สนทนาธรรม ตอนที่ 059
ตอนที่ ๕๙
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราเกิดมาในโลกนี้เนี้ยนะคะ เมื่อปฏิสนธิจิตขณะแรกเกิดพร้อมกับกัมมัชรูป ปฏิสนธิจิตนะคะ ดับเร็วมาก เพราะเหตุว่ารูป รูปหนึ่ง ทั้งๆ ที่เรามองไม่เห็นเลย แต่รูปทุกรูป ซึ่งเกิดเนี่ย จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูป รูปนึงถึงจะดับ เพราะฉะนั้น ที่จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า รูปนี่ ดับเร็วขนาดไหน ทางตาขณะนี้ จิตเห็น ทางหู จิตได้ยิน เป็นจิตต่างขณะ ต่างวาระ แต่ปรากฏเสมือนว่า พร้อมกัน เพราะฉะนั้น จะเห็นได้นะคะ ว่า ระหว่างจิตเห็น กับจิตได้ยิน ห่างกันเกิน ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น รูปเนี่ย จะดับเร็วขนาดไหน ทั้งๆ ที่เหมือนกับเวลานี้ ไม่มีอะไรที่ เกิดดับเลย นี่แสดงให้เห็นว่า กว่าเราจะเข้าใจธรรม ตามความเป็นจริง ว่า รูปธรรมเนี่ย มีลักษณะอย่างไร และก็นามธรรมเนี่ย ต่างกับรูปธรรมยังไง ให้ทราบเป็นขั้นๆ นะคะ ว่า ปฏิสนธิจิต คือ จิตขณะแรก เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฐาน คือกรรมที่เราทำนี่คะ นับไม่ถ้วน ชาตินี้ ก็ยังนับไม่ถ้วนนะคะ ชาติก่อนล่ะ และก็ชาติก่อนๆ โน้นละ และในสังสารวัฎล่ะ เพราะฉะนั้น ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้นะคะ ว่าที่ทุกคนเกิดมาแล้วเนี่ย เป็นผลของกรรมอะไร แต่ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผลของกุศลกรรม แสดงว่าทุกคนที่นั่งที่นี่ ได้เคยกระทำกรรม ที่เป็นกุศลไว้ แต่บอกไม่ได้เลยค่ะ ว่าเป็นผลของทาน หรือเป็นผลของศีล หรือเป็นผลของกรรมอะไร แต่กุศลกรรม ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดพร้อมกัมมัชรูป เพราะฉะนั้น ต่อไปเนี่ย ทุกคนจะรูปร่างหน้าตาต่างกัน เพราะว่ากัมมัชรูปที่เกิด จะปราศจาก ธาตุดินน้ำไฟลมไม่ได้ คือรูปทั้งหมดเนี่ยนะคะ จะต้องปราศจากธาตุใหญ่ ซึ่งเป็นประธาน เรียกว่า มหาภูตรูป ไม่ได้เลย แม้แต่ จักขุประสาท จะเกิดลอยๆ โดยไม่มีธาตุดินน้ำไฟลม ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น กัมมัชรูป ก็จะต้องมีธาตุดินน้ำไฟลมเป็นพื้น และต่อไปก็จะทราบว่า นอกจากธาตุทั้ง ๔ นี้ ก็ยังมีรูปอื่น เกิดร่วมด้วย แต่เราจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ แต่ให้ทราบว่า เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดพร้อมกัมมัชรูป ซึ่งมีธาตุดินน้ำไฟลม ธาตุไฟนี่คะ ซึ่งเกิดเพราะกรรมเนี่ย จะเป็นปัจจัย ทำให้รูปกลุ่มอื่น เกิดขึ้นนะคะ เรียกว่า อุตุชรูปหมายความว่า รูปซึ่งเกิดเพราะความเย็น ความร้อน หรืออุตุ ซึ่งมีในขณะที่กัมมัชรูปเกิด
เพราะฉะนั้น ทำให้รูปเกิดดับ ต่อไปเนี่ย ทุกคนเนี่ย ความต่างของธาตุไฟ ทำให้สูงต่ำ ดำขาว ต่างกัน ผิวพรรณ ต่างกัน ทุกอย่าง ต่างกัน จะเกิดเป็นแมว จะเกิดเป็นช้าง หรือจะเกิดเป็นนก หรือจะเกิดเป็นปลา อะไรก็ตามแต่นะคะ ก็เพราะเหตุว่า เมื่อปฏิสนธิจิต เกิดพร้อมกับกัมมัชรูป จะมีธาตุไฟ ซึ่งเกิดร่วมกับกัมมัชรูปนั้น ที่จะทำให้รูปนั้น เป็นสัตว์ประเภทนั้นๆ หรือแม้เป็นคนก็ ต่างกันไป นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เราใช้คำว่า คนเกิด สัตว์เกิด แต่ถ้าถึงธรรมแล้ว ก็คือ สภาพธรรมเกิดดับ ตลอดไปในสังสารวัฎไม่ขาดเลย ชาติก่อน เราเกิดมา ขณะนี้ทุกคนก็นับอายุไป ว่าเท่าไหร่ แต่ก่อนนั้น ก็คือชาติที่แล้วมา ก็เห็น ก็ได้ยิน ก็คิดนึก ก็เป็นสุข ก็เป็นทุกข์ แต่ว่า พอถึงชาตินี้นะคะ ลืม แล้วก็อีกไม่นาน เราก็จะลืมชาตินี้หมดเลย แต่ก็ยังต้องเห็นอีก ได้ยินอีก เพราะว่าตราบใด ที่เรายังไม่พ้นจากสังสารวัฎ ก็จะต้องมีกรรม ซึ่งทำให้เกิดนะคะ พร้อมกับกัมมัชรูป แล้วก็ แล้วแต่ว่า เป็นผลของกรรมอะไร ถ้าจะต้องเกิดเป็นแมว ก็ต้องเป็นกัมมัชรูป ที่จะต้องทำให้เป็นแมว
คุณสุรีย์ ค่ะ อันนี้ก็พูดถึงว่า เกิดเป็นคนที่อยู่ในท้องนะคะ
ท่านอาจารย์ ค่ะ มีกัมมัชรูป มีรูป
คุณสุรีย์ มีรูปนะคะ แล้วเขาก็เกิดดับ
ท่านอาจารย์ แล้วก็มีอุตุชรูปเกิดดับ
คุณสุรีย์ มีด้วยนะคะ ถ้าเผื่อเรา เราจะพูดถึงว่าโลกเนี่ย คือสิ่งที่ปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น พูดถึงเด็กในท้องนะค่ะ
ท่านอาจารย์ หมายความว่า เด็กมีจิตมั้ย เอานะคะ เอาอย่างนี้ค่ะ ทุกคนจะทราบวาระแรกนะคะ ว่า เวลาที่เกิดแล้วเนี่ย จากนั้นอะไรจะเกิดต่อ เมื่อปฏิสนธิจิตดับ กรรมไม่ได้ทำให้เพียงแค่ปฏิสนธิจิตคือ จิตขณะแรกเกิด นี้ยังไม่คิดนึก ยังไม่อะไรทั้งหมดนะคะ กรรมทำให้จิตขณะต่อไป ซึ่งเป็นผลของกรรมเดียวกันนั่นแหละ เกิดซ้ำอีก แต่ว่าไม่ได้เป็นปฏิสนธิจิต เพราะว่าปฏิสนธิจิตนี่ ชั่วขณะเดียว หลังจากนั้นแล้ว เป็นภวังคจิต คำว่าภวังค์ ก็คือจิตที่ เกิดดับสืบต่อ ดำรงภพชาติ หมายความว่า กรรมเนี่ย ไม่ได้ทำให้เกิดมาขณะเดียว แล้วหมดสิ้น ผลของกรรม แต่กรรม จะต้องทำให้เป็นคนนี้ โดยภวังคจิต ประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิต ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดดับสืบต่อ ไม่รู้อะไรเลย ขณะที่เป็นภวังคจิต เหมือนนอนหลับสนิท
คูณสุรีย์ แล้วตอนนั้นเขาอยู่ในโลกของเขา
ท่านอาจารย์ เหมือนนอนหลับสนิทก่อน เมื่อคืนนี้ คุณสุรีย์ นอนหลับสนิท รู้มั้ยคะ ว่าเป็นตัวคุณสุรีย์ ที่กำลังนอนหลับ ขื่ออะไรไม่รู้ มีญาติพี่น้องที่ไหนไม่รู้ เพราะฉะนั้น ภวังคจิตนี่ ปลอดจากความคิดนึก หรือว่าการรู้สิ่งที่ปรากฏ ตา หู จมูก ลิ้น กายทั้งหมด เป็นช่วงขณะซึ่ง กรรมทำให้จิตประเภทนี้เกิดขึ้นดำรงภพชาติ จนกว่า จะมีการคิดนึกเกิดขึ้น เป็นวาระแรก ซึ่งไม่ว่าจะเกิด เป็นสัตว์เป็นคน เป็นมนุษย์อะไรก็ตาม วิถีวาระแรก ก็คือ โลภะ เกิดความติดข้อง ชอบ พอใจ ในภพภูมิ ในความเป็น ในขณะนั้น แม้ว่าจะยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ก็มีความพอใจ ในความเป็น ในสภาพอย่างนั้น นี่คือ ทุกภพไม่ว่า จะเป็นในมนุษย์ เทวดา หรือว่า รูปพรหม อรูปพรหมสวรรค์ชั้นไหนก็ตาม วิถีจิตวาระแรก ที่จะมีการรู้สึกตัว จะต้องเป็นความติดข้อง ในความเป็น สภาพนั้น แล้วก็ แล้วแต่ว่า ถ้าเกิดเป็นเทพ เห็นได้ ทันที ได้ยินได้ ทันที เพราะเหตุว่า เป็นโอปปาติก กำเนิด หมายความว่า เกิดเป็นตัวทันที ไม่ต้องอยู่ในครรภ์ หรือไม่ต้องค่อยๆ เจริญเติบโตมา นี่คือความต่างกัน แต่ว่า ถ้าเป็นมนุษย์เนี่ยค่ะ พอเกิดมาปุ๊บเนี่ย ยังไม่มีตา มีหู เพราะฉะนั้น จะให้เห็น ได้ยินไม่ได้ เพราะฉะนั้น วาระแรกก็คือ ความติดข้องซึ่งเกิดขึ้น ยินดีในภพ แต่ทุกภูมิเหมือนกันหมด จะต้องมีวิถีจิตวาระนี้เกิดก่อน และต่อจากนั้น ก็แล้วแต่ว่าจะมีตา มีหู เมื่อไหร่ จะมีปัจจัยให้เห็นเมื่อไหร่ ได้ยินเมื่อไหร่
คุณสุรีย์ แม้แต่อยู่ในท้อง เขาก็ยังมีโลกของเขา คือการเกิดดับของเขาเอง
ท่านอาจารย์ ไม่มีอะไร ซึ่งไม่เกิดดับค่ะ ที่ไหนทั้งนั้น ดอกไม้นี้เกิดดับมั้ยคะ ดอกไม้ปลอม เอาดอกไม้ปลอมนี่เกิดดับรึเปล่า
คุณสุรีย์ เกิดดับ ค่ะ
ท่านอาจารย์ ดอกไม้จริงนี่ เกิดดับมั้ย
คุณสุรีย์ เกิดดับค่ะ
ท่านอาจารย์ ถ้วยแก้วนี้เกิดดับมั้ย เก้าอี้โต๊ะ ทุกอย่างเกิดดับ
ผู้ฟัง ขอกราบเรียนถาม เกี่ยวกับเรื่องรูปกับนาม เนี่ยนะคะ คือยังไม่เข้าใจชัดลงไปเลยนะคะ ก็จะกราบเรียนถามว่า ที่เรียกว่ารูปเนี่ยนะฮะ ก็เอาละที่มองเห็น ก็คือ โต๊ะ เก้าอี้ แล้วแม้แต่ตัวเรานี้ ก็เรียกว่ารูปด้วยใช่มั้ยคะ
ท่านอาจารย์ เอาใหม่น่ะคะ รูปคือสภาพธรรมที่มีจริงนะคะ แต่ไม่รู้อะไรเลยค่ะ
ผู้ฟัง ก็ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่ไม่รู้อะไรนะคะ
ผู้ฟัง ตอนนี้อีกอย่างคือ เรียกว่ารูป ก็คือมองไม่เห็น ก็ยังเรียกว่ารูป ได้แก่ เสียงกลิ่น
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่ไม่รู้อะไร ทุกอย่างที่ไม่ใช่สภาพรู้
ผู้ฟัง ค่ะ เพราะว่ามองเห็น ก็เรียกว่ารูป มองไม่เห็น ก็เรียกว่ารูป
ท่านอาจารย์ เราไปติดในภาษาไงค่ะภาษาไทยของเรานี่ รูปเนี่ย รูปนาฬิกา รูปอะไรต่ออะไร รูปเขียน รูปต่างๆ ใช่มั้ยคะ เราใช้ในความหมาย ที่เรามองเห็น นี้คือภาษาไทย แต่ถ้าเป็นตัวธรรมนี้ค่ะ แยกประเภทออกไปเลย ว่าสภาพธรรมทั้งหมดเนี่ย จำแนกออกเป็นความต่าง สอง ลักษณะใหญ่ๆ คือสภาพหนึ่ง ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น เป็นเสียงเป็นกลิ่น หรือเป็นอะไรก็แล้วแต่ ที่ไม่สามารถจะรู้อะไรเลย
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้นอย่าง ที่ดิฉันแยกไปเมื่อกี้นั้นนะ ไม่ถูกต้องนะคะ เพราะจะมองเห็น หรือไม่เห็น ก็เรียกว่ารูป แต่รูปอย่างที่อาจารย์อธิบายนั่นคือ เป็นรูปที่เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรนะคะ
ท่านอาจารย์ ถูกต้องค่ะ
ผู้ฟัง ตอนนี้ก็จะกล่าวถึง นามธรรม นามธรรมนี่ ก็มองไม่เห็นอีก แต่กล่าวบอกว่า รู้ได้ จะเกิดได้ ๖ ทางนะคะ คือหู ตาจมูก ลิ้น กาย และก็ใจ
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วนะคะ ยังไม่มีทางพวกนี้ก็เกิดแล้วค่ะอย่างปฏิสนธิจิต ขณะแรกที่เกิดเนี่ย เพราะฉะนั้น เป็นสภาพรู้ไงคะ หมายความว่าธาตุชนิดหนึ่ง เป็นสภาพรู้ นามธรรมนี่ เป็นสภาพรู้ค่ะ เรายังไม่จำแนกอะไรเลยทั้งสิ้น แต่เรากล่าวเพียงแต่ว่า สองอย่างในโลกนี้ ทั่วจักรวาลไม่ว่าจะบนสวรรค์ นรกยังไง ก็มีแต่เพียงธาตุ หรือธรรม สอง อย่างซึ่งต่างกันเป็น สอง ประเภทค่ะ
ผู้ฟัง ค่ะ ตอนนี้ดิฉันกล่าว ตอนนี้ จะมาอธิบาย ตรงที่ว่า มันเกิดเป็นยังไง ถึงจะเรียกว่า นามธรรม คือสภาพรู้ ก็ได้กล่าวไปพูดเมื่อกี้นี้ว่า นามธรรมเนี่ย จะเกิดได้ ๖ ทาง
ท่านอาจารย์ รู้อารมณ์ได้ ๖ ทางค่ะเกิดกับรู้อารมณ์ ไม่เหมือนกันนะคะ เกิดโดยที่อารมณ์ไม่ปรากฏ อย่างเวลาที่ปฏิสนธิจิตเกิดนะคะ อารมณ์ของโลกนี้ไม่ปรากฏเลยค่ะ
ผู้ฟัง ค่ะ เพราะฉะนั้น รู้อารมณ์ได้ ๖ ทางนะคะ รู้อารมณ์ได้ ๖ ทาง คือหมายความว่า ถ้าสมมติว่า ทาง จะพูดว่า จิตมากระทบกับทางหูที่เป็นรูป แล้วก็จะได้รู้ ได้ยินอย่างนี้อ่ะค่ะ
ท่านอาจารย์ อันนี้หมายความว่า เรื่องราวนะคะ แต่เวลาเนี่ยค่ะ มีธรรมแล้ว กำลังเห็นเนี่ย ยังไม่ต้องไปคิดเรื่องราวเลย การที่จะรู้จักธรรม ทั้งที่กำลังเห็นเนี่ย แล้วเราก็บอกนะคะ ว่ามีธาตุรู้ คือรู้ว่า มีสิ่งที่ปรากฏทางตา ลักษณะนั้นคะเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้คำว่า นามธรรมเพราะเหตุว่า ต่างกับรูป ซึ่งไม่รู้อะไรเลยเราต้องมีคำ สำหรับที่จะเรียก ใช่มั้ยค่ะ เพราะฉะนั้น เพื่อที่จะแยก สอง ลักษณะนี้ออกจากกันว่า ถ้าเป็นส่วนที่ ไม่รู้อะไรเลย ใช้คำว่า รูปธรรม แต่ถ้าส่วนที่รู้ กำลังเห็นนี่ไงคะ กำลังเห็นเนี่ยนะคะ มีสิ่งที่ปรากฏ รู้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏ เห็นค่ะ
ผู้ฟัง ตอนนี้สิ่งที่ปรากฏ ที่จริงมันก็มีอยู่แล้ว แต่เมื่อไหร่ที่จิตมากระทบ หรือยังไงคะ ถึงเรียกว่าจิต
ท่านอาจารย์ อันนั้นเรื่องราว เรายังไม่ไปถึงเรื่อง เรากำลังจะรู้จักตัวลักษณะของนามธรรม ที่มีลักษณะต่างกับรูปธรรม
ผู้ฟัง ดิฉัน จะพยายามจะรู้จักตัวมันก็เลยมายกตัวอย่างตรงนี้ไงคะ จะได้ทราบว่า เมื่อมันกระทบตรงนี้ตรงนั้น นั่นละ
ท่านอาจารย์ นั่นเรื่องคะ ทั้งหมดเป็นเรื่อง ที่กระทบ ที่อะไรเรื่องทั้งนั้นค่ะ
ผู้ฟัง แล้วยังไงคะ ที่ ยังไม่เข้าใจตรงนี้ ว่าถ้าเผื่อว่ายังไม่กระทบแล้วทำไม ถึงจะเรียกว่านามธรรม ดิฉันคิดว่ากระทบถึงเรียก
ท่านอาจารย์ นั่น ยังไม่มีใครบอกว่ากระทบนะคะ อย่างเรา ยังไม่พูดเรื่องกระทบเลย แต่เรารู้ว่าขณะนี้ มีเห็นละ เราไม่ต้องพูดเรื่องกระทบ
ผู้ฟัง แต่หมายความว่านั้นต้องกระทบแล้ว
ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องคิดไงค่ะ ยังไม่ต้องคิดว่ากระทบแล้วค่ะ เอาแค่เห็นเนี่ย กำลังเห็นเนี่ย แล้วไม่ต้องไปคิดเลยค่ะ เราจะพิสูจน์ มีมั้ย ลักษณะที่กำลังเห็นเนี่ย มีมั้ยค่ะ ยังไม่ต้องคิดเรื่อง เพื่อที่จะรู้จักตัวธรรมค่ะ
ผู้ฟัง ค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ
ผู้ฟัง คุณอดิศักดิ์องค์ของทานนะฮะ
อ.นิภัทร ทานก็คือการให้ มีองค์อะไรครับ
ผู้ฟัง ครับ ผมจำได้ว่า
อ.นิภัทร ก็มีเจตนา ๓ เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง เจตนา ๓ และปฏิคาหค
ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้วก็ตรงนะคะ ที่ว่าไม่ควรที่จะเพ่งเล็งที่วัตถุค่ะ เพราะเหตุว่าเรื่องของบุญ เรื่องของกุศลนี้ เป็นเรื่องของจิตใจ เพราะฉะนั้นเวลาที่ไปที่อื่นแล้ว ก็มักจะมีคนถามว่าทำอย่างนี้ได้บุญมั้ย เขาจะใช้คำว่า ได้ด้วยนะคะ แล้วก็ได้บุญมั้ย เพราะเหตุว่าเขาไม่ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วเนี่ย บุญไม่ได้อยู่ที่วัตถุที่เราให้ แต่ว่าอยู่ที่สภาพจิตขณะนั้น ที่ผ่องใสปราศจากโลภ โทสะ โมหะ ขณะนั้น เป็นกุศลจิต สามารถที่จะสละวัตถุ ซึ่งเป็นประโยชน์ ไม่ใช่ให้เปลือกกล้วย หรือว่าให้อะไรที่ เค้าใช้ไม่ได้ หรือทำไม่ได้นะคะ แต่ว่าสิ่งหนึ่ง สิ่งใดก็ตาม ซึ่งยังสามารถจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น เพราะว่าแต่ละคนนะคะ ก็มีความที่ต้องการวัตถุต่างๆ กัน บางทีสิ่งนี้เราอาจจะคิดว่าไม่เป็นประโยชน์แล้ว สำหรับเรา แต่ก็ยังเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นอีกหลายๆ คน เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องคิดว่าเอ้ะ นี่จะไปส่งเสริม โลภะเค้ารึเปล่าเพราะเหตุว่า ทุกคนมีโลภะ ไม่ใช่ไม่มีค่ะ แต่ว่าสิ่งที่ได้รับไปนั้นน่ะจะเป็นประโยชน์กับเค้ามั้ย ถ้าเป็นประโยชน์ และเราสามารถที่จะเกื้อกูลอนุเคราะห์สละให้ได้ และก็เป็น ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ ที่จะรู้สภาพของจิต ในขณะนั้นว่า ให้ด้วยจิตประเภทไหน เพราะว่าบางคนเนี่ยค่ะ ให้ด้วยความผูกพัน ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้ คนอื่นเป็นผู้รับ แสดงว่าจิตขณะนั้นไม่บริสุทธิ์เพราะเหตุว่า ให้ก็ยังหวังอีกนะคะ ว่าฉันเป็นผู้ให้ แล้วก็คนอื่นเป็นผู้รับ คงจะต้องมีการตอบสนองกันบางประการในอนาคต หรือมิฉะนั้นแล้วถึงแม้ว่า จะไม่คิดเรื่องการตอบแทนเป็นวัตถุ ก็อาจจะคิดถึงความสัมพันธ์ หรือว่าความผูกพัน หรือแม้แต่ความที่ จะสนิทสนมคุ้นเคย บางคนก็เป็นได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเรื่องของจิตใจนี่ค่ะ เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เป็นเรื่องที่ ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะเท่านั้นจึงสามารถที่จะรู้จริงๆ ว่าการให้เนี่ยเป็นการให้ด้วยจิต ที่ปรารถนาที่จะให้เป็นประโยชน์กับผู้รับเท่านั้นโดยที่ไม่มีการหวังสิ่งหนึ่ง สิ่งใดเลย เป็นการตอบแทน แต่ถ้ามีการแทรกแซงติดตามมาด้วยอกุศลต่างๆ นะคะ ก็จะเห็นได้ว่า บางคนก็ปรารถนาว่า ขอให้คราวนี้ และก็ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรืออะไรอย่างนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวจริงๆ และต่อไปจะทราบว่าธรรมนะคะ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลเท่านั้นจะรู้ได้ เพราะอะไร เพราะว่าสภาพธรรม เกิดดับเร็วมากจิตในขณะหนึ่ง เป็นกุศลนะคะ ขณะต่อไปเป็นอกุศลแล้ว และคณะต่อไปก็ เป็นกุศลอีกก็ได้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เราจะครอบคลุมเหตุการณ์ทั้งเหตุการณ์ และกล่าวว่าเป็นกุศล ก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าอาจจะมีอกุศลเกิดแทรกอย่างรวดเร็ว เมื่อไหร่ก็ได้
อ.สมพร การให้นะครับ ก็มันมีหลักที่กล่าวไว้ในพระสูตรอีกนิดหนึ่ง นะครับ เมื่อครั้งพระเวสสันดรให้ทาน ให้มากมายนะครับ ทีนี้พระเวสสันดร ก็รู้ว่า ให้บางอย่าง ไม่เป็นประโยชน์ เช่นให้สุรา อะไรเงี้ย ให้สุรา หรือให้เกี่ยวกับ เช่นว่า ให้การผสมพันธุ์หลายอย่าง ที่ท่านกล่าวไว้ในพระเวสสันดร พระเวสสันดรก็รู้ว่าให้สุรานี้ ไม่เป็นประโยชน์ แต่พระเวสสันดร ก็ยังพระราชทานสุราให้ ก็แสดงว่า การให้นะครับ การให้เป็นการสละ โลภะ โทสะ ทีมีอยู่ ทำให้จิตผ่องใสแล้วก็สละได้ แต่ว่าประโยชน์นั้นประโยชน์ของท่านไม่มี แต่ว่าของนักเลงสุราที่ต้องการนั้นนะ มีอยู่ แต่สุรานั้นมันมีทั้ง ส่วนมากก็มีโทษนะ แต่ว่าการให้อย่างนั้น มันก็เรียกว่าการให้เหมือนกันนะครับ เรียกว่าทานเหมือนกัน แต่ว่าเป็นฐานชั้นไหน อันดับไหน มีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์อะไรก็อีกนัย หนึ่ง
ผู้ฟัง คะ ถ้าอยากกราบเรียนถามว่า ถ้ายังคนที่เขาทำ ไม่ค่อยมีศรัทธาเท่าไหร่ อาจจะทำบุญเอาหน้าเนี่ยแต่ทำบุญเป็นแสน ในขณะที่คนทำบุญให้ ๒๐ บาท แต่มีความศรัทธามากเนี่ย คิดว่าอันไหน น่าจะได้บุญมากกว่ากัน เพราะอย่างคนที่เขา เงินเขามาก เงินเขามีประโยชน์ สำหรับคนอื่นมาก อาจจะว่าเลี้ยงเด็กได้หลายมื้อที่เด็กอดอยาก แต่ในขณะที่ ๒๐ บาท เนี่ย อาจเลี้ยงได้คนเดียวทานมื้อเดียว ทานมื้อเดียว
ท่านอาจารย์ คุณยุติการ์ คงสงเกตุว่า มีใครหัวเราะเบาๆ เยอะๆ ใช่มั้ยคะ ตอนที่คุณยุติการ์ถามว่าได้ อย่างไหนจะได้บุญมาก ค่ะใช่มั้ยคะ เพราะเหตุว่า มันไม่ใช่เรื่องได้นะคะ ถ้าเรื่องได้ขณะนั้น เป็นเรื่องของความติดข้องค่ะเป็นเรื่องของความต้องการ นี้เรากำลังพูดถึงสภาพจิต คือจิตที่เป็นอกุศลเนี่ยอย่างหนึ่งนะคะ แล้วก็จิตที่เป็นกุศลอย่างหนึ่ง แต่ว่าเมื่อเราไม่ได้ศึกษาจริงๆ นะคะ เรา เอา สอง อย่างนี้ มาปนกัน เพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่เนี่ย มุ่งไปที่ผลของบุญ ติดในผลของบุญนะคะ แล้วก็ต้องการผลของบุญ แต่เขาไม่รู้ว่า ขณะที่ติด ขณะที่ต้องการผลขณะนั้นไม่ใช่ตัวบุญค่ะ เป็นโลภมูลจิต แต่ขณะใดที่จิตผ่องใสไม่มีโลภะ ไม่มีความติดข้อง ไม่มีโทสะ ไม่มีอกุศลใดๆ ไม่มีริษยาไม่มีตระหนี่ อกุศลธรรมทั้งหลายนะคะ ขณะนั้นคือ กุศลจิต และตัวกุศลจิตเนี่ยค่ะจะเป็นปัจจัย ให้เกิดกุศลวิบาก คือจิต ซึ่งเป็นผลของบุญ ซึ่งในวันหนึ่งๆ เนี่ยเราต้องทราบนะคะ ว่าขณะไหน เป็นผลของกรรมเช่น การเห็น เราเลือกไม่ได้ ทุกคนอยากเห็นแต่สิ่งที่ดี การได้ยินก็เลือกไม่ได้ อยากจะได้ยินแต่เสียงดีนะคะ แต่ว่าทำไมบางวันได้ยินเสียงที่ไม่ดี ได้เห็นสิ่งที่ไม่ดี ถ้าทราบว่านี่ คือผลของกรรมซึ่งทำแล้ว กรรมเป็นปัจจัยให้จิตประเภทนี้เกิดขึ้น ในชีวิตทุกวันนะคะ ที่เราดำรงอยู่ และเห็นบ้าง ได้ยินบ้างเนี่ย เป็นผลของกุศล และอกุศลนะคะ ถ้าเป็นฝ่ายดีก็ รู้สิ่งที่ดีทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ ไปต้องการผล หรือว่าติดผล เพราะฉะนั้นเราจะไม่พูดเรื่อง อันไหนจะได้บุญมากกว่ากัน แต่ว่าสภาพของจิตเนี่ย ใครจะรู้ คนนั้นเอง เป็นคนรู้ คนที่ให้ เพราะว่าต้องการเกียรติยศชื่อเสียง เอาหน้าอย่างที่คุณยุ ว่าเมื่อกี้เนี่ยนะคะ ขณะนั้น เขาก็ต้องรู้ตัวเองว่าเขาต้องการ เป็นโลภะไม่ใช่เป็นกุศล แต่ว่าคนที่เขา ปราศจากความต้องการ ความติดข้อง จะเป็นบาท หนึ่ง สลึงนึง น้อยกว่า ๒๐ บาทก็ได้
ผู้ฟัง แม้แต่ทำบุญ ก็ต้องมีผล แต่คนนั้นเขาไม่ได้ติดอะไรค่ะเพียงแต่เขาอาจจะทำบุญ เขาไม่ได้คิดจะหวังผลอะไร แต่อยากทราบว่า ผลที่ได้ ต้องมีผลไม่ใช่เหรอค่ะ
ท่านอาจารย์ คือจิตขึ้นอยู่กับสภาพจิตที่ผ่องใส ว่าสภาพจิตขณะนั้นนะ ผ่องใสแค่ไหน สะอาดแค่ไหนนั่นคือ บุญแค่นั้น อยู่ที่ตัวจิตค่ะ ไม่ใช่อยู่ที่วัตถุ
ผู้ฟัง แต่ผลก็ต้องตามมาใช่มั้ยค่ะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพจิตไงค่ะ ถ้าจิตผ่องใสมาก สะอาดมาก เกิดบนสวรรค์ก็ได้ เพียงแค่การไหว้ ด้วยความนอบน้อมไม่ต้องเสียสตางค์เลย แต่ว่าสภาพของจิต ขณะนั้นเป็นกุศล ทำให้เกิดบนสวรรค์ มากกว่าการเกิดเป็นมนุษย์อีก
ผู้ฟัง มีผู้ฝากถาม ฝากให้ผมถามแทนนะครับ ฝากให้ถามว่าบุคคลที่สมองตายแล้วเนี่ย ในทางพระพุทธศาสนาจะถือว่าตายหรือยัง ถ้าเผื่อยัง ต้องเพียงไร จึงจะถือว่าตายแล้ว ผู้ที่ฝากถามมา คือ พี่สวลี ผกาพันธ์ ซึ่งนั่งอยู่ข้างหลังผมนี่เองครับ
อ.สมพร คนที่ตายนะครับ ถ้าว่าโดยนัย การศึกษาเล่าเรียนมานะครับ ก็หมายว่า จิตมันเคลื่อน จิตมันเคลื่อนจากโลกนี้นะครับ จิตจะเคลื่อนจากโลกนี้ได้ ก็เพราะว่ารูป เป็นที่เกิดของจิตเนี่ยนะ เรียกว่ากัมมัชรูปนั้นไม่เกิด เมื่อไม่เกิดแล้วจิตก็ไม่มีที่เกิด จิตนั้นก็ต้องดับไปพร้อมกับรูป ที่ทำ รูปที่เกิดจากกรรม การที่เราจะรู้ว่าคนนั้นตายแล้ว หรือยังนั่นนะ รู้ยาก แต่ว่ารู้ได้โดยการศึกษาเล่าเรียน เมื่อกัมมัชรูป ไม่เกิด จิตก็เกิดไม่ได้ครับ เพราะว่าจิต ไม่มีที่เกิด ก็เป็นอันว่าจิตต้องเคลื่อนจากภพนี้ซึ่งเราเรียกว่าตายแล้ว
ท่านอาจารย์ โดยมากเนี่ย เราไม่สงสัยเรื่อง การที่ผู้มีพระภาค เป็นรัตนะ หรือว่าพระอริยสงฆ์ ท่านก็บรรลุธรรมแล้ว.เป็นรัตน แต่ธรรมรัตนะนี้คืออะไร และเมื่อไหร่ ทั้งๆ ที่เรามี ๓ รัตนะนะคะ คือตรัยรัตน แต่เราเพิกเฉย ไม่สนใจในธรรมรัตน เพราะฉะนั้น ก็ไม่มีโอกาสจะรู้ว่า แก้วดวงประเสริฐ ซึ่งให้ความปิติ หรือว่า ให้สิ่งที่มีค่าที่สุดเนี่ย ก็คือพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ตลอด ๔๕ พรรษา นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเรารู้คุณค่าจริงๆ นะคะ มีโอกาสเมื่อไหร่ ที่จะเข้าใจพระธรรมยิ่งขึ้น เรื่องตายนั้น ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะคือวันไหนก็ไม่รู้ และก็เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แต่ถ้าเรามีความศรัทธา และก็มีการเห็นประโยชน์ของพระรัตนตรัย แล้วก็มีการศึกษา ประพฤติปฏิบัติตาม อยู่เรื่อยๆ นั้นก็คือ การเตรียมตัว แต่ว่าต้องถึงพระอริยะบุคคล ขั้นพระโสดาบันนะคะ ถึงจะไม่เกิดในอบายภูม นี่ก็ทำให้เราเนี่ย เป็นผู้ที่ไม่ประมาทยิ่งขึ้น ใช่มั้ยคะ
ผู้ฟัง ครับ แค่ไหนครับ ไม่ว่า
ท่านอาจารย์ ไม่มีแค่ไหนคะ เรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ คุณเสกสรรค์อาจจะตายเดี๋ยวนี้ก็ได้ และจะเตรียมยังไง แค่ไหน วัดได้มั้ยคะ
ผู้ฟัง ครับผมหมายความว่า ถ้าเป็นปัญญาขั้น พระโสดาบันนี้นะครับ หมายความว่า เท่าที่กระผมทราบ พระโสดาบัน ท่านสามารถระลึกรู้ สภาวะ รูปธรรมนามธรรมได้ ในทุกครั้ง ที่สติเกิดขึ้น แต่ว่า ในขณะที่ตายนั้นเท่าที่ศึกษามาก็หมายความว่า ในขณะที่ตายแล้ว ไม่มีสติสัมปชัญญเลย คือเป็นไปตามบุญตามกุศลจริงๆ แต่ยกเว้นว่า ถ้าเป็นพระโสดาบันบุคคล นั้นไม่ไปทุคติ จะไปสุคติเท่านั้น คำถามก็คือว่าถ้า ถ้าหากว่าเราเป็นพระโสดาบันบุคคล ในขณะที่ ใกล้จะตายนั้น อะไรครับ เป็นเหตุปัจจัย ที่จะทำให้เราไม่ไปทุคติภูมิครับ
ท่านอาจารย์ อริยะบุคคลแล้ว ไม่ไปทุคติภูมิเลยค่ะ โลกุตตรจิตดับ กรรมที่จะทำให้ไปสู่ทุคติภูมิ แต่นี่ เราก็ไม่จำเป็นต้องไปคิดถึงใครขณะนั้นนะคะ เพราะว่าขณะนี้ เรามีศรัทธา หรือยังในพระรัตนตรัย มีความที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมมากพอที่จะติดตามฟัง ให้ค่อยๆ เข้าใจขึ้นมั้ย นี่คือการเตรียมตัว
- สนทนาธรรม ตอนที่ 001
- สนทนาธรรม ตอนที่ 002
- สนทนาธรรม ตอนที่ 003
- สนทนาธรรม ตอนที่ 004
- สนทนาธรรม ตอนที่ 005
- สนทนาธรรม ตอนที่ 006
- สนทนาธรรม ตอนที่ 007
- สนทนาธรรม ตอนที่ 008
- สนทนาธรรม ตอนที่ 009
- สนทนาธรรม ตอนที่ 010
- สนทนาธรรม ตอนที่ 011
- สนทนาธรรม ตอนที่ 012
- สนทนาธรรม ตอนที่ 013
- สนทนาธรรม ตอนที่ 014
- สนทนาธรรม ตอนที่ 015
- สนทนาธรรม ตอนที่ 016
- สนทนาธรรม ตอนที่ 017
- สนทนาธรรม ตอนที่ 018
- สนทนาธรรม ตอนที่ 019
- สนทนาธรรม ตอนที่ 020
- สนทนาธรรม ตอนที่ 021
- สนทนาธรรม ตอนที่ 022
- สนทนาธรรม ตอนที่ 023
- สนทนาธรรม ตอนที่ 024
- สนทนาธรรม ตอนที่ 025
- สนทนาธรรม ตอนที่ 026
- สนทนาธรรม ตอนที่ 027
- สนทนาธรรม ตอนที่ 028
- สนทนาธรรม ตอนที่ 029
- สนทนาธรรม ตอนที่ 030
- สนทนาธรรม ตอนที่ 031
- สนทนาธรรม ตอนที่ 032
- สนทนาธรรม ตอนที่ 033
- สนทนาธรรม ตอนที่ 034
- สนทนาธรรม ตอนที่ 035
- สนทนาธรรม ตอนที่ 036
- สนทนาธรรม ตอนที่ 037
- สนทนาธรรม ตอนที่ 038
- สนทนาธรรม ตอนที่ 039
- สนทนาธรรม ตอนที่ 040
- สนทนาธรรม ตอนที่ 041
- สนทนาธรรม ตอนที่ 042
- สนทนาธรรม ตอนที่ 043
- สนทนาธรรม ตอนที่ 044
- สนทนาธรรม ตอนที่ 045
- สนทนาธรรม ตอนที่ 046
- สนทนาธรรม ตอนที่ 047
- สนทนาธรรม ตอนที่ 048
- สนทนาธรรม ตอนที่ 049
- สนทนาธรรม ตอนที่ 050
- สนทนาธรรม ตอนที่ 051
- สนทนาธรรม ตอนที่ 052
- สนทนาธรรม ตอนที่ 053
- สนทนาธรรม ตอนที่ 054
- สนทนาธรรม ตอนที่ 055
- สนทนาธรรม ตอนที่ 056
- สนทนาธรรม ตอนที่ 057
- สนทนาธรรม ตอนที่ 058
- สนทนาธรรม ตอนที่ 059
- สนทนาธรรม ตอนที่ 060