ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๔๐

    สนทนาธรรม ที่ ซอยมีสุวรรณ คลองตัน พระโขนง

    พ.ศ. ๒๕๓๘


    ท่านอาจารย์ เพราะว่าประวัติของพระอริยบุคคล แต่ละท่านได้ฟังพระธรรมมาแสนกัปบ้าง หรือในกัปโน้น กัปนี้บ้างแล้วก็ค่อยๆ อบรมความรู้ความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งทุกชาติเป็นอย่างนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย จะเกิดที่ไหนก็ตาม เห็นก็คือเหมือนอย่างนี้ ได้ยินก็คือเหมือนอย่างนี้ คิดนึกก็คือเหมือนอย่างนี้

    ผู้ฟัง ขออนุญาต เมื่อกี้สนทนากับพี่นุช พี่นุช สงสัยว่า ทำไมพอเป็นพระอริยบุคคลแต่ละขั้น มรรคจิตเกิดขึ้นทีละครั้งเดียว เพราะเหตุอะไร จึงเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้ว่า โสตาปัตติมรรคจิต ประกอบด้วยปัญญาขั้นไหน ถ้าปัญญาขั้นฟังต้องฟังบ่อยๆ ปัญญาขั้นคิดต้องคิดบ่อยๆ ปัญญาขั้นสติสัมปชัญญะ ก็ต้องรู้ลักษณะนั้นบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นโสตาปฏิมรรคจิต ปัญญาที่ได้อบรมแล้ว ขณะนั้นดับกิเลสเป็นสมุจเฉท เมื่อดับแล้วไม่ต้องดับอีก ไม่ใช่เหมือนตอนที่กำลังค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น มรรคจิตจึงเกิดขึ้นเพียงขณะเดียว

    ผู้ฟัง จะดับครั้งเดียวในสังสารวัฏฏ์ หรือ

    ท่านอาจารย์ เป็นพระโสดาบันแล้วไม่กลับเป็นปุถุชน เป็นพระอรหันต์แล้วไม่กลับเป็นพระอนาคามีบุคคล

    ผู้ฟัง ที่คุณอดิศักดิ์บอกว่า เราระลึกก็ระลึกเรื่อยๆ เห็นทางตา เห็นไปเรื่อยๆ เราก็ระลึกไปเรื่อยๆ หนูกลัวว่าจะเป็นการจดจ้อง อะไรอย่างนี้

    วิทยากร.ไม่ใช่ระลึกไปเรื่อยๆ คือหมายความว่าการฟังที่ท่านอาจารย์บรรยายแล้ว มันมีความเข้าใจ พอเริ่มมีความเข้าใจ เข้าใจๆ มากขึ้น สติก็จะเริ่มระลึกบ้าง ทีละเล็กทีละน้อย ทีละเล็กทีละน้อย ไม่ใช่เรื่อยๆ ละเล็กทีละน้อย ความเข้าใจ นี่ทีละเล็กทีละน้อย

    ผู้ฟัง คนที่เขาฟังใหม่ๆ บางทีเขาฟังแล้วเขาอาจจะสับสน ที่ว่าเราเห็นทางตา เราก็เห็นไปเรื่อยๆ อะไรอย่างนี้

    วิทยากร. วันหนึ่งๆ ก็ไม่ได้เห็นทางตาไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง ตอนใหม่ๆ หนูจดจ้องมากเลย เพราะหนูจะต้องเห็นทางตาแน่ๆ วันหนึ่งหนูต้องเห็น แต่หนูรู้สึกว่า ตอนนั้นหนูจดจ้อง จ้องที่จะให้มันเกิดทางตา อะไรอย่างนี้ ทางหู หนูก็จ้องให้มันเกิดทางหู

    วิทยากร. ใช่ คือ เวลาเราฟังใหม่ๆ เรื่องการเจริญสติปัฏฐาน มันก็จะอดที่จะคิดไม่ได้ อดที่จะหาวิธีไม่ได้ แต่ก็คุยกับคุณประทีปไปแล้วบอกว่า เมื่อหาวิธีเมื่อไร ผิดเมื่อนั้น ตีกรอบล้อมวงว่าจะต้อง เป็นเล่ม จะต้องเป็น ๑ สี หรือเป็น ๒ สี หรือ ๓ สี ๔ สี ก็แล้วแต่ นี้คือพวก คือพวกที่หาวิธี ให้สติมันเกิดเร็วๆ สติมันระลึกบ่อยๆ อะไรอย่างนี้ ซึ่งไม่ใช่ ก็ตอบไปว่าไม่ใช่ ต้องฟัง ฟังให้เข้าใจแล้วก็จะเริ่มระลึกว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาก็คือ สิ่งที่มาสู่ครองจักษุแล้วสติระลึก จักขุวิญญาณเกิด ก็สติก็ระลึกสิ่งที่ปรากฏทางตา อย่างนั้นถึงจะถูก ไม่ใช่เห็นไปเรื่อยๆ เห็นไปเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง อย่างทางตา อย่างนี้ ทางใจ เวลาโกรธขึ้นมา เราก็ศึกษามานาน รู้สึกว่า ทำไมเราถึงไม่ละคลายบ้างเลย โกรธก็ยังอยากที่จะ โกรธต่อไปอีก ยิ่งโกรธก็ยิ่งมัน อะไรอย่างนี้

    วิทยากร. ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าเรา ยังไม่ได้ละโดยสมุจเฉท เราละโดยการที่ว่าระลึกรู้ เพราะว่าเมื่อกุศลเกิดมันก็ไม่เกิด มันเป็นประเภทอกุศล มันตรงกันข้าม มันเบาเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีกำลังแรง แต่ถ้าจะไม่ให้เกิดจริงๆ ต้องเป็นพระอนาคามี ถึงจะละได้เด็ดขาด

    ท่านอาจารย์ เมื่อกี้นี้พูดถึงเรื่องเจริญสติปัฏฐาน ใช่ไหม แล้วก็รู้สึกว่ามันไม่ค่อยจะเกิดเลย แล้วก็มีแต่ความโกรธเวลาที่โกรธ เกิดขึ้นก็อยากจะให้เป็นอย่างนั้น คือให้มัน ไม่ต้องหมดหรอก เพราะว่า พระอนาคาถึงจะหมด ก็ขอให้มันน้อยลงสักนิดหนึ่ง ไม่เกี่ยวหรือว่าไม่เป็นผลดีกับการเจริญสติปัฏฐานเลย เพราะเหตุว่าในขณะเดียวกันที่คิดว่า สติเกิดมีประโยชน์ เพื่อที่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง สติเกิดมีหน้าที่อย่างเดียวคือ เพื่อที่จะได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง แต่พอความเป็นจริงปรากฏ อยากให้ไม่เป็นอย่างนั้น คือ เวลาโกรธกำลังเกิด ก็อยากจะให้มันลดลงไปสักนิดหนึ่ง นี่ไม่ใช่การที่จะเข้าใจสภาพธรรม

    เพราะฉะนั้น ถามว่าอะไรเป็นเครื่องกั้น สติเกิดน้อยเหลือเกิน แล้วก็เหมือนกับจดจ้อง หรืออะไรอย่างนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่เห็นตัวเครื่องกั้น ว่าเครื่องกั้นเปลี่ยนแล้วจากการที่จะรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง กลับอยากให้สภาพธรรม เป็นอย่างอื่น แล้วอย่างนี้สติ จะเกิดระลึกได้เนืองๆ บ่อยๆ แล้วก็จะเห็นความจริงๆ ได้อย่างไร

    การที่จะเห็นความจริงทั้งๆ ที่ขณะนี้ ความจริงก็กำลังปรากฏ แล้วความจริงที่ปรากฏ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ บังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงลักษณะของความจริงนั้นไม่ได้ แต่ว่าความจริงสั้นมาก เล็กน้อยมาก นิดเดียว ไม่ว่าจะเป็นเห็นก็สั้นมาก ไม่ว่าจะเป็นโกรธ หรือว่าจะคิดเรื่องอะไร จะรักจะชังอย่างไรก็ สั้นมากนิดเดียว แต่เพราะเหตุว่า ไม่รู้ว่า ต้องรู้ลักษณะที่ เป็นอย่างนั้น แต่ว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ก็เลยทำให้อยากจะให้ความโกรธนั้นน้อยลง ถ้าเป็นอย่างนี้อยู่บ่อยๆ มัวแต่ถามว่าทำอย่างไร ความโกรธจะน้อยลง หรือว่าไม่ต้องหมด เป็นพระอนาคามี ขอให้ขณะนั้นไม่โกรธ นี้คือไม่ใช่การเข้าใจสภาพธรรม นี้เป็นตรงกันข้ามกับจุดประสงค์ของสติปัฏฐาน คือ เพื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง

    ถ้าพบคำถามอย่างนี้ บ่อยๆ จะรู้ได้เลยว่า คนนั้นเหมือนกับว่าฟังเรื่องสติปัฏฐาน แล้วอยาก คือเกิดความอยากที่จะให้มีสติ อยากที่จะให้ปัญญาถึงขั้นที่ว่า ลดความโกรธ นี่คือความอยาก แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความเข้าใจจริงๆ ในเรื่อง สติปัฏฐาน จะรู้ได้เลยว่าที่ไม่ก้าวหน้า เพราะเหตุว่า ความอยากเข้ามาแทนทั้งหมด พอสติระลึกนิดหนึ่ง อยากให้สติเกิดบ่อย มาแล้ว หรือว่าพอสติระลึกลักษณะของโทสะ อยากไม่ให้ระลึก สภาพของโทสะ หรืออยากให้โทสะนั้นลดน้อยลง นี้เป็นเครื่องกั้น

    ถ้าไม่เห็นตัวนี้ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ไม่มีทางที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้น เพราะฉะนั้น ต้องเป็นคนที่เข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน อย่างมั่นคงจริงๆ ว่า สติปัฏฐาน เพื่อรู้สัจธรรม คือความจริงที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น แม้ว่าจะเป็นความโกรธอย่างแรง ความโกรธอย่างแรง ใครสร้างขึ้นมาหรือเปล่า มีใครอยากจะให้เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอย่างนั้น ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า แม้ความโกรธอย่างแรง ขณะนั้นก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่าการเจริญสติปัฏฐาน ตราบใดที่ยังไม่รู้ว่าเป็นธรรม ตราบนั้นก็ยังไม่ใช่การก้าวหน้าในสติปัฏฐาน ถ้าเมื่อไร ระลึกแล้วรู้ว่าเป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่งไม่ได้หวังว่าจะให้มันเป็นอย่างอื่น เพราะมันจะเป็นอย่างอื่นตามหวัง ไม่ได้ ทุกอย่างต้องมีเหตุปัจจัยที่จะเกิดขึ้น อาจจะได้ข้อคิดจากโน่น จากนี่นิดๆ หน่อยๆ แล้วพอเวลาที่เกิดโกรธขึ้นมาก็อาจจะยับยั้งบ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่นั้นไม่ใช่หนทางที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท ไม่ใช่หนทางที่จะรู้ความจริง เพราะเหตุว่าขณะนั้น ความจริงปรากฏแล้ว มีความพอใจเกิดขึ้น ที่สามารถระงับได้นิดๆ หน่อยๆ อีก นี้คือจุดประสงค์ ที่เคลื่อนไป สติปัฏฐาน ไม่ใช่ต้องการอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะเหตุว่าโดยการศึกษาทราบว่า แม้พระโสดาบันก็ยังมีโลภะ โทสะ โมหะ แต่ไม่มีความเห็นผิด ที่ยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะต้องการละประการเดียว ประการแรก นั่นคือ การไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วการยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นตัวตน ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น ไม่ใช่ไปหวังอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดจะโกรธขึ้นมามากๆ จะทำอย่างไร

    ผู้ฟัง มีสติระลึกรู้ขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ บังคับไม่ได้ สติจะเกิด หรือไม่เกิด ก็บังคับไม่ได้ เห็นไหม ว่าไม่ใช่ไปรอจะทำ ตอนที่โลภะมากๆ หรือว่าโทสะมากๆ เรื่องของการอบรมเจริญปัญญาไม่ใช่เรื่องเลือกอารมณ์ แล้วก็ไม่ใช่เลือกเวลา แล้วก็ไม่ใช่เลือกสถานที่ แต่เมื่อมีปัจจัยที่จะให้สติระลึก แม้ในขณะนี้ที่กำลังฟัง สติก็ระลึก และข้อสำคัญที่สุด ก็คือจะต้องรู้ว่า เป็นสติที่เกิดระลึก เพราะฉะนั้น จึงรู้ความต่าง กันของขณะที่มีสติ กับขณะที่หลงลืมสติ นี่คือสัจจญาณสำหรับ รอบแรกของอริยสัจ ๔ ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด และก็เข้าใจจริงๆ ในเรื่องของการอบรมเจริญมรรคมีองค์ ๘ มิฉะนั้นแล้วก็ไม่ไปไหน ก็อยู่ๆ ตรงที่สติเป็นสภาพที่ระลึก เพราะฉะนั้น จะต้องอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งความจริงแล้วเป็นความคิดนึกทั้งหมด ไม่ใช่ลักษณะของสัมมาสติ ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถ แม้ว่าสภาพธรรม จะเป็นปรมัตถ แม้ในขณะนี้ก็เป็นปรมัตถ แต่ไม่รู้ต่างหาก ว่าเป็นปรมัตถ เพราะฉะนั้น แม้ว่าสติจะระลึกที่ปรมัตถแต่ปัญญาก็ยังไม่พอ ที่จะรู้ว่าลักษณะนั้นไม่ใช่ตัวตน แต่ลักษณะที่ปรากฏต้องเป็นปรมัตถแม้ขณะนี้ก็ต้องเป็นปรมัตถ เพราะฉะนั้น อบรมเจริญปัญญา ความรู้ในลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่ไปหวังอะไรอีกต่อไป แล้วแต่ว่าอะไรจะเกิดก็เกิด ไม่อยากอย่างนั้นก็อยากอย่างนี้ โดยเฉพาะเรื่องโทสะ ไม่มีใครอยากให้เกิด รู้ว่าดับไม่ได้ก็ขอให้น้อย ไปขอทำไม มีปัจจัยก็เกิด แล้วขอใครก็ไม่ได้ แต่รู้ความจริงๆ ได้ว่าสภาพธรรมนั้นไม่ใช่เรา แล้วก็เป็นปรมัตถธรรม

    เพราะฉะนั้น ที่เราเรียนเรื่องปรมัตถธรรม ให้ทราบว่า คำนี้ไม่ใช่เพียงแต่ขั้น ฟังเข้าใจ แต่ต้องเข้าใจถึงลักษณะที่เป็นปรมัตถ จริงๆ คือสภาพที่เป็นอนัตตาไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ แต่ขณะใดที่หลงลืมสติ จะเกิดความคิดนานาประการ คิดจะทำอย่างนั้น คิดจะทำอย่างนี้ คิดจะหาวิธีต่างๆ นั่นคือขณะที่สัมมาสติไม่เกิด จุดประสงค์ คือ เพื่อเข้าใจลักษณะของปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม แต่ไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม ค่อยๆ รู้ขึ้น

    ผู้ฟัง ตอนนี้พูดถึงคนที่เขายังไม่เคยเรียนธรรมเลย เขาก็สามารถที่จะคิดอย่างนี้ได้ ใช่ไหม หมายความว่าเรายังไม่รู้สภาพธรรม ไม่รู้ว่าปรมัตถธรรม เป็นอย่างไร ทำอย่างไรถึงจะมีปรมัตถธรรม เป็นอารมณ์ ได้

    ท่านอาจารย์ จะเรียนธรรม หรือไม่ได้เรียนธรรมเลย มีปัจจัยให้กุศลจิตเกิด กุศลจิตก็เกิด มีปัจจัยให้อกุศลจิตเกิด อกุศลจิตก็เกิด ถึงคนที่เรียนธรรมแล้ว มีปัจจัยให้อกุศลจิตเกิด อกุศลจิตก็เกิด เป็นเรื่องที่ว่าจะเรียนหรือไม่เรียน สภาพธรรมก็เกิดตามเหตุตามปัจจัย แต่เมื่อเรียนแล้วเพื่อเข้าใจธรรม นี่คือจุดประสงค์สำคัญที่สุด ไม่ใช่เพื่อจะได้เป็นคนดี มีอกุศลน้อยลง หรืออยากจะเป็นอย่างนั้น หรืออยากจะเป็นอย่างนี้ นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ เพราะเหตุว่ามีความต้องการผล จากการเรียนธรรม เพื่อความเป็นตัวตน ก็แสดงว่าไม่ได้เข้าใจธรรม ว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง แต่ความรู้สึกของตัวดิฉันเอง ว่าที่เรารู้สึกอย่างนั้น มันเป็นเพราะการคิดนึก มันไม่ใช่ปรมัตถ

    ท่านอาจารย์ เรามีหลักว่า ขณะใดที่สติไม่ได้ระลึกลักษณะปรมัตถขณะนั้นไม่ใช่ สัมมาสติ ไม่ใช่สติปัฏฐาน นี่คือหลัก

    ผู้ฟัง แต่มันก็ยังเกิดสติ

    ท่านอาจารย์ สติมีหลายขั้น

    ผู้ฟัง ทีนี้อีกอันที่หนูจูบอกว่า โกรธแล้วมัน ทุกคนเป็น ตัวดิฉันเองก็เป็น โกรธแล้วมัน ก็เลยอยากจะเรียนถามอาจารย์ว่า ในขณะซึ่งเราโกรธ ใช่ สภาพธรรมของโทสะ มันปรุงแต่งจิตเรา เราโกรธ แต่มัน จิตนี้มันเกิดดับ ในขณะที่เราโกรธ โลภะ ชอบได้แม้กระทั่งการโกรธ การมัน นั่นแหละคือโลภะ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าคุณสุรีย์ทราบหลักว่า โลภะ เป็น ไปได้ทุกอย่าง ชอบทุกอย่าง เว้น โลกุตรธรรมเท่านั้น ก็จะไม่มีปัญหาเลย

    ผู้ฟัง ก็หมายความว่า มันเป็นไปได้

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นได้เว้นโลกุตรธรรมเท่านั้น แต่ถ้าคุณสุรีย์ศึกษาพระธรรม คุณสุรีย์ จะทราบได้เลยว่า พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง ธรรมแต่ละส่วน แต่ละตอนให้เข้าใจถูกต้อง อย่างคำว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็น ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ในการประพฤติปฏิบัติธรรม เพราะเหตุว่าอย่างเราต้องการแทนที่เราจะรู้ควาามจริง มีตัณหาเป็นเครื่องเนิ่นช้าโดยไม่รู้ตัว ทั้งนั้นเลย มานะก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราไม่เจริญในทางธรรม เพราะเหตุว่าคนที่มีมานะก็มีความคิดว่า ความเห็น ของเขาถูกต้องแล้ว ก็ไม่มีการที่จะศึกษาพิจารณาให้ ตรงตามสภาพธรรมยิ่งขึ้น อันนี้ ก็ด้วยความมานะที่เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องเนิ่นช้าในการที่จะเจริญธรรมฝ่ายกุศล ทิฏฐิ ความเห็นผิดก็เหมือนกัน นี้เป็นเรื่องที่จริงๆ แล้วเกี่ยวกับการอบรมเจริญปัญญา เพราะว่าถ้าเป็นชีวิตประจำวัน มันไม่ใช่เป็นแต่เพียง โลภะ ทิฏฐิ มานะเท่านั้น อิสสา อะไรอีก อย่างอื่นอีก แล้วแต่ว่าทรงแสดงไว้อย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ธรรมส่วนไหน ก็เป็นส่วนนั้น คือถ้าเป็น ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ก็เป็นเรื่องที่จะกั้น หรือทำให้ล่าช้าในการอบรมเจริญปัญญา

    วิทยากร. ปัญหาคงไม่มี เพราะว่า เรายกกิเลสอย่างใด อย่างหนึ่งมาอธิบาย อย่างที่อาจารยสุจินต์ท่านบอกว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นเครื่องเนิ่นช้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมยังสัตว์ให้เป็นเครื่องเนิ่นช้ามี ๓ อย่างคือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ หมายความว่าเมื่อเรายังมีธรรมทั้ง ๓ อยู่ ตราบใด เราก็ต้องอยู่ในวัฏฏะ อยู่ตราบนั้น เป็นการเนิ่นช้า อีกอย่างหนึ่ง ก็หมายความว่าไม่สามารถที่จะเจริญสติได้ เพราะอาศัยโลภะมันเกิดติดต่อกันไป หรือมานะเกิดติดต่อกันไป ทิฏฐิเกิดติดต่อกันไป เราก็เจริญไม่ได้ ถ้าเราอบรมแล้ว เรารู้ว่า ตัณหาเกิด เราก็มีสติได้ อาศัยการอบรม อาศัยการฟังบ่อยๆ เมื่อมานะเกิด เราก็ระลึกรู้ถึงมานะได้ ก็เป็นการเจริญสติ หรือทิฏฐิเกิด ทิฏฐิเกิด เราก็มีสติระลึกรู้ ก็เป็นการเจริญสติ ถ้าไม่ได้ฟังไม่ได้ศึกษาก็ยากที่จะรู้ได้ ธรรม ๓ อย่างนี้ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ จึงเป็นธรรมที่เนิ่นช้าสำหรับทั่วไป แต่ถ้าเรามีสติ มีการเจริญสติ อบรมสติอยู่ ก็ระลึกได้ ก็คลายธรรมเนิ่นช้า ลงบ้าง แต่ไม่ใช่คลายเด็ดขาด คลายลงบ้าง

    ผู้ฟัง แล้วทำไม อวิชชา ไม่เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้าบ้าง

    วิทยากร. อวิชชา ในปัจจัยการ ถือว่าเป็น ปัจจัยทั้งหมด คือว่า อวิชชากับตัณหาเป็นปัจจัย อวิชชาก็เป็นกิเลส คือกิเลสทั้งหมด มี ๑๐ อย่าง ท่านยกเฉพาะธรรมที่เนิ่นช้า คืออย่างโลภะเราพอใจ เช่น เราได้ยินเสียงที่เพราะเราก็พอใจ ติดอยู่ในความพอใจ สติไม่เกิดเลย ก็เป็นการที่เนิ่นช้า แทนที่เราจะเจริญสติ หรือจะไปถึงสันติสุขได้ ก็ไปไม่ได้ อวิชชา ตัวไม่รู้ พระองค์ตรัสว่าเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด แต่ไม่ได้ตรัสว่าเป็น ธรรมที่เนิ่นช้า แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อตัณหาเกิด อวิชชาก็เกิด

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างเรา เราไม่เห็นเขา แต่พอเราเห็นเขา เราเกิดความโกรธขึ้นมา อย่างนี้เรียกผูกโกรธ หรือเปล่า

    วิทยากร . โกรธเกิดขึ้นครั้งแรก แต่ว่าถ้าเกิดต่อมา เกิดต่อมา มันเป็นการผูกโกรธเหมือนกัน ถ้าเราไม่มีความโกรธครั้งแรก ความผูกโกรธก็ไม่เกิด เพราะอาศัยความโกรธจึงมีการผูกโกรธ เมื่อเราพิจารณาดู โดยสติแล้ว ก็อาจจะบรรเทาลงได้ เพราะว่าคนทั้งหลายเกิดมาด้วยกรรม เราพิจารณาเรื่องกรรม ถ้าเรามีการเจริญสติ ก็พิจารณาเรื่องรูป นาม ความโกรธ เกิดขึ้นอาศัย อะไรเล่า อาศัยเห็นสีที่ไม่ชอบใจ ที่เราบอกเห็นคนๆ หรือ ได้ยินเสียงคน เป็นปรมัตถ มันไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ สิ่งที่เสียงปรากฏ มันก็ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ นี้เป็นการเจริญสติ

    ผู้ฟัง พูดถึงความโกรธมีคำว่า ผูกโกรธ ตัวนี้สำคัญ ถ้าเราผูกไว้ มันก็อยู่กับเรา ถ้าเราแก้มันออกมันก็หมดไป เพราะฉะนั้น มันก็มีคำอยู่คำใน ฆราวาสธรรม คำว่า สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ตัวนี้ตัวสำคัญที่ทำให้เราอยู่ กับใครๆ เขาได้ โดยไม่โกรธ สัจจะ คือความจริงใจกับเขา ทมะ ข่มใจ ตัวนี้มันข่มใจ เราไม่เโกรธ เราข่มเราแก้ แทนที่จะผูกเอาไว้ เราอดทน อดกั้นอย่างจริงจัง จาคะ เสียสละ ต้องการจะเอาคำว่า ผูกโกรธ มาชี้ประเด็น เพื่อจะได้แก้ ถ้าเราผูกโกรธอาฆาตพยาบาทต่อไปมากมาย ถ้าเราไม่ผูกมันก็จบ แล้วมันก็ละลายหายไป มีคำว่า ข่มใจ ไม่ใช่เก็บไว้ในใจอัดเข้าไว้ๆ ๆ แล้วมันระเบิดตูม เราต้องละลายมันไปๆ ๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเราทำอย่างนี้ในที่สุดเราจะเป็นคนรังเกียจ ความโกรธของตัวเอง เวลาเราโกรธ เรามีสติระลึกรู้สภาพ เราโกรธ ธรรมในเรื่องความโกรธ ในที่สุด เราจะค่อยๆ ขัดเกลาไปได้เรื่อยๆ นี้เป็นประเด็นที่ต้องการจะสื่อ

    ท่านอาจารย์ ขอนิดหนึ่งได้ไหม คือว่าข้อให้คิดถึงว่าทำไมเราจึงไม่อยากจะโกรธอย่างเดียว แล้วก็อยากจะให้เความโกรธของเรามันลดน้อยลงไป ขอให้เราโลภ น้อยลงบ้างได้ไหม ขอให้คิดถึงแง่นี้ด้วย คือแทนที่จะคิดแง่เดียวว่า ขอให้ความโกรธของเราเบาบาง เพราะว่าเรามองในแง่เดียว แต่อีกแง่หนึ่ง ต่อไปนี้ เราจะคิดว่าความโลภของเรา มันห้ามไม่ได้ มันมีทั้งทางตา อยากเห็นสิ่งสวยๆ ทางหูฟังเสียงเพราะๆ ทางจมูกได้กลิ่นหอม ทางลิ้นได้รสอร่อย ทุกอย่างความสะดวกสบาย เราติดมากๆ ๆ ยิ่งเสียกว่าความโกรธ เพราะเหตุว่า ในวันหนึ่งๆ ความโกรธเกิดน้อยกว่าความโลภ

    ถ้าเรานึกอยากจะให้ความโกรธของเราน้อยลง ตอนนี้ก็ระลึกขึ้นมาสักนิดหน่อยว่า เราก็ควรที่ละลดความโลภของเราให้น้อยลงด้วย ไม่ใช่เพียงแต่จะไปคิดเรื่องเดียวคือ เรื่องที่จะให้ความโกรธน้อยลง และอีกอย่างหนึ่ง ก็คือสมุฏฐาน ของความโกรธ มันต้องมาจากความโลภ แน่นอน เพราะว่าเรายังมีความยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ดีๆ ใช่ไหม อยากให้คนนั้นพูดกับเราดีๆ อยากให้เข้าทำทุกอย่างให้เราดีๆ แต่เวลาเขาไม่ทำ เราก็โกรธ แล้วก็อาจจะมันอะไร อย่างที่ว่า ทั้งหมดมันก็มาจากโลภะของเรา ซึ่งมันมากมายเหลือเกินในวันหนึ่งๆ เพราะฉะนั้น ถ้ามีขณะใด ถ้าเราจะรู้สึกว่า เราละโลภะทางนั้นไปได้นิดหนึ่ง ทางนี้ไปได้หน่อยหนึ่ง ก็ยังดีกว่าเราจะไม่คิดเสียเลย ก็คิดแต่เฉพาะจะละความโกรธของเราเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เรารู้จักตัวของเราขึ้นว่า เรื่องของโลภะ เหมือนกับเรื่องของโทสะ ที่ต้องดับด้วยอนาคามีมรรค ถ้าเป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แล้วมันก็ควรจะต้องละคู่กันไปด้วย ไม่ใช่ว่า เรามุ่งแต่จะไปละโทสะอย่างเดียว

    เราจะปล่อยให้เป็นคนที่สดชื่น รื่นเริงทั้งวัน มีความสุขทุกวันทุกนาที โทสะไม่เกิดเลย ใครๆ เห็นก็คนนี้น่ารักสดชื่นสวยงาม แต่ว่าเต็มไปด้วยโลภะ หรือว่าเราก็ยังพอที่จะฉุกคิดบ้าง ว่าเอาหละ ถึงโทสะเราจะยังไม่มี โทสะเราจะน้อยลงไป หรือว่าโทสะขั้นแรงๆ มันไม่ได้มาหาเราบ่อยๆ แต่โลภะมาอยู่เสมอ ควรที่จะละลงไปบ้างสักนิดสักหน่อย คือ สักชั่วขณะหนึ่ง ก็ยังดีกว่าไม่คิดเสียเลย

    วิทยากร. โลภะ ละได้ยากกว่า เพราะมันติดใจ โทสะ นี้เราถึงจะมัน เราก็ไม่ชอบมัน ไม่ใช่ว่าเราจะมันเสมอไป บางครั้งเราก็ไม่ชอบ แต่โลภะ เห็นโทษของมันยากจริงๆ คือการที่เราจะเห็นโทษของโลภะ ต้องศึกษาปรมัตถธรรมเท่านั้น และอีกอย่างหนึ่งก็หมายความว่า ไม่ได้มุ่งถึงให้เราละเด็ดขาด ให้รู้สึกตัวว่าขณะนี้มันเกิดขึ้น ขณะนี้โลภะมันกำลังเกิด ให้รู้สึกตัวอย่างนี้ ก็เป็นการดีแล้ว ค่อยๆ ดีไป เหมือนโทสะเกิด เราก็ให้รู้สึกตัวว่าขณะนี้โทสะกำลังเกิด การที่รู้สึกตัวนี่ มันเท่ากับว่ามีสติสัมปชัญญะ ระงับไปได้นิดหนึ่งๆ ถ้าหากว่าเราไม่มี ความรู้สึกตัว ปล่อยให้มันเกิดมันก็เกิดเรื่อยไป ติดต่อกันหลาย ๗ ขณะ เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เป็นการสั่งสมที่ให้โทษอย่างเดียว

    ผู้ฟัง ผมว่าอย่างไรก็ตาม เราคงต้องฟังธรรมไปเรื่อยๆ เพื่อจะได้รู้จักสภาพธรรม ตามความเป็นจริง แล้วจากการศึกษาว่า โทสะไม่ดีอย่างไร โลภะไม่ดีอย่างไรต่อไป หิริ หรือโอตตัปปะต่างๆ เขาจะทำหน้าที่ ของเขา ขัดเกลาเราบ้าง ทีละเล็กทีละน้อย แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเอาทีเดียวให้เป็นสมุจเฉทเลย เราจะรู้สึกตัวเราเองว่าประการที่ ๑. อกุศลเราเกิดมากในชีวิตประจำวัน แล้วกุศลจะเกิดน้อยมาก เราจะเริ่ม รู้จักความแตกต่างของกุศล กับอกุศล อย่างไรก็ตามขอให้ฟังธรรมไปเรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ ถ้าคุณจูไม่ชอบโทสะ ไม่ชอบ นั่นมันเป็นโทสะไหม เห็นไหมว่ามันซ้อนกันอย่างไร ทั้งๆ ที่โทสะนั้นก็ดับไปตั้งนานแล้ว ความมันเรื่องโทสะก็ดับไปตั้งนานแล้ว แต่ความไม่ชอบโทสะเกิด นั่นก็เป็นลักษณะอาการหนึ่งของโทสะซึ่งไม่ชอบโทสะ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567