สนทนาธรรม ตอนที่ 009


    ตอนที่ ๙

    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๓๗


    ท่านอาจารย์ ทีนี้เราด้วยมานะอันนี้ก็คงจะไม่ยากเวลาที่มีความสำคัญตนเราใหญ่ๆ ทั้งๆ ที่ไม่มีความเห็นผิดอย่างพระโสดาบันท่านไม่มีความเห็นผิดเลยในเรื่องเห็นในเรื่องได้ยินในเรื่องคิดนึกในเรื่องสภาพธรรมในเรื่องตัวตนแต่ความเป็นเราที่สะสมมาความสำคัญในตัวซึ่งไม่ใช่ความเห็นผิดก็เป็นสภาพที่มีจริง เพราะฉะนั้นเวลาที่เกิดขึ้นเราก็เห็นตัว ตัวเราอีกตัวหนึ่ง คือตัวเรามานะความสำคัญตน ทีนี้ตัวเราด้วยตัญหา เรารักตัวเราแค่ไหน ไม่ค่อยจะสำรวจ จริงๆ แล้วไม่เคยเลยค่ะที่จะไม่รักตัวเราด้วยตัญหา เกิดมาไม่ว่าจะเรื่องเสื้อผ้า เรื่องแต่งตัวเรื่องอาหารเรื่องทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวนี้ตัวเรา บ้านเราเพื่อนเราทุกสิ่งทุกอย่างเราทั้งหมด

    เพราะฉะนั้นก็น่าสนใจว่าเรารักตัวเราออกมาในรูปแบบไหนบ้าง เพราะฉะนั้นมีใครที่มีพฤติกรรมในชีวิต หรือได้ยินได้ฟังเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเอง หรือว่าอะไรก็ตามที่มันจะต้องย้อนกลับมาสู่ในจุดที่ว่าเรา แล้วก็รักตัวเรา เมื่อไหร่เราจะรู้ความจริงนะคะ ว่ามันเป็นเพียงจิตซึ่งเกิดแล้วก็คิดสารพัดคิดค่ะแต่จุดทั้งหมดของความคิดมันก็รวมมาที่ตัวเราอีกนั่นแหละ เพราะฉะนั้นกว่าเราจะรู้ความจริงแยกให้ออกว่ามันเป็นเรื่องที่คิดใครจะพูดอะไรจะว่ายังไงมันก็คือเราได้ยินแล้วคิดถ้าเราได้ยินผ่านหูไปไม่คิดเรื่องนั้นจบสบายแต่ว่าพอมีความติดใจสนใจคิดต่อยุ่งเพราะมันไม่เป็นเพียงสิ่งที่ผ่านหูเท่านั้นเอง เรื่องทุกเรื่องมันก็รวมวนมาอยู่ที่ตัวแบบนี้แสดงให้เห็นว่ากว่าเราจะเอาตัวนี้ออก จะต้องมีปัญญาจริงๆ ที่จะต้องรู้ว่าอะไรเป็นเหตุเป็นผลอะไรเป็นความจริงอะไรเป็นแต่เพียงความคิด และความคิดนี้เกิดจากใคร เอาอะไรมาให้เราคิด แล้วเรายอมคิดตามอย่างยาวไปอีกเลยค่ะก็เท่ากับว่าต่อเรื่องที่เราได้ยินด้วยความมัวเมาด้วยความไม่รู้ว่าความจริงมันคืออะไรเพราะความจริงคือเพียงชั่วขณะจิตที่คิดเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง ทีนี้ปัญหาของผมคือว่าอยากจะเรียนถามอาจารย์ว่าเราของ พระโสดาบัน เราที่เห็นว่าละสักกายทิฎฐิไปแล้ว กับเราของพระสักทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ความรู้สึกมันต่างกันยังไงกับความเป็นเราตรงนี้

    ท่านอาจารย์ โลภะไม่มีทางต่าง มานะไม่มีต่าง ก่อนเป็นพระอริยบุคคล เป็นยังไงโลภะก็ยังเป็นโลภะคือติดข้อง มานะก็ยังคงเป็นมานะความสำคัญตนแต่พระโสดาบันรู้ว่าเป็นนามธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย และไม่มีการยึดถือว่าเป็นตัวตนเพราะประจักษ์แจ้งการเกิดดับ สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ดับความสงสัยในอริยสัจจธรรมได้ ไม่เหมือนคนที่ยังสงสัยอยู่ เพราะฉะนั้นสำหรับพระโสดาบันดับความสงสัยทั้งหมดในเรื่องของอริยสัจธรรม ทีนี้เรื่องราวนี้ซิค่ะ น่าคิดทุกคนศึกษาธรรม เพื่อจุดนี้จุดเดียวค่ะ เพื่อให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมว่าความจริงแท้ๆ มีอะไร และคืออะไร มิฉะนั้นแล้วเราก็หลงวนกับความคิดของเราคิดว่าสิ่งนั้นจริง หรือว่ามีสาระ แต่ความจริงแล้วก็เพียงชั่วขณะซึ่งตามเรื่องที่ได้ยิน ได้ยินดับแล้วแต่เรื่องยังมาทำให้เราคิดวนไปวนมาอย่างงั้นอย่างนี่ทั้งๆ ที่กำลังเห็นควรจะรู้ความจริงของเห็นมันไม่ใช่คิดแล้วสักครู่เจ้าความคิดก็กลับมาอีกก็แสดงให้เห็นว่าเรายังไม่รู้ความจริงว่าความคิดเกิดแล้วดับแล้วก็เห็นแล้วก็เกิดแล้วดับ เรื่องราวทั้งหมดไม่มีเลยถ้าจิตไม่คิด

    เพราะฉะนั้นเราจะผูกพันผูกมัดติดข้องอยู่กับความคิดมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัญญาของเราด้วย ถ้าปัญญาของเรารู้เรื่องสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยที่เป็นของจริง คือต้องเอาของจริงมาเป็นสัจธรรม เรื่องที่ได้ยินได้ฟังเรื่องจริงก็มีเรื่องไม่จริงก็มีเรื่องเท็จก็มีเรื่องสรรเสริญก็มี เรื่องนินทาก็มีมีสารพัดเรื่องสำหรับให้กิเลสฟูขึ้นมา เดี๋ยวก็โกรธตามความคิดนึกจากเสียงบ้างจากอะไรบ้างแสดงให้เห็นว่าเป็นตัวละครซึ่งเขาส่งบทมาตามเสียงตามหูตามตาเราก็เล่นตามที่เขาสั่งก็เล่นไปโดยไม่รู้ตัวว่าผู้กำกับนั้นก็คือว่าสิ่งที่มีอยู่ในใจพร้อมที่จะรับอะไรก็ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยความไม่รู้ความไม่รู้ทำให้เกิดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องราว หรือว่าเป็นความเพลิดเพลิน หรือว่าเป็นความสำคัญตน หรือว่าเป็นอะไรได้ทุกอย่างด้วยความไม่รู้ แสดงให้เห็นว่ากว่าเราจะสางทุกอย่างออกด้วยปัญญาที่ค่อยๆ เติมขึ้นทีละเล็กที่ละน้อยจนกระทั่งรู้ความจริงว่าสัจจธรรมคืออะไร คือไม่มีเรามีแต่เรื่องถ้าคิดแต่ถ้าไม่คิดเรื่องนั้นก็ไม่มี

    เพราะฉะนั้นเราจะยังเอาเรื่องมาคิดเพ้อๆ สบายๆ สนุกๆ หรือว่าเอาความจริงที่เป็นสัจธรรมว่าไม่มีค่ะไม่มีเรื่องมีแต่จิตที่คิดแค่นั้นเองเพราะจิตที่คิดนั้นข้อสำคัญที่สุดคือต้องมีสติสัมปชัญญะที่จะรู้ว่าเป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต นี่สำคัญที่สุดไม่อย่างงั้นแล้วอกุศลก็ต่อไปเรื่อยๆ ทุกวัน และก็ตัวตนที่ถามเมื่อกี้นี้ทั้ง ๓ ก็ครบ ทั้งเราด้วยทิฏฐิคือไม่รู้ความจริงที่กำลังปรากฏทั้งเราด้วยมานะว่าเขาสรรเสริญเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ความจริงๆ หรือเปล่าแล้วเค้ารู้ได้ยังไงที่เขามาพูดจริงบ้างเท็จบ้าง เขารู้อาจจะรู้ใจของเราว่าเราชอบแบบไหนเขาก็เอาแบบนั้นมาให้เราเพลิดเพลินไปซึ่งจริงๆ แล้วเขานะ หรือจะรู้ถ้าคนๆ นั้นไม่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมอย่าพูดดีกว่าแต่ว่าเราไปเชื่อต่างหากว่าจริง และเราด้วยความรักตัวเราไม่ออกเลย เพราะฉะนั้นยิ่งเข้าใจเรื่องตัวเราว่าแท้ที่จริงแล้วก็คืออะไรก็ทำให้เกิดปัญญาที่ละคลาย เรา ๓ ตัวที่หมอถามได้

    ผู้ฟัง สภาพธรรมในขณะแรกที่ปรากฏขึ้นมาซึ่งเป็นปรมัตธรรมโดยไม่ต้องใส่ชื่อไปว่าเป็นอะไรต่ออะไรสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร

    ท่านอาจารย์ เวลานี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา และคุณประทีปก็คิดว่าก่อนที่เราจะเรียกว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตาสิ่งนั้นคืออะไร แล้วถ้าเรียกแล้ว สิ่งนั้นคืออะไร

    ท่านอาจารย์ ดิฉันจะบอกว่าเวลานี้กำลังลืมตาคุณประทีปเห็นสวรรค์

    ผู้ฟัง สมมติใช่ไหมครับ

    ท่านอาจารย์ อย่างตอนนี้ลืมตาอย่างนี้ถ้าคุณประทีปถามว่าเห็นอะไระ เรียกว่าอะไรใช้คำว่าอะไร แล้วดิฉันบอกว่าเห็นสวรรค์คุณประทีปคิดว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง เป็นอย่างที่คุณอนุศักดิ์คือไม่เชื่อ

    ท่านอาจารย์ ก็หมายความว่าคุณประทีปรู้ใช่ไหมคะว่าสิ่งที่ปรากฏทางตามันมีลักษณะที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณประทีปที่จะเรียกอะไร หรือไม่เรียกอะไรเรียกใครจะเรียกผิด คุณประทีปก็รู้ว่าเขาพูดผิดก็แสดงว่าคุณประทีปก็รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตามันมีลักษณะอย่างนี้ ใครจะเรียกยังไงก็ช่างไม่ได้ก็ช่างเรียกผิดก็ช่างสิ่งที่ปรากฏทางตาเปลี่ยนลักษณะไม่ได้เลย

    ผู้ฟัง ลักษณะ และสภาพธรรมเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็กำลังเห็นอยู่เดี๋ยวนี้ ยังเห็นอยู่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไม่ได้เลยจะเปลี่ยนให้มันมืดไปหมด หรือว่าจะเปลี่ยนให้มันเป็นเสียงออกมาแทนสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เปลี่ยนไม่ได้ เพียงแต่ว่าเราไปงงกับชื่อ เราไปงงที่ชื่อถ้าใช้คำว่ารูปารมณ์เกิดมามองไม่เห็นแล้วว่ารูปารมณ์มันเป็นยังไงคล้ายๆ ว่าเป็นคำที่เราไม่รู้จักชื่อความหมายของสิ่งนี้แต่ที่เราไม่ต้องไปรู้จักชื่ออะไรเลยเราปฏิเสธไม่ได้ขณะนี้ มีเห็นแล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ๒ อย่างนี้ไม่ต้องเรียกอะไรก็ได้ ถ้าเรียกผิดคุณประทีปก็ยังรู้ด้วยซ้ำไปว่าคลาดเคลื่อนจากความจริง

    ผู้ฟัง จากการศึกษารู้ครับ แต่จริงๆ ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ก็ดิฉันเห็นสวรรค์อย่างนี้คุณประทีปยังบอกว่าผิดเลย

    ผู้ฟัง จากการศึกษา แต่สภาพจริงๆ

    ท่านอาจารย์ แต่ต่างจากสวรรค์ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง แต่คำพูดว่าเป็นเก้าอี้ ผมเชื่อว่าเป็นเก้าอี้

    ท่านอาจารย์ แต่ดิฉันบอกว่าสวรรค์

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างงั้นไม่เชื่อ

    ท่านอาจารย์ เพราะอะไร

    ผู้ฟัง เพราะมันไม่ได้เป็นจริงตามนั้น

    ท่านอาจารย์ ทำไมรู้ว่าไม่จริง

    ผู้ฟัง เพราะจากการนึกคิดว่าสวรรค์จะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่งามอะไรต่ออะไร

    ท่านอาจารย์ นั้นคิดหลัง เห็นไม่ใช่เหรอคะ

    ผู้ฟัง ครับคิดหลังเห็น

    ท่านอาจารย์ ที่นี่ที่กำลังเห็นมันไม่ใช่สวรรค์ ไม่ใช่โต๊ะ ไม่ใช่อะไร มีสิ่งที่ ปรากฎให้เห็น

    ผู้ฟัง แต่จากความว่องไวของจิตจริงๆ แล้วสภาพธรรมที่ปรากฎมันปุ๊บมันจะเป็นโต๊ะเลยครับ

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ปุ๊บไปปั๊บ เวลานี่มันก็ยังเห็นอยู่ เอากำลังเห็นอยู่ ไม่ต้องไปปุ๊บไปปั๊บอะไรเลยเกินไปแล้วที่เราไปคิดว่าปุ๊บปั๊บ ในเมื่อเห็นก็ยังไม่ได้หายไปทางไหน ก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ก็ค่อยๆ รู้ ว่ามันมีสิ่งที่ปรากฎให้เห็น ลองตาบอดซิจะเห็นไหม เท่านี้เอง

    ผู้ฟัง อย่างที่อาจารย์พูดว่าสภาพธรรมขณะที่ปรากฏไม่เปลี่ยนมีสภาพธรรมที่เป็นยังไงก็เป็นอย่างงั้นแต่ว่าความรู้ของตัวเองที่เปลี่ยนเพิ่มขึ้นเกิดขึ้นใช่ไหมครับผมว่าเปลี่ยนหมายความว่ารู้ตรงความจริงใช่ไหม เจริญขึ้น

    ท่านอาจารย์ ความจริงที่จะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง และก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นทั้ง ๖ ทาง

    ผู้ฟัง คือทุกวันนี้ผมมีความกังวลอย่างนี้ หลังจากได้ศึกษาธรรมแล้วก็ มีความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรมบ้างไม่มากเล็กน้อย เรื่องการเกิดของสภาพธรรมทีนี้ผมก็มีความวิตกกังวลว่าวันๆ อกุศลที่มันเกิดมากเหลือเกินยังเรื่องความเป็นเรามีมากจะมีสติปัฎฐานเกิดบ้างก็เล็กๆ น้อยๆ ที่นี่เมื่ออกุศลเกิดการสะสมนี้มันสะสมสัก ๑๐๐ เท่าแต่ว่าขัดเกลาสัก ๑ โอกาสที่ปัญญาที่มันจะเกิดไปเท่าทันในการสะสมของกิเลสคิดว่าที่บอกว่าจิรกาลภาวนานี้ดูจะไม่มีความหวัง ผมมีความเข้าใจว่าปัญญาจนกว่าจะเป็นปัญญาพละนี้ดูถ้าจะไม่ทันกันผมความวิตกกังวลนี้อาจารย์ให้ความเห็น

    ท่านอาจารย์ ถ้าหมอไม่เข้าใจอะไรเลยสักนิดนึง ก็คงจะเป็นอย่างนี้แต่ถ้าเริ่มเข้าใจทีละนิดๆ ๆ จะไปถึงจุดที่สามารถจะประจักษ์แจ้งได้ไหม

    ผู้ฟัง สภาพธรรมก็เป็นสภาพธรรม อย่างการสะสมของอกุศลกับการสะสมทางด้านบารมี มันก็เหมือนกัน คือทั้งทางไหนสะสมมากทั้งนั้นก็มีมากทางไหนเกิดน้อยทางนั้นก็สะสมน้อย ทีนี้คิดว่าก็มีโอกาสเท่าๆ กันแต่ที่เห็นว่าทางฝ่ายปัญญาเกิดน้อยเหลือเกินฝ่ายอกุศลเกิดมาก คิดว่ามันคงจะไม่ทัน

    ท่านอาจารย์ ก็จับตัวเราตัวใหญ่ได้เลย พูดไปพูดมาก็เจอตัวเราของหมอนี้ใหญ่เรามันอยู่ตั้งอย่างนี้นะเราจะไปถึงไหนเราจะอะไรนี่มันไม่ใช่เรื่องของปัญญาแต่เป็นเรื่องตัวเราเป็นเรื่องความกังวลเป็นเรื่องความต้องการแต่จริงๆ แล้วถ้าไม่มีปัญญาเลยไม่มีพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีพระธรรมก็จะต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฎ แต่คนที่ได้มีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรม ได้รู้คุณค่าแล้วค่อยๆ สะสมกุศล ซึ่งกว่าจะได้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยพระปัญญา ๔ อสงไขย แสนกัป ด้วยศรัทธา ๘ อสงไขย แสนกัป ด้วยวิริยะ ๑๖ อสงไขย แสนกัป นี่คือกว่าจะตรัสรู้ความจริงแต่มาจากไหนที่ละขณะ ๒ ขณะ หรือเปล่าแม้แต่พระสาวกท่านพระอานนท์ท่านพระสารีบุตรพระมหาโมคคัลลานะ พระมหาสาวกก็ แสนกัป มาจากไหนไม่ใช่ทีละ ๑ ขณะ ๒ ขณะ ๓ ขณะในแต่ละชาตินี้ หรือ แล้วเราไม่ใช่คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังธรรมเรามีความได้ยินได้ฟังขนาดสนใจเข้าใจ และสามารถมีสติปัญญารู้ว่าหนทางไหนถูก ทางไหนไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า ทางไหนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็มีหนทางเดียวคือเราก็เดินต่อไปสะสมต่อไปวันหนึ่ง ก็ต้องเหมือนกับพระสาวกทั้งหลาย และสาวกทั้งหลายก็เป็นตัวอย่างอันดีทำให้เราเห็นชีวิตของท่านในอดีตจนกระทั่งได้เป็นพระสาวกแล้ว ทำไมเราเดี๋ยวนี้เราก็สนใจเข้าใจมีการศึกษา และสติก็เริ่มระลึกบ้าง วันหนึ่งก็ต้องเป็นได้แทนที่จะไปนั่งตัวเราใหญ่ๆ ว่าเมื่อไหร่เมื่อไหร่บวกลบคูณหารอยู่นั่นก็ยิ่งเห็นตัวเราชัดๆ ไม่ได้ลดลงไปด้วยการคิดอย่างนี้ จริงๆ จะเห็นได้ว่าโลภะเห็นยาก เห็นไหม แม้แต่หมอเองที่คิดว่ากำลังมานั่งเทียบระหว่างกุศลอกุศลแล้วเมื่อไหร่ตัวโลภะอันนี้หมอไม่เห็นเลย ว่ามันเป็นโลภะ เพราะฉะนั้นซ่อนอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าความคิดของเราจะไปทางไหนด้วยเหตุนี้ในอริยสัจธรรม สัจจะที่ ๒เห็นโลภะซึ่งเป็นสมุทัย ถ้าไม่เห็นโลภะ ละไม่ได้ค่ะ ละไม่ได้เลย เวลานี้ก็ทำให้เราคิดอย่างนี้ทำอย่างโน้นทำให้กังวลอย่างนั้นทำให้บวกลบคูณหารก็ยังไม่เห็นต่อเมื่อใดเราเห็นตัวเขาเมื่อนั้นเรารู้ว่า นั้นเพราะอะไร เพราะความเป็นเรา เกาะติดแน่นเหลือเกินตัวเรานั้นนะจะไปทางไหนก็พ้นยากแม้แต่ว่าจะมองหากุศลแต่ละวันก็เพื่อตัวเราทั้งนั้น หมอก็จะลืมโอวาทปาติโมกข์ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง

    ผู้ฟัง บอกว่าเห็นขณะนี้เป็นทุกข์นี่ พิจารณายังไงก็ไม่มีทางด้วยเหตุด้วยผลด้วยอะไรก็ตาม

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่ใช่เห็นด้วยความคิด แต่ก็ต้องเป็นความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น อย่างทางตาจะต้องรู้จริงๆ ว่าขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏ เราก็ได้ยินอย่างนี้มีสิ่งที่ปรากฏมันก็กำลังปรากฏแต่อวิชชารู้ไม่ได้นี่ก็เห็นตัวอวิชชามาอีกตัวหนึ่งแล้วว่าตัวที่ทำให้รู้ไม่ได้คืออวิชชาซึ่งเป็นความไม่รู้ เพราะฉะนั้นจะเอาตัวนี้ออกได้ หรือว่าให้น้อยลงได้ก็ด้วยปัญญาที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น เพิ่มที่เดียวเพิ่มไม่ได้ค่ะเพราะว่าเขาสะสมมาตั้งแต่วันหนึ่งก็ไม่รู้ฝุ่นละอองเข้าไปทีละนิดทีละหน่อยมากแค่ไหนทางตา หู จมูกลิ้นกาย ใจ เพราะฉะนั้นขณะใดที่กำลังเริ่มเข้าใจเอาเริ่มเข้าใจในขณะนี้ที่กำลังเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีจริงๆ แต่ปรากฏเฉพาะทางตาเท่านั้น แล้วเมื่อปรากฎแล้วหลังจากนั้นจะชอบจะชังจะคิดจะนึกเรื่องต่างๆ คนละขณะจิตให้ทราบความรวดเร็วของจิตซึ่งจะบอกว่าจิตเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเดียวแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วแล้วก็เกิดดับสืบต่อจนดูเสมือนว่าไม่ดับเลยก็คืออย่างนี้ปรากฏเหมือนกับว่า ไม่ดับเลยก็จริง พูดอะไรก็จริงทั้งนั้นแหละแต่ว่าปัญญา จะต้องค่อยๆ เข้าใจ ไม่เอาอย่างอื่นเอาความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ของการศึกษาธรรมที่ตั้งไว้ถูกต้องไม่ใช่เพื่อที่จะไปรู้แจ้งอริยสัจธรรม บางคนก็บอกว่าต้องการที่จะดับทุกข์ดับการเกิด ดับทุกข์อะไร ก็ทุกข์เป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงตาหากล่ะ ซึ่งกำลังเกิดดับขณะนี้ก็ยังไม่รู้เลย แล้วจะไปดับทุกข์ อะไร เพราะฉะนั้นผู้ที่มีปัญญาอย่างพระสาวกในพระไไตรปิฏกเวลาที่พวก เดรถีถามบอกว่าท่านบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเพื่ออะไร ท่านเหล่านั้นก็ตอบว่าเพื่อรู้ทุกข์ แสดงว่าทุกข์ไม่ใช่สิ่งที่จะเห็นได้ง่ายๆ รู้ง่ายๆ ละง่ายๆ เพราะฉะนั้นใครจะบอกว่าต้องศึกษาเพื่อที่จะดับทุกข์เพื่อที่จะไม่เกิดอีกก็พูดง่ายๆ ตามๆ กันไปโดยไม่รู้ว่าทุกข์อะไร ดับทุกข์อะไรแต่ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็จะรู้ว่าขณะที่เห็นกำลังเกิดดับแต่ไม่รู้

    เพราะฉะนั้นหนทางเดียวที่จะรู้ได้คือค่อยๆ ฟังให้เข้าใจ แล้วก็มีการรู้ที่กำลังเห็นขณะที่รู้ที่กำลังเห็นคือสติปัฎฐานแล้วไม่ต้องใส่ชื่ออะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องใส่บรรพไหนเพราะเหตุว่ามีสภาพธรรมกำลังปรากฏแล้วก็กำลังค่อยๆ เข้าใจค่อยๆ รู้นั้นคือสติกำลังเกิดขึ้นแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้นจุดประสงค์ของการศึกษาทั้งหมด เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ อันนี้เราจะไม่ลืมเลยค่ะไปเรียนมากี่ปริเฉจ กี่เล่ม อรรถกถา พระไตรปิฎก อย่างไงก็ ทั้งหมดจะมีประโยชน์เมื่อ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏตลอดตั้งแต่เกิดจนตายลืมตาตื่นขึ้นมาก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏแต่ด้วยความไม่รู้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นประโยชน์ก็คือว่าเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏที่ให้ถูกต้อง หมอยากเห็นทุกข์ไหมคะ

    ผู้ฟัง ตอนนี้ผมไม่อยากเพราะมันทั้งไกลเหลือเกินครับยังอีกไกลมากก็คงจะคิดว่าฟัง ศึกษาไตร่ตรองพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ ไปเรื่อยๆ สะสมปัญญาเพื่อความเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรื่องอยากใครจะอยากเห็นทุกข์ไม่มีทางจะเห็นได้เลย เพราะฉะนั้น ถามว่าอยากเห็นทุกข์ไหม ถ้าบอกว่าอยากเห็น มาแล้วใช่มั้ยคะว่าอยู่ที่ไหน ที่บอกว่าอยาก โลภะมาแล้วไม่รู้ตัวเลยอยากเห็นทำไมไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เข้าใจนี้คือปัญญาความเห็นถูกเข้าใจถูกถ้า "สัมมาทิฏฐิ" จะแปลได้ว่าจะใช้ความหมายอย่าง หนึ่ง ก็คือว่ามีความเห็นถูก มีความเห็นถูกก็คือมีความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้น แทนที่จะอยากเห็นทุกข์พอใครเขาถามก็ตอบว่าอยากเห็นเป็นบางคนถามว่าอยากเห็นไหมก็ยกมือกันเป็นแถวว่าอยากเห็น แต่ไม่มีการเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นก็เป็นคนละเรื่องเรื่องโลภะแน่นอนที่บอกว่าอยากเห็นแต่ว่าเรื่องเข้าใจเป็นเรื่องของปัญญาเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ยังไม่เข้าใจเลยแล้วจะไปอยากเห็นอะไรมันก็เป็นเรื่องของโลภะแน่ๆ ค่อยๆ เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไม่ว่าจะเป็นโลภะ หรือโทสะทางตา หรือผ่านหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจนี่เป็นวิธีเดียวไม่ใช่ไปเดือดร้อนบางคนก็โวยวายโลภะเยอะเหลือเกินจะทำอย่างไงก็ผิดอีกจะทำยังไงทำได้ยังไงเมื่อไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นมีสิ่งที่กำลังปรากฏให้เข้าใจถูกต้อง

    เพราะฉะนั้นเรื่องของความละเอียดของธรรมต้องรู้จริงๆ ว่าเมื่อเราเข้าใจแล้วว่าไม่มีตัวเราขั้นการฟังแต่เห็นทีไรก็เป็นเราถึงเวลานี้ก็เถอะต่อให้ปรมัตถธรรมบอกว่ามีแต่เห็นกับสิ่งที่ปรากฏทางตามีแต่ได้ยินกับเสียงแต่เวลาเห็นเวลาได้ยินก็เป็นเรา นี่แสดงให้เห็นว่า จะมีคนมาบอกว่าให้เราพิจารณาอย่างนั้นพิจารณาอย่างนี้สิไม่ได้ แต่เราจะรู้ได้เลยค่ะว่าทำไมนะต่อให้ใครเขาบอกอย่างนั้นอย่างนั้นอย่างนั้นก็ยังเป็นเรา ก็แสดงให้เห็นว่าปัญญายังไม่พอแสดงให้เห็นว่าปัญญามีหลายขั้นมีหลายระดับ ปัญญาขั้นฟังเข้าใจเรื่องหนึ่งทุกคนฟังก็รู้ว่ามีแต่นามกับรูปแต่ไม่ใช่ชื่ออย่าไปติดว่านามรูปเฉยๆ ต้องรู้ด้วยว่าลักษณะต่างกันชื่อจึงต่างกัน เช่น สภาพที่ไม่ใช่สภาพรู้ไม่รู้อะไรเลยจะมองเห็น หรือมองไม่เห็นก็ตาม นั่นเป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรมเสียงกลิ่นอะไรๆ ก็ตามแต่ ซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ทั้งหมดเป็นรูปธรรม

    เพราะฉะนั้นตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าของเรา ก็ลองพิจารณา ลองไปกระทบสัมผัสดู ว่าลักษณะที่แข็ง หรืออ่อนกำลังกระทบสัมผัสอยู่ แข็ง หรืออ่อนรู้อะไรรึเปล่า นี่คือการที่จะค่อยๆ เข้าใจธรรมขึ้นว่าใช้คำว่ารูปธรรมนามธรรมให้เข้าถึงลักษณะอย่าไปติดอยู่เพียงชื่อ เพราะฉะนั้นอ่อน หรือแข็ง ไม่รู้อะไรเลยไม่ใช่สภาพรู้แต่ขณะที่อ่อน หรือแข็งปรากฎต้องมีสภาพที่กำลังรู้แข็ง หรืออ่อนนั้น เพราะฉะนั้นลักษณะที่รู้คือนามธรรม เพราะฉะนั้นไม่อยากจะให้ใครตอบเพียงชื่อว่ามีนามธรรมกับรูปธรรมโดยไม่รู้ลักษณะแต่ต้องรู้ลักษณะจริงๆ ว่ารูปไม่รู้อะไรเลยไม่ใช่สภาพรู้แข็งก็แข็งร้อนก็ร้อนแต่กำลังที่ร้อนปรากฏแข็งปรากฎนั้นต้องมีสภาพที่กำลังรู้แข็งนั้น หรือรู้อ่อนนั้น หรือรู้ร้อนนั้น แข็ง หรืออ่อน หรือร้อนนั้นจึงปรากฏได้เข้าใจขั้นการฟังแต่หลงลืมสติ เวลาฟังก็เข้าใจแต่เวลากำลังกระทบความเข้าใจไม่ได้มาอยู่ที่แข็งกับสภาพที่รู้แข็ง


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 10
    5 ม.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ