ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
ตอนที่ ๔๖๐
สนทนาธรรม ที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. ๒๕๔๐
ส. ที่เรานับถือกราบไหว้ในพระปัญญาคุณ โดยยังไม่ได้เรียนเลย กับเวลาที่เราเริ่มค่อยๆ เข้าใจ จะเห็นความต่างกันว่า มากมายมหาศาล จากที่เราเคยคิดว่า เพราะว่าเป็นผู้ที่ไกลจากกิเลส เป็นผู้ที่ไม่มีกิเลส แต่ว่าจะไม่มีกิเลสได้อย่างไร ถ้าเราไม่ศึกษา เราก็ไม่รู้หนทาง แล้วเราก็ไม่ทราบว่ากว่า จะดับกิเลสได้ ปัญญาจะต้องอบรมตามลำดับขั้นอย่างไร
ถ. ท่านอาจารย์กรุณาอธิบาย เรื่องการดับของรูป และนาม
ส. จริงๆ แล้วไม่ใช่สิ่งซึ่งเราจะอาศัยการเข้าห้องทดลอง เพราะว่านั่นเป็นเรื่องราวของปรมัตถธรรมเท่านั้น ไม่ว่าใครจะไปไกลนอกโลกสักเท่าไร ศึกษาวิชาการใดๆ ก็ตาม ไม่ใช่การตรัสรู้ลักษณะของ สภาพธรรม เพียงแต่ว่าเมื่อมีสิ่งหนึ่ง สิ่งใดปรากฏให้ศึกษาให้ค้นคว้า ให้เข้าใจเรื่อง ก็ใช้ความรู้อย่างนั้น มาประยุกต์ หรือมาประมวล ไม่ว่าจะเป็น ปรมาณู หรืออีเลคตรอน โปรตรอน อะตอม หรืออะไรก็ตามแต่ ที่จะมาบัญญัติว่า เซลล์ อะไรก็ตาม มีอายุเท่าไร อย่างไร
แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว ถ้าจะกล่าวถึงพอสมควรให้พิจารณา อย่างกำลังเห็นขณะนี้ กับกำลังได้ยิน พร้อมกันไหม เห็นกับได้ยิน พร้อมกันไหม นี่แสดงถึงความรวดเร็ว ว่าทางตาต้องอาศัยคนที่มีจักขุปสาทรูปเกิด เราบังคับไม่ได้ ว่าจะให้ใครตาบอดตาดี เพราะว่าจักขุปสาทรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรม เป็นสมุฏฐาน เป็นธรรมที่ก่อตั้งให้รูปนี้เกิดขึ้น แล้วก็เวลาที่มีปัจจัยพอที่จะให้มีการเห็นเกิดขึ้น การเห็นก็ต้องอาศัยจักขุปสาทรูปซึ่งอยู่ ตรงกลางตา ข้างหลังไม่มีแน่ มุมตาก็ไม่มี แต่ต้องอยู่ตรงกลางตา ปสาทรูป เป็นรูปหรือเป็นนาม นี่คือว่า ธรรมเป็นเรื่องที่ฟังครั้งแรกๆ จะเป็นอย่างนี้ ทุกคนเหมือนกันหมดเลย แต่ว่าต่อเมื่อไร ที่เรามีความเข้าใจมั่นคงขึ้นๆ ความมั่นใจของเราจะเพิ่มขึ้น ว่านามธรรม อย่าไปติดที่ชื่อ ชื่อนั้น ชื่อนี้เป็นนาม ไม่ใช่ แต่เป็นธาตุ หรือธรรมที่มีจริงซึ่งเป็นสภาพรู้ เมื่อเกิดขึ้นต้องรู้ เห็นเป็นสภาพรู้ เพราะว่าไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วไม่ใช่ตัวจักขุปสาทรูป จักขุปสาทรูป เป็นแต่เพียงรูปหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทบสี หรือแแสงสว่าง หรือสิ่งที่เราเรียกว่า สภาพที่กำลังปรากฏทางตา ในขณะนี้ ปสาทรูป ที่เป็นจักขุปสาท มีลักษณะอย่างนี้ จักขุปสาทรูป เป็นรูปที่มองเห็นได้ไหม ไม่ได้ ต้องยืนคำ วันนี้ทุกสิ่งที่ได้ยินได้ฟังแล้ว ต้องเปลี่ยนไม่ได้ ต้องเข้าใจให้ตรง และต้องยืนคำอย่างนั้น ใครจะบอกว่า ใช่คีมคีบได้ ใช้อะไรๆ ได้ ไม่ใช่ เพราะว่ารูปนี้เป็นรูปที่อยู่ตรงกลางตา สิ่งที่มองเห็นคือสีสันวัณณะเท่านั้น ซึ่งเกิดรวมกันในกลุ่มเล็กๆ ของจักขุปสาทรูป ไม่ได้มีรูปเดียว รูปแต่ละรูปซึ่ง เกิดจะมีอย่างน้อยที่สุด ๘ รูป รวมกัน เล็กเท่าไร แตกย่อย ทำลายจนมองไม่เห็น แต่เมื่อสภาพนั้น เป็น รูปธรรมที่เกิด ต้องมีรูปร่วมกันอย่างน้อยที่สุด ๘ รูป ถ้าเป็นกลุ่มของรูปที่มีจักขุปสาทรูป ต้องเพิ่มจาก ๘ เป็น ๙ แล้วต้องเพิ่มอีก ๑ รูปซึ่งเป็นชีวิตอินทริยรูป เป็นรูปซึ่งชื่อคงจะไม่คุ้นหู แต่คำว่า ชีวิต คุ้นหู อินทริย คือเป็นใหญ่ เป็นรูปที่ดำรงรักษารูปให้มีชีวิต ในขณะที่จักขุปสาทรูปเกิด เพราะฉะนั้น จักขุปสาทรูปจะมีกับคนเป็นเท่านั้น คนตายแม้ว่าจะมีลูกตา แต่ว่าจักขุปสาทรูปไม่มี เพราะเหตุว่า จักขุปสาทรูปก็เกิดดับเร็วมาก แต่ว่าเป็นรูปที่ไม่มีใครสามารถที่จะเห็นได้ ทุกอย่างโสตปสาทรูป เป็นรูปที่สามารถกระทบเสียง มองไม่เห็น แต่มี เพราะว่าเสียงปรากฏกระทบกับรูปนั้น จิตจึงเกิดขึ้นได้ยินเสียงนั้น เพราะฉะนั้น รูปอื่นทั้งหมดมองไม่เห็นเลย ถ้าเห็น หรือจะใช้คำว่า เรียกว่า โสตประสาท อย่างที่เรียกกัน หรือ จักขุประสาท ก็เป็น แต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ตัวปสาทรูป แท้ๆ จริงๆ ไม่สามารถที่จะเห็นได้
ถ. ส่วนที่คุณหมอเขา เปลี่ยนแก้วตา แล้วส่วนที่เป็น จักขุปสาทรูป เขาจะเปลี่ยนจากคนที่ตายแล้วใส่เข้าไป การเคลื่อนย้ายของจักขุปสาทรูปนี้เป็นอย่างไร
ส. เคลื่อนย้ายไม่ได้ ใครก็เคลื่อนย้ายจักขุปสาทรูปไม่ได้ รูปใดๆ ก็เคลื่อนย้ายไม่ได้ เพราะว่ารูปเกิดแล้วดับ เขาไม่ได้ย้ายจักขุปสาทรูป เพราะว่าถ้าชื่อว่า จักขุปสาทรูป ต้องทราบว่ามีกรรมอย่างเดียว เป็นสมุฏฐาน เป็นธรรมที่ก่อตั้งให้เกิดรูปนั้นขึ้น เพราะว่าถ้าพูดถึงรูป เป็นสภาพธรรมที่เกิด ต้องมีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิด หรือว่ามีธรรมที่ก่อตั้งให้รูปนั้นเกิด ซึ่งมี ๔ สมุฏฐาน แยกกันเป็นแต่ละสมุฏฐาน คือว่าบางรูปเกิดขึ้นเพราะกรรม เป็นสมุฏฐาน บางรูปเกิดขึ้นเพราะจิต เป็นสมุฏฐาน บางรูปเกิดขึ้นเพราะอุตุความเย็นความร้อน เป็นสมุฏฐาน บางรูปเกิดขึ้นเพราะอาหาร ที่เรารับประทานทุกวันเป็นสมุฏฐาน รูปแต่ละรูปเป็นแต่ละกลุ่ม ถ้ารูปกลุ่มนี้เกิดจากกรรมไม่เจือปนกับกลุ่มอื่น ซึ่งเกิดจากจิต ซึ่งเกิดจากอุตุ ซึ่งเกิดจากอาหาร ไม่เจือปนกัน แต่เกิดด้วยกัน ใกล้เคียงกัน รวมกันได้ แต่ว่า แยกเป็นแต่ละกลุ่ม เพราะฉะนั้น ที่ร่างกายของเรามีรูปครบ คือรูปที่เกิดจากกรรมก็มี รูปที่เกิดจากจิตก็มี รูปที่เกิดจากอุตุก็มี รูปที่เกิดจากอาหารก็มี คละเคล้ากันหมด จนกระทั่งแยกไม่ได้
เพราะฉะนั้น เวลาที่เราพูดถึงความพิการ ของตา อาจจะเพราะโรคภัยไข้เจ็บ หรือว่าอย่างไรก็ตาม แต่จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงตัวจักขุปสาทรูป ต้องเพราะกรรมอย่างเดียวเป็นสมุฏฐาน ถ้าบุคคลนั้นมีกรรมที่ไม่ทำให้จักขุปสาทารูปเกิด ตาบอดทันที เพราะขณะนี้รูปกำลังเกิดดับ วันนี้ตาดี กรรมเป็นปัจจัยให้จักขุปสาทรูปเกิด แต่วันไหนตาบอด คือกรรมไม่เป็นปัจจัยให้จักขุปสาทรูปเกิด ขึ้นอยู่กับกรรม ส่วนวิธีการรักษาไม่มีใคร จะเอากรรมของเขาไปทำให้จักขุปสาทของใครเกิด แต่ว่าอาศัยอุตุได้ รูปซึ่งเกิดจากอุตุที่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น การผ่าตัด หรือการเปลี่ยนแก้วตา ดวงตาอะไรๆ ก็ตาม จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่สำเร็จทุกราย แล้วแต่กรรมว่า จะเป็นปัจจัยพอที่จะให้ จักขุปสาาทรูปเกิดเพราะกรรมหรือไม่ ถ้าคนนั้นมีกรรมที่จะให้จักขุปสาทรูปเกิด ก็เป็นไปได้ แต่ถึงแม้ว่าจะผ่าตัดทำทุกอย่างแล้ว แต่ว่าไม่มีกรรมที่ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด ก็ไม่สำเร็จ
ถ. จักขุปสาทที่ไม่สามารถที่จะเห็นได้ชัด เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ สสัมภารจักขุ ไหม
ส. ถ้าพูดถึงปรมัตถธรรม เราจะพูดตรง อย่างจักขุปสาทรูป เป็นรูปที่สามารถกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ว่าใครจะบอดสี หรือว่าใครจะเห็นชัด เห็นไม่ชัดโดยวัย โดยอายุ โดยความเจ็บป่วย โดยความเจ็บไข้ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเรพูดถึงปรมัตถธรรม คือมีจักขุปสาทรูปเกิดหรือเปล่า ส่วนสำคัญที่สุด คือที่จะเห็นได้ แต่ส่วนที่จะเห็น ดีไม่ดีก็แล้วแต่ส่วนอื่นประกอบ แต่ยังเห็น หรือไม่เห็น
ถ. ที่ว่าไม่เห็นเลย แล้วก็เคยที่เป็น เขาจะไม่เห็นเลย ขณะนั้นจักขุปสาท ไม่ได้ว่าไม่เกิด
ส. เราสามารถจะรู้ได้หรือเปล่า เท่านั้นเอง ว่าใครมีจักขุปสาทรูป หรือไม่มีจักขุปสาทรูป เพราะเหตุว่า ถึงมีจักขุปสาทรูป แต่เราหลับ ไม่ต้องป่วยไข้ เพียงหลับ ไม่มีปัจจัยพอที่จะให้การเห็นเกิด การเห็นก็ไม่เกิด
ถ. สรุปว่า พอ เราเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา มากระทบ จักขุปสาทรูปก็จะเกิด
ส. ไม่ใช่ จักขุปสาทรูปต้องเกิดก่อน ถึงจะกระทบได้ ถ้าไม่เกิดก็ไม่มีทางที่จะไปกระทบกับสิ่งที่ปรากฏทางตา เมื่อกี้จิตก็เกิดดับแสนเร็ว ตอนนี้ก็ยังแบ่งจิต ๑ ขณะออกเป็น ๓ ขณะย่อย แสดงให้เห็นว่า ที่กล่าวถึง ๓ ขณะย่อย ต้องมีประโยชน์ ที่จะทำให้เราเข้าใจความต่าง ของการเกิดขึ้นของรูปแต่ละประเภท ว่ารูปบางประเภทเกิดพร้อมกับ อุปาทขณะของจิต รูปบางประเภทเกิดในฐีติขณะของจิต รูปบางประเภทเกิดทั้ง ๓ อนุขณะเลย เช่นรูปที่เกิดจากกรรม จะเกิดพร้อมในขณะอุปาท ฐิติ ภังค ของจิต นี่ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด ค่อยๆ ฟังไป แต่ว่าสิ่งที่ได้ฟังเก็บไว้ แล้วก็ไปต่อข้างหน้า จะได้ไม่ลืม ที่ตัว ลองคิดดูว่า รูปอะไรบ้างที่เกิดจากกรรม รูปร่างหน้าตา ก็ถูก คือว่าตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า พอกล่าวถึงตอนปฏิสนธิ ที่เกิด จะมีกลุ่มของรูปที่เกิดพร้อมปฏิสนธิจิต ถ้าได้ยินคำว่า ปฏิสนธิจิต หมายความว่า จิตขณะแรกที่ทำกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน เพราะฉะนั้น ทุกคนจะมีจิต ๑ ขณะแรก สืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อนทันที ไม่มีระหว่างคั่นเลย
ถ. ขอท่านอาจารย์ชี้แจง ความเป็นอนัตตา
ส. ที่จริงในพระสูตร มีคำอุปมาที่ไพเราะ อยากสนับสนุนให้ทุกกคนอ่านพระไตรปิฎกเอง ในส่วนที่เป็นพระวินัย หรือเป็นพระสูตร หรือเป็นพระอภิธรรม นี่ก็คงจะยากหน่อย พระอภิธรรมต้องเรียนก่อน คือต้องฟัง เรื่องราวของปรมัตถธรรมเข้าใจแล้ว จึงจะอ่านพระอภิธรรมได้ แต่ก็ต้องอ่านอย่างใช้ วิริยะ อุตสาหะ พิจารณาจริงๆ ถึงจะเข้าใจความละเอียดล้ำลึก ของธรรมที่ทรงแสดงไว้โดยนัยของพระอภิธรรม แต่ว่าโดย นัยของพระสูตร ก็มี เช่น โลภะ ที่กล่าวไว้ในพระสูตร จริงๆ แล้วก็คือ อภิธรรม ไม่ได้ต่างกันเลยเพียงแค่ว่ามีเรื่องราว ประกอบว่าสภาพธรรมนี้ ชื่อ อนาถบิณฑิกะ สภาพธรรมนั้น ชื่อ ท่านพระสารีบุตร แล้วถ้าไม่ใช้ชื่อเลย ก็ไม่มีทางจะรู้เลย ว่าหมายความถึงสภาพธรรมใด เพราะฉะนั้น ให้เข้าใจว่า จริงๆ แล้วมีสภาพธรรม แต่ต้องอาศัยชื่อ เพื่อให้ไปเรียกให้เข้าใจสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้น ที่บอกว่าคน ถ้าไม่มีสภาพธรรมใด คือไม่มีนามธรรม ไม่มีรูปธรรมเกิดเลย หาคนสิอยู่ตรงไหน ในห้องนี้ ตรงไหนก็มีคน ถ้าไม่มีนามธรรมกับรูปธรรม แต่ที่ใดมีนามธรรม และรูปธรรม เราเรียกได้ว่านี่เป็นคน รูปร่างอย่างนี้ นั่นรูปร่างอย่างนั้นเป็นสุนัข นั่นรูปร่างอย่างนั้นเป็นนก แล้วก็ยังมีชื่ออีก นกก็มีหลายชนิด ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ชื่อ แยกออกไป ให้รู้ว่านก ชนิดไหน ในชนิดเดียวกันย่อมมีนกหลายตัว ก็ยังต้องใช้ชื่อ นี้ก็แสดงให้เห็นว่าที่เราอยู่ในโลกของสมมติบัญญัติ เพราะเหตุว่ามีสภาพธรรมจริงๆ แต่ไม่รู้ความจริงว่า เป็นเพียงสภาพธรรม แต่ละชนิด ซึ่งเกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับไป ก็หลงติดที่ชื่อ แล้วก็ยึดมั่นว่ามีจริงๆ เพราะว่าถ้าจะถามใคร คนมีไหม ก็ต้องตอบว่ามี นกมีไหม ก็ต้องตอบว่ามี มีโดยสมมติบัญญติ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม หานกไม่มี คนก็ไม่มีอะไรก็ไม่มีทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น สภาพที่มีจริงๆ คือปรมัตถธรรม ซึ่งแม้ว่าไม่เรียกชื่อ สภาพนั้นก็เป็นอย่างนั้น เป็นจริงอย่างนั้น ตอนนี้พอจะเห็นจริงไหมว่า จริงๆ แล้วคนเป็นคำสมมติเรียกสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ที่มีรูปร่างอย่างนี้ ถ้าไม่ใช่รูปร่างอย่างนี้ ก็เปลี่ยนเป็นชื่อสัตว์ประเภทต่างๆ อย่างจิตโดยเหตุผล เมื่อเกิดขึ้นเป็นสภาพรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ จะมีแต่สภาพรู้ แล้วไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ เป็นไปได้ไหม ไม่ได้ ถูกต้องใช่ไหม เมื่อมีสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ถูกรู้ ภาษาบาลีใช้คำว่า อารัมมาณะ หรือ อาลัมพานะ บางแห่งอาจจะไปเจือคำว่า อาลัมพานะ แล้วบางที่ก็เป็น อารัมมาณะ แต่ส่วนมากเราจะใช้เพียงคำว่า อารมณ์ หรือ อารัมมาณะในภาษาไทย แต่ว่าความหมายต่างกันที่ว่า เราไปถือเอาปลายเหตุ อย่างวันนี้ตื่นขึ้นมา เห็นสิ่งที่ดีๆ ทั้งหมดเลย เสียงก็หน้าฟัง กลิ่นก็หอม รสก็อร่อย จิตใจก็สบาย เราก็เลยบอกว่าอารมณ์ดี คล้ายๆ กับว่าจิตใจของเรา ไม่เดือดร้อนสบาย แต่ความจริงที่จิตใจ จะไม่เดือดร้อน หรือสบายได้ เพราะสิ่งที่ปรากฏกับจิตเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเราเห็นสิ่งที่ไม่ดี ใครบ้างที่จะไม่ขุ่นใจ ฝุ่นกองโตๆ ขยะกองใหญ่ๆ แล้วจิตใจของเราก็จะแช่มชื่นเบิกบานก็ยังคงจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ความขุ่นเคืองแม้เล็กน้อยนิดเดียว ก็ชื่อว่าโทสะ หรือปฏิฆะ ที่กระทบจิต ที่ทำให้มีความรู้สึกเปลี่ยนจากปกติเป็นความขุ่นเคือง หรือเป็นความไม่พอใจ แต่ให้ทราบว่าอารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ สิ่งใดที่ได้ยินได้ฟัง ทั้งหมดไม่เปลี่ยน ไม่ว่าจะไปเจอในพระสุตตันปิฎก หรือ พระอภิธรรมปิฎก หรือหนังสือเล่มหนึ่ง เล่มใดก็ตาม อารมณ์ หรือ อารัมมาณะ หมายความถึง สิ่งที่จิตรู้ สิ่งที่จิตกำลังรู้ สิ่งที่จิตเกิดขึ้นรู้ในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ขณะนี้ทางตา สิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น เป็นอารมณ์ หรืออารัมมาณะ หรืออาลัมพานะ ในภาษาบาลีของจิตเห็น เพราะว่าจิตต้องเห็นแน่ สิ่งนี้จึงได้ปรากฏ ถ้าจิตไม่เห็นสีสันวัณณะต่างๆ ปรากฏไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น มีธาตุรู้หรือมีสภาพรูป ซึ่งเราใช้คำว่า จิต โดยที่เรารู้ว่ามีอยู่กับเราตลอดเวลา คือทุกคนมีจิต แต่ว่าจิตอยู่ที่ไหน จิตทำอะไร ถ้าเราไม่รู้จักจิตโดยละเอียด จิตเป็นสภาพที่เกิดขึ้น แล้วรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เราก็ไม่สามารถจะบอกได้ว่า ขณะนี้จิต คือ ขณะเห็น กำลังเห็นเป็นจิต พระธรรมสามารถที่จะให้คำตอบ หรือ อธิบาย ข้อสงสัยใดๆ ได้ หรือความไม่รู้ใดๆ ได้ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่ใช่การประจักษ์แจ้งสภาพธรรม เพียงถามเรื่องจิต ใครจะตอบได้โดยละเอียด ว่าขณะที่กำลังเห็น คือจิตประเภท ๑ ซึ่งทุกคนเกิดมาแล้ว มีจิตเพียงคนละ ๑ ขณะ จะมีจิตพร้อมกัน ๒ ขณะไม่ได้ ถ้า ๒ ขณะคือ ๒ คน ๓ ขณะคือ ๓ คน เพราะฉะนั้น แต่ละคน คือ หนึ่งขณะจิต ซึ่งอาศัยเหตุปัจจัย เกิดขึ้นแล้วดับ อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น ที่มีความรู้สึกเหมือนกับว่าเรา ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เคยลืมเลยว่าเป็นเรา เราที่กำลังเห็น เราที่กำลังได้ยิน เราที่กำลังคิดนึก เรากำลังเป็นสุข เป็นทุกข์ต่างๆ แท้ที่จริงแล้วก็คือสภาพจิต แต่ละขณะ แต่ละประเภท เกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็ว แล้วก็มีเจตสิกต่างๆ ที่เกิดร่วม ทำให้จิตต่างประเภท แล้วก็มีความจำ ในทุกๆ ขณะที่ผ่านมา โดยที่ว่า เราอาจจะคิดว่า ทำไมเราจำไม่ได้ แต่ความจริง สัญญาเจตสิก หรือเจตสิกที่จำ ภาษาบาลีใช้คำว่า สัญญา มีหน้าที่จำเปลี่ยนลักษณะไม่ได้ ไม่ใช่มีหน้าที่คิด เพราะฉะนั้น เวลาจำ ส่วนจำก็จำไป ส่วนจะคิดก็คิดไป ไม่คิดเรื่องที่จำเรื่องนี้ แต่ไปคิดเรื่องที่จำ เรื่องอื่นก็ได้ แต่ว่าสภาพธรรมใดเป็นอย่างไรก็ไม่เปลี่ยน คือว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ขณะนี้ที่เรากำลังเห็น จากการที่ฟังเผินๆ ว่ามีจิต ก็จะได้ทราบขึ้น ว่าขณะนี้ เป็นจิตที่กำลังทำหน้าที่ ของการเห็น จึงได้รู้ว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาอย่างนี้ คือกำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏ แล้วสิ่งที่ปรากฏเป็นอารมณ์ หรืออารัมมาณะ คือสิ่งที่จิตกำลังเห็น เสียงในป่ามีไหม เสียงในครัวมีไหม เสียงที่บ้านเวลานี้มีไหม ที่บ้านของทุกคนจะมีเสียงไหม มี ได้ยินหรือเปล่า ไม่ได้ยิน แต่เสียงเป็นเสียง เปลี่ยนเสียงไม่ได้ แต่เสียงใดที่จิตไม่ได้ยิน เสียงนั้นไม่ใช่อารมณ์ หรืออารัมมาณะ เพราะฉะนั้น เสียง ภาษาบาลี ใช้คำว่า สัทธะ แต่เสียงที่จิตกำลังได้ยิน เป็น สัทธารมณ์ เป็นคำรวมของคำว่า สัทธะ กับ อารัมมาณะ หมายความว่า ขณะนั้นถ้าใช้คำว่า สัทธารมณ์ ต้องหมายความถึง เสียงที่กำลังปรากฏกับจิตได้ยิน เสียงที่จิตได้ยินเมื่อกี้นี้ ดับไหม ดับไปแล้ว เสียงใหม่ ที่กำลังได้ยิน เป็นเสียงใหม่ที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับอีกแล้ว เพราะฉะนั้น ขณะใดที่จิตกำลังได้ยินเท่านั้น เสียงนั้นจึงเป็นสัทธารมณ์ เพราะฉะนั้น จิตก็ดับ อารมณ์ก็ดับ อยู่ตลอดเวลา อีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่าจิต เป็นสภาพธรรม หรือจะใช้คำว่า ธาตุ ธา-ตุ ธ.ธง สระ อา ต.เต่าสระ อุ หมายความถึงสิ่งซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะไปสร้างขึ้นมา หรือว่าไปเปลี่ยนแปลงไปแก้ไขได้ ธาตุชนิดใด เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จิตเป็นธาตุซึ่งมีเหตุปัจจัย ทำให้เกิดแล้วดับก็จริง แต่การดับของจิตขณะก่อน เป็นปัจจัยที่จะให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ไม่มีทางเลย ที่ใครจะไปทำลายไม่ให้จิตเกิด ในเมื่อมีเหตุปัจจัย แม้จิตจะดับ แต่จิตก็เกิดสืบต่อกัน ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียว หลายแสนชาติมาแล้ว หรือใช้คำว่า แสนโกฎิกัป ทำให้แต่ละคนที่อยู่ที่นี่ มีอุปนิสัยการสะสมของจิต ของเจตสิกต่างกัน ทำให้บางคนสามารถที่จะเรียนวิชาการบางอย่างได้เร็ว ถ้าเป็นนักดนตรี เขาก็อาจจะมีอายุเพียงนิดหน่อย หรือว่านักคำนวณ แต่ว่าความสามารถ ของเขามาก เพราะเหตุว่าการเกิดดับของจิตสะสมสืบต่อ สภาพของธาตุซึ่งเป็นจิต หรือจะใช้คำว่า มโน มนัส มนินทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้ เป็นสภาพที่เมื่อเกิด ตัวจิตนั่นเอง เป็นปัจจัยชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อดับไปก็จะทำให้จิตขณะต่อไป เกิดสืบต่อโดยไม่มีอะไรคั่นเลย สภาพของปัจจัยอันนี้ ชื่อว่า อนันตรปัจจัย หมายความว่า ไม่มีระหว่างคั่น
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ศึกษาธรรม ก็สงสัยกันหนักหนาว่า คนที่ตายแล้วไปไหน จะเกิดอีกหรือยัง หรือว่าจะต้องรอ อยู่ที่ไหนสักแห่งหนึ่ง คอยเวลาที่จะเกิด แล้วก็บางคนก็อาจจะใช้ศัพท์ซึ่งได้ยินได้ฟัง แต่ยังไม่เข้าใจความหมายจริงๆ ก็คือเป็น สัมภเวสี ล่องลอย ไปตามละครโทรศัทน์ หรืออะไร อย่างนี้ แต่ว่าเมื่อศึกษาแล้ว ก็จะทราบได้เลยว่า จิตในขณะนี้เอง เกิดแล้วดับ ฉันใด จุติจิต คือขณะสุดท้าย ที่เกิดแล้วดับก็เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อทันทีไม่มีระหว่างคั่น เพราะฉะนั้น เราในชาติก่อน ตายอย่างไรก็ไม่ทราบ เป็นใครที่ไหนก็ไม่ทราบ มีพ่อแม่พี่น้องที่เขายังห่วงถึง ถ้าเขาอายุสัก ๙๐, ๘๐ เขาก็ยังคิดถึงเราอยู่ก็ได้ แต่เราก็ไม่มีการที่จะไปทราบได้เลย แต่ว่าขณะนี้ก็มีการเกิดของจิต สืบต่อตลอดเวลาจนถึงขณะสุดท้าย ซึ่งเมื่อขณะจิตสุดท้ายดับ ที่เราเรียกว่าตาย ก็เป็นปัจจัยให้จิตของชาติต่อไป ทำกิจสืบต่อ เป็นปฏิสนธิจิต
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480