ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๒๔

    สนทนาธรรม ระหว่างเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย

    พ.ศ. ๒๕๔๒


    ท่านอาจารย์ คนที่อบรมเจริญปัญญา อาจจะมีความคิดว่า รู้แล้วมาก เข้าใจว่าขณะนั้น มีความสำคัญว่ารู้แล้วมาก ได้ไหม

    ผู้ฟัง ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แทนที่ เขาจะเป็นผู้ที่ละเอียด ที่จะรู้ว่าขณะนั้นไม่พอ เขากลับบอกว่ารู้แล้วว่านี่เป็นนาม ที่เห็นเป็นนาม สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นรูป รู้แล้ว ชัดแล้ว แต่ความจริงขณะนั้น รู้จริงๆ หรือเปล่า แล้วถ้ายังมีความสำคัญตนว่า รู้แล้ว ด้วยความสำคัญตน ก็เป็นเครื่องกั้นแน่นอน ต่อเมื่อไร ขณะนั้นไม่มีความสำคัญตนเลย เพราะว่าธรรมทั้งหมดเป็นเรื่องละ ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ปัญญาจะไม่ทำให้เกิด ความสำคัญตน แต่ตัวตนจะลดน้อยลง กลายเป็นคนไม่สำคัญ จนกระทั่งในที่สุด ก็ไม่มีตัวที่จะสำคัญเลย เพราะเหตุว่าความจริงก็คือสภาพธรรม นั่นคือปัญญาจริงๆ แต่ถ้าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ ยังไม่ถึงระดับนั้น เครื่องกั้นมาแล้ว เครื่องกั้นด้วยโลภะ ก็คือว่าหวัง แล้วก็รอ เมื่อไรปัญญาจะเจริญกว่านี้ แม้นิดเดียวก็กั้นแล้ว

    เพราะเหตุว่าปัญญาจะเกิดไม่ใช่โดยหวังรอ แต่โดยสติระลึกทันที ขณะนี้สภาพธรรมกำลังปรากฏ ถ้าหวังรอว่าเดี๋ยวๆ ควรจะรู้ขึ้น หรือว่าฟังไปมากๆ ปัญญาก็จะเกิดเอง อันนั้นก็เป็นความเห็นผิด ก็มีทิฏฐิเป็นเครื่องกั้น เพราะฉะนั้น เครื่องกั้นคือตัณหา มานะ ทิฏฐิ แม้ในขณะที่กำลังเข้าใจ แล้วก็คิดว่า ขณะนั้นสติระลึก แต่ก็ยังมีเครื่องกั้น เป็นความละเอียดมาก หนทางของการที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เห็นยาก หนทางนี้ ว่าเป็นหนทางที่จะละกิเลส เพราะลึกซึ้ง ว่าต้องเป็นเรื่องละ แล้วต้องเป็นเรื่องรู้ แล้วต้องเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง ถ้ายังมีความหวังรอ เล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นเครื่องกั้นแล้ว รออะไร

    ถ้าเหตุที่จะให้ปัญญาเกิดยังไม่สมบูรณ์ ปัญญาก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น เลิกหัวง เลิกรอ เลิกคิด แต่ว่าอบรมเจริญปัญญาจนกว่าจะสมบูรณ์ นี่ไม่กั้นแล้ว แต่ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ ไม่เข้าใจอย่างนี้ก็กั้น คือแค่นี้ เดี๋ยวก็มาแล้ว คงจะเป็นวิปัสสนาญาณ เพียงแค่ระลึกนิดๆ หน่อยๆ ก็หวังรอ ซึ่งหวังรอไม่ใช่หนทางเลย หรือถ้าวิปัสสนาญาณเกิดแล้ว ก็หวังรอวิปัสสนาญาณขั้นต่อไป คงจะเป็นอย่างนี้บ่อยๆ ได้อีก หรือว่าอาจจะรู้ มากๆ กว่านี้ เพราะว่าขณะนี้ รู้แล้วขั้นนี้ เพราะฉะนั้น เรื่องของโลภะ เป็นเรื่องกั้น เพราะว่า ไม่ใช่เรื่องคิดอย่างนั้น หรือหวังอย่างนั้น แต่ต้องเป็นสติที่ระลึก แล้วก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมเพื่อละความไม่รู้ในขณะนั้น ในความสงสัย หรือแม้ในความหวังรอ ว่า ก็เป็นสภาพนามธรรมชนิดหนึ่ง ต้องเป็นผู้ที่อาจหาญ ร่าเริง ด้วยปัญญาที่คม จึงสามารถที่จะสละ ความเป็นเราออกจากสภาพธรรมทุกอย่าง ซึ่งมีปัจจัยเกิดขึ้นต่างๆ กันทุกขณะ นี่คือโลภะ นี่คือทิฏฐิ และมานะ ซึ่งเป็นเครื่องกั้น

    ผู้ฟัง ดังนั้น ตัณหา มานะ ทิฏฐิ แม้วิปัสสนาญาณเกิด ก็ยังเกิดได้ด้วย

    ท่านอาจารย์ เครื่องเนิ่นช้า ไม่ใช่เครื่องกั้น เครื่องเนิ่นช้า

    ผู้ฟัง สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มอบรมเจริญปัญญา อย่างได้ประมาณ ๒-๓ เดือน ก่อนหน้านั้นก็เพียงแต่ฟังเทปของท่านอาจารย์ แล้วก็อ่านหนังสือบ้างเล็กน้อย ฟังสนทนาธรรม ก็จะมีปัญหาหลายๆ อย่าง อย่างหนึ่ง คือ การที่ไม่ทราบศัพท์ อะไรต่างๆ คำ ทำให้การที่จะเข้าใจต่อๆ ไปมันยากขึ้น ดังนั้นสำหรับคนที่เริ่มต้นใหม่ๆ แล้วอยากฟัง ความคิดท่านอาจารย์ หรือว่าเลือกซื้อเทปอะไร ไปตามเรื่องตามราว เลือกหามาศึกษาของท่านอาจารย์ ที่เราคิดว่าชอบแล้ว ควรจะมีหนังสือ หรือตรงไหนที่จะให้เข้าใจเบื้องต้นได้บ้าง เหมาะสมหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ถ้าจะศึกษาให้เข้าใจสภาพธรรม ต้องมีวิริยะที่จะศึกษา หรืออ่านปรมัตถธรรมสังเขป ที่บอกว่ายากเพราะมีภาษาบาลีมาก แต่ถ้าอ่านจริงๆ มีคำอธิบายอยู่แล้ว ทุกคำเลย แล้วไม่ใช่เป็นเรื่องจำ แต่เป็นเรื่องเข้าใจ พอเข้าใจแล้ว จำได้ อย่างนามธรรมต้องท่องไหม รูปธรรมต้องท่องไหม จิตต้องท่องไหม เจตสิก รูป สภาพธรรม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องท่องไหม สังขารธรรม หมายความว่า ถ้าอ่านแล้วพิจารณาแล้ว เข้าใจเลย คำนี้ไม่มีปัญหา ทุกคำไม่มีปัญหาเมื่อเข้าใจ เพราะฉะนั้น ใจร้อนไม่ได้ เพียงแต่รู้ว่าจะต้องเข้าใจ

    แม้ว่าเป็นคำภาษาบาลี แต่คำอธิบายมีอยู่ จนกระทั่งในที่สุดก็เข้าใจได้ อย่างสังขาร สังขารธรรม เป็น ๒ คำรวมกัน ธรรมก็หมายความถึงสิ่งที่มีจริง

    แต่สิ่งที่มีจริง จะแบ่งอย่างไรก็ได้ จะแบ่งโดยลักษณะที่ต่างกันเป็น ๒ อย่างก็ได้ คือ สภาพธรรม ประเภท ๑ อาศัย ปัจจัยจึงเกิดขึ้น แล้วดับไป นี้ประเภท ๑ ส่วนสภาพธรรมอีกอย่าง ๑ ไม่มีปัจจัย ปรุงแต่งให้เกิด ไม่เกิดไม่ดับ เพราะว่าปรมัตถธรรม ไม่ใช่มี ๓ แต่มี ๔

    เพราะฉะนั้น แยกปรมัตถธรรม ๔ อีกนัย ๑ ก็คือ ปรมัตถธรรม ๓ คือ จิต เจตสิก รูป เป็นสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิดแล้วดับ

    แต่สภาพธรรม อีก ๑ คือนิพพาน ไม่มีปัจจัยเกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้วดับ จะแยก ๒ อีกอย่าง ๑ ก็ได้ คือปรมัตถธรรม ๔ จิต เจตสิก รูป เป็นนามธรรม ส่วนรูปเป็นรูปธรรม แยกเป็นนามรูปได้อีกอย่าง ๒ อย่าง จิตก็เป็นนามธรรม เพราะว่าไม่ใช่รูปธรรม เจตสิกก็เป็นนามธรรม เพราะไม่ใช่รูปธรรม นิพพานก็เป็นนามธรรม เพราะไม่ใช่รูปธรรม แต่แยกอีก ๒ อีกก็ได้ คือนามธรรม คือ จิต และเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่อาศัยปัจจัยปรุงแต่ง แล้วเกิด แต่ว่านิพพาน แม้เป็นนามธรรมก็ไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่สภาพรู้ ถ้าเป็นสภาพรู้ต้องเกิดจึงรู้ ถ้าไม่เกิดจะรู้ได้อย่างไร แต่เมื่อเป็นสภาพที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งไม่เกิด เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่สภาพรู้ แต่นิพพานก็เป็นปรมัตถธรรม

    แค่นี้ต้องท่องไหม ยากไหม ก็ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ เข้าใจ ก็เข้าใจได้ แต่ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ แม้ในขั้นต้น ถึงความต่างของปรมัตถธรรม ทั้ง ๔ เพราะว่าถ้าเราเพียงแต่ได้ยินชื่อแล้วก็ไม่มีความละเอียดว่าทั้ง ๔ ต่างกันอย่างไร โดยนัยไหนบ้าง ความเข้าใจของเราไม่พอ แล้วภายหลังก็จะสับสน แต่ถ้าเราเข้าใจตั้งแต่ตอนแรกทีเดียวปรมัตถธรรม มี ๔ จริง จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม หมายความถึง เป็นธรรมที่เกิด เมื่อมีปัจจัย ขณะนี้ เราอาจจะไม่รู้เลย ว่าได้ยินในขณะนี้ ต้องมีปัจจัยจึงเกิด ถ้าไม่มีปัจจัยของได้ยิน ได้ยินก็ไม่เกิด มีปัจจัยของสภาพที่รู้แข็ง สภาพรู้แข็งจึงเกิด เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่ามีจิตไปรอคอยอยู่ที่จะเกิด ที่เราคิดว่าเที่ยง แต่ความจริงทุกอย่าง เมื่อมีปัจจัยจึงเกิดแล้วก็ดับทันที ก็ยิ่งเห็นความไม่ใช่ตัวตน การที่ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ แล้วความเล็กน้อยเหลือเกินของสภาพธรรม แต่ละอย่างที่มีจริงๆ ที่เกิดดับ ซึ่งหลอกให้ดู เสมือนว่าเที่ยง แต่ความจริงเพราะการเกิดดับเร็วมาก จึงไม่เห็นว่าเกิดดับ ทั้งๆ ที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งจะต้องเข้าใจ

    คำว่า สังขารธรรม คำว่า วิสังขารธรรม หรือคำว่า สังขตธรรม อสังขตธรรม ถ้าเข้าใจคำว่า สังขารธรรม ก็เข้าใจคำว่า สังขตธรรมได้ เหมือนกัน สังขารธรรม กับ สังขตธรรม แต่ความหมายของสังขารธรรมก็คือมีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด ความหมายของสังขตธรรม เมื่อปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิด ขณะนี้ปัจจัยปรุงแต่งแล้วเกิด ขณะที่เห็นขณะใดก็คือ เกิดเพราะปัจจัยปรุงแต่งแล้วในขณะนั้น ที่ปรุงแต่งก็เกิดขึ้น ก็เป็นคำที่คล้ายคลึงกันแต่ เพิ่มควาามละเอียดขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง ว่าสังขารธรรมก็พูดทั่วไป สำหรับสภาพธรรม ซึ่งมีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด แต่ถ้าพูดถึงสังขตธรรม คือ เดี๋ยวนี้ ที่เกิดปรากฏ เพราะปัจจัยปรุงแต่งแล้ว

    ผู้ฟัง ในเรื่องขันธ์ ๕ นี้ เมื่อวานนี้ผมก็พูดไปตามพระสูตร ใน สังยุตติกนิกาย ขันธวารวรรค ใน ยมกสูตร ท่านยมกนี้มีทิฏฐิ เห็นผิด แล้วก็มีการกล่าวตู่ถึงพระพุทธพจน์ ที่ท่านยมกนี้ ถือทิฏฐิของตนว่า พระพุทธเจ้า ทรงแสดงว่า พระอรหันต์ เมื่อตายไปแล้ว เสียชีวิตไปแล้ว ก็สูญ นี้ก็ถือทิฏฐิของตน ภิกษุอื่นๆ ก็มีการพยายามจะบอก ท่านยมกเพื่อถอนทิฏฐิ นำออกก็ไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นก็ไปบอกพระสารีบุตร ก็จะแสดงธรรมให้ท่านพระยมกๆ ถือทิฏฐิว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงว่าพระอรหันต์ เมื่อตายไปแล้ว เสียชีวิต ไปแล้ว สูญ

    ท่านอาจารย์ จะเห็นได้ว่า แม้ในครั้งพุทธกาล พระผู้มีพระภาค ยังทรงพระชนม์ แล้วก็มีพระภิกษุ แต่พระภิกษุ ก็มีความเห็นต่างกัน เพราะฉะนั้น ในพวกเราสมัยนี้ ก็คงจะมีหลายคนซึ่งเมื่อได้ฟังธรรมแล้วก็อาจะจะคิดต่างกันไป แต่ว่าต้องอาศัยพระธรรม คือพระไตรปิฎก และอรรถกถา แม้แต่ท่านพระยมก ท่านก็ยังเห็นผิดไปได้

    ผู้ฟัง ถ้าตราบใดไม่หมดสักกายทิฏฐิ ก็มีโอกาสจะหลงลืมสติ มีการเห็นว่าตายแล้ว จะต้องไปเกิด เช่นที่ สาติภิกษุ ได้ฟัง ชาดก เช่นพระเวสสันดร ก็ชาดกหลาย ชาดก แล้วก็ เห็นว่าเมื่อตายไปแล้ว วิญญาณนี้ก็วิ่งไปเกิด แล้วก็พูดว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงอย่างนั้น ใน มหาสัญญสูตร แล้วก็ในอรรถกถา บอกว่า ผู้ที่พูดว่า ตายแล้วไปเกิด นี้เป็นมหาโจร ที่ทำให้มหาชนนี้ อยู่ภายนอกศาสนา นี้ก็อีกสูตร ๑ ที่ควรจะพิจารณา ในคำพูดว่าตายแล้วไปเกิดอีก

    ท่านอาจารย์ สูตรนี้ แสดงแล้วว่าพระยมก มีความเห็นผิด เมื่อใช้คำพูดอย่างนี้ท่านพระสารีบุตรก็ ทราบว่าท่านพระยมก มีความเห็นผิดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงแยกตั้งแต่ต้น ในเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร แล้วก็ถามย้อนไปย้อนมาหลายครั้ง ให้ท่านพิจารณาก่อน แล้วผลจากการพิจารณาก็ทำให้ท่านสามารถที่จะเข้าใจได้ แต่ที่คุณบุตร สาวงษ์ บอกว่า แล้วแต่อัธยาศัย ถ้าท่านผู้นั้น เข้าใจ แล้วก็ใช้ได้ แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ รู้ว่าคนนี้เห็นผิด เพราะท่านมีปัญญาที่จะเห็นว่าใครเห็นผิด ใครไม่เห็นผิด เพราะฉะนั้น คำพูดที่พูดกับแต่ละบุคคล ก็ต่างกัน ถ้าคนที่เห็นถูกแล้วก็ใช้ได้ แต่ถ้าคนที่เห็นผิดก็ต้อง อธิบายให้ชัดเจน

    ผู้ฟัง พูดถึงเรื่อง จริตๆ นี้ ก็คงจะมีการได้ยินได้ฟัง จากที่อื่นมา ว่าคนนี้มีจริตอย่างนั้นจะต้อง อบรมเจริญปัญญาอย่างนั้น ผมก็เลย ถามผู้ที่กล่าวว่า จริงๆ แล้วเราสามารถจะรู้จริตของตัวเราเองได้หรือเปล่า หรือว่าเป็นการประมาณเอาเฉยๆ ว่า คนนี้มีโลภะจริต โมหะจริต โมหะจริต อะไรต่างๆ เหล่านี้ เพราะว่าในขณะที่มันเกิด ความเปลี่ยนแปลงไปได้ อาจจะวันนี้ เป็นโลภะจริต พรุ่งนี้อาจจะเป็นโทสะจริตก็ได้ เพราะฉะนั้น มันก็ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องแน่นอนที่จะต้อง เป็นเรื่องจริตใด จริต ๑ อันนี้ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์มีความเห็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นการศึกษาธรรมถ้าเรา สามารถเข้าใจความหมายตั้งแต่ต้นว่า จริต คืออะไรมันก็ทำให้เราเข้าใจชัดขึ้น เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วดูเหมือนกับว่า เราอ่านแล้วเราเข้าใจธรรม แต่ความจริงไม่พอเลย คนที่จะรู้จักจริต หรือจะรู้จักนามรูป หรือจะรู้จักธรรม หรือจะรู้จักขันธ์ หรือจะรู้จักอายตนะ หรือปฏิจจสมุปบาท หรือ อื่นๆ ในพระไตรปิฎก ต้องเป็นคนที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน เช่น คำว่า ธรรม เราก็บอกว่าทุกอย่างเป็นธรรม เราก็เห็นเหมือนเดิม แล้วไหนเล่า ธรรม แต่ถ้าเราเข้าใจตัวธรรม เพราะเรารู้ว่าหนทางเดียวที่จะรู้จักตัวธรรม คือสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่เราฟังแล้วเข้าใจ

    ไม่ใช่ว่าใครก็จะไปทำสติปัฏฐาน เจริญวิปัสสนาโดยที่ไม่รู้หนทางเลย หนทางก็คือว่าเริ่มจากการฟังก่อน มีใครบ้างไหมที่ไม่ฟังแล้วก็รู้ว่าขณะนี้ เป็น ธรรม ไม่มีเลย แต่เพราะฟังจึงรู้ว่าขณะนี้ ทุกอย่าง ใช้คำว่าทุกอย่างไม่เว้นเลย ที่มีลักษณะจริงๆ ที่กำลังปรากฏ เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจจริงๆ สติระลึกได้ รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ที่ว่าทำไมฟังก็แล้ว อะไรก็แล้ว สติปัฏฐานก็ไม่เกิด เพราะว่าไม่พอที่จะจำได้ว่าทุกอย่างเป็นธรรม ขณะที่จับ มีแข็งปรากฏ เป็นธรรม ขณะนี้ที่เห็นเป็นธรรม ขณะที่ได้ยินเป็นธรรม ขณะที่คิดนึก เป็นธรรมแล้วจะมีขณะไหนที่ไม่ใช่ธรรม ถ้าเข้าใจจริงๆ ก็รู้ว่า ทุกขณะเป็นธรรมตรงตามที่ได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้น การศึกษา ศึกษาด้วยความ เข้าใจ เพื่อที่จะรู็จักสภาพธรรม ไม่อย่างนั้นก็จะเป็น ทัพพีที่คนหม้อแกง มีแกงตั้งมากมาย แล้วทัพพีก็ไม่รู้รสเลย ไม่ว่าจะคนแกงไหน ก็ไม่รู้รสแกงนั้น

    การศึกษาธรรม จะรู้ได้ว่าคนนั้น เข้าใจจริงๆ หรือว่าเพียงจำเรื่องราว ต้องใช้คำว่า จำเรื่องราวเท่านั้น เพราะไม่เคยรู้เลยว่าขณะนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้น บางคนก็ไปหาวิธี ไปทำสมาธิ ไปอะไรๆ หลายอย่าง โดยไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ถ้ารู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม จะไปทำวิธีไหน นอกจากมีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งไม่เคยขาดเลย ขึ้นอยู่กับเมื่อไรสติเกิด สติจึงทำหน้าที่ระลึก ถ้าสติไม่เกิด เจตสิกอื่น เช่น วิตก วิจาร ปิติ โลภะ โทสะ อโลภะ อโทสะ แม้ปัญญาเจตสิกก็ทำหน้าที่ของสติไม่ได้ แต่ละชนิดของสภาพธรรม เขาต้องทำหน้าที่ของเขาเอง เพราะฉะนั้น ถ้าเราศึกษาเข้าใจจริงๆ เก็บชาตินี้ไว้แล้วก็ไปต่อชาติหน้า ไปต่อชาติโน้น พอฟังว่าทุกอย่างเป็นธรรม เข้าใจได้เลย ไม่มีเครื่องกั้น ไม่ต้องมาทบทวนอะไรกันอีก แล้วก็ถ้ามีความเข้าใจว่า ธรรมมี ๒ อย่าง คือนามธรรม และรูปธรรม นี้คือฟังชื่อ จำชื่อ เข้าใจชื่อ ว่ารูปไม่ใช่สภาพธรรมที่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น ส่วนนามธรรมเป็นสภาพธรรมที่เมื่อเกิด ไม่มีรูปร่างใดๆ เจือปนเลย จึงเป็นนามธรรม แล้วก็เป็นธาตุซึ่งต้องรู้สิ่งหนึ่ง สิ่งใดที่กำลังปรากฏ เช่น ขณะนี้ มีสีสันวัณณะกำลังปรากฏ เพราะ ธาตุรู้ หรือนามธาตุเกิดขึ้นเห็น นี้คือ มนินทรีย์ เรายังไม่แยกเรื่องเจตสิก จะพูดเรื่องของจิตก่อน ขณะที่พูดถึงว่า เพราะมีสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เราไม่ได้บอกว่าเป็นความรู้สึก เราไม่ได้บอกว่าเป็น ความจำ เราไม่ได้บอกว่าเป็นโลภะ เราไม่ได้บอกว่าเป็นโทสะ แต่เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ซึ่ง เกิดขึ้น จึงสามารถรู้ว่าขณะนี้มีสิ่งนี้ที่กำลังปรากฏ ถ้าศึกษาอย่างนี้ เวลาฟัง เรื่องจริต หรือ เรื่องอะไร เราจะไม่คิดว่า เรามีจริตอะไร หรือเราจะต้องไปทำอะไร จะต้องไประลึกอะไร ไม่มีเลย ที่จะมีตัวตนที่พยายามไปค้นคว้า เพราะเหตุว่า ถ้า ทำอย่างนี้ก็คือคิด แต่ลักษณะแท้จริง คือนามธรรม และรูปธรรมซึ่งเคยเป็นเรา จะไม่รู้เลย เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมก็ต้อง เข้าใจละเอียดขึ้น ถึงจุดประสงค์ และก็ถึงวิธีศึกษาด้วย นามธรรมมีกี่อย่าง

    ผู้ฟัง นามธรรมมีจิต เจตสิก นิพพาน

    ท่านอาจารย์ นี่ เห็นไหม แล้วก็ ต่างกันไหม นิพพานต่างกันอย่างไร

    ผู้ฟัง ต่างกัน

    ท่านอาจารย์ คือ

    ผู้ฟัง จิตเกิดแล้วก็ดับ แล้วเจตสิกเกิดพร้อมกันแล้วก็ นิพพานไม่เกิด

    ท่านอาจารย์ นี้คือความต่างแม้แต่นามธรรมก็ต้องแบ่ง เป็น ๒ นี้คือด้วยความเข้าใจ ไม่ต้องใช่เราต้องไปนั่งจำ แต่เราต้องเข้าใจว่า ที่เป็นนามธรรมเพราะไม่ใช่รูปธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อสภาพปรมัตถธรรม มี ๔ คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน เอารูปออกไปเลย เพราะว่าสิ่งใดก็ตามที่ไม่ใช่รูป สิ่งนั้นเป็นนาม แต่นามธรรมก็ยังมี ๒ อย่าง คือนามธรรมซึ่งเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เป็นใหญ่ในการรู้นั่นคือจิต แล้วก็สภาพธรรม ทั้งหลาย จะเกิดตามลำพังไม่ได้เลย ต้องมีปัจจัย ปรุงแต่งจึงเกิด เพราะฉะนั้น จิต เขาจะเกิดมาโดดๆ ลำพังจิตไม่ได้ แล้วปัจจัยปรุงแต่งให้จิตเกิดคือเจตสิก นามธรรมอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งต้องเกิดพร้อมกัน ถ้าโดยปัจจัย ง่ายมาก เกิดพร้อมกันก็คือ สหชาตปัจจัย เราก็ได้มาตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะเรารู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายจะเกิดเองไม่ได้ ต้องมีปัจจัยปรุงแต่ง แม้จิตที่เกิดก็ต้องมีเจตสิกเป็นปัจจัยโดยเกิดพร้อมกันก็เป็นสหชาตปัจจัย เราก็เริ่มเรียนเหตุผลตั้งแต่เริ่มแรก ว่าเวลาที่มีจิตเกิด ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย โดยนัยที่ว่าต้องมีการปรุงแต่ง แล้วก็ต้องเป็นสหชาตปัจจัยด้วย เจตสิกเกิดโดยไม่มีจิตได้ไหม ไม่ได้

    เพราะฉะนั้น อะไรเป็นปัจจัยปรุงแต่งเจตสิกด้วย จิต และเจตสิกอื่นๆ ซึ่งเกิดร่วมกันโดยสหชาตปัจจัย แต่นิพพานเป็นนามธรรมซึ่งไม่เกิด ต่างกับธรรมอื่นๆ ซึ่งมีปรมัตถธรรม ๔ คือจิต เจตสิก รูป นิพพาน นิพพานอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งไม่เหมือนจิต เจตสิก รูป เพราะว่าจิต เจตสิก รูป เกิดแล้วก็ดับ แล้วก็มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดแล้วแต่ประเภทๆ ไปว่าปัจจัยอะไร ทำให้จิตประเภทไหนเกิด ส่วนนิพพานตรงกันข้ามเลย คือไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เกิดไม่ดับ เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรม มี ๔ ขณะนี้มีเท่าไร มี ๓ คือจิต เจตสิก รูป เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่ต้องพูดถึงสิ่งซึ่งไม่ปรากฏ คือ นิพพาน เพราะว่าถ้าไม่เข้าใจจิต เจตสิก รูป การเข้าใจนิพพานเป็นไปไม่ได้เลย

    ผู้ฟัง แล้วเรียนถามอีกเรื่อง คือตัวของภรณีเอง เคยไปนั่งทำสมาธิ อะไรมาหลายปี แต่ก็รู้สึกอึดอัดใจว่า เพราะตัวเองชอบเหตุ และผล มันจะมีความรู้สึกอึดอัดว่า ทำไมๆ ๆ แล้วไม่มีใครตอบปัญหาได้ ก็รู้สึกดีใจที่มาตรงนี้ ว่าตรงนี้ใช่แล้ว เราก็ยังเตาะแตะมากทีเดียว ต้องศึกษาอีกมากมาย แต่ก็อดไม่ได้ ที่จะคิดถึงสังคม เรา ไม่ได้ว่า คนอย่างภรณีเองก็อาจคงจะมีมากอยู่ คือเขาก็คงอยากจะศึกษาตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรง ตรัสรู้ เหมือนกัน แต่ว่าเขาก็ไม่ทราบว่า จะไปทางไหนเหมือนกัน เหมือนอย่างที่ภรณี เอง รู้สึก ลอส รู้สึกว่าไป เราก็คิดว่าถูก ถูกแล้วนะ เพราะว่าเรา ณ ตรงนั้นเราก็คิดว่าตรงนั้นใช่ เสร็จแล้วก็ไม่ใช่ เสียที ทำอย่างไรถึงจะช่วยคนอื่นที่หวัง ที่จะอยากที่จะศึกษาที่ คำสั่งตามที่พระพุทธเจ้า ท่านทรงสั่งสอนไว้ จะได้ไปได้ถูกทางได้ ไม่ทราบว่าจะมีทางไหม เพราะตัวเองได้กับตัวเอง แล้วรู้สึกว่าเสียเวลาหลายปีทีเดียว

    ท่านอาจารย์ คุณภรณีลองคิดถึงความจริง เพราะว่าคำถามของคุณภรณี เหมือนความฝัน คือฝันอยากจะให้ ทุกคนมีความเห็นถูก ได้พบพระธรรมที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย ชีวิตจริงๆ ถ้าเราชวนคนไปที่อื่น ง่าย แต่ชวนมาฟังพระธรรมลองคิดดู แต่ละบ้าน มีคนกี่คนแล้วคนที่ฟังพระธรรมจริงๆ เท่าไร และโดยเฉพาะเวลาที่เขา นับถือพระพุทธศาสนา เขาก็คิดว่า เขาต้องการที่จะได้อะไร จากการนับถือ เขาก็จะไปตามที่ต่างๆ โดยไม่มีเหตุผล แม้แต่ในการที่จะบวช มีเหตุผลเพียงพอไหม เพราะว่าคนในครั้งพุทธกาลได้ฟังพระธรรมแล้วเลื่อมใส แล้วรู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่า ต้องการที่จะอบรมเจริญปัญญาในเพศบรรพชิตซึ่งสะสมมาที่จะมีอัธยาศัยอย่างนั้นจริงๆ บางท่านถึงกับอดอาหาร ๗ วัน เพื่อที่จะให้พ่อแม่ยินยอมให้บวช นึกถึงความเข้าใจที่ถูกต้อง รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง แต่ยุคสมัยก็ผ่านไป เราก็จะเห็นได้ว่ายังไม่เข้าใจพระธรรม เพียงมีศรัทธา เพราะฉะนั้น ศรัทธามีมาก แต่ศรัทธาเท่านั้น ไม่ได้ศึกษาธรรมเลย ก็เหมือนกับไม่รู้จักพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าแม้ว่าจะติดตามพระองค์ไปข้างหลัง แล้วก็วางเท้าลงไปบนรอยเท้า ที่พระองค์เสด็จไป ก็ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจพระธรรม ด้วยเหตุนี้ ถ้าความจริง ไม่ใช่ความฝัน ก็คือว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะให้มีใครต่อใครมากๆ มาฟังธรรมที่ถูกต้อง มาศึกษาธรรมที่ถูกต้อง ซึ่งจากการที่คุณภรณีไปที่ต่างๆ คุณภรณีจะเห็นจำนวนได้ ว่าสำหรับที่คุณภรณีไป จำนวนเท่าไร มากมาย

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567