ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
ตอนที่ ๔๗๙
สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย
พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านอาจารย์ นี่คือความเห็นผิดว่า มีสิ่งที่เที่ยง มีสิ่งที่เป็นตัวตน เพราะไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม ด้วยเหตุนี้กว่าจะทรงตรัสรู้ และแสดงหนทาง ที่จะอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ก็ต้องอาศัยกาลเวลาของพระองค์เอง ที่จะตรัสรู้แล้วทรง เทศนา ๔๕ พรรษา ผู้ฟังที่ได้อบรมมาแล้วในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ก็สามารถที่จะละคลาย ความเห็นผิดเพียงฟัง ก็สามารถที่จะเห็นจริงๆ ว่า เป็นเพียงสิ่งที่เพียงปรากฏทางตาเท่านั้น สามารถที่จะมีปัญญาที่รู้ว่าขณะนั้น เป็นสภาพธรรมที่ต่างจากเสียง ต่างจากขณะอื่น แล้วก็สามารถที่จะละคลาย ความเป็นเราที่เห็น เราที่ได้ยิน เพราะเหตุว่าขณะที่ฟัง คนที่ไม่ได้อบรมปัญญามา ก็ยังจะเป็นเราอยู่นั่นแหละ เห็นเมื่อไรก็เป็นเรา ได้ยินเมื่อไรก็เป็นเรา จนกว่าจะอบรมถึงระดับขั้นที่เพียงฟัง สามารถที่จะรู้ความจริงได้ เพราะฉะนั้น คนที่ฟังธรรมในสมัยโน้น ก็มีปัญญาต่างระดับ ผู้ที่สะสมมาถึงระดับที่จะรู้แจ้ง หลังจากที่ทรงแสดงพระธรรมก็มี แต่ว่าผู้ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมหลังจากที่ต้องฟังนาน พิจารณานาน อบรมเจริญปัญญานานก็มี แล้วผู้ที่ฟัง เป็นอุปนิสัยปัจจัย เพื่อว่าในกาลต่อไป เมื่อได้ฟังอีกก็จะเข้าใจอีก จะมีการละคลายความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรม แล้วจึงเห็นธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งกำลังเกิดดับ ต้องมีการละคลาย ถ้าไม่มีการละคลาย อย่างไรๆ ก็ไม่เห็น สภาพธรรม ที่กำลังเกิดดับตามความเป็นจริงได้ เพราะฉะนั้น ก็สามารถจะรู้ตัวเราได้ตามความเป็นจริงว่า เราอยู่ตรงไหน เป็นผู้ที่เริ่มอบรม หรือว่าเป็นผู้ที่ได้ยินได้ฟังมาพอสมควร หรือว่าเป็นผู้ที่ยังจะต้องอบรมต่อไปอีก ซึ่งสามารถที่จะถึงปัญญาที่สมบูรณ์ได้ เพราะว่าปัญญาเริ่มเกิด เริ่มเข้าใจบ้าง ทีละเล็ก ทีละน้อย
ผู้ฟัง มนุษย์ สัตว์ เทวดา หรือพรหม ธรรมชาติก็ต้องมีรูปนามอยู่แล้ว ตรงนี้ แปลว่าให้ละ รูปนาม หรือว่าให้คลาย ให้ลดเบาบาง ความคิดว่า ธรรมเป็นอนัตตาเท่านั้น แต่ว่ามันจะละจริงๆ มันเป็นไปไม่ได้เลย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ผู้ที่ละได้ มีไหม มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็ยังมีพระสาวก เพราะฉะนั้น ถ้าใครเข้าใจ และอดทน ที่จะอบรมปัญญาต่อไป เหมือนพระสาวกซึ่งก่อนนั้นท่านก็เป็นปุถุชน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เคยเป็นปุถุชนมาก่อน เคยไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏอย่างนี้ สามารถที่จะอบรมปัญญา จนถึงระดับที่รู้ได้
ผู้ฟัง กุศลที่ทำให้วัฏฏะ ขยายมากขึ้น อย่างเช่น ทำทานแล้วตั้งความหวังไป ด้วยความโลภ ใช่ไหม กุศลลักษณะนี้ ทำให้อยู่ในวัฏฏะมากขึ้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ พวกคำอุปมาก็เพียง ที่จะแสดงให้เราเห็นความต่าง ของกุศลที่เป็นไปในวัฏฏะ กับกุศลที่เป็นไปในการที่จะออกจากวัฏฏะ แต่พอพูดถึงอิฐ เลยกลายเป็นเรื่องอิฐ เห็นเป็นจริง เป็นจัง จะต้องอิฐก้อนนี้ ก้อนนั้น แล้วก็เอาไปก่อขึ้นมาเป็นกำแพง ทำไมไม่ คิดว่าคำอุปมาทั้งหมด เพียงให้เข้าใจเท่านั้นเอง จะพูดถึงความยาวนาน ความห่างไกล หรือการที่ว่ากุศล อกุศลชนิดนี้ เป็นการสร้างวัฏฏะ ก็เลยไปติดอยู่ที่ตัวอย่างโดยมาก พออุปมาเรื่องแมงมุม ก็เป็นตัวแมงมุม กำลังชักใย ทำไมไม่เข้าใจว่า ให้เข้าใจความหมายของจิตนี้ สามารถที่จะรู้อารมณ์ได้ ไม่ว่าจะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เลยกลายเป็นเครื่องกั้น แต่จริงๆ แล้ว อุปมาทั้งหมด อย่าให้เราไปติด ให้เข้าใจถึงอรรถว่าต้องการอะไร จุดประสงค์ให้เข้าใจ เพียงแค่นี้นิดเดียว แต่ทีนี้ถ้ายกตัวอย่างมาประกอบ ก็จะทำให้เห็น ในเรื่องของการก่ออิฐ แต่ไม่ต้องไปนึกถึงว่าตัวอิฐกำลังก่อจริงๆ ถึงอเมริกาแล้ว หรืออะไรอย่างนี้ นั่นก็ป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง
ผู้ฟัง ชินอยากถามว่า ถ้าสมมติว่าเราเรียนพระธรรมแล้ว เรามีความรู้สึกว่า เราบวชเลย คือออกบวชที่ไม่อยากให้มีปัจจัยทั้งหลายมาเหมือนปัจจัยที่ให้เรายินดี ในความสุขนั้นได้ไหม แล้วก็เราก็เรียนธรรมอยู่ดี แต่ว่าเราก็คือออกบวชให้ คือให้อยู่ทางโลกที่ว่า สมถะ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน นางมหาปชาบดี ท่านบวชทำไม
ผู้ฟัง ชินไม่รู้จัก
ท่านอาจารย์ พระภิกษุณีรูปแรก เขาบวชๆ ทำไม เหมือนคุณชินจะบวชหรือเปล่า
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เหมือนเลย หรือ
ผู้ฟัง ไม่ใช่ๆ ที่จริงแต่ก่อนชินไม่อยากออกบวช
ท่านอาจารย์ คืออย่างนี้ ต้องเข้าใจตัวเอง และเข้าใจจุดประสงค์ของการบวช พระโสดาบันต้องบวชไหม
ผู้ฟัง บางคนไม่ต้อง
ท่านอาจารย์ พระสกทาคามี
ผู้ฟัง ก็ไม่ต้อง
ท่านอาจารย์ พระอนาคามี
ผู้ฟัง ไม่ต้อง
ท่านอาจารย์ ต้องมีเหตุผล เพราะอะไร ไม่ใช่พอเห็นคนอื่นบวชก็อยาก แล้วก็คิดว่าได้บวชแล้วก็ได้ตัดกังวล อะไรทั้งหมด นั่นแหละเรื่องคิด ไม่ใช่เรื่องจริง แต่เรื่องจริง คือ
ผู้ฟัง เราไม่มีอะไรที่เป็นภาระของใคร
ท่านอาจารย์ แน่ใจ
ผู้ฟัง คือภาระมันไม่ใหญ่หลวง
ท่านอาจารย์ เอา ยูนิพไปทิ้งไว้ที่ไหน
ผู้ฟัง ยูนิพก็ให้พี่ขวัญไป
ท่านอาจารย์ จริงๆ วันนี้ไม่ต้องเห็น ยูนิพเลย ทุกวันๆ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ลองอย่างนี้ก่อนยังไม่ต้องไปบวช
ผู้ฟัง ถ้าจริงๆ แล้วถ้าสมมติ ยูนิพตาย ชินก็ไม่ต้องคิดว่าอะไร
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วทุกอย่างเป็นเรื่องสมมติหมด ถ้าๆ ๆ ๆ ขณะนี้คุณชินนั่งอยู่ที่นี่ อย่าลืม ความจริง กำลังนั่งอยู่ที่นี่ เหมือนหลายคน ได้ยินผู้ชายที่ไปฟังพระธรรม เขาก็บอกว่าอาจจะมีในเทป อยากบวชใจจะขาด ใช้คำว่าใจจะขาด แสดงว่าอย่างไร อยากนะ
ผู้ฟัง โลภะ ไง
ท่านอาจารย์ อยากใจจะขาด แต่ตามความเป็นจริง เขายังอยู่ เรื่องจริงคือเรื่องหนึ่งเรื่องคิดฝัน เรื่องอยาก เรื่องจะเป็นอย่างนั้น เรื่องจะเป็นอย่างนี้ อีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้น แต่ละคน ต้องรู้ตัวเอง ตามความเป็นจริง อย่างท่านมหาปชาบดีโคตมี ท่านได้อบรมเจริญปัญญาที่จะบรรลุ ความเป็นพระอรหันต์ ไม่ใช่เพียงแค่พระโสดาบัน เพราะฉะนั้น อย่างคนที่เห็นพระโสดาบัน เห็นภิกษุณี หรือเห็นอะไร แล้วก็อยาก แต่ว่าตัวเองจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร คนที่อยู่ไม่บวช คือคนไม่บวช คนที่จะบวช เพราะสะสมอัธยาศัยใหญ่ อย่างท่านรัฐปาละ อ้อนวอนมารดาบิดาอดข้าว ๗ วันไม่คลอนแคลนเลยในการที่บวช ก็เป็นเรื่องที่แต่ละคนอยากทำอะไรด้วยความอยาก แต่ด้วยการที่จะรู้จักตัวเองตามความป็นจริง เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริงขณะนี้ คือไม่มีภิกษุณี แล้วเราจะบวชอะไร
ผู้ฟัง คุณชิน ในเทปที่ท่านอาจารย์บรรยาย มีแสดงว่า สมัยพุทธกาลหรือสมัยก่อนๆ ผู้ที่เข้าใจธรรมแล้ว ทนอยู่ในสภาพเป็นฆราวาสไม่ได้ จึงไปบวช มิใช่เหมือนสมัยนี้ คือ ผู้ที่ต้องการจะเข้าใจธรรม แต่ยังไม่รู้เรื่องของธรรมเลย เข้าไปบวช จุดประสงค์ไม่เหมือนกัน
ผู้ฟัง แต่ว่าชิน คิดว่าชินคล้ายๆ อย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เอาจริงเดี๋ยวนี้ว่า สมัยนี้ไม่มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีภิกษุ ภิกษุณีที่เป็นอริยสาวกขั้นระดับที่เคยมีในครั้งก่อน สมัยนี้มีพระธรรมที่เราอาจจะสามารถ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จากการฟัง การไตร่ตรอง การอบรม ประพฤติปฏิบัติตาม ทีละเล็กทีละน้อย ตามยุคตามสมัย นี้คือความจริง เพราะฉะนั้น ความจริงก็คือความจริง ธาตุรู้มีไหม
ผู้ฟัง ธาตุรู้ มี
ท่านอาจารย์ อยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง ในความรู้สึกของเรา
ท่านอาจารย์ นี่แปลว่าเรากำลังจะหา แต่ตามความเป็นจริง ธาตุรู้ คือ ขณะที่เกิดต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ ให้รู้ในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ธาตุรู้ที่ว่าอะไรจะลอย รู้สึกเมื่อกี้มีประโยคหนึ่งที่คือว่า ลอยอยู่ตรงนั้นตรงนี้
ผู้ฟัง จิตของคนในโลกนี้ ซึ่งมีเป็นล้านๆ
ท่านอาจารย์ แล้วลอยอยู่ตรงนั้นตรงนี้ หรือเปล่า
ผู้ฟัง มันปรากฏ
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเป็นเพียงธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นรู้ แล้วดับ เราไม่จำเป็นต้องไปคิดว่ามันอยู่ที่ไหน ตรงไหน แต่เป็นธาตุที่เกิดขึ้นแล้วรู้ ธาตุนั้น เป็นธาตุรู้ เพราะว่าธาตุมีหลายอย่าง แต่ถ้าสรุปโดยย่อ ความต่างกันของธาตุ จะมี ๒ อย่าง คือธาตุซึ่งไม่รู้อะไรเลย เราจะไปเรียกธาตุอะไรก็แล้วแต่ ธาตุแข็ง ธาตุร้อน ธาตุอะไรก็เป็นสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่สภาพรู้ แต่อีกธาตุหนึ่ง เป็นธาตุรู้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ไปลอยอยู่ที่โน้น ที่นี่ แต่ทันทีที่เกิด เกิดขึ้นรู้ ธาตุรู้ต้องเกิดขึ้น แล้วก็รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งเราใช้คำว่า นามธาตุ มี ๒ อย่างคือ จิตกับเจตสิก จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์ คือสิ่งที่ถูกรู้ ที่จิตกำลังรู้ เรียกว่าอารมณ์ ส่วนเจตสิกก็เป็น สภาพธรรมที่เป็นนามธาตุที่ต้อง เกิดกับจิต จะเกิดที่อื่นไม่ได้เลย เกิดกับจิต เกิดในจิต แม้ว่าเป็นนามธาตุ ก็ต้องเกิดร่วมกันแล้วก็ดับพร้อมกัน แยกกันไม่ได้ ที่เป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นรู้แล้วก็ดับ
ผู้ฟัง ในพระไตรปิฎก บางครั้งท่านก็กล่าวถึงว่า เมื่อสติปัฏฐานเกิดแล้ว เหตุไฉนว่า เราอยู่ผู้เดียว ส่วนอีกรายหนึ่งก็กล่าวว่า มีปกติ คือเพื่อนสอง คืออยู่ด้วยโลภะ ท่านอาจารย์กรุณาอธิบาย ความกระจ่างให้เพิ่มขึ้น
ท่านอาจารย์ เวลาคิด ส่วนใหญ่ คุณวลัยพร คิดอะไร
ผู้ฟัง สารพัด
ท่านอาจารย์ สารพัด นั่นแหละ คือ ๒ แล้ว ๓ แล้ว นับไปเท่าไร
ผู้ฟัง อยู่ที่โลภะ เป็นส่วนมาก
ท่านอาจารย์ นั่นสิ
ผู้ฟัง ก็มีเพื่อนสอง
ท่านอาจารย์ ก็คิดไง แล้วแต่จะคิดเท่าไร ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ๔ หรือร้อย หรือพัน หรือล้านก็ได้ ที่เมืองนั้น เมืองนี้ คนตายไปแล้วเท่าไร จำนวนมากมาย
ผู้ฟัง ก็เฉพาะเวลาสติปัฏฐานเกิด ถึงจะอยู่ผู้เดียว หรือว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว ทุกคำไม่ใช่คำตายตัว ต้องเอาคำนี้ ให้เข้าใจความหมายจริงๆ เท่านั้นเองว่า เวลานี้เราเคยคิดว่าเรอยู่กันเต็มห้อง เดี๋ยวนี้คิดอย่านั้นหรือเปล่า แล้วความจริงเป็นอย่างนั้นหรือปล่า ความคิดเป็นอย่างนั้น ความจริงเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ค่อยๆ เข้าใจความจริง แต่อย่าไปตายตัวว่า ผู้เดียวอยู่กับความคิด หรืออะไรก็ต้องอยู่ตรงนั้นไปตรงอื่นไม่ได้ จะเข้าใจส่วนอื่นไม่ได้ ไม่ใช่อย่างนั้น เป็นแต่เพียงเครื่องที่จะทำให้เราค่อยๆ ห่างจากการที่เคยเป็นเรื่องเป็นราว เป็นคนมากมาย ว่าแท้ที่จริงแล้ว เหมือนเราอยู่กับหลายๆ คนในห้องนี้แต่ตามความเป็นจริง คือคนเดียว แล้วคนเดียวก็คือ จิตขณะหนึ่ง ซึ่งเกิดแล้วก็ดับ ย่อยลงไปอีกก็คืออย่างนั้น เพราะฉะนั้น เราถึงได้เผยแพร่พระธรรมคำสอน โดยต้องการที่จะให้คนเข้าใจถูก อันนี้เป็นหลักที่สำคัญที่สุดโดยที่ไม่ต้องการอะไร ไม่หวังอะไร ทุกคนต้องจะต้องไปถึงจุดละ เพื่อการละ แล้วก็ค่อยๆ ละ เริ่มละไปเลยตั้งแต่ต้น
ผู้ฟัง อย่างนั้น หน้าที่ของเราคือต้อง บอกเขา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ความเห็นถูก แล้วแต่ว่าเขาจะสนใจหรือไม่สนใจ
ผู้ฟัง วันนี้นุชได้ชวนคุณอี๊ดมา เพื่อจะได้ให้คุณอี๊ดได้กุศล
ท่านอาจารย์ ให้ได้กุศล หรือให้เข้าใจธรรม
ผู้ฟัง ให้เข้าใจธรรมด้วย และเมื่อเข้าใจแล้ว จะได้กุศล
ท่านอาจารย์ ทำไม เข้าใจธรรม เป็นเรื่องละอกุศล ขณะนั้นไม่มีโลภะ ไม่มีความติดข้องในสิ่งใดๆ ไม่ติดข้องในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสักการะ เพราะว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ชั่วคราวเล็กน้อย แล้วก็นำความทุกข์มาให้ ถ้าเราติดข้อง อะไรก็ตามที่มีความติดข้อง เมื่อเราไม่ได้สิ่งนั้นหรือหมดไป เราก็ต้องเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น ให้เกิดปัญญา ความเห็นถูก พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของผู้ที่ตรัสรู้ สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ให้ผู้ฟังเกิดความเห็นที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น คุณนุชมีความหวังดีให้เพื่อน มีความเห็นที่ถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะที่มีความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล เป็นกุศล แล้วยังหวังได้อะไรอีก หรือเปล่า นอกจากนี้
ผู้ฟัง ไม่แล้ว นอกจากกุศล
ท่านอาจารย์ เป็นกุศล ก็คือเป็นกุศล แล้วกุศล เป็นเหตุที่ดีก็ต้อง ทำให้เกิดจิตที่เป็นผลเกิดขึ้น โดยที่ว่าไม่จำเป็นต้องไปหวัง เป็นอยู่แล้ว อย่างไรๆ ก็เป็น ห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ ถ้ากุศลทำไปแล้วจะห้ามไม่ให้กุศลวิบาก ซึ่งเป็นผลเกิดก็ไม่ได้ อกุศลทำไป แล้วก็จะห้ามไม่ให้จิตที่เป็นผลของอกุศลกรรมเกิดก็ไม่ได้
ผู้ฟัง อยากจะเรียนข้อนี้แหละว่า พรหมวิหาร ๔ นอกจากเราเป็นพุทธมามกะแล้ว ศาสนาอื่นเขาก็มีด้วย ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ขอโทษ คุณสุกิจ เมตตามีเชื้อชาติไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นชาติจีน ชาติญี่ปุ่น อะไรหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ เป็นสภาพธรรม ที่มีจริง เป็นธรรมฝ่ายดี ซึ่งคล้ายคลึงกับโลภะ เพราะฉะนั้น ก็ต้องแยก เวลาที่เราบอกว่า เรามีเมตตา ความจริงเรามีเมตตา หรือเรามีโลภะ เพราะว่าโดยมาก จะบอกว่า พ่อแม่เมตตาลูก แล้วจริงๆ เมตตาลูก หรือรักลูก
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ กำลังกล่าวว่า เมตตากับความรัก
ท่านอาจารย์ คล้ายคลึง
ผู้ฟัง คล้ายคลึง เป็นไปได้ไหม ผู้ที่มีความรัก จะเปลี่ยนเป็นเมตตา
ท่านอาจารย์ เปลี่ยนไม่ได้ เพราะว่าสภาพธรรม เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น จะเอาอกุศล ไปเปลี่ยนเป็นกุศลไม่ได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ที่พ่อแม่รักลูก หรือสามีรักภรรยา เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ แน่นอนๆ จะให้เป็นกุศลก็รวยมาก รวยกุศล รักใครที่เป็นอกุศล ก็เป็นเมตตาไปหมด รักสุนัข อะไรต่ออะไร พวกนี้ไม่ได้ต้องตรง แล้วก็ไม่มีเชื่อชาติด้วย ที่บอกว่าชาติอื่นเขามีไหม อย่างนี้
ผู้ฟัง ถ้าดูตรงนี้เรื่องอกุศล เป็นเรื่องใหญ่มากเลยที่จะไปแก้ให้เป็นกุศล
ท่านอาจารย์ แก้อกุศล ให้เป็นกุศลไม่ได้ ธรรม คือถ้าจิตหนึ่ง ขณะเกิดขึ้น เป็นชาติอะไรก็เป็น ชาตินั้น ถ้าเป็นกุศล ก็เป็นกุศลแล้วก็ดับ ถ้าเป็นอกุศล ก็เป็นอกุศลแล้วก็ดับ จะเอากุศลไปใส่ขณะที่เป็นอกุศล ไม่ได้
ผู้ฟัง เมื่อเช้านี้ได้ฟังเทปของท่านอาจารย์ มีประโยคหนึ่งกล่าวว่าในสมัยพุทธกาล การเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องปกติ นี้หมายถึงว่า ท่านอาจารย์บรรยายว่า คนยุคนั้น เจริญสติปัฏฐาน กล่าวเหมือนกับว่า เขาเจริญกันตลอดเวลา
ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเห็นที่ถูกต้อง ไม่ว่ายุคสมัยไหน การอบรมเจริญปัญญาต้องเป็นปกติ เพราะเหตุว่าปัญญา สามารถที่จะรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ตามปกติ การเจริญสติปัฏฐาน ในยุคไหน ก็ตามต้องเป็นปกติ ไม่ว่ายุคก่อนหรือยุคนี้ แต่คนยุคนี้ ที่จะเข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน มีน้อยกว่ามาก
ผู้ฟัง ชินมีความรู้สึกเดี๋ยวนี้ เราเหมือนกับนกแก้ว คือ อนัตตาๆ ๆ เราก็บอกว่า อนัตตา หรือเจตสิก ๕๒ ดวง เราก็พูดตามนั้น แต่ไม่สามารถแยกแยะได้
ท่านอาจารย์ วิธีแยกแยะของคุณชิน คุณชินต้องการแยกแยะแบบไหน
ผู้ฟัง อย่างเช่น เรื่องเมตตากับความรัก ยังแยกไม่ได้เลย
ท่านอาจารย์ แต่ถ้ารู้ความต่างกัน รู้ได้ไหมว่า ๒ อย่างนี้ต่างกัน
ผู้ฟัง รู้ แต่ว่ามัน
ท่านอาจารย์ เริ่มรู้ เพราะฉะนั้น เวลาที่สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นจากการฟัง คุณชินจะรู้เลยว่า ขณะนั้นเป็นเมตตา หรือเป็นโลภะ เพราะฟังเข้าใจ แล้วเวลาที่สภาพธรรมนั้นเกิด ก็สามารถที่จะรู้ จากการที่ฟังเข้าใจแล้ว ว่า ๒ อย่างนี้ต่างกัน
ผู้ฟัง แต่ในนั้นก็ยังมีเราอยู่ข้างใน ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน ยังไม่ได้ดับเป็น สมุจเฉท
ผู้ฟัง อย่างนั้นก็ไม่ต่างกับนกแก้ว ถ้าสมมติว่า
ท่านอาจารย์ นกแก้วไม่รู้ ฟังไม่ออก
ผู้ฟัง เขาเห็นคนเขาก็บอกว่า
ท่านอาจารย์ ใช่แต่เขาไม่รู้ ก็ฟังไม่ออก เพราะพูดตามได้ แต่เราไม่ใช่เพียงแต่คิด เข้าใจ
ผู้ฟัง ถ้าสมมติเราไม่เหมือนนกแก้ว ทำไมป่านนี้ยังบรรลุไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็ปัญญามีกี่ขั้น ถ้ามีปัญญาขั้นฟัง บรรลุได้ ไม่ต้องทำอะไรเลย แค่มาฟังเท่านั้นก็บรรลุแล้ว
ผู้ฟัง หนูขอคำถามคุณวีระยุทธอีกครั้งว่า ถ้าคนละประเด็นกัน หมายความว่า ถ้าเผื่อว่าจะอยู่ในยุค หรือไม่อยู่ในยุคก็ตาม ถ้าสติปัฏฐานเจริญเป็นปกติ หมายความว่าเจริญบ่อยๆ เนืองๆ
ท่านอาจารย์ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน เจริญเป็นปกติ จะมากจะน้อย ไม่มีใครบอกได้ แต่ละคน แต่ทีนี้ในยุคโน้น จะต้องต่างจากยุคนี้ ยุคนี้กว่าคนจะเข้าใจสติปัฏฐาน คิดดูก็แล้วกัน อย่างคุณชิน เป็นตัวอย่าง ที่บอกว่าคุณชินเหมือนนกแก้ว แต่ความจริงไม่ใช่ คุณชินยังไม่ใช่นกแก้ว เพราะคุณชินเข้าใจ นกแก้ว ฟังได้ยินเสียงพูดตาม แต่คุณชิน ไม่ใช่แค่ฟัง ได้ยินเสียงพูดตาม แต่คุณชินยังพิจารณาเข้าใจได้ด้วย
ผู้ฟัง เราก็ยังพูดตาม แต่ไม่รู้
ท่านอาจารย์ ทีละนิด ไง คุณชิน เวลาที่คุณชินย่ำเท้า ย่ำไปเถอะ คุณชินไม่รู้ว่ามันขยับไปนิดหนึ่ง หรือคุณชินจับด้ามมืด คุณชินก็ไม่รู้ว่าสึกไปแล้วนิดเดียวมองไม่เห็นเลย จนกว่าด้ามมีดนั้นจะสึก เพราะฉะนั้น ตอนนี้คุณชิน กำลังอยู่ในตอนที่ไม่เห็นการสึก ก็ไม่รู้ว่าขณะนี้ ไปถึงไหน แต่ว่าถ้าไม่มีการฟังก่อนๆ มา การฟังวันนี้ จะทำให้เข้าใจขึ้นอีกได้ไหม
ผู้ฟัง ชินคิดว่า ภาวนาก็คือเจริญสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง หมายความว่า เจริญ คือ อบรมให้มีขึ้นให้มากขึ้น คำว่า เจริญ
ผู้ฟัง อย่างนั้นเจริญสติปัฏฐาน กับภาวนาก็เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะว่าภาวนามี ๒ อย่าง สมถภาวนา กับวิปัสสนาภาวนา สมถภาวนา คือการอบรมจิตให้สงบมั่นคง ไม่ให้มีอกุศลเกิดขึ้นได้ จนกระทั่งจิตนั้นตั้งมั่นเป็นกุศลบ่อยๆ ลักษณะของสมาธิ จะปรากฏ เป็นลำดับขั้น จนถึงขั้นฌานจิต ซึ่งเป็นอัปปนาสมาธิ นั้นคือสมถภาวนา แต่วิปัสสนาภาวนา วิปัสสนาแปลว่าเห็นแจ้ง ขณะนี้มีสภาพธรรมปรากฏเห็น เห็นด้วยปัญญา เพราะขณะนี้ เห็นมี แต่ไม่รู้ว่าเห็น ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ปัญญา เป็นแต่เพียงความไม่รู้ในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น อวิชชา ไม่สามารถที่จะเห็นสภาพธรรมได้เลยอย่างถูกต้อง เห็นไม่ได้ แต่การอบรมปัญญา วันหนึ่งก็สามารถที่จะรู้ลักษณะแท้ๆ ของธาตุรู้ ธาตุรู้มีจริงๆ ถ้าไม่มีทุกคนที่นี่ต้องเป็นก้อนหินก้อนดิน แต่นี่มีเห็น มีได้ยิน มีคิดนึก มีสุข มีทุกข์ ล้วนแต่เป็นนามธาตุ ที่มีจริงที่มีเหตุปัจจัย เกิดขึ้นแล้วก็ดับด้วย ในเมื่อของจริงเป็นอย่างนี้ ต้องทนต่อการพิสูจน์ ถ้าอบรมไป เข้าใจไป ระลึกไป รู้ไป ก็จะทำให้ประจักษ์ได้ เหมือนผู้ที่ประจักษ์แล้ว ก็ต้องมาอย่างนี้ ตั้งต้นจากความไม่รู้ แล้วก็ค่อยๆ รู้ขึ้น นี่คือ ภาวนา เป็นจิรกาลภาวนา จิระ แปลว่ายาวนาน กาล แปลว่า เวลา เพราะฉะนั้น เป็นการภาวนา หรือการอบรมที่ยาวนานมาก
ก่อนอื่นต้องทราบว่าการศึกษาธรรมมีความเห็นที่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี คือเหตุผลต้องเป็นไปตามลำดับ มิฉะนั้นเราจะสับสน แล้วเราก็จะเข้าใจผิดได้ ก่อนอื่นก็ต้องตั้งต้นว่าการเข้าใจพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง เป็นสิ่งที่หายากมาก ไม่ใช่ว่าใครจะมีได้ ถ้าคนนั้นไม่ได้สะสมบุญมาก่อน จะไม่มีการศึกษา จะไม่มีการเห็นประโยชน์เลย
เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีการศึกษาแล้วเข้าใจพระธรรม ซึ่งเราต้องรู้ว่า ไม่ใช่วิชาที่คนอื่นจะสอนได้ นอกจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว สาวกทั้งหลาย ฟังพระธรรมจากพระองค์ ถ้าพระองค์ไม่ตรัสรู้ ไม่ทรงแสดง ก็ไม่มีการที่จะมีปัญญาถึงระดับขั้นเป็นพระอรหันต์ หรือว่าความเป็นพระอรหันต์ ก็คือความเป็นคนดี ที่ไม่มีอกุศลเลย เพราะฉะนั้น ชีวิตของเราจะดีขึ้นๆ ๆ ด้วยอะไร ด้วยปัญญา ความเห็นที่ถูกต้อง หรือว่าด้วยความเป็นเราที่มีความรู้มีความสามารถ เก่งทุกอย่างทุกเรื่อง แต่จิตใจ เป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น เราก็ต้องดูประโยชน์ ว่าประโยชน์สูงสุด ถ้าใครบอกว่าการศึกษาพระธรรมจะกั้น หรือจะขัดขวาง ความเจริญ คนนั้นไม่ได้เข้าใจเลย ถึงคุณประโยชน์ของพระธรรม ของการสะสมบารมีของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าพระองค์ทรงแสดง แล้วไปกั้น ความเจริญของบุคคลอื่น เป็นไปได้อย่างไร ไม่มีทางจะเป็นไปได้เลย เพราะฉะนั้น การฟังธรรมต้องละเอียด แล้วต้องพิจารณาเหตุผล ใครพูดก็ได้ แต่คนฟังมีสิทธิที่จะพิจารณา ในเหตุผลที่ได้ยินได้ฟัง และไม่คำนึงถึงว่าคนพูดเป็นใคร
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 421
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 422
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 423
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 424
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 425
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 426
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 427
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 428
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 429
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 430
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 431
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 432
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 433
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 434
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 435
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 436
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 437
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 438
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 439
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 440
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 441
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 442
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 443
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 444
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 445
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 446
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 447
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 448
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 449
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 450
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 451
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 452
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 453
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 454
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 455
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 456
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 457
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 458
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 459
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 460
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 461
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 462
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 463
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 464
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 465
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 466
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 467
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 468
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 469
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 470
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 471
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 472
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 473
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 474
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 475
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 476
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 477
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 478
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 479
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 480