ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
ตอนที่ ๔๓๘
สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังเริ่มต้นนั่งทำสมาธิ จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นหรือไม่ ถ้าไม่เข้าใจ แล้วเมื่อไรจะเข้าใจขึ้น ไม่มีทางเป็นไปได้เลย ถ้าไม่เริ่มจากความเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย จะไปคาดหวังว่าแล้วจะเข้าใจ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ผิดตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุนี้จึงทรงแสดงหนทางเดียว ตรัสด้วยพระโอษฐ์ว่า ทนทางเดียว คือสติปัฏฐาน ต้องเข้าใจว่าสติปัฏฐาน ต่างกับสติอื่น อย่างไร เพราะเหตุว่า สติเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดกับกุศลทุกประเภท หรือจะกล่าวว่า เกิดกับโสภณจิตทุกประเภทก็ได้ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า สติมีหลายขั้น วันนี้ทุกคนก็คงจะมีโอกาสเอื้อเฟื้อกัน ขณะนั้นถ้าสติไม่เกิด ระลึกเป็นไปที่จะให้ การให้ขณะนั้นก็เกิดไม่ได้ หรือการที่เราจะวิรัติคำพูด ซึ่งไม่สมควรเพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นอกุศล ไม่พูดเสียดีกว่า ถ้าจะพูดอกุศล แม้ว่าจะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่จริง ขณะนั้นการวิพากษ์วิจารณ์ หรือการพูดถึงสิ่งที่อาจจะไม่ชอบ แต่ว่าขณะนั้นจิตเป็นอะไร เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าสติเกิด คำพูดอย่างนั้นไม่มี เพราะเป็นกุศล นี่ก็แสดงให้เห็นว่า มีกุศลหลายระดับ จนกระทั่งแม้ไม่ใช่ความประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่จะแสดงกิริยาที่ ไม่ดี หรือว่าวาจาที่ไม่ดี แต่ใจก็ยังไม่ดีได้ เพราะฉะนั้น ก็จะรู้ได้ว่าขณะใดก็ตามที่เป็นอกุศล ขณะนั้นไม่ใช่สติ
ด้วยเหตุนี้ก่อนการตรัสรู้ จึงมีผู้ที่มีปัญญา เห็นโทษของสิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน เพียงเห็น อกุศลเกิดแล้ว เพราะความไม่รู้ เพราะฉะนั้น จิตก็ต้องหวั่นไหวไป ด้วยโลภะ หรือความติดข้อง อย่างไม่รู้ตัวเลย เพราะฉะนั้น ก็สะสมความติดข้อง และความไม่รู้ไป ด้วยเหตุนี้ท่านเหล่านั้น เห็นโทษของอกุศลแล้วก็มีปัญญาที่จะรู้ว่า ถ้าตรึกถึงอารมณ์ใด ที่ทำให้จิตสงบจากอกุศล ท่านก็อบรมเจริญ คือ ระลึกถึงสิ่งนั้นบ่อยๆ จนกระทั่งจิตสงบขึ้น นี่คือความหมายของสมถภาวนา ไม่ใช่ไปนั่งแล้วไม่รู้อะไร ปัญญาก็ไม่มี ทำตามสิ่งที่ถูกบอกให้ทำ แต่ปัญญาของแต่เองไม่มีเลย แล้วจะมีประโยชน์อะไรกับการทำอะไรโดยที่ไม่มีปัญญาเกิดขึ้น
นี่ก็แสดงให้เห็นว่ามีสติหลายขั้น ขั้นที่จิตสงบ เพราะว่าบางทีอกุศลเกิดแล้ว คิดได้ ไม่มีประโยชน์ ที่จะสะสมอกุศลต่อไปอีก ขณะนั้นเพราะสติไม่ใช่เรา ก็เป็นปัญญาในระดับขั้นของสมถะ แต่ว่าจะมากน้อยถึงขั้นฌานเป็นสิ่งที่ยากแสนยาก ไม่ใช่ง่ายเลย เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าเราเพียงเราต้องการจะนั่ง แล้วไม่รู้อะไรแล้วก็จะใช้คำว่า ฌานจิต คือใช้คำตามใจชอบ แต่ไม่ได้เข้าใจคำ ที่ทรงแสดงไว้ว่า แต่ละคำ หมายความถึงขณะไหน สภาวธรรมอย่างไร ก็เป็นเรื่องของความประมาท ในการศึกษาธรรมซึ่งจะทำให้เข้าใจผิด เพราะฉะนั้น ถึงอย่างไรก็ตาม ความรู้ที่ถึงระดับขั้นที่จิตสงบ ขั้นฌาน คือจากอุปจารสมาธิ ถึงอัปปนาสมาธิ แนบแน่นในอารมณ์นั้นอารมณ์เดียว โดยไม่มีอารมณ์อื่นทางตา หู จมูก ลิ้น กายเลย ถึงขั้น อรูปฌาน ก็เป็นมิจฉาปฏิปทา คือไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ที่จะพ้นจากการเกิดได้ ที่จะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะว่าถ้าไม่มีการเกิด ทุกข์ใดๆ ก็ไม่มี ทุกข์ทั้งหมดต้องมาจากกการเกิด
เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงว่าหนทางเดียว คือ สติปัฏฐาน ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ เราก็จะเข้าใจลักษณะของสติปัฏฐาน ว่าขณะนี้เรากำลังฟังเรื่องสภาพธรรม เรื่องราวทั้งหมดเลย แต่สติปัฏฐาน เป็นสติสัมปชัญญะ ที่กำลังรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ ตามปกติ ซึ่งประกอบกับการศึกษาที่ว่า เมื่อปัญจทวาร ทวารหนึ่งทวารใดดับแล้ว มโนทวารเกิดสืบต่อมีอารมณ์เดียวกัน แต่มีอารมณ์เดียวกัน โดยปัญญาสามารถเข้าใจถูกในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ตามสิ่งที่ปรากฏ ต่อไปทันที นี่ก็แสดงให้เห็นความเป็นปกติ ไม่ต้องไปทำอะไรทั้งนั้น เมื่อสติสัมปชัญญะ เกิดก็คือ รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะเหตุว่าขณะนี้ ทางปัญจทวารดับแล้ว ทางมโนทวารเกิดสืบต่อ ไม่มีใครสามารถแยก ๒ ทวารนี้ได้เลย แม้แต่ในขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณ คือ ความรวดเร็วซึ่งเกิดดับสืบต่ออย่างนี้แหละ แต่ขณะนั้นเป็นความสมบูรณ์ของปัญญา ที่ประจักษ์ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ที่มีในขณะนั้นตามความเป็นจริงโดยไม่ต้องไปใช้ชื่อ หรือโดยไม่ต้องไปนึกว่าขณะนี้ปัญจทวาร หรือ ขณะนี้มโนทวารเลย แต่สามารถที่จะตามสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยเหตุนี้ ทุกอย่างที่มีจริงจึงเป็นอารมณ์ของสติสัมปชัญญะ เพื่ออะไร เพื่อเข้าใจถูก เพื่อเห็นถูกในลักษณะนั้นๆ นี่คือการที่เราจะได้เข้าใจถูกต้องว่าสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง จะทำให้เราสามารถที่จะรู้ได้ว่า คำนั้นจริงหรือเปล่า เพราะว่าสิ่งนี้มีจริง และมีการอบรมเจริญปัญญา จนกว่าจะถึงการประจักษ์แจ้งได้
ผู้ฟัง สตินำปัญญา กับปัญญานำสติ บางครั้ง สติก็เกิดแล้วไม่มีปัญญา สักครู่ท่านอาจารย์ได้กล่าวว่า สมถะ กับวิปัสสนา ก็เกิดขึ้นได้พร้อมๆ เกิดขึ้นได้สลับกัน
ท่านอาจารย์ หมายความว่ามรรคมีองค์ ๘ ไม่ขาดสมถะ เพราะเหตุว่าสมถะ หมายความถึงสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้น กุศลทุกประเภทสงบจากอกุศล แต่ว่าลักษณะของความสงบไม่ปรากฏ นอกจากจะเป็นการอบรมเจริญ จนกระทั่งลักษณะของความสงบมั่นคง ปรากฏลักษณะที่สงบได้ โดยนัยของสมถภาวนา แต่สำหรับวิปัสสนาภาวนา ไม่ใช่ว่าต้องไปเจริญความสงบอื่นใดเลย เพราะว่ามีองค์ของสมถะด้วย หรือองค์ของสมาธิด้วย พร้อมทั้งศีล สมาธิ ปัญญา
ผู้ฟัง คำต่อไปว่าแทงตลอดซึ่งพระธรรม แทงตลอดซึ่งพระธรรมหมายความถึงว่า น่าจะเป็นปัญญาที่เป็นอินทรีย์ คือนำ ถึงแม้สติจะระลึกพร้อมๆ กันไปแต่ว่าปัญญานั้นเป็นอินทรีย์
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็สติสัมปชัญญะ รู้ตรงลักษณะหนึ่งลักษณะใดหรือเปล่า ถ้ารู้ตรงลักษณะนั้น ก็หมายความว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการที่จะเข้าใจลักษณะนั้น ว่าลักษณะนั้นเป็นอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่น แล้วลักษณะอื่น ก็ไม่ใช่ลักษณะนี้ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน ก็สามารถจะระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ปัญญาเพียงเริ่มที่จะอบรม เพื่อที่สามารถที่จะเข้าใจจนคลายความติดข้อง และความไม่รู้ สภาพธรรมนั้นจึงปรากฏ ตามสมควรแก่ปัญญา แต่ละขั้นได้
ผู้ฟัง เท่าที่ฟังเทปมา สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านอยู่ที่นี่ ก็มีคนที่มาฟังธรรมแล้วบรรลุ ความเข้าใจผมคิดว่าบุคคลเหล่านั้นคงจะรู้เรื่องสติปัฏฐานมาแล้ว เพราะสมัยชาวกุรุนี้ก็ เจริญสติปัฏฐาน กันเป็นปกติ เพราะฉะนั้น คนทั่วๆ ไป คงเข้าใจเรื่องรูปธรรมนามธรรมแล้ว คงจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ไม่ว่ากาลสมัยไหน ถ้าได้ยินคำว่า รูปธรรม นามธรรม ขึ้นอยู่กับผู้ฟัง ว่า ขณะนั้นเข้าใจเรื่องราว เข้าใจความหมายของคำ หรือเข้าใจลักษณะของรูปธรรม และนามธรรม นี้ต่างกัน เข้าใจคำ หรือว่า กำลังรู้ลักษณะะของนามธรรม รูปธรรม พอพูดถึงนามธรรม หรือพูดถึงจิตเห็น จักขุวิญญาณ ท่านเหล่านั้นรู้เลย ว่าหมายความถึงกำลังเห็นขณะนี้ ธาตุรู้ สภาพรู้ต่างหาก ที่เห็น ไม่ใช่เรา แล้วสำหรับสิ่งที่กำลังปรากฏ ท่านก็สามารถจะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏว่า สิ่งที่ปรากฏมีลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่ความคิดนึกทรงจำว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นใคร
ผู้ฟัง บุคคลเหล่านั้นพอมาพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะคล้ายๆ ปัญญาก็จะเจริญขึ้นโดยรวดเร็ว
ท่านอาจารย์ ในขณะนี้ ยังไม่ถอยหลังไป ๒,๕๐๐ กว่าปี พวกเรามาจากไหนกัน ก็ไม่ทราบ ได้ยินได้ฟังมา มากน้อยแค่ไหนก็ไม่ทราบ แต่ก็มีการสะสมที่จะฟังพระธรรม ที่จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด แล้วก็ได้ฟังแล้ว ขึ้นอยู่กับว่า ขณะนี้ใครเข้าใจแค่ไหน เท่ากันหรือเปล่า คนที่ฟังมานาน หรือคนที่เพิ่งฟัง ไม่สำคัญเลย สำคัญที่ว่าพอได้ยินคำนี้ เข้าถึงลักษณะของธรรม หรือว่าเพียงเข้าใจความหมายของคำว่า ธาตุรู้มี ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่อ่อน ไม่มีรูปร่างเลย มืดสนิท แต่ในความมืดสนิท สามารถที่จะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ตัวจิตมืดสนิท แต่สิ่งที่ปรากฏสว่าง เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ สามารถที่จะรู้ ทุกอย่างได้ ในความมืดสนิท ธาตุรู้มีสามารถรู้เสียง ขณะนั้นไม่มีรูปร่างกายตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า เพราะว่าเสียงเท่านั้นที่กำลังปรากฏ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เขาสามารถที่จะเข้าถึงลักษณะแต่ละลักษณะเฉพาะอย่าง
ผู้ฟัง ถ้าพูดถึงระยะเวลา ๒,๕๐๐ กว่าปี เทียบกับสังสารวัฏฏ์ ไม่ยาว สั้นนิดเดียว ทำไมพวกเรา ถ้าเทียบกับสมัยพระพุทธกาล ทำไมรู้น้อยจัง ทำไมต่างกันมาก
ท่านอาจารย์ ก็ยังดีกว่าไม่รู้เลย เราคงต้องตามความเป็นจริง ความเป็นจริงชาติก่อนๆ จะเกิดเป็นนกอยู่ที่พระเชตวันในสมัยโน้น ได้ยินได้ฟัง แล้วก็ไม่เข้าใจ หรือว่าสะสมมาแล้วในชาติก่อนๆ ไหนๆ ก็ตาม คืออดีตเป็นสิ่งซึ่งมืดสนิท จากโลกเก่ามาก็เหมือนกับประตูที่ปิดสนิท ไม่สามารถที่จะรู้เลยว่าก่อนนั้นเป็นใคร สะสมความรู้ความเข้าใจ และความศรัทธาในพระธรรม แค่ไหน แต่เมื่อได้ฟัง เป็นเครื่องที่ทำให้เรารู้จักตัวเราเองว่า กำลังฟังเรื่องรูปธรรม มีจริงๆ ทางตาก็กำลังปรากฏ ทางหูก็ปรากฏ ทางกายก็ปรากฏ แล้วสติสัมปชัญญะ เรารู้ลักษณะของสิ่งนั้น หรือว่ารู้เพียงคำ
นี่คือขั้นที่ต่างกัน ของปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ เพราะว่าปริยัติ คือ การฟังเรื่องราวของสภาพธรรม แล้วก็มีความเข้าใจว่าสภาพธรรม เดี๋ยวนี้นี่เองที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงถึง ๔๕ พรรษา ก็ไม่พ้นจากให้เข้าใจเรื่องราวของสิ่งที่กำลังมี ไม่ใช่ปริยัติอยู่ในหนังสือหน้านั้น บรรทัดนั้น นิกายนั้นหรือว่าพระสูตรนั้น แต่ปริยัติ คือสิ่งที่ได้ทรงแสดงไว้ เพื่อให้เข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้น นี่คือปริยัติ ถ้าเข้าใจอย่างนี้ ก็จะเป็นปัจจัยให้ปฏิปัตติ โดยศัพท์ ปฏิ แปลว่า ถึง ปัตติ แปลว่าเฉพาะ ถ้าเราแปลรูปภาษาบาลีออกมาว่า ถึงเฉพาะ พอฟังแล้วก็ถึงเฉพาะ เราก็จะไม่เข้าใจว่าอะไรถึง แล้วถึงอะไรเฉพาะ แต่ถ้าเข้าใจว่า ถึงเฉพาะลักษณะที่มีจริงๆ ที่กำลังทรงแสดง เช่น ทรงแสดงว่าทางกายสามารถจะรู้สิ่งที่ปรากฏ คือเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ขณะนี้มี ถึงเฉพาะลักษณะนั้น หรือว่าฟังเฉยๆ นี่คือถ้าถึงเฉพาะเมื่อไร หมายความว่า สติสัมปชัญญะ กำลังรู้ตรงลักษณะนั้น ก็แสดงให้รู้ว่าสามารถเข้าใจธรรม ที่กำลังทรงแสดงในเรื่องนั้น แล้วถ้าปัญญาอบรมมา ไม่มีใครสามารถที่จะไม่ให้ประจักษ์ การเกิดดับของสภาพธรรม ท่านพระสารีบุตร เพียงไม่กี่ประโยค เราอาศัยเวลานานเท่าไร ที่จะฟังเพื่อสติสัมปชัญญะ จะถึงเฉพาะคือรู้ตรงลักษณะที่กำลังปรากฏ ตามปกติด้วย เพราะเหตุว่าเกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย ไม่มีใครเป็นตัวตนจะไปสร้าง จะไปทำอะไรได้เลย แม้แต่คิด ก็คิดตามการสะสม สะสมมาที่จะคิดอย่างนี้ในขณะนี้ ต่อไปจะคิดอย่างไร ก็แล้วแต่การสะสม ซึ่งละเอียดมากทีเดียว เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมด้วยความเข้าใจลักษณะของธรรม ก็ต่างกับการ เพียงปริยัติ คือฟังเรื่องราวแล้วก็เมื่อมีการอบรมจนกระทั่ง ปัญญาสามารถที่จะถึงลักษณะจริงๆ เป็นความสมบูรณ์ ที่เป็นวิปัสสนาญาณ การละคลายการคิดข้องก็เพิ่มขึ้นจนกระทั่งสภาพธรรมนั้น ปรากฏตามความเป็นจริง แม้ว่าจะรวดเร็วก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่มีใครสามารถไปทำให้ช้าลง หรือว่าให้เรารู้เร็วขึ้น
แต่ว่าเราเป็นผู้ที่ตรง อุชุปฏิปันโน ผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล พระโสดาบัน เป็นผู้ที่ตรง รู้คือรู้ ไม่รู้คือไม่รู้ สติเกิดคือสติเกิด สติไม่เกิดก็คือหลงลืมสติ กำลังรู้ลักษณะของสภาพธรรมใด ก็ไม่มีใครที่จะไปเปลี่ยนแปลงสติในขณะนั้นให้ไปรู้อื่นได้ นี่คือความจริง ซึ่งก็เป็นไปตามการสะสม เลือกไม่ได้ เราเป็นผู้ที่ไม่คำนึงถึงด้วยว่า เราจะเป็นพระโสดาบันในชาติไหน เพราะว่าถ้าเป็นพระโสดาบันโดยไม่รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ถูก และไม่ใช่ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราที่ฟังแล้ว คือ อบรมเจริญปัญญาโดยการที่รู้ว่า สติเกิดหรือหลงลืมสติ แล้วก็ในขณะที่สติเกิดกำลังเข้าใจลักษณะนั้นเพิ่มขึ้น จึงจะคลายความเป็นเราได้ เพราะความเป็นเราลึกมาก ธรรมที่ได้ยินได้ฟังทั้งหมด เราพูดถึงชื่อ แต่ตัวจริงยังไม่ปรากฏเลย จะปรากฏต่อเมื่อสติสัมปชัญญะเกิด แล้วสภาพธรรมนั้น มีปัจจัยเกิดให้สติรู้ว่าขณะนั้นเป็นลักษณะของโลภะ หรือขณะนั้นเป็นลักษณะของการยึดถือด้วยความเป็นเรา
เพราะฉะนั้น ด้วยการที่มีความเข้าใจถูก ว่าขณะใดยังมีความยึดถือสภาพธรรมใดว่าเป็นเรา ก็เป็นสิ่งที่บอกเราแล้ว ว่าปัญญาเราอยู่ ระดับไหน ยังมีการยึดถือ ถึงแม้ว่าโลกนี้ จะไม่มีอะไรปรากฏเลย นอกจากร้อน ลองคิดดู ที่กายทุกคน จะมีกายปสาทที่สามารถจะกระทบกับความร้อน เวลาที่ยังไม่ใช่ธรรม เราก็บอกว่าตัวเราร้อน เราเป็นไข้ ร้อนจัด แตะดูก็รู้สึกร้อน แต่ถ้าเป็นในขณะที่สติสัมปชัญญะ เกิดระลึก ก็ระลึกลักษณะที่ร้อนตามปกติ ไม่ใช่ผิดปกติเลย แล้วขณะนั้นแม้ไม่มีอิริยาบถไม่มีรูปร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น ลองคิดถึงขณะที่อะไรๆ ก็ไม่มี เพราะขณะนั้นมีแต่ธาตุรู้ซึ่งกำลังรู้ ร้อนที่ปรากฏ แต่ร้อนนั้นยังเป็นเรา
นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเราเริ่มเห็นสักกายทิฏฐิว่ายังอยู่ จะหมดคลายลงไปได้ ก็ต่อเมื่อรู้เพิ่มขึ้นอีก รู้เพิ่มขึ้นอีก คลายต่อไปอีก จนกระทั่งสักกายทิฏฐินั้นดับเป็นสมุจเฉทได้ แต่จะรู้จริงๆ ว่าสักกายทิฏฐิที่เรากล่าวว่ายึดสภาพธรรมทั้งหมด ที่เคยได้ยินก็คือว่า อุปาทานขันธ์ เป็นที่ตั้งของความยึดถือ รูปทุกประเภท เวทนาความรู้สึกทุกชนิด สัญญาความจำ แล้วยังสังขารขันธ์ โลภะ โทสะ โมหะต่างๆ ยึดถือไว้หมดว่าเป็นเรา ต้องคลายความไม่รู้จนกระทั่ง สามารถที่จะรู้ว่า เมื่อมีความรู้แล้ว สักกายทิฏฐิจึงจะค่อยๆ หมดไป
ทันทีที่ปัญญาเจริญขึ้น ปัญญาที่อบรมแล้วก็จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ตามลำดับด้วย ไม่ใช่จากสูญ ไปถึงพระโสดาบัน แต่จะต้องมีปัญญาที่เพิ่มขึ้น และรู้ด้วยว่าการที่ขณะนี้กำลังเห็น แต่ยังไม่คลาย เพราะว่ายังไม่รู้ กับเวลาที่เริ่มรู้ แล้วเริ่มคลาย ทีละเล็กทีละน้อย แล้วก็จะคลายยิ่งขึ้นเมื่อเป็นวิปัสสนาญาณ แต่ยังไม่หมดเป็นสมุจเฉท จนกว่าจะถึง การรู้แจ้งอริยสัจธรรม มีนิพพานเป็นอารมณ์ ก็เป็นเรื่องจริงทีทุกคนได้ฟังธรรมแล้ว ก็ได้ทราบความเป็นจริงว่าอยู่ตรงไหน คงไม่ต้องไปคิดถึงเจตสิก ๗ ดวงใช่ไหม
ผู้ฟัง ถามตรงนี้นิด เกี่ยวกับเรื่องความเพียร วิริยเจตสิก ท่านอาจารย์บอกว่าเกิดกับจิตหลายชนิดยกเว้นจิตไม่กี่ชนิด
ท่านอาจารย์ ยกเว้นอเหตุกจิต ๑๖ ดวง ทั้งวิริยเจตสิกสำหรับอเหตุกจิต จะเกิดกับมโนทวารวัชชนจิตกับ หะสิตุปาทจิตเท่านั้น
ผู้ฟัง ความเพียรที่เป็นวิริยะบารมี จะเป็นเช่นไร
ท่านอาจารย์ พูดถึงคำไหน เราก็ติดคำนั้น พูดถึงบารมี เราก็ติดคำว่าบารมี แต่ถ้าเราพูดถึงความดี ถ้าเรามีกุศลจิต ทุกทาง ทั้งทาน ทั้งศีล ทั้งความอดทน ทั้งความตั้งมั่น ทั้งความจริงใจ ซึ่งทั้งหมดถ้าจะกล่าว ก็คือว่า บารมี ๑๐ เราได้ยินชื่อบางคนอาจจะไปเพียรทำอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ถ้าเรารู้ว่าความดีทุกชนิด เป็นบารมี เราจะต้องจำกัดไหม ว่าขณะนี้เป็นอะไร และเรา ตัวเรา เรา กำลังสะสมบารมี หรือว่าความดี ก็คือความดีไม่ใช่เรา อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆ คิด เพราะเหตุว่า เราจะไม่รู้ ว่าความจริงแล้วเราติดไปหมดเลย แม้แต่คำ แม้แต่เรื่อง ถ้าเราเป็นคนดีไปทุกชาติ เป็นบารมีหรือเปล่า แต่ถ้าเราไม่ใช่คนดี แต่เราอยากจะมีบารมี เราก็จะไปทำบารมีโดยจริงๆ แล้วเราก็ไม่ใช่คนดี อย่างนั้นจะเป็นบารมีได้ไหม
ผู้ฟัง นั้นก็ไม่มีเราที่ไปทำความเพียร
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจถูก อนัตตา ไม่ลืมเลยคำนี้ เราไม่มี มีแต่ธรรม เป็นธรรมทั้งหมดธรรมที่ไม่ดีมีจริงๆ ไม่ใช่เรา ธรรมที่ดีก็มีจริงก็ไม่ใช่เราด้วย ทั้งหมดคือธรรมที่ไม่ใช่เรา เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีปัจจัยสำหรับธรรมประเภทนั้น ธรรมประเภทนั้นก็เกิดไม่ได้ เช่น ขณะนี้ถ้าไม่มีปัจจัยที่จะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรม ก็ประจักษ์ไม่ได้ ไม่มีปัจจัยที่ให้ได้ยินเกิดขึ้น ได้ยินก็เกิดไม่ได้ ไม่มีปัจจัยที่จะรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม แล้วเข้าใจความจริง ขณะนั้นก็ จะเป็นอย่างนั้นไม่ได้ แต่ว่าอบรมได้ค่อยๆ อบรมไป เพราะฉะนั้น แค่เป็นคนดี ก็ควรที่จะเป็น แล้วความดีนั้นแหละคือบารมี ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง
ผู้ฟัง บุญ บารมี กับความดี ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าแยกกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ บารมีหมายความถึง ธรรมที่ทำให้สามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพราะฉะนั้น จะขาดปัญญาไม่ได้เลย
ผู้ฟัง บารมีกับปัญญาเหมือนกันไหม
ท่านอาจารย์ ปัญญาบารมี เป็น ๑ ในบารมีอื่นๆ
ผู้ฟัง บุญ
ท่านอาจารย์ บุญก็คือขณะใดที่เป็นกุศล ดีงามขณะนั้นก็เป็นบุญ
ผู้ฟัง ดีงามกับบุญนี้เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เหมือนกัน จะใช้คำว่าบุญก็ได้ ดีงามก็ได้ เพราะว่าสิ่งที่ดีขณะนั้น คือ ขจัดหรือละสิ่งที่ไม่ดี
ผู้ฟัง อยากจะถามเรื่องกิเลส ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายเรื่องกิเลสที่เป็นเพื่อนสนิทกับทุกๆ คน
ท่านอาจารย์ พอเกิดมาไม่ทันใดก็ติดข้องในภาวะ ความเป็นที่ได้เกิด นั่นคือกิเลส ความติดข้อง เวลาที่เกิดไม่ว่าในภพไหน ชาติไหน ขณะนั้นไม่มีการรู้สึกตัวเลย เพราะว่าขณะนั้นโลกใดๆ ก็ไม่ปรากฏกับปฏิสนธิจิต เพราะเหตุว่าโลกไม่ปรากฏ เมื่อจิตเป็นปฏิสนธิจิต เป็นภวังคจิต เป็นจุติจิต สามารถที่จะรู้อารมณ์ได้โดยไม่ต้องอาศัย ทาง ๑ ทางใดใน ๖ ทางเลย คือ จิตสามารถที่จะรู้อารมณ์โดยไม่อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจได้ แต่ว่าเราจะเป็นภวังค์ ดำรงภพชาติหลังปฏิสนธิไม่นาน ก็จะต้องมีการรู้สึกตัว ทันทีที่รู้สึกตัวก็ติดในภพหรือในความเป็น ที่ได้เป็นในขณะนั้น จะเกิดเป็นอะไรก็แล้วแต่ เกิดเป็นมนุษย์ ขณะนี้เราก็ติด เกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ก็ติด เกิดเป็นรูปพรหมก็ติด เกิดที่ไหนก็ติดหมดในความเป็น ลองคิดดู ถ้าไม่มีอะไรปรากฏจะติดไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480