ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๕๖

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านปาร์ควิล บางพลี จ.สมุทรปราการ

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ส. ฟังดู เหมือนกับว่าเป็นอุบาสิกาซึ่งไม่สนับสนุน ศีลมากๆ หรืออะไร ฟังเผินๆ จะเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าฟังจริงๆ เป็นการสนับสนุน ให้คนนั้น เกิดปัญญา ไม่ใช่ทำตามๆ กันไป ด้วยความอยาก เพราะเหตุว่า ถ้าใครบอกว่า นุ่งขาวห่มขาว รักษาศีล ๘ ไปกันทั้งเมือง แล้วไปทำไมก็ไม่รู้ กิเลสเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ บอกไปก็ไปกัน อย่างนั้นหรือ เป็นอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีปัญญา ไม่ได้เฉียบแหลม ไม่ได้เข้าใจพระธรรมเลย แต่กว่าการที่เราทำทุกอย่างด้วยความ มีเหตุผล ประการที่ ๑ ศีล ๘ ต้องนุ่งขาวห่มขาวหรือเปล่า การขัดเกลา จำเป็น หรือที่ต้องนุ่งขาวห่มขาว ถ้านุ่งขาวห่มขาว แล้วไม่มีกิเลสเลย หรืออย่างไร หรือว่าทั้งๆ ที่ยังมีกิเลส เต็มก็ยังอุตสาห์ นุ่งขาวห่มขาวด้วย นี้ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องเข้าใจจริงๆ ว่าธรรมสอนให้เราเกิดความเข้าใจ ไม่ใช่สอนให้เรางมงายหรือทำตามโดยไม่มีเหตุผล แล้วเรื่องของศีล เป็นเรื่องขัดเกลา จำเป็น หรือที่เราจะต้องไปประกาศ หรือไปบอกว่า หรือว่าไปทำอะไรให้เป็นเครื่องหมาย เราจะรักษาเท่าไร ก็เรื่องของเราเอง

    วิทยากร. ที่พูดมาบอกว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ส่วนมากก็ดี แต่เราต้องเข้าใจว่า คำว่า สมควรแก่ธรรมนั้น คือปฏิบัติถูกต้อง ที่อาจารย์พูดเมื่อกี้ บอกว่า การที่เราจะปฏิบัติธรรม ที่ว่าจะต้องนุ่งขาวห่มขาวเท่านั้นหรือ จึงจะปฏิบัติได้ แล้วก็คน พวกเราปฏิบัติไม่ได้หรือ ที่ถูกนั้นปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ ปฏิบัติถูกต้อง ถูกทาง เช่น เจริญสติปัฏฐาน เป็นต้น ก็เรียกว่าถูกต้อง หรือว่า สมควรแก่ธรรม ก็เหมือนอย่างว่าเราตั้งเป้าหมายเราจะไป ที่แห่งใด แห่งหนึ่งแล้วก็เดินทางไปถูกต้องแล้ว เมื่อคนถาม เราก็บอก เขาก็อาจจะพูดว่า อ๋อ นี่ถูกทางแล้ว เช่นเดียวกัน คำนี้ก็เหมือนกัน เพราะว่า ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม คือว่าถูกต้อง

    ถ. จะเรียนถามอาจารย์ การละคลาย ส่วนที่ผมผิด ก็คือในช่วงที่ผ่านมา ทำอกุศลไว้มากมาย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจตลอดเวลา มีความรู้สึกว่า โมโหจะฝ่าฟันให้อกุศลที่มีอยู่ ตั้งนาน ไม่ได้คำแนะนำที่ถูกต้อง ก็การที่จะเปลี่ยนมาก็ค่อนข้างจะรบกวนจิตใจ อยากให้ท่านอาจารย์ แนะแนวการคิด หรือการวางตัว

    ส. จริงๆ แล้ว ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด แล้วแต่ละคนจะรู้ไหมว่า เคยทำผิดมากมายมหาศาล มาแค่ไหน แค่ชาตินี้เราพอรู้ แต่ชาติก่อนๆ เราไม่มีทางจะรู้เลย จะเคยไปฆ่าใคร อาจจะฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าใคร ก็ตามแต่ แต่ก็คงลำบาก คงไม่ใช่ เพราะว่าต้องไปลงอเวจี ถ้าฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ก็เป็น อนันตริยกรรม แต่ว่าให้ทราบได้ว่าในสังสารวัฏฏ์ที่ยาวนาน ทุกคนต้องเคยทำผิด มหันต์ก็ได้มากๆ ก็ได้ แต่นั้นก็เป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว แต่ข้อสำคัญ อะไร ทำให้เราได้มีโอกาสฟังพระธรรม ต้องมีเหตุปัจจัยที่สะสมมาด้วย แล้วเมื่อได้ฟังมาแล้ว ทำไมจะต้องไปคิดถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ที่แก้อะไรอีกไม่ได้ เพราะมันหมดไปแล้ว ทำไปแล้ว ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ เราไม่สนใจ ผ่านไปแล้วก็คือผ่านไปแล้ว แต่ชีวิตที่จะอยู่ต่อไป เรามีสิทธิ์มีโอกาสที่จะทำดีที่สุดที่เราจะทำได้ เป็นโอกาสที่ว่า ถ้าเราคิดถึงบาปที่เราทำไว้แล้วมากเท่าไร เราก็ทำดีให้มากมายขึ้นเท่านั้น

    ถ. มันเกี่ยวข้องตรงเรื่องของการ สมมติว่า เราเรียนพระธรรมไปแล้ว ใกล้ๆ มีการสอนถึงเรื่อง จุติจิต อารมณ์ของ

    ส. จิตใกล้จะจุติ

    ถ. อะไรพวกนี้ ทำให้เรารบกวนว่า ขั้นตอนที่เราจะทำไป จะมีโอกาสอีกหรือเปล่า เป็นความกังวลมากกว่า

    ส. อันนี้ต้องทราบ ถ้าจะไปตกนรกก็ช่วยไม่ได้ ใครจะช่วยได้ ในเมื่อถ้ามีเหตุ แต่ถ้าเราทำดีที่สุด ดีที่สุดในที่นี้ สำคัญที่สุดคือรู้ความจริงของสภาพธรรม เพราะว่าถ้าเรายังไม่รู้ ก็มีโอกาสตกนรกไม่ชาติ ๑ ก็ชาติใด อาจจะเป็นชาติต่อไป หรือชาติโน้นๆ ก็ได้ ถ้าชาติต่อไปไม่เกิด เทวดาอยู่บนสวรรค์ตกเลย สามารถที่จะไปสู่นรกได้เลย ด้วยกรรม ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจความจริงว่า จริงๆ แล้ว ถ้าเราคิดถึง ขณิกมรณะ คือ ความตายทุกขณะ ก็ยิ่งไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผ่านไปแล้วเลย เกิดใหม่ได้ เป็น คุณวีระยุทธคนใหม่ได้ ทุกๆ ขณะเลย ขณะไหนเป็นอกุศล ก็เป็นคุณวีระยุทธ อกุศลเกิดใหม่อีก เป็นคุณวีระยุทธ ที่เป็นกุศล แล้วก็ดูว่า ถ้าเรามีความตั้งใจจริงๆ ที่จะเป็นคนดี ดีไม่มีวันจบ ไม่มีวันพอ ดีเท่าไรก็ไม่พอ ทั้งละชั่ว ทั้งประพฤติดี แล้วยังจะต้องอบรมเจริญปัญญาด้วย เราก็ทำอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เราก็มีที่พึ่ง มีที่เร้น มีที่ทำให้เราปลอดภัย เพราะว่าขณะนี้เรามีกุศลแล้ว ค่อยๆ อบรมเจริญกุศลไป พระนางมัลลิกาก็ยังตกนรกเลย ท่านได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ทำบุญมากมาย แล้วเราเป็นใครเราก็ไม่ต้องไปห่วงใย จะตกก็คือตก ช่วยไม่ได้ถ้าจะตก แต่หนทางที่จะปลอดจากตกก็คือเป็น พระโสดาบัน ซึ่งก็คือการศึกษาให้เข้าใจสภาพธรรม

    ถ. ในสมัยพุทธกาล อาจจะเป็นโชคดีของมนุษย์สมัยนั้น ที่สามารถได้ฟังพระธรรม

    ส. แล้วคุณวีระยุทธ เคยเกิด สมัยนั้นหรือเปล่า

    ถ. ผู้ที่เกิดในสมัยนั้น ได้ฟังพระธรรมใกล้ชิดกว่า พระพุทธองค์ท่านก็สามารถมีญาณ เห็นว่าท่านจะโปรดสัตว์ทางไหน ธรรมที่ท่านแสดงก็จะตรงใจกว่าสมัยนี้มนุษย์รุ่นเรา

    ส. เราคิดอย่างนั้น แต่ ๔๕ พรรษามีจารึกไว้หมด ตรง ใจใครได้ทุกคน จริง ทรงแสดงตรงครั้งนั้นตรงกับคนนั้น แต่ยังอยู่ในพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้น ก็จะตรงกับอีกหลายๆ คนได้ แล้วไม่ได้ตรงกับคนเดียว ตรงกับคนเท่าไร เพราะฉะนั้น คนเท่าไร คือ เหมือนๆ กัน

    ถ. อยากฟังตัวอย่างจากคุณย่าสงวน กรณีที่คุณย่าสงวนพิจารณาด้วยความแยบคาย สักตัวอย่าง ๒ ตัวอย่าง

    คุณย่าสงวน. ถ้าคุณย่าได้ยินเสียเด็กร้องไห้ คุณย่าไม่เคยโกรธเลย มีเมตตาไม่สบาย คุณย่าไปคอยดักตั้งแต่เช้า เอายาไปให้แต่เช้าเลย คุณย่าไม่ได้ อโยนิโสเลย

    ถ. ทีนี้ข้างบ้านผมไม่มีเด็กร้องไห้ เรื่องอื่น

    คุณย่าสงวน. จิตเป็นกุศล เมื่อไร มันก็เป็นโยนิโสมนสิการ ถ้าเป็นอกุศลเมื่อไร ก็ อโยนิโสมนสิการเท่านั้นเอง

    ถ. เช่นวันๆ หนึ่งยุ่งแต่เรื่องงานไม่สนใจ ทำมาหากินไม่ได้สนใจ ให้เวลาผ่านๆ ไป จะพิจารณาโดยความแยบคายอย่างไร

    คุณย่าสงวน. ท่านอนาถบิณฑิกะก็ค้าขาย นางวิสาขาก็ค้าขาย เมื่อไรที่มันมีโอกาสสติระลึกได้ เราก็ระลึกที่มีโอกาส อะไรปรากฏให้เราระลึก เราก็ระลึกได้ ไม่ทอดทิ้งไป เมื่อยังมีธุระอื่น คุณย่าก็เหมือนกัน ทำอย่างอื่นเรื่อยๆ

    ส. ถ้าจะโยนิโส ถูกหรือผิด

    ถ. คงจะไป จะ มันไม่ได้

    ส. ฟังเรื่องโยนิโสเพื่อจะโยนิโส หมายความว่าเราไม่ได้เข้าใจโยนิโสมนสิการ เพราะฉะนั้น ถ้ามีการเข้าใจธรรมในการที่ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา เราจะเรียนให้เข้าใจว่า ขณะใดก็ตามที่กุศลจิตเกิด ไม่ใช่เรามีหิริ แต่หิริเกิดทำหน้าที่หิริ มนสิการขณะนั้น เป็นโยนิโส กุศลจิตจึงเกิด พร้อมกันในขณะเดียวกันนั่นเอง ไม่ใช่เรา ไปทำอะไรเลย เพราะฉะนั้น ใครที่พยายามจะไปคิดจะทำ ขณะที่คิดเป็นขณะหนึ่งแล้วแต่ว่าเจตสิกอะไรจะเกิด แล้วเวลาที่กุศลจิตเกิด เขาพร้อม เจตสิกทั้งหมดเขาพร้อมเขาทำหน้าที่ ไม่ต้องมีเราไปทำอีก ถ้ามีเราไปทำอีก ก็คือว่าเราจะทำอยู่เรื่อยๆ แล้วเราคิดว่าเราทำได้ด้วย เราถึงจะทำ แต่ถ้าเรารู้ว่าทำไม่ได้ แล้วเราจะเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น ความเข้าใจอันนั้นจะละคลาย ความเป็นเราที่จะทำ ยิ่งทำให้เข้าใจสภาพธรรมเพิ่มขึ้น

    จุดประสงค์ของการเรียนเพื่อเข้าใจธรรม เพื่อที่จะไม่มีเราทำอะไร แม้แต่โยนิโสมนสิการก็เป็น มนสิการเจตสิกซึ่ง เติมคำว่า โยนิโส หรืออโยนิโส เมื่อเป็นอกุศลจิต จะเป็นโยนิโสได้อย่างไรก็ต้องเป็น อโยนิโส เมื่อเป็นกุศลจิต จะเป็นอโยนิโสได้อย่างไรก็เป็น โยนิโส ก็คือภาษาบาลีธรรมดา ที่แสดงว่า ขณะเป็นกุศลคือแยบคาย เพราะเป็นกุศล

    ถ. โยนิโสก็ต้องมีสติ

    ส. โยนิโสมนสิการ เกิดกับจิตที่เป็น กุศล ต้องมีโสภณเจตสิกครบ แต่โยสิโสไม่ใช่สติ เกิดร่วมกันได้ นี้เป็นเหตุทีเราเรียนเจตสิกทั้งหมด เพื่อที่จะได้รู้ว่า

    ถ. อบรม

    ส. อบรมก็เป็นการที่จะรู้สภาพธรรม ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณาไป ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    ถ. แยบคาย

    ส. ขณะใด เป็นกุศล ขณะนั้นไม่แยบคายไม่ได้เท่านั้นเอง ธรรมดาๆ

    ถ. มันต่างกันที่คำ ใช่ไหม

    ส. ก็ใช่ ดีกับชั่ว ก็ต่างกันอยู่แล้ว กุศลกับอกุศลก็ต่างกันอยู่แล้ว แยบคายกับไม่แยบคาย ก็ต่างกันอยู่แล้ว กลายเป็น ภาษาบาลี ก็โยนิโส อโยนิโส เท่านั้นเอง

    ถ. ท่านอาจารย์ไปบ้านหนู จำอันนี้ติดหูเลยท่านอาจารย์บอกว่ามีรูป ๒๘ รูป มีมหาภูตรูป ๔ ที่เหลือเป็นอุปาทยรูป อันนั้น จำขึ้นใจ

    ท่านอาจารย์ ได้แต่นี้ เพิ่มอีกหน่อย รูปหยาบ มีเท่าไร

    ถ. ที่เป็น อวินิพโภครูป ๘ หรือเปล่า

    ส. การพูดเรื่องรูป พูดได้หลายนัย แล้วเรื่องรูป นี้ก็หยาบกว่าเรื่องนามธรรม เพราะฉะนั้น เราจะเรียนเมื่อไร อย่างไรก็ได้ เพราะว่าไม่ใช่เจาะจงว่า ตอนนี้ฉันยังไม่ถึงปริเฉทนั้น ฉันเรียนไม่ได้ ไม่ใช่นะ แต่ว่าสภาพธรรม ที่มีจริงๆ เราสามารถที่จะเข้าใจได้ ถ้าเราเข้าใจลักษณะของรูป ว่าไม่ใช่สภาพรู้ รูปรู้อะไรไม่ได้เลย ก็กันรูปออกไปส่วน ๑ ก็จะมีรูป ๒๘ รูป อย่างที่คุณแอ๊วว่า คือเป็น มหาภูตรูป ๔ ที่เหลือก็เป็นอุปาทายรูป ๒๔ อันนี้ก็อาจจะจำเป็นเบื้องต้น ทีนี้เราจะจำอีกก็ได้ อย่างอื่นว่า เป็นรูปหยาบ กับรูปละเอียดใน ๒๘ รูป เขาจะแบ่งหลายนัย นัยนี้คือรูปหยาบ น่าคิด รูปแล้วไปว่ารูปหยาบ ควรจะเป็นอะไร อะไรบ้างรูปหยาบ นั่นเราไปนึก นึกถึงคำที่เราเคยเรียน แต่ทีนี้เราไม่ ไม่พูดแบบนั้น นัยนั้น เราจะพูดอีกอย่าง ๑ พูดอีกอย่าง ๑ ว่า มีในรูป ๒๘ รูป จะเป็นรูปหยาบเท่าไร แล้วก็ที่เหลือเป็นรูปละเอียด

    เหตุผลก็มี รูปหยาบ เป็นรูปที่ปรากฏให้รู้ได้ ถึงได้เรียกว่าหยาบ อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ เป็นรูปจริงๆ ไม่ใช่นาม แล้วก็มีจริงๆ ด้วย ก็อยู่ในขันธ์ หรืออยู่ในประเภทของรูป แล้วก็เป็นรูปที่หยาบ เพราะปรากฏ ปรากฏตลอดเวลาแสนโกฏิกัปป์ รูปนี้ปรากฏ ต่อไปรูปนี้ก็จะปรากฏ เมื่อมีจักขุปสาทกระทบกับรูปนี้ รูปนี้ก็ปรากฏ นี่ ๑ รูป รูปอื่นตามมาเลย เสียง เอาเฉพาะตัวรูป ก็เสียง ๒ แล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มีกี่รูป ๓ รูป รวมเป็น ๗ รูป ไม่ต้องไปท่องที่ไหนเลย เพียงเราเข้าใจว่า ทุกวันตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เคยขาดรูปหยาบที่จะปรากฏ แล้วเราก็ติด ติดอะไร ก็ติดในรูปหยาบๆ ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะฉะนั้น ที่เหลือมีอีกไหม รูปหยาบ นี้ได้ ๗ รูป รูปหยาบทั้งหมดมี ๑๒ รูป ที่เหลืออีก ๕ รูปยิ่งง่ายใหญ่เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่ที่มีอยู่จริงๆ แล้วที่สำคัญด้วย เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีรูป ๕ รูปนี้ โลกใดๆ ก็ไม่ปรากฏ ที่จะเป็น สี เป็นเสียง เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นอะไรต่างๆ ก็ไม่มี รูป ที่ภาษาไทยใช้คำว่า ตา หมายความถึงจักขุปสาท รูปที่มองไม่เห็นเลย แต่มี ที่เราใช้คำว่า ปสาท เพราะเหตุว่า รูปนั้น สามารถที่จะกระทบกับสีสันวัณณะ ที่ปรากฏอย่างเดียว จักขุปสาทรูปจะไปกระทบ เสียงจะไปกระทบอะไรไม่ได้ เขามีลักษณะพิเศษที่สามารถจะกระทบได้เฉพาะสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น ทางตาเท่านั้น เพราะฉะนั้น เขาเป็นรูปหยาบ เพราะว่าเรารู้ว่ามี แล้วก็เกี่ยวข้องกันอยู่ด้วย คือเวลาที่เห็นก็จะต้องเกี่ยวข้องกับตา เวลาที่ได้ยินเสียงก็จะต้องเกี่ยวข้องกับหู เวลาที่ได้กลิ่นต้องเกี่ยวข้องกับจมูก เวลาที่ลิ้มรสก็จะต้องเกี่ยวข้องกับลิ้น เวลาที่มีสิ่งใดกระทบปรากฏอ่อนหรือแข็ง เย็นร้อนก็ต้องเกี่ยวข้องกับกายปสาท เพราะฉะนั้น จบรูปหยาบ ๑๒ รูป ไม่ต้องท่อง ไม่ต้องอะไรเลย ต้องเข้าใจ แล้วมันเป็นความจริงที่พิสูจน์ได้ แล้วก็จำก็ง่าย ชีวิตประจำวันทั้งนั้นเลย กี่ภพกี่ชาติก็เท่านี้ รูปที่เป็นอารมณ์ก็ ๗ รูป แล้วก็มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย นอกจากนั้นเป็นรูปละเอียด เพราะไม่ปรากฏ

    ถ. ทางตา รูป รูปหยาบจริง เวลาที่จะศึกษา ยากพอสมควร

    ส. รู้ชื่อเป็นรูป หยาบด้วยก็เป็นชื่อ แต่ลักษณะแท้ๆ แม้ปรากฏ แต่อวิชชาไม่สามารถจะรู้ได้ ทั้งหมด เป็น ธรรมทั้งนั้น แต่อวิชชาไม่สามารถจะรู้ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องฟัง เรื่องรูปที่กำลังปรากฏ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จนกว่าจะเข้าใจ เพราะปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ ตามความเป็นจริงทั้งๆ ที่มี รูปก็กำลังปรากฏ แต่ว่าเป็นคนนั้นคนนี้ ไม่ได้ปรากฏเป็นรูปเพียง รูป ที่หลังจากนั้นก็นึกไป เหมือนกับฝันไป มีอะไรก็นึกไป แต่ความจริงก็คือนึกคิดเท่านั้นเอง จากสิ่งที่เพียงปรากฏทางตา เราอยู่ในโลกของความคิดนึกมากมายมหาศาล เรื่องราวทั้งหมดที่ผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย และก็จำไว้เป็นเรื่อง เป็นวัตถุ ที่เที่ยง จนกว่าจะรู้ความจริงว่ารูป เป็นรูป แต่ละรูปซึ่งปรากฏแต่ละทาง ชั่วขณะสั้นๆ สั้นมากที่ปรากฏ ไม่ว่าเราจะใช้คำอะไรอย่างนักวิทยาศาสตร์ หรือว่าสาขาวิชาต่างๆ จะค้นคว้า พยายามสักเท่าไร ก็เป็นเพียงสมมติบัญญัติ แต่ว่าสภาวธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม ถ้าเราพยายามศึกษาให้เข้าใจลักษณะนั้นตรง จะไม่มีคำอื่น ที่เป็นบัญญัติ ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่จะทำให้เข้าใจโดยนัย หรือแง่มุม หรือทฤษฎีอื่น แต่จะทำให้เราค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ สิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา มีจริงๆ แล้วไม่ใช่สภาพรู้ด้วย หลับตาแล้วก็ไม่ปรากฏ แล้วเวลาที่หลับตาแล้วก็ไม่มีอะไรเหลือ เราก็ต้องค่อยๆ ฟังให้เข้าใจจริงๆ ว่า สภาพธรรมปรากฏได้ทีละอย่าง แล้วก็ทีละทางด้วย แต่ว่าเร็วมาก เมื่อเร็วมาก ก็เลยไม่รู้ ก็เอามารวมกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะไม่คิดถึงในแง่ของบัญญัติโดยสาขาวิชาต่างๆ แต่ว่าพยายามเข้าใจความหมายของคำว่า รูป ไม่มีรูปร่างลักษณะปรากฏให้เห็นทางตา แต่เมื่อเกิดขึ้น ต้องเป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เช่น เสียงไม่มีใครมองเห็น กลิ่นไม่มีใครมองเห็น รสต่างๆ เวลาเรารับประทาน ลิ้มรส เราก็บอกได้ว่าหวาน หรือเค็ม แต่ไม่มีรูปร่าง หวานต้องมีรูปร่างอย่างนี้ หรือว่า เค็ม ต้องเป็นรูปร่างอย่างนั้น แต่ชิวหาวิญญาณเป็นธาตุซึ่งสามารถจะลิ้มเฉพาะรส ซึ่งรวมอยู่ในมหาภูตรูป แต่ว่ามหาภูตรูปเป็นแต่เพียงลักษณะที่อ่อนหรือแแข็ง เมื่อกระทบสัมผัสกายก็ปรากฏ แต่รสซึ่งอยู่ในมหาภูตรูป ถ้าไม่มีชิวหาปสาท ไม่มีทางที่จะลิ้มรส หรือรู้รสนั้นได้เลย เพราะฉะนั้น ก็แสดงว่าธาตุรู้ มีลักษณะต่างๆ ที่สามารถจะรู้ได้เฉพาะรูป ของตนๆ เช่น จักขุวิญญาณ จิตเห็นขณะนี้ ก็จะไม่ได้เห็นเสียง ไม่ได้เห็นกลิ่น แต่จะเห็นเฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตา อนัตตา ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีอะไร เวลานี้เราจะบอกได้อย่างไร ว่าไม่มีอะไร ทางตาก็กำลังเห็น แล้วก็บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ว่าไม่มี มี แต่สิ่งที่มีนั้นเกิดขึ้น จึงมี ไม่มีแล้วมี แล้วหามีไม่ แต่ละขณะ ก็ต้องให้รู้ความจริงว่าขณะนั้น เมื่อไม่ใช่เราต้องเป็น นามธรรมหรือเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่รู้ลักษณะของนามธรรม ไม่รู้ลักษณะของรูปธรรมจริงๆ ก็ยังมีเรา เพราะเรา ยังไม่รู้จริง เมื่อไม่ใช่เราแล้วเป็นอะไร ต้องเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ไม่ใช่ไม่มีอะไรเลย เห็นแต่ไม่รู้ ได้ยินแต่ไม่รู้ ได้กลิ่นแต่ไม่รู้ มีสภาพธรรมทั้งวันทั้งคืน ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ไม่รู้ เมื่อได้ศึกษาธรรมก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น

    ถ. ในหนังสือของท่านอาจารย์ สุจินต์ คำว่า สันดาน ในภาษาไทย มาจากคำในภาษาบาลีว่า สันตานะ หรือสันตติ ซึ่งหมายถึงการเกิดดับสืบต่อกัน จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นวิบากจิตไม่ใช่กุศลจิต และไม่ใช่อกุศลจิต จึงไม่สั่งสมสันดาน

    ส. อย่าลืมว่าปรมัตถธรรมสังเขป ไม่พอ คือสังเขป เพราะฉะนั้น ก็ต้องศึกษา ถ้ามีความสนใจในเรื่องศัพท์ในเรื่องอะไรๆ ก็ต้องให้ละเอียดขึ้น อย่างเมื่อกี้นี้ที่พูดถึงเรื่อง รูปซึ่งสืบต่อเนื่องกัน บางคนถ้าที่นั่งของเขาอุ่นๆ เวลาเขาลุกไปแล้ว คนนั้นมา ทั้งๆ ที่ตัวเขาไปแล้ว แต่ความอุ่นนั้นยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่มันจะหมดสิ้นไปทันทีได้ มันจะต้องมีการสืบต่ออยู่ชั่วระยะหนึ่ง ทางตาที่เห็นก็เหมือนกัน ถ้าเราหลับตาทันทีมันไม่ได้มืดไปเลย แม้ว่าโดยความเป็นจริง คือ วาระของการเห็น สั้นแสนสั้น เช่นเดียวกับทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายเพราะเหตุว่าต้องมีภวังค์คั่น แล้วก็มีมโนทวารวิถีจิตเกิดต่อ แต่เพราะเหตุว่า รับรู้รูป แต่ละรูปสืบต่อจากแต่ละทางมันก็เหมือนกับไม่มีอะไรที่จะไปแยกได้เลย เช่นในขณะนี้ จะมีมโนทวารวิถีคั่น มีภวังค์คั่นตลอด แต่ไม่มีใครปรากฏว่ารู้ลักษณะของภวังค์ กับลักษณะของมโนทวารวิถี ที่จะแยกว่าทางตาขณะนี้ ชั่วขณะที่เป็นปัญจทวารวิถี คือจักขุทวารวิถี แยกจากมโนทวารวิถีเป็นไปไม่ได้ ถ้าปัญญาไม่ประจักษ์แจ้ง แต่ว่าที่ทรงแสดงธรรมไว้ละเอียด คือความจริงเป็นอย่างไรทรงแสดงอย่างนั้น เวลาที่ปัญญาเกิดก็รู้ความจริงอย่างนั้น ไม่ใช่รู้อย่างอื่น เพราะฉะนั้น อย่างที่คุณเริงชัยว่าจะไปดูให้เห็น ความเกิดดับ ไม่มีทาง ไม่มีทางที่ใครเป็นตัวตนไปดูให้เห็น การเกิดดับได้ เขาอาจจะรู้สึกเหมือนกับว่าเขาได้ประจักษ์การเกิดดับ วุบไปวับมาไม่ว่าจะนั่ง จะนอน แต่ไม่ใช่ปัญญาที่รู้ ขณะที่กำลังเห็น ขณะที่กำลังได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกตามปกติ แล้วก็ตรงตามความเป็นจริง เราจะเห็นได้ในขณะนี้ ถ้าทุกคนหลับตา จะมีแสงสลัวๆ หรือบางทีเวลาที่ แสงไฟจ้าๆ อาจจะเป็นรูป ๔ เหลี่ยมหรือรูปกลม หรืออะไรก็ตามแต่ หลับแล้วยังมี สิ่งนั้นปรากฏสืบเนื่องต่อทางใจ แต่สิ่งหนึ่ง ซึ่งเราจะเข้าใจชัดเจนว่า มันคืออะไร บางคนก็อาจจะสงสัย หลับตาแล้วทำไมสีพวกนี้ไม่ปรากฏเลย แสงสว่างไม่มีเลย แต่ ยังมีอันนั้นอยู่

    เพราะฉะนั้น อันนั้น คืออะไร ที่จะทราบได้ก็คือว่า ขณะใดที่ไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีบัญญัติเป็นอารมณ์ แม้ในขณะนี้ ต้องแยกขณะจิต โดยเอาวาระของแต่ละวิถีมา เข้าใจให้ถูกต้อง ไม่อย่างนั้นเราจะให้ทฤษฎีอื่น ความคิดอื่นเข้ามาผสม ซึ่ง มันไม่สามารถจะทำให้เข้าใจธรรมได้ แต่ถ้าเราพิจารณาธรรมจริงๆ ค่อยๆ พิจารณาไป ก็จะสามารถประจักษ์ความจริงได้ แล้วก็เป็นปัญญาของเราเอง ที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วเราสามารถที่จะหาคำตอบ ด้วยตัวของเราเองด้วย ว่าขณะไหนเป็นบัญญัติ มันไม่ใช่เห็นอย่างนี้ ใช่ไหม แต่มีความจำ จากสิ่งที่ปรากฏเป็นบางส่วน เหมือนในฝัน ในความฝัน ไม่ได้เห็นอะไรเลยสักอย่างเดียว แต่เป็นเรื่อง แสดงว่าในขณะนี้เอง ไม่ต่างกับความฝัน คือ มีแสงสว่าง เราไม่ได้สนใจเลย เรานึกถึงเรื่อง เพราะฉะนั้น เราเก็บเรื่องจากแสงสว่างที่กำลังปรากฏ เป็นคนนั้น คนนี้ ชื่อนั้นชื่อนี้เป็นเรื่องหมด เหมือนเราฝัน ไม่มีสีสันสว่างอย่างนี้ ปรากฏทางตา ให้เห็นแต่ใจเรานึกเรื่อง เป็นเรื่องเป็นราวเหมือนเห็น เพราะฉะนั้น เวลานี้ก็เหมือนกันไม่ต่างกันเลย กำลังเห็น แต่ว่าไม่ได้รู้ความจริง ว่านี้เป็นเพียงขณะที่มีสิ่งหนึ่ง ที่ปรากฏทางตาแล้วเรา นึกเรื่องทันทีต่อทันทีเลย เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรมปรากฏเร็ว หมดเร็ว แต่เรื่องยังอยู่หมด จนกระทั่งถึงความฝัน ทั้งๆ ที่ไม่เห็นเลยก็เหมือนเห็น

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567