สนทนาธรรม ตอนที่ 058
ตอนที่ ๕๘
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ก็คือ ฟังเรื่องของตัวเอง ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ทุกขณะ ตั้งแต่เกิดจนตาย นี้คือ การที่จะได้รู้ว่า ธรรมที่เราฟังนี่ คืออะไร แล้วก็ เราจะรู้จักธรรม ได้ที่ไหน แล้วก็เมื่อไหร่ เพราะเหตุว่า ไม่มีใครที่ขาดธรรมเลย เมื่อเกิดมาแล้วนะคะ สรุปได้ว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ว่าเป็น ธรรมแต่ละชนิด ธรรมแต่ละชนิดที่มี นี่นะคะ ถ้าแบ่งเป็น สอง อย่าง กว้างๆ ที่ต่างกันนะคะ พอที่จะกล่าวได้มั้ยคะว่า สิ่งที่มีจริงนี่ เยอะแยะเหลือเกิน เพราะฉะนั้น เอาเพียงแค่ สอง อย่าง ว่าสิ่งที่มีจริง และถ้าแยกออกเป็น สอง ประเภทใหญ่ๆ เนี่ย จะมีลักษณะที่ต่างกันเป็น สอง ประเภท ได้มั้ยคะ อาจารย์คะ
อ.สมพร ก็เป็นนามอย่างหนึ่ง รูปอย่างหนึ่ง ๒ ประเภทนะครับ
ท่านอาจารย์ ที่ตัวคุณวีระ มีธรรมมั้ยคะ
ผู้ฟัง มี ครับผม
ท่านอาจารย์ มีธรรม กี่ประเภทใหญ่ๆ
ผู้ฟัง มี สอง ประเภทครับ
ท่านอาจารย์ ใหญ่ๆ นะคะ อะไรบ้างคะ
ผู้ฟัง นามธรรมกับรูปธรรม ครับผม
ท่านอาจารย์ ค่ะอะไรเป็นนามธรรมบ้างยกตัวอย่าง ความหมาย ของคำว่า นามธรรม กับความหมายของ รูปธรรม เพราะเหตุว่ายุคนี้นะคะ ใช้คำว่ารูปธรรม แต่ว่าไม่ใช่ความหมาย ในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น เวลาที่เราเริ่ม ที่จะฟังธรรม หรือว่า รู้จักธรรมเนี่ยนะคะ เราต้องเข้าใจว่าธรรม ในภาษาบาลีที่ทรงใช้ กับ ความหมายภาษาไทยเราเนี้ย ต่างกันมาก แม้แต่คำว่า รูปธรรม
เพราะฉะนั้น ขอให้ลืมความหมายในภาษาไทยซะก่อนนะคะ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจตัวจริงๆ ของธรรม เพราะฉะนั้น ที่คุณวีระบอกว่า มีนามธรรมกับรูปธรรมไม่ใช่รูปธรรมในภาษาไทยที่เราได้ยิน ไม่ใช่นามธรรมคือ ชื่อต่างๆ ที่เราได้ยินนะคะ แต่ต้องเป็นสภาพธรรม ที่มีจริงๆ สอง อย่างนี่ค่ะ ต่างกันยังไงคะ
ผู้ฟัง นามธรรมก็เป็นสภาพที่ ยกตัวอย่าง เลยนะครับ ว่า อย่างเช่นว่าสภาพที่ได้ยินเสียงท่านอาจารย์อย่างนี้ หรือว่าสภาพที่ คิดนึกไปในเสียง ของท่านอาจารย์เป็นคำ ส่วนข้อแตกต่างของ รูปธรรม ไปจากนามธรรม ก็คือว่า รูปธรรมนี่ เป็นสิ่งที่ไม่รู้อะไร ตัวเอง ตัวเขาเองก็ไม่รู้อะไร ส่วนตัวนามธรรมเนี่ย รู้ได้ รูปธรรม อาจจะเกิดอยู่แล้วทั่วๆ ไปนะครับ ถ้าไม่มีนามธรรมมารู้ รูปธรรมก็เกิดทั่วๆ ไปได้ อาทิเช่น ความร้อน ความเย็น ของอากาศในห้องนี้ หรือว่าเสียง ที่ใครจะพูดไปอยู่ข้างนอกห้อง หรือว่า โต็ะ เก้าอี้ อะไรทุกๆ อย่างที่อยู่ที่นี่ นะครับ ก็เป็น รูปธรรมที่ ที่เกิดขึ้นโดยปกติของมัน แล้วก็ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะฉะนั้น รูปธรรมก็คือ สิ่งที่ไม่สามารถจะรู้อะไรเลยได้ เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ หมายความว่า ที่ตัวเรา หรือว่าที่ไหนก็ตาม ในโลกนี้ หรือนอกโลกนี้ ก็ตามนะคะ ถ้าแยกสิ่งที่มีจริงแล้วก็ จะมีลักษณะที่ต่างกันใหญ่ๆ สอง อย่าง คืออย่างหนึ่งนะคะ เป็นสภาพที่รู้ เช่น เห็น โต๊ะไม่เห็น แก้วน้ำไม่เห็น ดอกไม้ไม่เห็น แต่ขณะนี้มีเห็น ลักษณะที่เห็น เนี่ยค่ะ เป็นธาตุ หรือเป็นสภาพรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งพอเกิดมาเนี่ย ที่กล่าวว่า คนเกิดเนี่ย ก็ต้องมีทั้งนามธรรม และรูปธรรม ถ้ามีแต่รูปธรรมอย่างเดียวเกิด ก็เป็นต้นไม้ เป็นอะไรๆ ไป แต่ว่าคนไม่ใช่ต้นไม้ เพราะฉะนั้นก็ต้องมีนามธรรมเกิด พร้อมกับรูปธรรมม ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ แต่ทั้งๆ ที่เราได้ยินได้ฟังอย่างนี้นะคะ ก็ยาก ที่จะแยกลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม นอกจากค่อยๆ ฟัง แล้วก็ค่อยๆ พิจารณาว่า มีจริงๆ ลักษณะที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้ อย่างเห็นนี้ค่ะกำลังมี แต่มันก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็น
เพราะฉะนั้น เราก็ลืมไป ว่าต้องมีลักษณะของสภาพเห็น หรือธาตุเห็น หรืออาการรู้ ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าทางตา อาจจะฟังแล้วก็ ใหม่ๆ นี่ ก็ยากนะคะ ย้ายมาทางหู เสียงปรากฏ เสียงในป่าก็มี แต่ไม่มีใครได้ยิน แต่ว่าขณะใด ที่เสียงปรากฏกับ จิตได้ยินเสียง แสดงให้เห็นว่าขณะนั้น มีสภาพที่กำลังรู้ หรือได้ยินเสียง ซึ่งขณะนี้นะคะ ก็เป็นธาตุแต่ละชนิด ซึ่งมีที่ตัว แต่ละคน นี่คือธรรม
เพราะฉะนั้น เริ่มเข้าใจว่า ตัวเรานะคะ คือธรรม ถ้ารู้จักธรรมจริงๆ ก็รู้จักว่าขณะนี้ ทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นธรรม แต่ว่า ต่างกันเป็นธรรม ที่เป็นสภาพรู้อย่างหนึ่ง และธรรม ที่ไม่ใช่สภาพรู้ อย่างรูปร่างกายของทุกคนเนี่ยนะคะ ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ลองกระทบดู ก็จะมีบางส่วนอ่อนบางส่วนแข็ง บางส่วนก็เย็น บางส่วนก็ร้อน สภาพที่อ่อน แข็ง เย็นร้อน เป็นธรรม แต่ว่าเป็นธรรม ที่เป็นประเภทไหนคะ
ผู้ฟัง เป็นประเภทรูปครับ
ท่านอาจารย์ รูปธรรม เพราะเหตุใดคะ
ผู้ฟัง เพราะว่าเป็นสภาพที่ไม่ทราบอะไรไม่รู้อะไร
ท่านอาจารย์ ค่ะ ไม่ทราบอะไร ไม่สามารถจะรู้อะไร เย็นมีอาการเย็นจริง แต่เย็นไม่เห็น เย็นไม่คิดเย็นไม่สุข เย็นไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้น ลักษณะที่เป็นธาตุรู้ทั้งหมด ในวันหนึ่งๆ เนี่ย เราจะเห็นได้ว่า ทางตาคือกำลังเห็น คือ รู้ว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ที่ใช้ว่าเห็นนี่คะ ก็คือรู้ว่า มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ในขณะนี้นะคะ นั่นคือเห็น ทางหู ที่กำลังได้ยิน เวลาใช้คำว่า ได้ยินเนี่ย ก็คือว่า รู้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏทางหู ทางจมูก ก็มีกลิ่น ทำให้รู้ว่าเป็น กลิ่น สิ่งต่างๆ ขณะที่กำลังลิ้มรส ซึ่งก็แสนที่จะน่าอัศจรรย์ เพราะเหตุว่ารสเนี่ยค่ะ มองด้วยตาเนี้ย จะรู้ไม่ได้เลยว่าหวาน หรือ เค็ม เปรี้ยว หรือเปล่า ต่อให้เอามือสัมผัสสักเท่าไหร่ รสนั้นก็ไม่ปรากฏ แต่พอกระทบกับลิ้น ซึ่งเป็นรูปที่สามารถจะกระทบรส เป็นปัจจัย ให้มีสภาพที่ลิ้มรส คือรู้รสนั้นเกิดขึ้น ชั่วขณะหนึ่ง แล้วดับ นี่แสดงให้เห็นว่า ทั้งตัวเราตลอดนะคะ มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย ซึ่งทำให้เกิดสภาพรู้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แล้วก็นอกจากนั้นนะคะ ทั้งๆ ที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเลย ก็ยังคิดนึก แสดงให้เห็นว่า สภาพที่คิดนึกนะคะ ก็มี เป็นสภาพที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ เพราะฉะนั้นคิดนึกนี่ เป็นธรรมฝ่ายไหนคะ คุณประทีป
ผู้ฟัง ผมก็ ก็จำหลักใหญ่ๆ ก็คือ สภาพที่รู้ ก็คือ เป็นนามธรรม สภาพที่ไม่รับรู้อะไรเลย ก็เป็นรูปธรรม
ท่านอาจารย์ คิดนึกเป็นอะไร
ผู้ฟัง สภาพที่กำลังรู้ว่ากำลังนึกคิด
ท่านอาจารย์ ตัวคิดนะคะ ตัวคิด
ผู้ฟัง ตัวคิด ก็เป็นรูปธรรม
ท่านอาจารย์ ตัวคิดค่ะ ตัวคิด รูปคิดไม่ได้ค่ะ อย่างคนคิดว่า คอมพิวเตอร์เนี่ย คิดได้ ไม่ได้ค่ะ ต้องให้ทราบว่าสภาพคิดนี่ คือ สภาพที่กำลังรู้นะคะ แต่รู้เรื่อง ที่ใช้คำว่าคิดเนี่ย รู้เรื่อง อย่างในขณะนี้นะคะ คิดว่า กรุงเทพ โต๊ะนี้ไม่มีทางที่จะรู้เลย หรือว่า จะคิดคำว่ากรุงเทพ ก็ไม่ได้ แต่คนคิด คำว่า กรุงเทพฯ ขณะนั้น คือธาตุรู้ ชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังคิดถึงคำว่า กรุง กับ คำว่า เทพ เพราะมีสัญญาความจำ จึงทำให้เป็นปัจจัย ให้เกิดการคิด คำว่า กรุง ขึ้นได้ หรือขณะนี้ จะเห็นเป็นใครก็ได้นะคะ ที่กำลังนั่งอยู่ที่นี่ อย่าง พี่หงวนนี่คะ ถ้าคิดถึง คำว่า พี่หงวน ก็แสดงให้เห็นว่า มีสัญญาความจำ ในคำที่จะคิด เป็นปัจจัยให้ จิตนึกคิดขึ้นมาถึงสิ่งนั้น หรือคำนั้นได้ นี่คือทั่วๆ ไป คือโดยมาก เนี่ย เวลาเราใช้คำว่าคิดเนี่ย เราจะคิดเป็นเรื่อง หรือว่าคิดเป็นคำ อย่างเวลาเห็นหนังสือ เห็นเฉยๆ ไม่อ่าน ก็อย่างหนึ่ง ใช่มั้ยคะ แต่เห็นแล้วอ่าน ขณะนั้นหมายความว่า กำลังคิดถึง รูปร่าง ของสิ่งที่เห็น แล้วก็ยังจำสัณฐานไว้ด้วย แล้วก็ยังรู้ว่าคำนี้เนี่ยค่ะ ที่ใช้คำว่า พระไตรปิฎกอ่านได้ยังไงว่า พระไตรปิฏก ถ้าไม่เคยจำสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา และไม่เคยรู้ว่า คำนี้ออกเสียงว่า พระไตร ปิฏก แต่เพราะเหตุว่า เมื่อเห็นแล้วคิดถึงรูปร่างสัณฐานนะคะ ก็อาจจะไม่ออกเสียงอะไรเลย ก็อย่าง หนึ่ง แต่ว่า เวลาคิดเป็นคำ พระไตรปิฎก นี้แสดงให้เห็นว่า ความคิดนั้น เกิดจากสัญญาความจำ เพราะฉะนั้น โต๊ะพวกนี้ ไม่มีทางจะคิดสภาพที่เป็นรูปธรรมนั้น จะคิดไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ถ้าคิดเป็นนามธรรมแล้ว
ท่านอาจารย์ เป็นสภาพรู้ หรือคิด
ผู้ฟัง นี้ที่เป็นรูปธรรมละครับ ท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ รูปธรรม คือ ทุกอย่างที่ไม่รู้ค่ะ จะเอาความคิดไปเป็นรูปธรรม
ผู้ฟัง กระผม หมายถึงว่า ในขณะที่สภาพธรรมใดๆ กำลังปรากฏ ถ้าสภาพธรรมนั้น มีนามธรรมปรากฏเนี่ย ก็ย่อมจะต้องมี รูปธรรมปรากฏ
ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็นค่ะ
ผู้ฟัง แล้วที่ว่า เกิดพร้อมกัน หรือว่าเหมือน ที่ว่าเหมือนกับนกที่จับกิ่งไม้
ท่านอาจารย์ นั้นไปคนละตอนแล้วค่ะ นั้นจักขุทวารวิถี กับ มโนทวารวิถี คือ คำเปรียบแต่ละอัน ต้องรู้ด้วยนะคะ ว่าในโอกาสไหน เรื่องอะไร แล้วก็เพื่อให้เข้าใจอะไร แต่เราจะไปปะปนกันไม่ได้เลย นี่แสดงให้เห็นว่าลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมซึ่งมี และไม่เคยรู้ ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงตรัสรู้นะคะ ไม่มีใครสามารถจะรู้ จักโลก เพราะเหตุว่า เราจะรู้จัก โลกภูมิศาสตร์ เช่นโอกาสโลก ดาวต่างๆ ในท้องฟ้าเต็มไปหมดแล้วก็ก้อนแข็งๆ ที่เราอยู่เนี่ย เราก็บอกว่าเราเกิดบนโลกนี้ หรือว่าอยู่ในโลกนี้ แต่ความจริงแล้ว พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงตรัสรู้ โลก คือ โลกะวิทูนะคะ ทรงแสดงว่า โลกเนี่ย มี ๓ อย่าง คือ โอกาสโลก ซึ่งทุกคนก็เข้าใจความหมายนี้นะคะ พระจันทร์ พระอาทิตย์ โลกดวงดาวต่างๆ สากลจักรวาล นี้คือ ที่รู้จักกันทั่วๆ ไปว่าโลก แต่สัตวโลก คือเวลาที่มีนามธรรม และรูปธรรม เกิดขึ้นนะคะ ไม่ใช่มีแต่โอกาสโลก เวลานี้ เรานั่งอยู่ที่นี่ไม่ใช่มีแต่โอกาสโลก มีสัตว์ ซึ่งเป็นตัวเรา ที่ใช้คำว่า สัตว์เนี่ยนะคะ หมายความว่า เป็นสภาพรู้ ต้องมีสภาพรู้ ถ้าไม่มีสภาพรู้ แลัวจะเรียกว่าสัตว์ไม่ได้ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่เรียกว่าสัตว์เลย แต่ที่ใช้คำว่า สัตว์แม้แต่ เทพ หรือพรหม หรือมาร หรือสัตว์ในนรก หรือเป็นเปรต เป็นอะไร ก็ตามนะคะ นั่นเป็นสภาพที่เป็นนามธรรม
เพราะฉะนั้น นามธรรมนี่แหละ เป็นสัตวโลก แต่ว่า ในบางภพ บางภูมิเนี่ยนามธรรมเนี่ย เกิดตามลำพังไม่ได้ ทั้งๆ ที่นามธรรมเนี่ย แยกจากรูปธรรม แยกขาด ใช้คำว่า แยกขาด คือว่า นามธรรมก็เป็นนามธรรม เรื่องของนามธรรม ส่วนนามธรรม ไม่เกี่ยวกับรูปเลย รูปก็เป็นรูปธรรม ไม่เกี่ยวกับนามธรรม โดยลักษณะ โดยลักษณะที่ว่า รูปเป็นสภาพที่ไม่รู้อะไร และนามธรรม นามธาตุเนี่ย เป็นสภาพรู้ แต่เมื่อมีนามธรรมเกิดขึ้น ก็มีสัตว์เกิดขึ้นแล้วแต่ว่าสัตว์นั้นจะเกิดในภูมิไหน ถ้าเกิดในมนุษย์ ก็มีทั้งนามธรรม และรูปธรรมเกิดพร้อมกัน ถ้าเกิดในภูมิเทวดา ก็เป็นนามธรรม และรูปธรรมเกิดพร้อมกัน ถ้าเกิดในพรหมโลก ซึ่งเป็นรูปพรหม ก็มีนามธรรม และรูปธรรมเกิดพร้อมกัน แต่ก็ยังมีภพภูมิ ซึ่งไม่มีรูปเลย มีแต่นามธรรมเท่านั้นเกิด นี่ก็แสดงให้เห็นว่าความรู้ของเราเนี่ยค่ะจะต้องรู้ชัดจริงๆ ในลักษณะที่ต่างกัน ถ้ามิฉะนั้นแล้วนะคะ จะดับความสงสัย ความยึดถือ นามรูป ว่าเป็นตัวตนไม่ได้ เพราะเหตุว่า ไม่มีความรู้จริง ในลักษณะที่เป็นแต่เพียงนามธรรม หรือ เป็นแต่เพียงรูปธรรมเท่านั้น นี่คือสัตวโลก ความหมายหนึ่ง อีกความหมายหนึ่ง ของโลก ก็คือ สังขารโลก แสดงให้เห็นว่า สังขารหมายความถึง สภาพที่ปรุงแต่ง สิ่งหนึ่ง สิ่งใด ที่จะเกิดมีได้นะคะ ต้องมีเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นมาได้ลอยๆ ไม่ว่าจะเป็น รูปธรรม หรือนามธรรมนะคะ ต่อไปจะทราบว่า จะต้องมีปัจจัย ที่ทำให้รูปนั้นเกิดขึ้น หรือว่ามีปัจจัยที่ทำให้นามนั้นเกิดขึ้น ไม่มีใครที่จะบอกว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นลอยๆ นั้นคือผู้ที่ไม่รู้ แต่ผู้ที่รู้นะคะ สามารถที่จะแยกได้ว่า ขณะหนึ่งๆ ซึ่งมีสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรมเกิด มีปัจจัยที่ทำให้นามธรรมนั้น เกิดเป็นอย่างนั้นมากมาย ทั้งอดีตด้วย ทั้งปัจจุบันด้วย นี่แสดงให้เห็นว่าความไม่รู้ของเราเนี่ย มาก ไม่รู้ว่า ธรรมคืออะไร ทั้งๆ ที่มีธรรม อยู่ทุกวัน จนกว่า จะฟังเรื่องธรรม แต่ยังไม่ใช่ว่ารู้จักธรรมแล้ว
เพราะฉะนั้น เราฟังธรรม เพื่อรู้เรื่องธรรมเพื่อรู้จักธรรม ซึ่งวันนี้ไม่ทราบว่า เสร็จแล้วจะมีใคร รู้จักธรรมมากน้อยแค่ไหนนะคะ เพราะเหตุว่า อาจจะเป็นฟังเรื่องธรรมก็ได้ อาจจะเป็นฟังแล้วรู้เรื่องธรรมก็ได้ หรือว่าอาจจะฟังแล้ว รู้จักธรรม เพราะเหตุว่าขณะนี้เป็นธรรม และก็มีธรรมอยู่ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้แจ้งโลกนี้นะคะ รวมหมดทั้ง โอกาสโลก สัตวโลก สังขารโลก ไม่มีอะไรเลยที่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฟังธรรมนะคะ ก็สามารถจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่า ถ้ารู้จักตัวเอง การศึกษาธรรมนะคะ เพราะเหตุที่ตัวเนี้ย เป็นธรรม และก็มีธรรมด้วย เพราะฉะนั้น ถ้ารู้จักตัวเอง แล้วละก็ รู้จักโลกด้วย หรือเปล่า คุณไพฑูรย์ อย่าเผลอนะคะ ตอบเลยค่ะ
ผู้ฟัง รู้จักตัวเอง รู้จักโลกด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง ครับ ถ้ารู้จักตัวเอง แล้วรู้จักโลกด้วย หรือไม่
ผู้ฟัง คิดว่ารู้ครับ
ท่านอาจารย์ คิดนะคะ
ผู้ฟัง คือไม่แน่ใจนะฮ่ะ คิดว่ารู้ อาจารย์ลองถามต่อไปด้วยฮะถามต่อครับ
ท่านอาจารย์ ถามต่อนะคะ ถ้ารู้จักโลก แล้ว รู้จักตัวเองด้วยมั้ย
ผู้ฟัง รู้ครับ
ท่านอาจารย์ อันนี้ไม่ต้องคิดว่า ใช่ไหมคะ แล้วยังย้อนกลับไปอีกที ว่าถ้ารู้จักตัวเอง แล้วรู้จักโลกมั้ย
ผู้ฟัง รู้ครับ
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรคะ
ผู้ฟัง รู้ว่าตัวเรานี้ มี ทั้งรูปธรรม และนามธรรม
ท่านอาจารย์ ค่ะเพราะว่า ถ้าไม่รู้จักสภาพธรรม ที่กำลังมีอยู่นะคะ จะชื่อว่ารู้จักโลกไม่ได้ โต๊ะ เก้าอี้นี้ ไม่ต้องรู้จักโลก เพราะว่า ไม่ใช่สภาพรู้แต่ สัตว์บุคคลนะคะ มีนามธรรม มีสภาพรู้ เพราะฉะนั้น ถ้ารู้จักถ่องแท้จริงๆ นะคะ จะรู้ได้ว่า ที่เรารู้ว่ามีโลก เพราะมีสภาพรู้ ถ้าไม่มีสภาพรู้เลย จะรู้มั้ยค่ะว่า มีโลก แต่ทั้งๆ ที่มีโลก แล้วก็มีสภาพรู้ แต่อวิชาไม่สามารถที่จะรู้ได้ ว่าที่จริงแล้วเนี่ย การรู้จักโลก ก็คือรู้จักความจริงของ สภาพธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ เพราะเหตุว่า ใครรู้ว่า มีโลก ก็ต้องเป็นสภาพรู้นั่นเอง
เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่านะคะ ที่โลกจะปรากฎได้ เป็นโอกาสโลกก็ดี เป็นสังขารโลกก็ดี หรือว่าเป็นสัตวโลกก็ดี ก็เพราะเหตุว่า มีสภาพรู้ หรือมีธาตุรู้ นั้นเอง เพราะฉะนั้นแสดงให้เห็นจริงๆ นะคะ ว่าเราไม่เคยรู้เรื่อง สภาพรู้ หรือธาตุรู้ เพราะเหตุว่า เคยเป็นเราตลอด แต่เมื่อผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้แล้ว ความต่างของพระพุทธศาสนา จากศาสนาอื่น ก็คือศาสนาอื่น ไม่ได้สอนความจริง เรื่องธรรมไม่ได้รู้จักธรรม ว่าเป็น ธรรม ตามความเป็นจริง แต่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงว่า แต่ละอย่าง เป็นธรรม โดยเฉพาะ ก็คือว่า พุทธศาสนานั้น ไม่มีการคาดคะเน หรือว่าไม่มี การไม่รู้ แต่ว่าด้วยการตรัสรู้ จึงทรงแสดงว่า ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา นี่คือ หัวใจของพระพุทธศาสนา หมายความว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แล้วก็ ไม่มีเจ้าของ เพราะเหตุว่าธาตุรู้เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป อย่างเช่น ได้ยินขณะนี้นะคะ มีเหตุปัจจัย ทำให้มีธาตุได้ยินเสียงเกิดขึ้น และก็ดับไป ไม่มีใครเป็นเจ้าของเลยค่ะ แต่ว่าอวิชชาความไม่รู้ความจริง ก็ทำให้มีการหลงยึดถือนามธรรม และรูปธรรม ซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย ตั้งแต่เกิดมาแต่ละคนนะคะ ว่าเป็นเรา ตั้งแต่เกิดจนตาย จนกว่าจะได้ฟังพระธรรม จนกว่าจะได้พิจารณาพระธรรมแล้วก็เข้าใจเรื่องของธรรม ที่เป็นธรรม เชิญคุณสรีย์ค่ะ
คุณสุรีย์ คือเมื่อกี้อาจารย์พูด ถึงเรื่องอากาสโลก และก็
ท่านอาจารย์ โอกาสโลก
คุณสุรีย์ โอกาสโลกสัตวโลก สังขารโลกนะคะ ดิฉันคิดแล้ว ก็รู้สึกว่า โลกมันก็คือสิ่งที่ปรากฏ ทางตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นคือโลก นะฮะ ถ้าเราถ้าเรา ไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ คือเราไม่รู้จักโลก ก็อยากจะให้อาจารย์ เนี่ย ขมวดเข้ามาว่า อันนี้เนี่ย มันอยู่โอกาสโลก สัตวโลก หรือ สังขารโลก หรือทั้ง ๓ โลกนี้ คืออันนี้
ท่านอาจารย์ โอกาสโลกนี้ หมายความถึง สถานที่นะคะ ที่ เช่นโลกพระจันทร์ โลกพระอาทิตย์ ที่เราเข้าใจกัน ตามโลกภูมิภูมิศาตร์
คุณสุรีย์ โอกาสโลกนี้ คือสถานที่นะคะ ตามภูมิศาสตร์นะคะ คืออยาก อยากจะให้แยกออกมาก่อน ไม่งั้นจะงงนะคะ ตาม ภูมิศาสตร์ แต่
ท่านอาจารย์ มีจริงๆ มั้ยคะ โอกาสโลก
คุณสุรีย์ เป็นสิ่งสมมติค่ะ
ท่านอาจารย์ มีจริงๆ หรือเปล่า ถ้าไม่มี จะสมมติมั้ย มีจริงหรือเปล่า
คุณสุรีย์ ก็มีไม่จริง แต่ เราสมมติว่ามันเป็นอันนั้น อันนี้นะคะ ตามภูมิศาสตร์ เป็นชื่อนะคะ แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เป็นสิ่งที่มีจริง
คุณสุรีย์ ถ้าเราจะขมวดเอามาว่า มันก็คือ สิ่งที่ปรากฏทางตานั้นแหละ
ท่านอาจารย์ แต่ถ้ากระทบสัมผัสมันก็แข็งค่ะ
คุณสุรีย์ จะเป็นโอกาสโลก หรือสัตวโลก หรือ สังขารโลก มันก็คือสังขารโลก
ท่านอาจารย์ ความหมายของโลก อีกความหมาย หนึ่ง นะคะ ที่ทรงแสดงไว้ก็คือว่า สภาพธรรม ที่แตกดับ
คุณสุรีย์ ใช่
ท่านอาจารย์ เกิดขึ้น แล้วดับไป ทุกอย่างเป็นโลก
คุณสุรีย์ สิ่งที่เกิดดับนะคะ เพราะฉะนั้นเกิดดับ มันก็คือไม่มีเจ้าของ มันก็คือ ไม่มีตัว ไม่มีตน ถ้าเผื่อเราไล่ต่อไปนะฮะ โลกคือสิ่งที่ปรากฏทางตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ นั่น คือ โลก เดี๋ยวไปทีละตอนนะคะ ทีนี้เมื่อมันปรากฏแล้วเขาก็เกิดดับ นั่นก็คือ เป็นสังขาร ซึ่งเกิดดับ ถูกมั้ยคะ
ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์ จะแยกโลก ๓ โลก มั้ยค่ะ
คุณสุรีย์ ยังๆ ก่อนค่ะ เอาอันนี้ให้เข้าใจก่อน
ท่านอาจารย์ โลก หมายความถึง สิ่งซึ่งเกิดดับ
คุณสุรีย์ สิ่งซึ่งเกิดดับ
ท่านอาจารย์ จำแนก ออกได้เป็น ๓ อย่าง
คุณสุรีย์ เอาใหม่นะคะ คือสิ่งที่เกิดดับ อันนี้จำแนกได้ ๓ อย่างนะคะ คือ โอกาสโลก สัตวโลก และสังขารโลกนะคะ สำหรับโอกาสโลก ก็คือสถานที่ตามภูมิศาสตร์ ซึ่งเขาก็มีจริง แต่เราไปกำหนดชื่อ ให้มันเป็นบัญญัติขึ้นมา เท่านั้นเอง แต่มันก็คือสิ่งที่ปรากฏทางตา ถูกมั้ยค่ะ
ท่านอาจารย์ ถ้ากระทบละค่ะ
คุณสุรีย์ กระทบ ก็ได้
ท่านอาจารย์ ก็แข็ง เพราะฉะนั้น เราจะไม่ไปจำกัดว่า ปรากฏตา
คุณสุรีย์ ทาง ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ เอาอย่างนั้นแล้วกันนะคะ ทีนี้พูดถึง สัตวโลก ก็คือพวกเรา ถูกไหมคะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ สิ่งที่มีชีวิต เกิดจากกรรมนะคะ
คุณสุรีย์ ฉะนั้นโลกทั้ง ๓ โลก ก็ขมวดได้ว่า
ท่านอาจารย์ ค่ะ สังขารโลกค่ะ
คุณสุรีย์ คือไม่มีอะไรแตกต่างระหว่าง ๓ โลกนี้ ถ้าเราเข้าใจสังขารโลกแล้ว ว่าโลก คือสิ่งที่ปรากฏทางตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้ว ก็ต้องรู้จักทั้ง ๓ โลกถูกมั้ยคะ
ท่านอาจารย์ ก็ไม่อยากจะให้จำกัดว่าเกิดปรากฏทาง ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจเพราะว่าที่ไม่ปรากฏก็มีค่ะ
คูณสุรีย์ ถามอาจารย์ว่า เด็กที่อยู่ในท้องนิ
ท่านอาจารย์ ยังไม่เอาเด็ก สิ่งใดก็ตามที่เกิดดับ สิ่งนั้นเป็นโลกนะคะ
คุณสุรีย์ ใช่ เรายอมรับ แบบนี้นะคะ
ท่านอาจารย์ นามธรรม คือ จิตเกิดดับเป็นโลก ทุกอย่างที่เกิดดับ เป็นโลก
คุณสุรีย์ ใช่ค่ะ
ท่านอาจารย์ อันนี้นะคะ มาถึงเด็ก
คุณสุรีย์ เด็กพอเค้าเกิดเนี่ยนะฮะ เค้าก็มีปฏิสนธิจิตของเค้า
ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์ สมมติว่า เด็กเกิด ใช่ไหมคะ ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดหมายความว่า ที่ว่าเกิดเนี่ย ต้องมีจิตนะคะ จิตขณะแรกที่เกิดใช้คำว่า ปฏิสันธิ นะคะ หมายความว่าสืบต่อจากจุติจิต คือจิตดวงสุดท้ายของชาติก่อนนะคะ ปฏิสนธิจิตนี่นะคะ เกิดแล้วดับมั้ย
คุณสุรีย์ ดับค่ะ
ท่านอาจารย์ เป็นโลกนะคะ ที่นี่ไม่เอาเด็กในท้องค่ะ เอาแมวในท้อง
คุณสุรีย์ แมวเขาก็มีจิตของเขา
ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้น ก็เป็นปฏิสนธิจิต เกิดดับ เอาเทวดาเกิด ดับมั้ยค่ะ จิตปฏิสนธิ เพราะฉะนั้นเหมือนกันหมดค่ะ คือถ้าเป็นธรรม แล้วจะไม่ต่าง ทรงแสดง เรื่องธรรมตามความเป็นจริงของธรรม แต่เพราะความไม่รู้ เราก็เรียกปฏิสนธิจิต ว่านั่นเป็นเด็กเกิด นั่นเป็นแมวเกิด หรือวันนั่นเป็นอะไรเกิด เทวดาเกิด เปรตเกิดก็ตามแต่ แต่โดยสภาพธรรม ก็คือปฏิสนธิจิตเกิด ถ้าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ก็เกิดพร้อมกับกัมมัชรูป ที่ใช้คำว่า กัมมัชรูปหมายความว่า เป็นรูปที่เกิดเพราะกรรม เป็นสมุฐาน กรรมเป็นธรรม ที่ก่อตั้งให้รูปนั้นเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งอื่น จะก่อตั้งรูปนั้นไม่ได้ทำให้รูปนั้นเกิดไม่ได้ถ้ารูปนั้นเกิดจากกรรมเป็นสมุฐานก็ต้องมีกรรมเป็นสมุฐาน เพราะฉะนั้น เราเกิดมาในโลกนี้เนี้ยนะคะ เมื่อปฏิสนธิจิตขณะแรกเกิด พร้อมกับกัมมัชรูป
เพราะฉะนั้นการฟังธรรมก็คือ ฟังเรื่องของตัวเอง
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060