ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
ตอนที่ ๔๗๑
สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย
พ.ศ. ๒๕๔๑
ท่านอาจารย์ รุกขเทวดามีจริง แต่ว่ามีหรือไม่มีตรงไหน ต้นไหนเราจะเห็นไหม ถ้าเราไม่เห็น แล้วเราก็ไปนั่งไหว้ หรือว่าไปนั่งทำอะไรอยู่โดยที่ตรงนั้น ไม่มี เพราะว่าจริงๆ ถึงมี เทวดาก็ควรจะอนุโมทนาในกุศล ที่เราทำ เป็นคนที่มั่นใจในกรรม และในผลของกรรม
ผู้ฟัง แสดงว่าผมยังมีสีลัพพตปรามาส
ท่านอาจารย์ นี้ยังไม่ได้มั่นคงในการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ต้องเป็นอย่างนี้ จะอดไม่ได้ในเรื่องการดูหมอดูหรือว่า ในเรื่องอะไรๆ อีกหลายอย่าง บางคนก็อาจจะ ไปดูเข้าทรง หรืออะไรก็ได้ ตามการสะสม ยังมีความโน้มเอียง ที่ยังไม่มั่นคง แต่ถ้าเมื่อไรมีความมั่นคงอย่างท่านพระอานนท์ ชาติที่ท่านรู้แล้ว ก็ไม่เหมือนกับในชาติที่ท่านรู้จริงๆ ว่ามีรุกขเทวดา
ผู้ฟัง เรารู้ชัดว่าเรานั่ง
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ชัดต้องมีลักษณะของสภาพธรรมในขณะที่นั่ง เราก็ต้องไม่มี ถ้าจะเอาภาษารู้ชัดว่าเรานั่ง ก็เป็นอันว่าไม่ต้องรู้อะไรที่เป็นอภิธรรม หรือปรมัตถธรรม แต่พระอภิธรรมกับพระสูตรก็เป็นธรรมอย่างเดียวกัน ไม่ใช่ว่าพระสูตรเป็นธรรมอย่างหนึ่ง แล้วพระอภิธรรมเป็นธรรมอีกอย่างหนึ่ง
ผู้ฟัง ภาษามันจูง เรานั่งก็รู้ชัดว่าเรานั่ง
ท่านอาจารย์ เรามีไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ อะไรนั่ง ถ้าไม่มีเราก็คือรูปนั่ง แล้วรูปอะไรนั่งก็ต้องถามต่อไปอีก
ผู้ฟัง ก็เป็นอาการ
ท่านอาจารย์ รูปอะไร
ผู้ฟัง ลักษณะพิเศษของ เขาที่นั่ง
ท่านอาจารย์ ต้องมี ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม นี้แน่นอน ถ้าไม่มีธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม จะนั่งได้อย่างไร เก้าอี้นั่งหรือเปล่า หรือเก้าอี้นอน เก้าอี้ก็เป็นรูป เราก็ป็นรูปเหมือนกัน ศพนั่งหรือนอน หรือยืน ไม่ใช่หมายความว่าใครก็ตาม อยู่ที่ไหนก็ตาม อ่านพระไตรปิฎกเข้าใจหมด นั่นผิดเลย ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย เพราะพระธรรมจากไหน จากการตรัสรู้ รู้อะไร รู้สิ่งที่รู้ง่าย หรือรู้ยาก เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราไม่รู้อะไร แล้วเราก็มาอ่าน คิดว่าเราอ่านแล้วเราก็เข้าใจ
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น ในการอ่านพระไตรปิฎก เราจะต้องมีการอ่าน ขยายความเรื่องของพระไตรปิฎกอีกที ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คนฟังในอดีตเป็นใคร คนฟังปัจจุบันเป็นใคร เพราะฉะนั้น เราอ่านพระไตรปิฎก เหมือนเรากำลังฟัง พระธรรมจากพระโอษฐ์ที่ทรงแสดงกับคนนั้นคนนี้ ซึ่งท่านผู้นั้นเป็นใคร แล้วเราเป็นใคร แล้วอยู่ดีๆ เราคิดว่า เราฟังอย่างนี้แล้วเข้าใจว่าพระพุทธเจ้า สอนให้รู้รูปนั่ง หรือว่าสอนให้รู้ว่านั่งก็รู้ว่ากำลังนั่ง ถ้าอย่างนั้นไปเฝ้าที่พระวิหารเชตวันไม่ได้ เพราะว่าไปแล้วก็ไม่รู้เรื่อง แต่คนที่ไป ไปแล้วมีการสะสมที่จะฟังเข้าใจหมด
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นในการอ่านพระไตรปิฎก พระไตรปิฏกไม่ใช่สำหรับทุกคนจะอ่าน
ท่านอาจารย์ ต้องศึกษา ต้องเรียน
ผู้ฟัง ศึกษาในที่นี้ต้องมีครูบาอาจารย์
ท่านอาจารย์ สะสมมาที่เขาจะเข้าใจ ก็ได้ ถ้าเขาศึกษามาในอดีต ของเขา เขาสามารถที่จะรู้ได้แต่เขาต้องเรียนพระอภิธรรม ต้องรู้พระอภิธรรม ถ้าไม่รู้พระอภิธรรม ก็อาจจะมีความเข้าใจผิดแน่นอน แต่ก็ไม่แน่ คนที่รู้พระไตรปิฎก ไม่รู้พระอภิธรรมก็ยังเข้าใจผิดได้ ขึ้นอยู่กับการสะสม
ผู้ฟัง ถ้าชินมาพูดเรื่องคิดกับพิจารณา ช่วงนั้นมีตัวตนหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ มีความเห็นผิดที่เป็น อนุสัย หมายความว่ายังไม่ได้ดับอยู่ในจิต ทุกๆ ขณะ จะหมดอนุสัยในเมื่อเป็นโสดาบัน เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะต้องมานั่งบอกขณะนี้ว่า เราเห็น เราชอบ เราไม่ชอบ ไม่ต้องเลย แล้วแต่สภาพธรรมเกิดขึ้น จะเป็นอกุศลชนิดไหน เป็นโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ จะมีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย หรือว่าไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย แต่ยังมีอยู่แน่ในจิตทุกดวง
ผู้ฟัง การศึกษามันก็ไม่สามารถลดละได้
ท่านอาจารย์ เพียงการศึกษา ดับกิเลสไม่ได้ แต่เริ่มรู้หนทางที่จะดับกิเลส ซึ่งแต่ก่อนนี้ ไม่เคยรู้ว่า หนทางดับกิเลส เป็นอย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าสมมติคนที่ไม่เรียนพระอภิธรรม เขารู้ว่าสิ่งนั้นคือผิด สิ่งนี้ที่เขาคิดคือคิดนึกผิด วาจาผิดกิริยาผิด คนเหล่านั้นมีหนทางที่ออกจากกิเลส…
ท่านอาจารย์ ไม่มี มีหนทางที่จะดีขึ้น คือ ละเว้นอกุศล แต่ไม่มีหนทางที่จะชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอกุศล
ผู้ฟัง คนที่สามารถลดละ อนุสัยกิเลสนั้น ก็คือ
ท่านอาจารย์ มีหนทางเดียว มรรคมีองค์ ๘ ไม่ใช่ใครด้วย หนทางเดียว
ผู้ฟัง กำลังจะถามต่อว่า ถ้าเรารู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะซึ่งนั่ง ยืน เดิน นอน ก็แล้วแต่ รู้ลักษณะของสภาพธรรมนี่มันเป็นรูป นามธรรมมันเป็นอย่างนี้ รูปธรรมเป็นอย่างนี้ เอาตรงนี้ก่อน ยังไม่ต้องไปถึงว่า เกิดดับ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปแน่
ผู้ฟัง หมายความว่า เราจะรู้ชัดจริงๆ รูปที่เขานั่งอยู่ มันคือลักษณะของสภาพธรรม ที่เกิดดับ
ท่านอาจารย์ ทำไม่เราถึงต้องเรียนเรื่องของวิถีจิต แต่ละทวาร ทางตาก็เป็นเรื่องของทางตา จิตเกิดขึ้นที่ละหนึ่งขณะเท่านั้น ขณะที่ทางตา จิตกำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏ ขณะนั้นจะไม่รู้อื่นเลย เราเรียนทำไมเรื่องนี้ ทำไมเราต้องเรียนว่านี้เป็นวาระของจักขุทวารวิถี จิตอื่นไม่มี โสตทวารวิถี มโนทวารวิถีก็ไม่ใช่ เพราะเหตุว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ แล้วพอถึง โสตทวารวิถี ... นอกจากเสียงที่ปรากฏ แล้วทางมโนทวารวิถีก็รับ สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ต่อทีละวาระ นี้เราเรียน ทำไม มีประโยชน์อะไร ก็ไม่ต้องเรียน แต่เรียนเพื่อที่จะให้เข้าใจจริงๆ ว่าสภาพธรรมจริงๆ เป็นอย่างนั้น แล้วปัญญาของเราที่จะรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ต้องอบรม ไม่ใช่พอฟังบุ๊ป รู้หมดเลย ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม แล้วก็ไปเอารูป นั่ง รูปอะไรมาใส่ ตรงไหน ทวารไหน ลักษณะสภาพธรรมอะไร เป็นปรมัตถธรรมอะไร
ผู้ฟัง โดยทั่วไป พอรู้ตัวก็นั่งพอรู้ตัวก็ยืน คือมันอัตโนมัติ มันรู้ทันที
ท่านอาจารย์ ที่ถาม หมายความว่า เราจะไม่คุยเรื่องนี้ เรื่องของคนอื่น ที่เขาเข้าใจผิด แต่ถ้าเป็นเรื่องการอบรมเจริญปัญญา อย่างคุณพันทิพาพูดได้ เพราะว่ากำลังมีความเข้าใจอย่างนี้ คำว่า ทิ้ง เราจะทิ้งเรื่องไร้สาระ ที่คนอื่นเขาจะพยายามที่จะให้มีรูปนั่ง แต่ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่มีรูปนั่งเลย แต่ในความรู้สึกยังมี แสดงว่าอัตตสัญญากว่าจะทิ้งไปได้ ต้องปัญญาที่รู้จริงๆ ประจักษ์จริงๆ เห็นว่าไม่มีอะไรเลยจริงๆ เมื่อไร เมื่อนั้นคือการพิสูจน์ปัญญาว่าถึงระดับที่สามารถเห็นความจริงๆ ตามที่ได้เรียนว่านอกจากนี้ไม่มีอะไร
ผู้ฟัง มันจะเริ่มตรง สติปัฏฐาน เริ่มเกิด หรือเมื่อญาณเกิดแล้ว
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นวิปัสสนาญาณ
ผู้ฟัง ชินขอถามว่า คนที่เป็นพระโสดาบัน เขาจะไม่ก่อ อกุศลกรรมใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เป็นผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีล ๕ แล้วก็ดับกรรมที่จะให้ไปสู่อบายภูมิทั้งหมด ไม่มีเหลือเลย
ผู้ฟัง เขานึกคิด
ท่านอาจารย์ นึกคิดต้องมี อกุศลอื่นยังมี โลภะ ยังมี สำหรับวจีทุจริต ละได้เพียง มุสาวาท อย่างเดียว
ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่า คนที่ไม่ได้เรียนพระไตรปิฎก คือเป็นพระโสดาบันชาติก่อน เกิดมาเป็นคน แต่สัญญา ไม่ใช่เที่ยงเขาจำไม่ได้ แต่ว่าเขากระทำของเขาคือ ไม่ผิดศีล ๕ นั้น แต่เขาไม่ได้เรียนพระอภิธรรม มันได้ไหม
ท่านอาจารย์ การเรียนพระอภิธรรมเรียนเพื่ออะไร เราต้องทราบ ถ้าคนที่เขารู้สภาพธรรมแล้วทั้งหมด อย่างพระโสดาบัน ท่านเรียนเพื่ออะไร พระสกทาคามีท่านเรียนเพื่ออะไร พระอนาคามีท่านเรียนเพื่ออะไร พระอรหันต์ ยังฟัง พระธรรมจากพระพุทธเจ้าเพื่ออะไร ระดับของปัญญาต่างกันหมดเลย
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อสมมติ เขาเกิดในประเทศที่ไม่มีพระธรรม สามารถเป็นอย่างนั้นได้ไหม
ท่านอาจารย์ สามารถเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง ที่ว่าเขาไปเกิดในประเทศที่ไม่
ท่านอาจารย์ คุณชินคงไม่เข้าใจที่ว่าพระโสดาบันดับกิเลส เป็นสมุจเฉท กิเลสใดที่ดับแล้ว จะไม่เกิดอีก หมายความว่าอย่างไร มีปัจจัยที่จะทำให้เกิดอีกเลย เพราะฉะนั้น เขาจะไม่มีความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าเขารู้ แต่เขาไม่รู้ว่ามีพระพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องเรียกชื่อเลยแน่นอน ไม่มีความสงสัย ไม่มีความเห็นผิด แล้วเขาจะมีความสติสัมปชัญญะที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ด้วยความรู้
ผู้ฟัง พิจารณาอะไร ถึงจะเห็น อนิจจัง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จุดที่จะให้ไปเห็น อนิจจังเลย ทุกคนฟัง ไม่ใช่จุดที่จะให้ไปเห็น อนิจจัง
ผู้ฟัง หมายความว่า ที่เราต้องการเห็น อนิจจัง นั่นผิด
ท่านอาจารย์ มีปัญญาพอ มีปัญญา หรือยัง เข้าใจแค่ไหน
ผู้ฟัง คือจะต้องเป็นขั้นตอน ไหมว่าต้องเห็น อนิจจังก่อน ทุกขัง
ท่านอาจารย์ ไม่เกี่ยว ไม่เกี่ยวกับใคร ใครจะมาวางหลักสูตรไม่ได้ เรามีความเข้าใจสภาพธรรม ในขณะนี้ แค่ไหน ที่เราเรียน ธรรม แล้วเราก็ทราบว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ตั้งแต่เกิดจนตาย เราคงไม่ลืม ทุกคนทราบ แล้ว ธรรมก็กำลังมีปรากฏ อยู่ในขณะนี้ ทางตาเห็น สิ่งที่ปรากฏก็เป็นธรรม สภาพเห็นก็เป็นธรรม ที่กำลังได้ยิน เสียงที่ปรากฏ ก็เป็นธรรม เราได้ยิน อย่างนี้มานาน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเครื่องตรวจสอบสติปัญญา ของเราว่าสามารถจะเข้าใจตัวธรรมจริงๆ ขณะนี้ที่กำลังปรากฏแค่ไหน นี่คือจุดประสงค์ของการเรียน เพราะเหตุว่า เรียนแล้ว เมื่อเรียนแล้ว ผลก็คือว่าเราสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้หรือยัง และก็เข้าใจได้แค่ไหน เมื่อยังไม่ได้เข้าใจถึงระดับขั้นที่เป็นความเข้าใจจริงๆ ประจักษ์แจ้งจริงๆ ก็ศึกษาต่อไปเพื่ออะไร เพื่อจะได้เห็น เป็นธรรมที่ไม่ใช่ตัวเรา ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น การเรียนทั้งหมด ให้ทราบว่าเพื่อที่จะเป็นเครื่องทดสอบให้เรา เข้าใจความจริงว่า ปัญญาของเราจากการเรียน ทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้หรือยัง แล้วเข้าใจแล้วได้แค่ไหน ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ต้องเรียนเพื่ออะไร ไม่ใช่ต้องการที่จะประจักษ์ การเกิดดับ ขณะนี้ ตามความเป็นจริงคือสภาพธรรมมี แล้วรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ แค่ไหน แล้วก็ค่อยๆ อบรมขึ้น ความเข้าใจ รู้มากขึ้นสภาพธรรม ก็ปรากฏ แก่ปัญญาที่ได้อบรมแล้ว แต่ไม่ใช่โดยที่ว่าจะไปพิจารณาอย่างไรให้เห็นการเกิดดับ
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นการศึกษาธรรมให้มากขึ้น เพื่อเข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนแล้วแต่เป็นสภาพธรรม ที่เขามีกิจการงานหน้าที่
ท่านอาจารย์ เพื่อให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ นี่คือจุดประสงค์ของการเรียนไม่อย่างนั้น เราจะไม่มีจุดประสงค์เลย เราจะเรียนทำไม เรียนมากมายไม่ว่าจะเป็นวิถีจิตหรืออะไรก็ตามแต่เรียนทำไม เรียนเพื่อให้สามารถที่จะระลึกได้ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นธรรม ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ มีรูปธรรมหรือนามธรรม จากการศึกษาเท่านั้น ว่าขณะนี้มีรูปธรรมหรือนามธรรม ที่กำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจอย่างนี้เราก็เข้าใจสติปัฏฐาน ว่าไม่ใช่สติขั้นฟัง
ผู้ฟัง อาจารย์ หนูขอถามว่า ความหมายการศึกษาเพื่อให้เอามาใช้ Apply ในชีวิตประจำวัน แต่ว่าไม่ใช่เอามาใช้ทันทีทันใด
ท่านอาจารย์ จริงแล้ว ไม่ควรจะเป็นอย่างอื่นเลย ให้เอามาใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แล้วเราก็จะมีความสุขขึ้น หรืออะไรอย่างนั้น แต่ศึกษา เพราะว่าเราไม่เข้าใจธรรม เราไม่เคยรู้ ทั้งๆ ที่สภาพธรรม มีกำลังปรากฏ แล้วใครจะบอกเราให้รู้ความจริงอันนี้ได้ว่า ความจริงที่แท้จริงสูงสุด ที่เป็นอริยสัจธรรมของขณะนี้คืออะไร เรื่องที่เราจะเข้าใจสิ่งที่มี เป็นสิ่งซึ่งมีประโยชน์ เพราะเหตุว่า เป็นความเข้าใจถูกแทนที่จะเป็นความไม่รู้ หรือความเข้าใจผิด ถ้าเราเห็นประโยชน์อย่างนี้ เราจะไม่คิดถึงผลพลอยได้ พอเราศึกษาแล้ว ความโกรธก็เบาบาง คิดก็สั้นลง เพราะนั่นไม่ใช่จุดประสงค์ จุดประสงค์ เพียงเพื่อให้รู้ความจริงของสภาพธรรม
ผู้ฟัง น้องชินบอกว่าไม่ได้เอามา apply ทันทีทันใด แต่หนูคิดว่า สภาพธรรมปรากฏนั่นคือ apply ในทันทีทันใด
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ ปรากฏแล้วอกุศลจิตเกิดก็ได้ ไม่ใช่ว่าเราไปเรียกสติมาใช้ได้ว่าตอนนี้เรา จะใช้ล่ะ ให้มีสติ เป็นไปไม่ได้เลย แต่เรียนเพื่อรู้ เพื่ออะไร เพื่อละความไม่รู้ เพื่อได้หรือเปล่า เพื่ออย่างอื่นหรือเปล่า ไม่ใช่ทั้งหมดเลย ความสุขหรือเปล่า
ผู้ฟัง ชินขอถามว่า การเห็นถูกบางครั้งมันไม่สามารถมาทันทีทันใด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ที่สำคัญที่สุด คือ เข้าใจสิ่งที่กำลังฟังอยู่ นี้เป็นความสำคัญที่สุด ไม่ต้องไปคิดว่าเข้าใจน้อย เข้าใจมาก แล้วมีประโยชน์ อะไรนั้นเป็นเรื่องคิด แต่เรากำลังฟังอะไรแล้วเราเข้าใจสิ่งที่เรากำลังฟัง
ผู้ฟัง สมมติว่าการเข้าใจของเรา ถึงขณะนี้แล้วหลังจากนั้น หลังจากเราตายแล้ว การเข้าใจขณะนั้น จะอยู่ขณะนั้นหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ คุณชิน คิดหรือเปล่าว่า คุณชินคงเคยเข้าใจมาบ้างแล้ว
ผู้ฟัง ไม่เคยคิด
ท่านอาจารย์ คิดว่าฟังครั้งแรก เข้าใจนี้มาจากไหน
ผู้ฟัง ชินไม่เข้าใจความหมายของอาจารย์
ท่านอาจารย์ การที่คุณชินฟังธรรมแล้วเข้าใจ คุณชินคิดหรือเปล่าว่าที่คุณชินเข้าใจธรรม ที่ได้ฟังธรรม ความเข้าใจนี้มาจากไหน หรือไม่เคยการสะสมมาก่อนสักนิดเดียว
ผู้ฟัง เริ่มต้นเลย คงไม่ต้องสะสม เพราะมันเริ่มต้น
ท่านอาจารย์ ถ้าเริ่มต้นเลย คุณชินเห็นคนที่เขาผ่านไปผ่านมา แล้วเขาฟังตั้ง ๑๐ วัน บางทีเขาไม่เข้าใจ มีคนหนึ่งเขาพบกัน เขาไปที่สำนักงานมูลนิธิ เขาก็ดีใจที่ได้พบ เขาก็เล่าบอกว่าตอนแรกๆ ที่เขาฟังวิทยุ เขาไม่เข้าใจเลย มีแต่ภาษาบาลี แต่เขาก็ไม่ทิ้ง ฟังไปฟังมาจนเดี๋ยวนี้เขาค่อยๆ เข้าใจขึ้น คุณชินลองคิดถึงคนซึ่งเขาฟังนาน กว่าจะเข้าใจ บางคนก็ฟังเร็ว เข้าใจได้ บางคนก็ฟังนานยิ่งกว่านั้นอีกกว่าจะเข้าใจ บางคนถึง ๑๐ ปีอาจจะไม่เข้าใจก็ได้
ผู้ฟัง เพราะว่าของเรามันไม่สามารถมั่นคง สุดท้ายถูกกิเลสกินไป มันก็จะลงไปแย่กว่าเก่า
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีสะสมอยู่ แต่สิ่งใหม่ก็จะทับถมไว้
วิทยากร. คุณชินคิดว่า ที่เห็นมีปัจจัยอะไรจึงทำให้เกิด อันนี้เป็นการที่รู้ว่าเห็นขณะนี้เอง แต่คิดไหมว่าที่เห็นขณะนี้ มีปัจจัยอะไร เห็นจึงเกิด
ผู้ฟัง ชินคิดว่า เป็นกรรมของเรา ที่เราทำไว้ กัมมปัจจัย
วิทยากร. อันนี้ก็คือปัจจัยหนึ่ง ศึกษาแล้วว่าจิตเห็น เป็นชาติวิบาก ชาติวิบากก็ต้องเป็น ผลของกรรมที่กระทำไว้แล้ว ดังนั้นธรรมที่จะเกิดไม่ใช่ปัจจัยเดียว อันนี้เราทราบใช่ไหมว่าที่เห็น เป็นชาติวิบาก ชาติวิบากทั้งหมดต้องมีกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยจึงเกิด เพราะฉะนั้น วิบากจิตเกิดขึ้น ไม่ใช่ปัจจัยเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่น ขณะนี้เห็น เห็นอะไร
ผู้ฟัง ชินคิดว่าคงเป็นการกระทำของตัวเองด้วย วาจากริยาออกไป
วิทยากร. ขณะที่เห็นขณะเดียว
ท่านอาจารย์ คุณชินต้องฟังปัญหาของคุณวิชัย คุณวิชัยถามว่าเห็นอะไร ใช่ไหม จะได้รู้ว่ามีปัจจัยอื่นอีก คุณชินอาจจะไม่คุ้นเคยกับคำว่าปัจจัย แต่คุณชินมีความเข้าใจปัจจัยโดยไม่รู้จักชื่อ เพราะฉะนั้น ตอนนี้อย่างคุณชินบอกว่าเห็น จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีกรรม เพราะฉะนั้น กรรมเป็นปัจจัยหนึ่ง ชื่อว่ากัมมปัจจัย เมื่อกรรมเป็นปัจจัยก็ชื่อว่า กัมมปัจจัย ทีนี้คุณวิชัยถามต่อว่าในขณะที่เห็น เห็นอะไร ใช่ไหม จะได้ถามธรรมดา คุณชินก็ตอบ
ผู้ฟัง ชินเข้าใจ คือสิ่งที่ปรากฏทางตา
วิทยากร. ที่เห็น เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม
ผู้ฟัง ที่เห็น คือจิตเห็น นามธรรม รู้ว่าเห็น
วิทยากร. ใช่นามธรรมเป็นธาตุรู้ จิตเห็นรู้อะไร
ผู้ฟัง คือมีสี
วิทยากร. ใช่อันนั้นถูก คือ จิตเห็น จะเกิดไม่ได้เลย ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น จิตเห็นรู้อย่างเดียว จะรู้อย่างอื่นไม่ได้เลย คือต้องรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา อันนี้คืออีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งถ้าศึกษาตอนต้นก็จะทราบว่า จิตรู้อารมณ์ อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ ดังนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตาก็หมายความว่าเป็นอารมณ์ของจิต ซึ่งจิตที่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา คือจิตเห็น ดังนั้นจิตแต่ละขณะไม่ได้เกิดจากปัจจัยเดียว อย่างเช่น จิตเห็น ก็ไม่ใช่ว่าเป็นผลที่เกิดจากกรรมปัจจัย ปัจจัยเดียว แต่ยังมีสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นอารัมมาณะปัจจัย เป็นปัจจัยให้จิตเห็นอีก ซึ่งจิตเห็นต้องอาศัย ภาษาบาลี เรียก จักขุปสาท แต่ถ้าภาษาไทยเรียกว่า ตา จิตจะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีที่อาศัย คือที่เกิด อีกปัจจัย หนึ่ง คุณชินคิดไหมว่า ... เห็น ได้ยิน ลิ้มรส สัมผัส จะเกิดพร้อมกันหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ เขาไม่สามารถเกิดพร้อมกันได้
วิทยากร. แล้วจิตเกิดทีละขณะๆ สืบต่อ คุณชินคิดว่าเป็นปัจจัยซึ่งกัน และกันไหม
ผู้ฟัง ใช่
วิทยากร. อันนี้คือปัจจัยหนึ่ง คือนามธรรมเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเป็นปัจจัย ให้อีกนามธรรมเกิดขึ้นอีก ซึ่งเรียกว่า อนันตรปัจจัย คือเป็นปัจจัยให้จิตเกิดสืบต่อโดยไม่มีระหว่างคั่น ดังนั้นขณะนี้จิตเกิดดับอย่างรวดเร็ว ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ ต้องอบรมเจริญขึ้นไปอีก
ท่านอาจารย์ อย่างคุณชินไม่ได้เรียนเรื่องปริเฉท ๘ แน่นอน แต่เมื่อฟังเหตุผล สามารถที่จะรู้ได้ เมื่อมีจิต ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ที่เรียกว่าอารมณ์ เพราะฉะนั้น ถ้าจิตเกิดโดยไม่มีอารมณ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้น แม้แต่อารมณ์ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดจิตชนิดหนึ่งๆ เช่น เสียงเป็นปัจจัย ทำให้เกิดจิตได้ยิน กลิ่นเป็นปัจจัยให้เกิดจิตรู้กลิ่น แล้วก็รสต่างๆ ก็เป็นปัจจัยทำให้เกิดจิตที่ลิ้มรสนั้น ที่กำลังรู้รสนั้น ถ้าเราค่อยๆ ขยายความในชีวิตประจำวันให้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วปัจจัยก็ไม่ใช่เรื่องที่แสนยาก เหลือวิสัยที่จะเข้าใจ แต่ต้องให้มาสู่ชีวิตประจำวัน ในขณะนี้ แล้วค่อยๆ แทรกชื่อทีละเล็กทีละน้อยว่า ปัจจัยอื่นๆ ก็จะค่อยๆ เพิ่มเติมได้ แต่ต้องมาจากความเข้าใจ ไม่ใช่ว่าเอาชื่อมาก่อนแล้ว ก็มาอธิบายว่าชื่อนี้เป็นอย่างนี้ๆ แต่ว่าสภาพธรรมที่มีจริงๆ เดี๋ยวนี้ คืออะไร แล้วค่อยๆ แสดงความเป็นปัจจัยซึ่งมีอยู่ในที่นั้น เช่น อนันตรปัจจัย ถ้าใครรู้ลักษณะของจิต ต้องรู้ความเป็นอนันตรปัจจัยของจิต เพราะว่าจิตเกิดแล้วดับ จิตที่เกิดแล้วไม่ดับไม่มี แต่เมื่อจิตเกิดแล้วดับ เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิด สภาพของจิตทุกขณะเป็นอนันตรปัจจัย ทันทีที่ดับก็ต้องทำให้จิตต่อไปเกิด เว้นจุติจิตของพระอรหันต์
ถ้าเราค่อยๆ เข้าใจก็ผสมผสานกันได้ แล้วก็ปัจจัยที่ต้นๆ ก็ไม่ลืม ถ้ารู้จักลักษณะของจิต แล้วเจตสิกล่ะ เจตสิกเป็นอนัตรปัจจัยหรือเปล่า ก็เป็นเหมือนกัน เพราะว่า ทันทีที่เจตสิกดับไปพร้อมจิต ก็เป็นปัจจัยที่ให้จิต เจตสิกขณะต่อไปเกิด ค่อยๆ เพิ่มความละเอียดขึ้น แต่ถ้าเอาปัจจัยขึ้นมาก่อน แล้วไม่เห็นสภาพที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ก็ยากที่จะเข้าใจได้ ใครก็เหมือนใครไม่ได้ ต่างคนก็ต่างเป็นคนละหนึ่งๆ ตามการสะสม
แต่ดิฉันว่านอกเหนือจากนั้นก็คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว อันนี้สำคัญที่สุด เพราะเหตุว่าเรามาศึกษาธรรมเพื่อความเข้าใจธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อเราเข้าใจแล้ว แต่ละคนต่างอัธยาศัย ที่จะให้เราไม่โกรธคนนั้นบ้าง เข้าใจคนนี้บ้าง คงจะเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเราทราบว่าทุกอย่างก็คือธรรม จิต เจตสิก รูป เท่านั้น แล้วก็สิ่งใดที่เกิดขึ้น ดับไปแล้วก็เป็นความสบายใจ ไม่ต้องไปกังวลถึงอดีตที่ผ่านมา พร้อมที่จะตั้งต้นใหม่ได้ทุกขณะ อันนี้ก็จะทำให้เรา เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันง่ายขึ้น คือไม่ไปคำนึงถึงสิ่งที่ผ่านไปแล้ว แล้วก็มีการให้อภัย แล้วก็มีความเห็นใจ เข้าใจการสะสมของแต่ละคน แล้วก็คงจะมีหลายคน ที่เหมือนกัน เพราะว่า ทุกคนตอนแรกที่สุด อยากจะได้ แต่ว่าจริงๆ แล้วพระธรรม เป็นเรื่องที่จะเข้าใจ ลองคิดถึงคำ ๒ คำ เข้าใจกับได้ต่างกัน หรือเหมือนกัน ถ้าเราเพียงแต่อยากได้สติ เหมือนกับว่า ถ้าเราไม่ได้เข้าใจธรรม ทำแบบนั้นแบบนี้แล้วจะได้ สติ อะไรจากการปฏิบัติเลย นั่นคือเราอยากได้ แต่ว่าถ้าเราคิดถึงว่า เรายังไม่ได้เข้าใจพระธรรมอะไรมากมายเลย เพราะเหตุว่าขณะนี้ ทางตาที่กำลังเห็นเป็นธรรม เข้าใจตรงนี้แค่ไหนในคำว่า เป็นธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480