ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
ตอนที่ ๔๔๔
สนทนาธรรม ที่ ซอยมีสุวรรณ คลองตัน พระโขนง
พ.ศ. ๒๕๓๘
ผู้ฟัง ปัญญาใช่ไหม ที่ว่าจะนำเรา ให้ไปทำในสิ่งที่ดีๆ
ท่านอาจารย์ เป็นฝ่ายกุศล
ผู้ฟัง เช่นว่าจะทำทาน ศีล ภาวนา
ท่านอาจารย์ คือธรรมฝ่ายกุศล เจตสิกฝ่ายดี
ผู้ฟัง ต้องเกิดจากปัญญา หรือว่า
ท่านอาจารย์ บางคนไม่มีปัญญา แต่เขาทำกุศลได้
ผู้ฟัง เพราะอะไร
ท่านอาจารย์ เพราะเขาสะสมมา แต่ละคนมีนิสัยต่างกัน ที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นผลของกุศล แสดงว่าเราต้องมีกุศลมาแล้วแน่นอน
ผู้ฟัง กราบเรียนท่านอาจารย์ เคยทำทานมาแล้ว แต่ว่าการทำทานทุกครั้ง จะหวังบุญต่อเมื่อได้ฟังเทปของท่านอาจารย์แล้ว ก็มีความรู้สึกว่า บางครั้งเวลาเราไปทำบุญ บางครั้งเราก็มีจิตบอกว่าใส่เงินลงไปในกล่องทำบุญ เราบอกว่าขอสืบทอดพระศาสนา บางครั้งก็ทำอย่างนั้น แล้วบางครั้งก็หวังบุญ ขอให้เจอแต่สิ่งที่ดีๆ ในชีวิต แต่เมื่อมาฟังท่านอาจารย์ในเทปแล้ว เราก็มีความรู้สึกว่า ถ้าจะให้เกิดบารมี ก็คือว่าในการเสียสละ เพื่อละคลายกิเลส แล้วก็ให้เกิดปัญญา
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ผ่านไปแล้ว รู้สึกทุกคนก็เป็นแบบคล้ายๆ อย่างนี้ คือเรายังไม่มีความรู้ ความเข้าใจอะไรเลย แล้วเราก็ทำไป อะไรเป็นบุญ สิ่งที่ดี เราก็ทำเพราะคิดว่า อันนี้จะเป็นประโยชน์ แต่ต่อไปนี้เราไม่ต้องไปคิดถึงสิ่งที่ผ่านมาแล้วเลย ที่เราไปทำ จะเป็นทาน เป็นปัญญา หรือเป็นอะไร เอาเดี๋ยวนี้ หมายความว่าทั้งหมด เริ่มต้นให้เกิดความเข้าใจให้ถูกต้อง ในสิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง ไม่ต้องไปย้อนถึงอดีต เพราะผ่านไปแล้ว
ผู้ฟัง เราบริจาคเงินเพื่อทำกุศล จะเลือกพระ ได้ฟังว่า ถ้าทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วก็จะได้ทรัพย์สมบัติอะไรมากมาย หรือว่าจะได้สติปัญญา อะไรที่ดี จะเป็นไปได้ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เรื่องให้เราอยากได้มากๆ แต่เป็นเรื่องเข้าใจเหตุ และผล ว่าผลดีอย่างไร มากน้อยอย่างไร เพราะอะไร ให้เราเข้าใจตามความเป็นจริง แล้วไมให้เราติดข้องในผลว่าเราอยากจะทำอย่างนั้น ถ้าอย่างนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เรื่องละกิเลส แต่เป็นเรื่องส่งเสริมกิเลส แต่คำสอนทั้งหมด เป็นความจริง ถ้าดี ดีเพราะอะไร ถ้าได้ผลมาก ได้ผลมากเพราะอะไร แต่ไม่ได้ให้ไปติดในผลมาก เพราะฉะนั้น คนที่ฟังเผินๆ พอได้ผลมาก ก็อยากได้ผลมากเลย แสวงหาเลย บางคนก็บอกว่า นี่ ท่านเพิ่งออกจากฌาน ท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ มาถวายท่านกันเสียเร็วๆ อะไรอย่างนี้ ซึ่งนั้นไม่ใช่เหตุที่จะให้เรา วินิจฉัยเลย เราไม่ได้มีความรู้อะไร เพียงแต่เขาบอก เขาจะบอกอย่างไร ก็บอกได้ แต่เรามีอะไรที่จะรู้ว่า เราสามารถ จะรู้ว่าดี หรือไม่ดี ต่างกันอย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นทุกอย่างก็ต้องอยู่ที่จิตของเรา
ท่านอาจารย์ ถูกต้องๆ ปัญญา ก็คือปัญญาของเราด้วย ไม่ใช่เพราะคนอื่นบอก แล้วเราจะมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง อย่างที่เราบอกว่า ธัมมังสรณัง คัจฉามิ มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง เราต้องศึกษาพระธรรม แล้วเราจะเข้าใจทุกอย่าง ทรงแสดงไว้ ๔๕ พรรษา ให้เราเกิดปัญญาที่จะไม่เข้าใจผิด ไม่หลงผิด
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น จะเกิดกุศลมากน้อย ก็อยู่ที่จิต ของเรา
ท่านอาจารย์ ใช่
ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องละ อย่าลืม เป็นเรื่องละตลอดเลย แล้วละกิเลส ซึ่งมีมากเลย แล้วกว่าจะละต้องค่อยๆ ทีละน้อย จากปัญญาที่มี ถ้าปัญญาไม่มี อยากละสักเท่าไร ก็ไม่มีทางที่จะละได้
ผู้ฟัง ก็น่าจะได้พิจารณาว่า การเรียนการศึกษาทั้งหมดมีประโยชน์มาก แต่ว่าเราจะเรียนอย่างไร ศึกษาอย่างไร ขวนขวายหาเทป หาหนังสือ หาวิทยุฟัง มีโอกาสนานๆ ครั้งก็มาร่วมการเรียน การศึกษา เป็นหมู่คณะบาง ท่านๆ ไม่ย่อท้อ ภาระกิจของท่าน ไม่มีมาก ที่จะต้องดูแลครอบครัว ท่าน ก็มาได้ แต่ธรรม เคยมีตัวอย่างชีวิตจริงๆ มาถามท่านอาจารย์ ว่าจะให้ปฏิบัติตัวอย่างไร คือคนๆ หนึ่ง เขามีความตั้งใจสนใจอยากจะเรียน แต่ว่าเกิดมีอุปสรรคทางครอบครัว บอกว่า ให้เวลาสำหรับการศึกษาธรรม ๕ วัน จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ พอเสาร์ อาทิตย์ ต้องเป็นวันของครอบครัว ทีนี้วันเสาร์ อาทิตย์ เป็นวันที่สนทนาธรรมกันที่วิหารรังษี เขาก็ไม่ได้มา มาแล้วก็มีปัญหากัน ในที่สุดเขาไม่มีทางออก ท่านอาจารย์ก็ให้คำแนะนำที่ดีมาก บอกว่า เราต้องรู้จักหน้าที่ของเรา ถ้าเราจะมาเรียนด้วยความสะดวกไม่มีอุปสรรค ก็แสดงว่าเป็นกุศลที่เราเคย สะสมมาแล้ว แต่ถ้าสมมติว่าคนมาเรียนแล้ว ต้องเกิดการทะเลาะเบาะแว้ง เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้มาก เพราะอะไร เพราะมันเป็นชีวิตจริงๆ จะไปมุ่งเอาแต่ธรรม แล้วปรากฏครอบครัวแตกแยกกันไปหมดเลย มันก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่าเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่ อาจจะให้มีคำแนะนำได้ แต่ว่าในทางปฏิบัติจริงๆ ต้องเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจริงๆ อันนี้ ผมก็ฟัง เป็นคำแนะนำที่ถูก และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ท่านอาจารย์ ทุกคนได้ฟังคุณศุกล แล้วคิดอย่างไร คิดนี้จะไม่เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จะ เป็นคนหนึ่งคนใดจะวางแบบแผน แล้วก็มีเหตุ ให้พิจารณาทำอย่างนั้น บอกว่านี่ควรหรือไม่ควร แต่ตามความเป็นจริงก็คือว่า ให้เข้าใจธรรม ซึ่งเป็นปัญญา เมื่อปัญญาเกิดแล้ว ไม่ต้องห่วงใยว่า เราจะทำอย่างไรดี เราจะเอาแบบนี้ จะเอาแบบนั้น เราจะอย่างนี้ ๓ วันอย่างนั้น ๑๐ วัน หรืออะไรก็แล้วแต่ เป็นเรื่องคิดทั้งหมด แต่เวลาที่มีเหตุปัจจัยจะเกิดขึ้นจริงๆ เกินกว่าที่เราจะคิด เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า แล้วก็คิดแบบทางโลกว่า จะต้องวางตารางไว้อย่างนั้นอย่างนี้ ขอให้เพียงฟังให้เข้าใจ ธรรม เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้ว ไม่ต้องห่วงไม่ต้องกังวล เป็นหน้าที่ของปัญญาทั้งหมด ที่เขาจะมีการไตร่ตรอง ว่าแต่ละคนก็มีชีวิตที่ต่างกัน จะเหมือนกันไม่ได้ แน่นอนที่สุด เพราะฉะนั้น ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณ หรือปัญญา หรือการพิจารณาของตัวเอง แต่ละคนซึ่ง จะไม่ซ้ำกันเลย ฟังคนอื่นได้ สำหรับพิจารณารับฟัง เหตุผล แต่เสร็จแล้ว ผลจริงๆ ก็คือว่า เราก็ต้องไตร่ตรองอีก คิดอีกว่า สำหรับตัวเราจริงๆ สิ่งใดที่ควรหรือไม่ควร แล้วยังถึงเวลาจริงๆ จะเป็นอย่างที่คิดไว้หรือเปล่า นั้นก็อีกเรื่องหนึ่งนี้ก็แสดงให้เห็นว่า เราจะต้องมีความเข้าใจจริงๆ ในความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เราฟังได้ เราพิจารณาได้ คิดได้ทุกอย่าง แต่ว่าสภาพธรรม ที่เกิดแต่ละขณะ เร็วแสนเร็ว แล้วก็เพราะมีเหตุปัจจัยเฉพาะของธรรมนั้นๆ ที่จะเกิดขึ้นเป็นไป นี่ถึงจะเห็นความเป็นอนัตตาจริงๆ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องหวังมาก คิดมาก เรียนมาก ฟังธรรมให้เข้าใจในขณะนี้ ให้เข้าใจมากๆ แล้วต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของปัญญา
ผู้ฟัง มีประสบการณ์ว่า เทปชุดแรกของอาจารย์ กว่าจะเข้าใจว่า เก้าอี้ ไม่ใช่เก้าอี้ อย่างน้อยก็ ๒-๓ รอบ เพราะว่ามองอย่างไรก็ยังเป็นเก้าอี้อยู่ แต่ว่ามันสะกิดคำพูดอาจารย์อยู่คำหนึ่งว่า ไม่ใช่ไม่ให้มองว่า เป็นเก้าอี้ แต่ว่าให้เข้าใจว่า เป็นสภาพธรรม ถูกไหม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ความจริงเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เพราะฉะนั้น คือถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ ธรรมเป็นอย่างไร เราเปลี่ยนไม่ได้เลย แต่ว่าความเข้าใจของเรายังไม่เป็นอย่างนั้น จนกว่าจะเป็นอย่างนั้นโดยตลอด
ผู้ฟัง กราบเรียนถามท่านอาจารย์ แล้วจะให้นึกๆ อย่างไร บางครั้งนุช นึกอย่างจะบอกว่า ทิ้งลูก ทิ้งสามี มาเรียนเกี่ยวกับทุกอย่าง หมายถึงจะละ ทุกอย่างอะไรอย่างนี้ แล้วนุชจะทำได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ บอกให้ทำๆ ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ทราบ ต้องการแนะนำ
ท่านอาจารย์ ไม่บอก แต่ให้เข้าใจ แล้วเรื่องของคุณนุชเอง ฟังธรรมแล้วคุณนุชเป็นคนดีไหม
ผู้ฟัง ก็กำลังจะเป็น คิดว่ากำลัง
ท่านอาจารย์ คุณนุช เป็นคนร้าย แล้วเขาจะอยู่กับคนร้ายๆ อย่างคุณนุช หรือว่าเขาจะอยู่กับคนดี ซึ่งเวลาอื่น คุณนุชก็ดีกับเขาได้มากๆ เพิ่มขึ้นก็ได้ ชดเชย แต่ว่าตัวจริงๆ ของคุณนุชแท้ๆ เวลานี้ มีความเข้าใจตัวจริงของคุณนุชแค่ไหน ว่าเป็นคนพร้อมที่จะทิ้งอย่างนั้นจริงๆ หรือว่า เพราะอยากจะได้อะไร ก็เลยไปสักหน่อย แล้วก็ได้ไม่ได้ก็ไม่รู้ แต่อยากได้ก็เลยไป
ผู้ฟัง บางครั้งอยากจะทิ้ง แต่ก็ยังห่วงอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะนั่นคือเรื่องอยากไม่ใช่เรื่องรู้
ผู้ฟัง อ๋อ ถ้ารู้แล้วก็ละ
ท่านอาจารย์ รู้แค่ไหน ก็ละแค่นั้น รู้แค่นี้ละอะไรไม่ได้ คุณนุชละอะไรไม่ได้ รู้แค่นี้ ละอะไรไม่ได้ ละ แค่ไม่รู้ที่เคยไม่รู้ เท่านั้นเอง แค่ไหนก็แค่นั้น
ผู้ฟัง เห็นบอกว่ารูปมี ๒๘ ก็ยังไม่เข้าใจละเอียดว่ามันเป็นอย่างไรบ้าง
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญที่สุดก็คือ รูปปรากฏกับเราตั้งแต่เกิดเลย ลืมตาขึ้นมา สิ่งที่ปรากฏมี พอมีหูได้ยินเสียง เสียงมี เวลาที่จมูกมีกลิ่นกระทบก็มีการได้กลิ่น เพราะฉะนั้น รูปที่มีจริงๆ ที่ปรากฏอยู่ทุกวันก็คือ สิ่งที่ปรากฏทางตาชนิดหนึ่ง แล้วก็เสียงปรากฏทางหูชนิดหนึ่ง แล้วก็กลิ่นปรากฏทางจมูกอีกชนิดหนึ่ง ก็เป็นรูปแต่ละลักษณะ แต่ละชนิด ซึ่งปรากฏให้รู้ได้ แต่ละทางว่ามี ที่กาย ที่ปรากฏก็มีอยู่ ๓ รูป คือเย็นหรือร้อนปรากฏทางกาย อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ปรากฏทางกาย เพราะฉะนั้น ในชีวิตของเรา จะไม่ปราศจากการรู้รูปเหล่านี้เลย ทางหนึ่งทางใดอยู่ตลอดเวลา ไม่เห็นก็ได้ยิน ไม่ได้ยินก็ได้กลิ่นไม่ได้กลิ่นก็ลิ้มรส ไม่ลิ้มรสก็กระทบสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย เพราะฉะนั้น รูปเหล่านี้ เป็นรูปหยาบใน ๒๘ รูป จะมีรูปที่เป็น รูปหยาบ ๑๒ รูป เวลานี้เรารู้ ๗ รูป แล้ว สิ่งที่ปรากฏทางตา ๑ รูป มีใครไม่เห็นบ้าง ยืนยัน ธรรม เป็นสิ่งที่พิสูจน์ทันที ฟังแล้วให้รู้ว่า นี้กำลังเป็นธรรมที่มีจริงๆ ที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น ถ้าจะกล่าวว่ารูปหยาบมี ๑๒ ในจำนวนรูปทั้งหมด ๒๘ ที่ว่าหยาบก็เพราะเหตุว่า สามารถที่จะปรากฏให้รู้ได้ ทาง ๑ ทางใดใน ๕ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งขณะนี้ มีรูปแน่นอน กำลังปรากฏ จึงหยาบ เพราะว่าปรากฏให้เห็นให้รู้ว่ามี แต่ทั้งๆ ที่หยาบไม่ได้รู้หรอก แค่ฟังชื่อ แล้วก็รู้ว่า นี่เป็นรูปชนิด ๑ แต่ในใจของเราเป็นคน เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ กว่าจะมีความเห็นถูกต้องจริงๆ ว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อหลับตาแล้ว คนในห้องนี้ห้องนี้ทั้งหมดไม่มี ใครยังเห็นบ้าง หลับตาสิ ยังมีคนให้เห็นไหม ในห้องนี้ นั่งอยู่ตรงนั้น ตรงนี้มีไหม ไม่มีเลย
ถ้าแยกความคิดนึก ว่าเป็นคนออกเหลือแต่เพียงสิ่งที่เมื่อลืมตาก็ปรากฏ เพราะว่าคนเรายังนึกออก ถ้าจะสมมตินึกถึงเพื่อนสักคน แล้วนึกถึงเพื่อนอีกคน ก็ต่างกันละ ๒ คนนี้ต่างกัน เรารู้ได้ว่า ๒ คนนี้ไม่เหมือนกันในความนึกคิด ความทรงจำ ของเรา แต่ไม่เห็น เพียงแต่จำไว้ แล้วก็นึกออก แต่ว่าเห็นจริงๆ อีกอย่างหนึ่ง คือขณะนี้ที่กำลังปรากฏ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็ปรากฏด้วย ยืนยันให้ทุกคนรู้ว่านี่ เป็นสภาพที่มีจริง ใครจะบอกว่าสีสันวัณณะทางตา ไม่มี ไม่ถูก เพราะว่ากำลังเห็นอยู่ เพราะฉะนั้น สิ่งนี้เป็นรูปชนิดหนึ่ง เพราะเหตุว่าคำว่ารูป ไม่ได้หมายความเราต้องไปกระทบสัมผัส แล้วถึงจะเป็นรูปขึ้นมา แต่สิ่งใดก็ตามที่มีจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่สภาพรู้ คือว่า สิ่งนั้นไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตามีจริงๆ แต่ไม่รู้ หรอก ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น ไม่รู้ว่ากำลังถูกเห็น หรือไม่รู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร อย่างเวลานี้ทุกคนจะเห็นดอกไม้ในแจกัน ในความรู้สึกของทุกคน คงจะไม่บอกว่าไม่ใช่ดอกไม้ พอเห็นปุ๊บทุกคนก็รู้ คิดตามสิ่งที่เห็น เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าส่วนเห็น เห็นเหมือนกัน แต่ส่วนคิดนึก เราคิดนึกหลังจากที่เห็น เวลานี้ทุกคนเห็น แล้วก็รู้ว่าเป็นอะไร แต่พอหลับตา สิ่งที่เห็นทางตาไม่ปรากฏเลย ความจำดอกไม้ ใครจะจำได้สักแค่ไหน ว่ามีดอกรูปร่างอย่างไร กิ่งก้านอย่างไร สีสันอย่างไร จำได้น้อยมากเลย เพราะฉะนั้น จะรู้ได้ว่า ตลอดชีวิตของเรา เราอยู่กับความจำ เรื่องราว ในสิ่งที่เคยปรากฏ แล้วดับ แล้วไม่ปรากฏอีกเลย
เพราะเหตุว่าธรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรมก็ตาม เกิดแล้วดับทั้งนั้น ไม่มีอะไรเลยซึ่งเกิดแล้วไม่ดับ ทุกอย่างหมด เพียงแต่ว่า รูปดับช้ากว่าจิต เพราะว่าจิตไม่มีรูปร่างเลย เกิดแล้วดับเร็วมาก แต่รูปถึงจะละเอียด แค่ไหนอย่างไร ก็ยังเป็นรูป นี่แสดงให้เห็นถึงความต่างกันของสภาพธรรม ๒ อย่างซึ่งอย่างหนึ่งเป็นนามธรรม ไม่มีรูปใดๆ เจือปนทั้งสิ้น เป็นนามธรรมล้วนๆ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นก็มีอาการ ลักษณะรู้ แต่ไม่มีรูปร่าง แต่ส่วนรูป แม้ว่าจะละเอียดแสนละเอียดอย่างไร ก็ยังไม่ละเอียดเท่านามธรรม เพราะเหตุว่ายังเป็นรูปอยู่
เพราะฉะนั้นก็ จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา เราจับต้องไม่ได้เลย ใครจะจับสิ่งที่ปรากฏทางตา จับไม่ได้ จะจับได้เฉพาะสิ่งที่อ่อนหรือแข็ง จับสี จับไม่ได้ เวลาที่เราบอกว่า เราจับสี ความจริงเราจับอ่อนหรือแข็ง แล้วก็มีสีอยู่ในนั้น ที่จะรู้ว่านี่กำลังเป็นสีขาว หรือว่านั่นเป็นสีเขียว แต่ความจริงเราไม่ได้จับสี เราจับสิ่งที่อ่อนหรือแข็ง ซึ่งเวลาที่เราคิดว่าเราจับสี เพราะว่ามีสี รูปอีกชนิดหนึ่ง รวมอยู่ในอ่อนหรือแข็งนั่น
เพราะว่าเป็นสิ่งซึ่งธรรมดาตลอดชีวิตเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็ยังไม่รู้ความจริง แต่ถ้ารู้ความจริงแล้วจะมี ๒ โลก คือโลกหนึ่ง เป็นโลกของปรมัตถธรรม คือสิ่งที่มีจริงๆ แม้ว่าไม่เรียกชื่อใดๆ ใครก็เปลี่ยนแปลงสภาพนั้นไม่ได้ อีกโลกหนึ่ง คือ สมมติ หรือว่าบัญญัติ เป็นสัจจะ เป็นความจริงเหมือนกัน แต่จริงโดยสมมติ หลังจากที่เห็นแล้ว เราจำไว้หมด ว่าเป็นอะไร เห็นคนก็จำว่าเป็นคน เห็นดอกไม้ก็จำว่าเป็นดอกไม้ เห็นพัดลมก็จำว่าเป็นพัดลม เพราะฉะนั้น ในความรู้สึกของเรา แม้ไม่เห็นพัดลม แม้ไม่เห็นดอกไม้ แต่เรานึกออก นึกรูปร่างของพัดลม ไม่ได้นึกถึงรูปร่างของดอกไม้ แต่พอเห็น ลืมไปว่าจริงๆ แล้ว ไม่ใช่ความคิดนึก แต่เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจริงๆ เป็นสีวันวัณณะ จะใช้คำว่า แสงสว่าง หรือจะใช้อะไรก็ตามแต่ ที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้ ซึ่งแยกออกจากความคิด ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เพราะฉะนั้น แม้แต่การที่จะฟังแล้วฟังอีก ให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ก็ต้องอาศัยการพิจารณา เป็นการที่จะรู้ความจริงของสิ่งนั้นจริงๆ ว่า เราเข้าใจความหมายของรูปารมณ์ เราเข้าใจรูปที่ปรากฏทางตา คือสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ซึ่งไม่อ่อนไม่แข็ง ไม่เย็นไม่ร้อน แต่ลักษณะนั้นกระทบตาแล้วจึงปรากฏ ลักษณะของสิ่งนี้ขึ้น นี่ก็คือรูปๆ หนึ่งในรูปหยาบ ๑๒ รูป แต่ลองคิดถึง คำว่า รูปหยาบ หยาบจริงหรือเปล่า นี่ทั้งๆ ที่เป็นรูปหยาบใน ๒๘ แต่อย่างนั้นเราก็ยังต้องคิด แล้วก็พิจารณาจนกว่าเห็นเมื่อไร คือปัญญาเมื่อนั้น ซึ่งต้องอาศัยจากการฟัง เพราะว่าภาวนา คือ การอบรมปัญญา ถ้าไม่มีการฟังอย่างนี้แล้วไปนั่ง เห็นเป็นนาม สีเป็นรูปก็ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญารู้ความจริงอะไร ที่จะไถ่ถอนความไม่รู้ และเคยยึดถือสิ่งที่ปรากฏอยู่เสมอว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เพราะฉะนั้น ก็คงจะต้องฟังไปอีก ฟังไปอีก ซึ่งก่อนนี้ก็เคยฟังมาแล้ว แต่ว่าจะมากหรือจะน้อยนั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เครื่องวัด ถ้ามาก ฟังแล้วสามารถที่จะรู้แจ้ง อริยสัจธรรมได้ นั่นคือมากจริงๆ แต่ถ้าน้อย ฟังแล้วก็ค่อยๆ คิด ค่อยๆ เข้าใจ แล้วก็รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่า เราเข้าใจแค่ไหน นี่คือประโยชน์ ของความเป็นผู้ตรง อุชุปฏิปันโน คุณธรรมของพระอริยบุคคล คือ ความเป็นผู้ตรง เมื่อไม่รู้ คือไม่รู้ เมื่อเริ่มรู้ ก็คือเริ่มรู้ เริ่มเข้าใจขึ้น
ตอนนี้ถ้าพูดถึงรูป คือสิ่งที่ปรากฏทางตา มีความเข้าใจจริงๆ ว่า หมายความถึงอะไร สิ่งที่ปรากฏจริงๆ ไม่ใช่ความคิดนึกว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ลักษณะแท้ๆ เป็นรูป เพราะว่าหลับตาแล้วไม่ปรากฏ หรือถ้ามีแสงสว่างก็จะปรากฏสลัวๆ ก็ยังเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะเหตุว่า ระหว่างจักขุปสาท จะต้องมีรูป เช่น หนังตา ซึ่งมีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้รูป บางรูป ที่ไม่ใช่รูปที่จะปรากฏเป็นสีสันที่ละเอียดได้ แต่ให้รู้ว่าขณะใด เป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริง คือ สิ่งที่มีจริง เราไม่ต้องไปทำอะไรขึ้นมาเลย ไม่ต้องไปทำอะไรทั้งหมด ไม่ต้องไปทำสมาธิ ไม่ต้องทำอะไร เพราะว่าทุกอย่างเกิดแล้ว มีแล้ว ปรากฏแล้ว ตามเหตุตามปัจจัย ขอให้เข้าใจจริงๆ ให้ถ่องแท้ว่าเป็นธรรม เป็นอนัตตา ไม่มีใครบังคับบัญชา แล้วก็ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็ไม่ใช่ของใคร แล้วก็เป็นรูปหยาบ ๑ รูปในรูปหยาบ ๑๒ รูป รูปหยาบอื่นก็คงจะไม่ยาก ถ้าเข้าใจความหมายของรูปหยาบ ๗ รูปนี้ ปรากฏทางตา ๑ รูป ปรากฏทางหู ๑ รูปคือเสียง มองไม่เห็นจับไม่ได้ แต่ ว่ามีจริงปรากฏ และไม่ใช่สภาพรู้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นรูปธรรม ก็เป็นรูปหยาบ เพราะว่าปรากฏให้รู้ได้ กลิ่นก็เป็นรูปหยาบ รสก็เป็นรูปหยาบ
ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า ในครั้ง ๒,๕๐๐ กว่าปี เราอาจจะเข้าใจภาษาบาลีกันคล่องแคล่ว พอพูดปุ๊บเราก็เข้าใจได้ แต่พอถึงชาตินี้ ไม่มีทางเลย อยู่เมืองไทยจะไปเข้าใจภาษาบาลีไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องใช้ภาษาไทยแปล ให้เข้าใจว่าความหมาย อวินิพโภครูป คือรูป ๘ รูปซึ่งแยกกันไม่ได้ ธาตุดินอยู่ที่ไหน ก็ต้องมีธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มีสี มีกลิ่น มีรส มีโอชา ธาตุไฟอยู่ที่ไหนต้องมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม รวมอยู่ด้วย แล้วก็จะต้องมีสี กลิ่น รส โอชา อีก ๔ รูปซึ่งเป็นรูปที่ไม่ใช่มหาภูตรูป คือชื่อทุกชื่ออย่าคิดว่ายาก เกินไปหรือเราไม่เข้าใจ เพียงแต่ว่าเราต้องเข้าใจความหมายว่า มหาภูตรูป หมายความถึงรูป ๔ รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน แค่ ๔ รูปมี ๒๘ รูป เป็นมหาภูตรูปกี่รูป ๔ ไม่ใช่มหาภูตรูปกี่รูป ๒๔ ใช่ไหม เพราะรูปทั้งหมดมี ๒๘ เป็นมหาภูตรูปเสีย ๔ เพราะฉะนั้น เป็นรูปที่ไม่ใช่มหาภูตรูป ๒๔ แล้วถ้าจะเพิ่มความจำขึ้นมาอีกสักนิดเดียวว่า รูปที่ไม่ใช่มหาภูตรูป ชื่อว่า อุปาทายรูป บางแห่งใช้คำว่า อุปาทารูป แต่ว่าบางแห่งจะให้คำว่า อุปาทายรูป คือภาษาบาลีเขาจะมีกฏไวยากรณ์ ซึ่งผู้ที่เรียนแล้ว สามารถที่จะอธิบายได้ ทำไมคำนี้มีตัวนี้อยู่ด้วย ทำไมคำนี้เอาคำนี้เอาออก เพราะอะไร เปลี่ยนรูปเปลี่ยแบบไป แต่ให้ทราบว่า เราไม่จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียด เพราะว่า เราจะเข้าใจสภาพธรรม มากกว่าเราจะไปศึกษา พยัญชนะต่างๆ แต่ให้ทราบว่า มหาภูตรูป ๔ ที่เหลือเป็นอุปาทายรูป เท่าไร ๒๔ สี เป็นอะไร ใน ๒ อย่าง อุปาทายรูป กลิ่น รส ขม ร้อน มหาภูตรูป นี่คือ เรียนอย่างนี้แล้วไม่จำเป็นต้องท่องอะไรเลยทั้งสิ้น จากความเข้าใจจริงๆ มหาภูตรูปมี ๔ เปลี่ยนไม่ได้เลย พร้อมทั้งอุปาทายรูปด้วย เพราะว่าจะต้อง มีมหาภูตรูป ๔ กับ อุปาทายรูป ๒๔ รูปที่แยกกันไม่ได้มี ๘ รูป เพราะฉะนั้น เรียน เรียนให้เข้าใจพร้อมๆ กันไปหมดเลย ทุกอย่างเป็นของจริง แล้วก็ไม่ว่าจะพูดเรื่องอะไรก็ พิสูจน์ได้
ผู้ฟัง ทำไมเขาถึงแยก มหาภูตรูป มี ๔ ที่เหลือเป็น อุปาทายรูป หมด
ท่านอาจารย์ อุปาทายรูป เพราะว่าเป็นรูปที่อาศัยเกิดกับ มหาภูตรูป หมายความว่า ถ้าไม่มีมหาภูตรูป ๔ รูปพวกนี้มีไม่ได้ เย็นร้อน ๑ อ่อนแข็ง ๑ รูปอื่นๆ ทั้งหมด อีก ๒๔ รูปก็มีไม่ได้ ถ้าไม่มีมหาภูตรูป ๔ เป็นธาตุที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ๔ รูป
ผู้ฟัง แส้วท่านแยกได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ สิ่งที่เราไม่คิดเลยว่าจะมี ใครรู้ได้ ถ้าเป็นผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีทางจะรู้เลย แต่ผู้ที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ทุกอย่าง ที่มีจริงๆ ทรงแสดงสภาพธรรม ตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480