ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
ตอนที่ ๔๗๖
สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย
พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านอาจารย์ เป็นการไปทำ ไม่ใช่เป็นการอบรมเจริญปัญญา แล้วก็เป็นการทำ เพราะไม่รู้จึงพอใจ ว่าได้รู้ ได้ทำ แต่ตามความเป็นจริงแล้วไม่ได้รู้สภาพธรรม ขณะนี้ ตามปกติด้วยสัมมาสติ ซึ่งระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่ไม่ใช่สมาธิ ที่พยายามไปจดจ้องแล้วก็เปลี่ยนชื่อ เข้าใจว่า สมาธิ เป็นสติ คราวก่อนเราพูดถึงเรื่องอริยสัจ ๔ ว่า ๒ อริยสัจหลัง คือ นิพพาน กับ มรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่เห็นยาก เพราะว่าลึกซึ้ง ถ้าโดยวิธีนี้ จะลึกซึ้งไหม จะเห็นยากไหม เพราะว่าธรรมเป็นเรื่องละตั้งแต่ต้น ละความเห็นผิด ความเข้าใจผิด ความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรม แต่ถ้าไม่ละอะไรเลย มีความมุ่ง ต้องการที่จะได้ ที่จะทำ ที่จะเอา ก็ยิ่งเพิ่ม ความต้องการขึ้น เพิ่มความไม่รู้ขึ้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการละความไม่รู้ ในสภาพธรรม ที่ขณะนี้มีแล้ว เพราะเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีใครไปทำอะไรได้ เห็นก็มีแล้ว ได้ยินก็มีแล้ว ตามปกติ
ผู้ฟัง ถ้าเกิดการเดินจงกรม เป็นเรื่องผิดปกติแล้ว ที่ได้ยินในพระไตรปิฎก ไม่แน่ใจ เพราะเหตุว่า พระภิกษุที่บนเขาคิชฌกูฏ ท่านก็เดินจงกรมกัน ไม่ทราบว่า เป็นแบบนี้ หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เป็นภาษาบาลี ไม่ว่าที่ไหนท่านก็จงกรมทั้งนั้น คือเดิน เราก็เดิน ท่านก็เดิน ก้าวไปตามลำดับ แต่ว่าก้าวไปด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยความรู้ในลักษณะของสภาพธรรมแต่ว่าคำว่า จัง-กัม-มะ ไม่ได้เอาสติมามารวมด้วย จัง-กัม-มะ หมายความถึงก้าวไปตามลำดับ คือการเดินนั่นเอง
ผู้ฟัง ที่จะบอกว่าแกพยายามกำหนดสติ เป็นความคิดนึก ใช่ไหม คือเขาถูกสั่งสอนมาว่า ในขณะเดิน ให้กำหนดรู้ว่าเดิน ยกให้รู้ว่ายก ลงให้รู้ว่าลง แต่ที่นี้ในขณะที่เขาฟังอาจารย์พูด แล้วเขาไปปฏิบัติ เขานึกคิดตามอาจารย์ แต่ไม่ใช่สภาพธรรม ที่เกิด คือสติ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ลองจับอะไรสักอย่าง แข็งไหม ถ้าบอกว่าแข็งหนอ จะเป็นสติ หรือเปล่า ไม่เป็น แล้วถ้าไม่บอกว่าแข็งหนอ แต่รู้ในลักษณะที่แข็ง ขณะนั้นเป็นสติ หรือเปล่า ง่ายเหลือเกิน เพียงแต่ใครรู้ว่าแข็งก็เป็นสติ เด็กๆ ก็รู้ว่าแข็ง เพราะฉะนั้น เรายังไม่มีปัญญาที่เป็น สัมมาทิฏฐิ ที่จะเกิดร่วมกับ สัมมาสติ และมรรคมีองค์อื่นๆ ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าพอไปถึงพระวิหารเชตวันพระพุทธเจ้า ก็บอกให้ทุกคนกำหนดแข็ง กำหนดเสียงกำหนดได้ยิน ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ฟังพระธรรมให้เข้าใจในความเป็นสภาพธรรม แต่ละอย่าง แล้วก็ต้องเข้าใจอย่างละเอียดด้วย เพราะฉะนั้น พิสูจน์ได้ง่ายนิดเดียว แข็งไหม พอบอกว่าแข็ง ถามว่าเป็นสติไหม ถามว่าเป็นสติที่รู้แข็ง ไม่ใช่ แต่เข้าใจเอาเอง ว่าเป็นสติ แต่ว่าความจริง ปัญญาในขณะนั้นต้องเกิดพร้อมสัมมาสติ ที่จะศึกษา การศึกษา ถ้าศึกษาหนังสือ คำที่ได้ยินได้ฟัง ศึกษาเรื่องราว แต่ขณะนี้มีสภาพธรรม จริงๆ อย่างแข็งก็มี เห็นก็มี สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี เสียงก็มี ถ้าคนในครั้งโน้นที่อบรมปัญญา มามาก ทันทีที่ได้ฟัง ศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ขณะนั้นคือศึกษา ศึกษาตัวจริงๆ แต่ว่าคนในยุคนี้ ไม่เข้าใจเรื่องของการศึกษา คิดว่าการศึกษาเป็นเรื่องหนังสือ ไปเรียนตามที่ต่างๆ แล้วก็รู้เรื่องราว แต่ว่าคนในครั้งโน้น เข้าใจความหมายของสิกขา คือศึกษา มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ ให้เข้าใจถูก จากการฟัง แล้วก็ศึกษาจนกระทั่งเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้นจริงๆ เพราะฉะนั้น เป็นปัญญาคนละระดับ แต่ว่าคนนั้นต้องเข้าใจ ความหมายว่า ศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏคืออย่างไร พร้อมสติอย่างไร แล้วปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นอย่างไร นั่นจึงจะเป็นการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่พอใครถามว่าแข็ง เราตอบว่าแข็ง นั่นคือสติ นั่นคือ กายวิญญาณ เป็นแต่เพียงสภาพที่รู้แข็ง ธรรมดาทั่วๆ ไป ใครๆ ก็รู้
ผู้ฟัง คำว่า อวิชชา กับโมหะ ที่ท่านแสดง เข้าใจว่าพูดโดยทั่วๆ ไป ก็เป็นชื่อว่าอวิชชา แต่ถ้าเผื่อพูดถึงสภาพธรรมนั้น คือเจตสิกตัวหนึ่ง ที่ชื่อว่า โมหเจตสิก เพราะฉะนั้น ตราบใดซึ่งโมหเจตสิกปรุงแต่งจิต ขณะนั้นมีอวิชชา เพราะไม่รู้ เราจึง โลภ ไม่รู้เราจึงโกรธ และไม่รู้ ก็คือไม่รู้เราจึงหลง ซึ่งมันผิดกับทางโลกหลง หลงก็เหมือนกับว่าเราหลง หลงรักคนโน้น หลงรักคนนี้ มันไม่ใช่ หลงในที่นี้ คือตัวไม่รู้ เจตสิกที่ไม่รู้ เรียกว่า โมหเจตสิก ขอบพระคุณ
ผู้ฟัง โมหะ ในที่นี้หมายความถึงอวิชชาหรือ
ท่านอาจารย์ สภาพธรรม มีหลายชื่อ ไม่ใช่ชื่อเดียว อย่างจิตใช้คำว่า วิญญาณก็ได้ เพราะฉะนั้น โมหะ อวิชชา ก็หมายความถึงสภาพธรรม อย่างเดียวกันซึ่งเป็นสภาพที่ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม
ผู้ฟัง อาจารย์เรียก จิต กับ วิญญาณ แล้วคิดว่า เป็นแต่เพียงธรรมที่เรียกต่างกันไป เหมือนที่เรียกว่า มโน มนัส หรือว่าวิญญาณนั้นคืออีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่จิต
ท่านอาจารย์ เหมือนกันเลย ไม่ต่างกันเลย
ผู้ฟัง อย่างนั้น เวลาที่เราพูดถึงฌานระดับหนึ่ง คือ วิญญานัญจายตนะ หมายความถึงการกำหนดรู้จิต หรือว่ารู้วิญญาณ
ท่านอาจารย์ เป็นชื่อของฌาน
ผู้ฟัง กำหนดรู้อะไร
ท่านอาจารย์ อารมณ์ ของ วิญญานัญจายตนจิต หรือ ก็คือ อากิญจัญญายตนฌาน คือการที่เราเข้าใจลักษณะของจิต โดยการพูดถึงชื่อต่างๆ ไม่มีทางที่เราจะเข้าใจได้ เพราะว่าจะมีชื่อของจิตต่างๆ ตั้งแต่รูปฌาน อรูปฌานไป แต่ทีนี้ถ้าเราจะรู้ลักษณะของจิต ซึ่งจิตต้องมีลักษณะจริงๆ ถ้าเป็นจิตก็ต้องเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้น สิ่งที่จิตรู้ คืออารมณ์ หรือ อารัมมาณะ ที่ถามว่าเมื่อกี้ จิตดวงนั้นมีอะไรเป็นอารมณ์ จิตทุกดวงต้องมีอารมณ์ แล้วแต่ว่าจิตนั้น จะมีอะไรเป็นอารมณ์ สิ่งนั้นก็เป็นอารมณ์ของจิต แทนที่เราจะไปติดที่ชื่อต่างๆ เราพยายามเข้าใจ ลักษณะของสภาพรู้ หรือธาตุรู้ แล้วต่อไปเราก็จะได้รู้ว่า ลักษณะสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ทำไมมีชื่อต่างๆ เช่น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ก็เป็นจิต เป็นวิญญาณขันธ์ เป็น จิตปรมัตถ แต่ว่าโสตวิญญาณ เป็นสภาพที่ได้ยินเสียง และจักขุวิญญาณ ก็เป็นสภาพที่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จะทำให้เรา เข้าใจ ความหมายของจิตว่า ไม่ว่าจะเป็นจิตชื่ออะไรก็ตาม ภูมิไหนก็ตาม ก็เป็น สภาพรู้นั้นเอง แล้วก็ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ว่าเราจะทำอะไร จะไปนั่งสมาธิ มีเหตุผลหรือเปล่า ว่าจะไปนั่งทำไม ถ้าไปสนุกๆ ไปเจอเพื่อน ที่ไม่มีความเห็นผิดก็มี ที่นี่สนุกไหม
ผู้ฟัง ที่นี่ สนุกไหม มันไม่สนุก ภาษาไทยอธิบายมัน ถ้าให้คำจำกัดความ
ท่านอาจารย์ คือไม่ต้องไปทำลำบาก ไม่ต้องไปเดินแบบต่างๆ ไม่ต้องทำอะไร เป็นปกติธรรมดา พูดแล้วมีเหตุผล แล้วก็มีความเป็นจริง ถ้าจะเกิดหัวเราะ ก็มีเหตุที่จะให้หัวเราะ ก็หัวเราะ ก็เป็นปกติธรรมดา เพราะฉะนั้น แม้แต่ในที่ ที่เราจะมีเพื่อนที่ดี โดยที่ไม่มีความเห็นผิดก็ได้ ไม่จำเป็นที่ต้องคิดว่าเมื่อไปสถานที่ที่มีความเห็นผิด แล้วเราจะได้เพื่อนที่ดี
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น ถ้าเผื่อมองในลักษณะอย่างที่อาจารย์ เรียนถามอาจารย์เมื่อกี้นี้ว่า ถ้าไปนั่งสมาธิ หลับไปบ้าง เป็นไปบ้าง มันจะค่อยๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าใช้คำว่า สมาธิ คือนั่งเฉยๆ
ผู้ฟัง คืออย่างน้อย ให้ ถ้าจะไม่มีการสอนให้รู้เรื่องเลยหรือว่า สมาธิ มันคืออย่างไร ยังไง นิดๆ หน่อยๆ แต่ว่าเด็กอาจจะหลับไปบ้างก็เป็นของธรรมดา มันจะค่อยๆ พัฒนาไปไหม ในทางที่ดีไหม เท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ เวลาที่เราเล่นดนตรีหรืออะไร เราก็เพลินไปสนุกไป ก็ยังดีกว่า เราไปมีความเห็นผิด อกุศลมี ๒ อย่าง อกุศลที่เป็นความเพลิดเพลินยินดีในรูปในเสียงในกลิ่นพวกนี้ก็มี และอีกอย่างหนึ่ง คือความติดข้องในความเห็นผิด ถ้าเราไม่เห็นโทษของความเห็นผิด เราไม่กลัวเลย ถ้าเราเห็นโทษของความเห็นผิด เราจะกลัวมาก ว่าที่เรายังอยู่ทุกวันนี้ แล้วไม่สามารถที่จะเข้าใจพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง เพราะมีความเห็นผิด และอีกอย่างหนึ่ง พระธรรมไม่ใช่สิ่งที่ใครจะประยุกต์ หรือใครจะพัฒนา ถ้าคิดอย่างนั้น หมายความว่าประมาทพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนกับว่าพระองค์ ไม่ทรงสามารถที่จะแสดง หนทางตั้งแต่ขั้นต้น จนกระทั่งขั้นสูงที่สุด แต่ความจริงในพระไตรปิฎก มีคำสอนทุกอย่าง อย่างสอนคนที่ครองเรือนก็มี สิงคารกมาณพ ก็ไปเฝ้า ก็มีเรื่องการคบมิตร มีอะไรทุกอย่าง ทำไมเราไม่เลือกใช้ พระธรรมให้ถูกต้องกับวัยของเด็กที่เขาจะได้ประโยชน์ แต่ว่าเราสับสน เพราะเหตุว่า เราไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง
ถ้าเป็นเรื่องของ สมถภาวนา กับวิปัสสนาภาวนา เป็นเรื่องของสัมมามรรค สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องของสมาธิ ไม่ใช่แต่พระพุทธศาสนา ที่ไหนก็มี ไม่จำกัดเลย ว่าต้องเป็นประเทศพระพุทธศาสนาเท่านั้น ที่มีสมาธิ ทั่วโลกมีสมาธิ แต่เป็นมิจฉาสมาธิ โดยไม่รู้ว่าเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะฉะนั้น การที่เราอยู่ในความมืด ความบอด แล้วไม่รู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด เราจะรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด ต่อเมื่อเราได้ฟัง พระธรรม แล้วก็มีความเข้าใจจริงๆ ในเหตุในผล จะทำให้เราสามารถที่จะรู้ได้ว่า แม้แต่สัมมาสมาธิ กับมิจฉาสมาธิ ต่างกันอย่างไร ถ้ารู้ความต่าง แล้วเราจะไปทำไหม ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นมิจฉา
ในเมื่อพระธรรมทรงแสดงหนทางที่จะให้อบรมเจริญกุศล มีมากมายหลายขั้น กุศลทุกอย่าง ทุกชนิดเราอบรมเจริญได้ ทำไมเราจะต้องไปพัฒนา หรือว่าจะต้องไปคิดว่า วิธีอื่น จะทำให้เข้าถึงพระพุทธศาสนา ซึ่งวิธีอื่นไม่สามารถจะทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้ นอกจากเข้าใจผิด ขอถามคุณยก เพื่อที่จะเป็นคำตอบอันนี้ด้วย คนที่ไม่รู้จักกิเลส เขาจะอบรมเจริญสมถภาวนา หรือสัมมาสมาธิได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เด็กๆ รู้ตัวว่ามีกิเลสหรือเปล่า เด็กไม่รู้อะไรเลย เป็นเรื่องสับสน แล้วให้ทำสมาธิ ให้ทำสมาธิอะไร ก็เป็นเรื่องของสมาธิแบบธรรมดาๆ มิจฉาสมาธิ ก็ทำกันไป เหมือนทุกหนทุกแห่งที่ทำ ถ้าไม่มีเหตุที่ถูกต้อง ก็คือ เป็นมิจฉาสมาธิ ทั้งนั้น จะเป็นสัมมาสมาธิ ได้อย่างไร เพราะฉะนั้น เวลาที่จะนั่ง รู้จักกิเลส หรือเปล่า ที่จะนั่ง หรือว่านั่งด้วยกิเลส กิเลสทำให้นั่ง เพราะอยากจะนั่ง เพราะชอบนั่ง เพราะคิดว่านั่งแล้วสบาย หรือว่า คิดว่านั่งแล้ว จิตใจไม่ไปนึกถึงเรื่องอื่น ก็เป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้นที่ทำให้เป็นอย่างนี้ โดยที่ไม่รู้ตัวเลย ไม่เห็นกิเลส ไม่สามารถละกิเลสได้ เพราะไม่เห็น แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าทำไปเพราะกิแลสนั่นเอง
ผู้ฟัง ผู้ที่เจริญ ศีลวิสุทธินั้น เขาเข้าใจในเรื่องศีลดี แม้กระทั่งอย่างเช่น ที่ว่าเรารักษาศีลกัน เรายังบอกว่า สภาวะของศีลจริงๆ คืออะไร อาจจะมีสภาวะรองรับก็ได้ ไม่มีก็ได้ เพราะฉะนั้น ประโยชน์ ของการสนทนาธรรม ก็เพื่อที่จะมาเกื้อกูลอุปการะต่อความเข้าใจในเรื่องศีล อุปการะต่อความเข้าใจในเรื่องการเจริญสติ เป็นต้น
ท่านอาจารย์ พระธรรมก็ต้องประกอบกันทั้งหมด เพราะว่าทรงแสดงไว้ว่าหนทางเดียวที่จะทำให้ รู้แจ้งอริยสัจธรรมก็คือ การเจริญสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น สำหรับวิสุทธินี้ก็เหมือนกัน ถ้าขาดสติปัฏฐาน แล้วก็ วิสุทธิ ไม่ได้แน่นอน ไม่ว่าจะเป็น ศีลวิสุทธิ หรือจิตตวิสุทธิ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะรักษาศีล แต่ว่าขณะนั้นยังมีความเป็นเราที่กำลังรักษาศีล ศีลนั้นก็วิสุทธิจากความเป็นเราไม่ได้ ยังมีความเป็นเราอยู่ แต่ว่าขณะที่สติปัฏฐาน เกิดระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นมีอินทริยสังวรศีล เพราะเหตุว่าขณะนั้นกำลังระลึก ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ และเอกัคคตาที่เกิดในขณะนั้น แม้ว่าเป็นขณิกสมาธิก็เป็นจิตตวิสุทธิด้วย เพราะเหตุว่าทั้งศีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิ เมื่ออบรมเจริญแล้วก็จะถึง ทิฏฐิวิสุทธิ คือนามรูปปริจเฉทญาณ
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเมื่อเช้าเราเคยพูดถึงเรื่อง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันนี้ก็คือ ศีลวิสุทธิ อันเดียวกัน
ท่านอาจารย์ ตั้งแต่ต้น ไปจนถึงความเป็นพระอรหันต์
ผู้ฟัง คำว่า ศีลวิสุทธิ หรือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ก็จะเกิดเมื่อสติปัฏฐาน เกิดเท่านั้น
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า ถ้าสติปัฏฐาน ไม่เกิดก็ต้อง เป็นเราตลอด ที่กำลังรักษาศีล
ผู้ฟัง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา คือมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐาน หรือไตรสิกขา หรือวิสุทธิ
ผู้ฟัง การเจริญกัมมัฏฐานอย่างถูกต้อง อยากจะขอกราบเรียนเชิญท่านอาจารย์สุจินต์ หรือว่าจะกรุณาอย่างไร เพราะว่า คิดว่าคงจะเป็นที่สนใจของพวกเรามากๆ ว่า การเจริญกัมมัฏฐานอย่างถูกต้องเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เรื่องของสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภวานาที่ใช้คำว่า กัมมัฏฐานมี ๒ อย่าง คือสมถภาวนา อย่างหนึ่ง และวิปัสสนาภาวนาอีกอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องของปัญญาทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่า การอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่เป็นการทำสมาธิ เวลาที่ใชัคำว่า กัมมัฏฐาน บางคนอาจจะเข้าใจผิด คิดว่าต้องไป ทำ แล้วก็ไปขอ อย่างที่ว่า แต่ความจริง แล้วเป็นเรื่องอบรม เพราะเหตุว่า ถ้าเข้าใจ ความหมายของสมถะ หมายความถึง สงบจากอกุศล เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นขณะที่จิตเป็นกุศล แล้วจิตที่เป็นกุศลในวันหนึ่งๆ มีสั้นมาก คือช่วงขณะนิดเดียวก็เป็นเห็นซึ่งไม่ใช่กุศล เป็นได้ยินซึ่งไม่ใช่กุศล เพราะฉะนั้น ถ้ามีกุศลเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ ก็ยังมีปัจจัยที่จะให้อกุศลเกิดมาก ผู้ที่เห็นกิเลส เห็นโทษของอกุศล จึงอบรมเจริญกุศลยิ่งขึ้น จึงมีคำถามว่า ถ้าไม่รู้จักกิเลส ไม่รู้จักอกุศลเลย แล้วก็จะเจริญสมถภาวนาได้ไหม เป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงการอยากจะทำสมาธิ แล้วสำหรับกัมมัฏฐานอีกอย่างหนึ่ง คือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน หมายความว่าเป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง เมื่อพูดถึงเมตตา แต่ก่อนลูกน้องทำผิดทุจริตอะไรเราก็จะบอกเขา แล้วก็สุดท้ายเขาออกไปข้างนอก แล้วก็ไปทำทุจริตอีก ถึงว่าเขาก็ตัดสินใจว่า วันหลัง ถ้ามีลูกน้องทำแบบนี้ เขาก็คือจะให้เขาเข้าตะรางเลย ก็มีเดือนที่แล้ว ลูกน้องขโมยสี่แสนไป เขาก็ให้เขาเข้าตะรางเลย คือจับให้ตำรวจมาจับเขา เสร็จแล้วให้เขาอยู่ในคุก ๓ วัน หลังจากนั้น ก็คือถอนคดีด้วย คือแต่ว่า เขาใช้วิธีนี้สั่งสอน เพื่อให้เขาจำได้ว่า วันหลังเขามโมยไม่ได้ แต่เขา ไม่รู้ว่านั่นคือหน้าที่ของเรา ที่ต้องทำแบบนี้กับเขาไหม เพราะบางครั้ง พักนี้เขามาฟังเทปของอาจารย์ เรื่องเมตตา เขาคิดว่า จริงๆ ไม่ใช่หน้าที่ของเขาที่ต้องมาสั่งสอนเขาแบบนี้ เพราะว่า มันก็โหดร้ายที่ ๓ วันเขาอยู่ในคุก เขาเหมือนคนบ้าแล้ว เขาก็ไม่รู้เขาควรจะทำอย่างไรดี
ท่านอาจารย์ ๓ วันพอไหม ที่จะเปลี่ยนนิสัยคน หรือที่จะเป็นบทเรียน ๓ วัน
ผู้ฟัง นี้คือ กรณีหนึ่ง อีกกรณีหนึ่งก็คือ เด็กเข้าไปขายยาม้า แล้วก็เราก็ คือเป็นเด็กยานพาหนะ เขาไปขายยาม้า สุดท้ายเราก็รู้ แล้วก็บอกเขา แต่หลังจากนั้น ก็คือ ครั้งที่ ๒ เขาทำอีก เราก็แจ้งตำรวจ เมื่อแจ้งตำรวจ เสร็จแล้วเขาก็ติดคุก ติดคุกประมาณ ก็คือเหมือนกัน เราก็ทำให้เขา ๓ วัน หลังจากนั้นเขาก็เปลี่ยนเลย แต่ว่าเราก็ไม่รู้ว่านี่คือถูกต้องที่ คือมันไม่แน่นอน เราไม่รู้ว่ามันถูกต้องหรือเปล่า ที่เราต้องใช้วิธีนี้ สั่งสอนเพื่อดัดสันดานของเขา เพื่อให้เขากลัวเพื่อให้ไม่ทำทุจริต ขนาดนี้กับคนอื่น เพราะว่า มีลูกน้องอื่นๆ ด้วยที่เขาทำ แล้วก็ไปทำคนอื่น เราก็มาคิดถึงตัวเองว่า จริงๆ ตั้งแต่แรก เราควรจะสั่งสอนเขา เพื่อเขาไม่ไปทำคนอื่นด้วย
ท่านอาจารย์ คุณชิน ลืมเป็นผู้จัดการโลก หรือเปล่า จริงๆ แล้วเราฟังธรรม เราต้องพิจารณาสภาพธรรม ที่เกิด ไม่ใช่ไปคิดเรื่องราว แล้วก็ไปจัดการเรื่องราว คนที่ศึกษาธรรม ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนที่อ่อนแอ แล้วก็ไม่ทำทุกอย่างให้ถูกต้อง ของสังคม หรือของส่วนรวม แต่ว่าในขณะนั้นต้องรู้สภาพจิต ว่าจิตขณะนั้น เป็นอย่างไร หรือแม้การที่คุณขวัญจะบอกว่า คุณขวัญแจ้งตำรวจ แล้วเขาก็ต้องเข้าไปอยู่ในคุก ๓ วัน จริงๆ แล้วการเข้าไปอยู่ในคุก ๓ วัน ถ้าโดยขณะจิตแล้ว ต้องเป็นผลของกรรมที่เขาทำ ถ้าเขาไม่ได้ทำกรรมนั้นมา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของใครจะเกิดขึ้น ขณะไหน รู้สิ่งที่ดีหรือไม่ดี เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่เอาเรื่องราวมา การอยู่ในคุก กับอยู่นอกคุก ก็คือเห็น ก็คือได้ยิน แต่ใจจะคิดอย่างไร นั้นก็อีกเรื่องหนึ่งว่าเขาไปอยู่ในสถานที่ที่ถูกกัก หรือว่าไม่เหมือนกับสถานที่อื่น เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริง ดิฉันคิดว่า ถ้าเราเข้าใจจริงๆ ว่าทุกคนอยู่ ในโลกคนเดียวกับความคิด แล้วเวลานี้ก็พยายามจะไปคิดว่า ที่คิดนั้น ถูกหรือผิด แต่จริงๆ ไม่ใช่ เป็นการที่จะต้องเข้าใจเรื่องของสภาพธรรม ให้ถูกต้อง ว่าเมื่อไม่มีเราแต่มีจิต และจิตขณะนั้น เป็นกุศล หรืออกุศล
ผู้ฟัง สุดท้ายเขาสรุป อย่างนี้ เหมือนที่อาจารย์พูด เขาคิดว่าอย่างนั้นไม่ใช่หน้าที่ของเขา ที่ต้องมา ที่จัดการคนอื่น เขาก็บอกไว้อย่างนี้ แต่เขาก็ไม่รู้ว่า เขาก็มีความรู้สึกว่า อย่างนั้นกลายเป็นว่า ไม่ได้ช่วยเขาด้วย
ท่านอาจารย์ คุณชินต้องพิจารณาละเอียด เราจะช่วยคน เราจะช่วยให้เขาเป็นคนดี ไม่ใช่เพียงแต่ช่วยให้เขา ไม่ต้องติดคุก เพราะฉะนั้น การที่จะช่วยให้เขาเป็นคนดี โดยวิธีใดบ้าง ถ้าเขามีกรรมที่เขาทำแล้ว กรรมนั้นเองทำให้เขาต้องเป็นอย่างนั้นเอง ตามกฏหมาย ไม่ใช่ว่าเราจะไปหวังร้ายต่อเขา แต่ถ้าเรายังมีความเมตตา แล้วเราคิดว่า ถ้าเขาไม่ได้รับโทษ เขาก็จะทำอย่างนี้ แล้วก็เป็นโทษ เป็นภัย กับคนอีกตั้งเท่าไร เพราะฉะนั้น ถ้ามีทางใด ที่เราจะทำได้ เพื่อช่วยเหลือตัวเขา และส่วนรวม ในทางที่ถูกต้อง เราทำได้ เพราะเหตุว่า ใครจะอยู่ที่ไหน อย่างไร เป็นเรื่องผลของกรรมของเขา ที่เขาทำมาแล้วแน่นอน เราก็จะไม่ให้คนดีๆ เข้าไปอยู่ในคุก แต่ว่าคนที่ไม่ดี ถ้าเขามีกรรมที่จะต้องได้รับ เขาก็ได้รับโดยที่ว่าใจของเราในขณะนั้น เป็นอย่างไร เป็นกุศล หรือเป็นอกุศลในขณะที่ทำอย่างนั้น เพื่ออะไร
ผู้ฟัง เรื่องเหตุ เหตุ ๖ เหตุ ๖ มี โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ คำว่าเหตุใกล้ และเหตุไกล อาจารย์ช่วยอธิบาย
ท่านอาจารย์ จริงๆ พวกนี้ เมื่อพูดถึงสภาพฃธรรม แล้วเขาจะมีในตำราทั้งหมดเลย ว่า เจตสิกใด สภาพธรรมใด หรือขณะไหน มีอะไรเป็นเหตุใกล้ มีอะไรเป็นเหตไกล เป็นเรื่องที่เราพอที่จะค้นคว้าได้ แล้วก็มีมากมายด้วย
ผู้ฟัง ความหมายของเหตุใกล้ และเหตุไกล
ท่านอาจารย์ เหตุใกล้ คือเป็นเหตุสำคัญ ในขณะนั้น ที่ขาดไม่ได้ เหตุไกลหมายความว่าสิ่งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุเดียว แต่มีอย่างอื่นเป็นเหตุด้วย แต่เหตุอื่นไม่ใกล้ชิด หรือไม่สำคัญเท่ากับเหตุใกล้ อย่างผัสสะ เป็นปัจจัย ให้เกิดเวทนา เวทนามีผัสสะเป็นเหตุใกล้ แต่ไม่ใช่หมายความว่า เวทนาอย่างเดียวที่มีผัสสะเป็นเหตุ มีอย่างอื่นเป็นเหตุด้วย ต้องมีจิตด้วย มีเจตสิกอื่นๆ ด้วย แต่ที่กล่าวว่าเวทนามีผัสสะเป็นเหตุใกล้ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่มีการกระทบอารมณ์ ความรู้สึกใดๆ ก็ไม่มี ต้องเกิดพร้อมกับจิตทุกขณะ เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ แล้วก็มีผัสสเจตสิกซึ่งเป็นสภาพที่กระทบอารมณ์ สภาพที่กระทบอารมณ์นั้นเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา แต่เวทนานั้นก็จะต้องมีปัจจัยอื่นให้เกิดด้วย
ผู้ฟัง แล้วเหตุไกล
ท่านอาจารย์ อย่างอื่นนอกจากสิ่งที่ยกมา เป็นเหตุใกล้ อย่างอื่นก็ต้องเป็นเหตุไกล
ผู้ฟัง รวมเหตุไกล หมายถึงชาติที่แล้วภพที่แล้วด้วยหรือไม่
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480