ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
ตอนที่ ๔๗๔
สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย
พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่าเราสามารถที่จะแบ่งหรือเอาส่วนของกุศลของเราไปหยิบยื่นให้คนอื่น เพียงแต่ว่าเมื่อเราทำกุศลแล้ว คนอื่นรู้ก็สามารถที่จะอนุโมทนาได้ เขาก็เกิด กุศลของเขาได้ โดยที่เขาก็เพียงแต่ ยินดีในกุศลที่คนอื่นกระทำ
ผู้ฟัง แล้วเรื่องวิธีการ
ท่านอาจารย์ วิธีการในพระพุทธศาสนา ไม่มี ไม่มีวิธีการใดๆ เลยทั้งสิ้น ดิฉันท่องคำอุทิศส่วนกุศลภาษาบาลีไม่เป็น เพราะว่าขึ้นอยู่กับเจตนาที่เราอุทิศ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับภาษาบาลี แล้วถ้าใครท่อง ผิด ทำอย่างไร ถึงหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจ ตามความเป็นจริง เมื่อกี้นี้ยังขาดเรื่องเมตตา ที่ว่าแผ่เมตตา ควรจะใช้คำว่า เจริญเมตตา เพราะเหตุว่า เราต้องทราบจริงๆ ว่าเรามีเมตตามากแค่ไหน ถ้าแผ่นี้ต้องกว้างมากเหลือเกิน แต่ถ้าเรายังรู้ตัวว่าเราก็ยังโกรธคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง เราก็ควรที่จะมีเมตตา ในคนที่เราโกรธ ก่อนที่จะไปแผ่กว้างๆ แบบ สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งความจริง จะแผ่ได้ต่อเมื่อ มีเมตตามหาศาลถึงขั้นญานจิต
ผู้ฟัง ดิฉันยังสับสนอยู่ว่า สมมติมีคนมาทำร้ายเรามากๆ แล้วอาจารย์บอกว่าให้เจริญเมตตาให้แผ่เมตตา ให้มีเมตตา
ท่านอาจารย์ ให้เมตตาเขา
ผู้ฟัง ให้มีเมตตา หมายความว่า เรายังต้องดีกับเขา อย่างนั้นหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้ว เมตตา เป็นสภาพธรรม ที่เป็นฝ่ายดี เวลาที่เรามีเมตตา คือมีความเป็นมิตร เป็นเพื่อน ไม่ใช่ศัตรู เพราะฉะนั้น เราก็พอที่จะทราบได้ จริงๆ ว่าเราเป็นมิตรกับใครมากน้อยแค่ไหน เพราะคำว่า มิตรมีความหมายมากว่าเพียงเห็นกันชั่วคราว ทั้งๆ ที่เราไม่เคยพบเขาเลย แต่จิตใจของเราไม่เคย เป็นศัตรูกับใคร คือพร้อมที่จะช่วย เกื้อกูลทำประโยชน์ ให้เขา นี่คือความเป็นมิตรเสมอ ไม่ว่ากับคนที่ไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย แต่ถ้าคนที่เรารัก เราต้องระวังหน่อย เพราะว่าจริงๆ แล้วเป็นเมตตา หรือว่าเป็นโลภะ เพราะว่าโลภะ เป็นศัตรูใกล้ แต่ศัตรูไกล เราเห็นเลย เราไม่สามารถจะมีเมตตากับคนที่ไม่ชอบ บางคนเข้าก็บอกว่า เมตตาไม่ได้ เขาจะสามารถที่จะทำความดี สิ่งที่ดีได้เฉพาะคนที่เขาชอบ หรือคนที่เขารัก แต่ความจริงกับคนที่รัก เมตตา หรือว่าโลภะ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด ที่จะต้องรู้จริงๆ ว่าขณะนั้นเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล แล้วสำหรับเมตตา เมื่อเป็นสิ่งที่ดี ควรจะมีกับทุกคน ไม่เว้น ไม่ใช่เราจะมีเมตตาเฉพาะเจาะจงกับคนที่เราสามารถจะมีได้ ถ้าเป็นอย่างนั้น หมายความว่า กุศลของเราก็น้อย ไม่พอที่จะเจริญขึ้น ที่ใช้คำว่าเจริญเมตตา คือ แค่นี้ก็ไม่พอ แค่นั้นก็ไม่พอ กับบุคคลนี้ แค่นั้นก็ไม่พอ บุคคลอื่นอีกเล่า และบุคคลอื่นๆ ๆ ๆ อีก เขามีเมตตา คือความเป็นมิตรได้ นั่นคือ เจริญเมตตา รวมทั้งคนที่เขาไม่ชอบเรา หรือเราโกรธเขา ขณะนั้นเป็น อกุศล แน่นอน เพราะฉะนั้น การที่จะละอกุศลก็คือ มีความเป็นเพื่อนกับเขา ถ้าใช้คำว่า มีความเป็นเพื่อน หมายความว่าเราไม่เป็นศัตรู ไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูกับใครเลย พร้อมที่จะช่วยหรือเกื้อกูล นั้นเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถ้าพูดถึงเรื่องแผ่เมตตา ถ้าเราอ่านหนังสือพิมพ์สักฉบับหนึ่ง และมีข่าวไม่ดีเลย จิตขณะนั้นเป็นอะไร กุศล หรืออกุศล คนที่เลวร้ายที่สุด เรามีเมตตาได้ไหม เป็นเพื่อนเขาได้ไหม หรือว่าช่วยกันบอกว่า ต้องทำอย่างนี้ ต้องอย่างนี้ อย่างนั้นช้าไป ต้องเร็วๆ อย่างนี้ ขณะนั้นจิตเป็นอะไร นั่นเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเปล่า เพราะเหตุว่าอกุศล แม้เพียงเล็กน้อย นิดเดียวก็ไม่ใช่ให้ใครมาชักชวนกันมี คนละนิดๆ ๆ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย แม้นิดเดียวก็ต้องเห็นว่าเป็นโทษ การที่เขาทำไม่ดี เขาต้องได้รับผลของกรรมของเขา แน่นอนที่สุดแล้ว แล้วเรายังจะต้องทำอะไรอีก สำหรับเขา เรายังจะต้องทำอะไรอีก แม้แต่เพียงใจที่ไม่เมตตา ลองคิดดู ถ้าเรามีเมตตา อย่างน้อยที่สุด เขาต้องได้รับกรรมของเขาแล้ว แล้วส่วนที่เป็นสิ่งที่จะทำให้ชีวิตของเขา มีความสบาย แม้แต่สบายใจขึ้นมาสักนิดหน่อยที่ยัง คนที่มีความเป็นเพื่อน เป็นเพื่อนไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไปช่วยให้เขาทำผิด หรือว่าไปส่งเสริมการกระทำของเขา แต่มีการเป็นเพื่อนที่ว่าเราจะไม่หวัง ร้ายต่อเขา ไม่ทำสิ่งที่ไม่ดี ต่อเขา แม้ว่าเขาเป็นใคร หรือว่าเขาจะเป็นคนที่ว่าทั่วโลกประณามหรือว่า อย่างที่ดิฉันเคย ยกตัวอย่างชื่อหนึ่งบ่อยๆ ทุกคนก็ได้ยิน อันนั้นก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าเปรียบเทียบพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเห็นในพระปัญญาคุณ ซึ่งเห็นโทษของอกุศล แม้เพียงเล็กน้อย และในพระบริสุทธิคุณ ซึ่งทุกคนมีโอกาสที่จะอบรมแล้วก็ ประพฤติปฏิบัติ ตามได้ โดยที่ว่าเห็น อกุศลเป็นอกุศลแล้วไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรคนนั้นเลย เพราะว่าขณะนั้นใจใครเป็นอกุศล เวลาที่คิดถึงความไม่ดีของคนอื่น ลืมสนิท ว่าจิตที่กำลังคิดเรื่องความไม่ดีของคนอื่น เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล เห็นแต่ความไม่ดีชัดเจนมาก แต่จิตที่กำลังเห็นความไม่ดี เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน หรือการรู้ลักษณะของสภาพธรรมจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก เกื้อกูลทำให้เห็นสิ่งที่ถูกว่าถูก สิ่งที่ผิดว่าผิด แล้วในขณะนั้นก็ไม่มีใครเลย จริงๆ แล้วก็เป็นเพียงสภาพธรรม ซึ่งเป็นจิตเป็นเจตสิกเป็นรูป แล้วจะโกรธอะไร แล้วจะไปซ้ำเติมอะไร แล้วไปช่วยทำให้ใครเดือดร้อน นอกจากตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้น เรื่องของเมตตา เป็นเรื่องไม่ใช่ท่อง หรือ พูดไปตามๆ กันว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้อง เป็นเรื่องที่รู้สภาพจิตใจของตัวเองว่า มีความเป็นมิตรกับใครแค่ไหน
ผู้ฟัง ในทางปฏิบัติ บางทีก็อ่านหนังสือ เกี่ยวกับเรื่องมงคลทั้ง ๓๘ ข้อ ก็มีความรู้สึกว่า คนที่ทำร้ายเรา ถ้าเรามีจิตเมตตาไม่โกรธ ไม่คิดแค้น ไม่คิดที่จะจองเวร กับเขาต่อ คือให้ยุติลงเพียงแค่นี้ ก็มานั่งนึกว่า เราต้องไปดีกับเขา ทำดีกับเขา เป็นเพื่อนกับเขา ก็จะค้านกับข้อ ๑. ของมงคล ๓๘ ว่า ไม่ให้คบคนพาล เพราะว่าเขาก็ยังคงเป็นคนพาลอยู่ เราไม่อยากจะไปคบกับคนพาล ก็เลย ยังสับสนอยู่ว่า เราจะทำอย่างไรดี เขาอยากจะให้เราเป็นเพื่อนเขา ก็ไม่รู้ว่าเขาต้องการให้เราเป็นเพื่อนหรือเปล่า แต่เขาไม่ต้องการให้เราโกรธแค้นเขา เพราะว่าเขาไม่รู้สำนึกในสิ่งที่เขาทำกับเราว่า เขาเป็นคนทำร้ายเรา เลยยังสับสนอยู่ ยังจับ ยึดมั่นที่จะปฏิบัติตัวอย่างไร
ท่านอาจารย์ ความเป็นเพื่อนไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปคลุกคลีสนิทสนมเลย ความเป็นเพื่อนหมายความว่าไม่เป็นศัตรูกับใครทั้งสิ้น ไม่จำเป็นต้องเข้าใกล้ ไม่จำเป็นต้องไปคุ้นเคย ถ้ามีโทษ เราก็ไม่ควร เพราะว่าเรารู้ว่า ถ้าเราคุ้นเคยกับคนนี้ มีโทษ เราก็ไม่ไปแสวงหาโทษใส่ตัว แต่ว่าเราไม่มีความเป็นศัตรูกับใคร
ผู้ฟัง หมายความว่าพูดคุยกันได้
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นศัตรูกับใคร ใจก็สบาย จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เป็นเรื่องเตรียมอย่างหนึ่ง อย่างใดเลย เพราะว่าถ้าเข้าใจความเป็นอนัตตาแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิด เมื่อมีปัจจัยก็จะเกิด บางที่เราอาจจะคิดว่าเราอภัยให้เขาไม่ได้เลย แต่พอเห็นจิตเมตตาเกิดก็ได้ แล้วแต่ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ว่า ถ้าเราฟังพระธรรมมากๆ มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น แล้วก็รู้ความเป็นอนัตตา ทุกอย่าง เราจะไม่มีการเตรียม เพราะว่า เตรียมก็คือ คิด แต่ว่าสิ่งที่จะเกิด จะเกิดอย่างที่คิดไว้หรือเปล่า นั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ต้องเข้าใจความหมายของทุกคำ ทุกลักษณะ อย่างเมตตา คือความเป็นเพื่อนไม่ใช่ศัตรู
ผู้ฟัง เราจะออกจากสังสารวัฏฏ์นี้ได้อย่างไร ถ้ามันเหนียวขนาดนี้
ท่านอาจารย์ ถ้าปัญญาไม่เกิด ออกไม่ได้
ผู้ฟัง ชินเข้าใจอาจารย์ เพราะว่า เหมือนพระพุทธเจ้า เขาสอนระบบนี้ ในการทำงานของธรรมทั้งหลาย ว่าเขาทำงานอย่างไร แต่เพราะว่า การสะสมของเราซึ่งเป็นที่ที่เหนียวแน่น ก็คือ เริ่มต้น เพราะว่า การมีโมหะ ถึงมีตัวตนนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ สภาพธรรม ที่ตรงกันข้ามกับโมหะ คือ ปัญญา เพราะฉะนั้น ถ้าปัญญาไม่เกิด โมหะ ก็ยังคงมากอยู่ แต่ขณะใดที่ปัญญาเกิด โมหะก็จะค่อยๆ ลดลงไป ทีละน้อย โมหะมาก รู้ตามความเป็นจริง แล้วปัญญาก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ
ผู้ฟัง เห็นสภาพทุกอย่างเลย ว่า ตัวตนนั้นทำให้คนทุกคน อยู่ในความลำบาก ตัวตนนั้นทำให้ตังเองก็อยู่ในความโมหะมาก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ค่อยๆ ละ ความเป็นตัวตน ทีละน้อยก่อน มานะยังมี โลภะ ยังมี โทสะยังมี แต่ต้องมีความเห็นถูก เพิ่มขึ้น ต้องรู้สภาพธรรมว่าเป็น นามธรรม หรือเป็นรูปธรรม แล้วก็ไม่ต้องห่วงใยอะไรทั้งหมด ทั้งโลก ถ้าใครเกิดไม่รู้ก็คือไม่รู้ ก็ยังวนเวียนไปในสังสารวัฏฏ์ แต่ถ้าใครเริ่มรู้ก็ค่อยๆ สะสมไปจนกว่าจะรู้ชัด ว่าเป็นนามธรรม และเป็นรูปธรรม ปัญญาก็จะเจริญขึ้น ถึงจะออกได้ ออกหมดไม่มีทาง ทุกคนออกหมดไม่ได้ คนที่สะสมมาแล้ว ถึงจะค่อยๆ ออก ได้
ผู้ฟัง อย่างนี้คือเห็นภาพ มันซาบซึ้งใจ การสอนของพระพุทธเจ้า กำลังสอนเรา คือในจุดขณะที่ซาบซึ้งนั้น แล้วก็หลังจากนั้น มันคือโทสะ หรือ
ท่านอาจารย์ ได้ทุกอย่าง อะไรจะเกิดได้หมดเลย เพราะฉะนั้น ต้องเป็นปัญญาที่คม และละเอียด ที่จะรู้ชัดในความต่าง ด้วยสติสัมปชัญญะจริงๆ แต่ขั้นต้น เราจะไม่มีความคม อย่างนั้นจนกว่าจะค่อยๆ สะสม โดยการที่รู้ว่าขณะใดที่สัมมาสติระลึก เมื่อระลึกแล้ว ยังต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า ปัญญารู้ลักษณะนั้นแค่ไหน แล้วก็ไม่ต้องไปดิ้นรน ไปห่วงว่าให้มีมากๆ นั่นคือโลภะมาอีกแล้ว
เพราะฉะนั้น อย่างที่เราพูดเมื่อเช้านี้ ว่าสัจจะ ๔, ๒ สัจจะแรกคือ ทุกข์ กับสมุหทัย ลุ่มลึก เพราะเห็นยาก แม้ว่ามีก็ไม่เห็น แต่อีก ๒ สัจจะ คือนิพพานนิโรธกับหนทางที่จะไปสู่การรู้แจ้งอริยสัจธรรม เห็นยาก เพราะว่าไม่ได้มีอย่างทุกข์กับโลภะ ที่จะปรากฏอยู่ในขณะนี้ แต่ไม่เห็น เพราะฉะนั้น ๒ อย่างนั้นยิ่งต้องเห็นยาก ว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทาง เพราะบางทีถ้าปัญญาไม่พอ ก็ยึดถือทางที่ผิด ว่าเป็นทางที่ถูก แล้วก็พยายาม แต่นั้นไม่ใช่หนทางเลย เพราะฉะนั้น หนทาง เมื่อมีโลภะ ก็คือโลภะเป็นธรรม ต้องมีความมั่นคงอาจหาญที่จะรู้ว่าเป็นธรรม แต่ ถ้าเป็นเรา เราก็ไม่ชอบอีกแล้ว โลภะ มานะ ถ้าเป็นเรา เราก็ไม่ชอบอีก แต่ถ้ามีความมั่นคงจริงๆ รู้จริงๆ ว่า เป็นธรรม และคำว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เพียงปากที่เราพูดตามว่าเป็นธรรม แต่ต้องมีความเข้าใจลึกจริงๆ จนกระทั่งในขณะที่สภาพธรรมปรากฏ ปัญญาค่อยๆ รู้ความหมาย อรรถ ของธรรมคือ ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ แต่ว่า เป็นธาตุที่ต่างชนิด ซึ่งธาตุชนิดหนึ่งก็ป็นสภาพรู้ ถ้าบอกว่าสภาพรู้ไม่มีรูปร่างอะไรทั้งสิ้น สีสันวัณณะก็ไม่มี แต่เห็น สามารถที่จะรู้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา นี่คือค่อยๆ เข้าใจในความเป็นธาตุรู้ แม้ว่าจะน้อย พอรู้ แล้วก็กลายเป็นไม่รู้อีก เพราะเหตุว่า อวิชชามีมาก เพราะฉะนั้น อวิชชาก็ท่วมทับมาอีก สงสัยอีก ค่อยๆ รู้ขึ้นมานิดหนึ่ง ประเดี๋ยวก็มีอวิชชา เข้ามาอีก เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของความอดทน ถ้าเราเข้าใจผิดนิดเดียว ไม่มีทางที่สัมมาสติจะเกิด เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด เป็นเรื่องที่รอบคอบ และเป็นเรื่องของความอดทน แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น นี้คือ การที่จะคลาย ความเป็นตัวตน ไม่ใช่เราที่จะพยายาม แต่ว่าเป็นการที่สะสมความรู้ความเข้าใจซึ่ง เป็นภาวนา ตอนนี้มืดหรือสว่าง
ผู้ฟัง ชินขอถามว่า จริงๆ ที่เราเรียนธรรม คือไม่ใช่ให้เราไปจดจ้อง ว่าเดี๋ยวนี้คืออกุศล หรือกุศล หรืออะไร หรืออยู่ในเจตสิกอะไร แต่ว่า ที่ให้เข้าใจพระธรรมแต่ละอย่าง เพื่อเข้าใจการทำงานของเขา แค่นั้นเอง ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพื่อเห็นว่าไม่มีเรา เพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งจนกระทั่งประจักษ์แจ้งได้
ผู้ฟัง เพราะว่า ทั้งหมดนั้นก็ ตัวตนมาจากพวก สะสมมาจากความไม่รู้ หรือว่าความไม่รู้ การทำงานของนั้น มันทำงานอย่างไร
ท่านอาจารย์ เข้าใจจนสภาพธรรมปรากฏ เวลานี้สภาพธรรม ก็ปรากฏแต่ไม่รู้ อวิชชารู้ไม่ได้เลย ไม่มีทางเลย แต่ปัญญาสามารถที่จะรู้ตามความเป็นจริงได้ ทั้งๆ ที่เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน เหมือนเดิม เห็นขณะนี้เป็นปกติ อย่างนี้เหมือนเดิม แต่อวิชชาไม่สามารถจะรู้ แต่ปัญญา สามารถที่จะรู้จนประจักษ์แจ้ง สามารถที่จะรู้ว่าที่ไม่ใช่เรา เป็นธาตุ เป็นธรรม คืออย่างนี้ซึ่งกำลังรู้ ขณะนั้น จะไม่มีอย่างอื่น แต่ละทางที่จะปรากฏ ต้องปรากฏทีละอย่าง เมื่อกี้มีใครตอบหรือยัง ถามว่าขณะนี้มืดหรือสว่าง
ผู้ฟัง มืด ก็เหมือนกับว่าที่ มีคนถามพระพุทธเจ้า ว่าอะไรหุ้มห่อโลกอยู่ อะไรหุ้มห่อโลกอยู่ โลกในที่นี้ก็ไม่ใช่โลกกลมๆ แต่เป็นโลกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถูกไหม
ท่านอาจารย์ โลกคือจิต เกิดขึ้นขณะหนึ่งๆ โลกจึงได้ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นโลกดิน โลกตา หรือโรคหู ก็ตามแต่
ผู้ฟัง คือจิต
ท่านอาจารย์ ถ้าจิตไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่เกิด สิ่งใดๆ ก็ไม่ปรากฏทั้งหมด
ผู้ฟัง ทีนี้คือไปอีกว่า โลกคือจิต แล้วอะไรที่หุ้มห่อจิตอยู่
ท่านอาจารย์ ตอบแล้ว ใช่ไหม ในวิทยุ อวิชชาหุ้มห่อ ถึงได้ถามคุณสุรีย์ ว่ามืดหรือสว่าง แล้วคุณสุรีย์ก็ตอบว่ามืด โมหะหุ้มห่ออยู่ จะสว่างได้อย่างไร มืดสนิท
ผู้ฟัง แต่ในขณะซึ่งมืดสนิทนี้ ถ้าเผื่อสมมติว่า เราได้ศึกษาธรรม จนเกิดความเข้าใจ สะสมปัญญา เราพอจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นสติระลึกรู้ หรือสติเกิดค่อยๆ ที่จะเจริญขึ้น แล้วสติปัฏฐาน เกิด ขณะซึ่งสติปัฏฐาน เกิดนั้น เราก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา เริ่มรู้ลักษณะ
ท่านอาจารย์ เริ่มที่จะรู้ หนทางที่จะเจอแสงสว่าง
ผู้ฟัง ใช่ ถูกแล้ว ในขณะนั้น มัน พูดนิดเดียว แล้วก็ออกมาเป็นตัวตนอีกแล้ว เรียนถามอาจารย์ ว่าความเป็นตัวตนน้อยลงหรือเปล่า หรือยังเป็นอยู่
ท่านอาจารย์ ความเข้าใจของเราในขณะนี้ เราก็พอจะทราบได้ว่าเรามี ระดับไหนแค่ไหน ซึ่งแต่ก่อนนี้ เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาเลย เรื่องนามธรรมกับรูปธรรม เราเข้าใจว่าจิตมี แต่อยู่ตรงไหนไม่รู้ เหมือนกับว่าเกิดมามีจิต แล้วก็ไม่มีจิตตอนตาย เพราะว่าคนตายไม่มีจิต เราก็คิดว่าจิต ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เคยสูญสลาย ไม่เคยเสื่อม ไม่เคยเกิดขึ้นดับไป นี่คือก่อนศึกษาธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ฟัง แค่เข้าใจ หมายความว่าเริ่มที่จะรู้ ว่าเป็นอย่างไร แต่ยังอยู่ในความมืด แต่ยังมีเสียงข้อความแว่วๆ ที่จะทำให้เราเกิดปัญญา เริ่มจะเห็นว่ามันมาจากทางไหน อย่างไร ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมก็ทำให้เริ่มมีปัญญา ความรู้ความเข้าใจตามลำดับ จนกว่าสัมมาสติจะเกิด ถึงเกิดแล้วเราก็รู้ตามความเป็นจริงว่าขณะนั้น ความเข้าใจที่เกิดจากการฟังมากมายเป็นปีๆ เป็นชาติๆ มาแล้ว ขณะที่สติระลึก ความเข้าใจตรงนั้นแค่ไหน ต้องมีระดับขั้นของเขาด้วย ว่าจะเข้าใจแค่ไหน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องอบรม เป็นเรื่องไม่ต้องห่วงใยกังวล เมื่อพบหนทางได้ฟังเหตุผล ก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นไปเรื่อยๆ จะทำอะไรเกินกว่านี้ก็ไม่ได้ เด็กอนุบาล จะไปให้สอนผ่าตัด ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น โลภะมีหลายอย่าง เราอาจจะคิดว่าเราชอบสิ่งของภายนอกมากมายเลย โน่นก็ชอบ นี่ก็ชอบ ชอบไปหมด แต่ชอบยิ่งกว่านั้นลึกที่สุดคือ ชอบความเป็นเรา
ผู้ฟัง อันนั้นตัวตน คือ Concept ใช่ไหม เป็นบัญญัติหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เป็นปรมัตถก็ได้คือความห็นผิด
ผู้ฟัง ก็คือเป็น Concept หนึ่งซึ่งเป็นผิด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าคุณชิน กระทบสิ่งที่แข็ง ที่ตัว ยังไม่มีความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น ลักษณะแข็งขณะนั้นปรากฏ มีความเป็นของเรา ไหม แม้ว่าจะไม่พูด
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ลักษณะนั้นเป็นปรมัตถ หรือเปล่าที่แข็ง ที่อ่อน
ผู้ฟัง อย่างนั้นตัวตน ก็คือการยึดมั่น
ท่านอาจารย์ มีหลายอย่าง มีหลายอย่าง ทิฏฐุปาทะ ความยึดมั่นด้วยความเห็นว่าเป็นเราหรือเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ได้
ผู้ฟัง ตัวตนก็คือ โทสะ โมหะ หรือว่าโลภะหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ มีทิฏฐานุสัย ความยึดมั่นในสภาพธรรม ด้วยความเห็นผิด เพราะว่า ไม่ได้เห็นถูก แต่ว่าเวลาที่ทิฏฐิเจตสิกจะเกิด เขาจะเกิดกับโลภมูลจิต จิตที่มีความพอใจในความเหห็นอย่างนั้น เขาจะไม่เกิดกับโทสะ เพราะฉะนั้น ทรงแสดงสภาพธรรมโดยละเอียด ว่าธรรมอย่างใดเป็นธรรมที่หยาบ ธรรมประเภทใหนเป็นธรรมที่ละเอียด อย่างอนุสัยกิเลส ทั้งๆ ที่อกุศลเจตสิกมี ๑๔ ชนิด แต่ ๗ ชนิดเท่านั้นที่เป็น อนุสัยกิเลส ที่มีอยู่ประจำในจิตใจ จนกว่าปัญญาจะดับ เป็นสมุจเฉทถึงจะไม่เกิด
ผู้ฟัง อนุสัยกิเลสก็คือ ความเป็นตัวตนอยู่ข้างใน
ท่านอาจารย์ ทิฏฐานุสัย ความเห็นผิด สติปัฏฐาน จะระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงแล้วแต่อะไรจะปรากฏในขณะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่เป็นปุถุชน ไม่ได้รู้ความเกิดขึ้น และดับไป ไม่มีวิปัสสนาญาณ ไม่ประจักษ์อริยสัจ ๔ ความเห็นผิดของเขาก็ ถือเลย ว่าเป็นเราแน่นอน ไม่เห็นเกิดไม่เห็นดับ แต่คนที่เข้าใจธรรม ฟังเข้าใจ แต่ไม่ประจักษ์ เพราะฉะนั้น จึงมีปัญญาหลายขั้น ปัญญาขั้นสติปัฏฐาน เป็นขั้นที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏในขณะนั้น ตามความเป็นจริงแล้วแต่ว่าเป็นอะไร จะเป็นความเห็นผิดในขณะนั้นก็ได้ แต่เขาก็รู้ว่านี่คือความเห็นผิด เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ผู้ฟัง ไม่มีความเห็นผิดของเขา ก็คือปัญญาไม่เห็น
ท่านอาจารย์ ของใคร
ผู้ฟัง ของพระโสดาบัน
ท่านอาจารย์ พระโสดาบัน ดับมิจฉาทิฏฐิหมด ไม่มีเลย ไม่มีปัจจัยที่จะให้เห็นผิดใดๆ ทั้งสิ้น เพราะประจักษ์ ความเกิดขึ้น และดับไป ของนามธรรมเพราะรู้แจ้งอริยสัจธรรม
ผู้ฟัง แต่เพราะยังมีตัวตนอยู่ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะรู้ว่า ขณะนั้นต้อง มีสภาพธรรมที่มีปัจจัยก็ต้องเกิด แต่ไม่ใช่ความเห็นผิด ถ้าฟังไม่เข้าใจอย่างไรๆ สติปัฏฐาน ก็ไม่เกิด ระลึกไม่ได้ ต่อเมื่อฟังเข้าใจแล้ว แล้วก็มีปัจจัยที่จะทำให้สัมมาสติระลึก สัมมาสติจึงจะเกิดระลึกได้ ถ้าระลึกขณะนี้ก็ได้ แล้วแต่การสะสม แต่ต้องมีความเข้าใจความต่างกัน ถ้าไม่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีทางเลยที่เราจะรู้สภาพธรรม ในขณะนี้ได้ ตามความเป็นจริง จะไม่มีการได้ยินได้ฟัง จะไม่มีการพิจารณา ให้เกิดความเข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง ผมคิดว่า ถ้าพูดในแง่ของปรมัตถ พูดในแง่ของวิเคราะห์จริงๆ มันก็ต้องเอาเรา เข้ามาเป็นตัวศึกษา เพื่อให้เกิดปัญญา
ท่านอาจารย์ เราก็จะวิเคราะห์ วิจัย เราคืออะไร เราก็คือจิต คือเจตสิก คือรูป ไม่ใช่ว่าไม่มีเราแล้ว ก็จะไม่มีอะไร แต่เพราะมีจิต มีเจตสิก มีรูป ซึ่งเราเข้าใจผิด ยึดถือว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น วิเคราะห์วิจัย ก็คือเรา คืออะไร เราก็คือสภาพธรรม คือนามธรรม และรูปธรรม
ผู้ฟัง ชินมีความรู้สึกว่า เราถูกข้างนอกกระทบหมดเลย ไม่ได้ดูข้างในเลย จะทำอย่างไร มีวิธีอะไรที่
ท่านอาจารย์ คุณชินก็ฟัง เทปมาก ฟังวิทยุมาก นั่นคือปัจจัยที่จะทำให้มีการระลึกได้ เพราะเหตุว่าเราอยู่โดยการหลงลืมสติมาแสนนาน เฉพาะในชาตินี้ก็มาก ในชาติก่อนถอยไปหนึ่งชาติก็มาก ไปจนถึงแสนโกฏิกัปป์ มันจะสักเท่าไร การสะสม ซึ่งจริงๆ แล้วน่ารู้จริงๆ น่าดู บุญ และบาปของแต่ละคน กรรม และวิบากที่สะสมมา แต่ละคนเป็นหนึ่งๆ ๆ ซึ่งจะไม่ซ้ำกันเลย ในที่นี้เรามองเห็น ใช่ไหม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480