ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
ตอนที่ ๔๔๑
สนทนาธรรม ที่ ซอยมีสุวรรณ คลองตัน พระโขนง
พ.ศ. ๒๕๓๘
ท่านอาจารย์ ถ้าคุณจูไม่ชอบโทสะ ไม่ชอบมันเป็นโทสะไหม เห็นไหม ว่ามันซ้อนกันอย่างไร ทั้งๆ ที่โทสะนั้นก็ดับไปตั้งนานแล้ว ความมันเรื่องโทสะก็ดับไปตั้งนานแล้ว แต่ความไม่ชอบโทสะเกิด นั่นก็เป็นลักษณะอาการหนึ่งของโทสะซึ่งไม่ชอบโทสะ เพราะฉะนั้น จะเอาความไม่ชอบโทสะไปละโทสะ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่โทสะหมดแล้ว เพราะฉะนั้น เวลาที่โทสะหมดแล้ว ก็ทำไมยังจะต้องไปนึกถึง แล้วก็ไม่ชอบโทสะ นี่แสดงให้เห็นว่าเราเลือกไม่ได้เลย เพราะว่าบางคนเวลาที่โทสะเขาเกิด หมดแล้วก็หมดเลย มันแต่ไหนก็จบไปแล้ว ไม่ต้องติดตามไปนึกถึงว่าจะอย่างนั้น จะอย่างนี้ หรือจะไม่ชอบอย่างนั้น จะทำอย่างนี้ นี้แสดงให้เห็นว่า เราอยู่ในเรื่องราวความคิดนึก เพราะไม่รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ เรื่อยๆ ไป หมายความว่าตราบใดที่ยังไม่รู้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมชนิดหนึ่งก็จะมีสัญญาความจำด้วยความเป็นตัวตน แล้วก็ขณะใดที่เกิดนึกถึงโทสะ ซึ่งเกิดแล้วไม่ชอบ ขณะนั้นก็ให้ทราบว่าความไม่ชอบ ความโทสะกำลังเกิดแล้ว มันก็ไม่มีวันจบ เพราะว่าไปนึกถึงสิ่งที่หมดไปแล้ว ก็อยู่อย่างนี้ เวลาที่ทางตาเห็นก็เป็นโลภะบ้าง โทสะบ้าง ทางหูได้ยินแม้ว่าขณะนี้ ถ้าไม่เป็นกุศล ก็ต้องเป็นโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ หนีไม่พ้นเลย วันหนึ่งๆ ให้ทราบว่า อกุศลมากมายจริงๆ มีหนทางเดียวคือ ต้องเข้าใจโดยการฟังจริงๆ แล้วถึงจะรู้ว่า ขณะที่นึกถึง เรื่องไม่ชอบโทสะ ขณะนั้นก็เป็นเพียงสภาพธรรม อย่างหนึ่ง หมายความว่าสติจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ก็ได้ ที่ขณะนั้นกำลังปรากฏ นี้คือการที่เราไม่ต้องไปหวังรอว่า ทำไมสติเราเกิดน้อย ทำไมเราถึงไม่เกิดสติมากๆ แล้วสติเกิดแล้ว ก็ยังโทสะก็ยังละไม่ได้ อันนี้เรื่องการคิดนึกทั้งหมด แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐาน คือไม่ว่าจะเป็นขณะใดทั้งสิ้น ซึ่งสติระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ขณะนั้นก็รู้ว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งจนกว่า จะรู้จริงๆ
วิทยากร. พระพุทธองค์ตรัสว่า โทสะมีโทษมากคลายเร็ว โลภะมีโทษน้อยแต่คลายช้า โมหะมีโทษมากคลายช้า เพราะฉะนั้น ก็ต้องละกิเลสทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะโทสะ
ผู้ฟัง รู้ตัวว่าตัวเองไม่ดี ไม่ดีมากๆ เลย แต่ต้องการที่จะขัดเกลา แต่ยังขัดไม่ได้ หนูก็รู้แต่ทางทฤษฎี ฟังมามันก็รู้เป็นอย่างนี้ แต่พอมาเจอตัวจริงแล้ว รู้สึกว่ามันยาก
ผู้ฟัง เท่าที่ฟังมาแล้วเรื่องความโกรธ เคยศึกษามาแล้ว ทีนี้ทำอย่างนี้จะถูก หรือเปล่า เราไม่เอาใจใส่ ละโลภะ โทสะ หรืออะไร เราฟังธรรมให้เข้าใจแล้วเราก็รู้ว่า สิ่งที่สำคัญที่ทำให้เรามีกิเลสคือความเป็นตัวตน เราก็ละความเป็นตัวตนอันนี้ โดยการเจริญสติปัฏฐาน แต่ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ สติเกิดก็เกิด ไม่เกิดก็แล้วไป เราก็ไปของเราเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ เราไป หรือเรื่อยๆ
ผู้ฟัง เราก็คงไปไม่ได้
ท่านอาจารย์ เราหรือที่ไปเรื่อยๆ ก็เป็นสภาพธรรม ที่คิดแล้วแต่สภาพธรรมขณะนั้นคิด อย่างนั้น ขณะอื่นก็คิดอย่างอื่น ไม่ใช่เราเลย จะไปเรื่อยๆ หรือจะไม่ไปเรื่อยๆ ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ถ้าเรามีการฟังเข้าใจ ก็มีขณะที่จะเป็นประโยชน์ คือสติเกิด ระลึกศึกษาเข้าใจขึ้น ขณะใดที่หลงลืมสติ ก็ไม่ใช่เราจะไป แต่ว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ขณะนั้นเกิดขึ้น
ผู้ฟัง นี้ก็ไม่ต้องเอาใจใส่
ท่านอาจารย์ เราจะไปเรื่อยๆ ถ้าลงว่าตรงนี้เราจะไม่เอาใจใส่ ก็แปลว่าเรายังไม่เข้าใจการเป็นปัจจัย ความเป็นอนัตตาว่าขณะที่จะคิดอย่างนี้ ก็คิดอย่างนี้ ขณะที่จะคิดอย่างอื่นก็คิดอย่างอื่น ขณะที่สติระลึกก็ระลึก ขณะที่สติไม่ระลึก ก็ไม่ระลึก ไม่มีความคิดว่าเราจะ หรือว่าเราจะไปเรื่อยๆ ตรงนี้ที่ผิดคือตรงนี้
ผู้ฟัง มันก็เหมือนกัน อาจารย์ รู้ไปเรื่อยๆ กับการที่ว่าสติเกิดก็เกิด ไม่เกิดก็แล้วไป
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ คุณจารุพันธ์ ก็ไม่ได้ไปเรื่อยๆ ขณะนี้ ที่กำลังนั่งอยู่เดี๋ยวนี้ คุณจารุพันธ์ก็ไม่ได้ไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่
ผู้ฟัง ทำไม เล่า
ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังนั่งฟังขณะนี้ คุณจารุพันธ์จะไม่ให้เห็น ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไปเรื่อยๆ หรือเปล่า
ผู้ฟัง มันก็ไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ไม่ ขณะที่ได้ยิน คุณจารุพันธ์ ได้ยิน ไปเรื่อยๆ หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ไปเรื่อยๆ ได้อย่างไร ในเมื่อมันเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับ ทำอะไรไม่ได้เลย ไม่ใช่ว่าคุณจารุพันธ์ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ตัวคุณจารุพันธ์ไปเรื่อยๆ แต่เป็นสภาพธรรม ซึ่งเกิดสืบต่อกันทุกขณะ
ผู้ฟัง ใช่สิ อันนั้น เป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่มีเราจะไปเรื่อยๆ มีเหตุปัจจัยที่จะให้สภาพธรรม เกิดดับสืบต่อไป แต่ไม่ใช่มีเราจะไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ทีนี้มันเกิดดับสืบต่ออย่างไรก็แล้วแต่มัน
ท่านอาจารย์ คุณจารุพันธ์ ทำอะไรได้ ถ้ามีเหตุปัจจัยของกุศลจิตเกิด กุศลจิตก็เกิด ถ้ามีเหตุปัจจัยที่อกุศลจิตจะเกิด อกุศลจิตก็เกิด ไม่ใช่ตัวคุณจารุพันธ์จะไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง แต่ที่นี้ในการที่หนู พูดว่า จะไปเรื่อยๆ อันนี้มันเป็นคำรวมหมด คล้ายๆ กับว่าเราไม่สามารถไปทำอะไรมันได้ มันจะเกิดก็เกิด ไม่เกิดก็แล้วไป อะไรไปแบบนั้น
ท่านอาจารย์ จริงหรือเปล่า เป็นจริงอย่างนี้หรือเปล่า เมื่อเป็นจริงอย่างนี้ ก็เป็นอย่างนี้ ให้เข้าใจความจริงว่า ความจริงก็คือความจริง
ผู้ฟัง ขออนุญาต เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ก็จะแบ่งเป็นขั้นตอน อย่างกว้างๆ มี ๓ ทาง การเวียนว่ายตายเกิด เรียกว่า วัฏฏะสงสาร ๓ อัน ก็ได้ กิเลสวัฏฏ์ กิเลส เมื่อเกิดกิเลสแล้วก็เกิดกรรมวัฏฏ์ กรรมก็มีทั้ง อกุศล และกุศล และอันที่ ๓ ก็คือเป็นวิบาก วิบากวัฏฏ์ อันนี้ตัวที่เป็นผล ผลนี้รวม ผลที่ทำให้มีการเกิดด้วย เกิดภพมีทั้งหมด ๓๑ ภูมิ ถ้าไม่เกิดหลุดพ้น ตรงข้ามกับการเกิด คือการหลุดพ้น การหลุดพ้น คือการปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง การสร้างกุศลก็เกิดกุศลวิบาก อาจจะอยู่เป็นพรหม อรูปพรหม แต่ก็ยังไม่หลุดพ้น ตรงนี้เพื่อเน้นคำว่า กิเลสวัฏฏ์ นั้นไม่ว่าจะอะไร เรามุ่งต่อเรื่องการหลุดพ้น ถ้าเราหลุดหมด จะไม่มีกรรมวัฏฏ์ เป็นกิริยาเท่านั้น กุศลก็ไม่มี อกุศลก็ไม่มี เป็นกิริยา เพราะฉะนั้น ตรงนี้หมายถึงเฉพาะว่า เมื่อสู่โลกุตตระ คือไม่มีอะไรเลย ไม่มีกุศล ไม่มีอกุศล เป็นกลาง เป็นวิบาก เป็นอย่างพระอรหันต์ทั้งหลาย ถ้าไม่มีกิเลส ก็เป็นกิริยา ก็ไม่เกิดกรรมวัฏฏ์ ก็ไม่เกิดวิบากวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น คำว่า กิเลส อย่ามองในด้านลบด้านเดียว ว่าเป็นของเลวทั้งหมด ขอให้หมายถึงว่าเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับการหลุดพ้น คือปัญญา วิชชา อริยสัจธรรม
วิทยากร. ถ้าเป็นฝ่ายดี ถ้าเป็นโลกียะกุศล ก็ยังหมุนไป ถ้าเป็นโลกุตตระกุศล ก็ต้องตัดวัฏฏะ ทั้งกุศล ทั้งอกุศลเบื้องต่ำ เว้นโลกุตตระก็หมุนไปๆ ในภพภูมิต่างๆ หมุนไปได้ ไม่ใช่กิเลส อย่างเดียว เหมือนกุศลเบื้องต่ำก็หมุนไปเหมือนกัน เว้นโลกุตตระกุศล โลกุตตระกุศลก็ตัดวัฏฏะ ถ้าเป็นโลกียะกุศล ก็หมุนไปในฝ่ายที่ดี ดังนั้นกิเลสมุ่งถึงว่า อนุสัยกิเลสก็ได้ หรือกิเลสที่กำลังเกิดขึ้น ปริยุตฐานะกิเลสก็ได้ แต่มุ่งถึงอนุสัยกิเลส ย่อมเป็นของแน่นอน ทุกคนมีอนุสัยกิเลส ไม่มีใครที่จะทำลายอนุสัยกิเลสได้ นอกจากโลกุตตระ
ท่านอาจารย์ ถ้าตราบใดที่ยังมีกิเลส ยังคงมีกรรมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมก็ตาม เพราะฉะนั้น เมื่อจับองค์จริงๆ สั้นๆ ของสังสารวัฏฏ์ ก็คือว่า กิเลสวัฏฏ์ ซึ่งมีแน่นอน ถ้ายังมี กิเลสอยู่ ต้องมีวัฏฏะ คือ ความหมุนเวียน ที่จะไม่เกิดไม่ตาย ไม่เกิดไม่ตาย ไม่มี ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ นั่นตอนหนึ่ง แล้วก็ถึงกรรมวัฏฏ์ เพราะเหตุว่า ถ้าตราบใดที่ยังมีกิเลส ถึงแม้กรรมดี ก็ยังเป็นกรรม ซึ่งจะต้องทำให้เกิดวิบาก เพราะฉะนั้น จึงมุ่งที่ว่า เมื่อตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ จึงต้องมีกรรมอยู่ แล้วเมื่อยังมีกรรมอยู่ จึงต้องมีวิบากเท่านั้นเอง ทีนี้เราจะคิดถึง ๓ จุด กิเลสวัฏฏ์ มีแน่นอน แล้วลองคิดถึงว่าอะไรเป็นผลของกิเลสวัฏฏ์ คือตราบใดที่กิเลสวัฏฏ์ยังมี ต้องมีกรรม แล้วเมื่อมีกรรมแล้วต้องมีวิบาก เพราะฉะนั้น กรรมนี้เรารวมไปเลย ทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรม มีเพราะกิเลส
ผู้ฟัง แต่กุศลกรรมนั้นจะต้องเกิดจากตัวที่เป็นกุศล
ท่านอาจารย์ ตอนที่เราพูดถึงสังสารวัฏฏ์ ไม่พ้นปฏิจจสมุปบาท ซึ่งไม่พ้นจากปัจจัย เพราะฉะนั้น เราจะต้องมาแยกละเอียดอีกที ว่ากิเลสเป็นปัจจัยแก่กรรม กิเลสชนิดไหนเป็นปัจจัยแก่กรรมอะไร นั่นเป็นเรื่องความละเอียด แต่หัวข้อจริงๆ ก่อนจะไปถึงความละเอียดนั้น จับเฉพาะหัวข้อขึ้นมา กิเลสวัฏฏ์ เป็นปัจจัยให้เกิดกรรมวัฏฏ์ เพราะตราบใดที่ยังมีกิเลส ต้องมีกรรม และเมื่อตราบใดที่ยังมีกรรมวัฏฏ์ ก็มีวิบากวัฏฏ์ ซึ่งเมื่อมีวิบากเกิดขึ้นแล้ว กิเลสยังอยู่ ก็เป็นกิเลสวัฏฏ์ต่อไป ซึ่งจะทำให้เกิดกรรมวัฏฏ์ต่อไป ซึ่งจะทำให้เกิดวิบากวัฏฏ์ต่อไป ถ้ายังมีกิเลสเป็นปัจจัยแก่กุศล จะต้องโดยปัจจัยอะไร อุปนิสสยปัจจัย ไม่ใช่เหตุปัจจัย หรืออะไรอย่างนี้เขาจะต้องบอกความละเอียดไว้อีก
ผู้ฟัง ขออนุญาตเรียนถาม อยากจะเรียนถามว่ากิเลสเป็นเหตุให้เกิดกรรม คราวนี้ว่า กรรมก็คงเป็นกุศล อกุศล
ท่านอาจารย์ กุศลกรรม อกุศลกรรม
ผู้ฟัง ผมอยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า กิเลสสามารถทำให้เกิดทั้งกุศล อกุศลได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ โดยปัจจัยต่างๆ เขาจะแยกไว้เลย เพราะเหตุว่า ถ้าเมื่อพูดถึงเรื่องวัฏฏะ ๓ จะต้องเกี่ยวโยงกับปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเมื่อเกี่ยวโยงกับปฏิจจสมุปบาทแล้ว ต้องเกี่ยวกับปัฏฐาน คือปัจจัยทั้งหมด เขาจะแยกออกมาเลยว่า กิเลส ซึ่งเป็นอกุศล เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลโดยเหตุปัจจัย หรือโดยปัจจัยอะไร แต่เวลาที่กิเลสเป็นปัจจัยให้เกิดกุศล ไม่ใช่โดยเหตุปัจจัย แต่โดยอุปนิสสยปัจจัย เขาจะบอกไว้หมดเลย
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นกิเลสก็ไม่ได้มุ่งเฉพาะว่า จะก่อให้เกิด อกุศลอย่างเดียว มันก็สามารถก่อให้เกิดกุศลได้ด้วย
ท่านอาจารย์ เป็นตัวใหญ่ ที่ว่าตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ ต้องมีกรรม ซึ่งจะเป็นได้ทั้งกุศลกรรม และ อกุศลกรรม ก็เวลานี้คุณสุรีย์ก็มีกิเลส แต่คุณสุรีย์ก็มีทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรม ไม่ใช่คุณสุรีย์มีแต่อกุศลกรรม ยังเป็นกรรมอยู่ตราบใด ที่ยังเป็นกิเลสอยู่ ถ้าสภาพธรรมเป็นกิเลส ยังไม่ได้ดับแล้วละก็ ที่จะให้ไม่มีกรรมไม่ได้
เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ เมื่อดับกิเลส รับรองได้ว่า ไม่มีกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรม เพราะเหตุว่า กิเลสเป็นปัจจัยให้เกิดกรรม กิเลสวัฏฏ์ เป็นปัจจัยให้เกิดกรรมวัฏฏ์ แต่ว่าปัจจัยนี้เขาจะแยกละเอียดออกไปเลย ว่าสำหรับกิเลสเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลกรรมได้ แก่ปัจจัยอะไร แล้วกิเลสเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลกรรม ได้แก่ปัจจัยอะไร
ผู้ฟัง ถ้าให้ละเอียดเลย สมมติว่าตาเห็น มันก็ไป ตั้งแต่ อาวัชชนะ ปัญจทวาราวัชชนะไปเรื่อยๆ ๆ ๆ
ท่านอาจารย์ อย่าเพิ่งเรื่อยๆ นี่ทางจักขุทวาร เรียกว่า จิตเกิดขึ้นโดยอาศัย จักขุปสาทที่ยังไม่ดับ และอารมณ์ที่ยังไม่ดับ เพราะฉะนั้น สำหรับวิถีจิต เริ่มตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนจิต แล้วต่อไปทีละขณะ
ผู้ฟัง ก็อาจจะเป็นทางตา ที่จักขุทวาร
ท่านอาจารย์ จักขุวิญญาณ
ผู้ฟัง เป็นสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ
ท่านอาจารย์ ชวนะนี่ อะไร
ผู้ฟัง กุศล อกุศล
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะไปจบลงที่ใจอย่างไร ในเมื่อเวลานี้
ผู้ฟัง มันอยู่ตรงนั้นก่อนแล้ว
ท่านอาจารย์ กุศล อกุศล ก็เกิดแล้ว
ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าเผื่อวาระมันยังไม่จบ มันก็ต้องต่อไปถึงมโนทวาร
ท่านอาจารย์ แน่นอน แต่ก็เป็นกุศล อกุศล แล้วทำไม จะใช้คำว่าจบที่มโนทวาร
ผู้ฟัง ก็หมายความว่าสุดท้ายอยู่ที่มโนทวาร
ท่านอาจารย์ แล้วมันก็เกิดทางปัญจทวารอีก
ผู้ฟัง มันก็วนอีก การสะสมมันก็ถึง ๒ ตอน
ท่านอาจารย์ จิตเกิดขึ้น ทีละหนึ่งขณะ ในขณะจิตหนึ่งที่เกิด มีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง มันก็มี
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เรื่องการสั่งสม สั่งสมทุกขณะจิต แต่ว่าเวลาที่จะสั่งสมอุปนิสัย ตอนที่เป็นชวนะ
ผู้ฟัง ขอเรียนถามว่าทำไมจะต้องเจริญ อนุสติ สติมีประโยชน์อย่างไร เพราะว่าได้ยินคำว่า สติ สติปัฏฐานด้วย แล้วก็มี อนุสติด้วย ที่บอกว่า มรณสติ เจริญเกี่ยวกับเรื่องความตายบ่อยๆ แล้วทำให้เกิดการละตัวตนได้ เช่น ความโกรธ เมื่อโกรธเกิดขึ้นแล้ว ระลึกได้ ว่าอนุสติที่เราเจริญบ่อยๆ ความตายนี้มัน คนเราเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ทีนี้เราจะไปโกรธเขาทำไม เพื่อประโยชน์อะไร ผมก็ยังไม่เข้าใจว่า มีตั้งหลายอย่าง อนุสติ อะไรอย่างนี้ อยากจะทราบว่าที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอน เพื่อประโยชน์อะไร ใช่อย่างที่ผมคิดหรือเปล่า
วิทยากร. คำว่า อนุสติ ก็มีคำแปลอยู่ ๒ อย่าง ก่อนอื่นที่เราจะรู้อย่างอื่น เราก็รู้คำว่า อนุสติก่อน อนุสติ แปลว่าตามระลึกรู้ อีกอย่าง ๑ แปลว่า ระลึกเนืองๆ มาจาก อนุ กับ สติ บวกกัน อนุ แปลว่าเนืองๆ หรือแปลว่าตาม บวกกับสติ อนุสติ ทีนี้ภาษาบาลีเป็น อนุสสติ ซ้อนตัว ส.เสือ เข้ามา ภาษาไทยจริงๆ ไม่ต้องซ้อนก็ได้ เป็นอนุสติก็ได้ ตามระลึก หรือระลึกเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง มีพุทธานุสติเป็นต้น แล้วถามตอนท้ายว่า มรณานุสติ เราทำไมจึงต้องระลึกรู้ ถึงความตาย ข้อนี้ คนทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย แต่ว่า คนทุกคนมักจะหลงใหล ไม่มีสติ เพลิดเพลินไปในอารมณ์ภายนอก ในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ที่ดีๆ ก็ลืมทำให้ประมาท แต่เมื่อเราระลึกถึงความตาย มรณานุสติ ระลึกถึงความตายเนืองๆ หรือตามระลึกถึงความตาย เราก็รู้เราจะอยู่ในโลกนี้อีกไม่นาน เราก็ไม่ประมาท สร้างกุศล เมื่อเราเจริญมรณานุสติบ่อยๆ จนกระทั่งจิตมั่นคง ไม่มีความกลัวตาย เราก็สร้างกุศลได้ทุกอย่างก็ว่าได้ แทนที่เราจะหลงใหลเป็นเหตุให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ผู้ฟัง อนุสติเป็นทางแห่งการหลุดพ้นหรือไม่ คำถามที่ ๒ อนุสติ ถ้าอย่างนั้นแล้วจะต่างกับสติปัฏฐานอย่างไร เกี่ยวข้องกันอย่างไร
วิทยากร. อนุสติมี ๑๐ อย่าง สุดท้ายก็มีอะไร อานาปานสติก็เป็นอนุสติ อานาปานสติ หลุดพ้นได้ไหม พระพุทธเจ้า ก็อาศัยอานาปานสติ แต่พุทธานุสติ ธรรมานุสติ ธรรมานุสติก็มีมากมาย พุทธานุสติ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้เราเจริญธรรมจนกระทั่งโลกุตตระเกิดได้ เพราะว่าพระพุทธเจ้า เป็นเจ้าของแห่งธรรม อนุสติ ๑๐ มีความจำเป็นเหมือนกัน แต่ว่าถ้าเราศึกษาอย่างย่อๆ อย่างที่เข้าใจง่าย อนุสติ ๑๐ อย่าง ท่านกล่าวว่า เป็นสมถะ มีพุทธานสติเป็นสมถะ สมถะทั้งหมดหมดมี ๔๐ แต่ว่าอานาปานสติ ก็เป็นอนุสติ สามารถจะแยกเป็น การเจริญสติปัฏฐานได้ ถ้าจัดไว้เดิม ก็ตรัสไว้เป็น สมถะเป็นเครื่องสงบจากนิวรณ์
ผู้ฟัง การเจริญอานาปานสติ จะเป็นเครื่องกั้น ของการเจริญสติปัฏฐาน ไหม
วิทยากร. อานาปานสตินี้ ถ้าหากว่าเป็นสมถะ ขณะนั้นก็ยังเป็นเครื่องกั้นปัญญา รู้ปรมัตถ ถ้าเป็นสมถะ เป็นเครื่องกั้นปัญญารู้ปรมัตถ เฉพาะรู้ปรมัตถ ปัญญาเกิดรู้บัญญัติก็ได้ แต่ว่าอานาปานสติ สามารถเป็นสติปัฏฐานด้วย เมื่อเป็นสติปัฏฐาน ก็ไม่เป็นเครื่องกั้นปัญญา ไม่มีอะไรที่จะต้องกั้น เพราะว่ากำจัดนิวรณ์ได้เหมือนกัน กุศลทั้งหมดกำจัดนิวรณ์ได้ทั้งนั้น จะเป็นสมถะ ก็กำจัดนิวรณ์ได้ จะเป็นสติปัฏฐาน ก็กำจัดนิวรณ์ได้ ขึ้นชื่อว่ากุศลก็ต้องกำจัดอกุศล
ผู้ฟัง อย่างจะถาม วรรณีว่ากามาวจรจิตคืออะไร
วิทยากร. ท่องเที่ยวอยู่ในกามภูมิ
ผู้ฟัง ใครบ้างที่มีกามาวจรจิตบ้าง
วิทยากร. ก็ปุถุชนก็มี พระอรหันต์ก็มีเหมือนกัน แต่ว่าท่านเห็นแล้วไม่เป็นกุศล อกุศล
ผู้ฟัง พรหม มีกามาวจรจิตไหม
วิทยากร. มี
ท่านอาจารย์ กา-มะ-อะ-วะ-จะ-ระ ใช้ อว อันหนึ่ง วจร อันหนึ่ง ได้ไหม
วิทยากร. คำว่า อ ว จ ร ยังแยกได้อีก ถ้าไม่แยกก็ อวจระ แปลว่าท่องเที่ยวไป ถ้าแยกก็เป็น มาจาก อุ กับ จระ เอา อุ เป็น อวะ บวกกันก็ กามาวจร จระ แปลว่าเที่ยว ยังแยกได้ อวจระ แต่โดยมาก เขาไม่แยก เพราะว่า เสียเวลา แยก ๒ อย่าง กาม อวจระ
ผู้ฟัง ตอบรวมๆ ก็ท่องเที่ยวไปในกาม ก็ได้ใช่ไหม
วิทยากร. ท่องเที่ยวไปในกาม หมายความว่า มีกามเป็นอารมณ์นั้นเอง จิตมีกามเป็นอารมณ์
ผู้ฟัง คุณจู ถามว่า เห็นที่ไร ก็เป็น วรรณี ทุกที ทำอย่างไร ถึงจะไม่เห็น เป็นวรรณี
ท่านอาจารย์ หมายความว่าทำอย่างไร ถึงไม่เป็นคุณวรรณี ใช่ไหม ที่ถาม คุณวรรณี แล้วคุณวรรณีก็ยังไม่ได้ตอบ แล้วถามคุณจูว่า คุณจูจะตอบว่าอย่างไร
ผู้ฟัง หนูไม่ทราบ ก็ถามคุณวรรณี
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เราก็ต้องฟัง ถามเพื่อที่จะรู้ว่าคนอื่นเขาตอบอย่างไร จะตรงกับที่เราตอบหรือเปล่า คุณจูมีคำอะไรอยู่ในใจหรือเปล่าที่จะตอบหรือไม่มีเลย
ผู้ฟัง พอเห็นทีไรก็เป็นบัญญัติทุกที
ท่านอาจารย์ ถูก แล้วมีคำตอบ ให้วิธี มีคำตอบไหม ที่ว่าทำอย่างไร
ผู้ฟัง ต้องเจริญสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ นี้คือคำตอบ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่เราจะเห็นแล้วไม่รู้ ว่าเป็นอะไร มันผิดวิสัย ผิดธรรมชาติ ตามวิถีของจิต หมายความว่า เมื่อทางจักขุทวารวิถีจิต คือจิตที่เห็น สิ่งที่ปรากฏดับแล้ว ทางมโนทวารต้องรับต่อ แล้วก็รู้ด้วย เพราะฉะนั้น เราจะไปฝืนว่าทำอย่างไรไม่ให้มันรู้ อย่างนี้ แล้วเราจะไปฝืนทำจิตนิยามได้อย่างไร ในเมื่อสภาพของจิตนิยาม จะต้องเป็นอย่างนี้ แต่ทีนี้การที่ถามอย่างนี้ หมายความว่าเรารู้ว่ามีปรมัตถธรรม แต่ทำไมเราถึงไม่เห็นว่าเป็นปรมัตถธรรม ใช่ไหม ทั้งๆ ที่เรียนมาก็รู้ ต้องมี นามธรรม รูปธรรม มีสิ่งที่ปรากฏเป็น จิต เจตสิก รูป เราก็รู้ เราก็ฟังมาเป็นปีๆ หนังสือก็มีอ่าน แต่แม้กระนั้น คำถามอันนี้ ที่ว่าทำอย่างไร ถึงจะไม่เห็น เป็นคุณวรรณี ใช่ไหม เราฝืนกระแสของสภาพธรรมไม่ได้ แต่เราสามารถที่จะเข้าใจถูกได้ อันนี้ไม่ใช่หมายความว่าคุณจูจะไปเปลี่ยน ว่าเห็นอย่างนี้แล้ว ไม่ให้เป็นคุณวรรณี ในเมื่อทางตาจะต้องเห็น แล้วทางใจก็ต้องรู้ว่าเป็นคุณวรรณี พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็น แล้วก็รู้ว่า เป็นท่านพระอานนท์ รู้ว่าเป็นท่านพระมหาโมคคัลลานะ รู้หมดทุกอย่าง ไม่ใช่ว่าไปกั้นกระแสว่า เมื่อเห็นแล้วไม่ให้รู้ แต่เมื่อเห็นแล้วให้มีปัญญารู้ ว่าสภาพที่เห็น เป็นสภาพที่มีจริงๆ นี่คือความรู้ในขณะที่กำลังเห็น เพราะเหตุว่าโดยมาก เราเห็น แต่เราจะไม่รูเลยว่าสิ่งที่กำลังเห็น หรือสภาพเห็นเป็นอย่างไร ก็มีแต่อาการเห็นซึ่งต้องเกิดตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ต้องรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร ตามเหตุตามปัจจัย ติดตามมา เพราะฉะนั้น การเจริญความรู้ ก็คือรู้สภาพความจริง ทางตาที่กำลังเห็นทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ โดยไม่ไปบิดเบือนสภาพธรรม ทางตาที่กำลังเห็นมี แทนที่จะไปนึกว่าทำอย่างไร ถึงจะไม่เห็นเป็นคุณวรรณี ก็จะมีการพิจารณาลักษณะสภาพรู้ ให้เข้าใจ จริงๆ ว่าที่เราเคยได้ยินมาว่า สภาพรู้มี แล้วเวลานี้สภาพรู้ก็กำลังเห็นอย่างนี้ ลักษณะอาการเห็นอย่างนี้ เป็นลักษณะอาการรู้ เป็นธาตุรู้ ชนิดหนึ่ง นี่คือการที่เราจะเข้าใจในสภาพที่เห็น แล้วเวลารู้ว่าเป็นคุณวรรณี จะรักจะชัง อย่างไรก็ตามแต่ ขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรม ซึ่งปัญญาก็จะต้องรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปบิดเบือนว่าไม่ให้เห็นเป็นคุณวรรณี แต่ให้รู้ว่าสภาพที่กำลังเห็นขณะนี้เป็นนามธรรมอย่างไร แล้วสิ่งที่ปรากฏ คือรูปธรรมเพราะเหตุว่า ต่างกับอาการเห็นโดยสิ้นเชิง เพราะว่ารูปธรรมกำลังปรากฏ แต่สภาพรู้ คือกำลังเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ นี่คือการที่จะรู้ลักษณะที่ต่างกัน ของนามธรรม และรูปธรรม อย่าไป พยายามคิดว่าทำอย่างไร ถึงจะไม่เห็นเป็นคุณวรรณี แต่ให้เจริญปัญญาที่จะเข้าใจ ลักษณะของนามธรรมที่เห็น ที่เป็นธาตุรู้ แล้วก็ไม่ต้องไปสนใจที่ตัดตอนให้ไม่เป็นคุณวรรณี แต่ว่าความรู้ จะเจริญไปเรื่อยๆ ทุกทางทั้ง ๖ ทาง แม้แต่ที่รู้ว่าเป็นคุณวรรณีก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480