ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๔๗

    สนทนาธรรม ที่ ซอยมีสุวรรณ คลองตัน พระโขนง

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องค่อยๆ ฟัง แล้วรู้ว่านี่คือพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ลึกลับ แล้วก็ล้ำลึก แล้วก็ยาก แล้วก็ละเอียด แล้วก็เป็นเรื่องละ ซึ่งคนที่เห็นประโยชน์เท่านั้นจริงๆ จึงรู้ว่าในสังสารวัฏฏ์ เรามีอะไรเหลือ ทุกขณะไม่เหลือเลย ไม่เหลือเลย ทุกขณะเกิดแล้วดับไปเลย หมด แล้วก็มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น ก็ไม่มีอะไรเหลืออีก แต่ว่าการสะสมปัญญาที่จะเข้าใจสภาพธรรม เป็นรัตนะที่ประเสริฐที่สุด เพราะว่าเราจะได้ฟังอีกเมื่อไร เราจะได้มีโอกาสเข้าใจเพิ่มขึ้นอีกเมื่อไร แล้วเราก็รู้ว่าเป็นหนทางที่ไม่ง่าย ต้องอบรม แล้วเราก็สบายใจ ไม่ต้องไปเร่งรัดเพราะว่าถึงจะเร่งรัดอย่างไรก็ไม่มีทาง ต้องเป็นความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ด้วยสติสัมปชัญญะ

    ผู้ฟัง ผมว่า มันมีความเป็นตัวเรา เราก็เลยยังอยาก หาวิธี อยากที่จะเข้าใจ เลยเป็นตัวที่จะทำให้เรา

    ท่านอาจารย์ การฟังธรรม ถ้าฟังสิ่งซึ่งทำให้โลภะของเราลดลง ความติดข้องในตัวเราลดลง ความต้องการที่จะได้ผลลดลง อันนั้นคือความถูกต้อง

    ผู้ฟัง เหมือนกับว่าเรา อยากในทางที่ดี แต่ว่าขณะเดียวกันจิต เจตสิก หรือปัญญามันก็พยายามจะทำกิจของมันไปเรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ความเป็นเรา มีมากเหลือเกิน ความไม่ใช่เรา ที่เกิดจากการฟังมันแค่นี้ นิดเดียว จนกว่าจะเพิ่มขึ้น เราก็เป็นผู้ที่ตรงทุกอย่าง ธรรมเป็นเรื่องตรง ต้องยอมรับความจริง ถ้ายอมรับความจริงเป็นผู้ตรง เราจะก้าวไปด้วยความถูกต้องไม่ออกไปนอกทาง

    ผู้ฟัง ผมคิดว่าเห็นด้วย อาจารย์บอกว่า ถ้าเกิดว่าเรามีตรงนี้อยู่ มันก็เลยมาเป็นตัวที่กั้น

    ใช่ไหม

    ส. กั้นหมดเลย อวิชชากับโลภะแล้วเราก็ไม่เห็นตัวเขาตลอด เห็นยาก

    ผู้ฟัง ในสภาพนามธรรม กับรูปธรรม เมื่อเวลาจิตไปรู้นามธรรม และรู้ รูปธรรม หมายถึงว่า เราไปรู้สภาพรู้อีกชั้นหนึ่งไหม อยากให้อาจารย์พูดใหม่

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้ เป็นคุณวีระยุทธที่คิด แต่เวลานี้มีเห็น มีได้ยิน มีคิดในสิ่งที่เห็น มีคิดในสิ่งที่ได้ยิน แต่แทนที่จะคิดเรื่องสิ่งที่เห็น หรือคิดเรื่องเสียงที่ได้ยิน สัมมาสติระลึกลักษณะ เพราะฉะนั้น ขณะที่คุณวีระยุทธ เห็นแล้วคิด ขณะที่คิด ก็ไม่ใช่คุณวีระยุทธ ขณะที่กำลังได้ยินแล้วคิด เรื่องที่ได้ยิน ขณะที่คิดเรื่องที่ได้ยิน ก็ไม่ใช่คุณวีระยุทธ เพราะฉะนั้น เวลาที่เห็น แล้วสัมมาสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมก็ไม่ใช่ คุณวีระยุทธ แต่เป็นลักษณะของสติที่ระลึก ที่ไม่ใช่คุณวีระยุทธ

    ผู้ฟัง ขอทบทวนอีกที เวลามีสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อมีสิ่งที่ปรากฏทางตา จิตจะเริ่มแปลเลย ลืมตาขึ้นมาเห็นโต๊ะตัวนี้ รู้เลย รู้รูปร่างสัณฐานเลย ว่าเป็นอะไร

    ท่านอาจารย์ นี้คือรู้รูปร่าง แต่ถ้าในขณะนั้น สัมมาสติเกิด เขาจะไม่ระลึกในรูปร่าง แต่จะเริ่ม ค่อยๆ เข้าใจในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังเห็น ในอาการรู้ในลักษณะนั้น

    ผู้ฟัง ในอาการรู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเหมือนกันเลย กับความเป็นปกติ เหมือนเลย คือแทนอันนี้ ก็คืออันนั้น

    ผู้ฟัง สภาพธรรม ที่ปรากฏทางตา ถ้าเรา รู้ลักษณะว่า โต๊ะ รูปร่างอย่างนี้ เป็นสมมติบัญญัติไปแล้ว คือขณะที่เห็นสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ มันจะไม่มีชื่ออะไร

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์อธิบายอีกสักครั้ง

    ท่านอาจารย์ ตามปกติธรรมดา เห็น แล้วก็จะมีการนึกถึงสิ่งที่เห็น เป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ เวลานี้มีคุณวีระยุทธมีใครต่างๆ นั่งอยู่ที่นี่ทั้งหมด มีไฟมีดอกไม้ มีอะไรทุกอย่าง เวลาได้ยิน ก็ได้ยินเรื่องราว แต่ขณะที่สัมมาสติเกิด เวลาที่เห็นเขาไม่ได้ไปนึกรูปร่างสัณฐาน แต่ว่าขณะนั้น เพราะได้ยินได้ฟังมาว่า เป็นสภาพรู้ ซึ่งกำลังเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ลักษณะของสภาพรู้คืออย่างนี้ที่กำลังเห็น ค่อยๆ ระลึกที่ลักษณะนั้น

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นในช่วงที่เกิดขึ้น คือเขาจะรู้ว่ามันแข็ง เพราะฉะนั้น เขาจะอธิบาย ว่า ทุกอย่างมันบังคับบัญญชาไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แต่ก่อนเคยเป็น สิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ขณะที่สัมมาสติเกิด จะเป็นสภาพธรรม แล้วก็จะค่อยๆ ชินกับความเป็นธาตุ หรือสภาพธรรม แล้วเข้าใจอรรถของคำว่า ธรรม เพราะฉะนั้น การศึกษาเราฟัง ความหมายของ ธรรม เราเข้าใจขั้นฟัง ถ้าสัมมาสติไม่เกิด ไม่ระลึก แต่เพราะเหตุว่าสภาพธรรม มี แล้วหนทางที่จะประจักษ์แจ้งความจริงมีแน่นอน แต่ว่าต้องเป็นปัญญา ความเห็นถูก ที่เกิดร่วมกับสัมมาสติ เพราะฉะนั้น จะเป็นปกติธรรมดาที่สุด ไม่ได้มีอาการทำ ถ้าทำคือ ผิด นิดหนึ่งแล้ว

    ผู้ฟัง คนที่ไม่ได้สะสมมามากมายเขาก็เกิดได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เกิดอะไร

    ผู้ฟัง ความหมายคือ ช่วงขณะนั้นคือ แข็ง เลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ก็แข็งคือธรรมดา อย่างไรก็ต้องแข็ง แข็งนี้คือธรรมดา

    ผู้ฟัง คือ รู้ว่า ตัวเรา

    ท่านอาจารย์ รู้ว่าตัวเรา แต่ต้องมีสัมมาสติ เพราะฉะนั้น เราจะรู้ความต่าง อย่าลืม ความต่างขณะที่สัมมาสติเกิดกับหลงลืมสติ แล้วเห็นความเป็นธรรมดา คือปัญญานี้จะต้องเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นตลอด คือปัญญาที่จะละๆ ๆ แต่ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วเราคิดว่าอันนี้มันแข็ง เรารู้ ไม่มีทางเพิ่ม เพราะว่าขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของสัมมาสติ คนที่เขาปฏิบัติตามสำนัก เขาจะพูดเหมือนอย่างนี้เลย เขารู้ เขารู้เลย นี่แข็ง นี่เป็นรูป นี่เป็นนาม เขาใส่ชื่อไปได้ด้วย เพราะฉะนั้น จะมีความต่าง ชั่วขณะ เขาก็บอกอย่างนี้ พูดเหมือนกันเลยทุกอย่าง เขาจะบอกว่าเป็น เขาจะบอกว่ามี ทุกอย่างหมด แต่ขณะที่เป็นสัมมาสติจะต้องมีลักษณะของสัมมาสติที่ เป็นสภาพที่ต่างกับ ขณะที่รู้ว่าแข็ง หรือรู้ชัดๆ อย่างนั้น เพราะว่าชัดได้ ใครก็ชัดได้ กลางคืน ตื่นขึ้นมาก็ แข็งแล้ว อย่างอื่นไม่มีไม่ปรากฏ อย่างเวลานี้ จริงๆ แล้วคำพูดใดก็ตาม เป็นเรื่องของสภาพธรรม ที่ไม่มีการเปลี่ยน อย่างขณะที่เห็น ชั่วขณะหนึ่ง อย่างอื่นไม่มีเลย โดยการฟังพิจารณาต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน ขณะที่ได้ยินเสียงอย่างอื่นต้องไม่มีเลย ต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน ขณะที่ฟังเข้าใจ ฉันใด อย่างไร เวลาปัญญาเกิดรู้อย่างนั้น ฉันนั้น ทีนี้เวลาที่ปัญญายังไม่เกิด เหมือนอย่างนั้นได้ นอนอยู่ อะไรปรากฏ ไม่เห็นมีอะไรเลย กลางคืนดึกๆ ไม่มีอะไรจริงๆ มีแข็ง แล้วก็มีได้ยิน แต่เรา ตรงนั้นแน่นอนที่สุด ทั้งๆ ที่เรามองเหมือนกับว่าเป็นสภาพธรรม ที่ปรากฏแล้ว มันไม่มีอะไร แต่ในความไม่มีอะไร มีความต่างของปัญญา กับ ความต่างที่ว่า ไม่มีแต่ไม่รู้ เพราะว่า ยังเป็นเราที่รู้ว่าไม่มีอะไร เพราะฉะนั้น ยังเป็นเราที่รู้ว่ามันแข็งจริงๆ มันชัดจริงๆ เป็นสภาพรู้จริงๆ

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ ตรงนี้ก็คือ ความต่างกันระหว่าง หลงลืมสติ กับสัมมาสติ ไหม

    ท่านอาจารย์ เป็นความต่างระหว่างที่ว่า ขณะใดมีปัญญาเกิดจริงๆ พร้อมสัมมาสติ ซึ่งจะเป็นเรื่องละ แต่ว่าขณะใดซึ่งเป็นความไม่รู้ จะเป็นเรา ๑ เหนียวแน่นมากทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรเลยก็ยังเป็นเราอยู่นั่นแหละ ก็จริง อย่างอื่นไม่มีมันมืดนอนมา ดึกๆ ก็มีแข็งกระทบ มีเสียงปรากฏ อย่างอื่นไม่มีเลย แต่ความไม่รู้มีอยู่ตรงนั้น ซึ่งไม่รู้ว่า ไม่รู้อยู่ตรงนั้น แต่ว่าตามความเป็นจริง เวลารู้ก็รู้ตรงนั้น อย่างนั้นแต่ปัญญาของเขาสามารถที่จะรู้จริงๆ ว่าขณะนั้น นามธรรมล้วนๆ คืออย่างไรที่จะไม่มีเรา แล้วก็รูปธรรมที่ปรากฏเป็นสภาพธรรม ที่ตรงกันข้าม ลักษณะของรูป จะไม่ใช่ลักษณะของนามธรรม เป็นปัญญาที่ ค่อยๆ สมบูรณ์ขึ้น มันจะต้องมีการค่อยๆ เจริญขึ้น แล้วความรู้ ก็คือว่า รู้ขึ้นว่า การรู้จะรู้อย่างไร ตรงไหน ขณะใดที่เป็นหนทาง ขณะใดที่ไม่ใช่หนทาง

    ผู้ฟัง นอกจากความเป็นธรรดาตรงนั้นเอง มันก็มีความรู้สึกว่า จะเพิ่มขึ้นก็คือ กัมมัสสกตาญาณซึ่งในขณะที่เห็น เราจะรู้สึกง่ายๆ คือผลของกรรม เป็นสิ่งที่เราทำอะไรไม่ได้ เป็นสิ่งที่มันเป็นอย่างนั้น และเป็นสภาพธรรม ไม่ทราบว่าความเข้าใจ นี้ถูกไหม

    ท่านอาจารย์ แต่เราใช้ชื่อ กัมมัสสกปัญญา กัมมัสกตาญาณ อะไรก็แล้วแต่ เราก็รู้ว่า ขณะเห็น เป็นผลของกรรม ขณะได้ยินก็เป็นผลของกรรม แต่ว่าวันหนึ่งๆ เราหลงลืมที่จะรู้ แต่พอเราได้ฟังธรรมนานๆ เราก็ระลึกได้ เวลาที่เราป่วยไข้ได้เจ็บ ก็พอที่จะรู้ว่าขณะนั้น ทางกายเป็นผลของกรรม หรือว่าเวลาที่ อาจจะมี ใครทำร้ายก็ได้ อย่างที่เขาถูกทำร้ายกัน แต่เขาไม่มีความรู้เลยว่าเป็นผลของกรรม แต่คนที่รู้ว่าเป็นผลของกรรม เขาก็จะละความแค้นเคืองบุคคลอื่น ซึ่งเขาอาจจะคิดว่าสิ่งนี้เกิดขึ้น เพราะการกระทำของคนอื่น แต่ความจริง ถ้าไม่มีกายปสาทไม่มีกรรมที่เป็นปัจจัยให้ทุกข์กายเกิดขึ้น ขณะนั้นนอนหลับสนิท ต่อให้ถูกตีสักเท่าไรก็ไม่มีความรู้สึกก็ได้หรือว่าสลบไป หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ แต่นั่นก็คือ การที่ว่าเป็นแต่เพียงเข้าใจ ว่านั่นเป็นผลของกรรม แต่เวลาใดที่ค่อยๆ รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ความรู้ในความเป็น กัมมัสสกตาญาณ จะชัดขึ้น เพราะจะรู้ตั้งแต่ต้นจนตลอด เพราะอะไร ทำอะไรไม่ได้เลย นั่นไม่เป็นเรื่องทำ หมดปัญญาของใครที่จะไปทำอย่างอื่นได้เลยทั้งสิ้น เพราะว่ามีความเข้าใจในสภาพธรรมที่ปรากฏ แล้วก็รู้ว่าสิ่งนั้นมีเหตุปัจจัยอย่างนั้นจึงปรากฏ เช่น เห็น ใครจะไปบังคับได้ ได้ยินเกิดแล้ว ใครจะไปบังคับได้ แต่ชอบหรือไม่ชอบ เป็นสภาพที่ต่างกัน

    เพราะฉะนั้น เรื่องชาติของจิตที่เราเรียน ไม่ใช่เราเรียนเฉยๆ แล้วเมื่อไรเราจะรู้ แต่ว่าเรียนในขณะที่ เวลาที่สัมมาสติระลึก จะมีทางที่จะรู้จริงๆ โดยที่ว่าไม่ใช่อาศัยโดยการที่ไปเข้าใจตำรา แต่เพราะเหตุว่าสภาพธรรมต่างกันอยู่แล้ว เห็นกับคิดนึกไม่มีทางที่เป็นสภาพธรรมอันเดียวกันได้ เพราะฉะนั้น จึงรู้ว่าขณะใด เป็นผลของกรรม แล้วขณะใดไม่ใช่ผลของกรรม

    สัมมาสติเป็นผลของการฟัง ถ้าไม่มีการฟัง เข้าใจจริงๆ สัมมาสติจะไม่เกิด จะมีความเป็นเราว่าทำไมเราไม่รู้ ทำไมเรารู้น้อยๆ อยู่อย่างนั้น แต่ว่าเวลาที่มีปัจจัย สังขารขันธ์ปรุงแต่ง ที่สัมมาสติเกิดเมื่อไร เมื่อนั้นเรารู้ว่า ถ้าไม่ใช่หนทางนี้ ทางอื่นไม่มีทางที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม เป็นแต่เพียงการคิดเรื่องราว แต่ว่าขณะนี้สภาพธรรมมี ความเข้าใจหนทางมี

    เพราะฉะนั้น อริยสัจ ๔ จึงมี ๓ รอบ สัจจญาณ ต้องมีแน่นอน ความเข้าใจอย่างมั่นคงในอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นปัญญาที่ไม่คลอนแคลน ไม่เห็นผิด แล้วก็รู้ตรงว่าหนทางที่จริงๆ คืออย่างไร สภาพธรรม จริงๆ คืออย่างไร สัมมาสติคืออย่างไร มิจฉามรรคคืออย่างไร สัมมามรรคคืออย่างไร แต่ขณะใดที่สัมมาสติเกิด ขณะนั้น พร้อมทั้งศีล สมาธิ ปัญญา เพราะว่ามีการรู้ลักษณะของสภาพธรรม ทางทวาร คิดดูสิว่า เวลาที่เป็นภวังค์ ไม่รู้เลย อารมณ์ไม่ปรากฏเลย แต่เวลาที่อารมณ์ปรากฏ มีการศึกษาลักษณะของอารมณ์ เพราะฉะนั้น เป็นศีลอย่างละเอียด เป็นอกุศลจิตเพียงนิดเดียว ยังไม่ทันจะล่วง หรือว่าวิรัติ เพราะคนที่ทำทุจริต ต้องมีอกุศลมาก ไม่รู้ตัวเลย จึงได้กระทำทุจริตกรรมนั้นได้ ถ้าเกิดกุศลจิต รู้สึกตัวขึ้น ก็วิรัติทุจริตนั้นได้ แต่ว่าผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน รู้สภาพของจิตก่อนที่สภาพของอกุศล จะมากมาย หรือ ถ้าขณะนั้น สัมมาสติไม่เกิด แต่อกุศลที่มีกำลังเกิด สัมมาสติระลึกรู้ได้ตรงนั้น เพราะฉะนั้น ก็เป็นการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมทุกอย่าง เว้นไม่ได้เลย เพราะเว้น หมายความว่าขณะนั้นมีเราเว้น ไม่สามารถที่จะเป็นความเห็นที่ชัดเจนถูกต้อง จนกระทั่งหมดความสงสัยในลักษณะของสภาพธรรมได้

    ผู้ฟัง ความเข้าใจของผมก็คิดว่า ในลักษณะที่คิดเรื่องราว กับรู้ในลักษณะของรูปธรรมหรือนามธรรมที่ปรากฏ มันก็น่าจะเป็นขั้นหนึ่งที่จะเริ่มรู้ ความแตกต่างของการหลงลืมสติ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ คุณชินพูด คุณชินไม่ได้รู้เรื่องกัมมัสสกตาญาณ คุณชินบอกว่าขณะนั้นคุณชินรู้ ลักษณะของสภาพธรรม รู้จริงๆ ในลักษณะนั้น

    ผู้ฟัง ขณะนั้น ไม่มีชิน อยู่ข้างใน คือ จิตมันรู้จริงๆ สภาพรู้จริงๆ

    ท่านอาจารย์ เรารู้จริงๆ ในขณะนั้น ทุกคนในที่นี้ ลอง รู้แข็ง มีคนที่จะบอกไหมว่าเขารู้จริงๆ ขณะนั้นเป็นสภาพรู้

    ผู้ฟัง อาจารย์แต่ว่ามันไม่เหมือนกัน ช่วงขณะนั้นมันเร็วมาก ชินไม่ได้ไปทำหรืออะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปทำ แต่ขณะนี้เขาจะพูดถึงความรู้ ลองคิดเทียบ เข้าใจคำว่า เทียบ เพราะเหตุว่าเราจะมีความรู้หลายระดับ เวลานี้เรารู้ลักษณะที่แข็ง แต่เวลาที่เรารู้ว่ามันเป็นแข็ง แข็งมันไม่ใช่เรา โดยที่เราไม่ต้องท่องเป็นคำก็ได้

    ผู้ฟัง นั่นก็ยังมีตัวเราอยู่ข้างใน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่ามันจะต้องมีเหตุที่จะทำให้ ขณะนั้นเป็นปัญญาที่รู้ แล้วเราจะรู้ลักษณะของสติ แล้วเราจะรู้ลักษณะของปัญญา ในขณะนั้นว่าเป็นสภาพที่รู้ อย่างเวลาที่พูดถึงตอนกลางคืนที่นอนดึกๆ มันไม่มีอะไร แล้วก็มีแข็ง แล้วมีได้ยิน ถ้าเราจะเติมคำ สำหรับบางคนที่เขาบอกว่ารู้นะ เป็นรู้ ไม่ใช่เราเลย เขาพูดได้ ไม่ใช่พูดได้แต่ว่าธรรมทั้งหมดที่เป็นปัญญา จะเริ่มละ แล้วก็จะรู้ว่าความรู้แค่นั้นไม่พอ จะรู้ โดยการที่เราเคยฟังมาแล้วประกอบกับ ขณะนั้นมีความรู้ทันทีที่เกิดขึ้น ว่าเป็นนามธรรมที่รู้หรือว่าเป็นรูปธรรมที่แข็ง แค่นั้นไม่พอ ทีนี้เมื่อแค่นั้นไม่พอ หนทางอยู่ตรงไหน ถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญาต้องรู้หนทาง ว่าหนทางนี้คืออย่างไร ไม่ใช่ว่าหนทางไหนไม่รู้ เกิดขึ้นแล้วมันก็หมดไป เพราะว่าหลายคนเขาจะบอกอย่างนี้ มีคนหนึ่งเป็นชาวต่างประเทศที่สิ้นชีวิตแล้ว เขาก็เคยตอนเป็นเด็ก เขาก็เป็นอย่างนี้ รู้สึกว่า ไม่มีเราเลย มันเป็นแต่เพียงสิ่งที่ มีปรากฏ เขาคิดได้ รู้สึกได้ ว่าไม่มีเราเลย เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ แต่อะไรล่ะ มันต้องมีต่ออีกว่า อะไรล่ะ เพราะฉะนั้น ความรู้จริงๆ มันจะค่อยๆ สาง ความอะไรล่ะออกไป แล้วก็อะไรที่เป็นหนทางที่จะรู้ขึ้น

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่าเราไม่เข้าใจสภาพรู้ และรูปธรรม ไม่มีวันเลย ที่เราจะ เข้าใจว่า เราไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน ไม่มีทาง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วเรื่องของการรู้ เป็นเรื่องของปัญญา แต่ว่าปัญญามีหลายระดับมาก เพราะฉะนั้น ปัญญาที่เพียงเข้าใจโดยที่เราไม่รู้หรอกว่านั่นเป็นปัญญาขั้นเข้าใจ เราคิดว่าปัญญาที่ได้รู้ความจริงของสภาพธรรม แต่ว่า ความจริงของสภาพธรรม มากมายกว่านั้นอีกมากมาย

    ผู้ฟัง อะไรล่ะ คืออะไร

    ท่านอาจารย์ เมื่อมีก็รู้ เมื่อไม่มีแล้วจะรู้อย่างไร

    ผู้ฟัง เพราะว่าชินเข้าใจว่าในช่วง ขณะนั้น มีสติมาก แล้วก็ ช่วงขณะนั้นคือแข็ง แล้วขณะนั้น ชินรู้ว่าขณะนั้น มีความรู้สึกว่าทุกอย่างคือ อนัตตาหมดเลย

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างของคุณชินคืออไร

    ผู้ฟัง สภาพธรรม รูปธรรม กับนามธรรม

    ท่านอาจารย์ นี้เราตอบได้เป็นทฤษฎี แต่เวลาที่สภาพธรรมปรากฏ เขาสืบต่อกัน ให้รู้ในขณะนั้นด้วยปัญญา ที่ว่าไม่ใช่เพียงอย่างเดียว เพราะว่ากว่าจะถึงระดับที่สัมมาสติระลึก แล้วระลึก ตรงหนทาง หรือว่าตกหนทางอีกแล้ว มีความต้องการแทรกขึ้นมาอีกแล้ว หรือว่าพอระลึก ปุ๊บ ทำนิดหนึ่ง คือเครื่องกั้นจะมาตลอด เพราะฉะนั้น หนทาง ที่บอกว่าเป็นหนทางละอย่างเดียว

    ผู้ฟัง ทำไมจะเตือนสติ หรือศึกษาให้เข้าใจการละได้มากๆ

    ท่านอาจารย์ คุณวีระยุทธ รู้จักว่าด้ามมีดมันจะสึกอย่างไร แล้วคุณวีระยุทธ ไม่จับแต่ถาม กับการที่คุณวีระยุทธ จับไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งต้องถึง นี่ต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้น มันไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปจัดการ หรือว่าไปบอก หรือว่าไปสอน บอกก็แล้ว สอนก็แล้ว แต่ไม่จับ ก็อยู่อย่างนั้นแหละ บอกหมดเลย แต่ก็ไม่จับเลย กับคนที่เขาจับของเขาไปเรื่อยๆ ก็ต้องมีการที่จะรู้ความจริง

    ผู้ฟัง ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์ ในขณะที่แข็งปรากฏในลักษณะของคุณชิน ผมรู้สึกว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วต่อจากนั้น อย่างรวดเร็วที่สุด ในขณะที่เรารู้ว่ารู้สึก เป็นสติขั้นหนึ่ง ในขั้นที่รู้ว่า ในขณะนี้กำลังหลงลืมสติเแล้ว ผมคิดว่าอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ เราไม่จำเป็น ที่เราจะรู้ว่าเราอยู่ตอนไหน หรือว่าเรารู้อะไร แต่ว่าสภาพธรรม มีจริงๆ แล้วปัญญาในขณะนั้น สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมระดับไหน โดยไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ต้องมีความเข้าใจใน คำ โดยละเอียด โดยไม่ใช่เราหมายความว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง ผู้ที่ระลึกศึกษา ผู้นั้นเองก็จะต้องรู้ลักษณะทีละเล็ก ทีละน้อยซึ่งท่านอาจารย์บอกเหมือนจับด้ามมีด ซึ่งอาจจะจับผิด จับถูกไปเรื่อยๆ จนกว่าวันใดวันหนึ่ง การจับถูกก็เริ่มจับได้ถูกต้องขึ้น อะไรขึ้น

    ท่านอาจารย์ แล้วก็ต้องเห็นความละเอียด เรารู้เลย สภาพธรรม เป็นนาม เป็นรูป แต่ที่รู้โดยไม่ใช่เรา ค่อยๆ จางความเป็นเราโดยวิธีไหน ก็เรื่องคือว่า ขณะนี้รู้ไหม นี่คือเครื่องสอบที่ชัดเจนที่สุด ถ้าขณะนี้ยังไม่รู้ ทุกอย่างผ่านไป จะเป็นอะไรก็เป็นไป แต่ไม่สามารถจะรู้สภาพธรรมในขณะนี้ แต่ถ้าเป็นปัญญาที่ได้อบรมแล้ว หลงลืมสติ หรือมีสติ เป็นธรรม เพราะฉะนั้น จะมีค่าเท่ากันคือไม่ใช่เรา กว่าจะค่อยๆ จางๆ ๆ ๆ ไปจนกระทั่งทุกอย่าง

    ผู้ฟัง แต่ว่าชินมีความรู้สึกว่า ช่วงขณะนั้นที่เกิดขึ้น ชินยังไม่ได้เรียนธรรม แต่รู้ว่ามันแยก หลังจากเรียนแล้วย้อนกลับมาจำได้ รู้ว่ามันแยก ๒ ประเภท รูปธรรม นามธรรม มันแยกกัน แล้วก็ ยิ่งให้เรามีความเข้าใจมากขึ้นว่า ธรรม คือ รูปธรรม กับ นามธรรม

    ท่านอาจารย์ จะมีหลายอย่าง แต่ถ้าเราจะมาสอบความเข้าใจของเรา ปัญญา รู้หรือเปล่า ขณะนั้น เอาขณะนั้น เพราะฉะนั้น เอาขณะนั้นไม่ใช่เอาขณะ หลังจากนั้น นี่ก็เป็นเครื่องบอกแล้ว ใช่ไหม ว่าถ้าปัญญารู้ รู้ขณะนั้น

    ผู้ฟัง ถ้าไม่มีปัญญก่อนนั้น ทำไมมันเกิดได้

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างๆ จะมีเหตุปัจจัย ที่จะเกิด โดยเราไม่รู้ อย่างคนที่เขามีลางสังหรณ์ คนที่เขามีเศษเล็กเศษน้อยของสมาธิ ที่เขาเคยทำมา แต่ว่าทั้งหมด ไม่ใช่หนทาง หนทางคือปัญญาที่ละ ปัญญาแล้วต้องเติมคำว่า ที่ละ ลงไปด้วย

    ผู้ฟัง แต่มันก็น่ากลัว เพราะว่ามันติด คือคล้ายๆ กับทุกครั้ง เราลืม เราก็นึกถึงเรื่องนี้ แล้วก็ เราบางครั้งมีอยาก ที่จะเกิดขึ้นอย่างนั้นอีก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คุณชินจะทราบเลย ลักษณะของความติดเขาลึกแคไหน เขาไม่ได้ติด ในรูป เสียง กลิ่น รส แต่นั่น สิ่งที่ปรากฏโดยไม่รู้ เขาก็ติด เพราะฉะนั้น เรื่องละ เป็นเรื่องที่ยากจริงๆ ตรงกันข้ามจริงๆ แล้วก็ต้องสะสมด้วยควาามอาจหาญจริงๆ ถ้าไม่มีความกล้าหาญไม่มีความอาจหาญ ไม่มีความตรง ไม่มีทางเลย ที่จะเอาตัวนี้ออกไป เพราะว่าโลภะ เขาเป็นผู้สร้างสังสารวัฏฏ์ เขาจะทำให้เราติดในทุกอย่างแม้แต่ใน อรูปพรหม หรืออรูปฌาน ซึ่ง สงบแค่ไหน ไม่มีการรู้ลักษณะของสี เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือนิมิต ที่เป็นรูปเลย แต่อย่างนั้นก็ติด เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ว่าถ้าเป็นปัญญาแล้วจะตรงกันข้าม เราจะต้องคอยระลึกได้เสมอ ถ้าเป็นปัญญา แล้วต้องละ เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่ตามมาชวน หรือทำให้เราคิดถึง หรือทำให้เรายังสงสัย หรือพยายามสร้างเหตุที่จะให้เกิดอย่างนั้นอีก นั่นคือ ไม่ใช่หนทางทั้งหมด ถูกหลอก แล้วต้องไม่หวั่นไหวด้วย แล้วรู้ว่า สัมมาสติคืออย่างไร หลงลืมสติคืออย่างไร รู้คือ น้อยหรือมาก ก็คือแล้วแต่เหตุปัจจัยเป็นปกติ

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่ามีปัญญาเข้าใจอย่างไร พวกนี้ก็จะเกิดใช่ไหม พวกสติปัฏฐาน จะเกิด ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สติปัฏฐาน หมายความถึงสติที่ระลึก พร้อมด้วยความเห็นถูก ต้องเป็นหนทางถูกเพราะในพระไตรปิฎก แสดงมิจฉามรรค กับสัมมามรรค เหมือนกันเลยทั้ง ๘ เพราะฉะนั้น คนที่กำลัง มีมิจฉามรรค เขาจะไม่รู้ตัวเลยว่าเขาเป็นมิจฉามรรค แต่ถ้าเทียบแล้ว สัมมามรรคไม่ใช่ มิจฉามรรค แต่ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ ถึงจะรู้ได้ อันไหนเป็น มิจฉามรรค อันไหนเป็น สัมมามรรค

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567