ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๕๑

    สนทนาธรรม ที่ ซอยมีสุวรรณ คลองตัน พระโขนง

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ส. ขณะนี้สติเกิด ปฏิปัตติ ถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรม ทีละอย่าง ขณะนั้นจะไม่มีคุณสุรีย์ หรือไม่มีใครอยู่ที่นี่ แต่ขณะนั้นสติระลึกที่แข็ง หรือว่าที่คิด หรือว่าที่เห็น หรือที่ได้ยิน ขณะนั้นสภาพธรรม ปฏิบัติไม่ใช่เราจะทำ เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องการอบรมเจริญปัญญาแต่ข้อนี้ทุกคนลืม มีความรู้อะไรแค่ไหน จะไปไหน จะหลีกเร้นไปไหน

    ถ. นั่นสิ คือสงสัยว่าทำไมถึงจะต้องมีการ ขีดกั้นว่าต้องเข้าป่า

    ส. ไม่ใช่

    ถ. ไปปฏิบัติในป่า

    ส. พระภิกษุไม่ใช่ว่าต้องรักษาธุดงค์

    ถ. ที่ตามพระไตรปิฎก มักจะบอกว่าหลีกเร้น

    ส. ต้องเข้าใจคำว่า หลีกเร้น ด้วย หมายความว่าอะไร คุณสุรีย์เข้าป่าแล้วไม่มีปัญญา หลีกเร้นหรือเปล่า คุณสุรีย์ นั่งที่นี่แต่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรม

    ถ. นั่นคือความหมายว่า หลีกเร้น เห็นไหม คือภาษาไทย มันทำให้เราสับสนว่า หลีกเร้น คือหลีกเร้นไปเข้าป่า แล้วก็หลับตา แต่หลีกเร้นที่อาจารย์พูดนี่ หลีกเร้นจากอกุศล คือ ในขณะซึ่งสติเกิด นั่นคือหลีกเร้นแม้นว่าเราจะไปอยู่ผับ เราเกิดสติเกิดขณะนั้น คือหลีกเร้นแล้ว ไม่ใช่ว่าไปอยู่ป่า แล้วไม่มีปัญญา เป็นการหลีกเร้น ถึงแม้วันนี้ เราก็เรียนคำว่า หลีกเร้น ซึ่งได้จากปัญญาของอาจารย์ให้เข้าใจขึ้นว่า หลีกเร้นนั้นคืออะไร เพราะฉะนั้น ที่คุณวิเชียรถาม ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องไปอยู่ในป่า คือปฏิบัติธรรมไม่ใช่ นั่งอยู่ตรงไหน เหตุปัจจัยเกิด สติเกิด นั่นคือหลีกเร้น หลีกเร้นจาก อกุศลธรรมทั้งหลาย

    ส. สำคัญ ยังไม่ทันเข้าใจเรื่องสติเลย ก็ทำกันแล้ว

    ถ. ใช่ เดี๋ยวนี้เข้าป่าก็มีพระขออนุญาตหลีกเร้น จะหลีกเร้นทำไม ดิฉันก็ไม่เข้าใจ

    ส. ขอโทษ ชีวิตของ บรรพชิตกับคฤหัสถ์ ต่างกันมาก เหมือนฟ้ากับดิน หรือว่าเหมือนปอ ใหญ่ๆ หยาบๆ กับเส้นไหมที่ละเอียดบาง เพราะฉะนั้น เราต้องรู้เลยว่า เราเป็นใคร แล้วเรื่องของการภาวนา คือการอบรม มีใครจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคล เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี ในชาติเดียวบ้าง ไม่มีทาง เพราะฉะนั้น ใครจะรู้ว่าใครสะสมมาเท่าไร จากขณะนี้ที่สภาพธรรมปรากฏ ปัญญารู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏไหม ถ้าไม่รู้ก็คืออบรม ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น ไม่ใช่ไปไหน แต่ต้องให้เข้าใจ มีความเข้าใจหนทางนี้ยิ่งขึ้น เพื่อที่จะละความหวัง หรือการที่จะทำ เพราะว่าเวลานี้เราแปลผิด เราแปลภาษาไทยว่าปฏิบัติ คือทำ เพราะฉะนั้น พอปฏิบัติบุ๊ป เราทำเลย แล้วเราก็ต้องทำด้วย เป็นเราทำด้วยความเป็นตัวตน แต่ไม่รู้ว่าขณะนั้นสติ ไม่ใช่เรา แล้วสติขณะนั้น ก็ไม่เกิด เพราะว่า เป็นเราทำ คนที่จะเป็น พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ไม่ต้องบวชได้ แต่ว่าเมื่อเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่มีทางที่จะอยู่อย่างชาวบ้านต่อไป อยู่กับกิเลสทั้งวันๆ อย่างนี้ ไม่ได้ ท่านจึงได้บวช เพราะฉะนั้น เราไม่เอาชีวิตของพระมา คุณวิเชียร เจอผู้หญิงพูดกี่คำ พยายาม ใช่ไหม ท่านสอนว่าอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านคงจะมีอะไรสักอย่างที่ดีๆ น้อยลงไป น้อยลงไป ในที่สุดก็ต้องนับ นี่เรื่องอะไร เรื่องที่ว่าเรา เป็นเพศอะไร เราต้องเข้าใจเลยว่า อันนั้นพูดกับใคร ไม่อย่างนั้น เราก็สับสนหมด ชีวิตคฤหัสถ์ กับชีวิตบรรพชิต เราเป็นคฤหัสถ์แต่จะไปทำอย่างบรรพชิตทุกอย่างเลย แม้แต่เรื่องการพูดจา สำหรับคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงศีลอะไร เท่าไร ปกติศีลเท่าไร

    ถ. ศีลก็ ศีล ๕

    ส. นั่นคืปกติของคฤหัสถ์ แล้วผู้ที่จะรักษาได้สมบูรณ์คือพระโสดาบัน แค่นี้พอไหม

    ถ. บางคนก็ศีล ๘

    ส. ก็ตามอัธยาศัย ใครอยากทำก็ทำ แต่ว่าคนที่มีศีล ๘ ไม่มีปัญญา กับคนที่มีศีล ๕ เป็นพระโสดาบัน จะเป็นคนไหน เลือกได้ตามใจชอบ จะเลือกเอาไม่มีปัญญา แต่มีศีล ๘ ก็แล้วแต่ มีปัญญาเป็นพระโสดาบันศีล ๕

    ถ. หมายความว่า เราเอาเท่าที่เราพอจะทำได้ อย่างเช่นว่าแทนที่จะถือศีล ๕ เราก็ถือศีล ๘ ก็ไม่ต้องเอาถึงพระ ไม่ต้องเอาถึง ๒๒๗

    ส. ก็ตามอัธยาศัย พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ ว่าผู้ที่จะอบรมเจริญปัญญา ต้องถือศีล ๘ ไม่ได้บัญญัติเลย แต่ว่า ผู้ที่ศีล ๕ จะสมบูรณ์ ตรัสไว้ว่าอย่างนี้ ผู้ที่ศีล ๕ จะสมบูรณ์ คือพระโสดาบัน แค่ศีล ๕ แล้วเราจะไปเปลี่ยนพุทธวจนหรือ เราต้องรู้ตามความเป็นจริง แต่ละคนไม่เหมือนกัน ที่ไม่นับถือพระพุทธศาสนา แต่เขามีข้อประพฤติปฏิบัติของเขามากมายไป ไม่ใส่เสื้อผ้าก็มีจะว่าอย่างไร น้อยเสียจนกระทั่งไม่ใส่เลย น้อยยิ่งกว่า ๓ ผืน แล้วอย่างนั้น จะเป็นปัญญาหรือเปล่า เพราะว่าเราไม่ได้สนใจเรื่องปัญญา เราไปสนใจเรื่องราว แต่ถ้าเราสนใจปัญญาเรารู้เลยว่า พระพุทธศาสนา คือคำสอนให้ผู้ฟังเกิดปัญญา ปัญญารู้อะไร รู้สิ่งที่มีจริงๆ ไม่ใช่แค่บัญญัติเท่านั้น บัญญัติใครก็สอนได้ แต่ว่าสภาพธรรม จริงๆ ถ้าไม่มีการตรัสรู้ลักษณะของสภาพธรรม จะทรงแสดงสภาพธรรม ไม่ได้เลย แล้วเราไม่อบรมเจริญปัญญาที่จะค่อยๆ เข้าใจ เพราะปัญญา นี้ไม่ใช่อบรมกันวัน ๒ วัน เดือน ๒ เดือน ปี ๒ ปี ชาติ ๒ ชาติ

    มีคนหนึ่งซึ่งเขาก็คิดว่า ชีวิตของเขาที่ได้ ศึกษาธรรมแล้ว เขาอยากจะศึกษาธรรมให้มากๆ แต่ก็มีโอกาสที่เขาจะได้ ความก้าวหน้าในการงาน มากมายเลย จะเป็นหัวหน้ามีเงินเดือนเป็นแสนๆ แล้วเขาก็คิดเทียบว่าจะทำอย่างไรดี ทีแรก เขาคิดว่าเขาจะเลือกแบบ อยู่อย่างชีวิตธรรมดาๆ มักน้อยอะไรๆ ก็แล้วแต่ สารพัดอย่างที่จะคิดไป ที่จะได้ศึกษาธรรมมากๆ แต่เขาลืมว่าถึงอย่างไร การอบรมเจริญภาวนา เป็นเรื่องขัดเกลา ความไม่รู้ เป็นเรื่องการอบรมปัญญา เพราะว่า ปัญญาอย่างเดียวเท่านั้นที่จะละความไม่รู้ได้ เพราะฉะนั้น เขาจะต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า กำลังเห็นขณะนี้ เขารู้หรือเปล่าในลักษณะของสภาพธรรม ที่เขาได้ฟังมาทั้งหมด แม้แต่ลักษณะที่เป็น นามธรรม เป็นธาตุรู้ กับสิ่งที่ปรากฏ ถ้าเขายังไม่รู้ มันไม่ใช่เพียงชาติเดียวหรือแค่ชั่วชีวิตนี้ เหลือออีกกี่ปีก็แล้วแต่ ต้องเป็นเรื่องที่ว่า ต้องรู้จริงๆ

    การรู้จริงๆ จะรู้ได้ว่า การขัดเกลามากมายมหาศาล เหมือนกับผ้าที่เปื้อนอย่างมาก จับด้วยน้ำมันกับสีที่ซึมซาบไปแล้วกว่าจะค่อยๆ ซักสิ่งสกปรกนั้นออกไป ต้องใช้กาลเวลามากแค่ไหน เทียบได้ แม้แต่ลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ โลภะมีไหม หมดหรือยัง ไม่อย่างนั้น วิปัสสนาญานก็ไม่มีเป็นขั้นๆ แล้วกว่าจะถึงแต่ละขั้น แต่ละขั้นได้ ผู้นั้นต้องรู้จริงๆ ว่าเป็นเรื่องละเรื่องเดียว ถ้าตราบใดที่ยังมีความหวัง ยังมีความเป็นเรา ยังมีการจะรู้ ยังมีการที่จะบรรลุ หรืออะไร นั่นคือไม่ใช่หนทางทั้งหมด หนทางคือขณะนี้ รู้ว่า มีความไม่รู้ในสิ่งที่ปรากฏ แล้วจะรู้เมื่อสติมีการระลึก แล้วค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมขึ้น นี้เป็นเรื่องการอบรมที่นานแสนนาน แสนนาน แสนนานทีเดียว

    ชีวิตของคนที่ผ่านมาในสังสารวัฏฏ์ ตามตัวอย่างที่เราเห็นชีวิตของสาวกต่างๆ ท่านผ่านมาโดยการสะสมชีวิตหลายรูปแบบ แล้วรูปแบบสำเร็จก็คือตอนที่เป็น เสนาบดีบ้าง เป็นพระเจ้าแผ่นดินบ้าง เป็นอะไรบ้างซึ่งไม่ใช่เป็นการเลือก แต่เป็นเพราะเหตุว่าปัญญาอบรมมาแล้ว เพราะฉะนั้น คนนั้นในชาตินี้ ยังไม่สามารถที่จะรู้ ความจริง แต่ยังมีความก้าวหน้าทั้งโลก และธรรม ได้ทั้ง ๒ อย่าง เพราะบางคนเข้าใจผิด ว่า ถ้าเขาละทางโลก แล้วไปทุ่มเททางธรรม เขาจะได้มาก นั่นคือจะได้มากด้วยความเป็นเรา แต่เขาไม่รู้ว่าแท้ที่จริง กว่าจะค่อยๆ รู้ค่อยๆ ละ ค่อยๆ ขัดความไม่รู้ในทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตามปกติด้วย อย่างละเอียดยิบ ไม่ว่าสถานการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่านามธรรม รูปธรรม จะมีปัจจัยเกิดขึ้น ขณะไหน เมื่อไร อย่างไร นั่นจึงเป็นผู้รู้จริงๆ ที่สามารถ ที่จะละได้ ถ้าปลีกตัวไป แล้วคิดว่าสามารถที่จะละได้ช่วงนั้น แล้วช่วงอื่นไม่รู้ ไม่มีทางเลย แล้ว ช่วงที่ละ ก็ไม่ได้ละเพราะว่าเป็นไปด้วยความต้องการผล เพราะฉะนั้น ตัวโลภะที่แฝงอยู่ ที่ทำให้มองไม่เห็น สมุทัย ที่ทำให้ไม่ละ ที่ทำให้เนิ่นช้า จะเพิ่มขึ้นอีกสักเท่าไร ถ้าเรามุ่งไปที่ปัญญาอย่างเดียวตัดปัญหาอื่นหมด ไม่ว่าสภาพธรรมอะไรก็ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยปรากฏ แล้วแต่ว่าชีวิตของเรา จะสะสมปัจจัยในชาติหนึ่งอย่างไร เพราะว่าชีวิตของพระโพธิสัตว์ ท่านก็ไม่ได้เป็นพระภิกษุตลอด บางพระชาติเป็นพระภิกษุ บางพระชาติไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ชาตินี้เราเป็นใคร นี้คือความจริง ขณะนี้ อบรมปัญญาในขณะนี้ตามความเป็นจริง และการที่เราจะช่วยโลกได้ ช่วยคนอื่นได้ มันก็ต้องทั้ง ๒ อย่าง ถ้าทางโลก เราไม่สามารถที่จะมีความเจริญ ความก้าวหน้า เราก็จะช่วย ทางธรรมไม่ได้เหมือนกัน

    ถ. หนูกำลังสังสัยว่า ตำแหน่ง หรือว่าชื่อเสียงพวกนี้ นำมาซึ่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ ทีนี้การที่คน ติดในสิ่งที่ เหมือนสมมติขึ้นมา

    ส. เพราะฉะนั้น ติดหมด ทั้ง ๒ อย่าง ทั้งปรมัตถ ทั้งบัญญัติ ทุกวันนี้

    ถ. อย่างเราติดในรูป ในนาม

    ส. ขันธ์ ๕ เลย ถึงจะเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม ก็ยังติด

    ถ. อาจารย์ยกตัวอย่าง นามธรรม รูปธรรมก็ยังติด

    . พระโสดาบันก็ยังไม่หมดโลภะ

    ถ. พระอนาคามี ยังติดด้วย

    ส. แน่นอน

    ถ. ท่านก็ยังติดในตัวธรรม ในรูปธรรม นามธรรม

    ส. เพราะฉะนั้น เห็นโลภะไหม จะเป็นสิ่งที่จะต้องละ ถ้าไม่เห็น ไม่มีทางเลย แต่ว่าสำหรับพระโสดาบัน เพียงละความเห็นผิด

    ถ. แต่อย่างอื่นยังมี

    ส. แต่ความเห็นผิดนั้นก็ต้องเกิดร่วมกับโลภะ แล้วถ้าจะดับโลภะได้ ๔

    ถ. เรียนถามต่อไปว่า ในขณะซึ่งเป็นอรหันต์ ถ้าเป็นปุถุชน จะมีชีวิตอยู่ได้นามไหม เพราะว่าหมดโลภะ มันก็ต้องทุกอย่าง

    ส. แล้วแต่กรรม พระอรหันต์มีชีวิตอย่างปุถุชนไม่ได้แน่นอน ก็ลองคิดู ระดับขั้นของปัญญา จากความเป็นปุถุชน ซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังพระธรรมเลย กับการที่เป็นปุถุชน กัลยาณปุถุชน ได้ยินได้ฟัง เข้าใจ พอจะรู้ว่า ธรรมคืออะไร หนทางคืออะไร แต่ว่าถ้าไม่ถึงความเป็นพระโสดาบัน ความติดข้องของปุถุชน ต้องมากกว่าพระโสดาบัน แต่ทั้งๆ ที่เป็นพระโสดาบัน ก็ยังพอใจในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ยังไม่หมดเลย ก็แสดงให้เห็นถึงว่า แม้รู้อย่างนั้นก็ยังมี โลภะอย่างนี้ พอถึงพระสกทาคามี เริ่มเบาบาง พอถึงพระอนาคามีก็ไม่ได้ยินดีในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ แต่ยังมีความยินดีในขันธ์ ในภพในชาติ พอถึงเป็นพระอรหันต์ เห็นจักขุวิญญาณดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนจิตดับไปแล้ว สันตีรณจิตดับไปแล้ว โวฏฐัพพนจิตดับไปแล้ว กิริยาจิตเกิด กิริยาจิต ไม่มีแม้แต่เชื้อของกิเลสสักนิดหนึ่งก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ความต่างกันของขณะเห็น ขณะได้ยินพวกนี้ เป็นวิบากเท่านั้น ต้องเกิดตามเหตุตามปัจจัย แต่หลังจากวิบากพวกนี้ ตามวาระของจิต โวฏฐัพพนจิตดับไปแล้ว สามารถที่จะไม่มีเยื่อใยเลย หมดเลย ไม่มีกิเลสใดๆ ทั้งสิ้น ที่จะเกิด ไม่ว่าเพียงน้อยนิดสักแค่ไหนก็ไม่มี

    เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของปัญญาโดยตลอด ไม่ต้องไปคิดถึงเรื่องจะปฏิบัติ จะทำอย่างไร จะบรรลุเมื่อไร จะได้เห็นอะไร ประจักษ์การเกิดดับ เพราะนั่น เป็นเรื่องไม่รู้ แต่ อยากเห็น แล้ก็อยากจะจับแต่ถ้าเป็นคนที่เข้าใจจริงๆ ก็จะรู้ว่าไม่มีหน้าที่อื่นเลย นอกจากอบรมเจริญปัญญา ปัญญาอะไร ปัญญารู้สภาพธรรมที่ปรากฏ กว่าจะรู้ได้ก็กว่าจะรู้ได้ รู้ได้แล้วยังต้องรู้ต่อไปอีก ก็ยังต้องรู้ต่อไปอีก ตามความเป็นจริง ผู้นั้นก็จะไม่หนีไปจากสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏเลย แล้วก็รู้ว่าดับเร็วด้วย เพราะฉะนั้น แล้วแต่สติจะระลึกเมื่อไรก็ค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจจนกว่าจะหมดกิเลส แต่ต้องหมดความสงสัยในลักษณะของสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรม และรูปธรรมก่อน

    ถ. กลับมาที่กิริยาจิตอีกครั้งหนึ่ง คือกิริยาจิต อาจารย์เคยสอนว่า ลักษณะของธรรมเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ก็เลยมีความคิดว่า กิริยาจิตของพระอรหันต์กับกิริยาจิตของปุถุชนใน โวฏฐัพพนะ หรือ อาวัชชนะ เขาก็คือ กิริยาจิต ความต่างกันมันอยู่ตรงที่จิต ของจิต หรืออย่างไร

    ส. ทุกอย่าง เพราะเหตุโดยชาติก็ต่างกัน ที่ว่าไม่ได้หมายความว่าชาติ หมายความว่า โสภณกิริยา กับอโสภณกิริยา

    ถ. หมายความว่า ตัวโวฏฐัพพนะ กับ อาวัชชนะนี้ เป็นอโสภณกิริยา เพิ่งรู้วันนี้ อโสภณกิริยาก็มีหรือ

    ส. ก็ต้องเข้าใจว่าจิต จิตใดที่ไม่ประกอบด้วย โสภณเจตสิก ไม่ว่าจะเป็นจิตของใครทั้งหมด เป็นอโสภณ ต่อเมื่อใดประกอบด้วยโสภณเจตสิก จิตนั้นจึงเป็นโสภณจิต ไม่ว่าจิตของใครทั้งหมด เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ก็มีอโสภณจิต แต่ไม่มีอกุศลจิต เพราะฉะนั้น อโสภณกว้างกว่า อกุศลจิต อโสภณจิตทั้งหมดมี ๓๐ ดวง คืออุศลจิต ๑๒ กับ อเหตุกจิต ๑๘

    ถ. เรื่อง อสังขาริก ที่เมื่อสักครู่ อสังขาริก กับสสังขาริก ในที่นี้ หมายถึง เจตสิก ๕๐

    ส. ไม่ต้องเจาะจง หมายความว่าจิต เกิดร่วมกับทิฏฐิ เป็นสสังขาริก หรืออสังขาริก คือมีกำลังอ่อน หรือมีกำลังกล้า ถ้าเราเข้าใจว่าจิต เป็น สภาพรู้ เมื่อเกิดขึ้นต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ก็จบไปเลย เวทนาเป็นอะไร ทิฏฐิ เป็นอะไร สสังขาริก อสังขาริกเป็นอะไร นี่คือเรียนน้อย เข้าใจมาก คือเข้าใจว่าจิต เป็นสภาพรู้ เป็น ธาตุรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เจตสิกต้องเกิดร่วมกับจิต เพราะฉะนั้น จิตจะต่างกับเจตสิก ๕๒ เพราะว่าเจตสิก ๕๒ จะมีลักษณะของเขาเฉพาะแต่ละอย่าง คือ โลภะ ก็มีลักษณะเฉพาะตัวอย่าง ๑ โทสะก็มีลักษณะเฉพาะตัว อย่างหนึ่ง เมื่อรวมเจตสิก ๕๒ กับลักษณะตัวของจิต คือเป็นสภาพรู้เท่านั้น เพราะฉะนั้น บางแห่งกล่าวว่านามธรรม ๕๓ เพราะว่า ๑ จิต เป็นสภาพรู้ เจตสิก ๕๒ เพราะฉะนั้น เวลาที่พูดถึงนามธรรมจำนวนเท่าไร เราก็ต้องรู้ว่าขณะนั้น หมายอะไร

    ถ. สสังขาริก ในที่นี้หมายความถึงว่า มีกำลังอ่อน

    ส. สภาพจิต ที่มีกำลังอ่อน

    ถ. อสังขาริก เป็นสภาพจิตที่กำลัง

    ส. เกิดขึ้นเอง

    ถ. เกิดขึ้นเอง ทีนี้อย่างในชีวิตประจำวัน ของเรา ส่วนมากแล้ว จะเป็นแต่โลภะ ซึ่งประกอบด้วย อุเบกขาเท่านั้น ทีนี้ สสังขาริก กับ อสังขาริก ทุกวันนี้ที่เราอยู่ๆ โดยที่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม โลภะ อุเบกขา

    ส. มีหมด แต่ไม่รู้ จะรู้ เมื่อมีสติระลึก

    ถ. เรียนแล้วเข้าใจ ก็คือ เข้าใจ สภาพธรรมขณะนี้ แล้วแต่ว่าสภาพธรรมใดปรากฏ จากการเรียน แล้วคือเข้าใจอันนี้ ถึงจะช่วยเรียน

    ส. ถึงจะเป็นประโยชน์ หรือเป็นผลของการศึกษา เรียนไปจบหมดแล้วไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วจะได้อะไร

    ถ. ได้แต่ชื่อ

    ส. ข้อสำคัญที่สุด ขณะที่กำลังฟัง เราทราบหรือเปล่าว่า เรากำลัง เข้าใจเพื่อละ เป็นหนทางละ ไม่ใช่เป็นหนทางไปเอาอะไรเลย ถ้ามีความเข้าใจเกิดขึ้น เราจะละความไม่รู้ แล้วเราจะรู้ว่าปัญญารู้อะไร แล้วเราจะรู้เร่งรัดปัญญา หรือทำไม่ได้ แต่เป็นการอบรมความเข้าใจขึ้นเท่านั้น จนกว่าจะสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องละความต้องการที่จะไปทำ ความต้องการที่จะไปได้ ความต้องการที่อยากโน่น อยากนี่ เพระาว่าโลภะทั้งหมด ต้องละ เป็นเรื่องละ ยังอยู่ตราบใดก็ไม่มีทางที่จะรู้แจ้งสัจธรรมที่ ๓ ได้

    ถ. ในขณะที่เราเห็น เราลืมตาเห็น ... เราจะเห็นสิ่งต่างๆ จะเป็นปรากฏทางตา แต่ในขณะที่เราหลับตา แล้วเราไม่ได้หลับ ตรงนั้นเราจะไม่เห็นสิ่งต่างๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็เหมือนกับเห็นภาพ เป็นที่มีแสง เราก็จะเห็นเหมือนกับเป็นแสง ตรงนั้นจริงๆ แล้วเป็นรูปารมณ์หรือเปล่า ไม่เข้าใจ

    ส. ถ้ามีจักขุปสาท ต้องเห็นรูปารมณ์ คนตาบอดจะเห็นไหม

    ถ. ไม่เห็น แม้แต่หลับตา ก็เป็นรูปารมณ์

    ส. อะไรที่ปรากฏทางตา ธรรมเป็นเรื่องการประจักษ์แจ้ง เพราะฉะนั้น จะไม่เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรม

    ถ. ช่วยกรุณา ยกตัวอย่าง โลภะ ที่ประกอบด้วยความเห็นผิด และโลภะที่ไม่ประกอบด้วย ความเห็นผิด

    ส. เวลาลืมทำไม เราไม่คิด และเข้าใจว่า โลภมูลจิต ต่างหลากหลาย เป็น ๘ ชนิด คือมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เกิดร่วมดับโสมนัส เกิดร่วมกับอุเบกขา เป็นจิตที่มีกำลังอ่อน หรือว่าเป็นจิตที่มีกำลังกล้า ถ้าเราเข้าใจจริงๆ แค่นี้จบ จบจริงๆ แล้วก็เวลาที่สภาพธรรมใดปรากฏ ใช่ อันนี้คือขณะนั้นมีความเห็นผิด หรือขณะนี้ เป็นโสมนัส หรือขณะนี้ เป็นจิตที่มีกำลังกล้า เราจะเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังมี แต่ว่าแทนที่จะเป็นอย่างนั้น กลับไปนั่งหาตัวอย่างกันทั้งวันทั้งคืน เดี๋ยวตัวอย่างนี้ก็มา เดี๋ยวตัวอย่างนี้ก็มา แต่พอทิฏฐิ เกิดไม่รู้ โลภโสมนัสเกิดก็ไม่รู้ โลภอุเบกขาเวทนาเกิดก็ไม่รู้ ทำไม เราถึงไม่กลับกัน การศึกษาของเรา ให้เข้าใจว่ามี มีแน่ๆ โลกเที่ยงหรือเปล่า ตายแล้วไปไหน หรืออะไรพวกนี้ นั่นแสดงออกมาชัดเลย ให้เรา เห็นโดยที่ไม่ต้องไปนั่งคิด ว่าตัวอย่างมันคือตรงไหน เมื่อไร

    เราจะรู้เมื่อสภาพธรรม นั้นเกิดกับการที่เมื่อสภาพนั้นเกิดก็ไม่รู้ ไม่สนใจ แต่กำลังไปหาชื่อ กำลังจะเอาป้ายไปแปะ ตรงนี้ เป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นตรงนี้คืออย่างนี้ คือการเรียนของเรา ไปเรียนในลักษณะ ที่ไม่ได้รู้สภาพธรรม แต่ว่าพยายามที่จะไปหา สิ่งที่ไม่ได้ปรากฏในขณะนั้น หรือแม้ปรากฏ เช่น ขณะนี้ถ้าจะมีโลภะ รู้ไหมว่าเป็น ชนิดไหน นี่ไม่รู้แล้ว แต่ถ้าเราเข้าใจตามความเป็นจริง เรารู้เลยว่า ถ้าเมื่อไรมีความเห็นชัดๆ ออกมาอย่างนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลย แล้วใครไม่มีความเห็นอย่างนั้น แล้วใครยังมีความพอใจในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส โดยที่ไม่มีความเห็นผิด เพราะฉะนั้น ก็ต้องแยกความยินดีพอใจของพระโสดาบัน ในรูป ในเสียง กับความยินดีพอใจกับคนที่มีความเห็นผิด แต่ขณะนั้น เขาไม่ได้เห็นผิด เขาพอใจในรูปในเสียง ขณะที่รับประทานอาหารด้วยกัน คนที่มีความเห็นผิดก็มี ความเห็นถูกก็มี ถ้าเรานับถือศาสนาต่างๆ กัน ขณะนั้น ทุกคนกำลังอร่อย พอใจในรสที่กำลังปรากฏ เรื่องความเห็นไม่มีเลยในขณะนั้น

    เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเข้าใจเวลาที่มีสภาพธรรม ปรากฏให้เห็น แล้วก็รู้ แต่เราไม่สามารถที่จะไปรู้ถึงจิตของคนอื่นได้ เพียงแต่ว่าเข้าใจได้ถูกต้องว่า ขณะใดที่มีความเห็นอย่างนั้น กายของคนนั้นก็เป็นอย่างนั้น วาจาของคนนั้นก็เป็นอย่างนั้น ถ้าจบก็สบายมาก คือเราไม่ต้องไป กังวลกับสิ่งซึ่งไม่ปรากฏในขณะนั้น แต่เมื่อสิ่งนั้นมีแล้วสติระลึก ตรงนั้นสบายมากเลย คือเรารู้ตัวจริงๆ ของสภาพธรรม แต่ก่อนอื่นต้อง รู้ลักษณะที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม นี่สำคัญที่สุดเลย ยังไม่ต้องไปหาอะไรทั้งหมดเลย เพราะว่าเราย่อจากการที่จะเข้าใจว่าขณะนี้เป็นธรรม ให้เข้าใจจริงๆ จรดกระดูกว่าเป็น ธรรม เพื่อกันความต้องการ และป้องกันความเป็นเรา เข้าใจจริงๆ แล้วก็ธรรมมี ๒ อย่าง ลักษณะที่เป็นนามธรรมกับเป็นรูปธรรม

    ปัญญาของเราอยู่ตรงไหน ปัญญาของเราอยู่ที่ตรงฟังแล้ว เข้าใจ แล้วก็ไม่พอ เพราะว่านั้นเป็นเรื่องฟัง แต่ปัญญาจะต้องอยู่ตอนที่สติระลึก แล้วสามารถที่จะรู้ความต่างของ นามธรรม และรูปธรรม นี่คือการศึกษาตามลำดับ การเข้าใจตามลำดับ การก้าวไปตามลำดับ สิ่งที่เราได้ยินได้ฟังทั้งหมดจากปริยัติ เป็นเครื่องประกอบ เหมือนกับเครื่องที่จะทำให้เรา สามารถที่จะมีสิ่งที่ทำให้คลายความเป็นเรา ในขณะที่สติระลึก จากสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะสุต พหูสูตร การได้ยินได้ฟังมากหลายนัย จะทำให้เกิดการที่ เป็นสังขารขันธ์ พร้อมที่ว่าจะถึงกาลที่ จะคลาย หรือไม่คลาย ที่จะรู้หรือไม่รู้ใน ในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น คนที่ฟังน้อย สดับน้อย ไม่มีทาง เพราะว่าสติเกิดกันได้ทั้งนั้น แต่คนที่มีการฟังมาก มีการเข้าใจลึกซึ้ง เข้าใจธรรมมาก เขาสามารถที่จะเห็น ความเป็นนามธรรม หรือรูปธรรมจากการที่เขาสะสม ความเข้าใจบ่อยๆ สภาพรู้ ธาตุรู้ จะฟังอีกว่าเป็น ธาตุรู้ประเภทต่างๆ อย่างจักขุวิญญาณ เป็นธาตุเห็น เมื่อเกิดขึ้น มีหน้าที่เห็นอย่างเดียว เป็นธาตุชนิดหนึ่ง อาศัยจักขุปสาท

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567