ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
ตอนที่ ๔๖๒
สนทนาธรรม ที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. ๒๕๔๐
ท่านอาจารย์ เวลานี้มีเอกัคคตาเจตสิกไหม มี เพราะต้องเกิดกับจิตทุกขณะ เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่ามีสมาธิได้ไหม ได้ แต่ว่าเป็นขณิกะ ใช้คำว่า ขณิกะ คือ ขณะๆ ชั่วขณะหนึ่งที่จิตเกิด แต่ต้องมี มิฉะนั้นแล้ว เวลาที่ได้ยินเสียง ถ้าไม่มีสมาธิจริงๆ ที่จะได้ยินเสียงนั้น เสียงนั้นก็ไม่ปรากฏ แต่ที่เสียงนั้นปรากฏ เพราะเอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิต แล้วก็มีอารมณ์หนึ่งตั้งมั่นที่อารมณ์เดียว เพราะฉะนั้น จิตจึงรู้อารมณ์เดียว เพราะว่า เอกัตคตา เจตสิก ตั้งมั่นที่อารมณ์เดียวที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จิตก็รู้แจ้งในอารมณ์ ที่เอกัคคตาเจตสิกตั้งมั่นในอารมณ์ใด ขณะนั้นจิตก็รู้แจ้งอารมณ์นั้น อย่างขณะที่กำลังได้ยินเอกัคคตาเจตสิกมีอะไรเป็นอารมณ์ กำลังได้ยิน เอกัคคตาเจตสิกมีอะไรเป็นอารมณ์ มีเสียง ภาษาไทยใช้เสียง ภาษาบาลี คือ สัทธารมณ์ ขณะนั้นเอกัคคตาเจตสิกตั้งมั่นที่เสียง จิตจึงรู้แจ้งสภาพของเสียง ซึ่งเสียงของคนในโลกนี้ มากมายสักเท่าไร ก็ยังต่างกันพอที่จะจำได้ นี้ก็แสดงให้เห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกตั้งมั่นแล้วจิตก็รู้แจ้งในเสียงแต่ละเสียง แล้วสัญญาก็จำในความต่าง ก็ทำให้สามารถที่จะรู้ได้ว่า เสียงนั้นเป็นเสียงใคร แม้แต่ทางโทรศัพท์ พอพูดคนก็ทราบเลยว่า ใครรับโทรศัพท์ เพราะฉะนั้น สมาธิมีอยู่แล้วทุกขณะจิต แล้วยังต้องการอะไร ต้องการให้จิตตั้งมั่นที่อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งนานๆ เพราะว่า ทุกคนบอกว่าวุ่นวายหนอ วุ่นวายนัก เหนื่อยเหลือเกินอยากจะพักผ่อน เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องอะไรมากๆ ขอสงบๆ ขอไม่ต้องมีอารมณ์อื่นมากมายก็พอ แต่นั่นคือโลภะ ความติดข้องต้องการ ไม่ใช่ปัญญา พระพุทธศาสนา ไม่ส่งเสริมอกุศลใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ หรือเป็นอกุศล ปัญญาควรที่จะเห็นอกุศล เป็นอกุศล แล้วก็ไม่ทำอกุศลให้เพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ขอถามเกี่ยวกับ เรื่องกุศล และอกุศล
ท่านอาจารย์ พูดกันมาคร่าวๆ ถึงเรื่องปรมัตถธรรม ๔ คือจิต เจตสิก รูป คงจะมีความเข้าใจพอสมควรซึ่งก็คงจะต้องไปพิจารณาไตร่ตรองอีกครั้งหนึ่งว่า จิต ไม่ใช่ เจตสิก ไม่ใช่รูป ส่วนรูปก็เป็นสภาพธรรม ที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่สภาพรู้แยกจากนามธรรม คือ จิต และเจตสิกก็ยังเหลือปรมัตถธรรม อีกหนึ่งซึ่งน่าสนใจ เพราะเหตุว่าคำนี้ มีก่อนการตรัสรู้ ทุกคนก็แสวงหา แต่ว่าไม่สามารถที่จะประจักษ์ เพราะว่าได้ยินมาแต่ชื่อ หรือว่าเป็นการเพียงแต่ว่า นิ-พา-นะ หรือว่า นิพ-วา-นะ เป็นการออกจากตัณหา หรือว่าโลภะ ความเกี่ยวข้อง ความติดข้องต่างๆ เพราะฉะนั้น เราก็ควรที่จะได้ทราบว่า ตั้งแต่สมัยนานมาแล้ว ก็มีผู้ที่เกิดมา แล้วก็มีทุกข์ จะว่าไม่ทุกข์ได้ไหม ในเมื่อเกิดมาแล้ว อย่างน้อยที่สุดตื่นมา ก็ต้องบริหารร่างกายแล้ว บางคนก็แสนที่จะเบื่อ ต้องมานั่งทำอะไรๆ ตั้งหลายอย่างแต่ก็ต้องทำ หิวทุกคนต้องรับประทานอาหาร กว่า จะได้บริโภคแต่ละมื้อ การที่จะแสวงหาอาหารก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาจริงๆ ว่าเกิดมาเพื่ออะไร ก็คงจะเพื่อที่จะต้องแก้ทุกข์ที่มี ในร่างกายไม่ว่าจะเป็น ไม่ทุกข์เรื่องอื่น อย่างน้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็นใคร ก็ตามแม้แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังต้องเสวย เพราะเหตุว่ามีทุกข์ของร่างกาย เพราะฉะนั้น ก็มีผู้ที่แสวงหาทาง ที่จะไม่มีทุกข์ หรือที่จะดับทุกข์ ก็คงจะเหมือนพวกเราสมัยนี้ ซึ่งบางคนก็อาจจะเบื่อแล้ว เรื่องราวต่างๆ ก็อยากจะให้น้อยลง ให้หมดไป แล้วก็ให้เรียบง่ายขึ้น ให้หมดความทุกข์ไป แต่ว่าถ้าไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่มีใครสามารถที่จะแก้ทุกข์ได้ เพราะว่าทุกข์ไม่มีวันจบ เมื่อเกิดมาแล้ว ต้องเป็นทุกข์อย่างหนึ่งอย่างใด ทุกข์กายต้องมีแน่นอน แต่ว่าไม่ใช่แต่ทุกข์กายอย่างเดียว ทุกข์ใจยังเพิ่มทับถมมาอีก เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ ขอให้เราคิดดูว่า ทุกข์ของเรามาจากไหน ทุกข์ไหนจะใหญ่กว่ากัน บางคนก็บอกว่าทุกข์กายทนได้ แต่ทุกข์ใจยาก ยากที่จะทน เพราะว่ามากเรื่องเหลือเกิน
การที่จะหมดทุกข์จริงๆ ถ้าไม่ใช่ผู้ที่มีปัญญา ไปทำอย่างอื่น ไปหาวิธีอื่นอย่างไรก็ตาม ไม่สามารถที่จะหมดทุกข์ได้ เพราะว่าเมื่อจิต เจตสิก รูป เกิดแล้วดับ นั่นคือ ไตรลักษณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกข์อื่นยังไม่มีจริง แต่ทุกข์ ของการเกิดแล้วต้องดับ ไม่เที่ยงเลย จิตเกิดแล้วดับ จิตเกิดแล้วดับ แล้วก็จิตก็เกิดขึ้น ทำหน้าที่ ทำกิจการงาน ถ้าต่อไปจะทราบว่าจิตขณะนี้ ทำกิจอะไร มีจิตกี่ชนิดที่ทำกิจนี้ แสดงให้เห็นว่า ไม่ได้เกิดมาสบาย แม้แต่จิตก็ต้องเกิดขึ้นทำกิจการงาน
ขณะแรกที่สุดที่เกิด ทำกิจสืบต่อจากชาติก่อน ไม่ให้มีช่องว่างหรือระหว่างคั่นเคย แล้วเมื่อปฏิสนธิจิตดับ ต้องดับ จิตทุกขณะที่เกิดต้องดับ เมื่อปฏิสนธิจิตดับ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ เป็นภวังคจิต หมายความว่าจิตนี้ไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ไม่มีการได้กลิ่น ไม่มีการลิ้มรส ไม่มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่คิดนึก เรียกว่ายังไม่รู้อารมณ์ภายนอกใดๆ ทั้งสิ้น แต่มีอารมณ์ เดียวกันกับปฏิสนธิจิต สืบต่อจากปฏิสนธิจิต เมื่อปฏิสนธิจิต มีอารมณ์อะไร ภวังคจิตมีอารมณ์อย่างนั้น ปฏิสนธิจิตมีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้ จุติจิตของชาติก่อน เพราะว่าตามธรรมดา เวลาที่เห็นแล้ว จิตที่รู้อามรมณ์ทางตาดับหมด มีหลายขณะ จิตที่รู้อารมณ์ทางตา อาศัยตา เกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่เพียงขณะเดียว เมื่อวาระนั้นดับแล้ว ภวังค์เกิดคั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิต คือจิตแม้ไม่ต้องอาศัยตา ยังนึกถึงสิ่งที่เห็นได้ อย่างเวลาที่เราได้ยินเสียง ต้องอาศัยหู มีการได้ยิน มีจิตหลายขณะซึ่งกำลังรู้เสียง โลภะชอบ โทสะไม่ชอบ แล้วก็ยังมีจิตอื่นอีก ซึ่งเกิดเพราะอาศัยการได้ยิน เสียงที่กำลังปรากฏ ดับไปแล้ว ทางใจยังรับรู้เสียงต่ออีก คือทุกอย่างทางใจเกิดขึ้น สืบต่อไว้ตลอด
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้จริงๆ ว่า เวลาที่ปฏิสนธิจิตเกิด มีอารมณ์ใกล้จุติจิตของชาติก่อนเพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าปกติในชีวิตของเรา เมื่อทางปัญจทวารทั้ง ๕ รู้อารมณ์ใดดับไปแล้ว ทางใจรับต่อ แต่ทีนี้เวลาจะตาย ไม่เลือก ว่าจะต้องเห็นแล้วตาย หรือว่าได้ยินแล้วตาย หรือว่าได้กลิ่นแล้วตาย ลิ้มรสแล้วตาย หรือคิดนึกแล้วตาย หรือว่ารับอารมณ์ทางหนึ่งทางใดแล้วตาย ซึ่งปกติ เมื่อผ่านทางนั้นแล้วต้องถึงใจ แต่เมื่อทางมโนทวารวิถีไม่เกิด เพราะว่าจุติจิต สามารถที่จะเกิดหลังเห็น หรือหลังได้ยิน หลังคิดนึกได้หมด เป็นเรื่องของกรรม เพราะฉะนั้น จิตขณะต่อไป ซึ่งทำกิจปฏิสนธิจึงรับอารมณ์ต่อแทนมโนทวารวิถี ซึ่งปกติรับต่อในขณะที่ยังไม่ตาย เช่น ในขณะนี้ ทางตาเห็น ทางใจ รับรู้ต่อทันที ทางหูได้ยินเสียง เสียงดับแล้ว แต่ทางใจรับรู้เสียง และเรื่องราวต่อทันที แต่ถ้าทางมโนทวาร ทางใจไม่เกิดขึ้นรับรู้ต่อ จุติจิตเกิดก่อน ปฏิสนธิรับต่อ แทนที่จะเป็นทางใจในบุคคลนี้ชาตินี้ เพราะเหตุว่า จุติจิต เป็นขณะที่พรากให้สิ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ทันทีที่จุติจิตดับ แต่จิตต้องเกิดต่อ เพราะฉะนั้น จิตนั้นจึงต้องมีอารมณ์ใกล้จะตาย เป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตในชาติต่อไป ซึ่งขณะนี้ทุกคนที่มีปฏิสนธิจิตแล้ว ไม่สามารถจะรู้ได้เลย เพราะว่าเราย้อนกลับไปถึงชาติก่อนตอนใกล้จะตาย เรามีอารมณ์อะไร เรารู้ไม่ได้เพราะเหตุว่าอารมณ์นั้นไม่ได้ปรากฏทางตาของชาตินี้ ไม่ได้ปรากฏทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย หรือแม้ทางใจ ของชาตินี้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นอารมณ์ซึ่งสืบเนื่องมาจาก จิตใกล้จะจุติของชาติก่อน เวลานี้ทุกคนเป็นอย่างนั้น เมื่อปฏิสนธิ จิตดับไปแล้ว ภวังคจิตเกิด ดำรงภพชาติไว้ นี้เป็นหน้าที่ของจิต แม้แต่จิตแรก คือสืบต่อ ก็เป็นหน้าที่แรก หน้าที่ของจิตขณะแรก หน้าที่ขณะที่ ๒ ก็คือว่า เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป จิตที่เกิดต่อดำรงภพชาติ แม้ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่จิตเกิด ไม่ใช่ปฏิสนธิ เพราะปฏิสนธิดับแล้ว ต่อจากนี้ไปเป็นภวังค์ไปเรื่อยจนกว่า จะมีการนึกคิดทางใจเกิดขึ้น หรือว่ามีการเห็นเกิดขึ้น มีการได้ยินเกิดขึ้นต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีใครสามารถทำลายปัจจัยที่จะทำให้จิตเกิด เพราะตัวจิตนั่นเองเป็นปัจจัย ที่ว่าเมื่อดับแล้ว จะทำให้จิตขณะต่อไปเกิด พร้อมทั้ง เจตสิกพร้อมทั้งปัจจัยอื่นๆ เพราะฉะนั้น คนในยุคนั้น ก็คงจะเห็นความทุกข์ พอสมควร แต่ไม่สามารถจะเห็นไตรลักษณะ คือสภาพที่เพียงเกิดแล้วดับ ลักษณะที่เกิดขึ้น และดับไปนั่นเอง เป็นทุกขลักษณะ ของสภาพธรรม ทั้งหลาย ซึ่งเกิดขึ้น แล้วก็เป็นอนัตตาด้วย
เพราะฉะนั้น ไตรลักษณะมี ๓ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจัง คือสภาพธรรมใดก็ตาม ซึ่งเกิดต้องดับ ไม่เที่ยง ลักษณะซึ่งต้องดับ ไม่เที่ยง นั่นแหละเป็นทุกข์จริงๆ และลักษณะที่เกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์นั้นแหละเป็นอนัตตา เพราะเหตุ่วาไมมีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ด้วยพระปัญญาที่ได้สะสมมา จึงสามารถที่ประจักษ์ ไตรลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็สามารถที่จะถึงรู้แจ้งสภาพธรรม อีกอย่างหนึ่ง คือนิพพานปรมัตถหรือ นิพพานธาตุ ซึ่งไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป ด้วยเหตุนี้ ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่มีการที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพานได้ เพราะฉะนั้น จะใช้หนทางอื่น ไม่ได้เลย ที่จะทำให้ ประจักษ์ลักษณะของนิพพาน เพราะอะไร เพราะเหตุว่าเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ต้องเป็นความรู้ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนี้เห็นเป็นสิ่งที่มีจริง ถ้าไม่มีความรู้ว่าเป็นสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรม ที่กำลังเห็น และรูปธรรมกำลังปรากฏ เพียงชั่วขณะสั้นๆ แล้วก็ดับหมด แล้วขณะได้ยินก็เป็นจิตอีกประเภท ๑ ซึ่งอาศัยเหตุปัจจัยอื่น คือ ต้องอาศัยโสตปสาท แล้วยังเหตุปัจจัยอื่นทำให้เกิดขึ้น สั้นแสนสั้นแล้วก็ดับ ถ้าไม่รู้จริงๆ อย่างนี้ ว่าเป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดดับ ปัญญาจะความสมบูรณ์ถึงการประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพานไม่ได้
การอบรมเจริญปัญญา ด้วยการฟังพระธรรมที่ทรงแสดง ๔๕ พรรษา มากมาย แล้ววันหนึ่งหลายครั้ง ไม่ใช่เพียงแค่ ๒, ๓ ชั่วโมงที่เรากำลังจะสิ้นสุดลง แต่ว่าต้องฟังแล้วฟังอีก จนกระทั่งเป็นปัญญา ความรู้เพิ่มขึ้น สามารถที่จะอบรมปัญญาถึงระดับขั้นที่จะประจักษ์แจ้งปรมัตถธรรม อีกปรมัตถธรรม ๑ คือ นิพพาน เพราะฉะนั้น ก็ให้ทราบว่านิพพานไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก ไม่ใช่รูป เพราะเหตุว่าจิต เจตสิก เป็นสภาพที่เกิดขึ้น รู้ สิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้ ซึ่งใช้คำว่า อารัมมาณะ จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ เจตสิกเกิดขึ้นรู้อารมณ์เดียวกับจิต ส่วนรูปไม่ใช่สภาพรู้ ต้องมีความรู้ มีความเข้าใจในจิต เจตสิก รูป เสียก่อน แล้วถึงจะรู้ว่านิพพานไม่ใช่ทั้ง จิต เจตสิก รูป เวลานี้สามารถที่จะเข้าใจนิพพานได้แค่นี้ เพราะว่ามีสภาพธรรม ที่จะต้องเข้าใจในขณะนี้ ก่อนคือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิต เจตสิก รูป
ผู้ฟัง อย่างที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวมานี้ คล้ายๆ ว่า ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องศึกษาอย่างเดียว ต้องศึกษาอย่างเดียว
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง สาวกแปลว่าผู้ฟัง
ผู้ฟัง แล้วที่ขณะนี้ สังคมทั่วๆ ไปก็ยังบำเพ็ญเพียร ในการฝึกสติ ฝึกสมาธิ ที่ว่าบำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนาอยู่นี้ ก็ทำถูกทางหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ถูก ขึ้นอยู่กับสภาพธรรม เพราะเหตุว่า แม้แต่หนทางก็มีทั้ง มิจฉามรรค และ สัมมามรรค ในพระไตรปิฎก มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมามรรค ๘ และ มิจฉามรรค ๘ เป็นเครื่องเทียบให้รู้ว่าอย่างไรเป็น มิจฉามรรค และอย่างไรเป็นสัมมามรรค เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ศึกษาพิจารณาโดยละเอียด เพียงได้ยินคำว่า อบรมมรรค เจริญมรรค เราก็คิดว่าถูก แต่ความจริง มรรคที่เป็นสัมมามรรค ตั้งต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ ซึ่งได้แก่ปัญญาเจตสิก
ผู้ฟัง ผมเคยได้ยินท่านอาจารย์ท่านพูดไว้ว่า การที่เราจะปฏิบัติธรรม หรือ ทำหน้าที่ศึกษา พระพุทธรรม เราจำเป็นจะต้องบำเพ็ญเพียร บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ด้วย ไม่ทราบว่าไปด้วยกันได้หรือเปล่า ถูกต้องหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ บุญกิริยาวัตถุ หมายความถึง ทางของบุญ คือกุศลจิตซึ่ง ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา ถ้าไม่มีการศึกษาเลย เราก็จะมีการบำเพ็ญกุศลขั้นทาน และศีลได้ แต่ว่าขั้นภาวนานี้เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจก่อน
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น แนวทางที่เรากำลัง สอนสังคม หรือบอกสังคมให้รู้ ลำพังแค่ การบำเพ็ญ บุญกิริยาวัตถุอย่างเดียว โดยปราศจากการศึกษาให้รู้ถ่องแท้ของปรมัตถธรรมที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาเล่าให้ฟัง ยังไม่ได้
ท่านอาจารย์ การศึกษารวมอยู่ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ด้วย การฟังธรรม การแสดงธรรม และการอบรมเจริญภาวนา
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเราคงจะต้องเปลี่ยนรูปโฉมการศึกษาว่า ในการศึกษาเพื่อให้เข้าใจสัจธรรม หรือปรมัตถธรรม ทั้ง ๔ นี้ ไม่จำเป็นเราจะต้องแยก มุ่งไปเฉพาะทางด้านบุญกิริยาวัตถุอย่างเดียว หรือมุ่งไปทางด้านการบำเพ็ญเพียร เจริญ สติ ทำสมาธิ เหมือนอย่างที่เราปฏิบัติกันอยู่ปัจจุบันนี้
ท่านอาจารย์ ถ้าตัดออกก็ไม่ครบ ๑๐ หมายความว่าทุกอย่างที่กล่าวว่า ๑๐ นี้รวมหมด คลุมหมด ทั้งการศึกษาธรรม การแสดงธรรม การอบรมเจริญปัญญา หรือว่าการอบรมเจริญ ความสงบ
ผู้ฟัง สำหรับผม สิ่งที่ผมกำลังได้รับทราบ ได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์ ที่ได้กรุณาพูดให้ฟังเช้านี้เหมือนกับว่าสังคมเรา ขาดสิ่งที่อาจารย์กำลังบอกอยู่ เรากำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง บุญกิริยาวัตถุ โดยที่ลืมไปว่า
ท่านอาจารย์ ไม่ครบ ๑๐ ศาสนาไม่ใช่อยู่ที่วัตถุเลย เพราะว่าศาสนาเป็นคำสอน จากการตรัสรู้ เพราะฉะนั้น การที่เราจะดำรงรักษาศาสนา โดยการศึกษาให้เข้าใจ แล้วก็สืบทอดกันไป
ผู้ฟัง ที่ควรจะศึกษาก็คือปรมัตถธรรมทั้ง ๔ นี้ใช่ไหม นอกจากนี้ไม่ใช่ทาง
ท่านอาจารย์ พระไตรปิฎก ประกอบกันทั้ง ๓ ปิฎก
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ที่เราเรียนจนถึงดอกเตอร์ไม่จำเป็น
ท่านอาจารย์ เรียนเพื่ออะไร นั้นทางโลก แต่ว่า ถ้าทางธรรม เป็นอีกเรื่อง ๑ เราจะเรียน จากดอกเตอร์ไหน เพราะว่าผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าดอกเตอร์ คือใคร ยังต้องมีผู้ที่เป็น พระบรมศาสดา เหนือบุคคลใดทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ส่วนที่เราเรียน เป็นดอกเตอร์ จากดอกเตอร์ๆ ทั้งหลายก็ยังไม่ใช่คำสอน ที่เป็นคำสอนของพระบรมศาสดาจริงๆ
ผู้ฟัง การที่เราจะศึกษาทางธรรม ที่สุดของการศึกษา พอจะสรุปเป็นคำโดยย่อได้ไหม
ท่านอาจารย์ ปัญญา พุทธศาสนา เป็นศาสนาของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ผู้ฟัง ที่สุดของการศึกษา ต้อง เขาผู้นั้นจะสำเร็จก็ต่อเมื่อ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ท่านอาจารย์ ผู้รู้สภาพธรรม ด้วย
ผู้ฟัง สำหรับคนที่เพิ่งจะเริ่มต้นสนใจ ทางด้านพุทธศาสนา อาจารย์จะชี้แนวทางว่า เราควรจะทำอย่างไร หลายๆ คนก็อาจจะมีบางคนที่ยังฟังศัพท์บางคำ หลายๆ คำด้วยที่เราฟัง แล้วเราก็ยังไม่รู้ว่าศัพท์นี้คืออะไร ตั้งแต่คำว่า รู้ เราก็ยังไม่รู้เลย ศัพท์คืออะไร แล้วเนื้อหาที่เราจะเข้าสู่สาระตรงนั้น มันก็ค่อนข้าง เป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อพวกเราพอสมควร
ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรมต้องทราบว่าจะเข้าใจจริงๆ ต้องเป็นผู้ละเอียด อย่าเป็นผู้เผิน เพียงได้ยินคำ หนึ่งคำใด ถ้ายังไม่เข้าใจ คำนั้น อย่าผ่าน แม้แต่คำว่า ธรรม ปรมัตถธรรม อภิธรรม ผ่านไม่ได้เลย พอถึงจิต เจตสิก ต่างกันอย่างไร ไม่ผ่าน ทุกอย่างเราต้องเข้าใจ อีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่าภาษาไทยเรา จะว่า ดีก็ดี หรือ เสียก็เสีย คือว่าเอาคำภาษาบาลีมาใช้ โดยที่ว่าไม่ใช้ความหมาย ตรงตามความหมายในภาษาบาลี แล้วก็เข้าใจว่าถูก แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าศึกษาจริงๆ ต้องแยก ความหมายในภาษาไทยที่เราใช้กันตามสบาย ซึ่งไม่ตรงกับสภาพธรรม อย่างคำว่า ปัญญา อย่างนี้ หรือสติ ก็ไม่ตรงกับสภาพของสติเจตสิก หรือปัญญาเจตสิกเพียงแต่เราขอยืมคำมาใช้ แล้วก็เข้าใจว่า คำนั้นคืออย่างนั้น แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะฉะนั้น เวลาที่จะเริ่มศึกษาธรรม อย่างที่ได้กล่าวถึงในตอนต้นว่า ต้องทิ้งสิ่งที่เราเคยคิดเองหมด แล้วก็รู้ว่จริงๆ แล้วต้องเข้าใจแม้แต่ว่าคำศัพท์ หรือความหมายของภาษา ซึ่งเป็นภาษาบาลีให้ถูกต้องด้วย
ผู้ฟัง แม้แต่คำว่า จุติ อย่างนี้ ถ้าเดิม หมายถึงการเกิด พอฟังอาจารย์ ถ้าเราฟังจากเนื้อหา เราก็รู้ว่ามันไม่ใช่ เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม ตรงนี้ ความรู้เดิม มันเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคมากเลย
ท่านอาจารย์ ต้องทิ้งไปให้หมด พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกามเป็นอารมณ์ด้วย กามอารมณ์ ได้แก่รูปที่กำลังปรากฏ ทางตา ขณะใดที่เห็น จิตเห็น เป็นระดับ ๑ คือไม่ใช่จิตที่กำลังมีนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่จิตที่ถึงระดับขั้นของอัปปนาสมาธิ ที่สงบ ที่เป็นขั้นฌาน เพราะฉะนั้น ก็เป็นกามาวจรจิต คือ จิตที่วนเวียนอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส ภาษาไทยเราใช้สัมผัส แต่ความจริง มีคำ ภาษาบาลี ว่าโผฏฐัพพารมณ์ หรือโผฏฐัพพะ หมายความถึงรูป ๓ รูป ซึ่งเป็นอารมณ์ที่จะรู้ได้ทางกาย คือ เย็นร้อน ๑ รูป เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ๑ รูป ตึงหรือไหว ๑ รูป นี้เป็นรูป ๓ รูปที่จะรู้ได้ ทางกาย เพราะฉะนั้น ในรูปทั้งหมด ๒๘ รูป จะมีรูป ที่เป็นอารมณ์ในชีวิตประจำวัน ๗ รูปเท่านั้น คือสิ่งที่ปรากฏทางตา ๑ เสียง ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ แล้วก็ทางกายอีก ๓ รวมทั้งหมดเป็น ๗ รูป ต่อให้จะมีรูปมากมายสักเท่าไรที่ทรงแสดงไว้ แต่ก็ไม่ปรากฏให้รู้ ให้เห็น เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมก็จะต้อง เข้าใจให้ถูกว่า สีก็ดี เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นกาม เพราะฉะนั้น ขณะใดก็ตามที่จิตกำลังเห็น กำลัง ได้ยิน เป็นกามาวจรจิต เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้ามีกามวจรจิต หรือจะใช้คำว่า มีกาม หรือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์ด้วย ไม่อย่างนั้น ภาษาไทยเราก็ไปแบ่งกันเองหมด เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่มีกามเป็นอารมณ์ หรืออะไรอย่างนั้น
ผู้ฟัง เท่าที่ฟังจิตเป็นสภาพใหญ่ ที่ควบคุมอะไรมากมาย ในลักษณะที่เราเคยได้ยินบ่อยๆ มีการใช้พลังจิตเพื่อรักษาโรคให้กับตัวเองบ้าง มีพระอาจารย์ ที่รักษาโรคให้ผู้อื่นโดยใช้พลังจิต ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์ ว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบ สงสัยเรื่องพลังจิต หรือเปล่า ถ้าเราทราบว่า เอกัคคตาเจตสิกเป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480