ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๐๕

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ผู้ฟัง พูดถึงในขณะนี้ที่กำลังปรากฏ

    ท่านอาจารย์ ที่กำลังเห็น ที่กำลังได้ยิน ที่กำลังคิดนึก กำลังถามไล่ไปว่าขณะนี้จิตเห็นเกิดที่ไหน ตอบได้แล้วใช่ไหม เฉพาะจิตเห็น เกิดที่ไหน

    ผู้ฟัง จักขุปสาท

    ท่านอาจารย์ จักขุปสาท เพราะฉะนั้น จักขุปสาทเป็นจักขุวัตถุ ของจักขุวิญญาณจิต ไม่มีคนชื่ออะไรเลยทั้งสิ้น แต่มีจิตเห็นเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป กำลังได้ยินในขณะนี้ เป็นปรมัตถธรรม อะไร ที่ได้ยินเป็นปรมัตถธรรม อะไร ที่ได้ยินเป็นจิตปรมัตถ รูปได้ยินไหม ไม่ได้ยิน จิตได้ยินเกิดที่ไหน โสตปสาทรูป เพราะฉะนั้น โสตปสาทรูป เป็นโสตวัตถุของ โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง ทุกคนมีลิ้นใช่ไหม รับประทานอาหาร ลิ้มรส ลิ้นคือชิวหาปสาท เป็นปรมัตถอะไร ลิ้นคือชิวหาปสาท เป็นปรมัตถอะไร เป็นรูปปรมัตถ ลิ้น ลิ้มรสได้ไหม

    ผู้ฟัง ลิ้นไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ลิ้นลิ้มรสไม่ได้ แต่ลิ้นกระทบรส เมื่อกระทบแล้ว จิต ซึ่งลิ้มรสเกิดขึ้น เราเรียกจิตนั้นว่าชิวหาวิญญาณจิต เพราะเหตุว่าเป็นจิตที่ลิ้มรส สามารถที่จะรู้แจ้งรสที่ปรากฏ เกินกว่าจะอธิบายได้ เพราะว่าบางรสก็ขม ขื่น ฝาด สารพัดอย่าง แต่จะอย่างไรก็ตามแม้ไม่พูด แม้ไม่กล่าว ชิวหาวิญญาณจิตก็ เป็นสภาพที่ลิ้มรสที่กระทบลิ้น แต่ต้องมีชิวหาปสาท ถ้าไม่มีชิวหาปสาท หยิบเกลือก็ไม่เค็ม แต่พอกระทบลิ้น ชิวหาปสาท เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นลิ้มรส จิตที่ลิ้มรสเป็น ชาติอะไร

    ผู้ฟัง วิบาก

    ท่านอาจารย์ เป็นชาติวิบาก เพราะฉะนั้น เราเรียนเพื่อเราที่จะได้ทราบว่า การรับผลของกรรม เรารับเมื่อไร ขณะไหน ตอนปฏิสนธิ ตอนเกิด ขณะนั้นก็เป็นผลของกรรมหนึ่ง ซึ่งทำให้เราเป็นบุคคลนี้ เพราะฉะนั้น การศึกษาควรที่จะให้เข้าใจสภาพธรรม มากกว่าการไปติดชื่อ แล้วมานั่งลงคะแนนกันว่า นี้จะให้ชื่ออะไรดี ตรงนี้จะเป็นชื่อสติปัฏฐาน หรือว่าไม่ใช่ชื่อสติปัฏฐาน แต่ขณะนั้นปัญญามีหรือเปล่า ถ้าเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต แล้วก็ขณะนั้นวิปัสสนาญาณก็เกิด แล้วก็รู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ตามปกติตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น เมื่อจักขุวิญญาณเห็นวาระหนึ่ง ขณะนั้นมีชวนะด้วย แล้วก็ปัญญาก็รู้ในรูปที่กำลังปรากฏ อย่างแจ่มแจ้ง เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ จะไม่เหมือนกับขณะซึ่งไม่ใช่วิปัสสนาญาณ ถ้าไม่ใช่เป็นวิปัสสนาญาณมีเห็น มีการไตร่ตรอง มีการคิด มีการพยายามที่จะรู้ว่าขณะที่เห็นเป็นสภาพรู้ หรือว่าเป็นธาตุรู้ ต้องมีธาตุรู้ หรือสภาพรู้ หรืออาการรู้แน่นอน เราใช้คำว่าจิต เราใช้คำว่าเจตสิก เราก็เข้าใจเพียงชื่อ แต่ว่าลักษณะจริงๆ ที่กำลังเห็นเป็นธาตุชนิดหนึ่ง การที่จะเข้าถึงลักษณะของธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งทำกิจเห็นแล้วดับ เพราะอีกธาตุหนึ่ง เกิดขึ้นทำกิจได้ยิน นี้แสดงให้เห็นว่ามีธาตุซึ่งใช้คำว่าธาตุ ไม่มีรูปร่างลักษณะใดๆ ทั้งสิ้น เป็นแต่เพียงธาตุรู้หรืออาการรู้ซึ่งมีจริงๆ แล้วก็กำลังเกิดขึ้นทำหน้าที่อย่างนั้นด้วย และถ้าสามารถจะประจักษ์ในลักษณะของธาตุนั้น ทั้งนามธรรมธาตุ และรูปธาตุ เราไม่ต้องมานั่งงง เรียบเรียงว่านี่ทางทวารไหน เพราะเหตุว่าขณะนั้นก็มีทั้งทางปัญจทวาร และทางมโนทวาร ปัญญาขณะนั้นก็กำลังประจักษ์ในลักษณะของธาตุซึ่งเป็นธาตุแต่ละธาตุ ขณะนั้นจะกล่าวว่าอย่างไร จะต้องอาศัยชื่อ หรือมานั่งสงสัยว่า เป็น จะใช้ชื่อนี้ได้ไหม จะใช้ชื่อนั้นได้ไหม เพราะฉะนั้น ไม่ควรที่จะติดชื่อ แต่ว่าเข้าใจตามความเป็นจริง ค่อยๆ อบรมปัญญาเพื่อ จะประจักษ์แจ้งลักษณะของธาตุตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ

    เพราะฉะนั้น ช่วงที่เป็นวิปัสสนาญาณ ก็เป็นช่วงที่ปัญญาที่ได้อบรมมาแล้ว ถึงความสมบูรณ์ที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม เมื่อถึงกาลที่ปัญญานั้นจะเกิด ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะบอกได้ ว่าปัญญานั้นจะเกิดเมื่อไร ถ้าเทียบง่ายๆ คือ ขณะต่อไปก็ไม่มีใครรู้ว่าจะได้ยิน หรือจะเห็นหรือจะคิดนึก หรือจะเป็นกุศล หรือจะเป็นอกุศล ปัญญาที่สมบูรณ์ ถึงกาลที่จะเกิดก็จะเกิดโดยความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ไม่มีใครไปนั่งรอ อยู่ในห้องแล้วก็คอยอารมณ์ดีเมื่อไรจะประจักษ์การเกิดดับของนามรูป ตอนเช้า ตอนเย็น ๑๕ วันแล้ว ๒๐ วันแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย

    ผู้ที่ศึกษาธรรมเป็นผู้ที่ตรง เป็นอุชุปฏิปันโน เป็นผู้ที่จะเป็นพระอริยบุคคล คดไม่ได้เลย ความจริงเป็นอย่างไร คือเป็นอย่างนั้น รู้คือรู้ สงสัยคือสงสัย ยังไม่เข้าใจคือยังไม่เข้าใจ ขณะนี้สติระลึก แล้วยังไม่มีปัญญาที่จะปราฏกว่าเป็นความรู้แจ้งในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ความจริงเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น แต่ว่ารู้หนทางที่จะอบรมเจริญปัญญาให้มากขึ้น เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ

    ผู้ฟัง สติเกิดแล้ว ถ้าปัญญาไม่เกิดด้วย ก็ไม่รู้ อย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ นี้เป็นเหตุที่ทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษาสำหรับพวกที่ต้องฟังมากๆ เพราะเหตุว่าพวกที่ไม่ต้องฟังมากท่านเป็นพระอริยบุคคล รู้แจ้ง ปรินิพพานไปแล้ว แต่ ๔๕ พรรษาที่ทรงแสดงโดยละเอียด ป้องกันความเห็นผิด ป้องกันความเข้าใจผิด เพราะเหตุว่าพระธรรมทั้งหมด เป็นความแจ่มแจ้งจากการตรัสรู้ เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้ผู้ที่ศึกษาในภายหลัง จะได้มีความเห็นถูกต้อง ไม่เข้าใจผิด ได้

    ผู้ฟัง จิตก็คือ ที่รับเข้ามา

    ท่านอาจารย์ ทำไมต้องใช้คำว่า รับอะไรเข้ามา

    ผู้ฟัง คือจากทั้ง ๕ ทวาร

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ ถ้าจะเข้าใจลักษณะของจิตจริงๆ รูปเข้าใจไหม รูป ไม่รู้อะไรเลย ใช่ไหม แต่จิตรู้ ต่างกันตรงนี้ว่า รูปไม่รู้อะไรเลย แต่จิตนี่รู้ เป็นสภาพที่รู้ อย่างขณะที่เห็นเป็นจิต มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทำหน้าที่แต่ละอย่างของเจตสิกนั้น แต่จิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แแจ้งลักษณะของอารมณ์

    ผู้ฟัง เจตสิก เป็น ผู้ตัดสิน

    ท่านอาจารย์ ไม่อย่าใช้คำว่าติดสิน ไม่ได้เกี่ยวกับ กุศล อกุศลเลย กำลังจะพูดถึงสภาพธรรม ที่มีจริงๆ ที่เป็นปรมัตถธรรม ที่ต่างกัน ๒ อย่าง คือจิตกับเจตสิก รูป ยังไม่กล่าวถึงนิพพาน รูปไม่รู้อะไรเลย ถ้ากล่าวอย่างนี้ก็อาจจะพอเข้าใจ เค้าของจิตได้ ว่าจิตเป็นสภาพที่ต่างกับรูปเพราะเหตุว่ารูปไม่รู้ รูปไม่เห็น รูปไม่เจ็บ รูปไม่คิด รูปไม่จำ แต่ว่าสภาพรู้ต่างกันกับรูป เสียใจบ้าง ดีใจบ้าง คิดบ้าง จำบ้าง ทั้งหมดเป็นสภาพรู้ แต่สภาพรู้มี ๒ อย่าง คือจิตก็เป็นสภาพรู้ เจตสิกก็เป็นสภาพรู้ แต่ว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งอารมณ์ ที่ปรากฏ แล้วสภาพธรรม ทั้งหมดจะเกิดไม่ได้เลย ถ้าไม่มี เหตุปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม ต้องมีเหตุปัจจัยที่จะอุปถัมภ์อุปการะ หรือทำให้สภาพธรรม อีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้น

    จิตจะเกิดโดยไม่มีเจตสิกเป็นปัจจัยไม่ได้ หรือว่าเจตสิกจะเกิดโดยไม่มีจิตเป็นปัจจัยก็ไม่ได้ เหมือนกับธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมซึ่งเป็นรูป ต้องเกิดพร้อมกันไม่ใช่มีแต่ธาตุดิน โดยไม่มีธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ต้อง มีธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม เกิดร่วมด้วย หรือจะพูดถึงธาตุลม ก็จะต้องมี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ เกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น สภาพของนามธรรมคือจิต เจตสิก อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น ถ้าจะพูดภาษาบาลีสักคำก็พูดว่า โดยเป็น สหชาตปัจจัย ชาตะ คือเกิด สหะ คือพร้อมกัน เกิดพร้อมกัน ต่างอาศัยซึ่งกัน และกัน ซึ่งความจริงอันนี้ก็จะเป็นเรื่องของปฏิจจสมุปบาทซึ่งเราอาจจะได้ยินบ่อย สภาพธรรม ที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นสังสารวัฏฏ์เพราะเหตุว่าไม่มีวันจบสิ้นเลย เมื่อมีปัจจัยที่จะเกิดก็ต้องเกิดอยู่นั่นแหละไม่ว่าจะเป็นจิต เจตสิก ขณะนี้จิต เจตสิก ก็เกิด ต่างก็เป็นปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้นไม่จบ เป็นสังสารวัฏฏ์ เกิดดับสืบต่อไปเรื่อยๆ ทีนี้ความต่างกันของจิต และเจตสิก คือ จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ ส่วนเจตสิกจำอารมณ์ ที่รู้ หรือว่าชอบในอารมณ์ที่รู้ หรือไม่ชอบในอารมณ์ที่รู้ ในวันหนึ่งๆ ที่เราพูดว่าขยันก็เป็นลักษณะของเจตสิก ไม่ใช่จิต เพราะว่าจิตเกิดแล้วจิตมีหน้าที่อย่างเดียวคือรู้แจ้งอารมณ์ที่กำลังปรากฏ ทางตาในขณะนี้จิตเห็น นี่กำลังเป็นหน้าที่ของธาตุนี้เลย ว่าธาตุนี้ เขาสามารถที่จะรู้ทางตา คือกำลังเห็น นี่คือรู้สิ่งที่ปรากฏ มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น เพราะฉะนั้น จิตรู้ก็คือเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น นี่คือลักษณะของจิต แต่ว่าในขณะที่จิตเห็น ก็มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ประเภท คือ สัญญาเจตสิก เป็นเจตสิกที่จำสิ่งที่เห็น เวทนาเจตสิกก็เป็นเจตสิกที่รู้สึกในสิ่งที่กำลังปรากฏ เจตนาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก มีเจตสิกอีก

    ต่อไปก็จะทราบว่าเจตสิก ๕๒ ประเภทนั้น มีอะไรบ้าง แต่ให้ทราบว่าเจตสิกไม่ใช่จิต เพราะว่าเวลาที่มีการเห็น หรือการได้ยิน หรือการรู้เรื่อง หรือการคิดนึก เราจะเห็นได้ว่าบางครั้ง เราเป็นสุข ขณะนั้นคือจิตเกิดร่วมกับเวทนาที่เป็นโสมนัส บางครั้งเป็นทุกข์ ขณะนั้นก็คือจิตเกิดร่วมกับโทมนัสเวทนา ซึ่งเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น เจตสิกสลับกัน เกิดกับจิตก็มี หรือว่าต้องเกิดพร้อมจิตทุกครั้งไปก็มี แล้วแต่ประเภทของเจตสิกนั้นๆ แต่จิตต้องเกิดตลอด เป็นใหญ่เป็นประธาน จะต้องมีจิตเกิดดับสืบต่อ และมีเจตสิก เกิดกับจิตประเภทไหนบ้าง ก็แล้วแต่ประเภทของจิตประเภทนั้นๆ แต่ว่าจิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฏ รู้อย่างเดียว ไม่จำไม่คิด ไม่อะไรทั้งนั้น นั่นเป็นหน้าที่ของเจตสิกอื่น เช่น วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก กำลังพูดนี่ต้องคิดหรือเปล่า

    ผู้ฟัง คิด

    ท่านอาจารย์ จิตรู้ แต่รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ รู้เรื่องที่กำลังมีเจตสิกทั้งหลาย เกิดร่วมกัน แล้วก็วิตกเจตสิกก็ทำหน้าที่ตรึกถึงคำ เจตสิกอื่นๆ ก็เกิดร่วมกัน เพราะฉะนั้น ต่อไปก็จะเข้าใจว่า ในจิตหนึ่งขณะซึ่งเราไม่เคยรู้จักเลย แม้ว่าจะเกิดกับเราอยู่ตลอดเวลา มีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วยบ้าง แล้วก็ทำกิจอะไร ให้เห็นความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น

    ผู้ฟัง ผมมาฟังครั้งแรกก็ รู้สึกว่าจะจับหลักใหญ่ๆ เพื่อจะทำความเข้าใจ แต่รู้สึกว่าจะหยาบมาก แต่ที่ได้ฟังท่านอาจารย์พูดแล้วรู้สึกว่าจะละเอียดลงไปซึ่งใกล้เคียงกันมาก ระหว่าง จิตกับเจตสิก กับปัญญา อะไรรู้สึกว่า สิ่งไหนที่มันจะเจริญได้ สิ่งไหนที่เห็นแล้วจะหายไป อะไรต่ออะไร ผมคงจะต้องไปแยกแยะ

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องตามลำดับ การศึกษาต้องตั้งต้นที่ปรมัตถธรรม ได้แก่จิต เจตสิก รูป ไม่ว่าจะได้ยินได้ฟังอะไรต่อไป การบ้าน คือ พิจารณาว่า ขณะนั้นสิ่งที่เรากำลังได้ยินได้ฟัง ธรรมทั้งหลาย ธรรมใดเป็นจิต ธรรมใดเป็นเจตสิก ธรรมใดเป็นรูป

    ผู้ฟัง ชิวหาปสาทสำหรับบุคคลธรรมดา นี้ไม่สงสัย ถ้าสงสัยอาจจะเกินเลยไปสักหน่อย จระเข้ไม่มีลิ้นว่าชิวหาปสาท

    ท่านอาจารย์ เราบัญญัติคำ ว่าจระเข้ แล้วเราก็บอกว่าไม่มีลิ้น ไม่มีลิ้น คือ ไม่มีลิ้น จะเป็นจระเข้ หรือไม่จระเข้ หรืออะไรก็ตามแต่ ถ้าไม่มีลิ้น คือ ไม่มีลิ้น

    ผู้ฟัง ชิวหาปสาท อยู่ตรงไหน สงสัยตรงนี้

    ท่านอาจารย์ กลางลิ้น

    ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าไม่มี

    ท่านอาจารย์ ไม่มีก็ไม่มี

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่าคนไม่มีลิ้น ลิ้นขาดอย่างนี้ท่านอาจารย์

    ท่านอาจารย์ ลิ้มรสขณะใด ขณะนั้แสดงว่ามีชิวหาปสาท

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นเราก็คง ไม่ต้องติดในชื่อ ในชื่อ ที่ว่าเป็นลิ้น หรือเป็นอะไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาปรมัตถธรรม ให้ทราบจริงๆ ว่า ไม่มีอะไรเลย นอกจากสภาพธรรม ที่เราจะต้องเข้าใจขึ้น ว่าเป็นธรรมจริงๆ เป็น สภาพธรรมแต่ละอย่าง เพื่อที่จะไม่มีเราหรือไม่มีตัวตน แต่ถ้ายังมีอย่างอื่นเข้ามาปะปน เราก็ไม่เข้าใจ ปรมัตถธรรม เราก็ยังเป็นห่วงเป็นใยในเรื่องชื่อ เราจะเอาชื่อสมมติออกหมดเลย เราจะเอาโลกที่มีคนมากมายออกหมด เหลือแต่จิตหนึ่งขณะซึ่ง เกิดทีละหนึ่งขณะนี้คือ ความจริง ความจริงล้วนๆ เพราะที่เราบอกว่ามีคนมากหรือว่า เห็นคนมาก เป็นเรื่องความคิด แต่ความจริงแล้วจิตต้องเกิดขึ้นเพียงทีละหนึ่ง ขณะเท่านั้น ขณะที่จิตเห็น เพียงขณะที่เห็นเกิดขึ้น จะไม่มีการคิดว่ามีคนหรือมีจระเข้ หรือว่ามีกระพุ้งแก้ม หรือว่ามีลิ้น หรืออะไรเลย เพราะฉะนั้น แล้วแต่ว่าขณะจิตที่เกิด จิตประเภทใดเกิด ขณะที่กำลังลิ้มรส รสปรากฏไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน แต่ในความรู้สึก ของความเป็นบุคคลตัวตนเพราะเหตุว่าสภาพธรรม เกิดดับสืบต่อเร็วมากก็เลยเห็นจระเข้ กลืนอะไร ไม่มีลิ้น หรืออะไรก็แล้วแต่ ตามความเป็นจริงแล้ว จิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ แล้วเอาโลกออกหมด เอาคนทั้งหลายออกหมด เป็นแต่เพียงสภาพของจิต ซึ่งแล้วแต่ว่า จะเป็นจิตประเภทไหนเกิด เท่านั้นเอง จะทำให้เราเข้าใจชัดในลักษณะของปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง อารมณ์ก่อนที่จุติจิตจะเกิด ขึ้นกับ ปฏิสนธิจิต กับภวังคจิต เป็นอารมณ์เดียวกันหมด ทีนี้มีคนพูดว่า เพราะฉะนั้น จิตทั้ง ๓ ดวงนี้เป็นจิต ชนิดเดียวกัน จะใช่หรือไม่

    ท่านอาจารย์ ถ้าเราจะพิจารณาให้เข้าใจ จิตขณะสุดท้ายของชาตินี้ ต้องมี แน่นอน เหมือนกับขณะแรกมีก็ต้องมีขณะสุดท้าย ขณะสุดท้ายชื่อว่าจุติจิต หมายความถึงจิตที่ทำกิจ ๑ ใน ๑๔ กิจ กิจทั้งหมดของจิต มี ๑๔ กิจเราจะค่อยๆ จำไป กิจที่ ๑ เราทราบแล้ว คือปฏิสนธิ กิจที่ ๒ คือภวังค์ แล้วเราจะมาถึงกิจสุดท้าย คือ จุติกิจ คือกิจที่เคลื่อน พ้นจากความเป็นสภาพของบุคคลนี้โดยสิ้นเชิง เมื่อจุติจิตเกิดแล้วดับ จะมีความเป็นบุคคลนี้อีกไม่ได้เลย ในสังสารวัฏฏ์ กรรมจะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดสืบต่อ เป็นบุคคลใหม่ทันที พ้นสภาพของความเป็นบุคคลเก่าทันทีโดยสิ้นเชิง จะจำสภาพ ถ้าเกิดในภพภูมิซึ่งไม่ใช่ภพภูมิซึ่งสามารถที่จะจำได้ เหมือนอย่างเราเดี๋ยวนี้ เป็นความจริงไหมว่า เราจำชาติก่อนเราไม่ได้เลย จุติจิตของชาติก่อน ต้องมี เมื่อดับไปแล้วก็ทำให้ปฏิสนธิจิตของชาตินี้มี แต่นี่เป็นเรื่องของชาติก่อน เพราะฉะนั้น เอาชาตินี้ เราจะต้องตาย เป็นธรรมดา ขณะไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ กำลังเห็นๆ อย่างนี้หลังจากที่วาระของจักขุทวารวิถี จิตดับ จุติจิตก็เกิดได้ หรือว่าหลังจากคิดนึกแล้ว เรื่องราวต่างๆ ๆ จุติจิตก็เกิดได้ เพราะฉะนั้น จุติจิตจะเกิดเมื่อไม่ใช่วิถีจิต เพราะว่าวิถีจิต จะเห็นกำลังเห็น ตลอดวาระนั้นจุติจิตเกิดไม่ได้ กำลังได้ยินต้องหมดวาระ เสียงต้องดับเสียก่อน แล้วก็จุติจิตถึงจะเกิดได้ หรือว่ากำลังคิดนึกอยู่ยังไม่จบวาระจิต ๑๗ ขณะก็ จุติจิตก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น จุติจิตจะเกิด เมื่อไม่ใช่วิถีจิต จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต มี ๓ ประเภท คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ไม่ใช่วิถีจิต เมื่อไม่ใช่วิถีจิต ความหมยของวิถีจิตคืออะไร ปฏิสนธิจิตต้องมีอารมณ์ ไม่มีจิตสักขณะเดียวซึ่งเกิดแล้วไม่รู้อะไร เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ แล้วสิ่งที่ถูกรู้คืออารมณ์ของจิต เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิต ต้องมีอารมณ์ ทีนี้ขณะนี้เรายังไม่ตาย จิตมีอารมณ์ไหม จิตไหนบ้างไม่มีอารมณ์ ทุกประเภทจะไม่มีจิตสักขณะเดียว ที่ไม่มีอารมณ์ ถ้ากำลังเห็นแล้วตาย จิตจะมีอารมณ์อะไร ตอนตายมีอารมณ์อะไร ตอนเห็นมีอารมณ์อะไร

    ผู้ฟัง สิ่งที่เห็นอยู่นั้นเป็นอารมณ์ ของ…

    ท่านอาจารย์ เอาอย่างไรๆ ก็ จิตจะต้องมีอารมณ์ ทีนี้ปัญหาก็คือว่าสงสัย ว่าปฏิสนธิจิตของชาติหน้าจะมีอารมณ์อะไร เพราะเราต้องตาย กรรมหนึ่งในบรรดากรรมมากมาย ไม่ใช่แต่เฉพาะในชาตินี้ แม้ในชาติก่อนๆ ก็สามารถที่จะเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิต เกิดสืบต่อจากจุติจิตของชาตินี้ได้ โดยเราเลือกไม่ได้เลย เราอาจจะทำบุญมาก เป็นกุศลโสมนัส อะไรๆ หลายอย่าง แต่เราก็จะเลือกให้กรรมนั้น ทำให้ปฏิสนธิก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่ามีกรรมอื่น ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดก็ได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ประมาทในการที่จะเจริญกุศลทุกอย่าง เพราะว่าปลอดภัยไว้ก่อน ว่าเมื่อกุศลมีมากๆ ก็แล้วแต่ว่าจะมีกรรมไหนเป็นปัจจัยทำให้เกิด แต่ว่าจะเป็นกุศลกรรมก็ได้ อกุศลกรรมก็ได้ ก็เป็นเรื่องที่อย่างหนึ่ง ที่ควรจะคิดก็คือว่า การจากไปของแต่ละคน ซึ่งเป็นของธรรดาแน่นอนว่า วันหนึ่งก็เป็นพวกเรา แต่ละคนที่นั่งอยู่ที่นี่ แต่ไม่ทราบว่าจะเป็นใครก่อน ใครหลัง แต่แน่นอน ที่สุดจนเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ในสังสารวัฏฏ์ แต่เป็นเรื่องที่เราก็เคยเป็นอย่างนี้มาแล้ว นับครั้งไม่ถ้วน เพราะฉะนั้น ถ้าจะเป็นอีก คือธรรมดา แต่ว่าช้าหรือเร็วเท่านั้น ถ้าคิดอย่างนี้ก็จะเป็น มรณะสติ คือการตายทำให้เราเกิดระลึกที่จะเป็นกุศล ที่เป็นกุศลที่นี่ก็คือว่า เราก็ได้ศึกษาพระธรรมาแล้ว แต่ว่าการพิจารณาธรรม มากพอหรือว่าฟังแต่ละคำที่ผ่านไป เราพิจารณามากน้อยแค่ไหน แม้แต่คำธรรมดาที่เราได้ยินจนชินหู อย่างเรื่องของกิเลส สภาพเจตสิกซึ่งเป็นฝ่ายที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส ฟังก็เข้าใจ แต่ว่าเราจะเคยกลับมาพิจารณาจิตของเราว่าทั้งหมดที่ทรงแสดงเรื่อง ซึ่งคนอื่นอาจจะไม่ชอบ เพราะว่าบางคนอาจจะชอบเรื่องของกุศล พอพูดถึงเรื่องกุศลก็จะเบิกบาน แต่พอพูดถึงเรื่องอกุศล ก็รู้สึกว่า ทำไมพูดเรื่องอกุศล

    แต่ที่จริงแล้ว จุดสูงสุดในพระศาสนาคือการดับกิเลส ซึ่งถ้ายังไม่เห็นกิเลสไม่มีทางเลย ซึ่งจะดับได้ เราอาจจะเรียนเรื่องจิตเรื่องเจตสิกเรื่องมากมาย แต่ถ้าไม่ทราบว่าสภาพจิตของเราจริงๆ แต่ละขณะ ในวันหนึ่งๆ เป็นกุศล หรือเป็นอกุศลมากน้อยเท่าไร เป็นกิเลสเท่าไร ไม่มีทางที่จะละกิเลสได้เลย เพราะฉะนั้น การที่เราจะพิจารณา จากกายก็ดี หรือวาจาก็ดี หรือใจของเราก็ดี โดยเฉพาะสภาพปัจจุบัน ซึ่งทุกคนก็คงมีผลกระทบ ทางด้านจิตใจจากตัวเอง หรือวงศาคณาญาติ หรือข่าวในหนังสือพิมพ์ เรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของอะไรต่างๆ ถ้าเราไม่เข้าใจธรรมจริงๆ แล้วไม่รู้ว่าขณะที่เราคิดนั้น ไม่ว่าจะคิดเรื่องอะไรก็ตาม เป็นกุศลจิต หรืออกุศลจิต ถ้าไม่กลับมาหาจิต โลกยุ่งที่สุด เพราะเป็นโลกซึ่งเป็นตัวตน ใครก็บังคับไม่ได้ แต่พยายามจะไปบังคับ โดยการที่พยายาม จะเข้าใจว่า จิตแต่ละขณะซึ่งเกิด แล้วก็กำลังคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ในขณะนั้นเป็นกุศล หรือ อกุศล

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 101
    24 มี.ค. 2567