ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
ตอนที่ ๔๙๒
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๑
ท่านอาจารย์ เมื่อได้ศึกษาแล้วความเข้าใจคือขั้นเข้าใจจากการฟัง แต่ว่าไม่ใช่ขณะนี้จะไปรู้ กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต ต้องรู้เลย ว่าขณะนี้ เป็นสภาพธรรมทุกขณะ เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป แต่เมื่อปัญญาระดับที่จะเกิดร่วมกับสติปัฏฐานไม่มี ไม่มีการระลึกลักษณะ ก็เป็นการฟังเรื่องราวของจิตที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศล จิตที่เป็นวิบาก จิตที่เป็นกิริยา จนกว่าจะอบรมปัญญาเพิ่มขึ้น สามารถที่จะประจักษ์ได้จริงๆ
เราศึกษาพระพุทธศาสนา คือศึกษาพระไตรปิฎก ๓ ปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา ที่จะทำให้เราเข้าใจข้อความนั้นๆ เพราะว่าขณะนี้มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ ถ้าเรามีความเข้าใจในสภาพธรรมนั้นเพิ่มขึ้น เวลาที่สภาพธรรม นั้นจะเกิดเมื่อไร ที่ไหน กับเรากับใคร เราสามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะเราศึกษา เมื่อเราศึกษาเข้าใจ แต่ถ้าเราไม่ศึกษา ไม่เข้าใจ แล้วเราก็สงสัย แต่เราไม่ศึกษา เรามาถาม แต่ถ้าแทนที่เราจะคิดว่า เราจะถาม เราศึกษาให้มากๆ ในพระอภิธรรม ในพระสูตร ในพระวินัย จนเป็นความเข้าใจของเราในสภาพธรรมทั้ง ๓ ปิฎก จะเกื้อกูลมากทีเดียว เวลาเกิดอะไรขึ้นเราไม่ถาม เพราะเรารู้ว่าเป็นอย่างนั้น และเราจะเห็นประโยชน์ว่าศึกษาเรื่องจิต เจตสิก รูป คือศึกษาตัวปรมัตถเท่านั้น แต่ในพระสูตรกว้างขวางมากมายประกอบกัน ที่จะทำให้เห็นความวิจิตรในชาดกต่างๆ ในเรื่องราวต่างๆ มากมาย พร้อมทั้งข้อธรรมซึ่งทรงแสดงประกอบกันไปด้วย แต่ถ้าเราพูดอย่างนี้ เราไม่มีธรรมอื่นมาประกอบเลย แต่ถ้าเรายกข้อความในพระสูตร แล้วแต่ ก็จะมีข้อความที่เป็นประโยชน์ด้วย
ผู้ฟัง พูดถึงศึกษาพระอภิธรรม หนูก็เห็นประโยชน์ จิต เจตสิก รูป เราก็เรียนมาแล้ว ก็เห็นประโยชน์ว่า ในขณะที่หนูมานั่งตรงนี้ กับเมื่อกี้นี้ซึ่งหนูร้อน ก็พิจารณาว่าตอนนี้ เรามานั่งตรงนี้เพื่ออะไร
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องราวที่เราคิดนึกไปหมดเลย อะไรที่เราจะได้เพิ่มเติมก็ไม่มี
ผู้ฟัง เข้าใจ คือหนูกำลังระลึกว่าตอนนี้ หนูต้องการสุขเวทนา เพราะว่าหนูอยู่ตรงนั้น หนูร้อน หนูไม่สบายใจ
ท่านอาจารย์ อันนี้เราจะไม่ได้อะไรเลย นอกจาก คุณอุไร ต้องการสุขเวทนา คนอื่นก็ต้องการ
ผู้ฟัง อันนี้ เป็นลักษณะของสภาพธรรม หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม แต่เราไม่ได้ศึกษาธรรม เราไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจขึ้นเลย เราเพียงแต่เรารู้ว่า มี สุขเวทนา เราอยากมีสุขเวทนาเท่านั้น
ผู้ฟัง แต่ตรงนี้ ไม่ใช่ลักษณะของธรรม หรือ
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมซึ่งเราไม่รู้ จึงเป็นคุณอุไรที่ต้องการสุขเวทนา แต่ถ้ามีความเข้าใจในธรรม ยิ่งขึ้น จะรู้ว่ามันเป็นอนัตตาอย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร แม้ว่าใครจะหวัง หรือไม่หวัง สภาพธรรมนั้นจะเกิด หรือไม่เกิด ก็ต้องแล้วแต่เหตุปัจจัย แล้วเข้าใจอีกๆ ศึกษาอีกๆ ละเอียดขึ้น ไม่ต้องมานั่งคิดว่า เราต้องการสุขเวทนาก็เป็นธรรม ก็เป็นธรรมตั้งแต่เกิดจนตาย
ผู้ฟัง จากการที่ไม่เคยเข้าใจ แต่ในลักษณะที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ วันนี้ก็ไม่ได้อะไร ประเดี๋ยวอีก ถึงเวลาเที่ยงก็ไม่ได้อะไร ก็อยู่ตรงนี้
ผู้ฟัง ตกลงแนวทางในการที่จะศึกษามากกว่าว่า ควรจะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ แนวทางก็คือว่าเมื่อมีพระไตรปิฎก ส่วนหนึ่งส่วนใดได้ทั้งนั้นเลย รวมทั้งอรรถกถา ฎีกา
ผู้ฟัง สรุปแล้วก็คือว่า ความหมาย อาจารย์บอกว่าให้ทุกคนไปศึกษามา แล้วมาคุยกัน ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อ่านด้วย แล้วเวลาที่ไม่เข้าใจ ก็มาคุยกันด้วย แต่เป็นเรื่องพระไตรปิฎก
ผู้ฟัง แนวทางที่อาจารย์ บอกว่าให้มาสนทนา ก็คือ ให้ทุกคนไป อ่านแล้วแต่ว่าจะเป็นพระวินัยปิฎก หรือว่าจะเป็นพระสูตร เสร็จแล้วเอามาคุยกัน ใช่ไหม
ส . ไม่ใช่คุย เพื่อกระจ่างขึ้น
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ จุดต่างๆ ข้อต่างๆ ที่ไม่ยังไม่กระจ่าง นี่คือการสนทนาธรรม
ผู้ฟัง ขอบคุณ
ท่านอาจารย์ เข้าใจนิดๆ หน่อยๆ แล้วเวลาฟังเพิ่มอีก นิดๆ หน่อยๆ ก็เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก นิดๆ หน่อยๆ แต่นิดๆ หน่อยๆ จะละเอียดขึ้น จะมากขึ้น จะชัดเจนขึ้น ถ้าเราสนใจในความละเอียดแล้ว เราคิดว่ายังมีที่จะต้องศึกษาด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ฟังผิวเผิน อย่างเมื่อกี้นี้ แล้วก็เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ไม่ได้พูดถึงใครเลย แต่เดี๋ยวนี้ อวิชชามีไหม มี สังขารมีไหม สังขารที่นี่ได้แก่ เจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นกัมมปัจจัย เพราะเจตนาเจตสิกซึ่ง เกิดกับกุศลจิต อกุศลจิตก็มี ถ้าเกิดกับอกุศลจิต เป็นอบุญญาภิสังขาร บุญญ กับ อบุญญ เพราะฉะนั้น อบุญญสังขารก็ คือเจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับอกุศลจิต อบุญญาภิสังขาร เพราะเป็น คำรวมของ อบุญญ กับ อภิสังขาร
ถ้าพูดถึงสังขารธรรม ก็หมายความถึงจิต เจตสิก รูป ถ้าพูดถึงสังขารขันธ์ หมายความถึง เจตสิก ๕๐ นี่คือการศึกษา เราอย่าไปคิดว่า ตัดคำนี้ออก ก็คงจะเหมือนกัน แต่ความจริงไม่เหมือน ถ้าพูดถึงสังขารธรรม กับ สังขารขันธ์ ต่างกันทีเดียว ซึ่งคนที่อยากจะเข้าใจจริงๆ ต้องฟังอีกให้เข้าใจจริงๆ เพราะที่นี่ก็คงจะพูดสั้นๆ เพราะว่าหลายคนก็เคยศึกษามาแล้ว
เพราะฉะนั้น ก็ต้องทราบว่า ถ้าเป็น อภิสังขาร ไม่ได้หมายความถึง สังขารขันธ์ ทั้งหมด ๕๐ เจตสิก แต่หมายเฉพาะเจตนา เจตสิก ๑ ในสังขารขันธ์ เป็นอภิสังขาร ปรุงแต่งอย่างยิ่ง คือ เป็นกรรมที่จะทำให้เกิดผล คือวิบาก เพราะฉะนั้น จึงเป็นอภิสังขาร ซึ่งมี ๓ อย่าง บุญญาภิสังขาร๑ อบุญญาภิสังขาร๑ อเนญชาภิสังขาร๑ บุญญาภิสังขาร ได้แก่ กุศล ในกามาวจรภูมิ กับรูปาวจรภูมิ ยังเป็นไปกับรูป เป็นบุญญาภิสังขาร อบุญญาภิสังขารก็คือ เจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับอกุศลจิต แล้วก็อเนญชาภิสังขาร ก็หมายความถึงเฉพาะอรูปฌานกุศล ซึ่งไม่หวั่นไหวแล้ว ธรรมดาของกุศลซึ่งยังเป็นไปในรูป เราก็มีความติดข้อง ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ แม้แต่ในการกุศล เราก็ไม่ได้หมดความติดข้อง จะถวายภัตตาหารก็ต้องอร่อยๆ ดีๆ จีวรก็ต้องเป็นอย่างดี หรืออะไรอย่างนี้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ยังเป็นไปเนื่องกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าเป็นบุญ ก็เป็นบุญ ซึ่งเนื่องกับรูป เป็นบุญญาภิสังขาร กามาวจร กับรูปาวจร เพราะว่ายังเป็นไปกับรูปอยู่ แต่พอถึงอเนญชาภิสังขาร หมายเฉพาะ อรูปฌานกุศล เพราะเหตุว่าเป็นกุศลระดับที่ไม่หวั่นไหว เพราะเหตุว่า ไม่มีรูป เป็นอารมณ์ ถ้าเราจะค่อยๆ ขยายความไปนิดๆ นี่แค่นิดๆ หน่อยๆ แต่หมายความว่าเราจะต้องศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ว่า ทั้งๆ ที่เรายังมีอวิชชาอยู่ขณะนี้ เราก็มีกุศล แต่กุศลของเรายังไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นหมด อวิชชา ยังมีอวิชชา เป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น กุศลใดๆ ที่เป็นไปในกามาวจรกุศล หรือรูปาวจรกุศล หรืออรูปาวจรกุศล ถึงระดับนั้นแล้ว ก็ยังมีอวิชชาเป็นปัจจัย ไม่สามารถจะออกจากสังสารวัฏฏ์ได้ แม้ว่าจะเป็นฌานจิตระดับขั้น อรูปฌาน
เพราะฉะนั้น บางคนต้องการความสงบมากเลย เพราะคิดว่าเป็นสิ่งในชีวิตที่เขาปรารถนา ยิ่งไปกว่าอย่างอื่น คือขอให้สงบ ไม่มีอะไรที่จะมารบกวนจิตใจ แต่ไม่มีปัญญาเลย ขณะนั้นก็ไม่ใช่สงบ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ถึงมีปัญญาระดับ ที่สามารถที่จะให้ฌานจิตเกิด เป็นไปกับรูปฌานก็ยังไม่ใช่หนทางที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ ยังเป็นไปกับอวิชชา เพราะว่าไม่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ หรือถึงแม้ว่าจะถึง อรูปฌานกุศล เป็นอเนญชาภิสังขาร เวลาที่ให้ผล ก็คือว่าใกล้จะจุติ อรูปฌานเกิดจะเกิดในภูมิของอรูปพรหม ซึ่งไม่มีรูปเลย มีแต่จิต เจตสิก ลองคิดดู อย่างชีวิตของเรา เป็นไปกับรูปตลอด ทั้งทางตาเห็น ทางหูได้ยิน ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นลิ้มรส ทางกายกระทบสัมผัส แต่ผู้ที่ถึงระดับอรูปฌานกุศล เป็นกุศลซึ่งแนบแน่นในอรูปที่เป็นอารมณ์ ที่จะไม่ทำให้เขาหลังจากที่จุติจากชาตินี้แล้ว คือตายจากชาตินี้แล้ว จะไปมีรูปอีก เพราะเหตุว่า ถ้าฌานนั้นไม่เสื่อม เกิดก่อนจะจุติ เขาจะไปเกิดเป็นอรูปพรหมบุคคล ซึ่งไม่มีรูปใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ใช่ออกจากสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น เมื่อยังมีอวิชชาอยู่ ก็ยังเป็นปัจจยัที่จะให้เกิด อบุญญาภิสังขาร แล้วก็บุญญาภิสังขาร แล้วก็อเนญชาภิสังขาร จนกระทั่งมาถึงข้อต่อๆ ไป เราก็ต้องพิจารณาโดยความละเอียดขึ้น แล้วก็เพิ่มความเข้าใจขึ้นว่า วันนี้เรารู้ว่ามีอย่างนี้ แต่ถ้าเราไปอ่านในอรรถกถา จะมีมากกว่านี้มาก ซึ่งขณะนี้ก็แปลแล้ว ถ้าทุกคนไปอ่านก็จะได้ความรู้ของตัวเอง ขยายความขึ้น บางทีคิดว่าจะอ่านเพียงแค่นี้เท่านั้นเอง แต่ว่าความที่น่าสนใจของพระไตรปิฎก และอรรถกถา ก็จะทำให้เราศึกษาต่อไป อ่านต่อไปมากกว่าที่เราต้องการ อันนี้ก็จะเป็นประโยชน์มาก ที่จะทำให้เข้าใจ เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งคิดว่าที่เราเข้าใจวันนี้ เข้าใจแล้วทั้งหมด พอแล้ว หรือว่าศีลก็หมดไปแล้วผ่านไปแล้ว อย่าคิดอย่างนั้นเลย ยังมีมาก จริงๆ ซึ่งเราจะลงมืออ่านกันได้ทุกคนที่ เริ่มศึกษาแล้ว เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะไปถึงข้ออื่น ถ้าข้อนี้เราคิดว่า มีเรื่องที่จะต้องน่าศึกษาอีก แล้วก็บางท่านอาจจะยังไม่ได้พร้อมที่จะศึกษาเรื่องนี้ แต่คนที่พร้อมแล้วก็ไปอ่านเองได้
ผู้ฟัง สัมมาสังกัปปะนี้ การตรึกนึกคิดอย่างไรที่จะทำให้ ไปสู่เป็นมรรคได้
ท่านอาจารย์ ก่อนอื่น ถ้าเราเข้าใจ ตั้งแต่ต้นทีเดียวว่า สัมมาสังกัปปะ ได้แก่อะไร ค่อยๆ ไปตามลำดับ จะทำให้เราเข้าใจละเอียดขึ้น สัมมาสังกัปปะ หรือว่า สังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะมีไหม มี มิจฉามรรคมีไหม มี เพราะฉะนั้น ก็มีทั้งมิจฉามรรค และสัมมามรรค แล้วทั้ง ๘ ก็ตรงกันข้ามกันทุกประการ สำคัญคือต้องทราบว่า มรรคได้แก่เจตสิก ถ้าพูดถึงมรรคมีองค์ ๘ ก็เจตสิก ๘ ชนิด ๘ ประเภท ถ้ามรรคมีองค์ ๕ ก็ได้แก่ เจตสิก ๕ เพราะฉะนั้น เป็นสภาพธรรมหรือเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ที่จะต้องเข้าใจตั้งแต่ต้นว่า วิตกเจตสิก เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตเกือบทุกดวง ไม่ใช่สัพพจิตสาธารณเจตสิก ถ้าใช้คำว่า สัพพจิตสาธารณเจตสิก จะมีเพียง ๗ ซึ่งหมายความว่าต้องเกิดกับจิตทุกดวง แต่วิตกเจตสิกเป็นปกิณณกเจตสิก คือเกิดกับจิตเกือบจะทุกดวง เป็นอัญญสมานาเจตสิกทั้งหมดมี ๑๓ ซึ่ง อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง หมายความว่า เจตสิกที่เกิดกับจิตใดก็เป็นอย่างจิตนั้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ต้องเกิดกับจิตทุกดวง ขาดดวง ๑ ดวงใดไม่ได้ แต่วิตกเจตสิก เป็นปกิณณก ไม่ได้เกิดกับจิตทุกดวง เกิดกับจิตบางประเภทเท่านั้น เพราะฉะนั้น ก็ต้องทราบว่าในอัญญสมานาเจตสิก ๑๓ เป็น สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ เป็นปกิณณกเจตสิก ๖ รวมเป็น ๑๓ เพราะฉะนั้น วิตกเจตสิกเกิดกับจิตส่วนมาก เว้นสำหรับกามาวจรจิต อย่างจิตของเราในกามภูมิก็จะเว้นเพียงจิต ๑๐ ดวงเท่านั้น ที่ไม่มีวิตกเจตสิก นี้ไม่พูดถึงเรื่องฌานจิต เรื่องอะไร แต่ว่าในขณะเห็น จักขุวิญญาณจิต โสตวิญญาณจิต ฆานวิญญาณจิต ชิวหาวิญญาณจิต กายวิญญาณจิต กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ รวมเป็น ๑๐ ดวงเท่านั้น ที่ไม่มีวิตกเจตสิก เพราะฉะนั้น วิตกเจตสิก คืออะไร คือเจตสิกซึ่งมีลักษณะ หรือทำกิจอย่างไร เพราะเหตุว่าเจตสิกแต่ละอย่าง ก็จะมีลักษณะ และกิจการงานเฉพาะของเจตสิกนั้นๆ สำหรับวิตกเจตสิก ลองพิจารณาจริงๆ ว่าเกิดกับจิตอะไรบ้าง เมื่อไม่เกิดกับจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ พวกนี้ ก็หมายความว่า จิตอื่น ในชีวิตของเรา มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย ปฏิสนธิจิต มีวิตกเจตสิกไหม มี ภวังคจิตมีวิตกเจตสิกไหม มี เวลาที่จิตจะรู้อารมณ์อื่น ที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ วิถีจิตแรก คือ ปัญจทวารวัชชนจิต มีวิตกเจตสิกไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เอาใหม่ คือต้องเป็นความเข้าใจริงๆ ว่าวิตกเจตสิกในกามาวจรจิต ไม่เกิดกับจิตเพียง ๑๐ ดวง อันนี้ตายตัวเลย ธรรมนี่ไม่เปลี่ยน ๑๐ ดวงนี้ คือทวิปัญจวิญาณ ได้แก่ จักขุวิญญาณ ๒ โสตวิญญาณ ๒ ฆานวิญญาณ ๒ ชิวหาวิญญาณ ๒ กายวิญญาณ ๒ ไม่มีวิตกเจตสิก เกิดร่วมด้วยกำลังเห็น เฉพาะจิตเห็นในขณะนี้ ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตอื่นมีไหม ถ้าคำพูดนี้บอกว่าในกามาวจรจิต เว้นจิต ๑๐ ดวงไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น จิตอื่นในกามาวจรภูมิที่เป็นกามาวจรจิต มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยไหม ต้องมี ต้องแน่นอน ไม่ต้องสงสัย ไปคิดเองก็ไม่ได้ ว่าจะมีหรือไม่มี เพราะว่าตรัสรู้อย่างไร ทรงแสดงอย่างนั้น เราศึกษาพระปัญญาคุณตามที่ได้ทรงแสดงไว้
เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิต จิตขณะแรกที่เกิดมีวิตกเจตสิกเกิดไหม มี ขณะที่เป็นภวังคจิต มีวิตกเจตสิกไหม มี รู้ไหมว่าเมื่อไร ขณะไหนที่วิตกเจตสิกเกิด ผัสสเจตสิกเกิด อะไรทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ของปฏิสนธิก็ไม่ปรากฏ อารมณ์ของภวังค์ก็ไม่ปรากฏ แต่ว่าถึงอย่างนั้น จิต และเจตสิกก็อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ทำกิจการงานตามประเภท ตามหน้าที่ของจิต และเจตสิกในขณะนั้นๆ นี่แสดงให้เห็น ถึงสภาพที่เป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรม ว่าเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เวลาที่จิตจะเกิดขึ้น ไม่ใช่ภวังคจิตอีกต่อไป หมายความว่าเริ่มที่จะมีอารมณ์อื่น รู้อารมณ์อื่น ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ วิถีจิตแรกที่สุด ทุกคนทราบว่า เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต มีวิตกเจตสิกไหม มี แล้ววิตกเจตสิกขณะนั้น คิดเรื่องอะไรหรือเปล่า ลองคิดดู ตั้งแต่เกิด ก็มีวิตกเจตสิก ก็ไม่รู้เลยว่ามี เพราะว่าอารมณ์ก็ไม่ปรากฏ เวลาเป็นภวังค์ ก็มีวิตกเจตสิกก็ไม่รู้ มีเจตสิกอื่นเกิดร่วมด้วยก็ไม่รู้ พอถึงเวลาที่จะเห็น จะได้ยิน จะได้กลิ่น จะลิ้มรส จะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย หรือจะคิดนึก มีวิตกเจตสิกเกิด ในวิถีจิตแรก จิตที่เป็นวิถีจิต คือจิตที่ไม่ใช่เป็นภวังคจิต อีกต่อไป เพราะฉะนั้น วิถีจิตแรก มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว คิดอะไรหรือเปล่า ขณะนั้น
ผู้ฟัง วิถีจิตแรก ไม่ใช่ มโนทวาร หรือ
ท่านอาจารย์ พูดถึงแต่ละทวาร ถ้าพูดถึงวาระแรกของชาติหนึ่ง ต้องเป็น มโนทวารวิถี แต่ถ้าพูดถึง ๖ ทวาร วิถีจิตแรกจะเป็นปัญจวาราวัชชนจิต หรือมโนทวาราวัชชนจิต แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะเป็นวิถีทางทวารไหน ธรรมต้องละเอียดขึ้นๆ แม้แต่คำถามที่ว่า ก็จะต้องเพิ่มเติมความรู้ ของคนที่ได้ฟังเข้าใจขึ้นว่า วาระแรกที่จะรู้อารมณ์ต่อจากภวังคจิต ต้องเป็นทางมโนทวารวิถี เพราะว่า เกิดมาเป็นปฏิสนธิจิต แล้วก็เป็นภวังค์ ไม่รู้ว่าเท่าไร ไม่มีการนับ จะไปนับอะไรในเมื่อไม่รู้ นับก็นับไม่ได้ ใครจะไปนับ จิตเกิดแล้วก็ดับ จิตเกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น แต่ละคนจะมีภวังค์มากหรือน้อย ก็แล้วแต่ แต่ว่าวาระแรกของชาติหนึ่ง ก็จะเป็นมโนทวาร ทางใจ ยังไม่มีการรู้อารมณ์ทางอื่นเลย แต่ทางใจ จะเริ่มรู้สึกตัว แล้วก็เริ่มที่จะเป็นชวนจิต แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะเป็นอะไร แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอะไร หรือต้องเป็น คือ โลภะชวนะ เกิดมาก็วาระแรกก็คือความติดข้องในภพ ในความเป็น แล้วแต่ว่าจะเป็นชาติไหนก็ตาม ก็จะต้องมีโลภะชวนะ เกิดต่อจาก มโนทวาราวัชชนจิต ซึ่งมโนทวารวัชชนจิตก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย โลภชวนะซึ่งเพิ่งจะรู้สึกตัวในชาตินั้น ทางมโนทวารก็มีความติดข้องก็มีวิตกเจตสิกเกิด ทั้งมโนทวาราวัชชนจิต และชวนจิต นี่คือการศึกษาธรรม อย่าลืมศึกษาอย่างนี้ ให้เข้าใจ จะเห็นได้จริงๆ ว่าเราต้องเข้าใจลักษณะของวิตกเจตสิก ไม่อย่างนั้นเราจะคิดว่าวิตก คือคิด เพราะว่าเราสามารถที่จะรู้ได้ตอนคิด ว่าลักษณะของการตรึก หรือว่าการที่จะจับอารมณ์ที่ผัสสะกระทบ เป็นลักษณะของวิตกเจตสิก แต่ว่าจริงๆ แล้ว เวลาที่เกิดคิด คิดแล้ว พร้อมด้วยเจตสิกอื่นๆ และจิตซึ่งเกิด แต่จริงๆ จะต้องศึกษา เรื่องของจิตทีละ หนึ่งขณะ แล้วถึงจะรู้ได้ ขณะใด ทำไมปัญจทวาราวัชชนจิต หรือมโนทวาราวัชชนจิต จึงมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง วิตกเจตสิก เป็นสภาพธรรมที่จรดในอารมณ์ แล้วจิตก็อรรถว่า คิดนึกเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ขณะที่จิตคิดนึกนี้ ต้องมีวิตกเจตสิก กับสัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจความหมาย เวลาที่เราใช้คำว่า จิตคิดนึก เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีเจตสิกอื่นเกิดร่วมด้วยเลย จิตเกิดไม่ได้แน่นอน เพราะฉะนั้น ลักษณะแท้ๆ เฉพาะของจิต ต่างกับเจตสิกทั้งหมด คือเจตสิกแต่ละเจตสิกจะมีลักษณะ อย่างเช่น สัญญาเจตสิก เป็นสภาพจำ ไม่ทำอื่นเลย แล้วเวทนาเจตสิก ก็เป็นสภาพที่รู้สึก อย่างหนึ่งอย่างใด คือ สุขหรือทุกข์ หรือเฉยๆ โทมนัส หรือโสมนัส นั่นก็เป็นลักษณะของเจตสิก ปัญญาเจตสิกก็เป็นความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสภาพธรรม สติเจตสิกก็มีลักษณะเฉพาะ แต่สำหรับจิตทั้งหมด มีลักษณะเดียว คือเป็นสภาพที่รู้แจ้งในลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏ เพราะว่าลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏต่างกัน อย่างเสียง เสียงก็มีเสียงนก เสียงคน คนก็มีตั้งหลายเสียง แต่ว่าขณะใดที่จิตเกิดพร้อมกับเจตสิกอื่น จิตไม่ได้ทำหน้าที่ของเจตสิกหนึ่ง เจตสิกใดที่เกิดร่วมด้วยเลย จิตจะทำหน้าที่เดียว คือ รู้แจ้งลักษณะต่างๆ ของอารมณ์ที่ปรากฏ นั่นคือลักษณะของจิต เพราะฉะนั้น เวลาที่เกิดคิดนึก คิดนึกซึ่งเป็นเจตสิก หรือตรึก หรือวิตก ก็ต้องเกิดกับจิต จะไม่เกิดกับจิตไม่ได้เลย แต่โดยฐานะ โดยสภาวะที่จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน เหมือนพระราชา อำมาตย์ ทำหน้าที่ แต่บอกว่าพระราชาทำฉันใด ไม่ว่าเจตสิกอื่นที่จะเกิดร่วมด้วย ก็มีจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน เพราะฉะนั้น แม้ว่าวิตกเป็นสภาพที่ตรึก หรือจรด หรือจับอารมณ์ แต่ก็กล่าวว่าจิตเป็นสภาพที่คิดนึก
ถ. กุลจำได้อาจารย์บอกว่า สภาพจิตที่คิดนึก ก็คือรู้คำ ที่กำลังคิดอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นหน้าที่ของเจตสิกอื่นที่ตรึกแต่จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งในอารมณ์เดียวกับเจตสิก เพราะฉะนั้น ก็ค่อยๆ พิจารณาไปว่าลักษณะของวิตกเจตสิกคืออย่างไร แล้วก็เกิดกับจิตดวงไหน แล้วถึงจะเข้าใจว่า เวลาที่เกิดกับสติปัฏฐาน ไม่ใช่อย่างที่เราคิด เพราะเหตุว่าส่วนใหญ่คนเข้าใจ แล้วใช้ความหมายของวิตก คือ ขณะที่คิดเท่านั้น พอคิด รู้ว่าเป็นลักษณะอาการของวิตก คือ ตรึก โดยศัพท์ แต่จริงๆ ปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่ได้คิดอะไร หรือแม้แต่สัมปฏิจฉันนจิตซึ่งรู้อารมณ์ต่อจาก จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ก็ไม่ได้คิด แต่รู้อารมณ์ ที่ยังไม่ได้ดับไป คืออารมณ์ ที่เป็นปรมัตถอารมณ์เท่านั้น เพราะฉะนั้น ก็จะแสดงให้เห็นว่าต้องเข้าใจจริงๆ ถึงลักษณะของวิตก ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน ไม่ว่าจะเกิดกับปัญจทวาราวัชชนจิต สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต กุศลจิต อกุศลจิต หรือกามาวจรจิตอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ทวิปัญจวิญญาณ เพราะเหตุว่าผัสสะ เป็นเจตสิก ซึ่งเป็น สภาพที่กระทบอารมณ์ เป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ อารมณ์ที่กระทบ จิต และเจตสิกต้องมีอารมณ์เดียวกัน แต่ลักษณะของผัสสะ กระทบอารมณ์ เพราะฉะนั้น เป็นผัสสาหาร เป็นอาหารที่จะนำมาซึ่งจิต และเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกัน ให้รู้ในอารมณ์ที่ผัสสะกระทบ นั่นเป็นหน้าที่ของผัสสเจตสิก
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540