ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๖๕

    สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจลักษณะของสัมมาสติ เป็นสภาพที่ระลึกเป็นปกติ แล้วคนที่สติเพิ่งเกิด จะรู้ได้ว่าสติระลึก แต่ไม่รู้ ทั้งๆ ที่เราฟังว่า ขณะที่เห็น เป็นนามธรรม ที่กำลังรู้ว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา คือที่กำลังเห็นอย่างนี้ มีสภาพที่เป็นนามธรรมที่กำลังเห็น เราฟังไปจนกว่าสติจะค่อยๆ ระลึก และความรู้ค่อยๆ รู้ ถึงได้บอกว่าเป็นไปโดยการค่อยๆ ระลึก ค่อยๆ รู้ ไม่ใช่ว่าเราไปทำเลย

    ผู้ฟัง สมมติว่าสภาพธรรม ที่ปรากฏทางตา คือเห็นแล้วดับไป แล้วมันเห็นอีก แล้วก็ดับ แต่มันไม่ใช่อย่างนั้น มันเดี๋ยวทางตา เดี๋ยวทางหู สลับไปเรื่อย สติจับอะไรก็ไล่ไม่ทันสักอย่างหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ คุณชิน จะไปจัดการสติ แล้วสติ

    ผู้ฟัง แสดงว่าสติอย่างที่คุณป้า สุรีย์เล่าเมื่อกี้ เรื่องเสียง เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรืออย่างไร มันเหมือนกับไม่รู้ตัว

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ขณะนั้นต้องไม่ใช่ปัญญา

    ผู้ฟัง เป็นไปได้ไหม บางคนสร้างมโนภาพอย่างนั้น แล้วรู้สึกอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ จะอย่างไรก็ตามแต่ ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่รู้เองว่าปัญญา สามารถที่จะรู้สภาพธรรม เดี๋ยวนี้ หรือตามปกติ

    ผู้ฟัง อยากจะทราบคำตอบว่า ที่ทุกคนมา ณ วันนี้ ทุกๆ วันเป็นปี ผมคิดว่า อยากจะทราบว่า ทำอย่างไรถึงถูก สิ่งที่เราต้องทำถูก เราอยากจะไปดูภาพยนตร์นั้นเป็นกิเลส เราควรจะละ หรือเราควรจะไป บางครั้ง ถ้าฟังตามท่านอาจารย์สุจินต์บอกว่า เราก็ให้รับรู้ว่าเป็นกิเลส แล้วเราก็ไป หรือว่าเราควรจะละ เพื่อจะให้เป็นคนที่ดีขึ้น สิ่งที่ทุกคนมาวันนี้ คือตรงนี้ มากกว่า

    ท่านอาจารย์ คำตอบก็คือว่า ไม่ต้องทำอะไร ค่อยๆ ฟัง แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วสภาพธรรม เขาก็ทำหน้าที่ของเขา ตราบใดที่คิดจะทำ นั่นคือเรา ทั้งหมด ลืมว่าเป็น อนัตตา ลืมว่าที่สำคัญที่สุด กว่าทำคือเข้าใจ ขณะที่ฟังก็เข้าใจสิ่งที่ฟังเพิ่มขึ้นๆ

    ผู้ฟัง เราอยากจะเป็นคนดีขึ้น เพราะฉะนั้น เราถึงได้ อยากทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ตกลงถ้าเกิดว่า เราอยากไปดู ผมก็ยังไม่ได้คำตอบเลยว่า ตกลง เราควรทำหรือไม่ควรทำ หรือบอกว่าไม่ต้องทำอะไร เราก็ยังไม่รู้ว่า จะต้องทำอย่างไรให้ตัวเองดีขึ้น

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นคุณชัยชาญ ต้องการคำตอบ ว่าจะให้ไปดู หรือไม่ให้ไปดูภาพยนตร์หรือ

    ผู้ฟัง อยากทราบความจริงว่า เราควรจะพิจารณาอย่างไร มากกว่า ทุกๆ ครั้งที่เราอยากจะทำอะไรที่เกี่ยวกับ ในเมื่อเราเข้ามาตรงนี้แล้ว ผมคิดว่า ไม่ทราบว่าทุกคน เราก็อยาก ทำให้มันดีขึ้น เมื่อทำให้ดีขึ้น ตรงนั้นก็กิเลส ตรงนี้ก็กิเลส กิเลสทั้งนั้น ขณะนี้ ใจหนึ่ง ก็อยากจะละ บางครั้งมันก็ยังมีกิเลส ที่ท่านอาจารย์บอกว่า เราก็ยังเป็นคนธรรมดา จะไปละ ขณะนั้น มันก็ยังไม่ได้ มันก็เลยยังสับสนอยู่ว่า ตกลง เราไม่รู้ว่าต้อง บางครั้ง ทำอย่างไร บางครั้ง ตัวที่เราละได้ก็ชนะ บางครั้งตัวที่มันมีกิเลส มันก็ยังพาเราไป แล้วก็อยากจะทราบว่า ทำอย่างไร ที่มันดีขึ้น

    ท่านอาจารย์ คงจะไม่ได้หมายความว่า ถามเรื่องไปดูภาพยนตร์ ว่าแล้วควรจะไปไหม เพราะว่าถ้าถามอย่างนั้น ก็ลำบากมาก จะใส่น้ำตาล หรือจะไม่ใส่ ก็ยิ่งยากใหญ่ เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว ทุกคนเมื่อศึกษาธรรมแล้ว ก็เห็นโทษของกิเลส แล้วก็ต้องการที่จะค่อยๆ เพิ่มกุศลขึ้น เพราะฉะนั้น ที่สรุปที่ว่าโอวาทปาฏิโมกข์ ละชั่ว ประพฤติดี ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ๓ อย่างคือขณะที่เรากำลังศึกษา กำลังดำเนินหนทางนั้นอยู่ ที่จะเป็นคนดีได้ สิ่งใดที่เป็นสิ่งที่ไม่ดี ละ โดยเฉพาะทุจริตกรรม เรายังไม่สามารถดับกิเลสได้ เพราะฉะนั้น เพียงแค่ศีล ๕ สำหรับเราซึ่งเป็นคฤหัสถ์ แต่ถ้าใครจะมีอัธยาศัย ที่จะได้มากว่า ๕ จะเป็น ๘ จะเป็น ๖ จะเป็น ๗ หรืออ่านพระวินัยดูแล้ว ล้วนแต่เป็นการประพฤติที่ดี ทางกายทางวาจาทั้งหมดก็ทำไป โดยไม่ต้องนับ ไม่จำเป็นต้องนับว่าเรามีเท่าไรก็ได้ พร้อมกันนั้น เราก็เป็นคนดี บุญกิริยาวัตถุ มี ที่เราจะค่อยๆ เห็นประโยชน์ และประพฤติตามพร้อมกันนั้นการศึกษาธรรมในขณะนี้ เราก็ไม่ได้ละเลย เพราะฉะนั้น เราก็ทำควบคู่กันไปหมดตลอด

    ผู้ฟัง ความหมายที่ว่า ให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ ของมันเอง

    ท่านอาจารย์ อนัตตา ต้องรู้ความจริง เราเป็นใคร ปุถุชน หมายความว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง เราอาจจะยังไม่มีปัญญา ไปบอกว่า ละได้ทุกอย่าง ฉะนั้น เริ่มใช้วิธีว่า ห่างกับมันก่อน เมื่อเราห่างได้แล้ว ที่จะดีขึ้น อย่างนั้นถูกหรือไม่

    ท่านอาจารย์ ไม่ถูก เพราะว่าไม่จริง ถ้าถามเขาเรื่องปัญญา เขาไม่รู้ เพราะฉะนั้น คุณชัยชาญต้องการอะไร ต้องการอาการกิริยาภายนอก หรือว่าต้องการอบรมเจริญปัญญา รู้ตัว จริงของเรา

    ผู้ฟัง ผมเปรียบเทียบให้ฟังว่า สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ กับการที่เราละ ในสิ่งที่กิเลส เรารู้ มันเป็นกิเลส แล้วเราละ เราห่างจากมันเสีย จะดีกว่า หรือเปล่า ตรงนี้

    ท่านอาจารย์ ถึงอย่างไรก็ตาม คุณชัยชาญอาจจะทำตัวได้อย่างนั้นแสนดี แต่ก็ยังเป็นเรา เพราะฉะนั้น ยังไม่ใช่หนทางที่จะดับกิเลส ก็ยังคงมีกิเลสเต็มที่ ไม่วันหนึ่งวันใดก็จะต้องออกมาในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ถ้ารู้สภาพธรรม แล้วจะสบาย เป็นทุกข์เพราะเหตุว่า ไม่รู้สภาพธรรม แสดงให้เห็นว่าปัญญาไม่ถึงระดับขั้น ที่จะรู้ความจริงว่าไม่ใช่เรา เราฟังมาเรื่อย อนัตตาทั้งหมด แต่มันก็ยังเป็นเราอยู่วันยังค่ำ แล้วก็ยังมีของเราด้วย เพราะฉะนั้น กว่าที่เราจะสละ ความเป็นเรา ออกจากทางตาที่เห็น ทางหูที่ได้ยิน จะยากเย็นสักแค่ไหน แล้วไม่ใช่ว่าใครจะทำได้เลย เพราะฉะนั้น ตัวอย่างทั้งหมดในชีวิตที่พบแล้วเมื่ออาทิตย์ก่อน ก็เป็น การเตือนให้รู้ว่าปัญญายังไม่พอ เพราะฉะนั้น หนทางเดียวก็คือว่าสะสมปัญญาให้มากกว่านี้ทุกๆ ทาง

    ผู้ฟัง ทุกครั้งที่ชินเห็นนั้น คือไม่ใช่ที่ชินเห็น ชินไม่ทราบว่า เป็นอย่างไร ชินพูดไม่ถูก แต่ว่าตราบใดที่รู้สภาพธรรมนั้น ก็คือดับ มันก็คือความรู้สึกก็คือหมด แต่หลังจากนั้น มันก็คือ เหมือนเราก่อปัจจัย มันก็กลับมาอีก

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมเกิดดับ มันธรรมดาของเขา แล้วที่จะประจักษ์จริงๆ ละเอียดยิ่งกว่านี้อีก นี้ยังหยาบมาก คือเป็นเรื่องราวต่างๆ แล้วเราก็นึกว่าสภาพธรรมดับ แต่ความจริงขณะนี้ ละเอียดที่ว่าดับ จนเร็วแค่ไหนก็ไม่รู้ จนกว่าสติจะเกิด ปัญญาจะรู้ความจริง ตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของการที่จะต้องอบรมเจริญปัญญา อย่างมากทีเดียว และปัญญานั้นก็จะทำให้รู้จักตัวเอง ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ชินอยากถามว่า เรื่องการถือศีล ๘ นั่นคือการปฏิบัติ หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เพื่ออะไร เป็นอัธยาศัยจริงๆ ของคุณชิน หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ศีล ๘ นั้นหรือ ก็บางส่วน แต่บางส่วนไม่ใช่

    ท่านอาจารย์ อยากถือ หรือว่าเห็นประโยชน์ หรือว่าเป็นอัธยาศัย

    ผู้ฟัง เห็นประโยชน์ นั้นสามารถให้เรา จริงๆ ก็คือให้เราสงบมากขึ้น ให้เราไม่ attach มากขึ้น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เห็นไหมว่า ตัวเราสำคัญแค่ไหน สำคัญที่ไม่อยากให้ตัวนี้เดือดร้อน สำคัญที่อยากให้ตัวนี้สงบ ความติดในตัวตนของเรา มากมาย มหาศาลเลย แล้วหนทางเดียวที่ไม่ใช่ศีล ๘ แต่เป็นมรรคมีองค์ ๘ ที่จะทำให้เราสามารถที่จะรู้ความจริงว่าไม่มีเรา

    ผู้ฟัง อาจารย์ ถ้าสมมติว่า อาจารย์บอกว่า ฟังบ่อยๆ แล้วก็ มันจะสติจะระลึกได้

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ได้หวังรอ

    ผู้ฟัง คือ มันจะมาโดยเอง ชินก็มีความรู้สึกว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ชินก็แย่เลย เพราะว่าคือการกระทำที่ชินทำไว้ มันก็ไม่สามารถหยุด อย่างเช่นสมมติว่าชิน ชอบกิน ชินก็กินๆ ๆ ๆ แหลกเลย มันก็ไม่หยุด มันก็คือโลภะ สะสมมากขึ้น แต่ถ้ามีการบังคับมันจะดีกว่าไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ แล้วปัญญาอยู่ที่ไหน ปัญญาก็ยังคงเป็นชินที่บังคับ จะเอาตัวนี้ออกได้อย่างไร ตัวเรา เพราะฉะนั้น ในพระพุทธศาสนา โลภะ ทรงแสดงไว้มี ๘ ประเภท แล้ว ๔ ประเภท คือ เกิดร่วมกับความเห็นผิด อีก๔ ประเภท ไม่เกิดร่วมกับความเห็นผิด ถ้าคุณชินจะกินๆ ๆ ๆ แต่ไม่เห็นผิด แล้วก็คุณชินเกิดไม่กิน แต่ยังเห็นผิดว่า ควรจะทำอย่างนี้ หรือจะทำอย่างนั้นมากกว่า ที่จะสงบ โดยที่ไม่เข้าใจเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา คุณชินจะเอาอย่างไหน เรื่องของปัญญาเป็นเรื่องละเอียด และเป็นเรื่อง ละ ความเป็นตัวตน แต่ไม่ใช่ละโลภะ ผู้ที่จะละโลภะ ที่ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ต้องเป็นพระอรหันต์ พระอนาคามีก็ไม่ได้ละโลภะ ที่ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ต้องละก่อน คือละ ความเห็นผิด เวลาที่มีความเห็นผิดเกิดขึ้น เป็นโลภะที่ยึดมั่น ติดในความเห็นนั้น เพราะฉะนั้น บางคนเขาจะเห็น การกระทำอย่างอื่น และคิดว่านั่นคือหนทางที่จะละ กิเลส นี้เป็นสิ่งซึ่งพระพุทธศาสนา จะแสดงธรรมโดยละเอียด เพื่อไม่ให้เราเข้าใจผิด ใครก็อ่านตัวนี้ออก สมาธิ meditation แต่ว่าเข้าใจอย่างไร เวลาได้ยินคำนี้ ถ้าเราผ่านผิวเผิน ความเข้าใจของเราก็เผิน และก็มีส่วนจะผิด เพราะเราไม่ได้เข้าใจจริงๆ การศึกษาธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียด เพราะฉะนั้น ถ้ารู้อะไรรู้จริง ถึงจะถูก แต่ละคำ ถ้ารู้ว่าภาวนา ใครๆ ก็ภาวนา ใครๆ ก็นั่ง ใครๆ ก็ภาวนา แล้วภาวนาจริงๆ คืออะไร ถ้าเราไม่เข้าใจจริงๆ มีส่วนจะผิด โดยมากไม่รู้อะไรเลย แต่นั่งแล้วก็ภาวนา จะถูกได้ไหม เหตุผลว่านั่งโดยไม่รู้อะไรเลย เราเข้าใจว่า ภาวนา

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ภาวนาคืออะไร

    ผู้ฟัง จริงๆ ชินไม่รู้อะไรคือ ภาวนา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อย่าไปติด ที่ชื่อหรืออย่าไปพอใจที่ชื่อ ตัวจริงๆ คืออะไร ถ้าไม่รู้จริงก็แปลว่าเราไม่รู้ แต่เราตาม แต่ถ้าศึกษาโดยละเอียด ต้องถึงเจตสิกแต่ละขณะที่เกิด และขณะที่เป็นโสภณจิต จะมีเจตสิก เกิดร่วมด้วยเท่าไร เพียงขณะที่เป็นกุศล มีจิตที่เกิด พร้อมกับเจตสิกที่สงบ แต่ว่าความสงบนั้นก็ไม่ใช่ ลักษณะของสมาธิ แต่จิตนั้นเป็นกุศล จึงสงบ เพราะฉะนั้น ถ้าเราไปนั่งแล้วเราชอบ แต่เราคิดว่าสงบนั่นถูกหรือผิด เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียด ไม่ใช่ว่า เพราะเราชอบ ว่าขณะนั้นเราไม่ได้คิดเรื่องโน้น เรื่องนี้ ก็เหมือนกับว่า เป็นภาวนา หรือเป็นสมาธิ หรือเป็นอะไรก็แล้วแต่ ที่เราอยากจะทำ โดยเราไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้น ต้องเป็นปัญญาเท่านั้น ที่จะทำให้เราเห็นความจริงว่าขณะนั้น สงบหรือเปล่า มีปัญญาหรือเปล่า เป็นสิ่งที่สมควรหรือเปล่า หรือว่าเป็นสิ่งที่เราพอใจ แอบ แฝงมาในรูปของ มิจฉามรรค มีคำว่า มิจฉามรรค ในพระไตรปิฎก

    . ชินคิดว่าไม่ใช่ชอบ ชินคิดว่า นั่นคือแค่การปฏิบัติ (practice)

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยว เพียงแต่จะเดินไปนั่ง ด้วยโลภะ ด้วยความต้องการหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้ามาที่นี่ มันก็คือวามต้องการ

    ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังฟังธรรม ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องเห็นความต่างกันของ กุศลจิต กับ อกุศลจิต

    ผู้ฟัง สัมมาสมาธิ มรรค ๘ เป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เกิดร่วมกับ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก ต้องมีปัญญาแน่นอน ที่จะรู้ว่า ลักษณะของสภาพธรรมขณะนี้เป็น ธรรม แล้วแต่สติจะเกิดระลึก ถ้ามีความเห็นถูกว่าขณะนี้ เป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ก็มีโอกาสที่สติจะระลึก ด้วยความเห็นถูกว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง เป็นสมาธิเจตสิกหรือ เอกัคคตาเจตสิก

    ท่านอาจารย์ สมาธิ เป็น เอกัคคตาเจตสิก

    ผู้ฟัง ทีนี้ ไม่ใช่อย่างที่เข้าใจกันว่า จะต้องนั่ง จนกระทั่ง คือให้ลักษณะที่ว่านั่ง นิ่ง จิตสงบ เป็นสมาธิ อย่างนั้นหรือเปล่า ในสัมมาสมาธิ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่ความรู้ จริงก็เป็นโทษ คือเข้าใจผิดว่าสิ่งที่เป็นอกุศล เป็นกุศล

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ในขณะที่ฟังอาจารย์ ในการเจริญอบรมสติปัญญา เราพิจารณาไป ขณะนั้นก็มีสมาธิ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง แน่นอน ใช่ไหม ผู้ที่มาเจริญอบรมสติปัญญา กับท่านอาจารย์ ควรจะใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไร

    ท่านอาจารย์ อย่างที่เป็นอยู่อย่างนี้ ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ในขณะที่เรากำลังเป็นผู้ศึกษาอยู่ ผู้ที่กำลังอบรมเจริญปัญญาอยู่นี้ ในชีวิตประจำวันของเรานี่ มันก็ต้องประสบพบเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องมีสังคม ดูหนัง ดูละคร ต้องมี หรือว่า ข้างนอกเราตัดหมด ไม่ไปโรงหนัง แต่ในบ้านเราเปิด วีดีโอดู อย่างนั้นก็เป็นการเก็บตัวอย่างหนึ่งที่ไม่ออกสังคม แต่เรามี วีดีโอดู มีดาวเทียมดู หรือว่า การที่เราต้องการ เมื่อกี้ท่านอาจารย์ได้พูดอย่างหนึ่งว่าโลภะที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุต ต้องถึงเป็นพระอรหันต์ ผู้ที่เจริญ แน่นอน ผมมี ความเชื่อว่าโลภะ ที่เป็นทิฏฐิคตสัมยุต ที่ประกอบด้วยความเห็นผิดนี่ ไม่มีเจตนาที่จะทำ หรือว่าอาจจะเผลอทำ ผมคิดว่าเจตนายากมาก ผู้ที่ต้องการที่จะเจริญในด้านนี้แล้ว ทีนี้โลภะ ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เช่น ย้อมผม แต่งตัวสวยสดงดงาม หรือดูหนัง ดูละคร แต่ก็ไม่มีความเห็นผิดอย่างนั้น เขาควรจะตัดหมดหรือไม่ ตราบใดที่เป็นปุถุชนที่ต้องดำรงชีวิตอยู่

    ท่านอาจารย์ เขาคือใคร ตัวจริงของเขาคือใคร

    ผู้ฟัง เขาก็ยังมีอัตตาอยู่

    ท่านอาจารย์ นั่นคือเขามีอัตตา เขาคือใครอีกที่ทำ ตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี อย่างไร คือเราไม่ได้ศึกษาธรรมเลย เพียงแต่เราคิดเอา แล้วเราก็มีเครื่องวัด จากความคิดของเรา เพราะฉะนั้น ถ้าเราถึงจุดละเอียด อย่างที่คุณชินบอกว่า ถ้าเกิดโลภะขึ้น จะให้คุณชินทำอย่างไร อยากได้คำตอบ หรือคุณชัยชาญก็อยาก ได้คำตอบ ถ้าเกิดความต้องการขึ้นจะทำอย่างไร จะทำอย่างนี้ หรือจะทำอย่างนั้น หรือพยายามจะหลบหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเป็นคนที่เข้าใจพระธรรมจริงๆ โลภะเกิดขึ้นรู้ตามตามความเป็นจริง ว่าเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ว่าเราจะไปทำอะไรกับ โลภะได้ ความจริงคือโลภะ มีเหตุปัจจัยก็เกิด ถ้ามีความรู้จริงอย่างนี้ ก็อบรมเจริญปัญญถึงขั้นที่จะละ ความเห็นผิดที่จะไปทำ ขณะที่คิดว่าจะทำ หรือจะไปทำ คือไม่ได้รู้ ความเป็นจริง มีความเป็นเราที่จะทำ และคิดว่าทำได้

    ผู้ฟัง ตรงนั้น คือว่า ก่อนนั้นทำอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ๓ ข้อไง ละชั่ว ประพฤติดี ชำระจิตให้บริสุทธิ์ คือศึกษาให้เข้าใจธรรมก็ครบ อยู่แล้วทั้ง ๓

    ผู้ฟัง แต่ละคน ขณะนี้ ที่บ้านก็นั่งคุยกัน อย่างบางคนที่มีโทสะมากๆ แล้วถ้าเกิดเขา คือมาฟังแล้ว เพื่อให้เข้าใจ แล้วกว่าจะถึงวันนั้น แล้วโทสะก็ยังแรงอยู่ เขาอาจจะทำอะไรที่อกุศลมากกว่านี้ แล้วก็ทำผิดมาก และหนักไปกว่านี้ กับการที่เข้า จะหาวิธีก่อน อาจจะว่าช้าหน่อย เขาไปนั่งสมาธิ สงบสติเขาอาจจะถูกกด หรืออะไรก็แล้วแต่ เบาบางลง แล้วไม่เกิดโทสะแบบนั้นอีก เขาก็จะไม่ไปก่ออกุศลที่มันหนักหนา ร้ายแรงกว่านั้น แล้วค่อย เข้ามาทีละขั้น (step by step) จะดีกว่าหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ทีละขั้นตอนก็คือว่า ฟังธรรมไปเรื่อยๆ จนกว่าปัญญาจะเกิด ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่าสำคัญที่ตัวปัญญา ทุกคนยังมีอกุศลอยู่ แล้วก็จะกระทำกรรมใดๆ ก็ได้ แต่ถ้าคนนั้น อบรมเจริญปัญญาไปเรื่อยๆ แล้วคิดดู ว่าธรรมดา ถ้าเวลาที่เรา มีความเข้าใจธรรมขึ้น ปัญญาก็จะทำหน้าที่ของเขาเอง คนที่เคยโกรธมากก็ลดน้อยลงเอง ด้วยปัญญา แต่ไม่ใช่ด้วยการไปทำอย่างอื่น โดยที่ไม่มีปัญญา ซึ่งไม่ใช่การที่จะละคลาย เพราะฉะนั้น วันหนึ่ง วันไหนก็ได้ การกระทำทุจริตกรรมอย่างร้ายแรงก็มีได้ แต่ผู้ที่แม้จะมีอกุศลมาก มีกิเลสมาก แต่อบรมเจริญปัญญาไป ปัญญา นั่นเองซึ่งจะทำหน้าที่ละคลายกิเลสไม่ว่าคนที่กำลังเกิดอกุศลแล้วไม่อยาก จะมีอกุศล ก็เพราะความรักตัวใช่ไหม ตราบใดที่ยังมีตัวอยู่ กิเลสทั้งหมดก็ยังต้องดับไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราเห็นโทษของกิเลสจริงๆ ที่จะดับได้ กิเลสต้องลดลงตามลำดับขั้นของปัญญา ไม่ใช่เพียงแต่ว่าเราไปนั่งข่มไว้ แล้วคิดว่าไม่มี พอถึงวันเดือนปี ที่มีปัจจัยที่จะเกิด เขาก็ต้องเกิด แล้วในแต่ละภพ แต่ละชาติ ถ้าเราอ่านก็จะเห็นได้เลย ว่ากิเลสของคนบางคน เขาก็ระงับไว้ แต่เวลาที่จะเกิด เหมือนกับเปิดฝาครอบงูพิษไว้ พอยกขึ้นมางูพิษนั้นก็ยกแผ่ออกมาเลย เพราะฉะนั้น ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงว่า การกด การข่มด้วยความไม่มีปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ไม่ใช่หนทางที่จะดับกิเลส แต่หนทางดับกิเลสมี แล้วเราจะเดินทางไหน

    ผู้ฟัง ผมจะขอถามถึง ก่อนพุทธกาล บุคคลที่มีปัญญาหลีกไปทำสมาธิ ถามว่าอันนั้นปัญญาอะไร

    ท่านอาจารย์ คนยุคโน้น กับคนยุคนี้ ต่างกัน เพราะเหตุว่าคนที่จะอบรมเจริญ สมถภาวนา ภาวนา คืออบรม สมถะ คือความสงบ ไม่ใช่การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม เขามีปัญญาระดับที่รู้เลย ว่าเมื่อเห็นแล้วเขาเกิดกิเลส รักหรือชัง โลภะ หรือโทสะ เพราะฉะนั้น อย่างเราเห็น แล้วเคยคิดอย่างนี้ไหม รู้ไหมว่าตัวเองมีกิเลสแค่ไหน เพียงแต่อยากจะทำสมาธิ จะได้ไม่ต้องไปคิดเรื่องอื่น นี่ต่างระดับกันมากเลย ไม่ใช่ปัญญาด้วย เพราะฉะนั้น จะเทียบคนสมัยโน้น กับสมัยนี้ผิดกัน ถึงแม้คนในสมัยโน้น ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรม พร้อมด้วยความสงบของจิตถึงระดับขั้นฌาน ก็มีระดับ ว่ารู้แจ้งอริยสัจธรรม พร้อมความสงบของจิตระดับปฐมฌาน หรือทุติยฌาน หรือ ตติยฌาน จตุตฌาน ปัญจมฌาน นั่นเป็นความสงบจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ไม่รู้อะไรเลย แล้วก็คิดว่า ตัวไปทำสมาธิ แล้ว ก็ขณะนั้นไม่มีกิเลส แม้กระนั้นคนที่ได้บรรลุพร้อมกับความสงบ ระดับฌานจิตก็ยังน้อยกว่า แล้วเราเป็นใครทำไมเราไม่รู้จักตัวของเราเอง เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นไม่ตื่นเต้นไม่ว่าจะอ่านหนังสือเล่มไหนทั้งสิ้น ที่ไม่ใช่พระไตรปิฎก เราต้องพิจารณาว่าถูกต้องตามความเป็นจริงหรือเปล่า แต่ถ้าเราไม่เรียนก่อน เราไม่มีอะไรที่จะเป็นเครื่องวัดเลย เพราะฉะนั้น ทุกคนที่ไม่ได้เรียน ก็อาศัยคนโน้นว่า คนนี้ว่า หนังสือเล่มนี้เขียนว่าอย่างนี้ เล่มนั้นเขียนว่าอย่างนั้น ต้องมีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมเป็นสรณะ โดยการที่ศึกษาพระธรรม ไม่ใช่ว่าไม่ศึกษา แล้วเราจะถึงพระธรรมเป็นสรณะได้ ต่อเมื่อใดที่เราศึกษาแล้ว เมื่อนั้นเราจะมีความเห็นที่ถูกต้อง เพราะว่าทรงแสดงไว้ละเอียดมากสำหรับเรายุคนี้

    ผู้ฟัง ที่ศรีลังกา เขาเอาชีวิตของพระพุทธเจ้า มาจากพระไตรปิฎก ซึ่งเล่าสู่กันมาจากที่ๆ พระไตรปิฎก เขาเล่าสู่กันมา

    ท่านอาจารย์ คุณชิน เห็นความต่างกันของการอ่านพระไตรปิฎก กับการศึกษาพระไตรปิฎก หรือเปล่า

    ผู้ฟัง อ่านพระไตรปิฎก

    ท่านอาจารย์ กับศึกษาพระไตรปิฎก ต่างกันหรือเหมือนกัน พระไตรปิฎก ใครก็อ่านได้ แต่ศึกษาเข้าใจอรรถ ความหมายในพระไตรปิฎก หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถึงว่า นี่กำลังศึกษาอยู่

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นความต่างกัน เพราะฉะนั้น ใครจะอ้าง พระไตรปิฎกอ้างได้ ทุกคนก็อ่านได้ แต่เข้าใจความหมาย ในนั้นหรือเปล่า นี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ว่าแสดงให้เห็นว่าพระธรรมละเอียดมาก เรากำลังศึกษาสิ่งที่ละเอียด ซึ่งกว่าพระพุทธเจ้า จะตรัสรู้ได้ ต้องอาศัยบำเพ็ญบารมีมากมาย

    ผู้ฟัง ชินมาที่นี่มาถามอาจารย์ ชินไม่แน่ใจว่าการอ่านนั้น ก่อนที่จะเข้าใจก็ต้องถามอาจารย์ ว่ามันคืออะไร

    ท่านอาจารย์ คนที่อ่านเรื่องสมาธิ แต่เข้าใจหรือเปล่า ว่าสมาธิที่อ่าน หมายความถึง มิจฉาสมาธิ เป็นอกุศล หรือสัมมาสมาธิ ที่เป็นกุศล นี่ก็ต้องแยกกันแล้ว หรือใครพูดเรื่องมรรค ๘ แม้ในพระไตรปิฎกเองก็มี มิจฉามรรค ๘ สัมมามรรค ๘ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หมายความว่า เมื่อพูดถึงมรรค ๘ ต้องเป็นสัมมามรรคเสมอไป ไม่ใช่ ต้องศึกษาละเอียด จริงๆ เพราะว่าคล้ายกันมาก แต่ไม่ใช่ ไม่ถูก เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจ ถึงการอ่านกับการศึกษาด้วย ถ้าเป็นการศึกษา สามารถจะทำให้เราเข้าใจสภาพธรรม เดี๋ยวนี้ เป็นสิ่งที่มีจริง แม้แต่คำว่า ธรรม ถ้าคนที่ไม่ศึกษาจริงๆ ก็จะรู้เพียงบางส่วนของธรรม คืออาจจะรู้เรื่องคุณธรรม จริยธรรมหรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เขาไปพูด แต่ถ้าคนที่เข้าใจธรรมจริงๆ ทุกอย่างเป็นธรรมเพราะธรรมมาจากคำว่า ธาตุ ที่เราใช้คำว่า ธาตุ ธา-ตุ ไม่ใช่ของเรา เป็นแต่เพียงธรรมชาติ หรือธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างนั้นแล้วก็เปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะใช้คำว่า ธรรม หรือธาตุ เหมือนกัน ในพระสูตรจะมีคำว่า โลภะธาตุ โทสะธาตุ โมหะธาตุมากมาย แล้วเราก็มาสงสัยว่า ทำไมแสดงเรื่องธาตุ ๑๘ แล้วทำไมในพระสูตรมีโลภะธาตุ มัจฉริยะธาตุ ทุกอย่างเป็นธาตุหมด เพราะเหตุว่าทั้งหมดนั้น เป็นธรรมธาตุ รวมเสียคำเดียวเลย คือ ธรรมธาตุ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567