ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
ตอนที่ ๔๙๓
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๑
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นผัสสาหาร เป็นอาหารที่จะนำมาซึ่งจิต และเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกันให้รู้ ในอารมณ์ที่ผัสสะกระทบนั่นเป็นหน้าที่ของผัสสเจตสิก แต่พอถึงวิตกเจตสิก เราจะเห็นความละเอียดของสภาพธรรม แต่ละอย่าง ว่าวิตกเจตสิกจับอารมณ์ ที่จักขุวิญญาณเห็น โสตวิญญาณได้ยิน ฆานะวิญญาณได้กลิ่น แต่อันนี้เราเพูดหลังจากที่เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว แต่แม้กระนั้นปัญจทวาราวัชชนะ ก็ยังมีวิตกเจตสิก นี่ก็แสดงให้เห็นว่า การที่จะเข้าใจสภาพธรรมจริงๆ ต้องไตร่ตรอง แล้วก็พิจารณา ไม่ใช่เพียงแต่ ยึดถือธรรมแล้วก็สงสัย เราจะต้องมีการตรึกดีๆ ตรึกเก่งๆ แล้วก็จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม จนกระทั่งรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ไม่ใช่เรื่องของการคิด แต่เป็นเรื่องของการที่เข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทรงแสดงลักษณะของเจตสิก ๕๒ ประเภทจริง แต่ปัญญาของใครจะรู้ได้ ในขณะที่สภาพนั้นๆ กำลังปรากฏ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ พอเราอ่านพระไตรปิฎก มีรูป ๒๘ รูป มีเจตสิก ๕๒ มีจิตเท่านั้น เท่านี้ แล้วคิดว่าจะรู้หมด นี้คือเรากำลังศึกษาพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออะไร เพื่อให้เข้าใจความหมายของ ธรรมที่เป็น อนัตตา ไม่มีใครเป็นเจ้าของเลย เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง แล้วทรงตรัสรู้ว่าสภาพธรรม ที่เป็นเจตสิกประเภทไหน เกิดกับจิตชนิดไหนด้วย ถ้าเป็นเรา เราก็คิดว่าปัญจทวาราวัชชนะ ไม่มีวิตกเจตสิก สัมปฏิจฉันนะ ก็ไม่มีวิตกเจตสิก แต่ทรงแสดงไว้ ว่าเฉพาะจิต ๑๐ ดวงเท่านั้นที่ไม่มีวิตกเจตสิก เพราะเหตุว่าเป็นการเกิดขึ้นโดยการกระทบกัน เป็นอุปัตติเหตุ คือมีจักขุปสาท กระทบกับรูปารมณ์แล้ว ก็จะต้องมีปัจจัยอื่น คือ ถ้าเป็นในห้องที่สว่าง ก็จะต้องมีแสงสว่าง เป็นปัจจัย ให้รูปารมณ์ที่เกิดร่วมกับ มหาภูตรูปปรากฏ ลักษณะที่ต่างกัน แต่ถ้าเป็นในห้องมืด แม้ว่ามีการเห็น แต่ว่าความละเอียด หรือรูปารมณ์ที่จะเปล่งออกมาเป็นสีต่างๆ เป็นไปไม่ได้เพราะเหตุว่าขาดแสงสว่าง เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องเข้าใจว่า ทำไมจิต ๑๐ ดวงนี้เท่านั้น ที่ไม่มีวิตกเจตสิก เพราะเกิดขึ้นโดยการอุบัติขึ้น ของการกระทบกันของสภาพธรรม แต่นอกจากนั้นแล้ว จิต อื่นต้องมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย และนอกจากนั้นที่ใดที่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย ต้องมีวิจารเจตสิก เกิดร่วมด้วย ในกามาวจรภูมิ คือกามวจรจิต ไม่กล่าวถึงเรื่องของฌาน นี่ก็เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาไป ศึกษาไป โดยละเอียด เข้าใจเรื่องการศึกษาธรรมแล้ว ที่เราจะต้องเข้าใจลักษณะของวิตกเจตสิก ไม่ว่าจะเกิดกับจิตอะไร เพราะเหตุว่าวิตกเจตสิก จะไม่เกิดกับจิตเพียง ๑๐ ดวงสำหรับกามาวจรจิต จะทำให้เราค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่า ขณะใดที่แม้ไม่ตรึกเป็นคำ เป็นเรื่องราว อย่างที่เราเคยคิด เคยเข้าใจว่า เราจะรู้ลักษณะของวิตกเจตสิก เมื่อคิด อันนี้ก็ถูก ไม่ใช่ผิด แต่ว่ายังละเอียดน้อยไป เพราะเหตุวาถึงแม้ว่าไม่คิด เป็นคำ เป็นเรื่อง ก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยแล้ว ถ้าเข้าใจอย่างนี้ ก็จะทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจ เวลาที่วิตกเจตสิก เกิดกับวัชชนจิต ไม่ว่าจะเป็นกุศลประเภทใด หรืออกุศลประเภทใด รวมจนกระทั่งถึงญานจิต ก็จะรู้ว่า มีเฉพาะปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร พวกนี้ก็ค่อยๆ รู้ไป ค่อยๆ เข้าใจไป แต่ข้อสำคัญที่สุดก็คือ ให้เข้าใจว่าคืออะไรเสียก่อน แล้วก็เป็นเจตสิกประเภทไหน เกิดกับจิตอะไรบ้าง เพราะฉะนั้น เวลาที่ไม่คิด เป็นคำเป็นเรื่อง ก็ต้องรู้ว่า มีวิตกเจตสิกไหม คุณอุไร มี เพราะฉะนั้น เวลาที่สติปัฏฐาน เกิดขณะนั้นไม่ได้คิดเรื่องเลย แต่ว่าสติกำลังระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ขณะนี้เป็นธรรมทั้งนั้นเลย แล้วแต่ว่าสติปัฏฐาน จะเกิดระลึกหรือไม่เกิด ถ้าไม่ระลึกก็เป็นเรื่องราวที่เรากำลังฟัง เรื่องจิต เจตสิก รูป เรื่องธรรม แต่ถ้ามีปัจจัยที่สติปัฏฐานจะเกิด มีลักษณะกำลังปรากฏที่สติจะระลึก แล้วรู้ว่า นี่เป็นธรรม แล้วก็เป็นธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งต่างกัน นามธรรมไม่ใช่รูปธรรม นี้เป็นสิ่งที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจ ตามลำดับ ก่อนที่จะไปถึงที่ทรงแสดงไว้โดยนัยต่างๆ เช่น โดยนัยของขันธ์ โดยนัยของธาตุ โดยนัยของอายตนะ โดยนัยของปฏิจจสมุปบาท ความรู้ขั้นการศึกษา ต้องเป็นลำดับฉันใด อย่างไร เวลาที่สติปัฏฐานเกิด การที่ปัญญาจะค่อยๆ รู้ ก็รู้ตรงตามความเป็นจริงอย่างนั้น จะไม่ต่างกันเลย ไม่ใช่ว่าเราจะไปรู้โลภมูลจิต ๑ ใน ๘ ดวง เป็นไปไม่ได้ เรารู้ชื่อ แล้วเราคิด แต่เราไม่ได้รู้ลักษณะ ถ้ารู้ลักษณะจริงๆ ก่อนอื่นต้องรู้ลักษณะที่ต่างกัน เป็นนามธรรมกับรูปธรรมก่อน เพราะว่า ๒ อย่างเป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน ประเภทใหญ่ๆ แล้วเราถึงจะรู้ลักษณะที่ละเอียดขึ้นได้ แล้วมีความเข้าใจว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้น ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจว่าขณะนี้ เราพูดเรื่องนามธรรม รูปธรรม แต่ปัญญายังไม่ถึงระดับที่ประจักษ์ลักษณะของนามธรรม ในขณะนั้นซึ่งไม่มีรูปธรรมเจือปนเลย หรือว่าประจักษ์ลักษณะของรูปธรรม แต่ละรูปซึ่งกำลังปรากฏ โดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน แต่เราเข้าใจถูกว่านี่เป็นสิ่งซึ่งปัญญาจะอบรม จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ความจริง นี้ เมื่อไร ที่ไหนก็ได้ ซึ่งไม่ใช่ว่าเรา จะต้องมีเราไปจงใจ ไปเจตนา ไปเตรียมตัวที่จะทำ แล้วก็ไม่ใช่ว่าไปหวังว่า เมื่อวันนั้นวันนี้ ชาตินั้นชาตินี้ เพราะเหตุว่าการอบรมเจริญปัญญา ต้องอบรมพร้อมการละ ถ้าใครที่อบรมพร้อมความต้องการไม่มีทางจะถึงเลย เพราะว่าโลภะ เป็นเครื่องเนิ่นช้า เป็นเครื่องกั้น เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม จะเห็นได้ว่าต้องละเอียดจริงๆ เพราะอะไร เพราะขณะนี้ธรรมละเอียด เมื่อธรรมละเอียด สติก็จะต้องระลึก แล้วก็ต้องเข้าใจละเอียด ว่าขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน แล้วความละเอียดของธรรมที่สติระลึก ไม่ว่าจะระลึกอะไร ขณะนั้นคือขณะที่ปัญญาค่อยๆ เข้าใจ ความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้น วิตกเจตสิก ซึ่งเป็นสัมมาสังกัปปะ ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นถูก เป็นความเข้าใจถูก แต่ถ้าไม่มีสัมมาสังกัปปะเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นก็อบรมเจริญไม่ได้ เพราะว่าจริงๆ แล้ว เราก็ทราบว่า สัมมาสังกัปปะ หรือว่าวิตกเจตสิก ก็เกิดกับจิต เกือบทุกดวงอยู่แล้ว แต่ว่าหน้าที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น ในมรรคมีองค์ ๘ แต่ละองค์ ก็ทำหน้าที่เฉพาะแต่ละอย่าง โดยที่ว่าไม่ใช่เป็นขั้นตรึก หรือขั้นคิด
ผู้ฟัง พูดถึงตรึก วิตกเจตสิกซึ่งเกิดกับจิต ในขณะที่หลงลืมสติ กับในขณะที่สติเกิด มันต่างกันในแง่ที่ว่า อารมณ์ ในขณะซึ่งหลงลืมสติ เราตรึกในอารมณ์ที่เรียกว่าคิดนึก ถ้าสติปัฏฐานเกิด มันตรึกในอารมณ์ ที่เป็นปรมัตถ อันนี้ใช่หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ตรึกที่นี่ คุณสุรีย์ หมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง คือก็ระลึกนึก นึก
ท่านอาจารย์ นึก
ผู้ฟัง คิดนึก
ท่านอาจารย์ คิดนึกเป็นคำหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เป็นคำ
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นคำแล้วตรึกอย่างไร
ผู้ฟัง ตรึก หมายความว่า รู้สภาพของอารมณ์ที่ปรากฏ ในขณะซึ่งเราหลงลืมสติ สภาพที่อารมณ์ที่ปรากฏ เป็นเรื่องราว เป็นตรึกของเรื่องราว แต่ถ้าเผื่อในขณะซึ่งสติปัฏฐานเกิด เรามีปรมัตถเป็นอารมณ์ ของสัมมาสังกัปปะ อันนี้คือความต่างกัน คือดิฉันกำลังจะพยายามถาม ความต่างกัน เพราะว่าเวลาที่คนจะปนกันว่า คิดนึกคือสติปัฏฐาน อันนี้คือจุดดิฉันจะเข้าถึงว่า มันต่างกันตรงนี้หรือเปล่า บางครั้งเราคิดนึกเอาเอง เคยเรียนมาว่าแข็ง ก็นึกว่าแข็ง แล้วเขาก็นึกว่า ขณะนั้นสติปัฏฐานเกิด ซึ่งไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะโดยมากเวลาที่พูดถึงตรึก หรือนึกคิด เราจะคิดเป็นเรื่อง เป็นคำ ใช่ไหม แต่ว่าสภาพของวิตกเจตสิก ขณะที่กำลังมีปรมัตถเป็นอารมณ์ ทางปัญจทวาร ทวารหนึ่งทวารใด ขณะนั้นไม่ได้คิดคำ ไม่ได้คิดเรื่องเลย แต่มีสภาพของวิตกเจตสิกเกิด
ผู้ฟัง ใช่แต่ว่า เมื่อไรที่ มโนทวารแล้ว มันจะปนกันระหว่างวิตกเจตสิก ซึ่งมีอารมณ์ ที่ไม่ใช่ปรมัตถกับวิตกเจตสิกซึ่งมีอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ ปกติอย่างนี้เลย ทุกคนทราบว่ามี ๖ ทวาร อย่างทางตาที่กำลังเห็น แล้วก็มโนทวารที่เกิดสืบต่อ ก็รู้อารมณ์เดียวกับทางปัญจทวาร เพราะฉะนั้น มโนทวารนั้นก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วก็ไม่ได้คิดเรื่องราว อะไรเลย ขณะนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกขณะจิต ทุกคนคิดเรื่องราว ไม่ใช่อย่างนั้นเลย กำลังเห็น เราไม่ได้คิดเป็นเรื่องเป็นราวเลย แต่ขณะที่เห็นดับไปแล้ว แล้วก็สามารถที่จะรู้ว่าสิ่งที่เห็น เป็นอะไร แม้ขณะนั้นก็ไม่ได้คิดเป็นเรื่องเป็นราวด้วย แต่มีการตรึกสืบต่อจากทางปัญญจทวาร เป็นสัญญาความจำ ว่าสิ่งนั้น เป็นอะไรก็ตรึก สัมมาสังกัปปะเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น สำหรับเจตสิก ไม่ใช่สิ่งที่ใครสามารถที่จะรู้โดยละเอียด อย่างเวทนาเจตสิกนี้แน่นอน รู้ได้ เสียใจ น้อยใจ หงุดหงิดรำคาญ ความรู้สึกไม่สบายใจทั้งหลาย มีสภาพที่สามรถจะรู้ว่าขณะนั้น มีอาการอย่างนั้น แต่ถึงว่าจะมีอาการอย่างนั้นก็เป็นเรา โดยความไม่รู้ ทั้งๆ ที่เป็นธรรม ความรู้สึกเป็นธรรมชนิดหนึ่ง แต่ก็ยังเป็นเราโดยความไม่รู้ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เจตสิกบางเจตสิกเราสามารถที่จะรู้ลักษณะอาการแต่ยังยึดถือว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น การที่จะเห็นว่าเป็นขันธ์ เป็นธรรมที่เกิดดับ มีเหตุปัจจัยก็เกิด ก็ต้องอาศัยปัญญาที่ต้องอบรมจริงๆ ตามลำดับขั้น แต่ขั้นแรก ไม่ใช่ว่าให้เราไปเลือก ว่าเราจะไปรู้นามอะไร รู้รูปอะไร แต่จากพื้นฐานของความเข้าใจว่าเป็นธรรมทั้งหมด แล้วธรรมทั้งหมดมีลักษณะที่ต่างกันเป็น นามธรรมกับรูปธรรมเพียง ๒ อย่างใหญ่ ปัญญาของเราก็ต้องอบรมจริงๆ ตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้น ความสมบูรณ์ของปัญญาขั้นต้น จึงเป็น นามรูปปริจเฉทญาณ ไม่ใช่ไปรู้อื่นเลย แต่สภาพที่เป็นนามธรรมปรากฏกับปัญญาที่ได้อบรมแล้ว จนกระทั่งสภาพนั้นประจักษ์ คือสามารถที่จะปรากฏโดยการเห็น ความจริงถ่องแท้ของธาตุนั้น ซึ่งเป็นนามธรรมกับรูปธรรม ทางมโนทวาร ขณะนั้นคิดนึกได้ไหม
ผู้ฟัง เราอาจจะไม่รู้ลักษณะของเขาเหมือนกับเวทนา แต่ว่าเท่าที่เรียนๆ ไปแล้ว รู้สึกว่ามันก็คือการคิดนึกนั่นเอง
ท่านอาจารย์ เวลาที่จิตขณะหนึ่งเกิด จะมีเจตสิก เกิดร่วมด้วยตั้งหลายอย่าง ผัสสะก็มี เวทนาก็มี วิตกก็มี เจตนาก็มี เห็นไหม
ผู้ฟัง แต่เขาเป็นประธาน ตรึกเขาเป็นประธานหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ขณะใดก็ตามซึ่งสติระลึก ขณะนั้นสภาพธรรมนั้นจะปรากฏ เมื่อปัญญาค่อยๆ ศึกษาจนกว่าจะรู้ความจริง เพราะฉะนั้น ที่เราเรียน เราเรียนชื่อ แต่มีใครบ้าง ฟังลักษณะ ฟังกิจการงาน ฟังอาการปรากฏ ฟังเหตุใกล้ ของเจตสิกแต่ะละชนิดแล้ว จะไปรู้ลักษณะของเจตสิกนั้นได้ ถ้าสติไม่เกิด ที่จะเห็นความละเอีดดของความต่างกัน เล็กๆ นิดๆ หน่อยๆ อย่างวิตกเจตสิก กับมนสิการเจตสิก ปัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิกแล้วยังเจตสิกอื่นๆ อีก ใช่ไหม ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก อโทสเจตสิก อโลภเจตสิกมากมายทั้งนั้นเลย แต่การเรียนเป็นพื้นฐานให้เรา มีความมั่นคงว่าธรรมแต่ละอย่างเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา แล้วก็สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นต่อเมื่อสติปัฏฐานเกิดระลึก มิฉะนั้นเราก็รู้แต่เรื่อง อย่างเวลานี้ วิตกก็มี เกิดดับอยู่ตลอดเวลา เจตนาก็มี ก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็กำลังศึกษาเรื่องราวของเขา โดยที่ว่าไม่รู้เลย เพราะฉะนั้น ผัสสเจตสิก กับวิตกเจตสิก วิจารเจตสิกพวกนี้ ลองคิดดูว่า เราเพียงศึกษาเรื่องราว แต่จะให้สติระลึกผัสสะ ให้สติระลึกวิตก ให้สติระลึกวิจารไม่ได้
ในขั้นต้น ก็คือว่าเรารู้ว่ามีนามธรรม มีรูปธรรม สติเกิดแล้วศึกษาค่อยๆ เข้าใจในสภาพที่เป็นนามธรรม ในสภาพที่เป็นรูปธรรม นี้คือขั้นต้น ไม่ต้องไปกล่าวถึงวิตก วิจาร หรือผัสสะ หรืออะไรเลย เพราะว่าทั้งหมดในพระไตรปิฎก คือ พระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เราเริ่มจะศึกษาแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น เท่าที่เราจะรู้ว่าวิตก ไม่ใช่ผัสสเจตสิก ไม่ใช่วิจารเจตสิก ไม่ใช่เจตนาเจตสิก ไม่ใช่สติเจตสิก ถ้ามีความเข้าใจมั่นคง เวลาเราอ่านพระไตรปิฎก เราก็พอจะรู้ ว่ามรรคแต่ละองค์ต่างกัน เพราะเจตสิกแต่ละอย่าง
คำถามตอนที่สภาพธรรมปรากฏ นามรูปปริจเฉทญาณ ทางมโนทวารเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต คือขณะนั้นเป็นจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งมีปัญญาที่สามารถที่จะประจักษ์ เพราะเหตุว่าสภาพธรรมทนต่อการพิสูจน์ เพราะฉะนั้น เมื่อศึกษามีความเข้าใจขึ้นก็ถึงวาระ ที่เป็นวิปัสสนาญาณจะเกิด โดยที่ขณะนั้นปัญญาสามารถที่จะแทงตลอด คือ สภาพธรรมนั้นปรากฏให้รู้ตามความเป็นจริงว่า ลักษณะของนามธาตุคืออย่างนี้ ลักษณะของรูปธาตุคืออย่างนี้ ขณะนั้นก็เป็น นามรูปปริจเฉทญาณ แต่ต้องเป็นปัญญาที่สมบูรณ์ ที่ไม่เคยเกิดมาเลย ไม่ใช่ว่าสติปัฏฐาน เริ่มระลึกก็จะไปรู้ว่านี่เป็นนามเป็นรูป และก็เป็น นามรูปปริจเฉทญาณ แม้ในขณะนั้น คิดเกิดขึ้นได้ไหม
ผู้ฟัง ก็เกิดดับ อาจารย์ ในขณะซึ่งเขาเกิด เขาก็ดับไป ขณะนั้นคิดได้ ถูกไหม
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครจะยับยั้งลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด ที่จะเกิดเป็นอย่างนั้น แต่ขณะนั้นเป็นความสมบูรณ์ของปัญญา ซึ่งไม่ใช่เราที่คิด แต่เป็นธาตุชนิดหนึ่ง คือนามธาตุที่คิด เพราะฉะนั้น บางคนจะไม่เข้าใจ คำว่า จินตาญาณ เพราะว่าเวลาที่นับวิปัสสนาญาณ บางแห่งจะนับเพียง ๑๐ เว้น นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ เพราะฉะนั้น เขาเข้าใจว่า ขณะที่กำลังระลึกลักษณะของ นามธรรม และรูปธรรม นี่เป็นวิปัสสนาญาณ เพราะว่าเขาเข้าใจว่า เป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สมมนญาณ แล้วเมื่อไรที่ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป นั่นคือวิปัสสนาญาณ เขาเข้าใจว่าอย่างนี้ เข้าใจว่า นี่เป็นจินตา แต่ความจริงไม่ใช่ แม้ขณะนั้นก็ยังมีสภาพคิดเกิดได้ แต่ขณะนั้นเมื่อเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ก็เป็นญาณที่เป็นวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่เพียงแต่ตรึกเอา นึกเอาว่านี้เป็นนาม นี่เป็นรูป
ผู้ฟัง เรียนถามว่า ถ้าเผื่อสมมติญาณ นั้นแก่ เขาจะเกิดต่อๆ ๆ กันไปโดยที่ไม่มีระหว่างคั่นที่เป็น คิด ได้ไหม
ท่านอาจารย์ ได้ อย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากความเป็นปุถุชน ที่ก้าวพระบาทไปประทับนั่ง ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ พอก่อนจะสว่าง รู้แจ้งอริยสัจธรรม เริ่มตั้งแต่เป็นพระโสดาบัน จนกระทั่งถึงพระอรหันต์ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่พระอรหันต์อย่างสาวก หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือคนที่บรรลุเร็ว พาหิยะ ทารุจริยะ ก็สามารถที่จะจากปุถุชน ถึงความเป็นพระอรหันต์ แต่บางคนก็นานมาก จากญาณแต่ละขั้น เพราะฉะนั้น คงไม่มีปัญหาเรื่องวิตกเจตสิก หรือสัมมาสังกัปปะ
ผู้ฟัง วิตกเจตสิก จะไม่เกิดกับ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง เพราะเหตุว่าจิตทั้ง ๑๐ ดวงนี้เกิดโดยการกระทบกันของสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เพียงเห็น สั้นแสนสั้นนิดเดียว มีเจตสิกที่เป็นปัจจัย ทำให้เกิดเพียงแค่ ๗ ก็เห็นแล้ว แต่จิตอื่นไม่ใช่อย่างนั้น มีเจตสิกอื่นเป็นปัจจัยมากกว่า ถึงจะทำกิจนั้นๆ ได้
ผู้ฟัง ปัจจัยเพียงแค่ ๗
ท่านอาจารย์ มีเจตสิกเพียง ๗ เป็นปัจจัย
ผู้ฟัง แต่การกระทบก็หมายถึงว่า อย่างเช่น ทางตา รูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาท แล้วจิตเห็นเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าไม่ใช่จิตเห็น ไม่ใช่จิตได้ยิน ไม่ใช่จิตได้กลิ่น ไม่ใช่จิตลิ้มรส ไม่ใช่จิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่ใช่ทวิปัญจวิญญาณจิต มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากกว่า
ผู้ฟัง ชินไม่สามารถเข้าใจ สุดท้ายมารู้เลยว่าตัวเอง อ่านพระสูตรมาประมาณ ๒๐ พระสูตร ภายใน ๑ อาทิตย์ มันรวดเร็วเหลือเกิน คือจะอ่านอย่างไรที่ละเอียด แล้วเข้าใจ
ท่านอาจารย์ คุณชินศึกษาพระอภิธรรมด้วย แล้วก็อ่านพระสูตรด้วย เพราะฉะนั้น ก็สอดคล้องกัน เพราะว่าจะพ้นจากจิต เจตสิก รูป ไม่ได้ แต่ต้องเป็นไปตามลำดับ เพราะเหตุว่าคนที่จะศึกษาธรรม ไม่ใช่ว่า ตั้งต้นด้วยปฏิจจสมุปบาท หรือไม่ใช่ตั้งต้นด้วยอริยสัจจะนั่นผิดแล้ว ต้องตั้งต้นเรื่องของจิต เรื่องของสภาพธรรม เรื่องของเจตสิก เรื่องของรูปแล้วมีความเข้าใจ แล้วถึงจะรู้ความเป็นปัจจัย หรือความสืบเนื่องที่เป็นปฏิจจสมุปบาท ได้ หรือเรื่องของอายตนะ หรือเรื่องธาตุเรื่องอะไรก็ตามแต่ ซึ่งจะพบอีกมากในพระไตรปิฎก หมายความว่าต้องเป็นไปตามลำดับ
เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีความเข้าใจ ตั้งแต่ต้นสมบูรณ์ แล้วก็จริงๆ เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ผิวเผิน เพียงฟัง เพียงจำ แต่เป็นความเข้าใจ เวลาที่เราจะไปพบเรื่องของสภาพธรรมนี้ คือ จิต ในธาตุ ในอายตนะ ในปฏิจจสมุปบาท เราก็เข้าใจ ถึงความหมายของอภิสังขาร ไม่ใช่จิต เราก็รู้ว่าเป็นเจตสิก ๑ คือเจตนา เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ เพราะฉะนั้น เมื่อมีกรรมก็ต้องมีผลของกรรม ซึ่งเป็นวิบากก็ได้แก่วิบากจิต เจตสิก นี่ถ้าเรามีความเข้าใจ เป็นพื้นเราก็มาประกอบกันได้ แต่ข้อสำคัญคือพื้นต้องสมบูรณ์ ต้องมั่นคงจริงๆ
ผู้ฟัง ชินไม่เข้าใจว่า จะต้องเริ่มต้นอย่างไร
ท่านอาจารย์ เริ่มต้นคือเข้าใจธรรมที่ได้ยินได้ฟังอย่างละเอียด แล้วก็เพิ่มเติมขึ้นด้วย อย่าคิดว่าเข้าใจหมดแล้ว ฟังอีกก็เข้าใจอีก ฟังอีกก็เข้าใจอีกได้ เพราะเหตุว่าแม้เราจะพูดถึงธรรม ที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรมเหมือนเข้าใจแล้ว เรายังมาแยกเป็นจิตเจตสิก แล้วเรายังมาแยกเป็นหยาบละเอียดได้อีก เรื่องรูปต่างๆ ยังเป็นธาตุต่างๆ ยังเป็นอายตนะต่างๆ เป็นปฏิจจสมุปบาท เป็นอริยสัจจะ คือถ้ามีพื้นที่เข้าใจก็สามารถ ที่จะเข้าใจ ข้อความในพระไตรปิฎกได้ แต่ต้องละเอียด และต้องพิจารณา ต้องใคร่ครวญ อย่างสัมมาสังกัปปะ หรือวิตกเจตสิก พอฟังแค่สัมมาสังกัปปะ ได้แก่ วิตกเจตสิก แล้วเราไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาเลย ไม่เอามาประกอบกันเลย ว่าวิตกเจตสิกๆ เกิดกับจิตอะไรได้บ้าง ต้องเกิดกับจิตที่เป็นกามาวจร ที่ไม่ใช่ทวิปัญจวิญญาณ เราก็มาเริ่มคิดว่า ปฏิสนธิจิตมีวิตกเจตสิกไหม แล้ววิตกเจตสิก และเจตสิกอื่น ซึ่งเกิดกับปฏิสนธิจิต รู้อารมณ์อะไร ในขณะที่เกิด เพราะฉะนั้น ที่เราสามารถจะรู้ลักษณะของวิตกได้ เมื่อไร เพราะเหตุใดจึงแสดงว่าเป็นสภาพที่ตรึก เพราะเป็นขณะที่คนสามารถจะเข้าใจอาการของวิตกได้ ในขณะที่ตรึก แต่ในขณะที่เกิดกับปัญจทวาราวัชชนจิต สัมปฏิจฉันนะ หรือจิตอื่น ซึ่งไม่ใช่ทวิปัญจวิญญาณ มีใครสามารถจะไปรู้อาการของวิตกได้ แต่วิตกก็มี เพราะฉะนั้น ลักษณะอาการนั้นแหละ เป็นมรรค องค์มรรค องค์ ๑ ที่จับอารมณ์ เพื่อที่ปัญญาจะได้เห็นถูกต้อง ตามความเป็นจริงว่าอารมณ์นั้น เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม
ผู้ฟัง ฟังของอาจารย์ ชินยังไม่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ อย่างเจตสิก อย่างวิตก คุณชินเคยทราบว่าเป็นปกิณณกเจตสิก แค่นั้นพอหรือว่าเรามาศึกษา สัมมาสังกัปปะ แล้วเรามาเข้าใจขึ้นอีก หรือเรามาพิจารณาว่าเกิดกับจิตกี่ดวง ทำให้เราเข้าใจขึ้นอีก แล้วทำให้เรารู้ว่าขณะที่คิดนึก สามารถที่จะรู้อาการของวิตก จึงแสดงว่าเป็นสภาพที่ตรึก เพราะคนสามารถที่จะเข้าใจได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ตรึกอย่างนั้น ก็เป็นวิตกเจตสิก เพราะฉะนั้น เวลาที่สติปัฏฐานเกิด วิตกเจตสิกไม่ได้คิดเรื่องราว ไม่ใช่ตรึกอย่างที่เราเข้าใจ แต่ว่าเกิดพร้อมสัมมาสติ พร้อมสัมมาทิฏฐิ พร้อมสัมมาวายามะ ไม่ใช่มีเราต้องไปพากเพียร แม้ขณะนี้ก็ไม่ต้องมีใครไปพากเพียร
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540