ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
ตอนที่ ๔๕๗
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านปาร์ควิล บางพลี จ.สมุทรปราการ
พ.ศ. ๒๕๔๑
ส. ปรมัตถธรรมปรากฏเร็ว หมดเร็ว แต่เรื่องยังอยู่หมด จนกระทั่งถึงความฝัน ทั้งๆ ที่ไม่เห็นเลยก็เหมือนเห็น ขณะนี้ที่กำลังนึกเป็นคนนั้นคนนี้ ขณะนั้นไมใช่เห็น แต่เหมือนเห็น ทั้งๆ ที่รูปดับแล้ว ทางตารูปที่ปรากฏดับแล้ว ขณะใดก็ตามที่ไม่มีปรมัตถเป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ตัวอย่างจะสักกี่ร้อยตัวอย่าง ความสงสัยสักเท่าไรก็ตาม คำตัดสินก็คือว่า ขณะใดที่ไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ขณะนั้นมีบัญญัติเป็นอารมณ์ เช่น ฝัน ยกตัวอย่างได้ ไม่ได้เห็นเลย แต่ทำไมเหมือนเห็น เหมือนเลย ว่าเป็นคนนั้นคนนี้ทั้งๆ ที่ไม่ได้มากระทบตา เพราะฉะนั้น ขณะนี้เหมือนอย่างนั้นคือ มีสีแถมเข้ามาปรากฏเท่านั้นเอง แต่ใจเราเอาเรื่องออกมาหมดเลย นึกคิดของเราเองทั้งหมด เพราะฉะนั้น ทั้งๆ ที่สิ่งนี้ปรากฏ ควรจะเป็นอย่างนี้ แต่คิดเป็นอีกอย่างหนึ่ง ได้ อย่างรถสีดำแท้ๆ บอกว่า เป็นรถสีขาว หลานเขย ก็ใช้รถสีดำ แล้วก็จี๊ดกับคุณดวงเดือน เขาก็บอกว่าสีขาว ๒ คน แล้วดิฉันก็บอกว่าสีดำ ลองคิดดูว่า ๒ ต่อ ๑ แล้วเราอยู่ที่นี้ เขาอยู่เชียงใหม่ แต่ว่าเขาใช้สีดำก็นาน ไม่ใช่ใช้สีขาวนาน แล้วก็มาใช้สีดำ แต่เขาใช้สีดำตอนที่เขาขับออกจากบ้านไปก็สีดำ อยู่ที่โน่นก็สีดำตลอด ถ้าไม่มีคนที่เป็นเหตุการณ์จริงๆ พิสูจน์ ก็คงจะต้องเชื่อ ๒ คนต่อ ๑ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้จริงๆ สีสันวัณณะ หรือความสว่าง เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ ปรากฏเท่านั้น แต่เราไม่ได้สนใจใน ความจริง ของสิ่งที่ปรากฏ ไปเอาเรื่องราวมาจาก สิ่งที่ปรากฏ ด้วยความจำ แล้วจะจำผิดจำถูกอย่างไรก็ เรื่องของเรา บางทีก็จำผิด แล้วก็เข้าใจว่าถูก แต่เป็นการนึกคิด เรื่องทั้งหมด คือนึกคิด
ถ. นอกจากนั้น เวลามันเปลี่ยนไปแล้ว ตัวสันตติก็จะทำให้ไม่เห็นการเปลี่ยน
ส. อย่างไรก็ตามแต่ไม่ต้องไปนึกเป็นเรื่อง จบเรื่องคิด คือ ถ้าเรื่องปรมัตถธรรมแล้ว ไม่ใช่เรื่องคิด แต่เป็นเรื่องที่จะเข้าใจขึ้น เข้าใจขึ้น การศึกษาธรรม เราอย่าไปเอาอย่างอื่นมาทับถม แล้วอย่าไปเอาอย่างอื่นมาชักจูงให้เขว ไปในแนวนั้นแนวนี้ แต่ว่า แนวอันสำคัญก็คือที่วางไว้ในพระไตรปิฎก และอรรถกถา เพราะฉะนั้น ถ้าบางคนไปอ่านหนังสือหลายๆ เล่ม ความเห็นจะเข้ามามากมายหลายอย่าง แต่ถ้าใครที่ตรงไปสู่พระไตรปิฎก และอรรถกถา เขาจะไม่สนใจอันอื่น แล้วความที่เขาจะพิจารณา จนเข้าใจจะมีมากกว่า เพราะฉะนั้น กว่าเราจะค่อยๆ เข้าใจ จนกระทั่งประจักษ์แล้วรู้เลย ว่านี่ที่ถูกคืออย่างนี้ ความจริงคืออย่างนี้ สิ่งที่ปรากฏก็เพียงปรากฏแต่ไม่สำคัญเท่ากับความคิดของเราที่ไปเอาเรื่องราวมาจากสิ่งที่ปรากฏ แล้วนี่เป็นไม่ใช่ชาติเดียว กี่ชาติแล้ว แล้วก็เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทุกๆ วันแม้ในขณะที่สติไม่เกิด หรือปัญญา ไม่ถึงขั้นที่จะรู้แจ้ง มันก็คือเอาความสำคัญเป็นเรื่องราว มาจากสิ่งที่ปรากฏทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นเสียง นิดเดียวผ่านหู เรื่องราวทั้งหมดเลย เราก็นึกคิด อย่างเรานึกคิดเรื่อง พาราณสี พระวิหารเชตวัน ถ้าเราพูดเป็นคำ เสียงนี้ สั้นนิดเดียว แต่ใจของเรามีอะไรบ้าง ถ้าเคยไปที่พระวิหารเชตวันก็จะมี พระคันธกุฏี หรือว่าประตูทางเข้า หรือว่าต้นโพธิพระอานนท์ ก็จะมีอะไรหลายอย่างที่จากเพียงเสียง เพราะฉะนั้น เวลาที่เราอ่านหนังสือ เคยคิดไหมว่าขณะนั้น เป็นการจำเสียง ตาเห็นส่วนหนึ่ง เพียงเห็น แต่ในใจของเรานึกหรือเปล่า แล้วถ้านึกเป็นคำ ถ้าไม่มีเสียงนั้น เราจะนึกคำนั้นได้ไหม เพราะฉะนั้น ความรวดเร็วของสภาพธรรม เพียงแค่ปรากฏทางตา มีความทางจำจากตัวที่เห็นเป็น เรื่องซึ่งเรื่องถ้าไม่มีเสียง ไม่มีนอกจากว่า ขณะนั้นจะนึกเป็นรูปร่าง เพราะว่าการนึกคิด นึกถึงรูปร่างก็ได้ หรือว่านึกเป็นคำก็ได้ แต่เวลาที่เราอ่านต้องเป็นคำ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้เลย แค่ตาเห็น ผ่านไปถึงกี่วาระ แล้วก็เรื่องราวเข้ามาเท่าไร เราเอาแต่เรื่องราว ในชาติหนึ่งๆ ๆ จากสิ่งที่เพียงปรากฏแว็บเดียวๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แล้วก็ทรงจำไว้มั่นคง จึงเป็นอัตตสัญญาเราตลอด กี่ภพกี่ชาติ ก็คือเรา ซึ่งความจริงก็ไม่มีเลย
ถ. ถ้าดิฉันหลับตาแล้วลืมตา จะเป็นบุษบงที่เห็นเลย นี้ถ้ากล่าวถึงว่า ถ้าเป็นสติปัฏฐานเกิด ความรู้อันนั้น บุษบงจะไม่เห็น เป็นจิต ที่เห็นจะเข้าใจเป็นอย่างนั้นได้เลย แล้วผู้นั้นรู้เอง
ส. ตัวคุณบงไม่ไหมดไปแน่นอน
ผู้ฟัง ทั้งๆ ที่สติปัฏฐานเกิด
ส. ไม่หมด หมดคือเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น ขณะใดที่กุศลจิตเกิด แล้วมีสติระลึก ขณะนั้นผู้นั้นรู้ว่า มีสติ สติเกิด สติระลึก แต่ไม่ใช่หมายความว่า ตัวคุณบงจะหายไปหมดเลย สักกายทิฏฐิ ๒๐ ไม่ใช่ ๕, ๒๐
ถ. อยากจะเรียนถาม อย่างเช่นว่า อาจารย์บอก พอเราเห็นสี เห็นบุ๊ป เราจะกลายเป็นเรื่องราวไปหมดเลย เพราะฉะนั้น สรุปแล้ว สติปัฏฐาน เราไม่มีโอกาสเกิดเลย เพราะเราจะเห็นเป็นเรื่องราวหมดเลย
ท่านอาจารย์ เวลาที่สติไม่เกิดสิ
ถ. หรือเราต้องอบรม
ส. ต้องเข้าใจ ก่อน เพราะฉะนั้น ถ้าจะไปอบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้วไม่เข้าใจอะไรเลย ทำได้อย่างไร สติจะเกิดได้อย่างไร ไม่มีทาง ไม่มีปัญญาเลย แล้วจะให้ปัญญาเจริญขึ้น ทำอย่างไร ไม่มี แล้วจะให้ เจริญขึ้นได้อย่างไร แต่ถ้ามีนิดหน่อย ค่อยๆ อบรมไป ค่อยๆ อบรมไปก็เพิ่มขึ้น
ถ. เพียงแต่เข้าใจแต่ยังไม่
ส. ความเข้าใจนี้ คือจุดเริ่มของปัญญา เพราะว่าถ้าไม่มีความเข้าใจ ปัญญาไม่มี อย่างไรๆ ก็ปัญญาก็มีไม่ได้ ถ้าไม่มีความเข้าใจ ความเข้าใจนั้นคือจุดเริ่มของปัญญา พอเข้าใจแล้วอบรม จะเป็นความรู้
ถ. ก็ต้องสะสมความเข้าใจ
ส. ตลอดหมด
ถ. ไปเรื่อยๆ แล้วก็
ส. พระพุทธศาสนา คือ คำสอนที่ทำให้อบรมเจริญปัญญา
ถ. ฟังท่านอาจารย์แล้ว รู้สึกเรานี้เกิดเป็นเรื่องราวไปหมดเลย
ส. เพราะฉะนั้น การศึกษาถึงต้องให้ถูกต้อง ตั้งจิตไว้ชอบ เพื่ออะไร แล้วเราก็จะไปตรง เราจะไม่มีทางที่ไปนึกคิดเรื่องอื่น ซึ่งมันไม่ใช่แนวคลองของธรรม แต่เราจะค่อยพิจารณาจากสิ่งที่ เราได้ฟัง แล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่าเป็นอย่างนี้ แต่ละทางๆ แต่ละทวาร ตอนที่คุณวัฒน์เกิด ปฏิสนธิจิต ขณะแรกมืดหรือสว่าง ไม่รู้ แต่ศึกษาแล้ว ควรจะมืดหรือสว่าง เมื่อจิตขณะแรกเกิด
ถ. มืด สิ
ส. มืดสนิทเลย คิดดู น่ากลัวไม่ ธาตุรู้เกิดแล้ว ขณะที่เกิด คือ ธาตุรู้เกิด ถ้าไม่ใช่ธาตุรู้เกิดก็ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต ไม่ใช่มีแต่รูปเกิด แต่มีธาตุรู้เกิดพร้อมกับรูป ซึ่งเป็นผลของกรรม เลือกไม่ได้ จะให้จิตชนิดไหนทำกิจปฏิสนธิ ต้องคิดลงไปลึกๆ นี่คือธรรม เพราะฉะนั้น เราจะไม่ไป คิดเรื่องอื่น มันเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ แต่เราฟังเพื่อรู้ความจริงว่า ที่ว่าเกิด ต้องมีจิตเกิด ต้องมีธาตุรู้เกิด จิตก็คือธาตุรู้ ทั้งๆ ที่มืดสนิท มีธาตุรู้เกิดขึ้น พร้อมกับรูปซึ่งเล็กมาก ๓ กลาป
เพราะฉะนั้น ฟังธรรม ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ไตร่ตรอง ให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเ แล้วถึงจะรู้ว่าจิต คือ นามธาตุคืออย่างไร ถ้าเราเข้าใจในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดจริงๆ แล้วเราจะรู้เลย ว่าแม้แต่อย่างนั้น ก็ทำให้เราค่อยๆ เข้าไปใกล้ ลักษณะของธาตุชนิดนี้ว่าคืออย่างนั้น เท่านั้น เป็นธาตุรู้เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ ต้องมี สิ่งที่ถูกจิตรู้ แล้วขณะนั้นมืดสนิท เป็นภวังค์ มืดไหม มืดกว่าเวลาที่เราดับไฟ เพราะว่าแม้ มโนทวารก็ไม่เกิด ปฏิสนธิจิตดับขณะเดียว สั้นมาก เพียงขณะเดียวจะสักแค่ไหน ความรวดเร็ว ต่อจากนั้น ภวังคจิตเกิด สืบต่อทันที โดยปัจจัยอะไร นี่ง่ายๆ คือไม่ต้องไปคอยที่จะเรียน เพราะว่าจิต เป็นธาตุซึ่งทันทีที่ดับก็เป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิดต่อ โดยความเป็นอนันตรปัจจัยในตัวของจิตนั้น จิตนั้นแหละเป็นอนันตรปัจจัย หมายความว่าเมื่อดับแล้ว จะทำให้สภาพจิต และเจตสิกขณะต่อไปเกิดขึ้น ซึ่งรูปไม่เป็นอนันตรปัจจัย
ถ. รูปเขาก็โตขึ้นด้วย
ส. ค่อยๆ รูปที่เกิดพร้อมปฏิสนธิจิต ยังไม่ดับเลย ในขณะที่เป็นภวังค์ เพราะว่า ต้องมีอายุเท่ากับ จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูปที่เกิดพร้อมปฏิสนธิจิต จึงดับ ตอนที่เราเกิดขณะแรก เป็นจิตที่เกิด สืบต่อจาก จุติจิตของชาติก่อน จึงชื่อว่าปฏิสนธิ จิต ในขณะนั้น ไม่มีตา ไม่มีหู ไม่มีอะไรเลย มีแต่กลุ่มของรูปที่เล็กมาก ๓ กลาป หรือ ๓ กลุ่ม ขณะนั้นไม่เห็นไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่แม้แต่คิดนึก เพราะฉะนั้น ขณะนั้น จะมืดหรือจะสว่าง อีกอย่างหนึ่งสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นธาตุ หรือเป็น รูปชนิด ๑ มีจริงๆ แล้วไม่มีอะไรในนั้นเลย เป็นแต่เพียงสีสันวัณณะ หรือแสงสว่าง หรืออะไรก็ตามที่ตา สามารถจะไปรู้สิ่งนั้น คือเห็นได้ นั่นคือรูปที่ไม่มีอะไรเลย แต่เรามีความคิดนึกเอาเรื่องต่างๆ มาจากรูปที่เราเห็น อย่างในขณะนี้ แสงสว่างก็คือความสว่าง เป็นรูปที่ปรากฏทางตา แต่ไม่เท่านั้น เพราะว่าเราไปเอาเรื่องราวต่างๆ ออกมาจากรูปหมดเลย เป็นคนนนั้นกำลังนั่ง คนนี้กำลังพูด คนนั้นกำลังทำอะไร แล้วเรา ก็จำไว้ด้วย ซึ่งความจริงรูปนั้นดับแล้ว แต่ความจำของเราที่เอามาจากรูป เอาคนมากมาย เอาต้นไม้ หรือเอาอะไร บ้านทั้งหลังมาจากรูป ไม่หมด ยังคงเก็บแล้วก็จำไว้เป็นเรื่องเป็นราว เพราะฉะนั้น เราถึงได้มีชีวิตอยู่กับสมมติสัจจะ หรือบัญญัติ ในโลกส่วนตัวของเราคือความคิดของเรา จากสิ่งที่ปรากฏทางตาทางหู แม้แต่ทางหูก็เสียงนิดเดียวที่ปรากฏ แต่เราเอาเรื่องมาแล้ว จากเสียงมากมาย เป็นคนนั้นพูด พูดว่าอะไร เป็นเรื่องราวต่างๆ
เพราะฉะนั้น เรื่องราวต่างๆ หลังจากที่สภาพปรมัตถธรรมปรากฏ สั้นแสนสั้น ทางตาแว๊ปหนึ่ง ทางหูอีกแว๊ปหนึ่ง แต่ผ่านมาถึงทางใจ โลกทางใจเก็บทุกอย่าง ที่ผ่านมา ด้วยความทรงจำ ไปเอาคนมาจากสีสันวัณณะ ไปเอาเรื่องราวต่างๆ มาจากเสียง แล้วก็ผูกไว้เต็มเลย ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้แน่นอน จึงเป็นอัตตสัญญา แล้วเราก็อยู่ในความมืด คือความไม่รู้ว่าความจริงปรมัตถธรรม เกิดแล้วดับไปหมดเลย โลกก็ไม่มี คนก็ไม่มีเราก็ไม่มี มีแต่เพียงสภาพธรรม ซึ่งเกิดดับ จนกว่าเราสามารถที่จะรู้ความจริงอย่างนี้ จึงไม่มีเรา ต้องกวาดหมดจากสิ่งที่กำลังปรากฏ หมดความสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น แล้วก็ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไปด้วย ถึงจะรู้ว่าเป็นอนัตตาจริงๆ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เรานิดๆ หน่อยๆ ก็จะไปประจักษ์การเกิดดับโดยปัญญาไม่เกิด นิดๆ หน่อยๆ ก็ทำไมสติไม่เกิดบ่อยๆ หรืออะไรอย่างนี้ นี้ก็เป็นเรื่องของความไม่รู้ แล้วก็เป็นเรื่องของความต้องการ แต่ถ้าเข้าใจ ความเข้าใจ จะละความต้องการ เพราะว่าปัญญากับโลภะ เขาตรงกันข้ามกัน ถ้าไม่มีปัญญา โลภะ เขาจะนำหน้า อยากได้แม้แต่ปัญญา แม้แต่ สติ แต่ถ้ามีปัญญาแล้ว ไม่มีการที่จะไปต้องการในสิ่งซึ่ง ไม่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
ถ. หนูสงสัยว่า รูป เกิดดับ แล้วก็เกิดดับ แล้วก็เกิดดับ มีสันตติ
ส. สืบต่อ อยู่ตลอด
ถ. ก็แสดงว่าเราเห็น รูปหลายๆ รูป
ส. เห็น แล้ว รูปนั้นก็ดับ
ถ. ดับ แต่ก็เกิดใหม่ แต่รูปใหม่มันก็ลักษณะเดิม หรือเปล่า
ส. ลักษณะเดิม ถ้าทางตา มันก็ปรากฏทางตา ก็ไม่ปรากฏทางอื่น รูปที่ดับไปแล้วไม่กลับมาอีกเลย มีปัจจัยให้รูปใหม่กิด แล้วมีปัจจัยให้เห็นใหม่เกิด ตลอดเวลา รูปก็รูปใหม่ เห็นก็เห็นใหม่
ถ. เห็นใหม่ ก็เห็นใหม่ พอเห็นใหม่แล้วก็เรื่องราว
ท่านอาจารย์ เรื่องราว ก็จำไว้หมด จำไว้หมด เพราะความจำ เขาจำรูปที่เห็นว่านี่เป็นคุณวัฒน์ เขาก็จำไว้
ถ. รูปใหม่ แต่มีลักษณะที่เหมือนเดิม ใช่ไหม
ส. ก็แล้วแต่ รูปใหม่จะเป็นอย่างไรก็ตาม เห็นดับ แล้วความจำของเรา จำเรื่องราว เพราะฉะนั้น รูปเกือบไม่มีความสำคัญ หรือความหมายอะไรเลย เท่ากับเรื่องราวที่ไปเอามาจากรูป เพราะรูปมันไม่มีอะไร มันเป็นแต่สีสันวัณณะ
ถ. ถึงจะเกิดดับอย่างไร มันก็ขึ้นมา
ส. หลังจากเห็น แล้ว
ถ. หลังจากเห็น จะเกิดกี่รูปก็ตาม
ส. เราไปเอาเรื่องทั้งหมด มาจากสิ่งที่ปรากฏทางตา
ถ. แทนที่เราจะเห็นตามปรมัตถว่า
ส. เป็น สิ่งที่ปรากฏ คือไม่รู้ว่า ที่กำลังเป็นคนเป็นสัตว์ เพราะคิด แต่ว่าคิดโดยมีเห็นด้วย ทำให้เรา เชื่อมั่นว่าสิ่งที่เราเห็นคือคนนั้นคนนี้
ถ. อะไรเป็นปัจจัยให้เราคิดตามเรื่องราวนั้นๆ ที่เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น
ส. อวิชชา ทั้งหมดจากอวิชชา
ถ. บางครั้งแทนที่เราจะได้ยินสิ่งที่ดี ตัดสินใจฟังเรืองราวที่ดี กลับไม่เอา กลับหนี กลับไปติดตามในเรื่องราวที่ไม่ดี กลับชอบ
ส. นั้นคือการสะสมของอกุศล
ถ. อย่างนี้เราใช้คำว่าการสะสม
ส. อวิชชาด้วย
ถ. ใช้ว่ากรรมได้ไหม
ส. ไม่ได้
ถ. วิบากได้ไหม
ส. ไม่ได้ ถ้าวิบากต้องหมายความถึงปฏิสนธิจิต ภวังคจิต แล้วก็เห็นได้ยินได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่งที่กระทบกาย เท่านั้นคือวิบาก
ถ. เท่านั้นคือวิบาก
ส. หลังจากนั้นแล้วไม่ใช่วิบาก คิดนึเรื่องราวต่างๆ นี้ไม่ใช่วิบาก เป็นกุศล หรืออกุศล
ถ. เป็นกุศล และ อกุศล
ส. ใช่
ถ. จะบอกว่าใครมาชักจูงก็ไม่ได้ หรือว่าเป็นการสืบต่อที่เราสั่งสมมา ในครอบครัวเรา เราเกิดมา
ส. จะอย่างไรก็ตาม เราคิดว่ามีครอบครัวของเรา แต่ตามความจริง เพราะจิตเกิด ครอบครัวของเรามีกี่คน ความคิดต่างกันก็ได้
ถ. จะเกี่ยวกับการยึดมั่น ยึดถือ หรือเปล่า อย่างรูปนี้เราก็ เรายังมีการยึดมั่นยึดถือกับขันธ์ ทั้ง ๕ อยู่
ส. อันนั้นจะให้ใช้คำว่า อุปาทานขันธ์ ถ้าเกี่ยวกับความยึดถือ จะมีคำว่าอุปาทานด้วย แต่ทีนี้ที่เป็นขันธ์ ๕ ทำไมเมื่อพูดถึงเรื่องปรมัตถธรรม สังขารธรรม สังขตธรรม แล้วยังจำแนกออกเป็นขันธ์อีก
ถ. อยากจะให้ท่านอาจารย์ช่วยขยายหน่อย
ส. เพราะเหตุว่า ถ้าพูดถึงจิต เป็นสภาพธรรม ที่เป็นสังขารธรรม มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิด แล้วเมื่อปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิด เช่นขณะนี้ ปรุงแต่งแล้วเกิด เป็นสังขตธรรม แล้วดับทันที แสดงให้เห็นว่าจิตเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าจิตในอดีตก็เป็นอย่างนี้ จิตในขณะนี้ก็เป็นอย่างนี้ จิตต่อไปก็เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น สภาพของจิต จะไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น นอกจากเป็นอย่างนี้ อยู่ในกอง หรือประเภทที่เป็นจิต วิญญาณขันธ์ เพราะฉะนั้น เพื่อยืนยันให้เห็น แม้ในอดีต นานแสนนานมาแล้วก็เป็นอย่างนี้ เป็นความจริงอย่างนี้ ความจริงต้องเป็นความจริง ถึงขณะนี้ก็กำลังเป็นอย่างนี้ ต่อไปข้างหน้านานอีกเท่าไรก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ยังเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จิตไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป จิตอยู่ในประเภท หรือกองของจิต ซึ่งเป็นจิตเท่านั้นเอง ไม่ว่าจะจิตหยาบ จิตละเอียด จิตเป็นกุศล จิตเป็นอกุศล จิตเป็นวิบาก จิตเป็นกิริยา จิตอะไรเมื่อไรก็ตาม ก็คือ จิต เป็นวิญญาณขันธ์ คือจำแนกออกมาให้เห็นความต่าง แต่ในความต่างนั้นก็ อยู่ในประเภทนี้แหละ
ถ. แล้วในทำนองเดียวกัน เจตสิก ก็มีลักษณะของเขา แล้วก็มีสภาพธรรม เป็นของเขาเอง เพราะฉะนั้น เราก็แบ่งเป็นกองๆ หนึ่ง ขึ้นมา
ส. ไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบัน เวทนา ความรู้สึก ก็จะเป็นเวทนาอย่างนี้แหละ เพราะว่าเราทุกคน สามารถที่จะรู้ความรู้สึกได้ มากกว่าจิตด้วยซ้ำไป อย่างเวลาที่เสียใจ เราจะไม่คิดถึงจิตเลย แต่จะคิดถึงความรู้สึก เพราะฉะนั้น ความรู้สึกก็เป็นสภาพธรรม ที่สามารถที่จะ รู้แล้วก็ทุกคนเข้าใจได้ แล้วความรู้สึกเสียใจวันนี้กับความเสียใจในอดีต กับความเสียใจในอนาคตข้างหน้าก็ไม่ต่างกัน หรือว่า ความดีใจความสุขวันนี้ กับความสุขในอดีตกับความสุขข้างหน้า ก็คือความสุขนั่นเอง ลักษณะของเวทนาไม่เปลี่ยน คือต้องเป็นเพียงเวทนา เพราะฉะนั้น นอกจากแสดงโดย อดีต ปัจจุบัน อนาคต ยังลักษณะต่างๆ เพิ่มเติม คือหยาบ หรือละเอียด ภายใน หรือภายนอก ใกล้ หรือไกล เลวหรือประณีต นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ให้มีความเข้าใจจริงๆ ว่าสภาพของปรมัตถธรรม นี้เป็นอย่างนี้ คือเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง ถ้ากล่าวว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แล้วเราสามารถที่จะเข้าใจลึกลงไป ถึงความเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ความเป็นเราก็ไม่มี ในเมื่อเข้าใจขึ้นว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งแล้วก็เป็นอย่างนี้แหละ จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ คือก็เป็นเวทนา
ถ. คือเหตุผล
ส. เพราะว่าโดยมาก คนจะแปลโดยศัพท์ว่า กอง ขันธ์ กองของรูป กองของเวทนา กองของสัญญา กองของสังขาร กองของวิญญาณ และก็บอกว่าที่เป็นกองเพราะว่ามีลักษณะ ๑๑ อย่าง แล้วก็แจกไปเป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่ถ้าเราเรียนแบบชื่อ เราก็ไม่เข้าใจจริงๆ ว่าเน้นอะไรตรงนี้ แต่เน้นเพื่อให้เห็นว่า ถึงอย่างไรก็คือปรมัตถธรรมนั้นๆ ซึ่งแม้อดีต ก็เป็นอย่างนี้ ปัจจุบันก็เป็นอย่างนี้ ต่อไปก็เป็นอย่างนี้ ต่อให้วิจิตรสักเท่าไรก็คืออันนี้แหละ ความสุขโสมนัสสักเท่าไร ไม่ว่า ในกามาวจรภูมิ หรือในขั้นรูปาวจรภูมิ ในขั้นโลกุตตระ เวทนาก็เป็นเวทนา เท่านั้นเอง คือจะต้องเป็นประเภทนี้ คือแยกออกมาเป็นชนิด
ถ. คือแยกออกมาเป็นชนิด แต่ชื่อเขาเปลี่ยนไป ความจริงก็คือความจริง
ส. ไม่ใช่เฉพาะชื่อ ลักษณะสภาพธรรม ที่เกิดแล้วดับ เร็วมาก นานแสนนานมาแล้ว เปลี่ยนไม่ได้ ยืนยันอีกครั้งหนึ่ง รูปต้องเป็นรูป จะเป็นอื่นไปไม่ได้เลย จิตต้องเป็นจิต เพราะฉะนั้น เป็นรูปขันธ์ เป็นวิญญาณขันธ์ไม่ว่า จะเป็นจิตเห็น ก็เป็นวิญญาณขันธ์ จิตได้ยิน ก็เป็นวิญญาณขันธ์ กุศลจิตก็เป็นวิญญาณขันธ์ โลกุตตรจิตก็เป็นวิญญาณขันธ์ เพื่อให้ความเข้าใจมั่นคง ว่าลักษณะของสภาพธรรมเป็นอย่างนี้ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็ ไม่ว่านานแสนนานในอดีต หรือนานแสนนานข้างหน้า หรือแม้ขณะนี้ก็กำลังเป็นอย่างนี้ ที่เราจะต้องเข้าใจจริงๆ คือ ธรรมเปลี่ยนไม่ได้ เป็นปรมัตถธรรม แล้วก็ลักษณะแต่ละอย่างแจกไปเป็นรูป เป็นรูปขันธ์ วิญญาณก็เป็นวิญญาณขันธ์ ส่วนเจตสิกก็ตามสิ่งที่สามารถที่จะเห็น แล้วรู้ได้ เช่น เวทนา ความรู้สึก ก็แค่ความรู้สึกเท่านั้นเอง
ถ. เรียนถามเรื่องเวทนาในอดีต เวทนาในอดีตที่ดับไปแล้ว ขณะนั้นที่เราคิดถึงเวทนาในอดีต ขณะนั้นไม่ใช่เวทนา เพียงแต่คิด
ส. เราไม่ต้องไปนั่งนึก ความเข้าใจธรรม คือให้เข้าใจจริงๆ ในความเป็นอนัตตา เป็นลำดับ เวทนาในอดีต มีไหม
ถ. มี
ส. เป็นอะไร เป็นวิญญาณได้ไหม เป็นรูปได้ไหม เป็นสัญญาได้ไหม เป็นสังขารได้ไหม
ถ. ไม่ได้
ส. ไม่ได้ คือแค่เวทนาเท่านั้นเอง ที่เกิดแล้วก็ดับ
วิทยากร.อันนี้ก็คงจะอยู่ในเรื่องของปรมัตถธรรม ๔ เท่าที่ผมเข้าใจคือว่า พระพุทธองค์ที่ท่านบัญญัติสภาพธรรม เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นสภาพอย่างนี้ ที่เป็นตัวของเขาที่เป็นแบบนี้ ในเจตสิก ๕๒ แยก เวทนา กับ สัญญา เป็นอีกขันธ์หนึ่งใช่ไหม เวทนาเป็นสภาพที่ เป็นที่ต้องการ แล้วก็เป็นที่ยึดเหนี่ยวของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ลองคิดดูว่าวันๆ หนึ่ง ตั้งแต่เช้า เราก็แสวงหาเวทนา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาก็อยากจะมีความสุข จะต้องเข้าห้องน้ำ ก็ต้องการมีความสุข ต้องทานอะไรต่างๆ ก็ต้องมีความสุข ไปสถานที่ต่างๆ แม้แต่ในห้องนี้ก็ต้องมีแอร์ เพื่อจะให้มีความสุข วันๆ เราก็แสวงหาเวทนา ความสุข เพราะฉะนั้น เวทนา เป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นที่ต้องการ ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ตรงนี้ก็สำคัญ
ส. คนที่เป็นพระอรหนัต์แล้ว เวทนาสำคัญไหม แต่ทีนี้พูดถึงสภาพของเวทนา คือ ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นของปุถุชน ของพระอริยเจ้า เวทนา มีใครต้องการโทมนัส หรือทุกขเวทนาบ้าง แม้แต่ทางกาย ถึงคนที่ดับกิเลสหมดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงมีคำว่า ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕ สำหรับพระอรหันต์แล้ว ขันธ์ใดๆ ก็ไม่เป็นอุปาทานขันธ์ สำหรับท่าน แต่สำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหนัต์ ก็ยังติดข้องอยู่แต่แม้กระนั้น ก็ยังเป็นขันธ์ ๕ อยู่นั่นแหละ ไม่ใช่พอเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ไปรวมขันธ์ทั้งหมด
ถ. ใช่ แต่ว่าปัญญาของพระอรหันต์ มองเวทนาเป็นแต่เพียงเวทนาเท่านั้น เป็นแต่เพียงสภาพธรรม ซึ่งท่านไม่ได้ติดข้อง แต่ปัญญาเราไม่ถึงตรงนั้น เพราะฉะนั้น เรายังติดข้อง การติดข้องนี้แหละทำให้จะต้องเวียนว่ายตายเกิด
ส. อันนั้นคืออุปาทาน
ถ. ใช่
ส. ที่เป็นเวทนา
ถ. อาจารย์ก็ ขยายออกไปว่า นั่นคืออุปาทานขันธ์ ซึ่งถ้าเผื่อเรามีก็คือจะต้องอยู่ในโลก ไม่รู้โลกไหน
ส. เพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้เลยว่า เวทนาสำคัญแน่นอน มีใครบ้าง ที่ไม่ปรารถนา แม้ว่าจะ ปรารถนา หรือไม่ปรารถนา ตามความเป็นจริง เวทนาต้องเกิดอยู่แล้ว แต่ทีนี้เมื่อเวทนาต้องเกิดอยู่แล้ว ไม่ใช่เพียงแต่เกิด แต่ว่าความสำคัญของเขา ก็คือว่าความรู้สึกในอารมณ์ ซึ่งจิตไม่ได้รู้สึกในอารมณ์เลย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480