ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
ตอนที่ ๕๐๑
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๑
ท่านอาจารย์ ความรู้สึก ถ้ากล่าวโดย ๓ มีสุข ๑ ทุกข์ ๑ อุเบกขา หรือ อทุกขมสุข ๑ ไม่สุขไม่ทุกข์ซึ่ง เราจะพิสูจน์ได้ในชีวิตประจำวัน บางกาลก็เป็นสุข บางกาลก็เป็ทุกข์ ส่วนใหญ่แเล้วก็เฉยๆ คือไม่สุขไม่ทุกข์ นี่ไม่แยก แต่ถ้าแยกเป็นทางกายกับทางใจ ทุกข์ กาย เวลาที่ ไม่สบายกายเลย ป่วยไข้ได้เจ็บ ปวดเมื่อยคัน อะไรก็แล้วแต่ ก็เป็นทุกข์กาย แต่ว่า ถึงแม้ว่ากายสบายดี แต่ใจก็เป็นทุกข์ นั่นคือโทมนัสเวทนา เพราะฉะนั้น จึงมีคำว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา โสมนัสเวทนา กับโทมนัสเวทนา ถ้าทางใจเป็นสุขใช้คำว่าโสมนัสเวทนา ถ้าทางใจเป็นทุกข์ใช้คำว่าโทมนัสเวทนา แต่ทั้งหมดก็เป็นสภาพธรรม ซึ่งเกิดดับ ไม่เที่ยง เพราะทุกข์กายเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป สุขกายเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป ทุกข์ใจ หรือว่าโทมนัสเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป โสมนัสทางใจเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป หรือแม้ความรู้สึก อทุกขมสุข หรืออุเบกขา เกิดขึ้นแล้วก็หมดไป ลักษณะที่ไม่เที่ยง ทั้งหมด เป็นทุกขลักษณะ หรืออีกอย่างหนึ่ง ใช้คำว่า สามัญญลักษณะ หมายความว่าสาธารณะทั่วไป กับสภาพธรรม ทั้งหลายซึ่งเกิด ต้องดับ เพราะฉะนั้น ทุกขลักษณะที่นี่ ไม่ใช่ทุกขเวทนา ไม่ใช่ความรู้สึกซึ่งเราเคยรู้จัก ทางกายเป็นทุกข์มาก เจ็บมาก นั่นหมายความถึงเพียงความรู้สึก แต่ถ้ากล่าวถึงทุกขลักษณะแล้วก็ต้อง ไตรลักษณะ ๓ อย่าง สภาพธรรมที่เป็นสังขารธรรม หรือสังขตธรรม จะมีลักษณะเสมอกัน เหมือนกัน เป็นสามัญ ๓ อย่างคือ อนิจจัง สภาพนั้นเกิดแล้วดับ สภาพที่เกิดดับ เป็นทุกข์ หมายความว่า เป็นสิ่งซึ่งไม่น่าจะยินดีเลย ที่เราคิดว่าสิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งที่น่ายินดี เพราะไม่ประจักษ์การเกิดขึ้น และดับไป ไม่ประจักษ์ไตรลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะเราเห็นเหมือนกับไม่ดับ เหมือนกับทุกอย่างคงที่ เที่ยง เราก็มีความยึดมั่นพอใจในสิ่งนั้น แต่ถ้าประจักษ์แจ้งจริงๆ ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับทันทีในขณะนี้ แสนเร็วทุกอย่าง เร็วมาก เพราะฉะนั้น ลักษณะของความไม่เที่ยงอันนั้น สภาพซึ่งเกิดแล้วดับ นั่นเป็น ทุกขลักษณะ ซึ่งจะต้องหมายความถึงทั้ง ๓ อย่าง คือลักษณะที่เกิดแล้วดับ เป็นทุกข์ และป็นอนัตตา
ผู้ฟัง รวมถึงการที่เราจะเข้าใจถึงไตรลักษณะ ลักษณะที่ว่านั้น ต้องมีปัญญา
ท่านอาจารย์ แน่นอน ถ้าไม่ใช่ปัญญาแล้วจะประจักษ์ไม่ได้เลย
ผู้ฟัง อย่างที่คำกล่าว เขาบอกว่า เราดู แต่ไม่เห็น เราฟังแต่ไม่ได้ยิน ตรงนี้เพราะขาดปัญญา ที่ว่านั้นหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เหมือนกับเดี๋ยวนี้ ทุกคนเห็น ถูกไหม มีแสงสว่าง แล้วก็มีสิ่งต่างๆ แต่ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วไม่รู้ความจริงของเห็น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ตัวปัญญา เพราะว่าเห็นเป็นธรรมดา คนที่มีตาก็เห็นทั้งนั้น คนที่มีหูก็ได้ยินทั้งนั้น แต่ว่าใครเป็นผู้ที่จะรู้ความจริง ของสภาพที่เห็น กับสภาพของสิ่งที่กำลังปรากฏ นั่นต้องเป็นปัญญา แต่ถ้าลองคิดสักนิดหนึ่ง ขณะนี้ เห็นกับได้ยินแยกออกไหม เห็นก็เห็น แล้วยังได้ยินด้วย เพราะฉะนั้น โลภะที่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย กับโลภะที่มีมานะเจตสิกเกิดร่วมด้วย คนละประเภท ขณะที่มีมานะ ขณะนั้นจะเห็นชัดในความสำคัญตน ซึ่งมีแน่ๆ ทุกคน นอกจากพระอรหันต์เท่านั้น เพียงแต่ว่าความสำคัญตน จะเล็กหรือจะใหญ่ บางคนก็สำคัญตนใหญ่มากเห็นชัดๆ แต่บางคนนิดเดียวไม่เห็น อย่างเวลาที่ใครทำผิดแล้วเราหัวเราะ เป็นอกุศลหรือเปล่า เป็นโลภะไหม แล้วก็ขณะนั้นมีมานะ หรือเปล่า มีไหม มีได้ เขาทำผิด เขาทำสิ่งนั้น ซึ่งอาจจะมีคนแก้ตัว บอกว่า ก็มันขัน ที่เขาทำอย่างนั้น ก็ใครล่ะขันนะ ต้องมีอะไรของคนนั้น ที่ทำให้เราขัน ในความไม่รู้ของเขา หรือว่าในอะไรๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าลึกๆ จริงๆ ถ้าเราเข้าใจถูก เราจะเห็นได้ว่ามานะพระอรหันต์ดับ แต่สำหรับเรา เราเห็นมานะตัวใหญ่ๆ แต่มานะเล็กๆ น้อย พวกนี้เราไม่เห็น เพราะเราไม่รู้ แต่ความจริงมี ถ้าละเอียดขึ้นๆ จะเห็นได้ว่า แม้คำพูดซึ่งอาจจะพูดไปดูธรรมดา ฟังก็ธรรมดาแต่ว่าจริงๆ แล้ว มานะอยู่ในคำพูดนั้นหรือเปล่า นี่ก็แสดงให้เห็นว่าต้องเป็นคนที่ละเอียดขึ้น เพราะฉะนั้น จะดูเหมือนว่ามานะ กับทิฏฐิเกิดร่วมกันก็ขอให้คิดถึงขณะที่กำลังเห็น กับกำลังได้ยินนั้นยิ่งเหมือนกับพร้อมกัน หรือทั้งเห็นด้วย ทั้งได้ยินด้วย
ผู้ฟัง ในชีวิตของเรา สัญญาจำในปรมัตถมากกว่า หรือจำในบัญญัติมากกว่า
ท่านอาจารย์ ทำไมต้องวัดเล่า มีเรื่องอะไรที่จะต้องมาชั่งตวงวัด ขอให้เข้าใจจริงๆ คือ ธรรมเป็นเรื่องเข้าใจว่า สัญญาในบัญญัติคือขณะไหน สัญญาในปรมัตถคือขณะไหนเท่านั้น แล้วก็จะรู้เอง แต่ว่าไม่ใช่โดยวิธีพยายามนับ ชั่ง ตวง วัด ธรรมเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจจริงๆ ตั้งแต่ต้น เพื่อละความไม่รู้ ซึ่งมีมากมายหลือเกิน ถ้าเราจะค่อยๆ พิจารณา เราจะเห็นความจำเป็นที่ทำไม เราต้องศึกษาเรื่องจิตตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เรื่องของชาติของจิต ชาติ แปลว่า ความเกิด ใช่ไหม หรือเกิด จิตไม่มีชาติได้ไหม จิตมีกี่ชาติ ๔ ชาติ ไม่มีสักชาติได้ไหม เพราะอะไร เพราะเมื่อเกิดแล้วต้องเป็นอย่างหนึ่ง อย่างใด ซึ่งจิตเป็นนามธรรมเป็นนามธาตุ เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดแล้วต้องเป็นอย่างหนึ่ง อย่างใดใน ๔ อย่าง ถ้าจะกล่าวโดยชา-ติ หรือโดยชาติ คือเกิดขึ้นเป็นกุศล หรือเกิดขึ้นเป็นอกุศล หรือเกิดขึ้นเป็นวิบาก คือผลของกุศล หรือเกิดขึ้นเป็นกิริยา คือไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก เพราะอะไร เพราะขณะนี้กำลังเป็นอย่างนั้นอยู่ คือวิบากจิตก็มี กุศลจิตก็มี อกุศลจิตก็มี กิริยาจิตก็มี ชีวิตประจำวัน เป็นอย่างไร เราศึกษาเพื่อที่จะให้เข้าใจ ไม่ใช่เราศึกษาให้ยากขึ้น ให้งงขึ้น ให้ไปลำบากลำบน แต่ความจริงศึกษาเพื่อเข้าใจชีวิตจริงๆ เท่าที่เราสามารถจะเข้าใจได้ อย่างเรื่องของจิตที่เป็นเหตุก็มี ๒ อย่าง คือ กุศลจิต อกุศลจิต จิตที่เป็นผลก็มีวิบากจิต ซึ่งเมื่อกรรมมี ๒ อย่าง ผลของกรรมก็มี ๒ อย่าง ส่วนกิริยาจิต ก็ไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่วิบาก ก็เป็นเรื่องซึ่งไม่น่าจะยาก ไม่น่าจะต้องท่อง เพราะบางคนบอกว่าต้องท่อง จริงๆ ถ้าเข้าใจแล้วไม่ต้องท่อง แต่ว่าต้องเข้าใจขึ้นอีก ถ้าอย่างนั้น ถามว่ารูปมีชาติไหม นี่คือ ธรรม ต้องเข้าใจแม้แต่คำที่เราพูดถึงชาติ รูปมีชาติไหม ถ้าเราหัดคิด จะเป็นปัญญาของเราเอง และจะกว้างขวาง จะลึกด้วย ต้องมีความเข้าใจจริงๆ ว่ารูปมีชาติไหม คุณสุรีย์
ผู้ฟัง มันไม่รู้ มันเกิดได้ แต่มันไม่รู้
ท่านอาจารย์ ถ้าชาติหมายความถึงการเกิด รูปเกิดหรือเปล่า รูปเกิด แต่รูปไม่ใช่นามธรรม เพราะฉะนั้น จะเห็นความต่างกัน เริ่มตั้งแต่ตอนต้น ที่จะเห็นความต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม ตั้งแต่ต้นทีเดียว เพราะว่าที่เราศึกษาทั้งหมด เพื่อที่จะเห็นจริงๆ ว่านามธรรมต่างจากรูปธรรม แม้แต่วิปัสสนาญาณ ขั้นแรก คือ นามรูปปริจเฉทญาณ เพราะไม่เข้าใจลักษณะที่เป็นนามธรรมว่าเป็นนามธรรม ไม่เข้าใจลักษณะที่เป็นรูปธรรมว่าเป็นรูปธรรม จึงทำให้เห็นผิด แล้วก็ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวเรา ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ซึ่งความจริงเป็นรูปธรรม แล้วตั้งแต่เกิดทั้ง จิต เจตสิก ก็เป็น ธาตุ หรือว่าเป็นธรรมแต่ เพราะไม่รู้ความละเอียด หรือความหลากหลาย ก็ทำให้ยึดถือเป็นจิตของเรา ตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าถามว่ารูปมีชาติไหม รูปเกิด แต่เมื่อรูปไม่ใช่นามธรรม ความหลากหลายของรูปที่จะเป็นกุศลไม่มี ที่จะเป็นอกุศลไม่มี ที่จะเป็นวิบากไม่มี ที่จะเป็นกิริยาไม่มี แต่รูปเกิด รูปเกิดเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ซึ่งมีต่างกันไป ที่เป็นรูปปรมัตถ คือรูปแข็งก็เป็นธาตุดิน เกิดแล้วก็เป็นดิน เกิดแล้วก็คือแข็ง เกิดแล้วก็ต้องแข็ง นั่นคือลักษณะของรูปที่ว่า เมื่อเกิดเป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามประเภทของรูปนั้นๆ แต่ว่าจะไม่เป็นอย่างนามธรรม คือ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบาก ไม่เป็นกิริยา คนที่เพิ่งฟังวันนี้ ที่เพิ่งมา เข้าใจไหม สงสัยอะไรหรือเปล่า เพราะว่าประโยชน์ ของการฟังคือขณะที่กำลังฟัง ให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง แล้วไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องชื่อ เรื่องจำ
ผู้ฟัง ขณะที่สติปัฏฐานเกิดใหม่ๆ จะยังไม่รู้ลักษณะของอนัตตา น่าจะรู้บ้างเลาๆ แล้ว ถ้าเผื่อว่าไม่มีลักษณะของอนัตตาอยู่ในนั้นเลย สติปัฏฐาน ไม่น่าจะเจริญ
ท่านอาจารย์ ทำไมมีรู้เลาๆ เลาๆ นี้หมายความถึงขั้นฟัง หรือ
ผู้ฟัง ขั้นฟังก็เข้าใจ ขั้นหนึ่งแล้ว ในขณะที่สติปัฏฐาน เกิดขณะนั้น ลักษณะของอนัตตาก็ต้องปรากฏด้วย
ท่านอาจารย์ สภาพธรรมมีจริง หลากหลายมาก ขณะที่เริ่มเรียน เราบอกว่า มีปรมัตถธรรม หมายความถึง ธรรมที่มีจริง ใครจะเรียกชื่อหรือไม่เรียกชื่อ อะไรก็ตามแต่สภาพธรรมนั้นก็เป็นอย่างนั้น ปรมัตถธรรม มี ๔ คือ ๑. จิต ๒. เจตสิก ๓. รูป ๔. นิพพาน เราเริ่มเรียนเป็นขั้น ขั้นนี้ยังไม่พูดถึงการเกิดดับเลย ขั้นที่พูดแต่เพียงว่า สิ่งที่มีจริง มีอะไรบ้าง เพราะเราแยกเป็น นามธรรมกับรูปธรรม และนามธรรมก็มีจิตกับเจตสิก ความรู้ก็เริ่มขยาย เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น แทนที่เรารู้เพียงแต่นี้ เราก็รูว่า จิตเกิดแล้วต่างกันเป็นประเภทๆ เมื่อจิตเกิดแล้วจิตดับ ที่เราใช้คำว่าจิตเกิดแล้วดับ นั่นคือลักษณะของจิต ซึ่งจะใช้คำบาลี คือ อนิจจัง สิ่งใดก็ตามเกิดขึ้น เมื่อมีการเกิดแล้วต้องดับทันทีด้วย เกิดดับ ถ้าไม่มีจิตเกิด ก็ไม่มีอะไรเลย แต่เมื่อจิตเกิดแล้วจิตก็ดับ เพราะฉะนั้น อนิจจัง คือลักษณะของสภาพธรรมทุกอย่าง ที่เกิด ทั้งจิต ทั้งเจตสิก ทั้งรูป
ผู้ฟัง ถ้ารู้ ปัญญาเราก็จะค่อยๆ รู้เพิ่มขึ้นๆ
ท่านอาจารย์ ยังไม่เพิ่มเร็วมาก ขณะนี้เพียงแต่ลักษณะของนามธรรม ขณะที่กำลังเห็นเป็นอย่างไร เราฟังมาแล้ว ต้องมีสภาพรู้ ต้องมีสิ่งที่ปรากฏกับสภาพที่กำลังรู้สิ่งนั้น ขณะที่กำลังเห็น ถ้าเราไม่พูดถึงปรมัตถธรรมเลย เราบอกใครๆ ว่าเห็น คนนั้นไม่สงสัย แต่พอกลับมาหาปรมัตถธรรม สิ่งที่มีจริงซึ่งไม่ใช่เราอีกต่อไป แต่เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดเพราะมีเหตุปัจจัย ทำกิจเห็น เราก็ขยายความต่อไปอีกว่า จิต เขามีหน้าที่นอกจากเกิดขึ้น และดับไป ก็ยังเกิดขึ้นทำกิจการงานต่างๆ ด้วย เพราะฉะนั้น มีจิตหลายประเภท ไม่ใช่มีจิตประเภทเดียว นี้คือความรู้ที่จะค่อยๆ สะสมให้เห็นว่าสภาพที่เป็นนามธรรมต่างกับรูปธรรม ยิ่งศึกษามากเข้าใจมาก เวลาที่สติเกิด ก็สามารถที่จะรู้ลักษณะซึ่งเป็นธาตุรู้ ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน แต่ยังไม่ประจักษ์การเกิดดับ แม้แต่ลักษณะที่เป็นอนัตตาจริงๆ ไม่ได้ปรากฏจนกว่าจะถึงวิปัสสนาญาณ แต่ว่าความรู้จากการฟังแล้วเข้าใจ ค่อยๆ สะสม เพื่อที่จะได้ประจักษ์ ธาตุแท้ๆ ซึ่งเป็นธาตุของธาตุรู้
ผู้ฟัง เป็นความเข้าใจ ขั้นการฟัง เท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ วันนี้คิดว่า คนที่เพิ่งเริ่มมา เป็นวันแรก ก็คงจะมีหลายคนเหมือนกัน อยากจะให้ทุกคนได้พิจารณา ทั้งคนเก่าคนใหม่ ในเรื่องจุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรม เพราะว่าโดยมากจะมีผู้ที่สนใจ แล้วก็อยากหาพระธรรม เพื่อที่จะได้เข้าใจ แต่จุดมุ่งๆ ไปเพื่อที่จะเรียนให้รู้ว่าพระธรรมมีอะไรบ้าง แต่ลืมว่า จุดประสงค์ที่แท้จริง คือ การเข้าใจพระธรรมเพื่อ ขัดเกลากิเลส ถ้าสมมติว่าเราศึกษาพระธรรมมาก รู้พระธรรมมาก แต่ว่าเราศึกษามาแล้วประมาณสัก ๑๐ ปี หรือว่า ๒๐ ปี กิเลสหยาบๆ ใหญ่ๆ ของเราก็ยังคงเหมือนเดิม ก็ไม่ได้มีการละคลายไปเลย แต่ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า คนที่ศึกษาธรรมแล้วก็จะละคลายกิเลสได้ แต่ว่าอย่างน้อยที่สุด เราตั้งจุดประสงค์ของเราไว้ว่า การศึกษาของเราทั้งหมดไม่ใช่ว่าเราอยากจะเรียนจบมากๆ จบอภิธัมมัตถสังคหะ หรืออ่านพระไตรปิฎก กับอรรถกถาให้มากๆ แต่จุดประสงค์ คือ ตั้งใจจริงๆ ในการที่จะฟังพระธรรม เพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ ทรงแสดง ซึ่งแสนยากที่จะได้ฟัง ทุกคนที่ได้ฟังแล้ว ไม่มีใครสักคนที่บอกว่าพระธรรม ง่าย ถ้าเป็นคนที่เข้าใจจริงๆ ต้องทราบว่า พระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงเป็นสิ่งที่มีจริง ยากที่จะรู้ ตามความเป็นจริงได้ เพราะว่าเราไม่เคยสนใจว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมในเรื่องสิ่งที่มีจริงนี้ ว่าอย่างไรบ้าง แต่เมื่อใดที่เราเริ่มสนใจ เราจะรู้ว่าจุดประสงค์ของการฟัง ขออย่าให้เป็นเรื่องจำมากๆ หรืออ่านมากๆ แต่ความตั้งใจในขณะที่ฟังให้เข้าใจ แต่ละครั้งไม่ว่า จะอ่านหนังสือ หรือจะสนทนาธรรมกัน เพื่อจุดเดียวคือ เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น อันนี้จะเป็นการละคลายความไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้จะเป็นต้นเหตุของอกุศลทั้งหลาย
ถ้าจะพูดถึงเรื่องละ ยากไหม มีใครที่คิดว่า จะละได้ง่ายๆ บ้างไหม ยากมาก ไม่ต้องไปละอะไรที่ละไม่ได้ เพราะว่าถึงจะพยายามไปละสิ่งที่ละไม่ได้อย่างไรๆ ก็ไม่สำเร็จ เราไม่พูดถึงละอย่างพระอรหันต์ หรือว่าละอย่างพระอนาคามี คือไม่มีความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเลย นั่นเป็นสิ่งที่ไกลแสนไกล แต่ว่าละที่จะเป็นไปได้ ต้องเริ่มแม้แต่ในขณะที่กำลังศึกษา หรือฟังธรรม รู้จุดประสงค์ว่าละสิ่งซึ่งเราไม่รู้ แล้วก็ค่อยๆ รู้ขึ้น ในขณะที่ทุกคนมาที่นี่ ทุกคนละอะไรบ้าง ละบ้าน เพราะว่าออกจากบ้านมา ถ้าไม่สนใจธรรมทุกคนจะไปที่อื่น เป็นของที่แน่นอน ถ้าไปเที่ยวก็รู้สึกว่าจะสนุกดี แต่ทุกคนละความพอใจ ในความสนุกสนานเพลิดเพลิน เพราะเห็นประโยชน์ ของการที่จะได้ฟังพระธรรม
การศึกษาธรรมจริงๆ ให้ทราบว่า เป็นเรื่องละตั้งแต่เบื้องต้น แต่ถ้าใครศึกษาเพื่อเหตุอื่น คนนั้นตั้งจิตไว้ผิด เขาจะไม่ได้รับประโยชน์ จากการศึกษาเลย ข้อความในพระสูตรมีตอนหนึ่งว่า อุปมาเหมือนกับการตั้งเดือยข้าวสาลีไว้ผิด เพราะฉะนั้น ไม่สามารถที่จะบาดเท้าได้ เวลาที่เหยียบย่ำไป อันนี้คงจะเป็นอุปมาในสมัยโน้น แต่เราก็คงพอที่จะเข้าใจได้ หมายความว่า ที่เรามาศึกษาเพื่อที่จะบาด หรือทำลาย หรือจะละกิเลสทั้งหลาย ถ้าเราตั้งจิตไว้ผิด การศึกษาทั้งหมดของเรา จะไม่สามารถที่จะบาด หรือละ หรือทำลายกิเลสได้เลย เรื่องของธรรมแล้วเป็นเรื่องละตั้งแต่ต้น และจะละไปจนตลอด จนถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ซึ่งถ้าไม่ละ หรือเกิดความติดข้องขึ้นเมื่อไร ขณะนั้นก็จะกั้น หรือขัดขวางไม่ให้สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพราะเหตุว่าโลภะ หรือความติดข้องเป็นสมุทัย เป็นสิ่งที่จะต้องควรละ แต่ถ้าพูดถึงละทันที ทุกคนก็ตอบว่าละไม่ไหว ละไม่ได้ เพราะว่าการที่จะละได้ เป็นกิจหน้าที่ของปัญญาเท่านั้น ที่จะทำกิจละ ตราบใดที่ยังไม่มีปัญญาถึงขั้น ที่จะละก็ละไม่ได้ เพราะฉะนั้น ทุกคนมาศึกษา เพื่อที่จะให้เกิดปัญญา จนกระทั่งสามารถที่จะละความติดข้อง ทั้งหมดได้ในที่สุด ในวันหนึ่งข้างหน้าที่แสนไกล แต่ถ้าไม่มีวันนี้ วันนั้นก็ไม่มี
ผู้ฟัง เรื่องจิตประภัสสร ผมได้ยินคำว่าจิตประภัสสร มาบ่อยครั้งมาก และมีครูบาอาจารย์ ที่เป็นพระสงฆ์ หลายท่าน ส่วนใหญ่ท่านจะบอกให้ลูกศิษย์ ลูกหาท่าน กลับไปสู่จิตประภัสสรหรือจิตดั่งเดิมแท้ของมนุษย์ ท่านบอกว่าจิตดั้งเดิมแท้ของมนุษย์ เป็นจิตที่บริสุทธิ์ ทีนี้จิตที่บริสุทธิ์ที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้นั้น เป็นจิตที่บริสุทธิ์ ระดับไหน ถ้าบริสุทธิ์เขาจะกลับมาเกิดแล้ว มีกิเลสมาห่อหุ้มได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นอาจารย์ท่านนั้น ก็คงจะไม่ตรงกับพระไตรปิฎก เพราะว่าข้อความในพระไตรปิฎก แสดงว่า จิตประภัสสร หมายความถึงขณะที่ เป็นภวังคจิต หลับสนิท ไม่มีการรู้อารมณ์ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่คิดนึกไม่ฝัน ขณะนั้นไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นเลย นั่นก็เป็นความหมายหนึ่งของคำว่า ประภัสสร แต่ว่าอีกความหมายหนึ่งก็คือ ขณะใดที่เป็นกุศลจิต เป็นจิตที่ดีงาม ขณะนั้นเป็นจิตประภัสสร เพราะฉะนั้น เรื่องจิตเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะว่าขณะนี้จิตกำลังเกิดดับ แต่ละประเภท ทำกิจการงานของจิต แต่ละอย่าง ถ้าไม่ศึกษาเรื่องจิตจริงๆ ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ว่า ขณะใดเป็นจิตประภัสสร ขณะใดไม่ใช่เป็นจิตประภัสสร เพราะว่าในขณะที่กำลังเห็น เป็นจิตประเภทหนึ่ง ไม่ใช่จิตประภัสสรเพราะ เห็น มีสิ่งที่ปรากฏทางตาให้เห็น แล้วหลังจากที่เห็นแล้ว สำหรับคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ย่อมมีกุศลจิตบ้าง อกุศลจิตบ้าง แต่โดยทั่วไป จะไม่ทราบว่าส่วนใหญ่ แล้วเป็นอกุศล จนกว่าจะได้ศึกษาพระธรรม จึงจะได้เข้าใจว่า หลังจาก ที่จิตเห็นดับแล้ว ธรรมดาเป็นความติดข้องทันทีในสิ่งที่เห็น เพราะฉะนั้น การศึกษาเรื่องจิตนี้ เป็นเรื่องละเอียด ในคราวก่อนเราได้พูดถึงเรื่องชาติของจิตซึ่งมี ๔ ชาติ และภูมิ หรือว่าระดับขั้นของจิตมี ๔ ภูมิ ถ้าเป็นจิตประภัสสรเป็น ภวังคจิต ซึ่งมีทุกภูมิ ไม่ว่าจะเป็นในภูมิมนุษย์ หรือว่าในภูมิ สวรรค์หรือว่าจะเป็น รูปพรหม อรูปพรหม ก็มีจิตประภัสสรเพราะเหตุว่า เป็นภวังคจิต และอีกความหมายหนึ่ง คือเป็นกุศลจิต ส่วนใหญ่เท่าที่ได้ฟัง ทุกคนจะพบคำต่างๆ ในที่ต่างๆ แต่ว่าไม่ได้ความหมายที่ชัดเจนของคำนั้น จนกว่าจะเริ่มต้นศึกษาจริงๆ เมื่อไร เมื่อนั้นก็จะลำดับจิตได้ ตามขั้นหรือว่าตามประเภทของจิตนั้นๆ ซึ่งจะไม่ทำให้สับสน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540