสัจธรรม จะดับกิเลสเป็นลำดับขั้น ขั้นแรกเป็นพระโสดาบัน เพราะว่าดับมิจฉาทิฎฐิ ความเห็นผิดหมด ไม่มีเลย ดับความสงสัยในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม แต่ก็ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ เพราะเหตุว่า ยังไม่ใช่พระอรหันต์ อีกขั้นหนึ่ง ก็สูงขึ้นจากพระโสดาบัน ก็เป็นพระสกทาคามี เมื่อรู้แจ้งอริยสัจธรรม ครั้งที่ ๒ ก็ดับความติดข้อง ในรูปเสียง กลิ่นรส สัมผัส อย่างหยาบได้ อีกขั้นหนึ่ง ก็คือสูงจากพระสกทาคามี ก็คือ เป็นพระอนาคามี เพราะรู้แจ้งอริยสัจธรรม แล้วก็ดับความติดข้อง ในรูปเสียงกลิ่นรส สัมผัสได้ แต่ก็ยังเป็นอกุศลได้ นอกจากพระอรหันต์เท่านั้น ที่เมื่อไม่มีอกุศลเลย ดับหมด กุศลก็ไม่มีด้วย
เพราะฉะนั้นสำหรับพระอรหันต์ ไม่มีทั้งกุศล ไม่มีทั้งอกุศล แต่ยังมีวิบาก ซึ่งเป็นผลของอดีต อกุศลกรรม หรืออดีตกุศลกรรม ที่ได้ทำแล้ว แต่ว่าเมื่อท่านเห็น ท่านได้ยินอย่างเรา จิตของท่านไม่เป็นกุศล อกุศล แต่เป็นกิริยาจิต
เพราะฉะนั้น คุณทศพลไม่มีกิริยาจิตประเภทพระอรหันต์ แต่มีกิริยาจิต ๒ ดวง เราก็เคยกล่าวถึงแล้ว สำหรับคนที่ยังไม่ลืม ทุกคนจะมีกิริยาจิต ๒ ดวง คือ ก่อนที่จะมีการเห็น เช่น ตอนที่เราเกิดมาใหม่ๆ จิตขณะแรก ก็เป็นผลของกรรมหนึ่งกรรมใด ซึ่งทำให้แต่ละคนที่นั่งอยู่ที่นี่ต่างกัน เพราะกรรมอย่างเดียว เราเพียงแต่เอาชื่อมาใส่ แต่ความจริงแล้ว กรรมทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด พร้อมกับเจตสิก เป็นชาติวิบาก คือเป็นผลของกรรมหนึ่ง แล้วก็มีรูปเกิดร่วมด้วย ซึ่งเป็นผลของกรรมนั้น
เพราะฉะนั้น รูปของแต่ละคนก็ต่างกันไปตามกรรม แม้แต่ รูปของสัตว์ทุกชนิด สัตว์บก สัตว์น้ำ ตอนเกิดขณะแรกที่ ปฏิสนธิจิตเกิด เราบอกไม่ได้เลย ว่าเป็นมนุษย์ หรือเป็นสัตว์ หรือว่าเป็นอะไร เพราะว่าเป็นส่วนที่เล็กมาก แต่ว่ากรรมก็ทำหน้าที่ของกรรม คือ กรรมเป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิดสืบต่อ พร้อมกับกัมมัชรูป คือรูปที่เกิดจากกรรม ทำให้แต่ละคนต่างกัน แล้วก็ มี ตา จักขุประสาท เกิดเพราะกรรม มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย ซึ่งกระทบกับ สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส ขณะใด ขณะนั้นก็เป็นปัจจัยให้วิบากจิต ที่เห็น กำลังเห็น ชั่วขณะเห็น แสนสั้น เป็นผลของกรรม ซึ่งใครก็ทำให้ไม่ได้ นอกจากกรรม
เพราะฉะนั้น ก็มีใช่ไหม มีวิบากจิต แล้วก็มี กุศลจิต หรืออกุศลจิต หลังจากเห็นแล้ว ส่วนใหญ่ทุกคน ก็คงจะรู้ว่า เป็นอกุศล เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ เห็นกี่ครั้ง อกุศลเกิด ๗ เท่า ของขณะเห็นขณะหนึ่ง ส่วนกุศลจิตก็มีเหมือนกับแขกแปลกหน้า ในวันหนึ่งๆ แต่สำหรับพระอรหันต์หลังเห็น หลังได้ยินแล้ว เป็นกิริยาจิต
เพราะฉะนั้น ความต่างกัน ก็คือว่า สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ มีจิตครบทั้ง ๔ ชาติ คือเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นวิบากก็มี เป็นกริยาน้อยเพียงแค่ ๒ ดวง แต่สำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว มีแต่วิบากจิต กับ กิริยาจิตเท่านั้น กุศลจิต อกุศลจิตไม่มี
เพราะฉะนั้น ใครไม่มีกิริยาจิตบ้าง คุณวันณี มีกิริยาจิตหรือไม่มี
ผู้ฟัง มีค่ะ
ท่านอาจารย์ มีใครจะตอบว่า ไม่มี บ้างหรือไม่ มีใครสักคนในที่นี้ ที่ไม่มีกิริยาจิต ไม่มี มีใครสักคนในที่นี้ ที่ไม่มีกุศลจิต ก็ไม่มีอีก มีใครสักคนในที่นี้ ที่ไม่มีอกุศลจิตก็ไม่มี ทุกคนต้องมีจิตครบทั้ง ๔ ชาติ เว้นพระอรหันต์ เหลือจิตเพียง ๒ ชาติ อันนี้คงไม่มีปัญหาเลย ให้ทราบว่าชาติที่นี่ ไม่ใช่ ชาติจีน ชาติไทย แต่เป็นชาติของจิต และเจตสิก รูปมีชาติหรือไม่ รูปก็เกิด แต่มีชาติหรือไม่
ผู้ฟัง ความจริง ความหมาย คำว่า ชาตินี่ ก็ไม่ได้กำหนดว่า เป็นรูป หรือเป็นนาม รูป เป็นอัพยากต แต่ความหมายคำว่าชาติเนี่ย ที่เราจะแบ่ง กุศล อกุศล วิบาก กิริยาว่าเป็นชาตินี้ จะต้องเป็นนามธรรมเท่านั้น แต่ทำไม รูป ถึง ไม่จัดว่าเป็นชาติ ทั้งๆ ที่เป็นอัพยากตธรรม แม้แต่กิริยา ก็เป็นอัพยากตธรรมเหมือนกัน ก็น่าสงสัย ผมว่าน่าจะจัดได้
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060