ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๗๐

    สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ผู้ฟัง ละกายทุจริตเสียก่อน แล้วก็เจริญกายสุจริต แล้วก็ทางวาจา แล้วก็ทางใจ ไม่ค่อยเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ หรือ ไง

    ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ทางกายก็ยังไม่ได้ทำ

    ท่านอาจารย์ แล้วต่อไป ชำระจิตให้บริสุทธิ์ด้วยการฟังธรรมให้เข้าใจ เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่เวลาไหนที่ จะเป็นปัจจัยให้ทำอะไร ก็เป็นชีวิตจริงๆ

    ผู้ฟัง ทางกาย และทางวาจาก็พอจะเข้าใจ แต่ทางมโน

    ท่านอาจารย์ ทางใจ ถ้าเราไม่มีการเข้าใจสภาพธรรม จิตของเราก็ เป็นโลภะ โทสะไป แม้ว่าวาจาของเราจะไม่มีการทุจริต แต่ใจเราเป็นอย่างไร แม้ว่ากายของเราจะไม่กระทำทุจริต แต่ใจเราเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ก็ ต้อง ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ศึกษาธรรมให้เข้าใจ

    ผู้ฟัง พอดีเมื่อกี้เห็นคุณชินหัวเราะ ก็เลยทำให้ผมระลึกได้ว่ามีพระสูตร ๑ ที่ตรัสไว้ว่า หากจะดูกริยาที่ไร้เดียงสาของเด็กทารก ให้ดูกิริยาของภิกษุที่กำลังยิ้มจนเห็นไรฟัน อยากเรียนถามกรณีอย่างนี้ พระองค์ทรงจำกัดเฉพาะภิกษุหรือเปล่า หรือแม้แต่ฆราวาสเอง ซึ่งผมเป็นฆราวาส ก็ต้องสำรวมมีวินัยข้อนี้

    ท่านอาจารย์ เป็นไปได้ไหม เล่า

    ผู้ฟัง คำว่า อริยะ อริ แปลว่าศัตรู ยะ แปลว่าห่าง ถ้าห่างจากศัตรูคือกิเลส เป็นไปได้ เราควรจะสะสม กิริยามารยาทของ อริยะตันติ

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่ดีทั้งหมดควร แต่ได้ไหม เมื่อไร นี้เป็นเรื่องที่เราต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ สะสมไป

    ผู้ฟัง แต่บางที่เห็นเขาหัวเราะ เราก็ น่าจะ

    ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ แล้วหัวเราะก็เป็น เรื่องธรรมดา ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์

    ผู้ฟัง แต่ทรงตรัสว่าเป็นกิริยาของเด็กทารก

    ท่านอาจารย์ สำหรับเพศบรรพชิต

    ผู้ฟัง ระยะหลัง พอเจอใครหัวเราะ ผมก็ต้องรีบปิดปาก

    ท่านอาจารย์ เราไม่ใช่บรรพชิต มิฉะนั้น เราก็จะไปเอา ๒๒๗ มาทำ เราคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่เราต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า เราเป็นเพศไหน

    ผู้ฟัง แล้วก็ได้ทรงตรัสอีกว่า การร้องรำ ขับรอง เป็นกิริยา เป็นอาการร้องไห้ในอริยะวินัย แล้วก็ตรัสอีกเหมือนกันว่า การรำ การเต้นระบำ อะไรต่างๆ เป็นอาการของคนบ้า ก็เลยระยะหลังถ้าฟังเพลง ก็เลยต้องเงียบๆ พยายามสำรวม เพื่อที่จะไม่ให้หลุด เพราะว่ากลัววินัยข้อนี้เหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ เราเป็นใคร อย่าลืม

    ผู้ฟัง เป็นปุถุชน เป็น เวไนยสัตว์

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เป็นบรรพชิต ไม่อย่างนั้นจะไม่มีความมต่างระหว่าง บรรพชิตกับคฤหัสถ์ แล้วก็ไม่มีความมต่างระหว่างศีลของคฤหัสถ์กับศีลของบรรพชิต

    ผู้ฟัง เรื่องจิต ปฏิสนธิจิตที่เกิด โดยสันตีรณะกุศลวิบาก ตัวที่จะทำจิตปฏิสนธิ คือ อุเบกขาสันตีรณะกุศล เรียนถามว่า ถ้าเป็นโสมนัส เขาทำกิจอะไร

    ท่านอาจารย์ ๒ กิจ คือ สันตีรณกิจ กับ ตทาลัมพนกิจ

    ผู้ฟัง ทำ ตทาลัมพนะกิจ แต่เขาไม่ทำปฏิสนธิ

    ท่านอาจารย์ ทำไม่ได้

    ผู้ฟัง เรื่องของเมตตา ก็ยังสงสัยอยู่นิดหนึ่งในเมื่อว่า การถวายสังฆทาน พระองค์ทรงตรัสสรรเสริญ ว่าเป็นทานที่มีอานิสงส์หาประมาณมิได้ ทีนี้ทรงตรัสอีกเหมือนกันว่า แม้บุคคลถวายทาน ๑๐๐ หม้อในเวลาเช้า ๑๐๐ หม้อในเวลากลางวัน และ ๑๐๐ หม้อในเวลาเย็น อานิสงส์ของการถวายทาน ทั้ง ๓ เวลานี้พระองค์ตรัสว่า ยังไม่เท่ากับ บุคคลที่เจริญเมตตาเพียง ๑ หยดน้ำนมแห่งแม่โค ทีนี้อย่างนั้นผู้ที่ถวายทาน ๑๐๐ หม้อในเวลาเช้า กลางวัน เย็น เขามีจิตน้อมเป็นสังฆทาน อานิสงส์ จะน้อยว่า เมตตา ขนาดนี้จะเป็นได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปวัด ไปคำนวณ อันโน้นอันนี้มากมายเท่าไร แต่ฟังธรรมต้องเข้าใจ ว่าขณะใดที่จิต เป็นกุศล คือไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ แล้วก็จะผ่องแผ้วแค่ไหนก็ เป็นตามขั้นของกุศลประเภทนั้นๆ

    ผู้ฟัง แต่ในขณะที่ถวายทาน กุศลก็เกิดแล้ว

    ท่านอาจารย์ เกิดแต่ว่าเป็นขั้นไหน

    ผู้ฟัง ขั้นทาน

    ท่านอาจารย์ ขั้นทาน จะเท่ากับขั้นที่เป็น ความสงบของจิตไหม

    ผู้ฟัง น้อยกว่า

    ผู้ฟัง พูดถึงเรื่องจิต ผมคาใจอยู่ตั้งนานแล้ว ว่าจิตของผู้ที่คิดอกุศล จะเป็นบาปอกุศลเกิดขึ้นแล้วหรือยัง อย่างเช่นสมมติว่า นาย ก. คิดว่าคนนี้เป็นคนไม่ดี คนนี้คนเลว จิตก็ไปคิดตรงนั้น หรือไปว่าเขา หรือไปนั่น ทางจิตทางใจ อกุศลตรงนี้เกิดหรือยัง หรือว่าต้องปฏิบัติออกมา พูดออกมา ในขณะคิด แล้วพูดออกมาถึงอกุศล จะเกิด

    ท่านอาจารย์ อกุศลคืออะไร

    ผู้ฟัง ความชั่ว ความไม่ดี

    ท่านอาจารย์ ก็คือโลภะ โทสะ โมหะ ตัวใหญ่ๆ เวลาที่เห็นแล้ว เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล ยังไม่ได้พูด ยังไม่ได้คิดเรื่องอะไรเลย พอเห็นแล้วหลังจากที่เห็นแล้ว

    ผู้ฟัง อกุศลทันที

    ท่านอาจารย์ อกุศล เพราะฉะนั้น ก็เหมือนกัน ก็คือคำตอบของคำถามเมื่อกี้นี้

    ผู้ฟัง จิตเพียงคิดเท่านั้นก็ อกุศล

    ท่านอาจารย์ หลังจากเห็นแล้ว ถ้าไม่เป็นกุศลก็เป็น อกุศล หลังจากได้ยิน หลังจากได้กลิ่น หลังจากลิ้มรส หลังจากได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส และขณะที่คิดนึก ถ้าไม่เป็นกุศล ก็เป็นอกุศล

    ผู้ฟัง ขอเรียนถามว่า มีวันหนึ่ง ผมถอนหญ้า ที่สนามหญ้า ตรงหน้าบ้าน พอถอนเสร็จ แล้วก็ล้างมือขึ้นไปขั้น ๒ ที่ห้องพระ ก็ไปนั่ง พอนั่ง เกิดหญ้ามันขึ้นเป็นแผงเลย ที่ให้เห็นว่า ตั้งแต่เกิด จนมาถึงโตๆ ๆ แตกใบ แตกอะไรต่ออะไร มาให้เห็นอย่างนี้ จิตช่วงนั้นไม่รู้ว่าเป็นอะไร ไม่เคยเกิดอย่างนี้ ขอให้ท่านอาจารย์ อธิบายให้ฟัง

    ท่านอาจารย์ ดีไหม

    ผู้ฟัง ต้องตอบว่าดี เพราะว่าอะไร มันไม่เคยปรากฏให้เห็น มันไม่เคยมีอย่างนี้มา

    ท่านอาจารย์ ได้ประโยชน์ อะไรจากการเห็นที่ว่าดี

    ผู้ฟัง ก็ไม่ทราบเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่ดีต้องมีประโยชน์

    ผู้ฟัง อย่างนี้ผมตอบไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ เราพิจารณาได้ก่อนจะตอบ เราพิจารณาได้ สิ่งที่ดี สิ่งนั้นต้องมีประโยชน์ เพราะฉะนั้น ประโยชน์ อะไรที่เราได้จากตรงนั้น ที่จะว่าดี ได้

    ผู้ฟัง ประโยชน์ เกิดจากความสงบ ช่วงนั้น สงบ ไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เราต้องอาศัยพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะอาศัยครูทั้ง ๖ สมัยโน้น จนกระทั่ง มีความเห็นผิดตลอดมาจนถึงสมัยนี้ ลูกหลานของพวกนั้นกระจัดกระจายอยู่เต็ม ก็ไม่ได้ ต้องอาศัยการศึกษาการฟัง พระธรรมเท่านั้นจริงๆ ถึงจะ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร แต่เราพอคิดได้ อยู่ดีๆ เรานั่งแล้วเราหลับตา แล้วเราไปเห็นต้นหญ้าขึ้นทีละต้น ๒ ต้น เราจะยอมรับหรือว่านั่นนะดี ดีอย่างไร ได้ประโยชน์อะไร มีความเห็นอยู่ ๒ อย่าง ความเห็นผิดกับความเห็นถูก ความเห็นผิดไม่ยากเลย ไม่ต้องศึกษาไม่ต้องทำอะไรก็เห็นผิด แต่ความเห็นถูก ต้องศึกษาต้องฟัง แล้วก็ต้องพิจารณา เช่น เวลานี้เรากำลังจะสะสมความเห็นถูก จากการฟัง ซึ่งเป็นการศึกษา พิจารณา เพราะฉะนั้น จะต้องเป็นการพิจารณาของเราเอง ก็ถามใหม่อีกครั้งหนึ่ง ว่าเวลานั่งแล้วเห็นต้นหญ้างอกขึ้นมาทีละต้น ๒ ต้นดีไหม เอาเดี๋ยวนี้ เอาคำตอบเดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง ถ้าจะบอกว่าดี มันต้องตอบว่า อย่างที่อาจารย์ว่า ไม่เข้าใจธรรม มันก็ไม่ดีแน่นอน

    ท่านอาจารย์ ไม่ดี ทิ้งไปเลย ไม่ต้องสนใจเลย เพราะฉะนั้น ต้องไม่สงบ ถ้าสงบแล้วต้องดี สงบที่นี่ สงบจากอกุศล จึงดี เพราะฉะนั้น เวลาสิ่งใดด็ตามที่ไม่ดี ต้องสิ่งนั้นไม่สงบ ขณะนั้นมีโมหะ แน่นอน ไม่รู้อะไร แล้วก็มีความพอใจที่คิดว่าดี เป็นโลภะด้วย เพราะฉะนั้น เราจะให้ทุกอย่าง อย่างใจของเรา คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าแม้ เราเองแต่ละคนก็ต่างอัธยาศัยกันมา แต่ว่าพระธรรมสำหรับประพฤติปฏิบัติตาม สำคัญที่สุดเลย ในบารมีแต่ละข้อ เราก็อุตส่าห์ภาคเพียรที่จะเข้าใจว่า อะไรเป็นบารมีบ้าง บารมีไม่ใช่เพียงชื่อ แต่ทุกสถานการณ์ที่กุศลจิตเกิด จะเป็นบารมี ๑ บารมีใด วิริยะบารมี ขันติบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อธิษฐานบารมี สัจจะบารมี แล้วทำไม เราเพียงแต่รู้ว่าเป็นบารมี แต่ไม่สะสมเลยสักบารมีเดียว ความเมตตาอยู่ที่ไหน เมื่อกี้นี้ใครว่าจะมี มากๆ พอถึงเวลาจริงๆ ก็ดูก็แล้วกัน ว่าจิตของเราเมตตาหรือเปล่า แล้วก็ถ้าเดี๋ยวนี้ ขณะจิตนี้ ไม่มีเมตตา หวังรอว่าจะมีมากๆ เมื่อไร ถ้าเราไม่สะสมไปเรื่อยๆ ทีละขณะ เพราะฉะนั้น ความอดทน และความเข้าใจ ความเห็นใจ ความมีเมตตา เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ รอไว้ให้ ใครเพียงแต่อ่านแล้วก็ ไม่ทำตาม แต่ว่าผู้ที่มีปัญญาจริงๆ เขาจะไม่รอเลย ไม่ว่าจะเป็นบารมีข้อไหน

    ผู้ฟัง ผมก็ไม่รู้จะใช้คำอะไร คือหมายความว่าที่เคยผ่านมาก็แล้วกัน ว่าการแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ หลังจากนั้นแล้ว ก็มีการแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ขอให้ท่านอาจารย์ช่วยกรุณาอธิบาย ทั้ง ๒ อย่าง เกี่ยวกับกุศลของทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นอย่างไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นเรื่องจริง แล้วถ้าเราจะมีเมตตา เราต้องทราบว่า ขณะนั้น เป็นเมตตาแท้จริงหรือเปล่า หรือไม่มี แต่เข้าใจ หรือหลอกตัวเองว่ามี เราต้องรู้จักตัวเราเองสิ มีเมตตาหรือเปล่า ถ้าเราไม่มีพอ แล้วเราไปแผ่ เราแผ่อะไร เราไม่มี

    ผู้ฟัง ที่นี้ว่าการที่ไม่มีเมตตา ท่านอาจารย์พูดก็ถูก แต่ว่าทีนี้ผู้ที่มีเมตตา ผมคิดว่าต้องสะสมมาพอสมควร อย่างเช่นว่าเมตตา เมตตาจิต ผู้ที่มีเมตตาจิต ก็ดูการกระทำต่างๆ ออกจากจิตของผู้นั้นเองว่า เขาทำดีแค่ไหน มีกุศลจิต ไหม

    ท่านอาจารย์ นั่นคือเจริญเมตตา ไม่ได้แผ่ แต่จริงๆ เป็นใจจริงเป็นความจริง เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะไปแผ่ เรามีเมตตามาก ขึ้นๆ

    ผู้ฟัง บทแผ่เมตตาทั้งหลาย ที่ในหนังสือทั้งหลายของธรรม

    ท่านอาจารย์ ต้องได้ฌานเสียก่อน ถึงจะแผ่ได้ ถ้าไม่ศึกษาธรรม ก็ไม่รู้ ก็แผ่กันไปโดยที่ไม่มีจะแผ่ ก็แผ่

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อผู้ที่ได้ฌานแล้ว

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ แผ่กว้างออกไป ตามกำลังของฌานด้วย แม้แต่เมตตา ปฐมฌานก็มี ทุติยฌานก็มี ตติยฌานก็มี จตุตฌานก็มี นี้แสดงให้เห็นว่า เมตตามีกำลังเพิ่มขึ้น มีจริงๆ ไม่ใช่ว่าไม่มีแล้วนั่งแผ่

    ผู้ฟัง แล้วเมตตานั้นจะ สะท้อนกลับมาให้กับผู้แผ่หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ หวังอะไร

    ผู้ฟัง ไม่ทราบ ถามดู เพราะว่าผมไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องคิด ธรรมนี้ต้องคิด อย่าเพิ่งรับฟังไปเฉยๆ แต่ต้องฟังแล้วก็พิจารณาด้วย ที่ทำกุศลทั้งหลายหวังอะไร ที่จะมีเมตตาต่อคนอื่นหวังอะไร ถ้าไม่หวัง แล้วต้องมานั่งนึกถึง จะสะท้อนกลับมาไหม ไม่ต้องคิด ขณะใดที่กุศลจิตเกิดขึ้น เป็นกุศล นั่นคือเป็นกุศล จบ ดับไปแล้ว เกิดอีกเป็นกุศลอีก ก็ดับไปแล้ว ไม่ต้องมานั่งคิดว่า จะมาสะท้อนหรือไม่สะท้อน หรือว่าจะได้อะไร

    ผู้ฟัง ตอนที่อาจารย์พูดว่า เมื่อได้ฌานแล้วแผ่ เข้าใจ ในขณะซึ่งเขาได้ฌานแล้วเขาแผ่เมตตา

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า เขามีเมตตากว้างไกลไปอีก ไม่จำเป็นต้องมานั่งพูด

    ผู้ฟัง คนรับ ลักษณะที่คนรับจะรับ มันมีลักษณะเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องรับเลย จิตของใคร ก็ของคนนั้น

    ผู้ฟัง จิตของใครของคนนั้น

    ท่านอาจารย์ โดยมากคนจะพูดถึงผล จูงไปให้หวังผล หรือหาผล แต่นั้นเป็นเรื่องติด เพราะฉะนั้น ทำอย่างไร แทนที่เราจะต้องไปติดอยู่กับผลที่ดี แต่เราละตั้งแต่ต้นเลย นี่คือกุศลจริงๆ ถึงแม้ว่าเราจะมีเมตตามากมายมหาศาล เราก็ไม่ได้คิดถึงว่า จะต้องมีสะท้อนมาหาเราหรือเปล่า หรือเราจะได้อะไรบ้าง ไม่จำเป็นเลย นั้นหมายความว่าคอยจะมีเราซึ่งหวังผลอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าขณะใดที่เป็นเมตตา หรือเป็นกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด ก็เป็นกุศลประเภทนั้นแล้วก็ดับ แล้วก็ต้องถึงกระดูก ของความเป็นอนัตตาด้วยว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตน นี้คือเรื่องละ

    ผู้ฟัง ทีนี้ว่า ส่วนกุศลที่อุทิศไปให้ ผู้ที่เราแผ่ไปให้ จะได้รับหรือเปล่า ผู้นั้นที่แผ่ไปให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย

    ท่านอาจารย์ ได้รับคืออะไร ถ้าเราศึกษาจริงๆ เราจะเข้าใจได้เลยว่า เมตตา มีความเป็นเพื่อน หวังดี ได้ยินเขาบอกว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีสุข แล้วเราเป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่า ใจของเราที่กำลังจะพูด หรือพูด เป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง แน่นอนเป็นจริงเลย

    ท่านอาจารย์ เป็น หรือ ไม่เกลียด คนนี้หรือ ไม่โกรธคนโน้นหรือ ในหนังสือพิมพ์ มีคนทำไม่ดี

    ผู้ฟัง ในขณะจิตตอนนั้น อย่างเช่นว่าถ้าเผื่อพูดถึงว่า ได้อ่านข่าวผู้ที่ปฏิบัติไม่ดี หรือทำไม่ดี จิตตอนนั้นเป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ แล้วเราจะเอาเมตตาไปแผ่ตรงไหน

    ผู้ฟัง แต่ว่าทีนี้ที่ผมยกตัวอย่าง ตัวผมเอง

    ท่านอาจารย์ เราแผ่ด้วยปาก ไม่ใช่ด้วยใจ ถ้าด้วยใจ เราต้องรู้ว่าใจของเราเมตตาเขาหรือเปล่า เขาเป็นในสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงหรือเปล่า เขารวมอยู่ในนั้นด้วยไหม ในเมื่อเขารวมอยู่ในนั้น แล้วเราพูดอย่างนี้ ใจจริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง แต่เท่าที่ผมเคยทำมา สมมติมีใครมาทำไม่ดี หรือมาพูดไม่ดี หรือมาว่าอะไรไม่ดี ผมจะนึกถึงเลยว่า เราเมื่อเราแผ่เมตตาให้เขาแล้ว เราจะไปโกรธเขาทำไม

    ท่านอาจารย์ แล้วที่จริงๆ ตอนแผ่ เราไม่มี

    ผู้ฟัง ไม่มี แล้วก็ ตอนที่เราจะตอบสนองที่เขาทำมา

    ท่านอาจารย์ เมตตาเกิด ขณะใด มีเฉพาะเมื่อนั้น

    ผู้ฟัง เกิดดับไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ แล้วอุทิศส่วนกุศล ถ้าทำกุศลแล้ว เป็นสิ่งที่ดี

    ผู้ฟัง เช่นว่าเวลาผมนั่งปฏิบัติ ใช้คำว่าปฏิบัติอีกแล้ว ก็ไม่รู้จะใช้คำอะไร นั่งสมาธิ ก็แล้วกัน

    ท่านอาจารย์ ก็แผ่ สิ่งที่ไม่ถูกให้คนอื่น

    ผู้ฟัง ไม่เชิง เพราะว่า ทำไมถึงพูดว่าแผ่

    ท่านอาจารย์ ก็เมื่อกี้บอกว่า ไม่รู้ ปฏิบัติแล้วไม่รู้ ไม่ใช่รู้นี้ ไม่ใช่ความเห็นถูก ไม่ใช่ปัญญา

    ผู้ฟัง ผมเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์ แล้วก็ฟังธรรม ท่านอาจารย์มามากก็จริง มีอยู่อย่างหนึ่งที่ผมละไม่ได้ก็คือ ผมยังติดการกราบไหว้บูชาพระภูมิเจ้าที่อยู่

    ท่านอาจารย์ จิตเป็นอย่างไร ขณะนั้น

    ผู้ฟัง ขณะที่ไหว้นั้น นอบน้อมต่อรูปปั้น ที่อยู่ในศาลเล็กๆ

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีรูป และไม่มีศาล นอบน้อมต่อเทพได้ไหม ระลึกถึงคุณของเทพได้ไหม

    ผู้ฟัง น่าจะได้

    ท่านอาจารย์ ควรจะระลึกถึงคุณ ใช่ไหม เพราะว่าท่านมีกุศลที่ทำให้เกิดเป็นเทพ แล้วก็พร้อมกันนั้นก็ควรที่จะให้มีกุศลนั้นๆ ในตนด้วย นี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ถ้าเราเห็นว่าใครดี หรือว่าใครมีกุศล ไม่ใช่ปล่อยเขาไปตามทางของเขา แต่ว่าเป็นอนุสติที่าจะระลึกถึงเพื่อที่ว่า เราจะได้ประพฤติตาม สำคัญที่สุดคือธรรม สำหรับประพฤติตาม

    ผู้ฟัง ทุกวันนี้ เวลาเช้าค่ำๆ เช้าค่ำ ผมก็ยังจุดธูป ถวายน้ำ ถวายผลไม้ อะไรต่างๆ กราบไหว้ เป็นประจำ

    ท่านอาจารย์ ศาลพระภูมิหรือ

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ท่านไม่สนใจ จริงๆ แล้วก็เป็นกุศลจิตของเราที่นอบน้อมเหมือนกับว่า เราบูชา พระพุทธรูป สมัยที่ปรินิพพานท่านพระอานนท์ ท่านก็ดูแล พระคันธกุฎี เหมือนกับยังประทับอยู่ เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ว่าใครจะมีจิตนอบน้อมทำอะไร แต่ต้องรู้ตัวเองในขณะนั้น หวังอะไรหรือเปล่า ถ้าเป็นเพียงความนอบน้อมจริงๆ ระลึกถึงคุณจริงๆ เป็นกุศล แต่ถ้าแทรกด้วยอย่างอื่นมาขณะนั้นไม่ใช่กุศล

    ผู้ฟัง อยากเรียนถามว่า ถ้าเกิดหวังว่า ขอให้คุ้มครองปกปักรักษาคนในบ้านอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ใช้เทพ

    ผู้ฟัง เป็นอกุศลไหม

    ท่านอาจารย์ ก็ใช้เทพ

    ผู้ฟัง แต่เท่าที่ผมได้สนทนากับผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีอายุ อะไร อาวุโสกว่า เขาก็บอกว่าดีแล้วลูก ดีแล้วลูก ทำดีแล้วลูก ทำต่อไป

    ท่านอาจารย์ แต่เขาให้ ความรู้ ตวามเข้าใจอะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ไม่ได้ให้

    ท่านอาจารย์ ที่นี้ถ้าเราจะรู้ว่าเทพคือใคร ต้องไปเกิด เป็นผลของกุศล แล้วเราระลึกถึงกุศล พอแล้ว เพราะว่าเทพจริงๆ ก็ไม่ได้มาสนใจกับดอกไม้ ธูปเทียน น้ำอาหารอะไรเลย เพราะว่าไม่ใช่อาหารของเทพ แต่ว่ากุศลจิต ของเราที่เกิด เทพจะอนุโมทนามากกว่า

    ผู้ฟัง ณ จุดตรงนี้ หลังจากที่สนทนาตรงนี้แล้ว ผมควรที่จะบูชาเหมือนเดิมหรือว่าเลิกบูชา

    ท่านอาจารย์ ไม่เกี่ยว เกี่ยวกับการระลึกถึงคุณ ขณะที่บูชา คือระลึกถึงคุณ ไม่ใช่ด้วยวัตถุ เหมือนกับการบูชาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แท้จริง ไม่ใช่ด้วยวัตถุ ใครก็บูชาได้ ดอกไม้ ดอกมะลิ แต่ประพฤติตามหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าเกิดผมเรียนว่าทั้ง ๒ อย่างควบคู่กันไป

    ท่านอาจารย์ แล้วแต่อัธยาศัย แต่ว่าจริงๆ แล้ว ถ้ารู้ว่าเทพท่านไม่สนใจ แล้วเทพท่านก็อาจจะไม่อยู่ที่ศาลาเล็กๆ เล็กนิดเดียว

    ผู้ฟัง แต่ว่าจากประสบการณ์ส่วนตัว อย่างผมบูชามานานหลายสิบปี บูชา เช้าค่ำ เช้าค่ำๆ ๆ

    ท่านอาจารย์ เคยคิดที่จะไม่มีศาลพระภูมิบ้างไหม

    ผู้ฟัง คงทำใจไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ง่ายมากเลย นั่นไม่ใช่ที่อยู่ของเทวดา

    ผู้ฟัง แต่ผมเคยถามท่านอาจารย์สัน อาจารย์สันบอกว่า ผมทุบถึงเลย อาจารย์พูดอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ก็พิจารณาเหตุผลนั่นเป็นที่อยู่ของเทพหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ถ้าอยากนี้ขอเรียนถามอย่างที่มีคนไปกราบไหว้ อนุสาวรีย์ของพระบรมรูปทรงม้าตรงนั้น

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วเราทำไมไม่ระลึกถึงคุณ ทำไมเราไปทำอะไรต่างๆ ซึ่งเราคิดว่าเหมือนการซึ้อการขายหรือว่าหวังอะไรเป็นเครื่องตอบแทน เพราะว่าถ้าคิดถึงใจจริงๆ พวกที่บูชาด้วยอามิส หวังอะไรตอบแทนหรือเปล่า

    ผู้ฟัง หวังการคุ้มครอง

    ท่านอาจารย์ ก็นั่นสิ ต้องมีความหวัง แล้วเราจะเห็นคนที่มีความหวัง หรือเราจะเป็นคนที่เชื่อในกรรมของเรา ถ้าเรามีกรรมดี เพื่อนฝูงในโลกนี้ก็ช่วยได้ หรือจะมีทางหนึ่งทางใดที่มีใครจะช่วยก็แล้วแต่บุญกรรมของเรา เป็นผู้ที่มั่นคงในเรื่องของกรรมของตนเอง

    ผู้ฟัง เย็นนี้กลับไปผมก็เลิกบูชา

    ท่านอาจารย์ แล้วก็จะเอาออกไปไหม ยัง เพราะโดยมากกลัว เป็นความกลัว กลัวอะไร เป็นความกลัว จริงๆ

    ผู้ฟัง ผมกลัวอย่างนี้ เดี๋ยวบอกว่า อ๋อนายนันทวัฒน์ เดี๋ยวนี้เธอปีกกล้าขาแข็งไม่บูชาฉันแล้ว ฉันจะต้องแกล้งเธอ

    ท่านอาจารย์ คุณนันทวัฒน์ บูชาใคร

    ผู้ฟัง บูชา โอปปาติกะ ทีสถิตย์ในศาล นี้คือความเชื่อ

    ท่านอาจารย์ คุณนันทวัฒน์ ไม่ได้บูชา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ

    ผู้ฟัง นั้นสูงกว่า ยังละไม่ได้ ตรงนี้ ผมยังติดอยู่ในเรื่องการบูชาเจ้าที่ ไม่รู้ทำอย่างไร

    ผู้ฟัง คุณนันทวัฒน์ ผมเองตั้งแต่สร้างบ้าน ๑๕ ปีที่แล้วก็มีศาลพระภูมิ หลังจากภรรยาตาย การบูชาที่ศาลพระภูมิ ปกติผมไม่เคยบูชา มีแต่ภรรยาผม เอาดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา มีช้างมีม้า ภรรยาตายไปประมาณ ๓ ปี ผมก็มองแล้ว ทำไมทรุดโทรม ไม่ได้สนใจอะไร ใบไม้อะไรรุงรังเลย ผมก็ให้คนงานไปรื้อออกเอาไปทิ้ง ในใจผมคิดว่า ในเมื่อเรามีไว้ ท่านก็ทรุดโทรม อุดจาดตา ผมก็อธิษฐานในใจ นึก บอกว่า ถ้าท่านมี เทพ เป็นอะไรจริงๆ เชิญ ชั้น ๓ ห้องพระ ห้องพระผมอยู่ชั้น ๓ เชิญท่านอยู่ที่นั่นแล้วกัน ห้องนั้นใหญ่กว่าหว้างกว่า ผมอธิษฐาน แล้วก็ให้คนงานมายกออกไป ยกออกไปก็รู้สึกโล่งอกเหมือนกัน หลังจากนั้นอีกประมาณ ๒ อาทิตย์ ผมก็มาได้เรียนพระธรรมกับท่านอาจารย์ เป็นเรื่องบังเอิญ ทุกวันนี้ ก็ไม่มี ศาลพระภูมิ เชิญท่านขึ้นไปอยู่ห้องพระ ถ้าท่านชอบ

    ผู้ฟัง สุดท้ายของผม คำถามสุดท้ายของผมจริงๆ ตอนนี้ ก็คือว่า ถ้าพูดถึงการบูชาพระภูมิ ผมได้อ่านในพระสูตรสั้นๆ ผมจะไม่พูดยาว ก็คือว่า มีครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเคยเสวยพระชาติ เป็นรุกขเทวดา แล้วสถิตย์อยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง แล้วครั้งนั้นท่านพระอานนท์เถระ เกิดเป็นมานพหนุ่มคนหนึ่ง แล้วปรากฏว่าท่านเกิดความเลื่อมใส เชื่อว่าในต้นนั้นจะต้องมีรุกขเทวดาสถิตย์สิงสถิตย์อยู่ ท่านพระอานนท์ก็เลยปฏิบัติรับใช้ คอยกวาดเก็บอะไรต่างๆ บูชาอย่างที่ผมบูชาอย่างนี้ เป็นอดีตชาติไปแล้วตั้งแต่ตอนนั้น ผมก็เลยเข้าใจว่า ถ้าจากพระสูตรอันนี้ เป็นไปได้ไหม ถ้าเราบูชาพระภูมิเจ้าที่อย่างนี้ คงไม่ผิด นี้คือความเห็นของผม อยากเรียนถามท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ แล้วมีจริงๆ หรือเปล่า เราก็ไม่ทราบ แล้วถ้าไม่มี โมฆะหมดหรือเปล่า แล้วอย่างไร

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์เมตตา ช่วยตอบให้ผมหน่อย หายแบบเลิกบูชาไปเลย อะไรทำนองนี้ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ดิฉันคิดว่า ท่านไม่สนใจเรา จะบูชาหรือไม่บูชา แต่ว่าท่านจะอนุโมทนา เวลาที่เราทำกุศล แทนที่คุณนันทวัฒน์จะไปบูชา ถ้าคุณนันทวัฒน์จะโกรธ แล้วคิดถึง เทพไม่โกรธจึงได้ไปเกิดเป็นเทพ ด้วยกุศลจิตในขณะนั้น ไม่ใช่ไปด้วยโทสะ คุณนันทวัฒน์ก็จะมีกุศลจิตที่เกิดมากขึ้น อยู่ได้ ห้องพระของคุณวีระยุทธกับวิมานของเทวดา ก็แล้วแต่ท่านจะเลือก ท่านจะอยู่ที่ไหน ก็นั่นนะสิ เพราะฉะนั้น เราไม่มีสิทธิ์ ที่จะไปจัดแจงว่าให้เทพอยู่ที่ไหน ไม่ใช่สิทธิ์ รุกขเทวดามีจริง แต่ว่ามีหรือไม่มีตรงไหน ต้นไหนเราจะเห็นไหม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 100
    23 มี.ค. 2567